Thursday, 16 May 2024
ECONBIZ

'อลงกรณ์' ชี้ ไทยเผชิญ 4 วิกฤติโลก สร้างโอกาสให้ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจด้านอาหารภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวบรรยายพิเศษเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 65 เรื่อง ก้าวต่อไป เกษตรไทยสู่มหาอำนาจทางอาหารของโลก โดยมองว่าแม้ประเทศไทยต้องเผชิญ 4 วิกฤติโลก แต่ก็เป็นโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจอาหารของโลกได้ภายใต้การขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรเพราะมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นประเทศส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก ด้วยมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท และการส่งออกเติบโต 17% ในปี 2564 โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกลำดับต้นๆ สะท้อนถึงขีดความสามารถของภาคการผลิต การแปรรูปและการตลาดของไทยในตลาดโลก

แม้ต้องเผชิญ 4 วิกฤติการณ์ของโลก ได้แก่ 
1.) โควิด-19 สงคราม 
2.) รัสเซีย-ยูเครน 
3.) ประชากรโลกเพิ่มขึ้น 
4.) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) 

ซึ่งทำให้โลกประสบปัญหาระบบการผลิตภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานตามมาด้วยปัญหาการขาดแคลนอาหาร แต่วิกฤติดังกล่าวก็ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่ประสบปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา เซาท์แปซิฟิก เอเซีย และไม่เว้นแม้แต่ประเทศร่ำรวย เช่น ซาอุดีอาระเบีย และญี่ปุ่นที่ผลิตอาหารได้เพียง 20% และ 37% ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นโอกาสในวิกฤติของประเทศไทย 3 ปีที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดินหน้าปฏิรูปสร้างศักยภาพใหม่อย่างต่อเนื่องภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนบนความร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการจับคู่กับกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์)

1.) ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต
2.) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 
3.) ยุทธศาสตร์ 3’s (safety - Security - Sustainability เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน) 
4.) ยุทธศาสตร์ การทำงานเชิงบูรณาการทุกภาคส่วน 5.ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนบนศาสตร์พระราชา 

บอร์ดอีอีซี คิกออฟสร้างรถไฟความเร็วสูง ต.ค.นี้ พร้อมเคาะแผนแม่บทเมืองอัจฉริยะ 1.3 ล้านล้าน

อีอีซี เคาะแผนแม่บทศูนย์ธุรกิจ - เมืองอัจฉริยะ วงเงิน 1.3 ล้านล้าน เพิ่มจุดแข็งโครงการอีอีซี พร้อมเตรียมคิกออฟก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง – สนามบินอู่ตะเภา ต.ค.นี้ หลังสามารถส่งมอบที่ดินให้เอกชนได้ 100%  

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติร่างแผนแม่บทและแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหญ่น่าอยู่อัจฉริยะ วงเงินลงทุนประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท โดยในขั้นตอนต่อไปหลังจากผ่านการเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว เตรียมให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ต่อไป 

สำหรับร่างแผนแม่บทโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ 14,619 ไร่ ตั้งอยู่ในตำบลห้วยใหญ่ จังหวัดชลบุรี อยู่ในเขต สปก. ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 10 ปี มีเงินลงทุนโครงการประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท โดยโครงการลงทุนประกอบด้วย ภาครัฐลงทุนเรื่องที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการส่วนกลาง โดยมีการแบ่งพื้นที่เป็นโซนเพื่อให้เอกชนหรือรัฐวิสาหกิจเช่าที่ดินหรือร่วมลงทุนหรือลงทุนในกิจการด้านระบบสาธารณูปโภค หรือเอกชนเช่าพื้นที่ลงทุนด้านพื้นที่พาณิชย์  

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการสร้างเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะของ EEC คือสามารถรองรับประชากรได้ 350,000 คน ภายในปี 2575 รวมทั้งสร้างงานทางตรงไม่น้อยกว่า 200,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2575 และมีมูลค่าการจ้างงานกว่า 1.2 ล้านล้านบาท มีธุรกิจและบริการมาตรฐานสากล มีวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ประมาณ 150-300 กิจการ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดภัย สะดวกสบาย  มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายคมนาคมอัจฉริยะที่สะดวกรวดเร็ว เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองเน้นความน่าอยู่ จะช่วยกระตุ้นการขยายตัว GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 2 ล้านล้านบาท ภายใน 10 ปี สินทรัพย์ที่โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา 50 ปี จะมีมูลค่าเพิ่มประมาณ 5 เท่า 

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 4 โครงการ โดยในส่วนของ 2 โครงการสำคัญที่จะออกหนังสือส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลในโครงการ (NTP) เพื่อจะก่อสร้างในเดือน ต.ค.นี้ ได้แก่

 

‘แบงก์ชาติ’ เผย เงินสำรองคงคลังของไทย แข็งแกร่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ระหว่าง 'วาทกรรม' กับ ' การกระทำ' 

แบบไหนที่ 'ควร' ต้องเปิดหู เปิดตา เปิดใจ ยอมรับฟัง!! ในระหว่างที่บางกลุ่มก้อนของสังคมชิงฉายวาทกรรม ให้เกิดการมอง 8 ปี ประเทศไทย ว่า 'พังในทุกมิติ'

เป็นเช่นนั้นหรือไม่?

ลองมาย้อนสักดูตัวอย่างเล็ก ๆ เช่น เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ถูกฉายวนในสังคมมาสักพักใหญ่ ๆ กันอีกสักหลาย ๆ รอบ แล้วพิจารณาดูว่า...

อันดับของไทยที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกแบบนี้ 

หากมีใครมาพูดว่า 8 ปีประเทศไทย 'พัง' ก็คือพัง? ได้ง่าย ๆ ตามใจปากพูดได้เลยงั้นหรือ?

จากเฟซบุ๊ก 'Bangkok I Love You' ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย เนื้อหาดังนี้...

ปัจจุบันประเทศไทย มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 9,319,090.28 ล้านบาท นับเป็นอันดับที่ 13 ของโลก แซงหน้า สหรัฐอเมริกา 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้น เดือนธันวาคม ปี 64 อยู่ที่ 9,319,090.28 ล้านบาท

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565 โดยในปีนี้ ‘พี่น้องเจียรวนนท์’ แห่งเครือซีพี ยังครองแชมป์มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในไทยอีกสมัยไปด้วยทรัพย์สิน 2.65 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 9.33 แสนล้านบาท

Forbes รายงานว่า เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวกลับมาได้เนื่องจากโควิด-19 เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับลดจากจากจุดสูงสุดลง 3%

ไม่เพียงเท่านั้น ตั้งแต่จากการอันดับมหาเศรษฐีไทยครั้งล่าสุด อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหน่วยดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงถึง 12% ส่งให้มูลค่ารวมทรัพย์สินของมหาเศรษฐีไทยทั้ง 50 รายชื่อ ลดลงเกือบ 6% มาอยู่ที่ 1.51 แสนล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 5.31 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับการจัดอันดับปีที่ผ่านมา

สำหรับ 10 อันดับแรกของปีนี้ ยังคงมีการขึ้น-ลง สลับกันกับปีก่อนๆ ส่วนทั้ง 50 อันดับเป็นอย่างไรบ้าง คลิกดูได้ที่ https://www.forbes.com/lists/thailand-billionaires/?sh=56cd7d16223e

'เฉลิมชัย' ทำลายสถิติสำเร็จอีกครั้งส่งออกผลไม้ครึ่งปีแรกทะลุ 1 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 8 หมื่นล้าน ชื่นชมชาวสวนภาครัฐภาคเอกชนร่วมมือพัฒนาคุณภาพจนครองแชมป์ตลาดจีนเด็ดขาดเกือบ 50% แต่ห่วงลำไยทรุดสั่งฟรุ้ทบอร์ดปรับกลยุทธ์เร่งแก้ไข

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) แถลงวันนี้ (8 ก.ค.) ว่า การส่งออกผลไม้สดไปสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้พิธีสารระหว่างไทย-จีนในรอบ 6 เดือนแรกปีนี้มีปริมาณถึง 1,123,543 ตัน ทำลายสถิติการส่งออกในระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งส่งออกได้ 1,002,771 ตัน โดยเพิ่มขึ้นกว่า 120,000 ตัน หรือกว่า 10% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 81,282 ล้านบาท

ในขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการโดยเฉพาะผลกระทบจากมาตรการไดนามิคซีโร่โควิดของจีนในการป้องกันการแพร่ระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2564 เป็นต้นมา และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นส่งผลต่อค่าระวางขนส่งทางบกทางเรือทางอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาวะเศรษฐกิจทำให้มูลค่าการส่งออกผลไม้สดลดลง 2,900 ล้านบาท หรือลดลง 3.45% ส่วนหนึ่งเกิดจากการส่งออกลำไยลดลง เนื่องจากการปิดด่านบางด่านของจีนช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงต้นปีจากปัญหาโควิด-19 ในจีนจึงสั่งให้ฟรุ้ทบอร์ดปรับกลยุทธ์เร่งแก้ไขปัญหาลำไยซึ่งหล่นจากการส่งออกไปจีนเป็นลำดับ 3 รองจากทุเรียนและมะพร้าว

✨น้ำมันลด 3 บาท ‼

'ปตท.-บางจาก' ปรับลดราคาน้ำมัน
• กลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับลด 3 บาท/ลิตร 
- เว้น E85 ลด 1.80 บาท/ลิตร
• กลุ่มดีเซลราคาคงเดิม


มีผลวันพรุ่งนี้ (8 ก.ค. 65) ตั้งแต่เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป 


ที่มา : https://www.facebook.com/ThaiPBS/photos/a.348532055084/10167090604630085/

กระทรวงเกษตรไทย-ญี่ปุ่น ตกลงขยายความร่วมมือมิติใหม่เชื่อม 4,200 องค์กร บนแพลตฟอร์ม FKII เพิ่มโอกาสการค้าการลงทุน 2 ประเทศ

'อลงกรณ์' เผยเน้นการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตการแปรรูปสู่เกษตรมูลค่าสูงรวมทั้งอาหารแห่งอนาคตและระบบโลจิสติกส์ความเย็นสินค้าเกษตร

รายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียววันนี้ (6 ก.ค.) แจ้งว่านายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว นายโชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และคณะพบหารือกับนายคูนิอากิ คาวามูระ (Mr. Kuniaki Kawamura) ประธานสภาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และภาครัฐ (The Council of Industry-Academia-Government Collaboration) ซึ่งมีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาในการเป็นแหล่งองค์ความรู้ การบูรณาการและนวัตกรรม (Filed for Knowledge, Integration & Innovation หรือ FKII) FKII อยู่ภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) โดยมีนายโอคูมะ ราเคชิ (Mr. Okuma Rakeshi) เป็นผู้อำนวยการ FKII และทีมงานร่วมประชุมที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว

นายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวว่าการเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นนโยบายของ ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีต้องการให้ขยายความร่วมมือทางด้านการเกษตรกับประเทศญี่ปุ่นในมิติต่างๆภายหลังจากนายเก็นจิโร คาเนโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น พร้อมคณะเข้าพบหารือกับดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในวาระครบรอบ 135 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ 

โดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอันดับ 2 ของไทย มีสัดส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 11.35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลกเป็นการสนองตอบต่อนโยบายเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของญี่ปุ่นซึ่งผลิตอาหารได้ 37% ของความต้องการในประเทศ ดังนั้นความร่วมมือระหว่าง 2 กระทรวงและภาคีภาคส่วนต่างๆจะช่วยเติมเต็มนโยบายของกันและกัน 

พร้อมกันนั้นนายอลงกรณ์ ได้แสดงความชื่นชม FKII ที่สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ในหลากหลายด้าน อาทิ เกษตรอัจฉริยะ อาหารสุขภาพ เกษตรกรรมยั่งยืน ฯลฯ โดยเฉพาะงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable agriculture) ที่ FKII มีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาถึง 72 กลุ่ม สอดคล้องกับแนวนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งอาหารของโลก 

‘ขาณุโมเดล’ ต้นแบบความสำเร็จ ‘ข้าว-ชาวนา’ ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาระดับโครงสร้างของภาครัฐ

แม้สังคมจะพยายามตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของ ‘ชาวนาไทย’ ที่ผ่านไปนานเท่าไร ก็ยังวนเวียนอยู่กับวังวน ‘หนี้สิน’ แต่คำตอบที่ได้มันก็จะยังวนเวียนเหมือนปัญหาใหญ่ของสินค้าเกษตรของไทยทุกตัว เช่น การโทษไปที่สถานการณ์โลก สงคราม โรคระบาด ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ จนนำมาสู่ความยากลำบากของชาวนาและเกษตรกร

ซึ่งมันก็เป็นส่วนหนึ่ง!!

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาที่แท้ และไม่มีใครแคร์จริง มันอยู่ที่ ‘โครงสร้าง’ ปัญหาโครงการทั้งระบบที่ไม่เคยถูกแก้ ก็จะแผ่วงในห่วงโซ่อุปทาน ให้ โรงสี และ ผู้ส่งออก อ่วมต่อไปเป็นทอด ๆ

แน่นอนว่า การแก้ปัญหาให้ได้ทั้งระบบ มันไม่ใช่แค่ประกาศนโยบายมาตัวเดียวแล้วครอบคลุม แต่ยังมีเรื่องที่ยิบย่อยที่บางครั้งก็ต้องใช้ทั้งแนวทางประชานิยม หรือบางครั้งก็ต้องลงไปวาดยุทธศาสตร์เฉพาะถิ่นเอาเอง

แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวดีเรื่องของข้าวที่มีปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 63 โดยรัฐบาลมีการปรับระบบการผลิตข้าว ให้เข้าสู่ ‘วงจรปกติ’ 

คำนี้สำคัญ!! เพราะเดิมทีไทยเรามีระบบการผลิต ที่มุ่งเน้นมาตรฐานคุณภาพ แต่มันดันไป ‘ล่มสลาย’ ช่วงนโยบาย ‘จำนำข้าว’ ที่ทำให้ชาวนาขาดความสนใจในจุดสำคัญนี้ไป

ช่างมัน!! เริ่มกันใหม่!!

เป้าหมายใหญ่ของรัฐบาลนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องการช่วยเรื่องราคาข้าวแบบชั่วครั้งชั่วคราว หากแต่ในระยะยาว การแก้ปัญหาที่เห็นผล คือ ชาวนาต้องยืนได้ด้วยตัวเอง และรัฐบาลไหนเข้ามารับไม้ต่อ ชาวนาก็ไม่ต้องรอความช่วยเหลือแบบเป็นครั้ง ๆ ไป 

ดังนั้นช่วงปี 2563 ยุทธศาสตร์ของภาครัฐ จึงอยู่ที่การรื้อระบบคิดของชาวนาออกจากวังวนเดิม วังวนของผู้รอรับการช่วยเหลือแบบจบเป็นครั้ง ๆ แต่รัฐมุ่งเข้าไปส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้, เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์, สนับสนุนเทคโนโลยี, มุ่งเน้นการผลิตที่คำนึงระบบนิเวศ รวมถึงการส่งเสริมข้าวสายพันธุ์ใหม่ ๆ 

>> ถ้าพูดให้เห็นภาพ คือ รัฐส่ง ‘คันเบ็ด’ แทนการให้ ‘ปลา’ แก่ชาวนามากขึ้น 

เมื่อระบบการผลิตข้าวได้มาตรฐานคุณภาพ โรงสี/ ผู้ส่งออก ก็สามารถกลับเข้าไปในตลาดที่เลิกซื้อข้าวของเรา เช่น ประเทศอิรัก จำนวนมากกว่าหนึ่งแสนตัน รวมไปถึงกลับมาเป็นประเทศผู้นำพันธุ์ข้าวชั้นดีแบบที่เคยเป็นในอดีต

ที่ผ่านมา ทั้งสำนักนายกรัฐมนตรี, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแม้แต่หน่วยงานอย่างกรมการข้าว ได้ทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันภาพใหญ่ให้เกิดขึ้นกับวงการข้าวไทย โดยใช้แนวทาง ‘ตลาดนำการผลิต’ ไว้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ก็เข้าไปเปลี่ยนแนวคิดชาวนา ให้เขาสร้างเป้าหมายใหม่ ๆ เช่น ต้องปลูกข้าวเพื่อสู้กับเวียดนาม ต้องสร้างมาตรฐานข้าวยั่งยืนเพื่อให้ข้าวเป็นบ่อแห่งความมั่งคั่งและยั่งยืนของชาวนา

เรียกว่าอดีตเคยใช้ ‘เหงื่อแลกเงิน’ ปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็นสร้างคุณค่าให้ ‘งานหรือผลผลิต’ ไปแลกเงิน 

'กรณ์' จี้นายกฯ บี้รมว.พลังงาน แฉ ซ้ำ ราคาหน้าโรงกลั่นถูกลง แต่หน้าปั๊มไม่ลด ปล่อยเพิ่มค่าการตลาดฟันกำไร

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้าเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี กำชับ 'รัฐมนตรีพลังงาน' ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดในช่วงนี้เนื่องจากมีความหละหลวมในการดูแลประชาชนอย่างมาก  เนื่องจากเดือนที่ผ่านมานี้สังคมกดดันท่านรัฐมนตรีเรื่อง 'ค่าการกลั่น' ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ น้ำมันแพง  ของแพง วันนั้นท่านออกมาสัมภาษณ์ว่า ‘คิดมาก่อนแล้ว เตรียมมาตรการไว้เป็นชุด’ แต่แล้วถึงวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรชัดเจน ส่วน 3-4 วันที่ผ่านมานี้ ท่านได้ปล่อยให้ผู้ขายนํ้ามันเพิ่ม ‘ค่าการตลาด’ (รายได้ของผู้ค้าน้ำมัน) ในกรณีของเบนซินขึ้นมาสูงเกินมาตรฐานปกติอย่างมาก

"วานนี้ (5 ก.ค.) ค่าการตลาด Gasohol95 E10 สูงถึง 3.42 บาทต่อลิตร ส่วน Gasohol 91 อยู่ที่ 3.62 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดปกติไม่ควรเกิน 2 บาท และที่น่าสนใจคือ หากเทียบกับวันที่ พรรคกล้า ได้ออกมากระทุ้งรัฐบาลครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.เราจะเห็นว่า ราคานํ้ามันที่รับจากโรงกลั่นน้ำมันถูกลง แต่ราคาหน้าปั้มยังอยู่ในระดับเดิม แทนที่คนไทยเรา จะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ถูกลง กลับกลายเป็นผู้ค้าเอาไปเป็นรายได้ของตนเอง ซึ่งผู้ค้าใหญ่สุดก็คือ ปตท. นั่นเองรัฐมนตรีพลังงาน ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้อย่างไรครับ" หัวหน้าพรรคกล้า ตั้งข้อสังเกต

'ก.เกษตรฯ' จับมือญี่ปุ่น ดันนโยบายผลิตภัณฑ์จากแมลง ส่งเสริมการ 'สร้างงาน - อาชีพ - รายได้' ให้เกษตรกรไทย

รายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียววันนี้ (5 ก.ค.) แจ้งว่านายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว, นายโชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ, นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ, นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และคณะ เดินทางไปมหาวิทยาลัยทากะซากิ (Takasaki City University of Economics) ในจังหวัดกุนมะ เพื่อร่วมประชุมหารือกับ ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ (Takeshi Mizuguchi) อธิการบดีมหาวิทยาลัย และคณะ เมื่อวานนี้ เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาอาหารแห่งอนาคต (Future Food) 

โดย มหาวิทยาลัยทากะซากิได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับบริษัท ฟิวเจอร์นอท อิงค์ (Futurenaut Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารจากแมลง โดยใช้ผงจิ้งหรีดนำเข้าจากประเทศไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าแปรรูป เช่น ขนมแคร็กเกอร์ โปรตีนแท่ง เป็นต้น

โดยนายเรน ซากุไร (Ren Sakurai) CEO บริษัทฟิวเจอร์นอท และ ดร.อะกิฮิโร อีจิมะ (Akihiro Iijima) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ได้นำเสนอข้อมูลของบริษัทตลอดจนพาชมห้องปฏิบัติการทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

สำหรับการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ มีสื่อมวลชนญี่ปุ่นให้ความสนใจอย่างมาก โดยติดตามทำข่าวและสัมภาษณ์นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ, ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ อธิการบดี และนายเรน ซากุไร ซีอีโอ บริษัทฟิวเจอร์นอท

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) กล่าวว่า พอใจต่อความสำเร็จในการเจรจาหารือโดย ท่านอธิการบดี ดร.ทาเคชิ มิซึกุจิ และนายเรน ซากุไร ซีอีโอ บริษัทฟิวเจอร์นอท พร้อมจะทำความตกลงลงนามเอ็มโอยู กับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ด้านแมลง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาแมลงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนทางเลือกใหม่ ภายใต้นโยบายอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และนโยบายฮับแมลงโลกของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยังสอดรับกับแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) ที่ประกาศให้ 'แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก' และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติอีกด้วย

JSL ชี้แจง!! จ่ายชดเชย 16% ของยอดทั้งหมดแค่บรรเทา ยันจะจ่ายให้ครบตามกฎหมาย แต่ยังขาดกระแสเงินสด

(5 ก.ค.65) เพจเฟซบุ๊ก 'JSL Global Media เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย' มีการชี้แจงเรื่องเงินชดเชยของพนักงาน ระบุว่า...

เรื่องเงินชดเชยของพนักงาน ทางบริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจและยังมีความตั้งใจที่จะจ่ายให้ครบจำนวนตามที่กฏหมายกำหนดไว้ แต่เนื่องด้วยภาวะการขาดกระแสเงินสดฉับพลันและยังไม่สามารถหาเงินมาให้ทันกับค่าชดเชยที่ต้องจ่ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ทางบริษัทจึงจำเป็นต้องแจ้งพนักงานทุกคนตามความเป็นจริงเรื่องจำนวน % ที่บริษัทสามารถจ่ายให้ได้ ณ วันนั้น

อย่างไรก็ดี บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องเงินชดเชยที่ขาด และได้พยายามหลายวิธีการเพื่อหาเงินมาจ่ายให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพราะทราบความเดือดร้อนของพนักงานทุกคน ตามกระบวนการที่ควรจะเป็นคือบริษัทและพนักงานต้องมีการคุยเจรจากันก่อนที่จะไปถึงกระบวนการของสำนักงานแรงงาน แต่ด้วยข้อจำกัดที่บริษัทมีขณะนั้น เราจึงไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดการจ่ายชดเชยที่เหลือได้ ทางบริษัทต้องขออภัยในความล่าช้าและทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจนเกิดเหตุการณ์ตามข่าว ทางบริษัทขอชี้แจงกระบวนการการจัดสรรงบประมาณในการจ่ายชดเชยที่จะมีการดำเนินการต่อไปดังนี้ 
 

'กรณ์' ผิดหวัง ประชุม สมช.ไร้ธงแก้น้ำมันแพงชัด!! แต่กลับตั้ง คกก.ซ้อน ครม.เศรษฐกิจ อีก 2 ชุด

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ไลฟ์สดผ่านเฟซบุคส่วนตัว หลังทราบผลประชุม สมช. มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในช่วงเย็นของวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยระบุว่า รู้สึกอึดอัดผิดหวังกับผลการประชุมในวันนี้มาก เนื่องจากไม่มีมาตรการอะไรที่ชัดเจน นอกจากการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทับซ้อน ครม.เศรษฐกิจ อีก 2 ชุด โดยมีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานอย่างละชุด แทนที่จะให้ ครม.เศรษฐกิจทำหน้าที่เองให้เต็มที่ 

นายกรณ์ กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา พรรคกล้าได้เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาแก้ไขปัญหาราคาน้ำ พร้อมเสนอทางออกให้มากมาย นำไปสู่การประกาศโรงกลั่นบริจาคเงินเข้ากองทุนน้ำมันเดือนละ 8,000 ล้านบาท เป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับ 24,000 ล้านบาท จนถึงวันนี้เงียบ ไม่รู้ว่าได้ดำเนินการไปแค่ไหนอย่างไร รวมถึงที่นายกรัฐมนตรี เรียก รมว.พลังงานฯ และ รมว.พาณิชย์ เข้าพบปัญหามันควรจะจบนับตั้งแต่วันนั้น เพราะข้อมูลของทั้งสองท่านต้องมีครบถ้วน และมีอำนาจเต็มในการดำเนินการ ขนาดพวกเราไม่ได้เป็นรัฐบาล ยังสามารถติดตามข้อมูลจากทางราชการ เพื่อประเมินสถานการณ์ นำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาได้

“การตั้งกรรมการมีคนนั่งล้อมวงตามวัฒนธรรมการทำงานราชการไทย ไม่มีใครกล้าพูดหรือเสนออะไร ท่านนายกฯ นั่งหัวโต๊ะว่าอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น ซึ่งมันไม่ได้นำไปสู่การมีข้อสรุปหรือนโยบายใด ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้กับประชาชนได้ ขอย้ำว่า ประชาชนเดือดร้อน น้ำมันแพง ของแพง มันเป็นภาระกับประชาชนโดยตรง  มันไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ได้ด้วยการตั้งคณะกรรมการชุดแล้วชุดเล่า จริง ๆ การแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องยาก มันมีมาตรการและทางออกที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่มีคนในวงการทำให้ดูสลับซับซ้อนเพื่อที่สุดท้ายจะทำให้ไม่มีคำตอบ” นายกรณ์ กล่าว

'สุริยะ' เผยแผนศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ คาดเสร็จ 100% พร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ปี 2569

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automotive and Tyre Testing, Research and Innovation Center – ATTRIC) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการบนพื้นที่ 1,235 ไร่ ณ บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อของไทย ไปสู่การเป็นซุปเปอร์คลัสเตอร์ (Super Cluster) ตามยุทธศาสตร์ของประเทศและศักยภาพของพื้นที่ 

สนับสนุนให้มีการออกแบบ วิจัยพัฒนา และนวัตกรรม ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ไทยเป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางการทดสอบและรับรองในภูมิภาคอาเซียน มีบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถในด้านผลิตภัณฑ์      

ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อ สามารถทดสอบและรับรองได้เองในประเทศ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในประเทศที่ไม่ต้องส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบที่ต่างประเทศ สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการพัฒนาและเจริญเติบโตยิ่งขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเฉพาะการเป็นศูนย์ทดสอบเพื่อรองรับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า ยางล้อ ชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา  เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 3,705.7 ล้านบาท ซึ่งได้รับการจัดสรรแล้ว 1,872.7 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการของบประมาณ ปี 2566 อีก 1,833 ล้านบาท โดยการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้...

AIS ทุ่ม 32,420 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการ 3BB จ่อขึ้นแท่น 'เจ้าบรอดแบนด์ - เครือข่าย' ชน True

สมรภูมิบรอดแบนด์ส่อแววระอุอีกครั้ง หลัง AIS ทุ่มเม็ดเงินเข้าซื้อกิจการ 3BB และ JASIF รวมมูลค่าการลงทุ 32,420 ล้านบาท จ่อขึ้นแท่นผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่ของไทย

เมื่อช่วงต้นปีมีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ว่า บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส สนใจเข้าซื้อธุรกิจบรอดแบนด์ของ บมจ. ทริปเปิลที บรอดแบนด์ หรือ 3BB แต่ทาง บมจ. จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ก็ออกมายืนยันว่า บริษัทไม่ได้ดำเนินการ หรือมีพัฒนาการใดๆ ในเรื่องการขายธุรกิจบรอดแบนด์ของบริษัทดังกล่าว

ล่าสุด!! AIS ซื้อได้เข้าซื้อกิจการ 3BB บรอดแบรนด์แล้วด้วยมูลค่า 32,420 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเข้าซื้อกิจการ 3BB มูลค่า 19,500 ล้านบาท จาก บริษัท JAS และซื้อหน่วยลงทุน JASIF 12,920 ล้านบาท จาก JAS เช่นกัน รวมเป็นมูลค่า 32,420 ล้านบาท

ทั้งนี้ AWN ได้ลงนามใน บันทึกข้อตกลงกับ ACU และ JAS ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 เพื่อซื้อขายหุ้น TTTBB และหน่วยลงทุนใน JASIF (Undertaking Agreement) ('บันทึกข้อตกลง') โดย AWN จะยื่นเรื่องขออนุญาตในการเข้าทำธุรกรรมจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งภายหลังจากการได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นและหน่วยลงทุน โดยบริษัทฯ คาดว่าธุรกรรมซื้อหุ้นและซื้อหน่วยลงทุนจะเสร็จสมบูรณ์ภายในไตรมาส 1 ของปี 2566 ถ้าได้รับการอนุมัติจาก กสทช.

เกาะ 986 พิกัด!! สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย ผู้ให้บริการรายไหน? จัดเต็ม!!

ในวันที่ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มชัดเจน และตลาดก็ตอบรับอย่างรวดเร็ว ค่ายรถยนต์น้องใหม่ รวมถึงค่ายเทคโนโลยีดังๆ หลายเจ้า เริ่มขอเข้ามาแทรกแซงทางโค้งเพื่อเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของตนในประเทศไทยกันถ้วนหน้า จนสร้างความคึกคักท่ามกลางความคลื่นสึนามิย่อมๆ ของเศรษฐกิจไทย ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนของกำลังซื้อใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

แต่ถึงกระนั้นกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้น กลับสวนทางกับภาพของการใช้งานจริง นั่นก็เพราะเรายังเห็นจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV วิ่งกันบนท้องถนนแบบจริงจัง น้อยมาก!! 

แน่นอนว่าตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ยังอยู่ที่ความล่าช้าในการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภค, ทางเลือกที่ยังมีจำกัด, ราคาที่ยังไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ส่วนมาก, ศูนย์บริการที่สามารถดูแลเมื่อเกิดปัญหาที่ยังไม่ครอบคลุม และ ‘อีกตัวแปรสำคัญ’ ที่น่าจะมีผลต่อความเบาบางของรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากเกือบที่สุด คือ ความกังวลของผู้ใช้รถว่าแบตเตอรี่ของตนอาจหมดลง แล้วหาสถานีชาร์จได้ลำบากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทุกภาคส่วนของประเทศไทยที่อยู่ในระบบนิเวศนี้ ต่างรับรู้ปัญหาดี จึงได้มีการร่วมผลักดันสร้างสถานีชาร์จขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คิดแค่อยากจะตั้งก็ตั้งขึ้นมาได้ เพราะการจัดตั้งสถานีชาร์จในแต่ละที่ ต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของกระแสไฟฟ้าของพื้นที่นั้นๆ อยู่ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าวันนี้สถานีชาร์จในบ้านเรา ก็ผุดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกันบ้างพอสมควรแล้ว

ว่าแต่...ในวันนี้ประเทศไทยมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศมากน้อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) มีจำนวน 986 สถานีทั่วประเทศ มีหัวชาร์จรวมมากกว่า 2,200 หัวชาร์จ กระจายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ / นนทบุรี / ปทุมธานี / ภาคกลาง / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคเหนือ และ ภาคใต้ โดยมีจำนวนผู้ให้บริการที่ติดตั้งจุดชาร์จแล้ว ดังนี้...

>> EA ANYWHERE แบรนด์ภายใต้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ผลิตภัณฑ์ด้านสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 459 สถานี จำนวน 1,900 หัวชาร์จ
>> บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี
>> บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี
>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี
>> สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี
>> บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top