Monday, 29 April 2024
ECONBIZ

หัวรถไฟ EV ถึงไทยแล้ว ความสำเร็จของ EA และ CRRC Dalian อีกหนึ่งก้าวสำคัญขนส่งทางรางประเทศไทย

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างที่สำคัญของระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ภายหลังจาก EA นำทางด้าน Green Energy รายใหญ่ของประเทศไทย ได้จับมือกับ บริษัท CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ร่วมพัฒนาหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 

ล่าสุดหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าของบริษัท CRRC Dalian ส่งตรงมาถึงไทยแล้ว เตรียมทดสอบสับเปลี่ยนขบวนที่สถานีบางซื่อภายในปีนี้ 

จุดเด่นของหัวรถจักรรุ่นนี้ สามารถวิ่งได้ระยะ 150-200 กม. ประหยัดต้นทุนพลังงานได้กว่า 40% เมื่อเปรียบเทียบกับหัวรถไฟดีเซล สอดรับยุทธศาสตร์ Asian Logistics Hub ของไทยและภูมิภาค

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัท CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ได้จัดส่งหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV มายังประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท เอเซียเอนจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด (AES) ผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมบำรุงรถไฟ เพื่อประกอบติดตั้งระบบแบตเตอรี่ 

โดยหัวรถจักร EV คันนี้เป็นรถจักรคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ Battery Train ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ซึ่งทาง EA ได้รับโอกาสจากกระทรวงคมนาคม และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้นโยบาย EV on Train ขณะเดียวกันยังได้ร่วมมือกับภาควิชาการ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มทร. อีสาน ในการเตรียมทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ที่สถานีบางซื่อภายในปีนี้

📌10 คำศัพท์น่ารู้!! เกี่ยวกับโลกธุรกิจยุคดิจิทัล

📌10 คำศัพท์น่ารู้!! เกี่ยวกับโลกธุรกิจยุคดิจิทัล

1.) BLOCKCHAIN
2.) DATA ECONOMY
3.) DEEP TECHNOLOGY (DEEP TECH)
4.) FINTECH
5.) DIGITAL CUSTOMER EXPERIENCE
6.) OPEN SOURCE CODE
7.) OPEN DATA
8.) MICRO-PAYMENT
9.) INTERNET OF VALUE
10.) SOCIAL BANKING

รมว.สุชาติ ส่ง เลขาสุเทพ ร่วมเปิดงานให้บริการรถไฟฟ้าสาย 8 เพิ่มการจ้างงาน สร้างรายได้สูงถึง 30,000 บาทต่อเดือน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า สาย 8 ของบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด  ภายใต้สโลแกน “เดินทางด้วยรอยยิ้ม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เปิดโอกาส ป.ตรี เข้าทำงานสู่ภาคบริการรับรายได้สูงถึง 30,000 บาทต่อเดือน 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า สาย 8 ของบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธ์ (มหาชน) จำกัด กล่าวต้อนรับ ณ อู่รถโดยสารสาย 8 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

นายสุเทพ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการจ้างงาน เพื่อให้คนไทยมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ขานรับนโยบายรัฐบาลดังกล่าวในการที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่กำลังแรงงานและให้บริการจัดหางานแบบครบวงจร และในวันนี้ได้มอบหมายให้ผมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า สาย 8 ของบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ลงนามความร่วมมือว่าด้วยการบริการจัดหางานและพัฒนาทักษะการให้บริการด้านขนส่งสาธารณะกับบริษัท ไทย สมายล์บัส จำกัด บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  

นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่า สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ร่วมกับบริษัทฯ จัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งแล้วจำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร มาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถโดยสารไฟฟ้า และหลักสูตร มาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับรถโดยสารไฟฟ้า ซึ่งในหลักสูตรการฝึกนั้น พนักงานขับรถโดยสารไฟฟ้าจะได้เรียนรู้การใช้งานเกี่ยวกับอุปกรณ์และระบบควบคุมของรถโดยสารระบบไฟฟ้า กฎ ระเบียบ มารยาท บุคลิกภาพ โครงสร้างอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกของรถโดยสารไฟฟ้า รวมถึงมาตรการการปฏิบัติกรณีฉุกเฉินได้ส่วนตำแหน่งพนักงานต้อนรับรถโดยสารไฟฟ้า จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ เทคนิคการให้บริการด้วยใจ การคิดเงิน ทักษะเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ E Payment รวมถึงการดูแลความเรียบร้อยภายในรถขณะเดินทาง เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทได้นำหลักสูตรที่จัดทำร่วมกันไปพัฒนาบุคลากรของตนเองแล้วกว่า 200 คน และสำหรับวันนี้ บริษัทได้เปิดให้บริการขนส่งรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า สาย 8 เขตบึงกุ่ม  และกำลังจะเปิดให้บริการอีกหลายสาย จึงมีความต้องการแรงงานเข้าทำงานทั้งตำแหน่งพนักงานขับรถและพนักงานต้อนรับบนรถโดยสารอีกหลายอัตรา มีเงินเดือนสูงถึง 30,000 บาท 

บีโอไอ เผย ไทยขยับใกล้ขึ้นเป็นฮับ EV คาดต้นปี 66 ยอดผลิตแตะ 1 ล้านคัน

เผยยอดขอบีโอไอรถ EV ทะลุเป้า 830,000 คัน คาดต้นปี 2566 ผลิตได้แตะ 1 ล้านคัน ล่าสุด BYD จากจีนได้บีโอไอ ทุ่ม 17,891 ล้านบาท เริ่มผลิตปี 2567 จับตาค่ายจีน ยุโรป เตรียมยื่นขอส่งเสริมอีกเพียบ

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า นโยบายสนับสนุนให้เกิดยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ขึ้นในประเทศไทย โดยอาศัยมาตรการต่าง ๆ เข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือผลักดันให้เกิดการลงทุน ซึ่งจากสถิติยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดที่ผ่านมาของ XEV หรือรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบปลั๊กอิน (HEV) แบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และแบบแบตเตอรี่ (BEV) ได้รับการอนุมัติไปแล้วถึง 26 โครงการ จาก 17 บริษัท มีกำลังการผลิตแบบเต็ม (capacity) 830,000 คัน ซึ่งหากเป็นเฉพาะ BEV เพียว มีจำนวน 256,000 คัน นับว่าเป็นจำนวนที่สูง

ล่าสุดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานบอร์ด ยังได้อนุมัติการลงทุนให้กับบริษัท BYD จากประเทศจีน ซึ่งจะเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ BEV และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก PHEV มูลค่าการลงทุน 17,891 ล้านบาท ที่จะต้องลงทุนในกรอบเวลา 3 ปี นับจากได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น คาดว่า BYD จะเริ่มผลิตในปี 2567

ซึ่งตามเงื่อนไขการลงทุนนั้น จะต้องใช้แบตเตอรี่ในประเทศ จะเป็นการลงทุนเอง ดึงพาร์ตเนอร์ให้เข้ามาลงทุนเพื่อผลิตให้กับโครงการที่ได้รับอนุมัติก็ได้ หรือจะใช้แบตเตอรี่ที่มีผู้ผลิตอยู่แล้วในประเทศก็ได้ เพื่อประเทศไทยจะได้อานิสงส์จากการลงทุนครบทุกด้าน

'รองโฆษกรัฐฯ' เผย จัดเก็บภาษีแพลตฟอร์มต่างประเทศ 10 เดือนแรกของปีงบฯ 65 ได้เกือบ 6 พันล้านบาท

(19 ส.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีติดตามผลการจัดเก็บภาษีจากการค้าดิจิทัลของผู้ประกอบการต่างประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ เริ่มจัดเก็บเมื่อ 1 ต.ค. 2564 ซึ่งกรมสรรพากรรายงานว่า จากที่ได้มีการปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษี ให้ผู้ประกอบการและอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มในต่างประเทศต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทยที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายได้จากการให้บริการดังกล่าวเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

น.ส.รัชดา กล่าวว่า กรมสรรพากรได้เปิดให้จดทะเบียนผ่านระบบ VAT for Electronic Service (VES) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ปัจจุบันมีมาจดทะเบียนแล้ว 138 ราย มีมูลค่าบริการทางอิเล็กทรอนิกส์รวม 85,015 ล้านบาท คิดเป็นรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มสะสม 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 (ต.ค. 64 - ก.ค. 65) จำนวน 5,951 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ของทั้งปีงบประมาณ 2565 ที่ 5,000 ล้านบาท

น.ส.รัชดา กล่าวว่า สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีการขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) กรมสรรพากรมีหน่วยงานที่ติดตามการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจที่อยู่นอกระบบภาษี ซึ่งรวมตั้งแต่การขายสินค้าทางออนไลน์ต่าง ๆ ไปจนถึง Youtuber,  Blogger Content Creator และธุรกิจอื่น ๆ โดยได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสำรวจผู้ประกอบการหรือผู้มีเงินได้ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Data Analytics การทำ Web Scraping การทำ Text Mining เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการทำ data analytics จะบ่งชี้ผู้เสียภาษีให้เจ้าหน้าที่สามารถให้คำแนะนำและการออกหนังสือเตือน (Notification Letter) เพื่อให้ผู้อยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ ที่ผ่านมาได้ช่วยให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นกว่า 800 ล้านบาท รวมทั้งกรมฯ ยังมีการเปิดระบบแจ้งเบาะแสหลีกเลี่ยงภาษีผ่าน Website on Mobile ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจแหล่งภาษี ซึ่งช่วยให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นกว่าปีละ 200 ล้านบาท

'จ่าพิชิต' ต้าน ล้างหนี้ กยศ. กู้มา ก็ต้องใช้ เพื่อคนรุ่นต่อไป ติง!! พวกมีเงิน แต่ชอบออกสื่อโจมตีว่าไม่เห็นใจคนจน

เพจเฟซบุ๊กดัง 'Drama-addict' ซึ่งมี นพ.วิทวัส ศิริประชัย หรือ 'จ่าพิชิต ขจัดพาลชน' เป็นเจ้าของเพจ ได้ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านการ #ล้างหนี้กยศ อย่างชัดเจน โดยระบุว่า...

เมื่อกู้มาก็ต้องใช้คืน ไม่ใช่เรียกร้องให้ยกหนี้ แถม กยศ.ยังมีดอกเบี้ยถูกมาก (ปีละ 1%) และระยะเวลาใช้คืนถึง 15 ปี หลังเริ่มทำงาน แถมหากมีไม่พอ ก็สามารถไกล่เกลี่ย ทยอยจ่ายได้อีก ดังนั้นจึงไม่ใช่ข้ออ้างที่จะมาเรียกร้องให้ล้างหนี้ และคนที่เรียกร้องควรคิดถึงคนรุ่นต่อไปด้วย

ตอนนี้กำลังมีประเด็นการ #ล้างหนี้กยศ ที่มีการผลักดันกฎหมาย ยกเลิกหนี้ให้คนที่ติดหนี้ กยศ. บอกว่ามีหนี้สินแล้วไร้แรงจูงใจในการเริ่มต้นชีวิต บลาๆ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ บลาๆ

อันนี้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในฐานะที่ จ่าก็เป็นคนนึงที่เรียนจบมาด้วยการกู้ กยศ. ขอบอกว่า การกู้หนี้ กยศ. นี่ช่วยสร้างอนาคตให้คนจำนวนมากทั่วประเทศ

แต่มันมีคนเห็นแก่ตัวจำพวกนึง ซึ่ง บ้านไม่จน แต่กู้หนี้ กยศ. มาจ่ายสุรุ่ยสุร่าย ออกรถ ออกมือถืองี้ อันนี้มีตั้งแต่รุ่นจ่าละ คนที่เดือดร้อนจริงๆ ก็นั่งตาปริบๆ เพราะกู้ไม่ได้ เงินกองทุนเกลี้ยง เจอคนพวกนี้ชิงกู้ไปซะเยอะ

แล้วพอมีปัญหาเงินกองทุนหมด รุ่นต่อไปกู้ไม่ได้ เพราะไอ้พวกนี้แม่งไม่ยอมคืนเงิน ไม่ยอมผ่อนชำระ ทั้งที่ กยศ. ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก ถูกที่สุดแล้ว แต่พวกนี้ก็ยังไม่ยอมจ่าย บางคนแม่งตีมึนบอกว่า อ้าว ต้องจ่ายด้วยเหรอ นึกว่าเงินให้ฟรี ... เฮ้ย เงิน "กู้" แปลว่ามึงต้องจ่ายคืน

จนมีช่วงนึง กยศ. ต้องดำเนินการทางกฎหมาย ฟ้องร้อง ยึดทรัพย์กัน ไอ้พวกนี้ถึงจะเริ่มยอมจ่าย แต่บางคนก็ยังทำมึน ไม่ยอมจ่าย ทั้งที่มีเงินออกรถออกบ้าน พอถึงเวลาถูกยึดบ้าน ก็ทำเป็นร้องห่มร้องไห้ ออกสื่อโจมตี กยศ. บอกว่าไม่เห็นใจคนจน บลาๆ

จริงๆ กยศ. นี่ ถ้าสมมุติคุณจบมาแล้ว ยังหางานทำไม่ได้ สามารถเข้าไปคุยกับ กยศ. เพื่อไกล่เกลี่ย ปรับการชำระหนี้ หรือถ้าหางานไม่ได้จริงๆ กยศ. ก็ยังช่วยหาลู่ทางทำมาหากินให้ด้วย

📌ผู้ประกอบการต้องรู้!! ✨ 9 กลยุทธ์ยกระดับแบรนด์ ต่อยอดธุรกิจสู่การเติบโต

📌ผู้ประกอบต้องรู้!! ✨ 9 กลยุทธ์ยกระดับแบรนด์ ต่อยอดธุรกิจสู่การเติบโต

1.) Product Improvitization เป็นการพัฒนาปรับปรุงสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า
2.) Untapped market การหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และกลุ่มตลาดใหม่
3.) Associate Storyline สร้างเรื่องราวเชื่อมโยงกับลูกค้า สร้างความแตกต่างและจุดยืนของแบรนด์
4.) Collaboration การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ผ่านการร่วมมือทางด้านธุรกิจ
5.) Distribution and Technology Transformation การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น
6.) 6. Differentiation with Product and Process Innovation การสร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรมหรือการพัฒนาสินค้าใหม่
7.) Price Point การวิเคราะห์ราคาที่เหมาะสม
8.) Redefining Brand Identity ยกระดับคุณค่าและประสบการณ์ของลูกค้าผ่านแบรนด์ สร้างความประทับใจ
9.) Rename พิจารณาการเปลี่ยนชื่อแบรนด์

'มดดำ' แฉ!! พิษแชร์ลูกโซ่ Forex-3D ดาราซูเปอร์สตาร์ เสียหายกันเยอะกับคดีนี้

‘มดดำ’ อ่านข่าว ‘พิ้งกี้’ แล้วพูดไม่ออก ไม่รู้จะเป็นยังไงต่อ เพราะพิ้งกี้รับละครอยู่ 4 เรื่อง แต่บอกดาราโดนเพียบ พิษแชร์ลูกโซ่ Forex-3D ไล่ชื่อจะตกใจ มีดาราที่น่าสงสารที่สุด

กรณีศาลอาญาไม่ให้ประกันตัวนางเอกชื่อดัง ‘พิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช’ กับแม่ ฐานฉ้อโกงประชาชนคดี Forex-3D ส่งตัวเข้าเรือนจำทันที พร้อมพวกอีก 16 คน ซึ่งกลายเป็นข่าวช็อกของวงการบันเทิงในวันนี้ (18 ส.ค.)

รายการแฉ วันที่ 18 ส.ค. มดดำ คชาภา ตันเจริญ ก็ได้พูดถึงประเด็นนี้ โดยเผยว่า ถ้ายังจำกันได้ เป็นคดีที่ ‘จ๊ะ นงผณี มหาดไทย’ โดนคนเดียว 20 ล้าน ช่างแต่งหน้าทำผมในวงการบันเทิงโดนกันหมด รวมทั้งช่างแต่งหน้าของ ‘เอมมี่ มรกต แสงทวีป’ ก็โดนไปหนึ่งแสน

พร้อมเผยว่าแรกๆ ได้เงินจริง จุดเริ่มต้นใช้นายแบบหลายๆ คน มีดารานักแสดงเข้าไปเกี่ยวข้องมากมาย Forex-3D กลายเป็นที่พูดถึง จนวันนึงทุกอย่างค่อยล่มสลาย เจ้าของบริษัทโดนจับไปแล้ว ตลอดระยะเวลา มีคนพูดถึงว่าพิ้งกี้อาจโดนจับด้วย เพราะพี่ชายพิ้งกี้เคยทำงานกับ Forex-3D แต่ไม่รู้ว่าพิ้งกี้น่าจะเป็นผู้ลงทุน ไปหาคนมาร่วมลงทุนแล้วจะได้เงินนี้คืน แรกๆ ลงทุน 100 ได้คืน 120 บาท ซึ่ง Forex คือการกินส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน

พร้อมเผยว่าเป็นข่าวที่ช็อกและตกใจ ครั้งหนึ่งพิ้งกี้เคยมาตอบประเด็นนี้ในรายการแฉ และตนก็ถามว่าจากที่มีเงินเก็บ อยู่ดีๆ ไม่เหลืออะไรเลย รู้สึกยังไง ตอนนั้นพิ้งกี้ตอบว่าไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะเหมือนล้มไปถึงจุดต่ำสุด แล้วเดี๋ยวจะดีขึ้นมา เหมือนลูกบาส เด้งไป ยิ่งแรงก็กระเด้งขึ้นสูง ไม่ได้หมายถึงเราต้องสำเร็จแต่คือเรื่องที่มนุษย์ต้องเผชิญ มองเป็นเรื่องธรรมดา

🔎ส่อง 8 กลยุทธ์เด็ด พัฒนาสินค้าใหม่ ให้โดนใจลูกค้า❤ ✨

🔎ส่อง 8 กลยุทธ์เด็ด พัฒนาสินค้าใหม่ ให้โดนใจลูกค้า❤ ✨

1.) ประโยชน์ใช้สอย
2.) ความสวยงาม
3.) คุณภาพของผลิตภัณฑ์
4.) ราคาขายและต้นทุนการผลิต
5.) ความปลอดภัยในการใช้งาน
6.) ความแข็งแรงทนทาน
7.) การบำรุงรักษา 
8.) การบริการ

‘CPN’ ผนึก ‘ปตท.-อีโวลท์’ ทุ่ม 200 ล้าน ผุดที่ชาร์จรถอีวีในเซ็นทรัล 37 แห่งทั่วปท.

เซ็นทรัลพัฒนาจับมือกลุ่ม ปตท.ภายใต้แบรนด์ ‘ออน-ไอออน’ (on-ion) เดินหน้า The Future of eMobility Lifestyle อัดงบลงทุนกว่า 200 ล้านบาทขยายความร่วมมือให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (on-ion EV Charging Station) ในศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนากว่า 350 ช่องจอด นอกจากนี้ยังเสริมทัพด้วย บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด ร่วมขยายสถานีกว่า 50 ช่องจอด รวมกว่า 400 ช่องจอด ภายในสิ้นปี 2565 นี้

นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เพื่อตอบรับเทรนด์ EV ที่คนไทยหันมาให้ความสำคัญต่อการใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น เราจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรกลุ่มธุรกิจพลังงานรายใหญ่ ร่วมขยายสถานีฯ ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลกว่า 400 ช่องจอดภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งถือว่ามากที่สุดและเป็นเบอร์ 1 ในกลุ่มศูนย์การค้าของไทย โดยเฟสแรกคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2565 ตอบรับการเดินทางในทุกๆ วัน (short haul) หรือจะเดินทางแบบเมืองเชื่อมเมือง (long haul) สะท้อนความเป็นศูนย์กลางของทุกจังหวัด ท่องเที่ยวได้จากเหนือจดใต้ ผ่าน 37 สาขา กว่า 18 จังหวัดทั่วประเทศ

สำหรับความโดดเด่นของจุดชาร์จรถไฟฟ้าในเซ็นทรัล คือ... 

1.) จุดชาร์จครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้เกิด Worry-Free Journey การเดินทางแบบไร้กังวล

2.) ความสะดวกสบาย ชาร์จไฟกับรถยนต์ได้ทุกแบรนด์ ทุกค่าย

3.) สถานที่และระบบชาร์จมีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง

4.) ได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากกลุ่มเซ็นทรัล ส่งเสริม Eco-lifestyle Marketing ทั้งโปรโมชัน และส่วนลด เช่น ชาร์จฟรี 1 ชั่วโมงแรก เมื่อช้อปในศูนย์การค้าครบ 800 บาท สิทธิพิเศษมีจำนวนจำกัด เฉพาะ 1 เดือนแรก เพื่อสนับสนุนการใช้รถ EV ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนไทย และร่วมกันดูแลโลกและสิ่งแวดล้อม พร้อมต่อยอดตามดีมานด์ของลูกค้าในอนาคต และขยายสู่ธุรกิจอื่นๆ เช่น ที่อยู่อาศัย, โรงแรม และอาคารสำนักงานโดยคาดว่าจะมีส่วนช่วยในการลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ให้ประเทศไทยได้มากกว่า 5,250 ตันต่อปี 

ขณะที่ นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. โดย บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ได้ขยายสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ ออน-ไอออน (on-ion EV Charging Station) บนทำเลศักยภาพร่วมกับเซ็นทรัลพัฒนา รองรับการเติบโตของตลาด EV ให้พลังงานทางเลือกอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด ในรูปแบบของ ‘Green Charging Network’ ผ่าน on-ion Mobile Application

BOI เผยยอดขอส่งเสริมการลงทุน 6 ด.กว่า 2 แสนลบ. พร้อมเคาะ 4 โครงการใหญ่มูลค่าหลายหมื่นล้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ รวม 4 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก มูลค่า 17,891 ล้านบาท จากประเทศจีน กิจการผลิตก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่า 18,000 ล้านบาท กิจการขนส่งทางเรือของบริษัท ฐิตติ ภูมิ จำกัด มูลค่า 4,310 ล้านบาท และบริษัท ศานติ ภูมิ จำกัด มูลค่า 4,310 ล้านบาท  

รวมทั้งได้เห็นชอบให้เพิ่มประเภทกิจการผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 4 ประเภท ได้แก่ 1.กิจการผลิตเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง รวมถึงการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วน และการซ่อมแซมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ผลิตเอง ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และ 2. กิจการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน) 3.กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (Additive Manufacturing) ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี และ 4.กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไมโครเทคโนโลยีในการผลิต ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี 

ทั้งนี้การเพิ่มประเภทกิจการใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูงเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมในภาพรวม นอกจากนี้ การผลิตแบบ Additive Manufacturing ได้กลายเป็นแนวโน้มใหม่ในการผลิต จึงจำเป็นต้องสร้างนโยบายสิทธิประโยชน์ที่ปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

'บิ๊กตู่' ยินดี นักลงทุนญี่ปุ่นเชื่อมั่นศักยภาพ EEC เร่งเดินหน้าขยายความร่วมมือด้านการลงทุนเพิ่ม

เมื่อวันที่ (16 ส.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเชื่อมั่นในศักยภาพของ EEC และความพร้อมในการสร้างความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ มุ่งพัฒนาการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพต่อไป

ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นอันดับ 1 ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจากภาพรวมการลงทุนชาวญี่ปุ่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) พบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI (Board of Investment) ในปี 2564 มีมูลค่ารวม 19,445 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมฯ แก่นักลงทุนญี่ปุ่นรวม 3,240 ล้านบาท 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ข้อมูลจากสถานเอกอัครทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยพบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังให้ความสนใจลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จากศักยภาพการเติบโตของไทย ทั้งยังได้เปรียบด้านพื้นที่ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน มีต้นทุนจากสภาพแวดล้อม ทรัพยากรมนุษย์ สะดวกต่อการลงทุนเพิ่มและพร้อมพัฒนาในอุตสาหกรรมใหม่ สอดคล้องกับที่นักลงทุนญี่ปุ่นกล่าวถึง EEC ว่ามีศักยภาพ เหมาะสมแก่การลงทุนแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภายหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการเปิดประเทศของไทย มีการติดต่อเจรจาธุรกิจระหว่างกันทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง

ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา และ เอไอเอส ผนึกกำลังต่อเนื่องพัฒนา Smart Terminal นำร่องเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ร่วมกับ เอไอเอส  นำเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนา Smart Terminal เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่ง ด้วยนวัตกรรมใหม่ ต่อเนื่อง ช่วยเสริมการพัฒนาให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัย ในช่วงก่อนการสร้างและเปิดใช้อาคาร 3 ให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์ลำดับแห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานครในอนาคต ที่จะเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ากับสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้นโยบาย Thailand 4.0

โดยล่าสุดได้มีการลงนาม MOU ความร่วมมือต่อเนื่องในการนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและเสริมขีดความสามารถของท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อยกระดับสู่ Smart Terminal อย่างเต็มรูปแบบ ตอบสนองกับนโยบายของภาครัฐ ในการเป็นประตูหน้าด่านในการเปิดประเทศ ส่งเสริมทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขนส่ง คมนาคม ให้แข็งแกร่ง โดยได้รับเกียรติจาก พลเรือเอกวรพล ทองปรีชา ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา และคุณศรัณย์ ผโลประการ หัวหน้าฝ่ายงานผลิตภัณฑ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มลูกค้าทั่วไปเอไอเอส ร่วมลงนาม พลเรือเอก วรพล ทองปรีชา ผู้อำนวยการ การท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า “การท่าฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างสรรค์ด้วยคนไทย เข้ามายกระดับการให้บริการและการบริหาร ท่ากาศยานอู่ตะเภาให้ทันสมัย เป็นอาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ หรือ Smart Terminal  อันสอดคล้องตามแนวนโยบายดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) ของรัฐบาล ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล เพื่อช่วยต่อยอดท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นAviation Hub ในภูมิภาคนี้”

ILINK เปิดโผ กำไรไตรมาส 2/65 พุ่งแตะ 91.50 ล้านบาท จับตาคว้างานใหญ่เติม Backlog อัพไซส์ธุรกิจ

ILINK โกยรายได้ครึ่งปีแรกรวม 3,055.84 ล้านบาท พร้อมทำกำไรพีคต่อเนื่อง ล่าสุดเผยผลประกอบการไตรมาส 2/65 มีรายได้รวม 1,628.32 ล้านบาท และกำไรสุทธิพุ่งแตะ 91.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.21% ด้านยอดขายธุรกิจจัดจำหน่ายโตแรง 13.08% จับตารอเดินหน้าคว้างานใหญ่เติม Backlog คาดแนวโน้มทำกำไรสูงทะลุเป้า เร่งดันทุกธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

นางสาววริษา อนันตรัมพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้นำเข้า และค้าส่งอุปกรณ์เครือข่ายส่งสัญญาณ เปิดเผยว่า “ผลประกอบการไตรมาส 2/65 ของ ILINK มีรายได้รวม 1,628.32 ล้านบาท เติบโตขึ้น 37.11% และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 91.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มั่นใจแนวโน้มรายได้และกำไรทะลุเป้าที่ตั้งไว้ รวมถึงเร่งผลักดันทุกธุรกิจภายใต้กลุ่มบริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ฯ ให้เติบโตอย่างทรงประสิทธิภาพ และตอบสนองกับกระแสยุคสมัยที่ขับเคลื่อนพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว”

ธุรกิจจัดจำหน่าย (Distribution) ไตรมาส 2/65 มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 574.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.08% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการเติบโตของยอดขายในงวดนี้มีความโดดเด่นต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยสนับสนุนยังคงมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโครงข่ายพื้นฐาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ใช้สายซึ่ง ILINK เป็นผู้จัดจำหน่ายสายสัญญาณชั้นนำของประเทศไทยมายาวนานกว่า 30 ปี และมีการรับประกันที่ยาวนานที่สุดในตลาด จึงทำให้ลูกค้าทุกภาคส่วนเกิดความต้องการปรับปรุงระบบ และพัฒนาโครงข่ายให้มีคุณภาพมากขึ้น พร้อมตอบโจทย์การใช้งานอย่างถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงสุด นอกจากนี้ กระแสของการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Cell) ยังมาแรงต่อเนื่อง ทำให้ในงวดนี้ยอดขายสินค้ากลุ่มสายโซล่า (Solar Cable) เติบโตขึ้น 63.41% ในขณะที่กลุ่มอุปกรณ์เครือข่ายส่งสัญญาณ (Networking) และกลุ่มสาย UTP (LAN Cable) เพิ่มขึ้น 22.12% และ 13.65% จากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ

ธุรกิจโทรคมนาคม (Telecom) ไตรมาส 2/65 มีรายได้จากการให้บริการรวม 842.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.72% จากงวดเดียวกันของปีก่อน การเติบโตอย่างก้าวกระโดดนี้เป็นผลสำเร็จจากการต่อยอด New S-Curve ซึ่งผลักดันรายได้จากการให้บริการติดตั้งโครงข่ายพุ่งแตะ 484.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 403.31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยงานโครงการติดตั้งสำคัญที่รับรู้รายได้ในงวดนี้ คือ โครงการ Smart CCTV จำนวน 211.03 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ มีลูกค้าขนาดใหญ่เข้ามาใช้บริการโครงข่ายเพิ่มจำนวนมาก รวมถึงการขยายสาขาของลูกค้าเดิมก็ช่วยผลักดันให้รายได้จากธุรกิจนี้เติบโตดีต่อเนื่อง

‘กรมทางหลวง’ เร่งเครื่องมอเตอร์เวย์ ‘นครปฐม-ชะอำ’ ดีเดย์ 19 ส.ค.นี้ เปิดทางเอกชนร่วมลงทุน

'กรมทางหลวง' ใส่เกียร์เดินหน้าชวนเอกชนรวม Market Sounding ชวนลงทุนมอเตอร์เวย์ M8 ‘นครปฐม-ชะอำ’ ปูพรมเติมโครงข่ายลงสู่ภาคใต้ 19 ส.ค.นี้

(15 ส.ค. 65) รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่าในวันที่ 19 ส.ค. 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ทล.เตรียมจัดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) สำหรับการศึกษาความเหมาะสมในการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 8 (M8) สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กิโลเมตร (กม.)

ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเดินหน้า กรมทางหลวงจึงได้เชิญชวนภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และผู้สนใจ เข้าร่วมประชุมในรูปแบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่าน Zoom Cloud Meetings เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้รับ มาใช้ประโยชน์ในการศึกษาประกอบการกำหนดแนวทาง และรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับการลงทุนใหม่คาดว่าจะเป็นโมเดลเดียวกับ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว และ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) โดยรัฐลงทุนงานโยธา และ PPP ให้เอกชนลงทุนในส่วนของงานระบบ O&M ซึ่งเส้นทางนี้มีความสำคัญเพราะเป็นการเพิ่มโครงข่ายลงสู่ภาคใต้ โดยสามารถเชื่อมกับมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายเอกชัย-บ้านแพ้วได้ โดยในการลงทุนจะผลักดันในเฟสแรก ช่วงนครปฐม-ปากท่อ ที่เป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโครงการมอเตอร์เวย์ทั้ง 2 สาย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top