Monday, 29 April 2024
ECONBIZ

เกษตรกรเฮ!!! 'จุรินทร์' พบบริษัทปุ๋ยยักษ์ใหญ่ของซาอุชื่อ'ซาบิค' เจรจานำเข้าได้อีก 1 แสนตันในเดือนสิงหาคม

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 8.30 น. นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  พร้อมด้วยผู้แทนภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์และผู้แทนภาคเอกชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการ พบหารือกับผู้บริหารบริษัท SABIC (Saudi Basic Industries Corporation) Mr.Yousef Abdullah Al-Benyan ตำแหน่ง CEO บริษัท SABIC และคณะ ที่บริษัท SABIC ประเทศซาอุดิอาระเบีย วานนี้ (30 ส.ค. 65)

นายจุรินทร์ กล่าวว่า SABIC ถือเป็นบริษัทผลิตปุ๋ยรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและเป็นรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย หารือกับ CEO ของ SABIC ซึ่งบริษัทนี้ทำธุรกิจหลายด้านโดยเฉพาะปิโตรเคมี ปุ๋ย เคมีภัณฑ์และอื่นๆทั้งอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้ว 50 ปี ถือเป็นอันดับหนึ่งในตะวันออกกลาง ค้าขายกับ 50 ประเทศทั่วโลก โดยไทยถือว่าเป็นหนึ่งในนั้นและหลังจากฟื้นความสัมพันธ์ บริษัท SABIC ให้ความสัมคัญกับประเทศไทยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย

ในเรื่องของปุ๋ยรัฐบาลซาอุดีอาระเบียต้องการอำนวยความสะดวกการเจรจา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำเข้าปุ๋ยจากซาอุดีอาระเบียได้มากขึ้น อย่างน้อยนโยบายของตนตราบเท่าที่การแก้ปัญหาเรื่องราคาไม่ได้เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากและปุ๋ยทำจากแก๊สธรรมชาติ เมื่อราคาแก๊สในตลาดโลกยังสูง ส่งผลให้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกสูงขึ้นด้วย ซึ่งเราต้องนำเข้าปุ๋ยเกือบ 100% ต้นทุนการนำเข้าปุ๋ยในประเทศไทยจึงสูงขึ้นตามราคาปุ๋ยในตลาดโลกและราคาแก๊สในตลาดโลก รวมทั้งการขนส่งปุ๋ยเข้ามาต้องใช้น้ำมัน ทำให้ราคาปุ๋ยในประเทศมีราคาสูง แต่ในประเทศเราต้องแก้ปัญหา 2 ข้อ 1. เรื่องราคา 2. เรื่องปริมาณต้องไม่ให้ขาดแคลนสำหรับความต้องการใช้ของเกษตรกร

เรื่องราคาเราแก้ไขด้วยการจัดทำโครงสร้างราคาใหม่ โดยกรมการค้าภายในเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งทำเสร็จแล้วสอดคล้องกับต้นทุนที่เป็นจริงในการนำเข้า โดยดูจากใบอินวอยด์จริง ซื้อขายจริง ให้ยุติธรรมกับเกษตรกรที่เป็นผู้ใช้ปลายทางและผู้นำเข้า เรื่องปริมาณตอนนี้ถือว่าแก้ปัญหาลุล่วง เราเร่งเจรจากับซาอุดีอาระเบียนำเข้าปุ๋ย ซึ่งขณะนี้ทำสัญญาซื้อขาย นำเข้าปุ๋ยได้แล้วถึงเดือนกรกฎาคม จำนวน 323,000 ตัน และเดือนสิงหาคมนี้ มีการเจรจานำเข้าเพิ่มเติมอีก 102,000 ตัน รวมนำเข้าปุ๋ยจากซาอุฯ 425,000 ตัน และจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม อย่างน้อยปัญหาขาดแคลนปุ๋ยไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เรื่องราคายังต้องเป็นไปตามกลไกของราคาปุ๋ยในตลาดโลก 

 

เข้าใกล้เส้นชัย!! INTERLINK เฟ้นหาผู้มีทักษะชั้นเยี่ยมประจำกรุงเทพฯ และปริมณฑล บนเวทีระดับประเทศ

(31 ส.ค. 65) คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ กล่าวเปิดการแข่งขัน “โครงการสุดยอดทักษะสายสัญญาณ และเน็ตเวิร์ก ปีที่ 10 (Cabling & Networking Contest#10)” เฟ้นหาผู้เข้ารอบของกรุงเทพฯ โดยผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และถ้วยรางวัล พร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท ซึ่งการแข่งขันใกล้ถึงฝั่งของการค้นหาผู้มีทักษะชั้นเยี่ยมระดับภูมิภาค และยังคงเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ 

‘สุริยะ’ เผย 5 อุตสาหกรรม รับอานิสงส์เปิดปท. ดันดัชนีผลผลิตอุตฯ ก.ค. ขยายตัว 6.37%

อก. เผย MPI เดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.37 อานิสงส์จากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ด้านส่งออกสินค้าอุตฯ ขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 20

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าและช่วยหนุนการบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง มีคำสั่งซื้อและมีการเพิ่มการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ 95.71 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาพรวม MPI ใน 7 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัว ร้อยละ 1.23 และอัตราการใช้กำลัง การผลิต 7 เดือนแรก อยู่ที่ระดับ 63.42 ทั้งนี้ คาดว่า MPI ในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารของไทยที่ขยายตัวท่ามกลางวิกฤตความมั่นคงทางอาหารของโลก

นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2565 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 6.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 61.01 จากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ อุตสาหกรรมหลักกลับมาขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตและปูนซีเมนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว อีกทั้งภาคการท่องเที่ยวช่วยฟื้นการบริโภคภายในประเทศ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวจากเดิม 6 ล้านคน เป็น 8 ล้านคน ในปีนี้ รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) เดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 0.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ติดต่อกัน 

นอกจากนี้ ภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม แต่มีทิศทางชะลอตัวลง สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ชะลอตัวลงจากเดือนมิถุนายนขยายตัวที่ร้อยละ 12.9

สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดย สศอ. ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry Economics : EWS-IE) สศอ. จึงคาดการณ์จากดัชนีชี้นำสถานการณ์การผลิตโลก (PMI) ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยใน 1-2 เดือนข้างหน้า ปัจจัยภายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศทยอยฟื้นตัว ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวและปลดล็อกมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ประเทศคู่ค้าอยู่ในภาวะไม่ปกติ ส่งผลให้คำสั่งซื้อชะลอตัวลง ทั้งนี้ ต้องจับตาดูสถานการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงยืดเยื้อ ส่งผลต่อราคาพลังงานและวัตถุดิบ สภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย รวมถึงปัญหาข้อพิพาททางการเมืองระหว่างประเทศ

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

‘สุริยะ’ ชี้!! บอร์ด สมอ. ดีเดย์ 1 ม.ค.67 คุมมลพิษยานยนต์ ตามมาตรฐานยูโร 5

บอร์ด สมอ. เห็นชอบให้บังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 คุมมลพิษรถบรรทุก, รถบัส, รถกระบะ และรถยนต์เล็ก ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน มีผล 1 มกราคม 2567 มุ่งแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และรักษาสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายรัฐบาล

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) หรือบอร์ด สมอ. ประจำเดือนสิงหาคม 2565 ว่า บอร์ด สมอ. ได้มีมติเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมรถบรรทุก, รถบัส, รถกระบะ และรถยนต์เล็ก ทุกรุ่นทุกคัน ต้องได้มาตรฐานยูโร 5 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ไม่ให้เกินเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อประชาชน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้ขานรับนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้กำชับให้ สมอ. เร่งรัดกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษจากยานยนต์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดมาตรฐานแล้วจำนวน 34 มาตรฐาน อาทิ รถยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน รถมอเตอร์ไซค์ การทดสอบสารมลพิษจากเครื่องยนต์ และมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรถยนต์ตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไปเป็นต้น

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรฐานยูโร 5 นี้จะควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมา ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และปริมาณสารมลพิษอนุภาคหรือฝุ่นจากเครื่องยนต์ โดยมีระบบวินิจฉัยอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ ซึ่งเป็นระบบที่จะแจ้งผู้ขับขี่ในกรณีที่อุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษทำงานผิดปกติ รวมทั้งมีข้อกำหนดเรื่องความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ที่ผ่านการใช้งานไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ยังคงสามารถควบคุมมลพิษตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานได้

รัฐผนึก 'SME D Bank - SAM' แก้หนี้ SME หวังฟื้นการจ้างงาน - เศรษฐกิจขยายตัว

เมื่อวันที่ (29 ส.ค. 65) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่นโยบายรัฐบาลมุ่งส่งเสริมและดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสภาพคล่อง และที่มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (NPLs) ให้ฟื้นกลับมาเดินหน้าทางธุรกิจต่อได้ ทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank และ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือทางธุรกิจในรูปแบบหน่วยงานรัฐกับหน่วยงานรัฐ (G To G) เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพ ให้สามารถกลับมาพลิกฟื้น อยู่รอด และเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นเป็นครั้งแรกของภาครัฐที่ร่วมบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เป็นหนี้อย่างยาวนาน โดยจะนำร่องช่วยกลุ่มหนี้ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันที่เกิดขึ้นก่อนปี 2558 เงินต้นรวม ประมาณ 8,000 ล้านบาท และเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านกระบวนการแก้ปัญหาต่าง ๆ จาก บสส. แล้ว ทาง ธพว. พร้อมต่อยอดผ่านกระบวนการด้านการเงิน และการพัฒนา ในโครงการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ลดวงเงินผ่อนชำระเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ และเติมทุนใหม่เสริมสภาพคล่อง นำไปใช้บริหารจัดการธุรกิจ ซื้อวัตถุดิบ เพิ่มกำลังการผลิต หรือสร้างมาตรฐาน

‘SME D Bank’ ออก E-Book หนุนเอสเอ็มอีภาคกลาง โปรดี๊ดีมีครบ ทั้ง พัก! เที่ยว! ช้อป! แบบจัดเต็ม

ธพว.หนุนเอสเอ็มอีท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ ขยายตลาด ฟื้นฟูธุรกิจ ออก E-Book “โปรดี๊ดี เอสเอ็มอีทั่วไทย” ล่าสุดกับโซนพื้นที่ภาคกลาง จัดเต็ม ลดราคา พัก! เที่ยว! ช้อป!

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank ได้รวบรวมร้านอาหาร โรงแรม และร้านขายของฝาก เพื่อสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีในโซนพื้นที่ภาคกลาง ในรูปแบบ E-book โดยระบุว่า 

ใกล้วันหยุดแล้ว ไปเที่ยวกัน 
มีโปรเด็ด จาก SMEs ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ร้านขายของฝาก ฯลฯ  ในพื้นที่ภาคกลาง มามอบให้ จัดเต็ม ลดราคา พัก! เที่ยว! ช้อป! แบบจัดเต็ม

'สนธิรัตน์' ผุด 'สารคามโมเดล' ผลักดันเศรษฐกิจฐานราก “แก้หนี้ เพิ่มทุน สร้างรายได้เพิ่ม”

'สนธิรัตน์' ลั่น พร้อมผลักดัน พ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชน-ผลักดันเศรษฐกิจฐานราก แก้หนี้ เพิ่มทุน สร้างรายได้เพิ่ม ดัน สภาองค์กรชุมชน-องค์กรสวัสดิการชุมชน เป็นหัวหอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ชม คนสารคามมีศักยภาพ พร้อมนำร่องเป็นสารคามโมเดล มั่นใจ ยกระดับคุณภาพชีวิตฐานรากอยู่ดี กินดี

วันที่ (26 ส.ค. 2565) ที่โรงแรมพิมานอินน์ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) พร้อมด้วยนายสุพล ฟองงาม รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคอีสาน นายบุญส่ง ชเลธร รองเลขาธิการพรรค นางทิพย์พาพร ตันติสุนทร กรรมการบริหารพรรค นายสุทธิชัย จรูญเนตร รองประธานภาคอีสาน และว่าที่ผู้แสดงเจตจำนงเป็นผู้สมัคร สส. ภาคอีสาน จากจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อุดรธานี และมหาสารคาม ร่วมพบปะแกนนำจากสภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน วิสาหกิจชุมชน ในระดับอำเภอ จำนวนกว่า 150 คน ในเวทีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่ออนาคตไทย 

โดยนายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ตนมาในฐานะคนที่ทำเรื่องเศรษฐกิจฐานรากมาก่อน ภายใต้ปรัชญาใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ที่ผ่านมาไม่เคยทิ้งเรื่องเศรษฐกิจฐานรากไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน ถือเป็นหัวใจการทำงานหลักของตน ซึ่งมองว่าที่ผ่านมาการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ สิ่งที่กลุ่มทำถือเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนเกิดจากคนในชุมชนพึ่งพาตนเอง ขณะที่องค์กรสวัสดิการชุมชนที่ผ่านมาช่วยตัวเองอย่างเดียว เคยมีการร้องขอให้ออกพ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชนมา 16 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้า 

“อย่ามองว่าผมเป็นนักการเมือง เพราะตัวพรรคการเมืองเองจะไม่มีความหมาย หากไม่จับมือทำงานกับพี่น้องประชาชนจริง ๆ ผมตั้งใจมาหาวิธีทำงานร่วมกับท่าน ขอมาทำงานร่วมกัน มารับฟังว่าพี่น้องประชาชนอยากได้อะไรจริง ๆ เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมระบบสวัสดิการชุมชน ถ้าหากอยากได้จริง ผม และพรรคสร้างอนาคตไทย พร้อมที่จะขับเคลื่อนไปกับพวกท่าน โดยผมจะเสนอเป็นหนึ่งในนโยบายพรรค เพื่อทำให้พ.ร.บ.นี้เกิดขึ้นได้จริง”

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ตนมา จ.มหาสารคาม เพราะประชาชนที่นี่เข้มแข็งมาก ดังนั้นเราต้องเริ่มจากจุดที่เข้มแข็ง สร้างให้เป็นโมเดลเพื่อขยายไปสู่จังหวัดอื่น ๆ แม้ว่าจะทำได้ไม่ทั้งหมดในช่วงเวลานี้ แต่หลังจากที่ขับเคลื่อนจนได้พ.ร.บ.แล้ว ตนมั่นใจว่า จะสามารถจะผลักดันให้เกิดขึ้นทั่วประเทศได้ ตนเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะใช้สารคามโมเดลเป็นตัวตั้งของกองทุนสวัสดิการชุมชน 

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า เรื่องเศรษฐกิจฐานราก ถือเป็นหนึ่งในนโยบาย 5 สร้างของพรรค ความเข้มแข็งชุมชนคือหัวใจสำคัญของประเทศ การสร้างเศรษฐกิจฐานรากของพรรค จะทำควบคู่กับไปใน 3 ด้าน คือการแก้หนี้ เพิ่มทุน สร้างรายได้เพิ่ม ภายใต้แนวคิดขับเคลื่อนกลุ่มที่มีศักยภาพ 10-50 คน โดยขณะนี้ได้เริ่มนำร่องแล้วในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ในกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว ซึ่งประสบปัญหาในเรื่องราคาตกต่ำ โดยเข้าไปช่วยในการลดต้นทุนการผลิต และผลักดันราคาขายให้มากกว่าท้องตลาด 0.50 สตางค์ – 1 บาทต่อกิโลกรัม โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์ (ธกส.) กลุ่มรถเกี่ยวข้าวในพื้นที่ ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ ตนจะเข้าไปพูดคุยกับกลุ่มชาวนาที่ได้นำร่องไว้ และจะขยายโครงการนี้ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในประเทศต่อไป 

'รัฐบาล' ปลื้ม!! ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุ 4 ล้านคน

ข่าวดี!! ต่างชาติแห่เที่ยวไทย พุ่งเกิน 4 ล้านคน เชื่อสิ้นปี 65 ดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทย 10 ล้านคน หลังเพิ่มวันพำนักต่างชาติ ช่วยทำรายได้เข้าประเทศเพิ่ม 

(25 ส.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการเดินทางเข้าประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2565 ว่า ขณะนี้จำนวนมากกว่า 4 ล้านคน นับเป็นสัญญาณเชิงบวก สะท้อนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยเป็นผลสืบเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงรุกของรัฐบาล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาหาแนวทางกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ล้านคน ในปีนี้ 

นายอนุชา กล่าวว่า ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 สิงหาคม 2565 อยู่ที่ 4,015,504 คน และคาดการณ์ว่าภายในเดือนส.ค.นี้ จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยสะสม 4.5 ล้านคน โดย5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย สปป.ลาว สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร

นายอนุชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีนโยบายที่สอดคล้องกันเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โดยขยายระยะเวลาการพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง และเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ดังนี้...

‘สุริยะ’ ชูนโยบาย BCG ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด ผ่านเวทีประชุมเอเปคด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตฯ ชูนโยบาย BCG โชว์ศักยภาพเจ้าภาพการประชุมเอเปคด้านมาตรฐาน จับมือ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปค พลิกฟื้นเศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรือ เอเปค 2022 ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 พร้อมแสดงจุดยืนและบทบาทของไทยในเวทีการค้าโลก เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตามแนวคิด “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.”  

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรองของเอเปค (Sub-Committee on Standards and Conformance: SCSC) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SCSC ครั้งที่ 2/2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 18 - 20 สิงหาคม 2565  ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ สมอ. ได้ผลักดันภารกิจสำคัญเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาล 4 ด้าน ได้แก่ 1.) การพัฒนาและผลักดันกิจกรรมด้านมาตรฐานและการรับรองเกี่ยวกับ BCG Model 2.) สนับสนุนและส่งเสริมแนวทางใหม่ เพื่อให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 และฟื้นฟูการค้าและการลงทุน 3.) ส่งเสริมด้านนวัตกรรมและดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนตลาดและเชื่อมโยงสู่สากล และ 4.) สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการค้าให้ผู้ประกอบการรายย่อย (MSMEs)  โดยมีผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน จีนฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม เข้าร่วมประชุมกว่า 80 คน ภายใต้หัวข้อ "Open. Connect. Balance." หรือ "เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล" ผ่านแนวคิด โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) 

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมในครั้งนี้มุ่งผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ (1) การปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกันกับมาตรฐานระหว่างประเทศโดยมุ่งเน้นมาตรฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (2) การจัดกิจกรรม/การประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนาเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 และ BCG Model เช่น แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ การส่งเสริมความโปร่งใสในการออกกฎระเบียบ การออกใบรับรองดิจิทัล และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

'ดร.กอบศักดิ์' ชี้!! ภัยแล้งสุดรุนแรงในยุโรป-จีน ก่อวิกฤตอาหารโลก ให้ลุกลามยิ่งขึ้นไปอีกขั้น

'ดร.กอบศักดิ์' เตือน ภัยแล้งที่รุนแรงสุดในรอบ 500 ปีในยุโรป รวมถึงภัยแล้งในจีนและพื้นที่อื่น ๆ กำลังจะทำให้วิกฤตอาหารโลกลุกลามยิ่งขึ้น ซ้ำเติมสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยุคข้าวยาก หมากแพง คนอดอยาก กำลังมาเยือน 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้ ..
วิกฤตอาหารโลก .... “ข้าวจะยาก หมากจะแพง” ยิ่งขึ้น

ภัยแล้งที่รุนแรงสุดในรอบ 500 ปีในยุโรป รวมถึงภัยแล้งในจีนและพื้นที่อื่น ๆ กำลังจะทำให้วิกฤตอาหารโลกลุกลามยิ่งขึ้นไปอีกระดับ

ภาพของแม่น้ำที่แห้งขอดจนถึงพื้น
ซากเมือง
ซากเรือจม
Spanish Stonehenge
Hunger Stones หรือหินของความหิวโหยที่คนเมื่อช่วงศตวรรษที่ 15
สลักฝากข้อความไว้ที่หินใต้แม่น้ำว่า “If you see me, cry” หรือ “ถ้าคุณเห็นข้อความนี้ จงร้องไห้เถอะ” รวมไปถึงพระพุทธรูปเก่าแก่ในจีนอายุ 600 ปี ที่โผล่จากน้ำขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

กลายเป็นภาพจำที่กำลังออกมาให้ทุกคนได้เห็น ได้ตื่นเต้น กับสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นเหล่านี้
แต่ข้างหลังภาพดังกล่าว คือ สัญญาณอันตรายที่ชี้ว่า วิกฤตอาหารโลกจะแย่ขึ้นจากเดิม
สองในสามของยุโรปกำลังเผชิญภาวะภัยแล้ง ดังเห็นในแผนที่ด้านล่าง ปัญหาได้กระจายไปยังทุกพื้นที่

โปรตุเกส สเปน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน อิตาลี และประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันออก ต่างถูกกระทบการผลิตของข้าวโพด ข้าวสาลี น้ำมันโอลีฟ ถั่วเหลือง เมล็ดดอกทานตะวัน

นอกจากนี้ แม่น้ำที่แห้ง ยังกระทบต่อไปยังการขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นช่องทางขนส่งสำคัญของยุโรป ที่จะไม่สามารถขนส่งสินค้าเกษตรได้ในช่วงนี้ ทำให้ผลผลิตเกษตรที่ออกมาสู่โลกลดลง ในพื้นที่อื่น ๆ ของโลก ก็ประสบปัญหาภัยแล้ง เช่นกัน

สหรัฐตะวันตก ก็กำลังเผชิญปัญหานี้อย่างรุนแรง ทำให้ผลผลิตฝ้ายปีนี้ลดลง 40%
จีนตะวันตกเฉียงใต้ ที่แม่น้ำแยงซีที่แห้งผากในบางส่วน กระทบต่อการผลิตข้าว ข้าวโพด

นอกจากภาคการเกษตรแล้ว ยังกระทบการขนส่งทางน้ำ และการผลิตกระแสไฟฟ้า บางมณฑลเช่น เสฉวนที่พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อน ต้องประหยัดการใช้ไฟฟ้า หยุดจ่ายในบางส่วน กระทบไปถึงการผลิตของโรงงานสำคัญหลายแห่ง เช่น Toyota Foxconn Tesla

ในส่วนของแอฟริกา ความแห้งแล้งในพื้นที่ Greater Horn of Africa ได้ส่งผลกระทบต่อ เอธิโอเปีย เคนย่า โซมาเลีย ทำให้คนหลายสิบล้านคนกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร

หมายความว่า ระดับของความรุนแรงของวิกฤตอาหารโลกที่จะเพิ่มขึ้น ซ้ำเติมปัญหาเดิมที่เกิดมาจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบสินค้าเกษตรบางอย่างเช่น ข้าวสาลี

ปัญหาปุ๋ยแพง จากการ Sanctions รัสเซียและเบลารุส ที่ทำให้เกษตรกรทั่วโลกต้องประหยัดการใช้ปุ๋ย ทำให้ผลผลิตออกมาน้อยในฤดูกาลนี้ แล้วยังมาถูก “ผีซ้ำ ด้ำพลอย” จากภัยแล้ง

เที่ยวไทยนอนมา คาดต่างชาติเข้าไทยสิ้นปีแตะ 10 ล้านคน ยอดคนพุ่งกว่า 1,800% ดันรายได้พุ่ง 1,100%

(23 ส.ค. 65) ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สมเกียรติ โอสถสภา ระบุว่า...

นอนมาเลย! มั่นใจต่างชาติเข้าไทยถึงสิ้นปีนี้แตะ 10 ล้านคน ยอดคนพุ่งกว่า 1,800% ดันรายได้พุ่งกว่า 1,100% 

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เยี่ยมครับ

ข่าว B time ปีหน้า 20 ล้านคนไปเลย เอ๊ะหรือ 30 ล้านคน ยังไม่นับจีน ตั้งเป้าสามสิบล้านคนเลย พี่ช่วยเต็มที่

‘กอบศักดิ์’ ชี้ วิกฤติอสังหาจีนเริ่มลาม แนะติดตามใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือ

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพและประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...

วิกฤตอสังหาจีน 

หนึ่งในประเด็นที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในช่วงต่อไป ก็คือ วิกฤตอสังหาจีน
หลายคนถาม - ทำไมจีนต้องลดดอกเบี้ย ขณะที่ประเทศอื่น ๆ เกือบทุกประเทศทั่วโลกกำลังเร่งขึ้นดอกเบี้ย

คำตอบ - จีนกำลังเผชิญปัญหาที่คนอื่นไม่มี

ปัญหาเริ่มตั้งแต่กรณี Evergrande เมื่อปีที่แล้ว ลุกลามบานปลายขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง อสังหารายใหญ่สุดของจีน คือ Country Garden ก็ยังเอาตัวไม่รอด ลำบากสุดๆ

ล่าสุดในภาพ จะเห็นว่า หุ้นกู้สกุลดอลลาร์ครบกำหนดปี 2024 ของ Country Garden ซื้อขายกันอยู่ที่ประมาณ 50% ของราคาเต็ม เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เคยลงไปต่ำสุดที่ประมาณ 31% !!!

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมบริษัทอสังหาจีนทุกขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ต่างเข้าสู่ช่วงคับขัน ขาดสภาพคล่อง กันถ้วนหน้า ยิ่งนานวัน ยิ่งยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหากหุ้นกู้ที่มีอยู่เดิม ซื้อขายกันราคานี้ การออกหุ้นกู้ใหม่ คงเป็นไปได้ยากยิ่ง ดอกเบี้ยที่อสังหาจีนจะต้องจ่าย เพื่อให้ได้เงินใหม่มาหมุน จึงแพงขึ้นเป็นพิเศษ นำไปสู่เหตุการณ์ “โครงการสร้างไม่เสร็จ” ล่าสุด นำไปสู่การประท้วงของลูกบ้านที่ไม่ยอมจ่ายคืนเงินสินเชื่อบ้าน ในโครงการเหล่านั้น 

Bloomberg รายงานว่า จากจุดเล็กๆ จากจดหมายประท้วงสั้นๆ 590 คำ ของลูกบ้านในโครงการ Dynasty Mansion Project ของ Evergrande ที่มณฑลเจียงซี แจ้งเพื่อทราบว่า “ถ้าไม่เริ่มสร้างต่อ ลูกบ้านก็จะไม่จ่ายเงินเช่นกัน” ในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่กี่สัปดาห์ ได้แพร่ระบาดไปยังเมืองต่าง ๆ ประมาณ 100 เมือง 300 กว่าโครงการ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวิกฤตอสังหาจีน 

เพราะปัญหาเรื่องนี้กำลังกระจายออกจาก “ภาคอสังหา” ไปสู่ “ภาคการเงิน” ที่เป็นคนปล่อยกู้ ทำให้ทางการไม่สามารถปล่อยให้เรื่องนี้เป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องของภาคอสังหา ที่จะต้องจัดการปัญหาโดยลำพัง อีกต่อไป เพราะถ้าปล่อยไป เราอาจจะเห็นภาพของคนไปยืนรอถอนเงินอีกหลายธนาคารท้องถิ่นในจีน ทำให้วิกฤตอาจจะลุกลามขึ้นไปอีกขั้น

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? วิกฤตฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติในประเทศต่าง ๆ 
ญี่ปุ่นประสบปัญหาในช่วงก่อนปี 1991 
ไทยเคยประสบปัญหานี้เมื่อก่อนปี 1997 
สหรัฐประสบปัญหาในช่วงก่อนปี 2008 
ทุกครั้งที่เกิด จะส่งผลกระทบกว้างไกลในประเทศดังกล่าว

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนที่ใหญ่ มี Supply chain ที่ยาว ส่งต่อไปถึงภาคส่วนอื่นๆ ภาคก่อสร้าง วัสดุ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งบ้าน และอื่นๆ หลายสำนักประเมินไว้ว่า ภาคอสังหาของจีนมีสัดส่วนใหญ่ถึง 25-30% ของ GDP จีน หมายความว่า เมื่ออสังหาจีนเกิดวิกฤต ก็จะมีนัยตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมจีนที่เคยขยายตัวดีมาตลอด ตอนนี้ กำลังมีปัญหาในการขยายตัว Goldman Sachs ปรับลดอัตราขยายตัวปี 2022 ของจีนจาก 3.3% เหลือ 3.0% ส่วน Nomura จาก 3.3% เหลือ 2.8% การผลิตซีเมนต์ เหล็กกำลังลดลง ตัวเลขการใช้จ่ายด้านต่างๆ ต่ำกว่าที่เคยคาดกันไว้

ล่าสุด เด็กที่จบใหม่ 20% หางานทำไม่ได้ !!! ทั้งหมด เป็นสัญญาณเตือนภัยว่า ปัญหากำลังรออยู่ข้างหน้า และสถานการณ์เรื่องนี้ กำลังคับขันมากขึ้นเรื่อยๆ 

แล้วทางออกคืออะไร?
การจะออกจากวิกฤตภาคอสังหา ต้องเริ่มจากความเข้าใจที่ว่า “ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว” 
คำถามหลัก คือ จะจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไร 
จะให้ “ใคร” เป็นคนรับภาระบ้าง
ความเสียหายเริ่มมาจาก “โครงการที่ไม่เสร็จ” “ราคาที่เพิ่มสูงไปแล้วตกลง” “ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้” 
กลายเป็นหนี้เสีย NPL ในระบบการเงินและเศรษฐกิจ 

นอกจากนี้ หากจัดการไม่ดี อาจจะมีหนี้เสียเพิ่มเติมจากภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจมาให้ทางการแก้ไขเพิ่มเติม จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวน้อยกว่าที่ทุกคนคาดมาก ทำให้แผนธุรกิจของหลายๆ บริษัท ไม่เป็นไปตามเป้า อย่างที่เกิดในไทยเมื่อปี 1997 

ทั้งนี้ เวลาเกิดวิกฤตอสังหา ปกติแล้วมีทางออกอยู่ 2 ทาง 

ทางแรก - แบบไทยหรือสหรัฐ ยอมเกิดวิกฤตใหญ่เพื่อล้างปัญหาภาคอสังหา แบงก์ เจ้าหนี้หุ้นกู้ ผู้ฝากเงิน ต่างรับภาระไปบางส่วน โดยสุดท้ายแล้ว ทางการต้องยอมรับหนี้เสียต่างๆ เข้ารัฐ อย่างที่ไทยทำในช่วงปี 1997 เพื่อที่จะให้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง
ไทยเสียเวลาไป 4-5 ปี ในการสะสางปัญหา สหรัฐประมาณ 5 ปีกว่าที่ทุกอย่างจะกลับดีขึ้น

ทางที่สอง - แบบญี่ปุ่น ที่ประคองเลี้ยงปัญหาไว้ไม่ให้ลุกลามกลายเป็นวิกฤต แต่สุดท้ายหนี้เสียที่ฝังตัวอยู่ในระบบไม่ได้รับการคลี่คลาย สุดท้ายญี่ปุ่นก็ต้องเสียหายเช่นกัน Pay the Price โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่สามารถขยายตัวได้เป็นเวลานับสิบกว่าปี กลายเป็น “ทศวรรษที่หายไป” หรือ “Lost decades”

'สุริยะ' กำชับ กรอ.ดูแลถ่ายโอนภารกิจกำกับโรงงาน จำพวก 1 และ 2 ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

'สุริยะ' กำชับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เป็นพี่เลี้ยงดูแลการถ่ายโอนภารกิจกำกับโรงงานจำพวกที่ 1 และจำพวกที่ 2 ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จนกว่าบุคลากร อปท. จะสามารถดูแล 1,860 โรงงาน ที่ได้รับการถ่ายโอนได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ตามที่กฎหมายกำหนด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับนโยบายรัฐบาล ในการถ่ายโอนภารกิจกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และจำพวกที่ 2 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เทศบาล และเมืองพัทยา ซึ่งปัจจุบันถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. เรียบร้อยแล้ว จำนวน 1,860 โรงงาน เพื่อให้ อปท. มีบทบาทอำนาจในการควบคุมดูแลกิจการโรงงานในพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. โดยแต่งตั้งให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นของ อปท. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน จึงกำชับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ เป็นพี่เลี้ยง โดยการสนับสนุนให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของ อปท. ให้ปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานได้อย่างถูกต้อง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงาน และเกิดประสิทธิผลสูงสุด

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กรอ. เดินหน้าสนับสนุนแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ อปท. ในการควบคุมดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และ จำพวกที่ 2 โดยได้ถ่ายโอนภารกิจการกำกับดูแล ให้แก่ กทม. เทศบาล และเมืองพัทยา ไปแล้วทั้งสิ้น 1,860 โรงงาน โดยในส่วนของ กทม. 660 โรงงาน เทศบาลและเมืองพัทยา 1,200 โรงงาน ที่ผ่านมา กรอ. ได้ให้การสนับสนุน แนะนำและให้คำปรึกษาทางเทคนิควิชาการ และดำเนินการฝึกอบรมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ กทม. เทศบาล และเมืองพัทยา ในการปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ กรอ. ได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสารสนเทศ เพื่อออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 สำหรับข้าราชการ กทม.” เพื่อให้ข้าราชการ กทม. มีความเข้าใจ สามารถใช้งานระบบสารสนเทศในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และการติดตามชำระค่าธรรมเนียมรายปีได้อย่างถูกต้อง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรายเดิม และเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรายใหม่

เผยโฉม Multiverse Expert ยูนิคอร์นสัญชาติไทยรายที่ 4 ตามรอย 'Flash Express - Bitkub - Ascend Money'

ไม่นานมานี้ เฟซบุ๊ก depa Thailand ได้โพสต์ข้อความแสดงความยินดีกับ ว่าที่ยูนิคอร์นสัญชาติไทยรายที่ 4 และเป็น Metaverse Unicorn รายแรกของไทย อย่าง Multiverse Expert ในกลุ่มบริษัท MiGroup ที่ได้รับเงินลงทุนจาก Power-All Networks บริษัทลูกของยักษ์ใหญ่อย่าง Foxconn 

Multiverse Expert ถือเป็น Digital Startup สัญชาติไทยเนื้อหอมอีกรายที่ได้พุ่งทะยานสู่ระดับยูนิคอร์นเป็นที่เรียบร้อย โดยมี นายพงศ์วุฒิ ไพรไพศาลกิจ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มัลติเวิร์ส เอ็กเปอร์ท จำกัด บริษัทในเครือ MiGroup ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน และ Metaverse โดยปัจจุบันถือเป็นผู้อยู่เบื้องหลังโครงการ เช่น Veleverse และ Chiangmai Crypto City Metaverse และอีกหลาย Metaverse ตลอดจนเป็นผู้พัฒนา Game-Fi เช่น Bitkub Verify Project: 3Kingdom-heros NFT และ Bitkub Register Project: BitMonster 

โดยล่าสุด Multiverse Expert ในกลุ่มบริษัท MiGroup ได้รับการร่วมลงทุนจาก Power-All Networks บริษัทลูกของกลุ่ม Foxconn โดยเตรียมรับเงินระดมทุนกว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มูลค่ากิจการ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ก้าวสู่การเป็นยูนิคอร์น รายที่ 4 ของประเทศไทย อย่างเต็มภาคภูมิ ต่อจาก Flash Express, Bitkub และ Ascend Money อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมในการผนึกกำลังเครือข่ายกลุ่ม Foxconn เพื่อเปิดด่านหน้าในการบุกตลาด Metaverse ในประเทศจีนและตลาดโลก

‘อัษฎางค์’ ถาม ‘น้องท็อป’ จะทิ้งท่องเที่ยวไทย ทั้งที่สร้างรายได้อันดับ 1 ในเอเชียและที่ 4 ของโลกหรือ?

(22 ส.ค. 2565) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุว่า...

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยสร้างรายได้ให้ประเทศไทยและประชาชนไทยมหาศาล

ประเทศไทยมีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และเป็นอันดับที่ 4 ของโลก

เราควรจะทิ้งสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดไปทำสิ่งที่เรายังทำได้ไม่ดี หรือ? เอาอะไรมามั่นใจว่าเราทำแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจนั้น

น้องท็อปเป็นคนเก่ง แต่อย่างไรเสีย ยังถือประสบการณ์ชีวิตยังน้อย

การที่บอกให้คนหยุดทำในสิ่งที่เขาชำนาญหรือทำได้ดีที่สุด ก็เหมือนกับการที่มีคนไปบอกให้น้องท็อปเลิกทำธุุรกิจด้านการเงินดิจิทัล

หรือเหมือนบอกให้ปลาไปหัดบิน แล้วบอกให้นกไปหัดว่ายน้ำ

ก่อนหน้านี้ ด้านดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...บลูมเบิร์ก รายงาน ค่าเงินบาทดีดตัวฟื้นขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเติบโตของการท่องเที่ยว ที่ได้ทะลุเป้าหมายที่นักวิเคราะห์ตั้งไว้ในช่วงปลายปีเเล้ว อีกด้านส่งผลให้เงินบาทเเข็งค่าขึ้นกว่า 2.3% มาอยู่ที่ 35.45 บาทต่อดอลลาร์ US ใน ส.ค. ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่านำหน้าสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย

แข็งค่ามากสุดในเอเซีย เพราะท่องเที่ยว


 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top