Friday, 29 March 2024
ECONBIZ

บอร์ดเกลือลงพื้นที่นาเกลือภาคตะวันออกส่งเสริมชาวสวนผลไม้ใช้ขี้แดดนาเกลือแก้ปัญหาปุ๋ยแพง จับมือศูนย์ AIC เร่งแปรรูปสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เกลือทะเล พร้อมมอบ GAP นาเกลือรายแรกของจันทบุรี

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยเปิดเผยวันนี้ภายหลังประชุมคณะกรรมการเกลือทะเลไทย โดยมีนายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายชาญยุทธ์ ภาณุทัต ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดจันทบุรีว่า ที่ประชุมบอร์ดเกลือรับทราบ 

(1) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือทะเลไทย โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี พบว่า สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอท่าใหม่ และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ดำเนินการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเกลือทะเล อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตดอกเกลือและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ขัดหน้า ขัดผิว แช่ผิว แช่เท้า และสบู่ เป็นต้น รวมทั้งสร้างแบรนด์ให้กลุ่มเกษตรกรและผลิตภัณฑ์จากเกลือทะเลเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับเกษตรกรชาวนาเกลือ

(2) การนำเสนองานวิจัย นวัตกรรม การดำเนินกิจกรรมทางเกลือทะเลไทย โดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม AIC จังหวัดฉะเชิงเทรา รายงานผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรชาวนาเกลือทะเล ได้แก่ การสร้างรายได้เสริมให้กับชาวนาเกลือ การส่งเสริมการทำแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ขี้แดดนาเกลือและแนวทางการส่งเสริมการตลาด การจัดการคนและข้อมูล การพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบเกลือในภาคตะวันออก การบริหารจัดการเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอก การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านเกษตรอินทรีย์ การใช้ประโยชน์ของขี้แดดนาเกลือ และการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการยกระดับการบริหารจัดการ 

(3) ผลการดำเนินกิจกรรมการทำนาเกลือทะเลภายในจังหวัดจันทบุรี และการใช้ผลผลิตเกลือทะเลในการพัฒนากิจกรรมทางการเกษตร (ไม้ผล) โดย เกษตรจังหวัดจันทบุรี รายงานว่าจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่อยู่ในตำบลท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรชาวนาเกลือได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้วทั้งหมด จำนวน 9 ราย พื้นที่ 229 ไร่ ปริมาณเกลือทะเลที่ผลิตได้เฉลี่ยประมาณ 2,589 ตัน/ปี สร้างมูลค่าได้ปีละ 9.98 ล้านบาท 

โดยผลผลิตเกลือทะเลที่ได้นำไปใช้บริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายให้กับกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ผู้บริโภคทั่วไป ผู้แปรรูป เกษตรกรผู้ทำนากุ้ง เกษตรกรชาวสวนผลไม้ และผู้เลี้ยงปศุสัตว์สำหรับผสมอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติ และตรวจประเมินความพร้อมเข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ทางเกลือทะเล ให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลือทะเล จำนวน 10 ราย ส่งผลให้มีเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการทำนาเกลือทะเล (มกษ. 9055-2562) เป็นรายแรกของจังหวัดจันทบุรี

‘ออมสิน-ทิพย-บางจาก’ จับมือตั้งบริษัทร่วมทุน ลุยธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก ดอกเบี้ยต่ำ

‘ออมสิน-ทิพย-บางจาก’ จับมือตั้งบริษัทร่วมทุน ลุยธุรกิจขายฝากที่ดิน ดอกเบี้ยต่ำ 8-9% หวังช่วยกดดบ.ในตลาด

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ ธนาคารออมสิน จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมทุนธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก กับ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดตั้งบริษัทขึ้นมาทำธุรกิจสินเชื่อที่ดินโดยตรง ซึ่งเบื้องต้นมีการระดมทุนจดทะเบียน 1 พันล้านบาท มีธนาคารออมสินเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 49% ส่วนที่เหลืออีก 51% เป็นการร่วมทุนของบางจาก และทิพย กรุ๊ป จากนั้นคาดว่าจะเริ่มดำเนินธุรกิจได้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565

ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ ไม่ได้เข้าไปเทคโอเวอร์บริษัทอื่น โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยที่เป็นธรรม โดยในช่วงแรกจะเริ่มเข้าไปแข่งขันในสินเชื่อที่ดินและขายฝากก่อน เพราะที่ผ่านมามีการคิดดอกเบี้ยสูงมาก จึงจะเข้าไปแข่งทำให้ดอกเบี้ยตลาดลดลงตามนโยบายของรัฐบาล โดยเบื้องต้นจะคิดดอกเบี้ยประมาณ 8-9% ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยในตลาดที่เก็บสูงถึง 15-30% และในระยะต่อไปบริษัทมีแผนเข้าไปประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคลอีกด้วย

'สุริยะ' สั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานต่อเนื่อง หวังช่วยฟื้นฟูกิจการหลังโควิดคลี่คลาย

ผู้ประกอบการโรงงาน จำพวก 2 และ 3 ได้เฮ!! อีกรอบ หลัง 'สุริยะ' สั่งการกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ดำเนินการยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานรายปีต่อเนื่อง หลังจากยกเว้นมาแล้ว 2 ปี มีโรงงานเข้าข่ายได้รับการยกเว้น 60,344 แห่งทั่วประเทศ มูลค่ากว่า 280 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบกิจการโรงงานสามารถฟื้นฟูกิจการหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ประกอบกิจการโรงงานได้รับผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและการเงิน เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะได้ฟื้นฟูกิจการ จึงสั่งการให้ กรอ. ดำเนินการยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ทุกขนาดอีก 1 ปี ต่อเนื่องจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานในปี 2564 ที่จะสิ้นสุดการยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมในครั้งนี้เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมครั้งที่ 3 ต่อเนื่องจากปี 2563 และ 2564

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า “การยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่เจ้าของกิจการโรงงาน เป็นหนึ่งในมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ในการฟื้นฟูกิจการภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย เพื่อให้กิจการสามารถพลิกฟื้นจนก้าวเดินต่อได้อย่างต่อเนื่อง"

‘สร้างอนาคตไทย’ ถอดรหัสเงินเฟ้อพุ่ง 7.10% ชี้!! ข้าวของที่เห็นว่าแพง ยังจะแพงต่อไปอีก

(7 มิ.ย.65) นายสันติ กีระนันทน์ ทีมเศรษฐกิจพรรคสร้างอนาคตไทย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม หนึ่งในคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

ขอเขียนยาวหน่อยนะครับ ... ต้องอ่านให้จบครับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นถึง 7.10% สูงสุดในรอบ 13 ปี !!! 

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้ชี้แจงว่า เงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ค. 2565 เท่ากับ 106.62 สูงขึ้น 7.10% สูงสุดในรอบ 13 ปี สาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น และหากพิจารณากลุ่มอาหารกลุ่มเดียว ก็จะพบว่า ราคาสูงขึ้นถึง 6.18% และยังสรุปว่า เดือนมิถุนายน 2565 นี้ อัตราเงินเฟ้อก็ยังมีแนวโน้มขยายตัว 

แปลความง่าย ๆ ว่า ข้าวของที่เราเห็นว่าแพงในขณะนี้ ยังจะแพงต่อไปอีกครับ !!!

ในวันพุธที่ 8 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จะมีการประชุม ซึ่งก็ต้องจับตาดูว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานั้น กนง. ได้พยายามชี้แจงว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นนั้น จะเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น และจะปรับตัวดีขึ้น จึงจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยให้เหตุผลว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ในความเห็นข้างต้นของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ผมได้แสดงความไม่เห็นด้วยมาอย่างต่อเนื่อง (ย้ำครับว่า ผมไม่เห็นด้วย !!!) 

ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของคนในประเทศไทยที่อยู่ในระดับสูงนั้น อัตราเงินเฟ้อหรือพูดง่าย ๆ เป็นภาษาชาวบ้านว่า ข้าวของแพงขึ้นนั้น จะทำร้ายคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างรุนแรง เพราะความเหลื่อมล้ำในระดับสูงนั้น แสดงถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศยังยากจนอยู่มาก ข้าวของแพงขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ประกอบกับระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงมากเกือบ 100% ของ GDP 

อย่างในขณะนี้นั้น รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการทำงานสอดประสานกันอย่างไรเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนกลุ่มนี้ ... คำถามนี้เป็นคำถามใหญ่ และเป็นสิ่งที่นโยบายการคลัง (โดยรัฐบาล คือ กระทรวงการคลัง) และนโยบายการเงิน (โดยธนาคารแห่งประเทศไทย) ต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง มิฉะนั้นแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะอยู่อย่างไร

SME D Bank ผนึก 'รัฐ-เอกชน' เปิดตัว ‘SME D Coach’ ส่งกูรูธุรกิจยกระดับผู้ประกอบการจบครบในจุดเดียว

#ธพว. เปิดตัว ‘SME D Coach’ จับมือภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ส่ง '#กูรูมืออาชีพ' ให้คำปรึกษา เชื่อมโยงการสนับสนุนจบครบในจุดเดียว 

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เปิดตัวโครงการ 'SME D Coach' ภายใต้ 'ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจครบวงจร' หรือ SME D Care Center จับมือพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ประมาณ 30 หน่วยงาน ส่ง 'โค้ชมืออาชีพ' ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา พร้อมเชื่อมโยงการสนับสนุนครบวงจรในจุดเดียว ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีคำตอบ สามารถยกระดับ เพิ่มศักยภาพ เดินหน้าเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน 

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank มอบหมาย นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะกรรมการธนาคาร กล่าวในการเปิด โครงการ 'SME D Coach' ว่า การดำเนินธุรกิจ ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องเรียนรู้ มุ่งเพิ่มศักยภาพอยู่เสมอ และปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และมีนโยบายเปิดประเทศ หากเอสเอ็มอีมีความพร้อม จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยพลิกฟื้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และต่อยอดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน 

ดังนั้น ธพว. ที่มีภารกิจหลักในการพัฒนาเอสเอ็มอีไทย จึงบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ประมาณ 30 หน่วยงาน ดำเนินโครงการ 'SME D Coach' ซึ่งอยู่ภายใต้ 'ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจครบวงจร' หรือ SME D Care Center โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นบริการให้คำปรึกษาและแนะนำธุรกิจจากทีมโค้ชมืออาชีพที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทั้งด้านวิชาการและประสบการณ์จริง ประกอบด้วยบุคลากรของ ธพว. หรือเรียกว่า 'D Coach' ควบคู่กับ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานพันธมิตร และอดีตผู้บริหารองค์กรชั้นนำระดับประเทศ หรือเรียกว่า 'Master Coach' มาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจอย่างครบวงจร ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมองเห็นจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง เกิดการพัฒนา สามารถยกระดับธุรกิจ ปรับตัวก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ได้ทันท่วงที 

ด้าน นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวเสริมว่า จุดเด่นของโครงการดังกล่าว คือ การเชื่อมโยงนำศักยภาพเด่นของแต่ละหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา มาบูรณาการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างเป็นระบบ ครบถ้วนในจุดเดียว สามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ หรือต้องการคำปรึกษาเชิงลึกเฉพาะด้าน 

นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการให้บริการที่สะดวกสบาย สามารถแจ้งความประสงค์เข้ารับคำปรึกษาได้เหมาะกับความสะดวกของตัวเอง โดยเลือกได้ทั้งหัวข้อที่ต้องการรับคำปรึกษา เลือกโค้ช เลือกช่วงเวลา  เลือกวิธีรับคำปรึกษาผ่าน Onsite (ณ สำนักงานใหญ่ ธพว.) หรือ Online และเลือกขอรับคำปรึกษาได้ทั้งแบบตัวต่อตัว หรือเป็นกลุ่ม 

“อลงกรณ์” ลุยโครงการมหานครผลไม้ ปักหมุดจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการผลไม้ครบวงจรที่จันทบุรี พร้อมนำระบบประมูลซื้อขายผลไม้แบบออนไลน์มาใช้ทั่วประเทศ เผย “ฟรุ้ทบอร์ด” เตรียมพิจารณามาตรการช่วยเหลือชาวสวนลำไยเพราะพิษโควิดในการประชุมครั้งหน้า

วันนี้ 6 มิ.ย.2565 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และคณะเดินทางไปปฏิบัติราชการติดตามงานด้านการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565และเยี่ยมภาคีเครือข่ายชาวนาเกลือ ณ จังหวัดจันทบุรี โดยมี นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และหัวหน้าหน่วยราชการ ให้การต้อนรับ 

ในโอกาสนี้ นายอลงกรณ์ได้เป็นประธานการประชุมเฉพาะกิจแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565 และมาตรการเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไยในฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมศาลากลาง จังหวัดจันทบุรี และระบบออนไลน์ ZOOM cloud meeting พร้อมด้วย นายสมชวน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา นายณฐกร สุวรรณธาดา นายชรัตน์ เนรัญชร ทพ.อิทธิพล จังสิริมงคล  คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายธิติ เอกบุญยืน ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี นายชายพงษ์ นิยมกิจ ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรีผู้แทน คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด ผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี และสมาคมผู้ประกอบการผลไม้ สมาคมผู้ประกอบการโรงรวบรวม คัดแยกลำไยภาคตะวันออก กลุ่มเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ภาคตะวันออก

โดยมี นางปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เกษตรจังหวัดจันทบุรี และ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมไม้ผล สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร ฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้สำนักบริหารจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการการประชุม ที่ประชุมรับทราบ (1) รายงานสถานการณ์การผลิต – การตลาด – การขนส่ง และปัญหาอุปสรรค ของผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565 (2) ความก้าวหน้าในการพัฒนาสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (3) ปัญหา อุสรรค ตามมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ได้รับผลกระทบในฤดูกาลที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนชาวสวนลำไยเสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือกรณีได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ในฤดูกาลที่ผ่านมาโดยขอให้รัฐบาลเยียวยาไร่ละ 2,000 บาทไม่เกินรายละ 25 ไร่ การยกเว้นดอกเบี้ยธนาคาร การลดต้นทุนการผลิต ฯลฯ 

กองทุนน้ำมันฯ แบกต้นทุนต่อไม่ไหว ขึ้นดีเซลอีก 1 บาท ราคาขยับ 33.94 บาท/ลิตร

กบน.เคาะดีเซลขึ้น 1 บาท สุดอั้นขยับขึ้น 2 สัปดาห์ติด หน้าปั๊มอยู่ที่ 33.94 บาท/ลิตร ลั่นยังอยู่ใต้เพดาน 35 บาท ด้าน สกนช. ใจป้ำลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลุ่มแก๊สโซฮอล์ 91-95 ลุ้นราคาขายปลีกเบนซินลด โอดฐานะกองทุนฯ ติดลบ 8.6 หมื่นล้านบาท   

6 มิ.ย. 2565 – นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(สกนช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 ได้พิจารณาทบทวนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลประจำสัปดาห์ โดยมีมติให้ปรับราคาน้ำดีเซลขึ้น 1 บาท/ลิตร จากราคาแนะนำที่ 32.94 บาท/ลิตร เป็น 33.94 บาท/ลิตร มีผลเวลา 05.00 น. วันที่ 7 มิ.ย.2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการทยอยปรับขึ้น แต่ไม่เกินเพดาน 35 บาท/ลิตร เพื่อไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนมากนัก โดยกองทุนยังคงอุดหนุนครึ่งหนึ่ง จากราคาจริงหากไม่มีการอุดหนุนเลยดีเซลจะอยู่ที่ 42.81 บาท/ลิตร   .
ค้นหา ดึงดูด และคัดกรอง ตอบทุกโจทย์การจ้างงานด้วยโซลูชันการสรรหาบุคลากรแบบครบวงจรจาก JobsDB

ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกยังคงมีความผันผวน ราคาน้ำมันดีเซล (Gas Oil) เมื่อ 2 มิ.ย. 2565 อยู่ที่ 158.29 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากเดิมสัปดาห์ก่อนเทียบกับวันที่ 27 พ.ค. 2565 อยู่ที่ 149.49 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็นผลมาจากการออกมาตราการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปที่ตกลงจะห้ามการนำเข้าน้ำมันจากรัสเชีย การเปิดประเทศของจีน ตลอดจนปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐลดลงกว่า 1.2 ล้านบาร์เรล  

แบตเตอรี่ Li-ion ขนาด 1 กิกะวัตต์ ต่อยอดอะไรได้บ้าง?

ความหวังสังคมรถไฟฟ้าเด่นชัดขึ้น เมื่อปัจจุบัน บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) บริษัทย่อยในกลุ่มของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เดินเครื่องผลิตแบตเตอรี่ Li-ion AMITA เป็นที่เรียบร้อย 

โดยในระยะเริ่มต้นสามารถผลิตแบตเตอรี่ ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับรถโดยสารไฟฟ้า ขนาด 11 เมตร ที่ขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปีกันเลยทีเดียว 

'เกษตรฯ' มั่นใจไทยส่งออกยางปี 2565 เพิ่มขึ้นตั้งเป้าทะลุ 4 ล้านตัน หลังโควิด19 คลี่คลายยกเว้นตลาดรัสเซียทรุดเพราะพิษสงคราม

'อลงกรณ์' ฟันธงยางไทยยึดแชมป์ส่งออกจีนเด็ดขาดครองมาร์เก็ตแชร์กว่า 40% เหมือนผลไม้ไทย แนะ 'กยท.' เพิ่มการวิจัยและขยายโครงการสวนยางยั่งยืนและโครงการคาร์บอนเครดิตสร้างเสถียรภาพยางไทยในตลาดโลกภายใต้ '5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย'

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางเปิดเผยวันนี้ (3มิ.ย.) ภายหลังทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางครั้งที่3/2565 ว่า จากรายงานสถานการณ์การผลิต การค้า และการแข่งขันของตลาดยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางทั่วโลกตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบันของฑูตเกษตรไทยในภูมิภาคต่างๆและรายงานของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ประเมินได้ว่าการส่งออกยางในปี 2565 เพิ่มขึ้น และจะทะลุ 4 ล้านตันหลังโควิด19 คลี่คลาย อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยทั้งบวกและลบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเสถียรภาพราคายางและการส่งออกจากวิกฤติโควิด19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาน้ำมันและปุ๋ย โดยเฉพาะตลาดรัสเซียมูลค่าการส่งออกสินค้ายางจากไทยไปรัสเซีย (ม.ค.-เม.ย. 2565) ลดลง 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

“สำหรับตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไทยนั้นสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นจากการแพร่ระบาดโควิดในจีนที่เริ่มคลี่คลายมีการขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและการขยายตัวทางเศรษฐกิจตลอดจนการปลดล็อคการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา มั่นใจว่ายางไทยจะสามารถยึดแชมป์ส่งออกไปจีนได้อย่างเด็ดขาดเพราะขณะนี้สามารถครองมาร์เก็ตแชร์การนำเข้าของจีนกว่า 40% เหมือนผลไม้ไทยและทิ้งห่างอันดับ 2 ซึ่งมีมาร์เก็ตแชร์ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์สะท้อนถึงศักยภาพของชาวสวนยาง สถาบันยาง สหกรณ์ชาวสวนยาง ผู้ประกอบการและการยางแห่งประเทศไทย”

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานความร่วมมือในคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและการส่งเสริมและสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืนและโครงการคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ของการยางแห่งประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2565 โดยจะนำสวนยางพาราของการยางแห่งประเทศไทย จำนวน 20,000 ไร่ ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบ และในปี 2565 จะขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย และในปี 2566-2567 ดำเนินการขอรับรองคาร์บอนเครดิต เพื่อขายในตลาด Carbon Market ต่อไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้จากสวนยางของเกษตรกรควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้นโยบาย BCG Model ของกระทรวงเกษตรฯ.และรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล (Green Econony) ตามเป้าหมายCarbon Neutrality และZero Carbon

ที่ประชุมได้เสนอแนะให้กยท.ขยายโครงการสวนยางยั่งยืนและโครงการคาร์บอนเครดิตเพิ่มจากแผนงานเดิมโดยขยายความร่วมมือกับทุกภาคีภาคส่วนเพื่อเร่งสร้างเสถียรภาพตลาดยางไทยทั้งในและต่างประเทศเป็นการตอบโจทย์อนาคตเรื่องมาตรการ CBAM และ ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ของอียูเป็นต้น เพราะประเทศไทยส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก ส่งออกยางรถยนต์อันดับ3-4 ส่งออกถุงมือยางอันดับ 2 ของโลก จึงต้องบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์ เช่น ขณะนี้จีนมีนโยบายลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์บางช่วงโรงงานในจีนจะลดการผลิตเพื่อรักษาระดับการปล่อยคาร์บอน และสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับมาตรฐาน FSC ซึ่งจีนมีการผลิตล้อยางส่งยุโรป จึงต้องให้ความสำคัญกับมาตรการเหล่านี้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่องจึงเสนอแนะให้การยางแห่งประเทศไทยร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อเพิ่มการวิจัยและพัฒนายางและผลิตภัณฑ์ยางโดยสามารถขอทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.) และหน่วยสนับสนุนการวิจัยของรัฐอื่นๆตลอดจนการประสานความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC ซึ่งมีอยู่ใน 77 จังหวัด เพื่อการยกระดับและพัฒนาคุณภาพยางของไทย โดยใช้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์และประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดยางพารา ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก โดยทูตเกษตร จากสหภาพยุโรป (สำนักงานบรัสเซลส์) อิตาลี (สำนักงานกรุงโรม) สหรัฐอเมริกาและอเมริกาใต้ (สำนักงานกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และลอสแองเจลิส) ออสเตรเลีย รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อาเซียน (สำนักงานกรุงจาการ์ต้า) 

สำหรับสถานการณ์ตลาดยางพาราและการนำเข้าส่งออกในประเทศจีนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายปี 2564 และเริ่มคลี่คลายในขณะนี้เริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มดีขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ ขณะนี้สถานการณ์โควิดในประเทศจีน เริ่มคลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อลดต่ำลงมาก เศรษฐกิจจีนเติบโต ผลักดันให้ผู้ประกอบการกลับมาฟื้นฟูการผลิต มีการขยายโรงงาน มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรม รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สถานการณ์การขนส่งทางเรือดีขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาค่าขนส่งผ่านทางเรือมีราคาสูง ระยะเวลาในการขนส่งทางเรือไม่แน่นอน ทำให้การขนส่งล่าช้ากว่าที่กำหนด

ตามสถิติในเดือน มี.ค.2565 จีนนำเข้ายางพาราจากประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1 จำนวน 276,948  ตัน คิดเป็น 40% รองลงมาได้แก่ เวียดนาม จำนวน 90,876 ตัน คิดเป็น 13% มาเลเซีย จำนวน 71,363 ตัน คิดเป็น 10% และอื่นๆ 256,549  ตัน คิดเป็น 37% ซึ่งพบว่าปริมาณผลผลิตจากแอฟริกาใต้ เวียดนาม ลาว เมียนมา กัมพูชา เริ่มมีมากขึ้น และมีราคาที่ถูกกว่าไทย ทำให้ผู้นำเข้าเริ่มที่จะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งมากขึ้น

สถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดยางพารา โดยสรุปจากทูตเกษตรประจำสหภาพยุโรป กรุงโรม  กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ออสเตรเลีย กรุงโตเกียว ลอสแอนเจลิส กรุงจาการ์ต้าและจีน พบว่าปริมาณการนำเข้ายางพาราของประเทศต่างๆ และมูลค่าการส่งออกยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น  

สำหรับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ต่อการส่งออกยางพาราของไทยส่งผลต่อการขนส่งสินค้าทางเรือ  มีการปรับเส้นทางเดินเรือในบางเส้นทางและมีการปรับขึ้นค่าระวางเรือ รวมถึงทำให้ราคาสินค้าหลายรายการได้รับผลกระทบจากต้นทุนการขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันด้วย

ส่วนรายงานสถานการณ์ยางพาราของประเทศไทย เดือนพฤษภาคม และคาดการณ์ราคายางพารา เดือนมิถุนายน 2565 โดยฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย ได้รายงานคาดการณ์ปริมาณผลผลิตยางพารา ปี 2565 มีปริมาณ 4.907 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.48% คาดการณ์ปริมาณการส่งออกยางพารา ปี 2565 มีปริมาณ 4.218 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.03% ซึ่งปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติไปยังต่างประเทศของไทย ปี 2564 (ม.ค.-เม.ย. 2464) มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน มากที่สุด คิดเป็น 55% รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10% สหรัฐอเมริกา 5% ญี่ปุ่น 6% และเกาหลีใต้ 3% และอื่นๆ 21% และในปี 2564 มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน 54% รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10% สหรัฐอเมริกา 6% ญี่ปุ่น 5% และเกาหลีใต้ 3% และในปี 2565 (ม.ค.-เม.ย. 2565) มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน มากที่สุด คิดเป็น 51% รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 9% สหรัฐอเมริกา 6% ญี่ปุ่น 6% และเกาหลีใต้ 4% และในปี 2564 มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน 54% รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10% สหรัฐอเมริกา 6% ญี่ปุ่น 5% และเกาหลีใต้ 3% และอื่นๆ 24% สำหรับมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทย ปี 2564 ในเดือน เม.ย. มีมูลค่า 30,087 ล้านบาท ปี 2565 ในเดือน เม.ย. มีมูลค่า 29,812 ล้านบาท  ลดลง 0.91% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

‘กอบศักดิ์’ นั่งแท่น “ประธานสภาตลาดทุน” คนใหม่ วาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี เริ่ม 1 มิ.ย.65- 31 พ.ค.67

บอร์ดคณะกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) มีมติเลือก ‘ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล] ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ คนใหม่ แทนนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง มีวาระ 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มิ.ย.65- 31 พ.ค.67

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) รายงานว่า บอร์ดคณะกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) วันนี้ได้มีมติเลือก “ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ คนใหม่ แทนนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง มีวาระ 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.65- 31 พ.ค.67

ทั้งนี้ปัจจุบัน ดร.กอบศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และอุปนายก สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทั้งเศรษฐศาสตร์ การเงิน และตลาดทุน เคยดำรงตำแหน่งทั้งในภาครัฐและเอกชน อาทิ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการทำงานด้านนโยบายการเงิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาค นโยบายสถาบันการเงิน และแผนพัฒนาตลาดทุน ในช่วงที่ร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้เป็นยังนักเศรษฐศาสตร์ที่มีผลงานวิชาการคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง เคยได้รับรางวัล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2552

'บิ๊กตู่' พอใจ!! สัญญาณเศรษฐกิจไทยบวกต่อเนื่อง ชี้!! 'ตลาดงาน-กำลังซื้อปชช.' เริ่มหวนคืนตามแผน

(2 มิ.ย.65) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและได้รับรายงานถึงสัญญาณซึ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้รายงานให้ทราบว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2565 เติบโตที่ร้อยละ 0.56 เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 

ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ประเมินแนวโน้มผ่านเครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (EWS-IE) พบว่าใน 1-2 เดือนข้างหน้าภาคอุตสาหกรรมจะยังขยายตัวได้ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการเติบโตของการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายตามลำดับ ทั้งไทยและต่างประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ประชาชนมีการเดินทางและมีการใช้จ่ายมากขึ้น 

“กระทรวงเกษตรฯ” ใส่เกียร์ลุย "5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย" พัฒนาระบบ บิ๊กดาต้าฐานข้อมูลเกษตร 77 จังหวัดพร้อมเปิดบริการภาครัฐออนไลน์รูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application)

“อลงกรณ์” เร่งเครื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรเมดอินไทยแลนด์ (M.I.T.) ปักธงจัดตั้งสตาร์ทอัพเกษตรทุกจังหวัดทั่วประเทศหวังเป็นคานงัดสร้างจุดเปลี่ยนภาคเกษตรไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (1มิ.ย) ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC : Agritech and Innovation Center) ว่า ภายใต้การขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการทั้ง2คณะได้เร่งทำงานเชิงรุกมีผลงานความคืบหน้าการดำเนินงานดังนี้

1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า ( Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) กำลังเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาฐานข้อมูล (Big Data) ระดับจังหวัด 77 จังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการพยากรณ์ข้อมูลโดยให้หน่วยงานส่วนกลางและพื้นที่เชื่อมโยงชุดข้อมูลจัดทำเป็นบัญชีข้อมูลตามมาตรฐานของ สำนักงานรัฐบาลดิจิตอล (สพร.) โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (ศกช. - National Agriculture Big Data Center:NABC) ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)รับผิดชอบดำเนินการ

สำหรับการดำเนินงานด้านระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Gov Tech) ได้สำรวจเรื่องการใช้งานระบบ CKAN จัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 22 หน่วยงานแล้ว 

ในส่วนของการบริการรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์ (e-Service) ขณะนี้ ดำเนินการให้เป็น Digital Service คืบหน้าไปกว่า 95% ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการพัฒนาให้แล้วเสร็จทั้ง 176 ระบบภายในปี 2565  

ส่วนการพัฒนาการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมผ่านระบบ NSW (National Single Window) ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับผู้ประกอบการ ขณะนี้มีการเชื่อมโยงแล้ว 55 ระบบ และเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปให้สืบค้นข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วและเข้าถึงการบริการ e-Service ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า (Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทําเว็บแอพพลิเคชันระบบบริการภาครัฐ (Web Application) เพื่อเป็นช่องทางกลางในการเข้าถึงบริการ ( e-Service) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย “ระบบบริการภาครัฐ” มีเมนูจําแนกตามกิจกรรมบริการที่สอดคล้องกับวัฏจักรการทําการเกษตรทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 

1) การวางแผนการผลิต 

2) การหาปัจจัยการผลิต 

3) การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ดูแลรักษา 

4) การเก็บเกี่ยว 

5) การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าและ 

6) การตลาด การจําหน่าย 

นอกจากนี้ ยังมีเมนูพิเศษอื่น ๆ เพื่อการสืบค้นและสามารถเข้าถึงงานวิจัย ตลอดจน รายชื่อองค์ความรู้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์ AIC 77 จังหวัด) โดยผู้ใช้งานสามารถค้นหาระบบ e-Service ที่ต้องการได้ทันที และระบบจะเชื่อมโยงไปถึงระบบ e-Service

เริ่มแล้ว!! ‘รถไฟดีเซลราง’ เชื่อมสีน้ำเงิน-แดง เสริมแกร่ง ‘ขนส่งสาธารณะ-ศก.ชานเมือง’

การรถไฟฯ เปิดให้บริการขบวนรถดีเซลราง เส้นทางสายใต้ เชื่อมต่อการเดินทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะ ช่วยประหยัดพลังงาน พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจชานเมืองเริ่ม 1 มิ.ย. 65

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้เปิดให้บริการโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง ‘บางซื่อ – รังสิต’ และ ‘บางซื่อ – ตลิ่งชัน’ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ จึงได้เปิดให้บริการขบวนรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) ในเส้นทางสายใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกเชื่อมต่อการเดินทางกับเส้นทางรถไฟฟ้า และระบบคมนาคมขนส่งอื่น ในพื้นที่ปริมณฑลถึงกรุงเทพฯ 

ทั้งนี้เป็นการช่วยสนับสนุนนโยบายของกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล ในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพื่อประหยัดการใช้น้ำมันและพลังงาน ตลอดจนยังกำหนดอัตราค่าโดยสารราคาพิเศษ เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน สำหรับผู้โดยสารกรณีขึ้น-ลงที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง 

ยิ่งไปกว่านั้นการเปิดให้บริการขบวนรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) ในเส้นทางสายใต้นี้ เชื่อว่าจะเป็นการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจชานเมืองไปในเวลาเดียวกันอีกด้วย โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

สำหรับขบวนรถดีเซลรางชานเมือง (Feeder) เส้นทางสายใต้ เป็นขบวนรถระยะสั้น (ไป-กลับ) ระยะทางไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อเที่ยว มีเส้นทางระหว่างสถานีธนบุรี-ตลิ่งชัน-นครปฐม (สายใต้) เปิดให้บริการ 20 ขบวนต่อวัน สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน และจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ รวมทั้งระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้อย่างสะดวก ประหยัด และปลอดภัย

สัญญาณบวกชัด!! หลัง 'สัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ' แน่นแฟ้น!! ลุ้น!! ทุนซาอุฯ ขอเอี่ยวหลากอุตสาหกรรมไทย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายยาเซอร์ บิน อุสมาน อัล-รูมัยยาน (Yasir bin Othman Al-Rumayyan) ประธานกรรมการกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ (Public Investment Fund: PIF) ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นบริษัทที่มีมูลค่าอันดับหนึ่งของโลก ก็ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยกล่าวว่า เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีคำสั่งให้มาพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหาโอกาสเพิ่มความร่วมมือกับประเทศไทยในด้านต่างๆ โดยซาอุดีอาระเบียประสงค์ที่จะมีความร่วมมือกับไทยทางการค้าการลงทุน และด้านพลังงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจพลังงานและแก๊ส ในโอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อหาโอกาสสร้างความร่วมมือระหว่างกันในหลายด้าน เช่น การท่องเที่ยว การกีฬา E-sports และ Soft power รวมทั้ง ซาอุดีอาระเบียหวังจะมี Business Dialogue ร่วมกับไทย เพื่อสร้างโอกาส และสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างกัน และใช้ไทยเป็นฐานลงทุนในภูมิภาคด้วย

ก่อนหน้านี้ ก็ได้มีการผนึกกำลังด้านพลังงานครั้งสำคัญของบริษัท ซาอุดี อารัมโก (Saudi Aramco Oil Company) บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย กับ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ร่วมลงนามผนึกความร่วมมือด้านพลังงานในหลายมิติ ทั้งธุรกิจต้นน้ำ ปลายน้ำ รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด และธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ว่า นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ ปตท. ในการกระชับความร่วมมือกับ ซาอุดี อารัมโก ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งสู่ความร่วมมือด้านพลังงานแห่งอนาคต ซึ่งจะเป็นโอกาสในการสร้างสมดุลระหว่างการดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน และสร้างโอกาสให้กับประเทศสู่การใช้พลังงานสะอาดในภายภาคหน้า เพิ่มขีดความสามารถตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ตอบสนองความต้องการใช้พลังงานและเคมีภัณฑ์ทั่วโลก รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond ของ ปตท.ที่จะขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคตอีกด้วย
 

“อลงกรณ์” เผย จีนปลดล็อกเซี่ยงไฮ้ 1มิ.ย. เปิดโอกาสส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรเพิ่ม ชี้อาจเป็นสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายซีโร่โควิดของรัฐบาลจีน

วันนี้ (31 พ.ค) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เขียนเฟซบุ๊กส่วนตัวอย่างน่าสนใจกรณีจีนประกาศปลดล็อกเมืองเซี่ยงไฮ้แบบไม่มีเงื่อนไขหลังจากล็อกดาวน์ปิดตายมาเป็นเวลานานพร้อมกับวิเคราะห์ว่าอาจเป็นสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายซีโร่โควิด (Zero Covid) ของรัฐบาลจีนที่ใช้มาเป็นเวลากว่า 2 ปีโดยมีข้อความดังนี้

“ข่าวดีวันนี้จากจีนครับ
ปลดล็อคเซี่ยงไฮ้ 100 %
อาจเป็นสัญญาณเปลี่ยนนโยบาย Zero Covid ของจีน

การส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรที่อั้นมาหลายเดือนจากปัญหาการขนส่งโลจิสติกส์ติดขัดและตลาดค้าปลีกค้าส่งในเมืองต่างๆของจีนปิดไปหลายร้อยแห่งโดยเฉพาะเมืองเศรษฐกิจและเมืองท่าใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ถูกล็อกดาวน์เป็นเดือน กระทบต่อการค้าระหว่างจีนกับโลกรวมทั้งประเทศไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top