‘พีระพันธุ์’ ระบุ คนไทยมีภาระมาก รัฐควรแบกรับส่วนต่างค่าไฟแทน ชี้ กรอบเป้าหมายไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย
คนไทยมีภาระมาก รัฐควรแบกรับส่วนต่างค่าไฟแทน ชี้ กรอบเป้าหมายไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย

คนไทยมีภาระมาก รัฐควรแบกรับส่วนต่างค่าไฟแทน ชี้ กรอบเป้าหมายไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย
(3 เม.ย. 68) ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยแพร่บทวิเคราะห์นโยบาย “Reciprocal Tariffs” และ “สงครามภาษี” ของทรัมป์ ในบริบทเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ว่านโยบาย “Reciprocal Tariffs” เสนอให้สหรัฐอเมริกาเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่ “เทียบเท่า” หรือ “ลดหย่อนจากอัตราที่ประเทศต่างๆ เก็บจากสินค้าอเมริกัน”
ตัวอย่าง :
•ประเทศไทย
•เรียกเก็บภาษีจากสินค้าอเมริกัน: 72%
•ทรัมป์เสนอเก็บภาษีจากสินค้าไทย: 36%
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
1. การกลับมาของแนวคิดกีดกันทางการค้า (Protectionism)
•เป็นการลดบทบาทของ WTO และแนวทางการค้าเสรี
•จุดชนวนให้เกิด “สงครามการค้า” ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน, สหภาพยุโรป และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
2. ห่วงโซ่อุปทานโลกได้รับผลกระทบ
•อุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดอเมริกา เช่น เวียดนาม ไทย เกาหลีใต้ จะได้รับผลกระทบจากยอดส่งออกที่ลดลง
•ทำให้บริษัทข้ามชาติต้องทบทวนการตั้งฐานการผลิต
3. เงินเฟ้อและราคาสินค้าสูงขึ้น
•ผู้บริโภคในสหรัฐฯ และทั่วโลกจะต้องแบกรับต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น
•อาจนำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
4. การปรับทิศทางภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจ
•ประเทศต่างๆ อาจลดการพึ่งพาการค้าอเมริกา และหันไปหาตลาดจีน อินเดีย หรือในภูมิภาคอาเซียนผ่าน RCEP
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
1. ภาคการส่งออกเสี่ยงอย่างมาก
•หากถูกเก็บภาษี 36% จากสินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ อาจกระทบสินค้าไทยหลายหมวด เช่น:
•ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
•ชิ้นส่วนยานยนต์
•ผลไม้ อาหารแปรรูป
•กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่าไทยอาจเสียรายได้จากการส่งออก 7–8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
2. จีดีพีลดลง
•การส่งออกไทยคิดเป็นเกือบ 60% ของจีดีพี
•หากรายได้ส่งออกหายไป อาจทำให้จีดีพีลดลงถึง 1.2 จุดเปอร์เซ็นต์ จากที่คาดการณ์เดิมที่ 2.5%
3. มาตรการรับมือของไทย
•พยายาม นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่ม เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันดิบ
•พิจารณา ลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ บางรายการ
•อาจต่อรองให้ ซื้อหรือเช่าเครื่องบินจากบริษัทอเมริกัน เพื่อรักษาความสัมพันธ์
4. ผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างชาติ
•นักลงทุนต่างชาติอาจหลีกเลี่ยงไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ
•ประเทศที่ถูกเก็บภาษีน้อยกว่า เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ หรือชิลี อาจได้เปรียบมากขึ้น
ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์
1.ใช้การทูตเชิงรุก เจรจาแบบทวิภาคีกับสหรัฐฯ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
2.เร่งกระจายความเสี่ยงตลาดส่งออก ไปยังประเทศในอาเซียน จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง
3.ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ให้มีนวัตกรรม เทคโนโลยีสูง เพื่อหลุดจากการพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์
4.ส่งเสริมการค้าในภูมิภาค ผ่านข้อตกลง RCEP และกรอบความร่วมมืออื่นๆ
“ภาษี 36% ต่อสินค้านำเข้าจากไทย” จะรุนแรงและมีผลลุกลามในหลายระดับ โดยเฉพาะในกลุ่ม ร้านอาหารไทย และ ซูเปอร์มาร์เก็ตเอเชียในสหรัฐฯ ซึ่งเป็น “แนวหน้า” ของวัฒนธรรมการบริโภคเอเชียในอเมริกา
ต่อไปนี้คือ การวิเคราะห์เจาะลึกในประเด็นที่ยกขึ้นมา:
1. ภาษี 36% ของสินค้าไทย “แรงกว่า” จีน
•จีน 34% แต่ไทย 36% สะท้อนว่าทรัมป์มองไทยเป็นประเทศที่ได้เปรียบการค้ากับสหรัฐมากกว่าจีนในสัดส่วนบางหมวด ซึ่ง น่าตกใจ และอาจมีผลกระทบ “แรงเฉียบพลัน” เพราะจีนมีอำนาจต่อรองและโครงข่ายส่งออกหลากหลายกว่า
•ไทยอาจไม่มีระบบ “โซ่อุปทานภายในประเทศ” ที่ใหญ่พอจะดูดซับผลกระทบได้ทัน เช่น จีนหรืออินเดีย
2. ร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ กำลังเผชิญวิกฤติ 3 ชั้น
•ต้นทุนสินค้าเพิ่มทันที 30–40%: น้ำปลา ซอส น้ำพริก มะพร้าว เครื่องแกง เครื่องปรุงสำเร็จ—สินค้าหลักที่ร้านอาหารไทยพึ่งพาเกือบ 100%
•ไม่สามารถปรับราคาขายได้ทัน: เพราะลูกค้าเป็นชาวอเมริกันหรือคนเอเชียหลากหลายเชื้อชาติที่มีความไวต่อราคามาก
•ความเสี่ยงสูญเสียลูกค้า + ปิดกิจการ: ร้านอาหารไทยขนาดเล็กและกลางจะมี “margin” ต่ำอยู่แล้ว ภาษีนี้อาจทำให้หลายร้านถึงขั้นต้องลดพนักงานหรือปิดตัว
3. วิกฤติที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเอเชีย (Asian Markets)
•ซูเปอร์มาร์เก็ตเอเชีย เช่น 99 Ranch, H Mart, Mitsuwa, หรือร้าน Local อาจเจอปรากฏการณ์ “ตุนของ” ทันทีในคืนนี้หรือสัปดาห์นี้
•สินค้าไทย เช่น น้ำปลา ตราเด็กสมบูรณ์ / น้ำพริกเผา / ข้าวหอมมะลิ / น้ำกะทิ / มะม่วงดอง ฯลฯ จะมีราคาสูงขึ้นทันที 30–40% เมื่อสต๊อกเก่าหมด
•จะกระทบ ชนกลุ่มน้อยเชื้อสายเอเชียในสหรัฐฯ หลายสิบล้านคน โดยเฉพาะ คนไทย เวียดนาม ลาว เขมร และชาวจีนบางกลุ่มที่ใช้ของไทยเป็นประจำ
4. ผลกระทบทางวัฒนธรรมและ Soft Power ของไทย
•ร้านอาหารไทยคือ Soft Power ที่สำคัญที่สุดของไทยในต่างประเทศ มีบทบาทในการสร้างภาพลักษณ์ เชื่อมโยงวัฒนธรรม และกระตุ้นการท่องเที่ยว
•ภาษีนี้ ทำลายเส้นเลือดฝอยของ Soft Power ไทย อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในระดับนี้
ข้อเสนอเชิงนโยบายเร่งด่วน
1.รัฐบาลไทยควรเจรจาระดับทวิภาคีเร่งด่วน โดยเน้นความเสียหายทางวัฒนธรรมและผลกระทบต่อผู้บริโภคในสหรัฐ
2.ใช้ TTM (Thai Trade Missions) ในสหรัฐฯ ร่วมกับสถานทูต ผลักดันให้ แยกสินค้าประเภทอาหาร Soft Power ออกจากบัญชีภาษี
3.สนับสนุนระบบ e-Export + ลดต้นทุนส่งออก เช่น ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ B2B, B2C เพื่อให้ร้านค้าขนาดเล็กสามารถเข้าถึงตลาดตรงได้
4.ให้ BOI หรือกรมส่งเสริมการค้าออกมาตรการสนับสนุนต้นทุน SMEs ไทยในต่างประเทศ ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้
นี่อาจเป็นจังหวะเหมาะที่ไทยควรพิจารณาเปลี่ยนแหล่งนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากรอบๆบ้านที่ยังเผา
ไปสู่การนำเข้าจากอเมริกาเหนือ
ได้ใช้เป็นเเรงต่อรองด้านนโยบายการค้า ได้ลดปัญหาฝุ่นและการเผา ลดการเสียพื้นที่ป่าต้นน้ำ และได้ความมั่นคงอีกบางอย่างกลับมา มีเวลาไปลงแรงลงเวลาและลงทุนในการเปลี่ยนพืชเชิงเดี่ยวในภาคเกษตรมากขึ้น
(2 เม.ย. 68) นายวินท์ สุธีรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) และกรรมการปรับปรุงและยกร่างกฎหมาย กระทรวงพลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “เหล็กแข็งนอกอ่อนใน” Ep. 2: เหล็กจีนตีเหล็กไทยตาย
ช่วงปี 2560 ประเทศจีนประกาศไม่ให้ใช้เหล็กเส้น T หรือ Temp Core จากโรงเหล็กที่ใช้เตาหลอมเศษเหล็ก Induction Furnace (IF) โดยให้เหตุผลว่าเตาหลอมเหล็กประเภทนี้มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและน้ำเหล็กที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานของประเทศจีน
ช่วงปี 2560-2561 จึงเป็นช่วงที่โรงงานเหล็กในจีนย้ายเครื่องจักรที่ใช้อยู่แล้วในประเทศจีนมาติดตั้งในประเทศในแถบอาเซียนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ในช่วงเวลานั้นโรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เตาหลอมเศษเหล็ก Electric Arc Furnace (EAF) ที่ว่ากันว่ารักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าและเนื้อเหล็กสะอาดกว่า
เหล็กเส้น T จากเตา IF ที่ทุนจีนมาประกอบการในไทยเริ่มตีตลาดในประเทศไทยได้อย่างมากมายมหาศาล เพราะราคาถูกกว่าเหล็กเส้น Non-T ที่รีดด้วยเตา EAF จนปัจจุบันตลาดส่วนใหญ่ในไทยใช้เหล็กเส้น T เป็นหลัก
แต่หากจะบอกว่าเหล็กเส้น T ไม่สามารถใช้ในประเทศไทยได้เลยก็ดูจะเป็นการกล่าวร้ายกันเกินไป เนื่องจากประเทศไทยในหลายพื้นที่โดยเฉพาะกรุงเทพมีดินที่ค่อนข้างนิ่มและไม่ค่อยเกิดแผ่นดินไหวเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้นเวลาเกิดเหตุแผ่นดินไหวอาคารที่มีความสูงไม่มาก เช่น อาคาร 1-3 ชั้น ใช้เหล็กเส้น T ก็ไม่มีผลกระทบอะไร
แต่เราต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้:
ประเทศไทยควรจะแบนเหล็กเส้น T จากเตา IF เหมือนประเทศจีนหรือไม่?
ถ้าเราแบนเหล็กเส้น T อาคารขนาดเล็กแพงขึ้นค่าครองชีพคนไทยแพงขึ้น คุ้มหรือไม่?
หากไม่แบน เราจะคุมไม่ให้ใช้เหล็กชนิดนี้ไม่ให้ใช้ผิดประเภทอีกได้อย่างไร?
ผมว่า คนๆเดียวคงไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ แต่ควรจะมีการตั้งผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ว่าประเทศไทยเราควรจะเดินไปในทิศทางไหน เพราะความเสี่ยงแผ่นดินไหวที่ในอดีตที่ดูแทบจะเป็นไปไม่ได้… ได้เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต… ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมาหาคำตอบเรื่องนี้ร่วมกัน
(1 เม.ย. 68) นายวินท์ สุธีรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) และกรรมการปรับปรุงและยกร่างกฎหมาย กระทรวงพลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “เหล็กแข็งนอกอ่อนใน” -> ทำความรู้จักกับ เหล็กเส้นข้ออ้อย “T” หรือ Temp Core ที่อยู่ในตึก สตง. ที่ถล่มในเหตุแผ่นดินไหวที่ผ่านมา
เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ใช้ในไทย ปัจจุบันที่มีให้ประชาชนเลือกใช้ มีแบบ T และ Non-T
เหล็กเส้น Non-T เป็นวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม คือ การหลอมเศษเหล็กให้เป็น Billet และรีดด้วยความร้อน 1,200+ องศาเซลเซียสให้เป็นรูปทรงเหล็กเส้นข้ออ้อย สุดท้ายจึงปล่อยเย็นตามธรรมชาติ ราคาแพงกว่าโดยรวม
เหล็กเส้น T หรือ Temp Core เข้ามาในประเทศไทย ปี 2561 โดยผู้ประกอบการจีนนำเครื่องจักรมาลงทุนในไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการฉีดน้ำหล่อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิเหล็กเส้นจากที่ร้อนๆให้เย็นด้วยความรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลันนี้ทำให้ “เปลือก” ของเหล็กเส้นแข็งขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถ “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ได้โดยการลดคุณภาพเศษเหล็กที่นำมาหลอม และไปเพิ่มความแข็งตอนปลายทางได้ เหล็กเส้น T จึงมีราคาถูกกว่าโดยรวม
ด้วยราคาที่ถูกกว่าของเหล็กเส้น T ทำให้เหล็กเส้น T เป็นที่นิยมของตลาดโดยรวมในประเทศไทยมากกว่าเหล็กเส้น Non-T ถึง 4-5 เท่า
สิ่งที่น่าสนใจคือ กรมทางหลวง ไม่ยอมรับเหล็กเส้น T โดยให้เหตุผลว่าถนนและสะพานที่มีรถขับผ่านเยอะจะเกิด “ความล้า” (Fatigue) ซึ่งทำให้โครงสร้างขยับตัวจากการสั่นอย่างต่อเนื่องคล้ายๆเหตุการณ์แผ่นดินไหว และจะทำให้เหล็กเส้น T ซึ่งไม่มีความแข็งเท่ากันทั้งเส้นแตกหักได้ง่าย
ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในไทยอีกในอนาคตซึ่งทำให้เกิด “ความล้า” ในเหล็กคล้ายๆถนนและสะพานที่มีรถขับผ่าน อาคารสูงๆที่ใช้เหล็กเส้น T จะมีความเสี่ยงอีกหรือไม่???
ผมมองว่าการใช้เหล็กเส้น T ที่ “แข็งนอกอ่อนใน” ไม่เหมาะกับการสร้างตึกสูงในไทย ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวแล้ว
เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ควรจะเป็นบทเรียนให้ผู้ออกกฎหมายและวิศวกรในไทยคำนึงถึงการสร้างอาคารโดยการใช้เหล็กที่สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต
จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบแรงสั่นไหวในหลายพื้นที่ของประเทศรวมถึงกรุงเทพมหานคร จนทำให้อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดเหตุถล่ม บริเวณถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
(31 มี.ค. 68) เวลา 10.00 น. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายให้ นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และเจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบผลกระทบของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จากกรณีเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จำนวน 2 แห่ง ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ในเขตจตุจักร ประกอบด้วย
1. สถานีบริการน้ำมันบางจาก และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) ถนนกำแพงเพชร 2
2. สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ถนนกำแพงเพชร 2 (ด้านหลังนิคมการรถไฟ กม.11)
ทั้งนี้ นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ระบุว่าจากผลการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ ถัง ท่อ และอุปกรณ์ภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว ไม่ได้รับความเสียหายจากกรณีเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นและสามารถเปิดให้บริการเป็นปกติ ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สั่งการให้กรมธุรกิจพลังงานประสานกับพลังงานจังหวัดทั่วประเทศให้มีการกำหนดมาตรการสุ่มตรวจสอบสถานีบริการตามมาตรฐานสากลของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศ เพื่อสร้างความปลอดภัยและความพร้อมในการให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ประชาชนผู้เข้ามารับบริการ
นอกจากนี้ นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ยังได้เน้นย้ำว่ากรมธุรกิจพลังงาน ได้ให้ความสำคัญกับการติดตามตรวจสอบด้านความปลอดภัยของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานที่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีต่อกิจการพลังงานและประชาชน โดยปลัดกระทรวงพลังงานก็ได้สั่งการให้กำกับดูแลกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นระบบท่อ คลัง สถานีบริการ โดยปัจจุบันยังไม่พบรายงานผลกระทบใดๆ ที่มีนัยสำคัญอันจะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อประชาชน โดยได้ประสานติดตามสำนักงานพลังงานจังหวัดในการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานีบริการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทั่วประเทศในด้านความปลอดภัยของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไป
(29 มี.ค. 68) ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ยืนยันเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ กลุ่ม ปตท. มั่นใจสามารถรองรับความต้องการใช้พลังงานของประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำพันธกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศ
กลุ่ม ปตท. ได้ตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมด ตั้งแต่แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติ ระบบรับส่งก๊าซธรรมชาติในทุกพื้นที่ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานผลิตปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า คลังน้ำมันและคลังปิโตรเลียมทั่วประเทศ ตลอดจนสถานีบริการน้ำมันและสถานีบริการ NGV โดยได้รับยืนยันว่าสามารถเดินเครื่องดำเนินงานและให้บริการได้ตามปกติ และไม่ได้รับความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและส่งจ่ายพลังงาน
ทั้งนี้ ปตท. ให้ความสำคัญในการดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยง มีแผนบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรักษาความเสถียรของระบบพลังงานของประเทศ ปตท. จะติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประชาชนมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้อย่างมั่นคงต่อไป
บีโอไอเผยผลการเยือนอินเดีย รุกดึงการลงทุน 3 อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เปิดโต๊ะเจรจากลุ่มอุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การแพทย์ชั้นนำแดนภารตะ เสริมแกร่ง 'เมดิคัล ฮับ' ของภูมิภาค พร้อมเจรจา TATA Motor ดึงลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ขณะที่ผู้ให้บริการออกแบบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงสนใจตั้งฐานในไทยรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงผลการนำคณะบีโอไอเยือนเมืองไฮเดอราบัด และเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 24 – 27 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อพบหารือและเจรจาแผนการลงทุนเป็นรายบริษัทกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยักษ์ใหญ่อินเดียในอุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การแพทย์ รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ รวม 15 บริษัท โดยบีโอไอได้นำเสนอศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในฐานะแหล่งลงทุนที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 3 กลุ่มหลัก ซึ่งบริษัทอินเดียมีความเชี่ยวชาญ และเป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก โดยบริษัทเหล่านี้มีความสนใจขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน และประเทศไทย
- กลุ่มอุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การแพทย์ บีโอไอได้จัดประชุมร่วมกับผู้ประกอบการอินเดียที่อยู่ในเขต Medical Device Park เพื่อนำเสนอข้อมูลการลงทุนและมาตรการสนับสนุนด้าน Medical Hub นอกจากนี้ ยังได้หารือรายบริษัท เช่น บริษัท Sahajanand Medical Technologies (SMT) ผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์สำหรับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดอันดับ 1 ของอินเดีย มีแผนลงทุนในไทยเพื่อผลิตลิ้นหัวใจเทียมและอุปกรณ์ขดลวดถ่าง (Stent) สำหรับการรักษาหลอดเลือดหัวใจและการทำบอลลูน และมีแผนสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาในไทย บริษัท MSN Laboratories ผู้ผลิตยารายใหญ่ของโลก ปัจจุบันมีฐานการผลิตและวิจัยในหลายภูมิภาค ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชีย โดยมีแผนลงทุนทำวิจัยในไทย และขยายตลาดเข้าสู่อาเซียน บริษัท ACG Capsules ผู้ผลิตแคปซูล ยาเม็ด และเครื่องจักรบรรจุยารายใหญ่ของโลก ได้ลงทุนสร้างโรงงานที่จังหวัดระยอง มูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท เพื่อผลิตแคปซูลจากเจลาตินและพืชด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยมีแผนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในไทยด้วย และบริษัท Natural Remedies ผู้ผลิตอาหารเสริมจากสมุนไพรสำหรับปศุสัตว์อันดับ 1 ของอินเดีย และอันดับ 3 ของโลก มีแผนลงทุนทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยในไทย และศูนย์วิจัยของบริษัทผลิตเนื้อสัตว์ชั้นนำ เช่น ซีพี, เบทาโกร และสหฟาร์ม เพื่อยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารสัตว์
- กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ คณะบีโอไอได้หารือกับบริษัท TATA Motor ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอินเดีย มีแผนรุกขยายธุรกิจด้านรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (รถบรรทุก และรถบัส) ในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดรถยนต์พวงมาลัยขวา โดยเพิ่งมีการดึงผู้บริหารชาวอินเดียจากค่ายรถยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย ให้ไปคุมทัพด้านการขยายธุรกิจรถยนต์นั่งของกลุ่ม TATA Motor ในต่างประเทศด้วย
- กลุ่มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ คณะบีโอไอได้หารือกับนายกสมาคมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ของอินเดีย (India Electronics and Semiconductor Association: IESA) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 400 บริษัท โดยได้นำเสนอนโยบายรัฐบาลไทยและการจัดตั้งบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ แผนพัฒนาบุคลากร และความพร้อมของระบบนิเวศ โดยบีโอไอจะจับมือสมาคมฯ จัดกิจกรรมดึงดูดการลงทุนร่วมกันที่เมืองบังกาลอร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้หารือแผนลงทุนของ บริษัท Tessolve Semiconductor ซึ่งทำตั้งแต่การออกแบบชิป (IC Design) การทดสอบชิป การออกแบบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และการให้บริการอบรมด้านวิศวกรรมแก่บริษัทผลิตชิปชั้นนำของโลก โดยภายในปีนี้ บริษัทมีแผนลงทุนจัดตั้งศูนย์ทดสอบชิปและให้บริการทางวิศวกรรมแก่บริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์ในไทยด้วย
“อินเดียเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุดของโลก และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีหลายสาขา เช่น ยาและอุปกรณ์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และเคมีภัณฑ์ ขณะนี้อยู่ในช่วงเวลาสำคัญที่นักลงทุนอินเดียกำลังขยายการลงทุนในต่างประเทศ ภายใต้นโยบาย Act East Policy ของรัฐบาลอินเดีย ที่มุ่งขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศในอาเซียน การเยือนอินเดียครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อทำให้นักลงทุนอินเดียมองเห็นศักยภาพและความพร้อมของไทยในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และพิจารณาเลือกไทยเป็นฐานการลงทุนหลักในอาเซียน ทั้งด้านการผลิต การวิจัยและพัฒนา ศูนย์โลจิสติกส์ของภูมิภาค รวมถึงสร้างความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย” นายนฤตม์ กล่าว
ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 - 2567) มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากกลุ่มนักลงทุนอินเดียจำนวน 161 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 13,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยา อุปกรณ์การแพทย์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องประดับ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดินสายแนะนำ/ให้คำปรึกษาภาคธุรกิจใช้ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลดิจิทัล : DBD Biz Regist พร้อมทำความเข้าใจ..ระบบเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน สะดวก รวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ช่วยให้การจดทะเบียนนิติบุคคลรวดเร็วขึ้น ก่อนเดินตามแผนที่กำหนด...ปิดเคาน์เตอร์ Walk In รับคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลแบบกระดาษทั่วประเทศ วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ประเดิมสอนใช้งานระบบ DBD Biz Regist ธุรกิจพลังงานใหญ่ ปตท.ที่มีนิติบุคคลในเครือกว่า 500 บริษัท พูดเสียงเดียวกัน ‘ระบบใช้งานง่ายจริง’
(28 มี.ค. 68) นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตั้งเป้าปิดเคาน์เตอร์ Walk In ยื่นจดทะเบียนนิติบุคคลแบบกระดาษทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป โดยกำหนด 4 มาตรการหลักเพื่อรองรับและเตรียมความพร้อมก่อนปิดเคาน์เตอร์ Walk In จดทะเบียนธุรกิจทั่วประเทศ ได้แก่ 1) จัดเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยสอนใช้งานระบบ ทั้งส่วนกลาง (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าในกรุงเทพมหานครทั้ง 6 เขต และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ 2) จัดทำคลิปสั้นสอนวิธีการใช้งานทั้งการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการทางทะเบียน การจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชี 3) เปิดอบรมและสอนวิธีการใช้งานระบบแก่สำนักงานบัญชี/สำนักงานกฎหมาย ภาคธุรกิจ และผู้สนใจเดือนละ 2 ครั้งผ่านระบบออนไลน์ หรือหากหน่วยงานใดต้องการให้กรมฯ ส่งวิทยากรไปบรรยายรายละเอียดการใช้งานระบบดังกล่าวสามารถประสานงานกรมฯ ได้ 4) เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงการให้บริการที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้ภาคธุรกิจเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติและมีความพร้อมสู่การเข้าใช้บริการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ
ล่าสุด กรมฯ ได้รับการประสานงานจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย) ขอให้จัดส่งเจ้าหน้าที่กรมฯ เข้าสอนใช้งานระบบจดทะเบียนนิติบุคคลดิจิทัล : DBD Biz Regist แก่ตัวแทนของบริษัทในเครือ จำนวน 70 ราย เพื่อพัฒนาเสริมศักยภาพในการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบ DBD Biz Regist ร่วมกันผลักดันให้บริษัทในเครือของ ปตท.กว่า 500 บริษัท สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบ DBD Biz Regist ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเจ้าหน้าที่กรมฯ ได้บรรยายวิธีการใช้งาน และลงมือปฏิบัติกรอกข้อมูลในระบบ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘ระบบ DBD Biz Regist ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก และได้รับความสะดวกมากกว่าการเดินทางไปจดทะเบียนที่สำนักงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่ต้องรอคิว และที่สำคัญ คือ สามารถเลือกวันที่ต้องการจดทะเบียนได้ตามฤกษ์ยามที่กำหนด ช่วยสร้างความสะดวกสบายให้แก่ภาคธุรกิจ’
นอกจากนี้ ได้มีหน่วยงานต่างๆ ขอให้กรมฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าสอนใช้งานระบบฯ เช่น สมาคมสำนักงานบัญชีคุณภาพ (ACTAP) สมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทย ฯลฯ เป็นต้น ขณะเดียวกัน กรมฯ มีกำหนดการลงพื้นที่เพื่ออบรมการใช้งานระบบฯ แก่ภาคธุรกิจจังหวัดต่างๆ เช่น นนทบุรี ชลบุรี ขอนแก่น อุบลราชธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก สงขลา ภูเก็ต ฯลฯ และมีการจัดอบรม ณ ศูนย์ประชุมกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบิน จ.นนทบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน 2568 ด้วย
อธิบดีอรมน กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางดิจิทัล : DBD Biz Regist เป็นระบบจดทะเบียนนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีความเป็นมิตรและสะดวกต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น ใช้งานได้ง่าย โดยเริ่มต้นจากการลงทะเบียนยืนยันตัวตนที่ง่ายและทำได้หลายช่องทาง การกรอกข้อมูลรายละเอียดนิติบุคคลในรูปแบบ e-Form ที่สะดวก รวดเร็ว มีข้อความสำเร็จรูปให้เลือกใช้โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์เอง รวมถึงมีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ข้อมูลบุคคลกับกรมการปกครอง ข้อมูลที่อยู่กับไปรษณีย์ไทย ฯลฯ เป็นต้น
DBD Biz Regist มี 4 ข้อดี คือ ดีแรก : อำนวยความสะดวกและรวดเร็ว ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต หรือ หน่วยจดทะเบียน สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ดีที่สอง : ลดการใช้เอกสาร ระบบจดทะเบียนดิจิทัล ช่วยลดการใช้เอกสาร และกระบวนการที่ต้องใช้กระดาษทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดีที่สาม : การันตีความปลอดภัยสูง มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล และรักษาความโปร่งใสในกระบวนการจดทะเบียนนิติบุคคล และ ดีที่สี : ช่วยลดต้นทุน ระบบดิจิทัลช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ
นับตั้งแต่วันที่เปิดให้บริการระบบ DBD Biz Regist ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 - 16 มีนาคม 2568 มีภาคธุรกิจและประชาชนเข้าใช้บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทั้งจัดตั้งใหม่ เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลทางทะเบียนผ่านระบบ DBD Biz Regist เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดมีผู้ใช้บริการในส่วนกลางคิดเป็นร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ใช้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล (ส่วนกลาง) และมีผู้ใช้งานทั่วประเทศคิดเป็นร้อยละ 36 ของจำนวนผู้ใช้บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทั้งหมด ซึ่งคำขอที่ยืนผ่านระบบฯ เจ้าหน้าที่สามารถตรวจความถูกต้องและอนุมัติคำขอจดทะเบียนได้ภายใน 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและผู้ใช้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
(27 มี.ค.68) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภายหลังจากการประชุม นายพีระพันธ์ฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติให้คงราคาขายส่งก๊าซ LPG หน้าโรงกลั่นที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยมีกรอบเป้าหมายให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 และให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)พิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับแนวทางการทบทวนการกำหนดราคาก๊าช LPG ต่อไป
นายพีระพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม กบง. ยังได้มีการพิจารณาแนวทางการลดค่าไฟฟ้าจากค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ (Policy Expense) ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เสนอให้ทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งในรูปแบบ Adder และ Feed -in Tarff เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้ข้อเสนอการปรับลดค่าไฟฟ้าของ กกพ. สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และไม่ขัดต่อกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างคำสั่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการกำหนดอายุสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Non-Firm เพื่อลดผลกระทบค่าไฟฟ้า และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอร่างคำสั่งต่อประธาน กบง. พิจารณาลงนามต่อไป
ครั้งแรกในไทย กับที่สุดของโซลูชั่น ด้วย INNOVATION ที่ล้ำสมัย บมจ.อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น ตอกย้ำคุณภาพจากการเป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน และเป็นผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของ LINK AMERICAN CABLING และ 19” GERMANY EXPORT RACK ประกาศอัปเดตนวัตกรรมขั้นสุดแห่งปี 2025 ที่พร้อมพลิกโฉมโลกแห่งการสื่อสาร ในงาน NEW PRO TECH INTERLINK BASE UPDATE: NEW & NEXT INNOVATION ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด รองรับความต้องการของอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้พบกับโซลูชั่นที่ครบวงจรทั้งในปัจจุบัน และอนาคต อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ยกระดับไปอีกขั้น ล่าสุดได้ตั้งใจพัฒนา นำนวัตกรรมใหม่ที่จะมาขับเคลื่อนอนาคต เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น และเพื่อรับมือกับความท้าทายที่กำลังจะมาถึง ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน พร้อมทั้งเป็นผู้นำเข้า และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ LINK จากสหรัฐอเมริกา และ 19”GERMANY EXPORT RACK มากว่า 38 ปี โดยได้ประกาศศักดิ์ดา นำเสนอ 12 โซลูชั่น ที่เป็นขั้นสุดแห่งโครงสร้างพื้นฐาน “THE UNRIVALED OF INFRASTRUCTURE” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับใช้ได้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี ผู้เชี่ยวชาญของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ เป็นผู้บรรยายรายละเอียดนวัตกรรมแบบเจาะลึก พร้อมทั้งได้รับเกียรติจาก ดร.เตชทัต บูรณะอัศวกุล ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นพลังงานหลักของโลกอนาคต ในงานนี้อีกด้วย
โดยนายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ EXCLUSIVE AUTHORIZED DISTRIBUTOR จาก LINK และเจ้าของลิขสิทธิ์ 19”GERMANY EXPORT RACK กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อินเตอร์ลิ้งค์ฯ พร้อมขับเคลื่อนวงการเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ดังนั้น การนำผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่เข้ามาจะเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารให้มีความล้ำหน้า จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทยให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่ง LINK ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกงานระบบ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ทั้งในภาคธุรกิจ และลูกค้าทั่วไป ตั้งแต่ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่สำหรับองค์กร ไปจนถึงโซลูชั่นที่เหมาะกับการใช้งานภายในที่พักอาศัย นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับมาตรฐานคุณภาพสูงสุด เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากผลิตภัณฑ์ และบริการ"
สำหรับนวัตกรรมใหม่จาก LINK AMERICAN CABLING & 19” GERMANY EXPORT RACK ภูมิใจเสนอผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นใหม่ที่ล้ำสมัย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอย่างครบวงจร โดยการผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้การเชื่อมต่อ และการสื่อสารในทุกระดับเป็นไปอย่างราบรื่น ตอบโจทย์การใช้งานในระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน และมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
• SUPER S SERIES มาพร้อมกับ UTP CAT6A และ FTTR SOLUTIONS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนวัตกรรมขั้นสูงที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างสายสัญญาณแบบเปิด (OPEN CABLING) โดยมีแนวคิดหลัก "SMART, SMALL, SAVE"
o SMART : ล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ
o SMALL : ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา แต่ให้ประสิทธิภาพสูง
o SAVE : ประหยัดพื้นที่ติดตั้ง ลดต้นทุนค่าบำรุงรักษา
• LINK SOLAR CABLING SOLUTION: พลังงานที่สำคัญสำหรับอนาคต เป็นโซลูชั่นที่ดีที่สุดสำหรับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาตรฐาน และสะดวกในการติดตั้ง ทั้งผู้ใช้งาน และผู้ติดตั้ง ซึ่งสามารถใช้งานกับ SOLAR ROOF, SOLAR FARM และ FLOATING SOLAR และยังทดสอบผ่านมาตรฐาน AD8 สามารถจมน้ำได้ 1 เมตรโดยที่ยังนำไฟฟ้าได้สมบูรณ์
• LINK TRANSCEIVER CLINIC FOR ALL : SFP (SMALL FORM-FACTOR PLUGGABLE) MODULE เป็นส่วนสำคัญของชั้น PHYSICAL LAYER ในระบบสื่อสารผ่านไฟเบอร์ออปติก โดยทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติกเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพสูง LINK เข้าใจถึงความสำคัญของการเชื่อมต่อที่ราบรื่นระหว่างอุปกรณ์สวิตช์ แต่ด้วยความหลากหลายของแบรนด์ และรุ่นของสวิตช์ในตลาด อาจเกิดปัญหาความเข้ากันได้ (COMPATIBILITY) ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อเกิดความไม่เสถียร ดังนั้น LINK TRANSCEIVER CLINIC FOR ALL จึงเป็นคำตอบ พร้อมให้บริการช่วยเหลือ และแก้ไขทุกปัญหา เพื่อให้การเชื่อมต่อของเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ และไม่มีสะดุด
จุดเด่นของบริการ LINK TRANSCEIVER CLINIC FOR ALL:
ALL COMPATIBILITY : LINK เป็นเจ้าของสิทธิ์ในการเข้ารหัสสวิตช์ของทุกแบรนด์ ซึ่งหมายความว่า ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความเข้ากันได้ของแบรนด์หรือความยาวสายไฟเบอร์ นอกจากนี้เรายังมีบริการ การสาธิตการใช้งาน เพื่อให้คุณมั่นใจในสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ จัดส่งภายใน 3 วัน : มั่นใจได้แน่นอนว่าการดำเนินงานของคุณจะไม่สะดุด ด้วยบริการจัดส่งสินค้ารวดเร็วภายใน 3 วัน รับประกัน 3 ปี : มอบความมั่นใจในคุณภาพ ด้วยการรับประกันที่ยาวนานที่สุดในตลาด
หากพบปัญหา รับประกันการเปลี่ยนสินค้าใหม่ 100% ทันที
19” GERMANY EXPORT RACK : นวัตกรรมใหม่ของ GERMAN RACK แข็งแกร่งที่สุดที่เคยมีมาGERMAN RACK ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นมาตรฐานสูงสุดของตู้แร็ค ซึ่งถูกนำไปใช้ในโครงการขนาดใหญ่ทั่วโลก วันนี้ NEW GERMAN RACK ได้พัฒนาขีดจำกัดไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยี จากวิศวกรรมขั้นสูงจากเยอรมนี สู่การสร้างตู้แร็คที่แข็งแกร่งที่สุด ดังนี้
ความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น 2 เท่า : ผลิตจากเหล็กอีเล็คโตร-กัลวาไนซ์หนา 2.5 มม. ซึ่งมีความทนทานมากกว่าถึง 2 เท่า
เทคโนโลยีการออกแบบขั้นสูง : การออกแบบ MODULAR KNOCKDOWN ที่ล้ำสมัย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของโครงสร้าง พร้อมทั้งยังติดตั้งง่ายกว่าเดิม
ZEROGAP ZEAL – ระบบปิดผนึกอากาศ : เทคนิค ZEROGAP ZEAL ช่วยปิดผนึกประตูได้อย่างแน่นหนา พร้อมทั้งระบายอากาศร้อนออกด้านบนได้อย่างรวดเร็ว ปกป้องอุปกรณ์ภายในจากความร้อน
การออกแบบเพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ : ดีไซน์ใหม่ ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการติดตั้งอุปกรณ์ได้สูงสุด โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ทำให้ใช้พื้นที่เต็มตาม U ที่ระบุ และใช้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
NEW & NEXT นวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนอนาคต การก้าวสู่อนาคต LINK ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา และคิดค้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะกลายเป็นส่วนสำคัญยิ่งของทั้งธุรกิจ และการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ในปี 2025 กระแส ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (DIGITAL TRANSFORMATION) จะผลักดันให้ ดาต้าเซ็นเตอร์ (DATA CENTER) มีบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้น และในยุคที่ DATA CENTER มีความซับซ้อน ร่วมกับความต้องการในการขยายระบบที่สูงขึ้น และต้องประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่มากขึ้น รวมไปถึงการเติบโตของ AI และ CLOUD COMPUTING ที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ โซลูชันที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องสามารถจัดการได้ง่าย ปรับเปลี่ยนได้สะดวก และยังคงรักษาความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่น และความพร้อมใช้งานที่สูงสุดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ LINK ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนา "LINK DATA CENTER INTERCONNECT CABLING SYSTEM" เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้แก่
• DOUBLE Q SERIES : LINK FIBER OPTIC ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ PIGTAIL, PATCH CORD, CONNECTOR และ ADAPTER ออกแบบมาเพื่อความทนทาน ประสิทธิภาพสูงในสภาวะสุดขั้ว และวัสดุคุณภาพเยี่ยม
ล่าสุด LINK ได้เปิดตัว DOUBLE Q SERIES ซึ่งมีจุดเด่น ดังนี้
วัสดุคุณภาพสูง (HIGH-QUALITY COMPONENTS)
LINK คัดสรรวัสดุพรีเมียม เช่น แกนเซรามิก (CERAMIC FERRULES) เพื่อลดการสูญเสียสัญญาณ และเพิ่มความทนทานสูงสุด โดย DOUBLE Q SERIES ผลิตภายใต้มาตรฐานอุตสาหกรรมที่เข้มงวด การจัดส่งที่รวดเร็ว (QUICK RESPONSE)
LINK มีสต็อกสินค้าจำนวนมาก และมีแผนโลจิสติกส์ขั้นสูง เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงเวลา และรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รองรับทุกการเชื่อมต่อด้วยผลิตภัณฑ์ที่ครบวงจร
LINK มีสายไฟเบอร์ PIGTAIL & PATCH CORD หลากหลายรุ่น เช่น SC, LC, ST, FC, MTRJ, MTP และ MPO รองรับทั้ง SINGLE MODE และ MULTI-MODE โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐาน FOCIS และ ANSI/TIA-568.3-D
BAS CONTROL CABLE: ระบบอัตโนมัติ (AUTOMATION SYSTEMS) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว LINK จึงใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต สายควบคุม BAS (BUILDING AUTOMATION SYSTEM) ที่มีความทนทาน และประสิทธิภาพสูง ดังนี้
การออกแบบที่คำนึงถึงทุกรายละเอียด
ใช้ SPIRAL WAY FOIL SHIELD ที่ช่วยป้องกันสัญญาณรบกวน EMI/RFI ได้ถึง 120% มีสายกราวด์ (DRAIN WIRE) ทำจากทองแดงเคลือบดีบุก เพื่อเพิ่มความทนทาน
ผลิตตามมาตรฐาน และผ่านการทดสอบจากสถาบัน UL เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด
• LIYCY CONTROL CABLE เป็นสายควบคุมที่มีความยืดหยุ่นสูง และมีการป้องกันสัญญาณ ซึ่งออกแบบมาเพื่อการส่งสัญญาณในโรงงานอุตสาหกรรม แผงควบคุม และอาคารที่มีสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ระบบการวัด และระบบควบคุมอื่น ๆ
LIYCY CONTROL CABLE : LINK ได้พัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ LIYCY CONTROL CABLE เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ และความมั่นคงให้กับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ระบบอุตสาหกรรมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ทั้ง รองรับอุตสาหกรรมยุคใหม่ และเพื่อระบบที่เสถียร และยืดหยุ่น มีความสำคัญต่อการดำเนินงานในภาคอุตสาหกรรม