Saturday, 22 March 2025
ECONBIZ NEWS

'ภูเก็ต' ยืนหนึ่งเมืองทำเงินสูงสุดกวาดรายได้ 4.9 แสนล้าน รัฐเร่งเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ หวังดัน GDP ไทยโตต่อเนื่อง

เมื่อวานนี้ (9 มี.ค. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยในจังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตามที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดสงขลาเมื่อเดือนที่ผ่านมาในเรื่องการพัฒนาท่าเรือเพื่อเพิ่มจุดท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดสงขลาและจังหวัดในฝั่งอ่าวไทย

ทั้งนี้ คณะฯได้ติดตามการพัฒนา การให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ที่ใช้บริการท่าเรืออำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นท่าเรือเฟอร์รี่ที่ขนคนและยานพาหนะซึ่งผู้แทนกรมเจ้าท่ายืนยันว่ายังมีความพร้อมและเพียงพอในการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวไปยังเกาะสมุยซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งที่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากฝั่งอันดามัน เช่น จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ที่สามารถเดินทางข้ามฝั่งมาเที่ยวที่ฝั่งอ่าวไทยบริเวณท่าเรือดังกล่าวนี้ เป็นจำนวนมาก

ส่วนที่อำเภอเกาะสมุย โครงการจัดทำท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ซึ่งคาดว่าเริ่มก่อสร้างในเร็ววันนี้จะแล้วเสร็จในปี 2575 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายในการศึกษาจัดทำจุดจอดเรือเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยโดยเฉพาะจุดท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาต่อเนื่องมายังเกาะสมุย สุราษฎร์ฯ เพื่อเพิ่มจุดและเดินทางท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวในฝั่งอ่าวไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้ 

นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้ติดตามผลการดำเนินงานการจัดการน้ำเสีย บนเกาะสมุย และความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่ห้องประชุมมุกสมุย เทศบาลนครเกาะสมุย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายชัชชัย มณี ปลัดอำเภอเกาะสมุย รักษาราชการแทนนายอำเภอเกาะสมุย นายสิทธิศักดิ์ ยิ่งเชิดสุข นายช่างโยธาชำนาญงาน ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำเสียของเทศบาลนครเกาะสมุย และรายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่เกาะสมุย ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม โดยนายอดูลย์ ระลึกมูล ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาเกาะสมุย ได้รายงานความพร้อมในการดำเนินการว่าเป็นไปตามกำหนดการที่รัฐบาลได้มอบหมาย

“รัฐบาลให้ความสำคัญ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในภาคใต้ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเพิ่มประสิทธิภาพของตำรวจท่องเที่ยว และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ในเรื่องของการจัดทำแหล่งท่องเที่ยวระดับชาติในภูมิภาคอาเซียนซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถใช้เรือสำราญขนาดใหญ่เดินทางจากสิงคโปร์เข้าสู่สงขลาผ่านมายังสุราษฎร์ธานีเกาะสมุย ไปยังพัทยาและประเทศต่างๆทางฝั่งตะวันออกได้”

สำหรับโครงการท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่นี้ การดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมายคาดว่าในปี 2572 จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ และจะแล้วเสร็จในปี 2575 ซึ่งจะเป็นการสร้างช่องทางการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางด้วยเรือสำราญระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

ส่วนการบริหารจัดการน้ำเสียในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยแม้ว่าองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการเองแต่ก็ยังมีงบประมาณไม่เพียงพอ ในที่ประชุมได้ประสานกับองค์การจัดการน้ำเสียกระทรวงมหาดไทยให้ร่วมกันดำเนินการเพื่อจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ต่อไป

ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่เกาะสมุยซึ่งพบว่ามีปริมาณความต้องการมากกว่าน้ำที่ส่งทางท่อจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาที่เกาะสมุย  ที่ประชุมได้ขอให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาเพิ่มเติมท่อส่งน้ำเพื่อให้เกาะสมุยมีน้ำประปาใช้ได้เพียงพอโดยเฉพาะช่วงไฮซีซั่น

ขณะที่ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว 3 กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว พลตำรวจตรี ภพพล จักกะพาก ที่ดูแลพื้นที่ 22 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่าปัญหาของเกาะสมุยและเกาะพะงันส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่มีมากกว่าที่พักบนเกาะพะงันทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปงานสำคัญคือฟูมูนปาร์ตี้แบบไปกลับทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับกรมเจ้าท่าในการกวดขันตรวจเรือโดยเฉพาะสัญญาณไฟและอุปกรณ์ชูชีพในเรือให้พร้อมตลอดเวลาซึ่งในส่วนของตำรวจท่องเที่ยวได้ดำเนินการตรวจสารเสพติดต่อผู้ขับขี่เรือระหว่างเกาะต่าง ๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างต่อเนื่อง

จากนั้น คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าของโครงการบริเวณแหลมหินคม ตำบลตลิ่งงามซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอไปประมาณ 15 กิโลเมตร โดยพบว่าปัจจุบันไม่มีการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่  อยู่ระหว่างขั้นตอนการมอบเงินที่ได้จากการเวนคืนที่ดินเพื่อจัดสร้างท่าเรือดังกล่าว ได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

‘แพทองธาร’ สั่งเดินหน้าเร่งเครื่องเศรษฐกิจ หวังทุกหน่วยงานทั้งรัฐ-เอกชน ช่วยดันจีดีพีโตเกิน 3%

นายกรัฐมนตรี เปิดประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1 สั่งทุกหน่วยงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผลักดันจีดีพี ปี 2568 โตเกิน 3%

(10 มี.ค. 68) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2568 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยย้ำว่ารัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเกินเป้าหมาย 3% ที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้

นายกฯ ระบุว่า แม้ในช่วงปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว แต่รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนให้ขยายตัวได้มากกว่านี้ โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกกระทรวงและภาคเอกชน

ทั้งนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานร่วมกันคิดค้นมาตรการและโครงการที่สามารถเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยจะเน้นไปที่การขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยมีความยั่งยืนในระยะยาว

รัฐบาล เผย!! ท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่เกาะสมุย เสร็จตามกำหนดปี 75 แน่ ย้ำ!! ให้ความสำคัญ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

(9 มี.ค. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยในจังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช  สุราษฎร์ธานี   ตามที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดสงขลาเมื่อเดือนที่ผ่านมาในเรื่องการพัฒนาท่าเรือเพื่อเพิ่มจุดท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดสงขลาและจังหวัดในฝั่งอ่าวไทย

ทั้งนี้ คณะฯได้ติดตามการพัฒนา การให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ที่ใช้บริการท่าเรืออำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นท่าเรือเฟอร์รี่ที่ขนคนและยานพาหนะซึ่งผู้แทนกรมเจ้าท่ายืนยันว่ายังมีความพร้อมและเพียงพอในการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวไปยังเกาะสมุยซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งที่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากฝั่งอันดามัน เช่น จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ที่สามารถเดินทางข้ามฝั่งมาเที่ยวที่ฝั่งอ่าวไทยบริเวณท่าเรือดังกล่าวนี้ เป็นจำนวนมาก

ส่วนที่อำเภอเกาะสมุย โครงการจัดทำท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ซึ่งคาดว่าเริ่มก่อสร้างในเร็ววันนี้จะแล้วเสร็จในปี 2575 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายในการศึกษาจัดทำจุดจอดเรือเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยโดยเฉพาะจุดท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาต่อเนื่องมายังเกาะสมุย สุราษฯ เพื่อเพิ่มจุดและเดินทางท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวในฝั่งอ่าวไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้ 

นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้ติดตามผลการดำเนินงานการจัดการน้ำเสีย บนเกาะสมุย และความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่ห้องประชุมมุกสมุย เทศบาลนครเกาะสมุย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายชัชชัย มณี ปลัดอำเภอเกาะสมุย รักษาราชการแทนนายอำเภอเกาะสมุย  นายสิทธิศักดิ์ ยิ่งเชิดสุข นายช่างโยธาชำนาญงาน ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำเสียของเทศบาลนครเกาะสมุย และรายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่เกาะสมุย  ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม โดยนายอดูลย์ ระลึกมูล ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาเกาะสมุย ได้รายงานความพร้อมในการดำเนินการว่าเป็นไปตามกำหนดการที่รัฐบาลได้มอบหมาย

“ รัฐบาลให้ความสำคัญ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในภาคใต้ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเพิ่มประสิทธิภาพของตำรวจท่องเที่ยว และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ในเรื่องของการจัดทำแหล่งท่องเที่ยวระดับชาติในภูมิภาคอาเซียนซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถใช้เรือสำราญขนาดใหญ่เดินทางจากสิงคโปร์เข้าสู่สงขลาผ่านมายังสุราษฎร์ธานีเกาะสมุย ไปยังพัทยาและประเทศต่างๆทางฝั่งตะวันออกได้”

สำหรับโครงการท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่นี้ การดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมายคาดว่าในปี 2572 จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ และจะแล้วเสร็จในปี 2575 ซึ่งจะเป็นการสร้างช่องทางการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางด้วยเรือสำราญระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

ส่วนการบริหารจัดการน้ำเสียในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยแม้ว่าองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการเองแต่ก็ยังมีงบประมาณไม่เพียงพอ ในที่ประชุมได้ประสานกับองค์การจัดการน้ำเสียกระทรวงมหาดไทยให้ร่วมกันดำเนินการเพื่อจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ต่อไป

ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่เกาะสมุยซึ่งพบว่ามีปริมาณความต้องการมากกว่าน้ำที่ส่งทางท่อจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาที่เกาะสมุย  ที่ประชุมได้ขอให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาเพิ่มเติมท่อส่งน้ำเพื่อให้เกาะสมุยมีน้ำประปาใช้ได้เพียงพอโดยเฉพาะช่วงไฮซีซั่น

ขณะที่ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว 3 กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว พลตำรวจตรี ภพพล จักกะพาก ที่ดูแลพื้นที่ 22 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่าปัญหาของเกาะสมุยและเกาะพะงันส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่มีมากกว่าที่พักบนเกาะพะงันทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปงานสำคัญคือฟูมูนปาร์ตี้แบบไปกลับทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับกรมเจ้าท่าในการกวดขันตรวจเรือโดยเฉพาะสัญญาณไฟและอุปกรณ์ชูชีพในเรือให้พร้อมตลอดเวลาซึ่งในส่วนของตำรวจท่องเที่ยวได้ดำเนินการตรวจสารเสพติดต่อผู้ขับขี่เรือระหว่างเกาะต่าง ๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างต่อเนื่อง

จากนั้น คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าของโครงการบริเวณแหลมหินคม ตำบลตลิ่งงามซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอไปประมาณ 15 กิโลเมตร โดยพบว่าปัจจุบันไม่มีการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่  อยู่ระหว่างขั้นตอนการมอบเงินที่ได้จากการเวนคืนที่ดินเพื่อจัดสร้างท่าเรือดังกล่าว ได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

‘แพทองธาร’ เผย!! ต่างชาติชื่นชมบูธ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ITB Berlin 2025 ชี้!! เป็นการขยายโอกาส ให้กับผู้ประกอบการด้าน ‘การท่องเที่ยวเมืองรอง’ 

(9 มี.ค. 68) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ แล้ว ภายหลังเดินทางเข้าร่วมเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ที่กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 3-8 มีนาคมที่ผ่านมา

นายกรัฐมนตรี ได้สรุปผลการเดินทางเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ว่า งานนี้ถือเป็นงานท่องเที่ยว ที่มีหลายประเทศเข้าร่วมงาน โดยตนเองได้เดินไปดูงาน พร้อมกับได้มีโอกาสในช่วงทำงานโรงแรมเคยได้ไปร่ววมงานนี้ ส่วนตัวรู้สึกว่างานนี้เป็นงานที่สร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการโรงแรม บริษัททัวร์ท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ต่างประเทศได้มาเจอกัน ซึ่งปีนี้บูธของประเทศไทยทำได้ดีมากๆ สวยงามและได้รับคำชมจากประเทศอื่นๆ ว่าของประเทศไทยจัดได้สวยงามมาก ดังนั้นจึงขอชื่นชมกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดงานนี้อย่างเต็มความสามารถ และในงานนี้ยังได้มีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการโรงแรม กิจการเจ้าของกิจการจังหวัดเล็กๆ ในทุกภาคได้ไปร่วมงานนี้ เช่น จังหวัดน่าน ตรัง และอีกหลายจังหวัดที่มีตัวแทนได้เข้าร่วม โดยได้นำแพ็คเกจไปขาย และได้พบเจอกับผู้ค้าด้วยกัน จากประเทศอื่นๆด้วย ซึ่งทุกคนบอกว่าเป็นโอกาสที่ดีมากที่ได้ไปร่วมงานนี้และได้มีโอกาสขายโรงแรมตัวเอง และขายความน่าสนใจจังหวัดของตัวเอง

นายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่าได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมบูธอื่นๆ และได้เห็นว่าบูธท่องเที่ยวไทยจะต้องมีการปรับปรุงในด้านใดบ้าง หรือการนำเสนอประเทศไทยให้น่ามาท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นจะต้องทำอย่างไรโดยไปดูเรื่องข้อดีข้อเสียต่างๆและดูจุดแข็งจุดอ่อน ซึ่งส่วนตัวคิดว่างานนี้ดีมากๆ ที่ประเทศไทย ได้มีตัวแทนจากหลายจังหวัด ไปช่วยกันขายและไปแนะนำ ว่าอาจจะไม่ใช่มีแค่เมืองหลักที่ชาวต่างชาติจะรู้จัก แต่ยังมีเมืองหลวงที่น่าสนใจ ที่น่าเที่ยวอีกจำนวนมากดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมงานนี้

ส่วนเวลาที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปต่างประเทศได้มีโอกาสสำรวจสินค้าไทย จะมาต่อยอดอย่างไรได้บ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเวลาเดินห้างได้เห็นสินค้าของแต่ละประเทศ ก็รู้สึกว่าไม่ได้เห็นสินค้าแค่ท้องถิ่นแต่ยังเห็นสินค้าประเทศอื่นๆที่นำไปขายเช่นของไทยที่ได้นำไปขายก็รู้สึกว่าได้ราคาดีมาก ดังนั้นช่วงว่าง ระหว่างเกษตรกร ไปถึงหน้าร้านในต่างประเทศมีช่องว่างเยอะมาก จึงเป็นแนวทางที่จะเพิ่มรายได้กับเกษตรกรซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อไปถึงมีการผ่านรอยต่อดังนั้นจึงคิดว่าถ้าสามารถมีการเพิ่ม การถนอมสินค้า และเพิ่มจำนวนสินค้าได้ ตรงจุดนี้จึงต้องเป็นนวัตกรรม ที่ควรจะต่อยอดและลงทุน อีกอย่างคือ คือ งานวิจัยต่างๆ ที่จะทำให้สินค้าเกษตรที่ดีขึ้น เช่น ผลไม้หรือของสด ซึ่งก็เห็นแล้วว่าประเทศอื่นๆ ก็ขายเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าวก็เช่นกันก็มาจากทุกประเทศ ทั้งญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศก็ขาย ดังนั้นไทยจะต้องมีวิธี หรือมาตรฐานของไทย ซึ่งเคยพูดไปก่อนหน้านี้แล้วว่าจะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ ไทยมีความพิเศษอย่างไรที่จะนำไปขายท่ามกลางการแข่งขันจำนวนมาก ทำไมต้องซื้อของไทย ดังนั้นต้องเพิ่มเรื่องดังกล่าวอีกจำนวนมาก

‘ธ.ก.ส.’ จัด ‘สินเชื่อเกษตรวิวัฒน์’ กู้ซื้อที่ดิน!! ทำการเกษตร 8 ล้านบาท หนุนวัยใกล้เกษียณ!! ทำการเกษตรคู่ขนาน รองรับการเข้าสู่ Aging Society

(8 มี.ค. 68) นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้มีรายได้ประจำเป็นรายเดือน สามารถวางแผนการสร้างรายได้คู่ขนานจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรในวัยก่อนและหลังเกษียณ รองรับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เพิ่มการเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ลดปัญหาโลกร้อนและฝุ่น PM 2.5 ธ.ก.ส.

จึงได้จัดโครงการสินเชื่อเกษตรวิวัฒน์ ให้กับบุคลากรภาครัฐหรือพนักงานองค์กรเอกชน อายุตั้งแต่ 50-59 ปี ที่มีรายได้ประจำเป็นรายเดือน เพื่อนำไปเป็นค่าลงทุนซื้อที่ดินทางการเกษตรเพื่อประกอบอาชีพภาคการเกษตรและอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ วงเงินกู้รายละไม่เกิน 8,000,000 บาท ทั้งนี้ ผู้กู้ต้องนำรายได้เข้าบัญชี เพื่อหักชำระหนี้เป็นรายเดือน มีแผนการประกอบธุรกิจ หรืออาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องในภาคเกษตรกรรม ตั้งแต่ก่อนและหลังเกษียณอายุ

โดยสามารถเริ่มดำเนินโครงการตามแผนที่วางไว้ได้ภายใน 3 เดือน นับถัดจากวันที่รับเงินกู้ รวมถึงมีแผนชำระเงินกู้ก่อนการเกษียณอายุด้วยเงินเดือนหรือรายได้ประจำ และแผนชำระเงินกู้หลังจากเกษียณอายุจากรายได้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง อัตราดอกเบี้ย MRR -2 ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับร้อยละ 6.725 ต่อปี) หรือเท่ากับร้อยละ 4.725 ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรก และปีที่ 6 เป็นต้นไป อยู่ที่ MRR ต่อปี กำหนดชำระคืนไม่เกิน 20 ปี นับตั้งแต่วันกู้ กรอบวงเงินสินเชื่อรวม 37,500 ล้านบาท

“โครงการสินเชื่อเกษตรวิวัฒน์ นอกจากจะส่งเสริมให้ผู้มีรายได้ประจำที่เตรียมแผนเกษียณอายุมีรายได้คู่ขนานจากการทำการเกษตร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตหลังเกษียณแล้ว ยังช่วยให้ผู้ที่เป็นเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงมีรายได้เสริมจากการจ้างงานในการทำการเกษตรและดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้กับผู้กู้ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจระดับชุมชนต่อไป” นายฉัตรชัยกล่าว

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขาทั่วประเทศ และอนุมัติเงินกู้ภายใน 31 มีนาคม 2572 (เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

‘เคทีซี’ ยืนหนึ่ง!! ในทำเนียบ The Sustainability Yearbook 2025 อย่างต่อเนื่อง สะท้อน!! ถึงความสำเร็จ ในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยธรรมาภิบาล

(8 มี.ค. 68) เคทีซีได้รับเลือกจาก S&P Global ให้เข้าทำเนียบ Sustainability Yearbook 2025 อย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มอุตสาหกรรม Diversified Financial Services and Capital Markets และยังคงเป็นสมาชิกรายเดียวในประเทศไทยท่ามกลาง 780 บริษัททั่วโลก ที่มีคะแนนประเมินความยั่งยืนอยู่ในอันดับ 15% แรกของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน 

นางรจนา อุษยาพร ผู้บริหารสูงสุด สายงานการเงิน 'เคทีซี' หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “การที่เคทีซีได้รับคัดเลือกให้อยู่ในทำเนียบ Sustainability Yearbook 2025 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แสดงถึงความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ โปร่งใส และสอดคล้องกับกรอบการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล ภายใต้กลยุทธ์ 'Better Products and Services', 'Better Quality of Life' และ 'Better Climate' เพื่อส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเงิน อีกทั้งร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยปีนี้มีบริษัทมากกว่า 7,690 แห่ง จาก 62 อุตสาหกรรมทั่วโลก ที่เข้าร่วมการประเมินความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Assessment: CSA) และได้ถูกคัดเลือกให้เข้าทำเนียบนี้ โดย S&P Global ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่รายชื่อและข้อมูลขององค์กรที่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงและความยั่งยืน เพื่อให้นักลงทุนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

รู้เรื่อง...ค่าไฟฟ้า (16) : จะแก้ปัญหา ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ได้อย่างไร? สุดท้ายอาจต้องพึ่งแผน PDP ฉบับใหม่ พร้อมบังคับใช้อย่างจริงจัง

หนึ่งในสาเหตุของปัญหา ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ที่ประชาชนคนไทยผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ค่อยรู้ก็คือ ระบบการควบคุมต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าที่เรียกว่า ‘Merit Order’ โดยเมื่อมีความต้องการไฟฟ้า ระบบการผลิตไฟฟ้าจะเริ่มต้นผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเป็นลำดับแรก และหากความต้องการไฟฟ้าลดลง จะลดการเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนการผลิตสูงก่อน แล้วจึงดำเนินการลดการเดินเครื่องไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำสุดเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งไม่สามารถทำได้จริง ทั้ง ๆ ที่ระบบนี้น่าจะช่วยแก้ไขปัญหา ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ ได้ แต่ความเป็นจริงแล้วกลับมิได้เป็นเช่นนั้นเลย ด้วยเพราะเงื่อนไข Must Take และ Must Run จากเหตุผลดังนี้

การรับซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. จากผู้ประกอบการเอกชนนั้น จะเป็นไปตามนโยบายที่ภาครัฐกำหนด และการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าก็เป็นไปตาม พรบ. ประกอบกิจการพลังงานปี 2550 โดยยึดหลักความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ โดย กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) เป็นไปตามนโยบายที่ภาครัฐกำหนด เพื่อส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้า เพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน และช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งภาครัฐเป็นผู้คัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าฯ ที่มีราคาต่ำสุดในช่วงเวลานั้น ๆ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตามลำดับ ซึ่ง กฟผ. เป็นเพียงผู้รับซื้อไฟฟ้าตามราคาที่รัฐกำหนด และดำเนินการตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯ ซึ่งมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่านั้น

แม้ว่า ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า กฟผ. จะเป็นผู้ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าทั้งหมด แต่เงื่อนไขการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้า กฟผ. ต้องปฏิบัติตาม พรบ. ประกอบกิจการพลังงานปี 2550 เพื่อให้เกิดการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ แต่ต้องยึดหลักเกณฑ์การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตามลำดับคือ เริ่มจากการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าประเภทจำเป็นต้องเดินเครื่องเพื่อรักษาความมั่นคง (Must Run) เป็นลำดับแรก เพราะหากไม่เดินเครื่องโรงไฟฟ้าประเภทนี้แล้ว ระบบไฟฟ้าจะเกิดความมั่นคงลดลงอาจทำให้ไฟฟ้าดับได้ เช่น โรงไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีการซ่อมบำรุงสายส่งไฟฟ้า ลำดับถัดมาคือ สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าประเภทจำเป็นต้องรับซื้อขั้นต่ำตามสัญญา (Must Take) ทั้งด้านไฟฟ้าและสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ โรงไฟฟ้า SPP เพราะหากไม่เดินเครื่องโรงไฟฟ้าเหล่านี้อาจนำไปสู่การจ่ายเงินค่าซื้อไฟฟ้าหรือก๊าซธรรมชาติขั้นต่ำโดยไม่ได้รับพลังงานไฟฟ้า 

จากนั้นจึงสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดตามลำดับ (Merit Order) ได้แก่ โรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้า IPP เพื่อให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว กฟผ. จึงต้องสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าประเภท Must Run เป็นลำดับแรก โดยลำดับถัดมาคือ สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าประเภท Must Take แล้วจึงสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตาม Merit Order ท้ายสุด ด้วยเงื่อนไขนี้ทำให้ กฟผ. ไม่สามารถเลือกซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำสุดเป็นลำดับแรกได้ รวมถึงไม่สามารถเลือกสั่งเดินเครื่องจักรเฉพาะโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เองได้ด้วยเช่นกัน

การรับซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซฯ หรือถ่านหิน จำเป็นต้องมีค่าความพร้อมจ่ายหรือค่า AP (Availability Payment) เนื่องจากต้องเตรียมโรงไฟฟ้าให้พร้อมจ่ายไฟฟ้าและผลิตไฟฟ้าตามการสั่งการของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า ซึ่งการกำหนดค่า AP เป็นแนวปฏิบัติในทางสากลสำหรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว โดยสะท้อนต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เอกชนผู้ลงทุนได้จ่ายไปก่อน ในขณะที่ กฟผ. จะจ่ายเป็นรายเดือนตามความพร้อมจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่หากไม่สามารถเตรียมโรงไฟฟ้าให้มีความพร้อมจ่ายตามที่กำหนด ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนทั้ง IPP หรือ SPP ก็จะถูกปรับตามสัญญา ดังตัวอย่างที่อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจน คือ การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเปรียบเสมือนกับการทำสัญญาเช่ารถยนต์มาใช้งาน ซึ่งผู้เช่าจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ 2 ส่วน คือ (1)ค่าเช่ารถที่ต้องจ่ายทุกเดือน ไม่ว่าจะมีการใช้รถหรือไม่ก็ตาม เช่นเดียวกับค่า AP ของโรงไฟฟ้า ส่วนค่าน้ำมันจะจ่ายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะทางการใช้งาน เปรียบได้กับค่าพลังงานไฟฟ้า หรือค่า EP (Energy Payment) เป็นค่าเชื้อเพลิงที่โรงไฟฟ้าเอกชนจะได้รับก็ต่อเมื่อศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าสั่งการให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น

ส่วนการวางแผนกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศจำเป็นต้องมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และพร้อมที่จะจ่ายไฟฟ้าหากเกิดกรณีต่าง ๆ อาทิ โรงไฟฟ้าหรือระบบส่งขัดข้อง การขัดข้องด้านการส่งเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าล่วงหน้าโดยอิงกับข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การคาดการอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ แต่ในช่วงเวลาเกือบ 3 ปีของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ตามแผน PDP (2018 Rev.1) จึงทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศสูงกว่ากรณีปกติ โดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศเพื่อพิจารณาแนวทางในการบริหารกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองให้อยู่ในระดับเหมาะสม ตลอดจนเสนอแนะแนวทางบริหารจัดการให้สามารถรองรับการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระต่อประชาชนต่อไป ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ‘ค่าไฟฟ้าแพง’ จึงต้องมีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแผน PDP (2018 Rev.1) ให้มีความถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทการใช้ไฟฟ้าของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งความเป็นจริงต้องดำเนินการทุก 5 ปี แต่ผ่านมาหลายปีแล้วยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ เลย อาทิ การสั่งเดินเครื่องจักรโรงไฟฟ้าตาม Merit Order ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงพิจารณาสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าประเภท Must Run หรือ Must Take ตามความเหมาะสม ซึ่งรองพีร์ พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีดำริให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เตรียมดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแผนฯ ดังกล่าวให้มีความถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศในปัจจุบันโดยเร็ว ด้วยการสรุปบทเรียนจากผลกระทบในด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุมในทุก ๆ มิติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่ผ่านมา เพื่อให้แผน PDP ฉบับที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขใหม่สร้างประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศชาติและพี่น้องประชาชนคนไทยผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไป

'อลงกรณ์' ชี้คาร์บอนเครดิตและไบโอเครดิตคือภารกิจที่ท้าทายอนาคตของประเทศไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “คาร์บอนเครดิตและไบโอเครดิต :ภารกิจที่ท้าทายอนาคตของประเทศไทยภายใต้กรมป่าไม้และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม“เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมาซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจจึงเห็นควรนำมาถ่ายทอดผ่านสื่อเพื่อประโยชน์ในการรับรู้ของสาธารณชน

โดยอดีตรัฐมนตรีอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า

“…ปัญหาโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจกและปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัญหาความยั่งยืนของโลกแต่ขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ…“

ประเทศไทยประกาศเป้าหมายจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30-40 ภายในปี 2030 และเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)
โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมให้ข้อเสนอการมีส่วนร่วมในการลด ก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) 

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มอบแนวคิดว่า

“เราชนะธรรมชาติได้บางอย่าง แต่เราไม่สามารถกำหนดธรรมชาติได้ทุกอย่าง เป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้คือการเปลี่ยนแปลงและต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ด้วย” 

“เราต้องเปลี่ยนมุมมองของโลก หลายคนมองว่าการบริหารต้องมีมือดีทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน แต่ตนมองว่าสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนอาศัยอยู่ เพราะอย่างไรเราก็ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม”

จากวิสัยทัศน์ดังกล่าวจึงนำมาสู่ กรอบภารกิจ 6 ด้าน
1.ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
2.ด้านทรัพยากรน้ำทั้งระบบ
3.ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขยะ และมลพิษ 
4. ด้านยุทธศาสตร์ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
6.ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยเฉพาะภารกิจสำคัญและเร่งด่วนคือการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนซึ่งยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวทุกประเภท 55% ของพื้นที่ประเทศ ในจำนวนนี้เป็น
พื้นที่ป่า 40% ของพื้นที่ประเทศซึ่งเป็นแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ
แบ่งเป็น
1.พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 25% 
2.พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 15%

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ราว 102,353,484 ไร่ หรือ 31.64% ของพื้นที่ประเทศจะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าอีก 8.36 %หรือ 26.75 ล้านไร่

ป่าชุมชนเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งในการเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนโดยมีป่าชุมชนที่ได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 จำนวนรวม 11,327 โครงการ 13,028 หมู่บ้าน มีเนื้อที่รวม 6,295,718 ไร่
ซึ่งแต่เดิมมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ทรัพยากรของป่าชุมชน5 ประการคือ
1. ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน/พักผ่อนหย่อนใจ
2. เก็บหาของป่า
3. ใช้ประโยชน์จากไม้ เพื่อการยังชีพและสาธารณะประโยชน์
4. ใช้บริการทางนิเวศ เช่น น้ำ
5. ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ส่วนแนวทางการพัฒนาใหม่ในการพัฒนาป่าชุมชน (Community Forest) สู่ป่าคาร์บอน (Carbon Forest)เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวลดโลกร้อนอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนกว่า1.1หมื่นแห่งทุกภาคทั่วประเทศให้เป็น
1.แหล่งอาหารชุมชน (Community Food Bank)
2.แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity Bank)
3.แหล่งคาร์บอน(Carbon Bank)
4.แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Ecological Tourism)
5.แหล่งผลิตอาหารแบบสมาร์ทฟาร์ม(3F’s: Food Farm Forest)
โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการใหม่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคีในพื้นที่ด้วยโมเดล3หุ้นส่วน( 3‘P : Public-Private-People Partnership model)ซึ่งถอดบทเรียนจากโครงการสระบุรี แซนด์บ็อกซ์และโค้งตาบางโมเดล

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาป่าชุมชนแนวใหม่นอกจากจะช่วยตอบโจทย์การลดโลกร้อนยังได้ให้ความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพและไบโอ เครดิต

ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำนโยบายและมาตรการระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ สอดคล้องกับมาตรา 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่กำหนดให้ภาคีจัดทำนโยบายและกลยุทธ์ระดับชาติ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้ประเมินว่า GDP ของโลก กว่าครึ่งหนึ่งต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ

ขณะที่รายงานความยั่งยืน(Sustainability Trends 2024 )ระบุว่า Bio-Credits เป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ การเพิ่มจำนวนความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Net Gain) เพื่อก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืน โดยไบโอเครดิตเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สามารถตรวจสอบปริมาณ คุณภาพ ชนิดพันธุ์ ระบบนิเวศ และที่อยู่อาศัยผ่านการซื้อขายหน่วยความหลากหลายทางชีวภาพได้ ทำให้ทราบถึงการเพิ่มจำนวนของความหลากหลายทางชีวภาพในปัจจุบัน
 
ทั้งนี้ หลายหน่วยงานได้เริ่มมีความสนใจใน Bio-Credits เช่น สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) เมื่อปี 2565 ได้ริเริ่มโครงการสำรวจศักยภาพของสินเชื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Finance) เพื่อปลดล็อกการจัดหาเงินทุนใหม่สำหรับผลลัพธ์เชิงบวกที่วัดได้สำหรับธรรมชาติและผู้ดูแลธรรมชาติ และสนับสนุนการพัฒนาตลาดสินเชื่อความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ แต่ก็ยังไม่สามารถทำ Biodiversity Finance ได้เต็มที่ เนื่องจากยังขาดมาตรฐานการออกไบโอเครดิต ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับโลก

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรเพื่อไบโอเครดิต (Biodiversity Credit Alliance) ขึ้นในปี 2565 โดยมีสมาชิกเป็นองค์กรจากภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร หน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และภาคส่วนอื่นๆ และได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสวีเดน (Sida)

ในส่วนประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) อธิบายถึง Bio-Credits (Biodiversity Credits) หรือ เครดิตความหลากหลายทางชีวภาพ ว่า เป็นหนึ่งนวัตกรรมที่มีการนำกลไกตลาดมาใช้ในการระดมทุนเพื่อดูแลธรรมชาติและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่โดยมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับคาร์บอนเครดิตในตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Credits) ซึ่งเป็นการซื้อ - ขาย ระหว่างผู้ซื้อที่มีความยินดีในการจ่ายเพื่อปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ และผู้ขายที่เป็นผู้ลงทุนดำเนินโครงการที่สามารถปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพได้

ซึ่งหลังจากนวัตกรรมของตลาดไบโอเครดิตเกิดขึ้น จะส่งผลให้เกิดการปกป้องหรือฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ โดยสามารถนำผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณมาแสดงเพื่อขอใบรับรอง ว่ามีการดำเนินงานที่เกิดขึ้นได้จริง และผู้ผลิตสามารถนำไบโอเครดิตที่อยู่ในใบรับรองไปขายให้ผู้ซื้อที่ยินดีจ่ายเงินได้
 
สถานการณ์ภัยคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย แบ่งได้ดังนี้
1) พรรณไม้ จำนวนทั้งสิ้น 12,050 ชนิด มีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามจำนวน 999 ชนิด
2) สัตว์มีกระดูกสันหลัง จำนวนทั้งสิ้น 5,005 ชนิด มีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ประกอบด้วย ชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ใกล้สูญพันธุ์ และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ จำนวน 676 ชนิด
3) จุลินทรีย์ก็อยู่ในภาวะถูกคุกคามเช่นกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกคุกคามและไบโอ เครดิตจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ทรัพยากรป่าและป่าชุมชนเช่นกรณีตัวอย่าง“ทีมปรับป่าโดย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้ริเริ่ม โครงการศึกษาความหลากหลาย ขึ้นเพื่อติดตามความสมบูรณ์ของป่าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 – ปัจจุบัน โดยการเก็บข้อมูลและสำรวจพื้นที่ป่าดอยตุงอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะ อยู่ระหว่างดำเนินการโดยมีทีมทำงานเก็บข้อมูลที่เรียกว่า 'ทีมปรับป่า' ที่ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และชุมชนร่วมกันทำงานได้ช่วยต่อยอดภูมิปัญญาของคนบนดอยตุงในการอยู่ร่วมกับผืนป่าอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดลตัวอย่าง

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงของโลก แต่ก็ยังมีภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เกิดจากมนุษย์และภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่ ไบโอเครดิตจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ในการปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยให้คงอยู่เป็นมรดกของลูกหลาน

กล่าวโดยสรุป คือ ปัญหาโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจกและปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัญหาความยั่งยืนของโลกแต่ขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศโดยมีการกำหนดภาษีคาร์บอนเช่นภาษีระบบCBAMของสหภาพยุโรปที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทยและอีกไม่นานก็จะมีมาตรการทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพเช่นเดียวกับภาษีคาร์บอน 
ดังนั้นคาร์บอน เครดิตและไบโอเครดิต จึงเป็นภารกิจที่ท้าทายต่ออนาคตความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้บทบาทและความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งขอชื่นชมกรมป่าไม้ที่ได้พัฒนาบุคคลากรให้เกิดความรู้และทักษะในเรื่องคาร์บอน เครดิตและไบโอ เครดิต เป็นประโยชน์ต่อการลดคาร์บอนและเพิ่มความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพมาอย่างต่อเนื่อง

‘เอกนัฏ’ สั่ง 'ทีมสุดซอย' ฟัน!! 3 บริษัทจ้างขนกากอุตฯ หลังพบ ลักลอบทิ้งในไร่มันเมืองชลบุรี เกือบพันตัน

(6 มี.ค. 68) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ส่งทีมตรวจการสุดซอยกระทรวงอุตสาหกรรม นำโดยนางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เข้าตรวจสอบและดำเนินคดีกลุ่มบริษัทและโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator) ที่กระทำความผิดในข้อหาลักลอบทิ้งกากโดยผิดกฎหมายในพื้นที่ จ.ชลบุรี จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งจากการติดตามและขยายผลรถบรรทุกขนกากอุตสาหกรรมของบริษัท ฮิ้ว ทรานสปอร์ต จำกัด จ.ชลบุรี โดยก่อนหน้านี้ถูกจับกุมดำเนินคดีกรณีขนกากอุตสาหกรรมหลายชนิดจากหลายโรงงานนำไปทิ้งในไร่มันสำปะหลัง ต.หนองอิรุณ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา พร้อมยึดอายัดรถบรรทุกไว้ที่สถานีตำรวจภูธรบ้านบึง ก่อนขยายผลไปยังโรงงานต้นกำเนิดกากอุตสาหกรรม เพราะเชื่อว่าทำเป็นขบวนการ กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งกวาดล้างดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด

ด้านนางสาวฐิติภัสร์ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) สถานีตำรวจภูธรบ้านบึง จ.ชลบุรี อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ติดตามขยายผลจนสืบทราบถึงบริษัทและโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator) 3 แห่ง ที่เป็นผู้ว่าจ้างบริษัทขนส่งให้นำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งในไร่มันสำปะหลัง จึงได้เข้าตรวจสอบบริษัททั้ง 3 แห่ง คือ 1) บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยว่าจ้าง บริษัท ฮิ้ว ทรานสปอร์ต จำกัด ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม จำนวน 72 ครั้ง รวมประมาณ 720 ตัน นำไปทิ้งในไร่มันสำปะหลังใน ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จึงได้ดำเนินคดีในข้อหาลักลอบทิ้งกากโดยผิดกฎหมาย และทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สั่งให้ปรับปรุงและห้ามขนกากอุตสาหกรรมออกจากโรงงานจนกว่าจะได้รับอนุญาต 

2) บริษัท แฮนด์ดีแจ็ค อีควิปเมนท์ จำกัด ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยได้ว่าจ้าง บริษัท ฮิ้ว ทรานสปอร์ต จำกัด ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม จำนวน 18 ครั้ง รวมประมาณ 105 ตัน นำไปทิ้งที่ไร่มันสำปะหลังใน ต.หนองอิรุณ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จึงได้ดำเนินคดีในข้อหาลักลอบทิ้งกากโดยผิดกฎหมาย และทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม สั่งให้หยุดกิจการโรงงานชั่วคราว นอกจากนี้ยังได้ตรวจพบว่าไม่มีการทำระบบบำบัดน้ำเสีย จึงสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง 

3) บริษัท เทคโนโลยีพลังงานสิ่งแวดล้อม จำกัด ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้ว่าจ้าง บริษัท ฮิ้ว ทรานสปอร์ต จำกัด ทิ้งกากอุตสาหกรรม จำนวน 16 ครั้ง รวมประมาณ 150 ตัน ทิ้งในไร่มันสำปะหลังใน ต.หนองอิรุณ เช่นกัน จึงได้ดำเนินคดีในข้อหาลักลอบทิ้งกากโดยผิดกฎหมาย และทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา สั่งให้ปรับปรุงและห้ามขนย้ายกากอุตสาหกรรมออกจากโรงงานจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด

“การขยายผลและเข้าตรวจสอบครั้งนี้มีการว่าจ้างบริษัท ฮิ้ว ทรานสปอร์ต จำกัด ให้นำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งโดยผิดกฎหมาย จำนวนรวมกว่า 975 ตัน โดยรัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ได้กำชับและสั่งการเร่งด่วนเพื่อขยายผลบริษัทและโรงงานที่ว่าจ้างบริษัท ฮิ้ว ทรานสปอร์ต จำกัด ขนกากอุตสาหกรรมไปทิ้งในลักษณะเดียวกัน ให้ดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดต่อไป หากประชาชนพบเห็นปัญหาหรือเหตุต้องสงสัยเกี่ยวกับการประกอบการอุตสาหกรรมที่ไม่ถูกต้องหรือสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มอก. สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่าน 'แจ้งอุต' https://landing.traffy.in.th?key=wTmGfkav หรือไลน์ไอดี 'traffyfondue' เพื่อกระทรวงฯ จะเร่งส่งทีมสุดซอยลงพื้นที่จัดการกับปัญหาให้ประชาชนในทันที” นางสาวฐิติภัสร์ กล่าวทิ้งท้าย

‘ปิยสวัสดิ์’ โวลั่น การบินไทย มีกำไรจากการดำเนินงานดีที่สุดในโลกในไตรมาส 4 ปี 2024

(6 มี.ค. 68) ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า “การบินไทย มีกำไรจากการดำเนินงานดีที่สุดในโลกในไตรมาส 4 ปี 2024 ในกลุ่มสายการบินที่มีการรายงานข้อมูลผลประกอบการ”

ทั้งนี้ การบินไทย เปิดเผยผลประกอบการปี 2567 ที่ผ่านมา มีรายได้รวม (ไม่รวมรายการพิเศษ) อยู่ที่ 187,989 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.7% จากปี 2566 จากอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ที่สูงถึง 84.3% และการขยายเครือข่ายเส้นทางบิน

ขณะที่ กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักต้นทุนทางการเงิน (EBIT) อยู่ที่ 41,515 ล้านบาท เติบโตขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทำให้ EBIT Margin แตะระดับ 22.1% ซึ่งสูงกว่าประมาณการที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ

อย่างไรก็ตาม การบินไทยมีผลขาดทุนทางบัญชี 26,901 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน จำนวน 45,271 ล้านบาท ที่เสร็จสิ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 โดยรายการนี้ถือเป็นผลขาดทุนทางบัญชีเพียงครั้งเดียวและไม่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดหรือการดำเนินงานของบริษัท
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top