Wednesday, 14 May 2025
ECONBIZ NEWS

ประกาศปี 65-66 เป็น “ปีแห่งการประชุมในประเทศ"

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยทิศทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในปี 65 ว่า ในปีหน้าอุตสาหกรรมไมซ์ยังมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวได้ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มจะคลี่คลายลง โดยทีเส็บได้ประกาศให้ปี 65 – 66 เป็นปีแห่งการประชุมในประเทศไทย ผ่านการส่งเสริมการจัดประชุมสัมมนาในประเทศ และการเร่งดึงงานสำคัญระดับโลกเข้ามาจัดในประเทศไทยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดึงรายได้ของอุตสาหกรรมไมซ์กลับมาอีกครั้ง หลังจากในปี 62 ไทยเป็นเบอร์หนึ่งของอาเซียน โดยมีรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้มมากถึง 5 แสนล้านบาท แต่เมื่อเกิดโควิดขึ้นทำให้ต้องสูญเสียรายได้ส่วนนี้ไปมากถึง 70% 

ทั้งนี้การประกาศปีแห่งการประชุมในประเทศไทยนั้น จะอยู่ภายใต้กลยุทธ์การช่วงชิงโอกาสระดับสากล มุ่งเน้นการผลักดันไมซ์ไทยสู่เวทีโลก ผ่านการจัดทำแคมเปญตลาดเชิงรุกเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการต่อยอดจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานเอเปค 2022 อีกทั้งจะเร่งดึงงานสำคัญระดับโลกเข้ามาจัดในประเทศไทย ทั้งงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์โชว์ หรืองานประชุมองค์กรระหว่างประเทศ เช่น งานเวิลด์แบงก์ หรืองานแสดงสินค้าระดับท็อป 5ของโลก 

อีกทั้งยังมีกลยุทธ์การเสริมความแกร่งระดับชาติ เน้นยกระดับความพร้อมของจังหวัดที่มีศักยภาพ ก้าวสู่การรองรับกิจกรรมไมซ์ พร้อมกับการสร้างงานใหม่ และยกระดับกิจกรรมไมซ์ให้มีคุณภาพระดับนานาชาติ รวมทั้งกระตุ้นและขับเคลื่อนองค์กรภาครัฐและเอกชนจัดประชุมสัมมนาและจัดกิจกรรมไมซ์ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ผ่านแคมเปญการสื่อสารจัดงานไมซ์ทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ และสนับสนุนงบประมาณผ่านโครงการประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า ซึ่งขณะนี้มีองค์กรและหน่วยงานได้รับการสนับสนุนแล้วกว่า 645 โครงการ และแสดงความจำนงมากกว่า 1,000 งาน

ส่วนกลยุทธ์สุดท้าย คือการยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรม สานต่อการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการไมซ์ และหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐในและต่างประเทศ ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร มาตรฐานสถานที่จัดงาน และการพัฒนาหลักสูตรอบรมต่างๆ เพื่อให้ไมซ์ไทยก้าวทันความต้องการของโลกในยุคหลังโควิด รวมถึงส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและเครื่องมือแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อเนื่อง 

พาณิชย์ หาช่องส่งออกผลไม้ไทยไปต่างประเทศ 1.8 แสนล.ในปีนี้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยในงานความตกลงซื้อขายผลไม้ล่วงหน้า (MOP) ทางออนไลน์ ว่า ในปีนี้กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายว่าจะส่งออกผลไม้เพื่อทำรายได้เข้าประเทศให้ได้ไม่ต่ำกว่า 180,000 ล้านบาท ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 30% โดยผลไม้ไทยถือเป็นสินค้าเป้าหมายสำคัญในการส่งออกเพื่อทำรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งยอดส่งออกรวม 7 เดือนในปีนี้ มีการส่งออกผลไม้สดและผลไม้แปรรูปมีมูลค่าสูงถึง 131,166 ล้านบาท ขยายตัว 48.31% 

ทั้งนี้ในการส่งเสริมการส่งออกผลไม้นั้น ได้วางแผนการจัดงานสำคัญ คือ 1.กิจกรรมจัดคู่เจรจาทางการค้าออนไลน์ OBM หรือ Online Business Matching 2.กิจกรรมการส่งเสริมการขายการบริโภคผลไม้ในห้างสรรพสินค้าและตลาดสำคัญในต่างประเทศ 3.กิจกรรมการจัด Thai Fruits Golden Months หรือเดือนทองของการบริโภคผลไม้ไทยในประเทศต่างๆ 4.กิจกรรมขายผลไม้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆโดยเฉพาะแพลตฟอร์มสำคัญในระดับโลกเช่น bigbasket.com ของอินเดีย Tmall ของจีน

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาในการการจัด Thai Fruits Golden Months ในประเทศจีน ได้จัดไปแล้วใน 8 เมือง ประกอบด้วย หนานหนิง ไห่หนาน ฉงชิ่ง ชิงต่าว เซี่ยงไฮ้ เฉิงตู ต้าเหลียน และฝอซาน สามารถทำรายได้ถึง 15,466 ล้านบาท และยังมีแผนงานที่เหลืออีก 5 เมืองคือ เซี่ยเหมิน หนานชาง คุนหมิง อู่ฮั่น และหนานหนิง คาดว่าจะทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท รวมแล้วเฉพาะการจัด Thai Fruits Golden Monthsในจีน 13 เมืองทำรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท 

อีอีซี กระชับความร่วมมือระดับสูง ไทย-กวางตุ้ง ให้เกิดเป็นรูปธรรม ย้ำเดินหน้าความร่วมมือ 5 สาขาหลัก อุตสาหกรรมEV, ดิจิทัล5G, สุขภาพ, Smart City และเศรษฐกิจสีเขียว เสริมแกร่งเศรษฐกิจไทย 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายหม่า ซิงรุ่ย ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธาน การประชุมความร่วมมือระดับสูง ไทย-กวางตุ้ง (High Level Cooperation Conference: HLCC) ครั้งที่ 1 หัวข้อ Stronger Strategic Synergy between GBA and the EEC for a Better Future โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นายวีรชัย มั่นสินทร ประธานสถาบันความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย-จีน (สภาอุตสาหกรรม) นายโจว ย่าเหว่ย สมาชิกถาวรพรรคคอมมิวนิสต์จีน นครกว่างโจว (เทียบเท่ารองนายกเทศมนตรีกว่างโจว) นายเถา หย่งซิน รองนายกเทศมนตรีเซินเจิ้น และนายจู เหว่ย รองผู้อำนวยการ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปมณฑลกวางตุ้ง และสำนักงาน GBA เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบการประชุมทางไกล  

การประชุม HLCC ครั้งนี้ ถือเป็นเวทีหารือเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ Greater Bay Area (GBA) ของจีน ซึ่งประกอบด้วยมณฑลกวางตุ้ง, ฮ่องกง และมาเก๊า เพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่าง อีอีซี กับ GBA ให้มีความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย

นายคณิศ แสงสุพรรณ ได้กล่าวถึง ความก้าวหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี ให้แก่ทางมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก, ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในด้านการพัฒนา 5G ในพื้นที่อีอีซี พร้อมความก้าวหน้าการส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย 

โดยอีอีซี จะให้ความสำคัญกับ 3 คลัสเตอร์ ประกอบด้วย (1) Digital and 5G (2) Smart Logistics (3) Health and Wellbeing ซึ่งมี BCG (Bio-circular-Green) เป็นแนวทางการลงทุนและประกอบธุรกิจสำหรับทุกคลัสเตอร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเป็น Net Zero Emission ในภาคอุตสาหกรรมของพื้นที่อีอีซี 

ทั้งนี้ ยังได้หารือถึงโอกาสการเชื่อมโยงการพัฒนาเชิงพื้นที่ระหว่างอีอีซี และ GBA ผ่านเส้นทางบกและทางรางผ่านทาง สปป.ลาว และไทยมายังปลายทาง อีอีซี จากแผนการพัฒนาท่าเรือบก (Dry port) ซึ่งจะเชื่อมโยงกับท่าเรือบกประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงจีนตอนใต้ เช่น ฉงชิ่ง และคุนหมิง การเชื่อมโยงขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามันในอนาคตผ่าน Land bridge ไปยังท่าเรือน้ำลึกระนอง ซึ่งจะเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเอเชียใต้และยุโรป และโอกาสการเชื่อมโยงทางอากาศกับสนามบินอู่ตะเภา ที่สามารถรองรับทั้งการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รวมถึงเป็น Connectivity Hub เชื่อมโยงพื้นที่ GBA กับกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงได้เป็นอย่างดี โดยได้เน้นย้ำถึงศักยภาพของอีอีซี ในการเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ASEAN รวมถึงการเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับ Belt & Road Initiative

นายคณิศ ย้ำถึงความร่วมมือระหว่างอีอีซี กับ GBA ในด้านการลงทุนและอุตสาหกรรม 5 สาขาหลักที่กวางตุ้งมีศักยภาพ ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่และยานยนต์อัจฉริยะ EV (2) ดิจิทัลและ 5G (3) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (4) Smart City และ (5) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ Green and Circular Economy 

ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานการร่วมประชุมฝ่ายไทย ได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายเร่งรัดส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Connectivity) ในสาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยานยนต์พลังงานใหม่และยานยนต์อัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์ เกษตรสมัยใหม่ และพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือก การพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs และ Startups และการพัฒนา Smart City และ 5G  

อย่างไรก็ดี ที่ประชุมฯ ได้รับรองความร่วมมือ 6 สาขา ที่ทั้งสองฝ่ายจะเร่งดำเนินการ ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมสมัยใหม่ (2) เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน (3) การเกษตร (4) วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพ (5) การแลกเปลี่ยนฉันมิตรระหว่างท้องถิ่น (6) ความร่วมมือด้านอื่น ๆ อาทิ พลังงานสะอาด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงการเงินและตลาดทุน 

โดยทั้งสองฝ่ายยินดียกระดับความร่วมมือระหว่าง สกพอ. กับสำนักงาน GBA และเขตนำร่องการค้าเสรีของกวางตุ้ง และเห็นพ้องให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง และมีการร่วมมือและประสานงานกันอย่างใกล้ชิด โดยจะเจาะลึกถึงการลงทุนในกิจการและอุตสาหกรรมสำคัญ รวมถึงร่วมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

พิษโควิดทำคนรายได้หายแห่ยกเลิกจองรถยนต์เพียบ

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน ก.ค. 2564 ลดลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยมีจำนวน 52,442 คัน ลดลง 11.62% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากทางศูนย์จำหน่วยรถยนต์ แจ้งว่า เริ่มเห็นลูกค้ายกเลิกการจองรถ รวมทั้งเลื่อนการรับรถออกไปเป็นจำนวนมาก 

ทั้งนี้เป็นผลมาจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิดข19 (ศบค.) ได้ประกาศมาตรการล็อกดาวน์ช่วงกลาง ก.ค. ที่ผ่านมา รวมทั้งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดอนุมัติสินเชื่อ ถูกปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 50% จากช่วงปกติถูกปฏิเสธเพียง 5-10% เท่านั้น ขณะที่รถยนต์ราคาแพง รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าพบว่า ยังไม่กระทบมากนัก อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท. ประเมินว่า ในช่วงต่อไปนี้ หากรัฐบาลทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ก็เชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์การจำหน่ายรถยนต์ปรับตัวดีขึ้น 

สำหรับการผลิตรถยนต์ในประเทศเดือน ก.ค.มี 122,852 คัน เพิ่มขึ้น 37.52% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะฐานต่ำในปีที่แล้วและต่ำสุดรอบปีนี้ หากไม่นับรวมเดือน เม.ย. 64 ที่มีวันหยุดจำนวนมาก เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่วนใหญ่พบกับปัญหาขาดแคลนชิพเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญและชิ้นส่วนรถยนต์บางชิ้นในการผลิตจากผลกระทบโรงงานชิ้นส่วนทั้งในและเพื่อนบ้านได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงต้องชะลอการผลิตรถยนต์บางรุ่น 

โดย 7 เดือนแรกปีนี้ผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 967,453 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 39.11% ซึ่งหากการผลิตยังอยู่ระดับดังกล่าวผลกระทบต่างๆ ไม่รุนแรงขึ้นคาดว่าการผลิตรถยนต์ปี 64 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.55-1.6 ล้านคัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อส่งออก 800,000-850,000 คัน ผลิตเพื่อขายในประเทศ 750,000 คัน   

“บิ๊กตู่” เคาะวงเงินกองทุนสสว.1,224 ล้าน ช่วยเอสเอ็มอี

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจาปี 65 จำนวน 1,224.8 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อย (ไมโครเอสเอ้มอี) ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้อยู่รอด หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และช่วยบรรเทาปัญหาพร้อมทั้งฟื้นฟูธุรกิจ พร้อมกับสร้างความพร้อมให้เอสเอ็มอีเข้าสู่การแข่งขันได้ต่อไป 

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ยังสั่งการให้เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก สสว. เพื่อเชื่อมโยงการบริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ และขอให้การใช้เงินกองทุนส่งเสริมฯสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ให้เกิดความคุ้มค่า และประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยตรง และเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ยังล้าสมัยให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยให้คำนึงถึงการประกอบธุรกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 และผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนที่จะได้รับด้วย 

ส่วนในขั้นตอนการดำเนินการ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือร่วมกับสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)  และคณะทำงานด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการต่อยอดเศรษฐกิจ ยกระดับเอสเอ็มอี รวมถึงการส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงสนับสนุนพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นเอสเอ็มอีรายใหม่ ด้วยการทำงานร่วมกันกับศูนย์บ่มเพาะต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เช่น ศูนย์ดิจิทัล ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกันเป็นระบบและไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

นายธนกร กล่าวว่า นายกฯ ยังกำชับให้เร่งแก้อุปสรรคและข้อจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอี โดยจัดทำข้อมูลของเอสเอ็มอี ให้ชัดเจนเพื่อใช้พิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนแต่ละประเภท รวมทั้งใช้ข้อมูลการบริหารงบประมาณของในส่วนของการพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัดประกอบด้วย เพื่อเร่งสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชนได้มากขึ้น รวมทั้งมอบหมาย สสว. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรออนไลน์และการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค และยืนยันรัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาหนี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด 

สภาพัฒน์  เผยตัวเลขไตรมาส2/64 คนตกงานพุ่ง7.3 แสนคน ขณะที่เด็กจบใหม่ไม่มีงานทำ                                                              

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/2564 มีอัตราการว่างงาน อยู่ที่ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่างงาน 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือสิ่งที่ผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อน หรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน โดยแนวโน้มผู้ที่จบการศึกษาจากอุดมศึกษา และอาชีวะศึกษา มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากวิกฤตโควิด โดยมีผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน กว่า 20.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีอยู่ 11.7%
 
สำหรับประเด็นที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด คือเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากากรแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการที่เราใช้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปที่รายได้ของแรงงาน ฉะนั้น ช่วงถัดไปจะต้องมีการดูแลผู้ประกอบการให้สามารถรักษาการจ้างงานให้ได้ ซึ่งเป็นมาตรการที่จะออกมาในระยะถัดไป เพราะขณะนี้ข้อมูลยอดบัญชีคงค้างต่ำกว่า 5 หมื่นบาท ก็ลดลงต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ามีการนำเงินเก็บออกมาใช้ และจะต้องมีการดูแลแรงงานที่มีการปรับตัว โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาใหม่ จะต้องมีมาตรการออกมาในการจ้างงานระยะสั้น เช่น การฝึกอบรม ทำให้สามารถหารายได้ในช่วงที่รอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
 
อย่างไรก็ตามขณะที่มาตรการช่วยเหลือการจ้างงานด้วยการจ่ายเงินคนละครึ่งจะออกมาเมื่อไหร่นั้น ขณะนี้สภาพัฒน์กำลังทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมาก็มีโครงการของรัฐที่ออกไปช่วยการจ้างงานอยู่หลายโครงการ จะต้องมาพิจารณาอีกครั้งว่าหลายๆ โครงการที่มีการจ้างงานไปแล้วในสถานการณ์เหล่านี้จะต้องมีการต่ออายุโครงการเหล่านั้น เพื่อเร่งคงระดับการจ้างงานไว้ ขณะเดียวกันมาตรการอื่น ๆ ที่จะออกมาขอให้รอติดตาม ซึ่งกำลังจะเร่งเสนอมาตรการอยู่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการรักษาระดับการจ้างงานได้เช่นกัน
 
ทั้งนี้ในส่วนการจ้างงานในไตรมาส 2/64 ปรับตัวดีขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมปรับเพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากแรงงานที่กลับภูมิลำเนาแล้วเข้าสู่ภาคการเกษตร ขณะที่แรงงานนอกภาคการเกษตร ปรับเพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนสาขาการจ้างงานที่มีการปรับลดลง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ส่วนชั่วโมงการทำงานปรับดีขึ้นจากปีที่แล้ว เฉลี่ย 41.6% เพิ่มขึ้น 8.8% และจำนวนผู้ทำงานที่ทำงานล่วงเวลา มีกว่า 6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 4.5 ล้านคน โดยชั่วโมงการทำงานที่ปรับเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์เคมี ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
 
อย่างไรก็ตามมองว่ามาตรการล็อกดาวน์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบแน่นอนต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการจะเป็นผู้ว่างงานหรือไม่นั้น ขณะนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ก็พยายามที่จะคงการจ้างงานเอาไว้เหมือนกัน แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจจะมีผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาส 3 ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะในช่วงวิกฤตที่ผ่านมามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดพื้นที่ 29 จังหวัด และรัฐบาลก็ได้ออกมาตรการเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาระยะสั้นก่อนแล้ว ฉะนั้น การจ้างงานจะต้องมาพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าแนวโน้มจะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นหรือไม่
 
“เศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบาง แต่ยังมีบางสาขาที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ส่วนภาคท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ฉะนั้น ในส่วนของผู้เสมือนการว่างงานจะยังต้องมีการเฝ้าระวังจากสถานการณ์ของสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีการฟื้นตัวไม่เท่ากัน โดยสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานว่าเราคงต้องมีอะไรออกมาช่วยด้วย” นายดนุชา กล่าว

'รมว.อุตสาหกรรม' เผย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชีวภาพ เดินหน้าลงทุนเฉียด 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มประเภทโรงงาน เสริมมาตรการสร้างแรงจูงใจ หนุนไทยสู่ Bio Hub ภูมิภาคอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ครม. เมื่อ 17 ส.ค. 64 ได้รับทราบข้อมูลความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี 2561-2570 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Model (Bio, Circular, Green Economy) ซึ่งพบว่าภาคเอกชนยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการลงทุนให้เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนแม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 

โดยคาดว่าจะมีการลงทุนเบื้องต้นกว่า 149,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร สร้างงานและรายได้ให้คนในพื้นที่ และนำไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพในอาเซียน Bio Hub of ASEAN ภายในปี 2570

สำหรับโครงการที่สำคัญประกอบด้วย โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ของบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด (GKBI) ที่ล่าสุดได้ร่วมลงทุนกับบริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชียแปซิฟิก จำกัด (NatureWorks) จากสหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดโพลีแลคติก แอซิด (PLA) กำลังการผลิตถึงประมาณ 75,000 ตันต่อปี โดยโครงการฯ ระยะที่ 2 มีมูลค่าลงทุน 21,430 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลไทยแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงต้นปี 2565 และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ภายในปี 2567

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอ ฮับ เอเซีย ของบริษัท อิมเพรส กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ที่ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งมีนักลงทุนหลายรายจากต่างประเทศที่สนใจร่วมลงทุนในโครงการ เช่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน ฝรั่งเศส และมีแผนลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากกัญชาเกรดทางการแพทย์ (Medical grade)

โครงการลพบุรีไบโอคอมเพล็กซ์ ของบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลชาวไร่ จำกัด ที่จังหวัดลพบุรี มูลค่าลงทุน 32,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบโครงการและเจรจากับนักลงทุนที่สนใจ รวมถึงจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการนิคมอุตสาหกรรม Bioeconomy ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น มูลค่าลงทุน 29,705 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบทางด้านพันธุ์สัตว์ในพื้นที่รอบโครงการ และศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง เช่น น้ำตาลแคลอรีต่ำ เบกกิ้งยีสต์ (Baking yeast) จากกากน้ำตาล โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ของบริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด มูลค่าลงทุน 8,400 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA และพิจารณาแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี โดยโครงการฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นพร้อมสร้างการรับรู้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบโครงการแล้ว

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐได้มีการออกระเบียบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมความต้องการผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้น โดยการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผ่านหลักเกณฑ์แก่ผู้ผลิต (Converter) เพื่อให้ผู้ซื้อคนแรกที่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามประเภทที่กรมสรรพากรกำหนดนำไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในช่วงปี 2562-กรกฎาคม 2564 ซึ่ง สศอ.ได้ออกใบรับรองแล้วทั้งสิ้น 48 ผลิตภัณฑ์ จากผู้ผลิตรวม 4 ราย

“ขณะนี้ สศอ. และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายระยะเวลามาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) ออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการว่ามีตลาดรองรับเพียงพออย่างแน่นอน และจูงใจให้ห้างร้านต่าง ๆ เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพทดแทนปีละไม่ต่ำกว่า 10% ของปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดสิ้นเปลืองทั้งหมด” นายทองชัยกล่าว


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'วรวุฒิ' แนะ!! ธุรกิจไทยต้องปั้น 'Omni Channel' ชี้!! ควรทำให้ได้ใน 3-5 ปี ก่อนจีนมาตั้งฐาน

นายวรวุฒิ อุ่นใจ ผู้ก่อตั้งออฟฟิศเมท อดีตซีอีโอบริษัทซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเป็น รองหัวหน้าพรรคกล้า เข้าร่วมเป็นวิทยากร ในการสัมมนา Online business opportunities : สร้างโอกาสทางธุรกิจ ปั้นผู้ประกอบการสินค้าไทยให้ดีพร้อม จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายวรวุฒิ กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ไม่เคยมียุคใดสมัยใดที่บังคับให้เราต้องนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะเดียวกันการเดินทางระหว่างประเทศก็ไม่มี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องปรับตัวแบบ 360 องศา ถ้าองศาไหนที่มองแล้วว่ามันดีและไปได้ก็ต้องไป 

นายวรวุฒิ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีประสบการณ์การทำงานทั้งแบบ บีทูบี บีทูซี และบีทูจี โดยเมื่อแรกตั้งออฟฟิศเมท เราจะเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มออฟฟิศ องค์กร และหน่วยงานราชการ ส่วนบีทูซี คือกลุ่มลูกทั่วไปที่มาพัฒนาทีหลัง เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายรายก็มีกลุ่มลูกค้าในลักษณะเดียวกันนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในภาวะที่ลูกค้าหายาก จำเป็นต้องขยายตลาดไปยังจุดที่เราไม่เคยทำ ซึ่งในปัจจุบันโอกาสทางตลาดที่น่าสนใจและกำลังมาแรงคือ 'Omni Channel' เป็นช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งแบบออฟไลน์ หรือแบบค้าปลีก และออนไลน์ ซึ่งช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดเอาไว้ เพื่อทำให้การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น ลูกค้าคือใครและสนใจสินค้าประเภทไหน 

“สิ่งที่ยากกับการทำตลาด Omni Channel คือ ต้องมีระบบบริหารจัดการข้อมูล ที่เชื่อมต่อกันแบบแบบไร้รอยต่อ พูดง่าย ๆ คือ ในอนาคลูกค้าจะซื้อแบบรีเทลก็ได้ หรือจะซื้อออนไลน์ก็ได้ แต่การเปลี่ยนคืนสินค้า ต้องสามารถทำได้ในทุกระบบ เช่น ซื้ออนไลน์ มาเปลี่ยนหน้าร้านได้ หรือซื้อหน้าร้านก็สามารถเปลี่ยนช่องทางออนไลน์ได้ ข้อดีของตลาดแบบนี้คือ เปิด 24 ชม. วิธีนี้มันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเทรดดิ้ง และคนที่ทำตลาดแบบนี้ได้ดีที่สุดคือ อาลีบาบา แพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งที่สุดของจีน ถามว่าบ้านเราทำได้ไหม ก็ต้องบอกว่าทำได้ และต้องเร่งทำ แต่ความยากอยู่ที่ระบบปฏิบัติการและตัวฐานข้อมูล ต้องซิงค์และเชื่อมกันแบบไร้รอยต่อ ปัจจุบันยังไม่มีใครทำได้ดีเท่าจีน 

ดังนั้น หากเราไม่เร่งพัฒนาให้แล้วเสร็จภายใน 3 - 5 ปี หลังโควิด โอกาสที่จีนจะเข้ามาตีตลาดเป็นไปได้สูง และเมื่อถึงเวลานั้น เราจะไม่สามารถสู้เขาได้ ทั้งความพร้อมเรื่องโลจิสติกส์ ฐานข้อมูล ระบบเอไอ ที่คำนวณพฤติกรรมผู้บริโภค จีนเขานำเราไปมาก เวลานี้ผู้ประกอบการรายใหญ่และห้างดัง ๆ ส่วนใหญ่ก็ปรับตัวมาใช้ระบบนี้กันมากขึ้น แต่มันไม่ง่ายที่จะทำให้เสร็จในชั่วข้ามวัน ข้ามเดือน เนื่องจากต้องเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างสาขาและระหว่างแชลแนล ที่สำคัญลงทุนสูง แต่ที่น่าสนใจคือ เอสเอ็มอี จะทำได้ง่ายกว่า ด้วยความเล็กมีความยืดหยุ่นสูงระบบการคอนโทรลไม่ซับซ้อนมากนัก” นายวรวุฒิ กล่าว

นายวรวุฒิ กล่าวถึงสินค้าที่โมเดิร์นเทรดต้องการ ว่า ก็ต้องดูว่าสินค้าที่มีความต้องการสูงในเวลานั้นคืออะไร ซึ่งเชื่อว่าทุกห้างก็หากันอยู่แล้ว แต่ถ้าสินค้าเหมือนกันโอกาสเลือกมันก็จะน้อย ที่ผ่านมาสิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับเอสเอ็มอีคือ เรื่องของดีไซน์แพคเกจจิ้ง สินค้าหลายตัวเป็นสินค้าที่ดีมาก แต่การตลาดสู้แบรนด์ดังไม่ได้ ทั้งการออกแบบแพคเกจ รวมถึงการออกแบบโปรโมชั่น เช่น ปัจจุบัน สินค้ากลุ่ม อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ที่มีความต้องการทางการตลาดสูง และการขายของแบบ Multi pack ก็จะเป็นที่นิยมเพราะคนนิยมซื้อสินค้าไว้คราวละมาก ๆ เพื่อไม่ต้องไปซื้อบ่อยครั้ง 

เหล่านี้คือการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคแบบชาญฉลาดก็จะสามารถครองตลาดได้ และมักจะได้รับการคัดเลือกเข้าไปอยู่ในห้าง ปัญหาของเอสเอ็มอี คือต้องตีโจทย์ให้แตก ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ถ้าเป็นอาหาร สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ รสชาติที่ลูกค้าชอบไม่ใช่เราชอบ ให้เอาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก คุณภาพจะขายตัวเองในระยะยาวโดยไม่จำเป็นต้องทำโปรโมชัน

รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ว่า ต้องพยายามหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด การขาย บีทูบี บางครั้งเราไม่ต้องทำตลาดกับลูกค้าหลากหลายมากนัก แต่ต้องรู้ว่าใครมีอำนาจตัดสินใจซื้อ เข้าถูกคนหรือไม่ ขณะเดียวกัน ข้อมูลหลักฐานต้องเตรียมพร้อม เช่น สินค้าเครื่องไฟฟ้าต้องมี มอก. สิ่งที่ห้างกลัวคือ สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสินค้าปลอม ต้องเช็กให้ดี เพราะห้างจะเดือดร้อน 

นอกจากนี้ศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะบางครั้งต้องทำเป็นบิ๊กล็อต เพื่อวางจำหน่ายในสาขาของห้างทั่วประเทศ กำลังการผลิตเราพอไหม เงินทุนหมุนเวียน ที่จะนำมาใช้จ่ายมีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ยังฝากข้อคิดไว้ด้วยว่า ข้อมูลที่เราเคยทำเป็นสินค้าออนไลน์ ได้รับความนิยม เป็นอีกหนึ่งจุดขายที่สำคัญ ที่ห้างจะชอบ 

“ยุคนี้ลู่ทางที่เราจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น เราต้องพยายามไปทุกที่ เพราะโควิดจะอยู่กับเราไปอีกพักใหญ่ ถ้าเราเร่งการขายให้เกิดได้เราก็ต้องไป เรื่องออนไลน์อย่าละเลย แม้บางครั้ง เราจะยังไม่ขายก็จริง แต่การทำการสื่อสาร ช่องทางออนไลน์มีประโยชน์มาก วันนี้คนไทยใช้โซเชียลมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน ช่องนี้จึงเป็นโอกาสมาก ต้องไปคิดตีโจทย์ให้แตก โดยเฉพาะ การค้าขายแบบ บีทูบี ถ้าเราทำออนไลน์ได้แข็งแรง การจัดซื้อจะตัดสินใจง่ายมาก” นายวรวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ครม.เห็นชอบเพิ่มทุน 4.18 พันลบ. ให้ EXIM Bank มุ่งช่วยเหลือ SME ขยายตลาดในประเทศ CLMV และตลาดใหม่

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ว่า ครม.เห็นชอบกำหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM Bank ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขั้น แต่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ.2558 สามารถใช้เงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อการเพิ่มทุนได้ และอนุมัติกรอบวงเงินที่จะจัดสรรจากกองทุนฯ เพื่อการเพิ่มทุน เพื่อขยายการดำเนินงานให้แก่ ธสน. จำนวนไม่เกิน 4,189 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อมุ่งช่วยเหลือและสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ SMEs เป็นหลัก สามารถทำการค้าและการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

โดยมีเป้าหมายขยายการดำเนินงานในกลุ่มตลาด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1)ตลาดในประเทศ 2) ตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) และ3)ตลาดใหม่ (New Frontiers) เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มัลดีฟส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายสถาบันการเงินเฉพาะกิจระยะ 5 ปี (ปี 2564-2568) ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเพิ่มทุน ธสน. อย่างน้อยให้ครอบคลุมตัวชี้วัด เช่น ด้านการขยายสินเชื่อ ด้านฐานะทางการเงิน ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

ครม.ไฟเขียวคงเก็บภาษีแวตไว้ที่ 7% นาน 2 ปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยให้คงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีที่เกิดขึ้น เป้นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2566 พร้อมทั้งรับทราบมาตรการภาษีบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการไปควบคู่กัน เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชนและผู้ประกอบการและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

สำหรับมาตรการภาษีอื่น ๆ มีดังนี้ 1. ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ การนำส่ง และการชำระภาษีอากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เงินหรือสภาพคล่องอยู่ในมือประชาชนและผู้ประกอบการให้ยาวนานขึ้น โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสาธารณะ โดยการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการฯ จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้อยู่ในมือประชาชนและผู้ประกอบการในระบบเศรษฐกิจประมาณ 181,221 ล้านบาท 

2. งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับกรณีที่ประชาชนและผู้ประกอบการไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการฯ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะภายในกำหนดเวลา หรือยื่นแบบแสดงรายการฯ ผิดพลาด สำหรับแบบที่ต้องยื่นภายในเดือนก.ย. – ธ.ค. 2564 ตามลำดับ โดยหากยื่นแบบฯ ภายใน 3 เดือน นับแต่พ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ ที่ได้ขยายออกไปข้างต้นจะได้รับการงดหรือลดเบี้ยปรับ โดยงดเบี้ยปรับเมื่อชำระภาษีและเงินเพิ่มครบถ้วน และลดเบี้ยปรับในอัตราต่ำสุด 2% เมื่อชำระภาษีไม่น้อยกว่า 25% ของภาษีที่ต้องชำระ

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้ลดค่าปรับทางอาญากรณีดังกล่าวให้เหลืออัตราต่ำสุด โดยหากมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ลดเหลือ 1 บาท หากมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ลดเหลือ 2 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากค่าปรับทางอาญาเป็นการเปรียบเทียบปรับแทนการฟ้องร้องดำเนินคดี จึงไม่อาจงดค่าปรับให้ได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top