Saturday, 17 May 2025
ECONBIZ NEWS

‘RJ44’ พันธุ์ข้าวขาวพื้นนุ่มจาก ‘โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ’ ชนะเลิศประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์

‘นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ’ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รวมใจพัฒนาความรู้ จำกัด ภายใต้มูลนิธิรวมใจพัฒนา และประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย รองเท้ายี่ห้อ 'แอโร่ซอฟ' ซึ่งถือเป็นอีกผู้ใหญ่ใจดีของสังคมไทย และเป็นบุคคลที่มักเข้ามาช่วยเหลือเรื่องใหญ่ๆ ในสังคมไทยแบบไม่ออกหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ได้บริจาคเงิน จำนวน 100 ล้านบาท พร้อมด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและตา (Face Shield) จำนวน 3,000 ชิ้น และเครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์ (Airvo 2) จำนวน 10 ชิ้น ให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลศิริราช เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้ในการรักษา

ขณะเดียวกัน ยังได้ดำเนินงานด้านงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อแก้ปัญหา พร้อมยกระดับวงการข้าวไทยครบวงจร โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร โรงสีข้าว และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สู่ความยั่งยืนด้านข้าวของประเทศไทย

โดยในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ภายใต้การจัดงานประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ ครั้งที่ 1 (2564) ที่จัดโดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คลัง เปิดมาตรการรัฐ 10 วัน กระตุ้นใช้จ่าย 2.3 หมื่นล้าน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ ปี 2565 ประกอบด้วย โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 รวม 10 วัน ตั้งแต่ 1 - 10 ก.พ. 2565 มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวม 34.42 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวมทั้งหมด 23,032.55 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ คือ

1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 11.32 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 2,248.45 ล้านบาท

2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 8.7 แสนราย มียอดการใช้จ่ายรวม 171.80 ล้านบาท 

3. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 22.23 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 20,612.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 10,433.8 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 10,178.5 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 7,742.1 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 3,967.5 ล้านบาท ร้าน OTOP 978.6 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 7,535.8 ล้านบาท ร้านบริการ 357.7 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 30.6 ล้านบาท 

'รมว.เฮ้ง' ชวนแรงงานนอกระบบฝึกอาชีพเสริม พร้อมรับเครื่องมือทำกิน แก้ปัญหาความยากจน ตามนโยบายลุงตู่

กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรม เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ แก่ผู้ต้องการประกอบอาชีพอิสระและประชาชนทั่วไป จำนวน 2 พันคน แนะผู้สนใจติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดใกล้บ้าน 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพอิสระ แก่ผู้ที่มีเวลาว่าง ผู้ว่างงาน หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม ผ่านกิจกรรมเพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ ที่มีการจัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2565 มีเป้าหมายทั้งปี 100 รุ่น รวมทั้งสิ้น 2,000 คน เพื่อเพิ่มโอกาสมีอาชีพ มีรายได้ มีงานทำในช่วงสถานการณ์โควิด -19  ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรจะได้รับวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมหรือต่อยอดพัฒนารูปแบบของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่อไป

โดยอาชีพที่ได้รับความสนใจจากผู้อบรมได้แก่ การทำขนมไทย การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม การทำหมูสวรรค์ การทำจักสานตะกร้าพลาสติก การทำเบเกอรี่ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปาท่องโก๋ เค้กหน้านิ่ม และชิฟฟ่อน ซึ่งผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีผู้ฝึกอบรม จำนวน 2,408 คน สร้างรายได้ 10,113,640 บาท

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แรงงานนอกระบบ ผู้ว่างงาน  และผู้ที่ต้องการหารายได้เสริมเพื่อนำไปใช้จ่ายในครัวเรือน ได้กำชับกระทรวงแรงงานดูแลแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบเท่าเทียม ทั่วถึง ให้มีทางเลือก มีโอกาสและช่องทางทำกิน  โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานมีภารกิจในการส่งเสริมและให้บริการแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ รวมถึงการจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติอาชีพอิสระ โดยมีการจัดวิทยากรให้ความรู้ด้านการประกอบการ อาทิ การบริหารจัดการ การทำบัญชีเบื้องต้น การตลาด การคิดต้นทุนการผลิต กำไรขาดทุน เป็นต้น

ธกส.เร่งแก้หนี้เกษตรกร สั่งพนง.ลงพื้นที่พบลูกค้าจัดชั้นหนี้

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้พนักงานในพื้นที่ไปพบลูกค้าทุกราย โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 4.83 ล้านราย เพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพ ที่มาของรายได้มาประเมิน โดยวิเคราะห์ศักยภาพสมรรถนะและความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระหนี้ จากนั้นจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มตามศักยภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง กลุ่มศักยภาพปานกลาง และกลุ่มมีเหตุผิดปกติ 

ทั้งนี้เพื่อทำการบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตารางกำหนดการชำระหนี้ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามศักยภาพของลูกหนี้ การเติมสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูอาชีพ รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนลดลงหรือไม่ได้มีรายได้เพียงพอเพราะเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเป็นรายกรณีต่อไป 

ระเบิดเวลาอนาคตไทย หากยังมองเวียดนาม 'ห่างชั้น-ด้อยพัฒนา' หลังเหงียนเริ่มกลืนตลาดออนไลน์ไทย โดยคนรุ่นใหม่

จากเพจเฟซบุ๊ก 'สมเกียรติ โอสถสภา' ได้โพสต์เรื่องราวของคนที่ได้สัมผัสกับนักกลุ่มธุรกิจเวียดนามรุ่นใหม่ที่กำลังมองไกล สร้างตัว สร้างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางสร้างตัวหนึ่งที่น่ากังวลต่ออนาคตของคนในบ้านเราอย่างมาก คือ การมาตักตวงโอกาสที่คนไทยส่วนใหญ่มองข้าม แต่พวกเขามองขาด ไว้ว่า... 

ใครรู้บ้างว่าค่าโฆษณาเฟซบุ๊กเวียดนาม แพงกว่าเมืองไทย 2-3 เท่า ธุรกิจขายของออนไลน์ในไทย คือ "Blue Ocean" สำหรับชาวเวียดและสินค้าจีนที่ขายออนไลน์จำนวนมากในไทย ขายโดยคนเวียดนามที่นั่งสั่งการอยู่ที่เวียดนาม

ช่วงที่ผ่านมา ดิฉันพอได้มีโอกาสติดตามความเคลื่อนไหวของนักธุรกิจรุ่นเยาว์กลุ่มหนึ่ง ที่รวมตัวกันขึ้นมาหลวมๆ เรียกตัวเองว่า CEO Club คุยกันตามร้านกาแฟวันเสาร์-อาทิตย์ เดือนละ 1-2 ครั้ง บางทีก็จัดสัมมนาย่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเทคนิคการทำการตลาดออนไลน์ 

และ CEO Club กลุ่มนี้ก็ไปเชื่อมโยงกับเครือข่ายธุรกิจออนไลน์ขนาดใหญ่ขึ้น ที่มุ่งเน้นทำธุรกิจข้ามชาติ มากกว่าขายของในเวียดนาม โดยเริ่มต้นจากไทย ไปมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จากนั้นก็จะขยายไปตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา

เท่าที่ได้เคยพูดจา เจอกันตัวเป็นๆ บ้างในงานสัมมนาต่างๆ คนกลุ่มนี้อยู่ในวัย 20-30 กลางๆ (ร้อยละ 90 อายุน้อยกว่าดิฉันทั้งนั้น)...หน้าตาซื่อๆ แต่งตัวธรรมดา ขี่มอเตอร์ไซค์ แบกเป้ กันตามปกติ ไม่มีอะไรผิดสังเกต นอกจาก พกโทรศัพท์มือถือ อย่างน้อย 2 เครื่อง และไปเจอกันเกือบทุกงานสัมมนา ซึ่งงานสัมมนาบางรอบรับเฉพาะบริษัทที่มีงบโฆษณาเฟซบุ๊กเกินเดือนละ 500,000 บาท หรือบางสัมมนารับเฉพาะบริษัทที่มีรายได้เกินเดือนละ 10 ล้านบาทเท่านั้น ...และก็ยังมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นร้อยคน !!! 

ในงานสัมมนานอกจากการฝึกอบรมทั่วไป มักจะมี CEO หน้าละอ่อน ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จอยู่เรื่อยๆ

ที่ฟังแล้วทึ่งก็มี และที่สะอึกก็มาก โดยเฉพาะเมื่อเขาพูดกันถึงการทำธุรกิจขายออนไลน์ในไทย!!! 

ดิฉันจึงอยากสรุปความนำมาเล่าตามประสาชาวบ้าน ที่เก็บความลับไม่อยู่ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านชาวไทยบ้าง

📍แนวทางขายของออนไลน์ในไทยจากเวียดนาม... 

1. เข้าหุ้นหรือหาตัวแทนจดทะเบียนบริษัทในไทย 
2. เช่าอาคารพาณิชย์เป็นคลังสินค้าและออฟฟิศ
3. จ้างพนักงานชาวไทยระดับเงินเดือนประมาณ 15000-20000 บาท เพื่อลดอัตราการลาออก หน้าที่หลักคือ ขายของออนไลน์ ตอบลูกค้า แพ็กของ ส่งของ ให้คำปรึกษาลูกค้า ฯลฯ
4. ส่งคนเวียดนามไปอบรมพนักงานไทย ที่ไทย
5. นำสินค้าเข้าจากจีน
6. ทำการตลาด โฆษณาต่างๆ ผ่านเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ ยูทูบ ติ๊กต๊อก ฯลฯ โดยตรงจากเวียดนาม
7. สื่อการตลาดต่างๆ เอาจากเวียดนามแล้วจ้างคนแปลหรือจ้างคนไทยทำ
8. สำหรับนักลงทุนใหม่ ช่วงเริ่มต้นยังไม่ต้องเอาสินค้าเข้าไป ทำโฆษณาไปก่อน มีออเดอร์แล้วค่อยส่งของ เพราะคนไทยรอออเดอร์ได้นาน ทำให้มีเวลา test ระบบได้ก่อนลงทุนจริง

📍การลงทุนและผลตอบแทน

- สินค้า (คุณภาพดี) สามารถขายได้ราคาสูงกว่าที่เวียดนามประมาณ 2-3 เท่า
- สามารถทำจำนวนออเดอร์ 2000-3000 ออเดอร์ต่อวัน ได้ภายใน 1 ปี (100 ออเดอร์ต่อวันภายใน 1-2 เดือน)
- ค่าโฆษณาร้อยละ 35
- ค่าสินค้าร้อยละ 20
- ค่าดำเนินการร้อยละ 10
- ค่าขนส่งร้อยละ 10
- เบ็ดเสร็จหากทำเป็น กำไรตั้งแต่เดือนแรก
- งบลงทุนขั้นต่ำ 4-5 ล้านบาท

📍ทำไมถึงเป็นประเทศไทย
- คนไทยชอบสินค้าตามกระแส ไฮเทค
- คนไทยชอบซื้อของ
- ยอดซื้อของต่อออเดอร์คนไทยสูงกว่าเวียดนาม
- ต้นทุนการตลาดถูกกว่าเวียดนามมาก
- คนไทยชอบของดีมีคุณภาพ
- คนไทยไม่รังเกียจของจีนเหมือนเวียดนาม
- คนไทยใจดี ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้
- อัตราการคืนของต่ำมาก (3%) เวียดนาม 30%
- คนไทยรอของได้นาน 10-15 วันยังรอ (เวียดนามรอ 3-4 วันก็ยกเลิกออเดอร์แล้ว)
- การขนส่งมีประสิทธิภาพกว่าเวียดนาม
- กฎระเบียบในประเทศไทยไม่เข้มงวด

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี เจ้าของเพจ 'ตาสว่าง' ปมบิดเบือนการเลี้ยงไก่ หมิ่นประมาทซีพี

10 ก.พ. 65 - สำนักยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ออกเอกสารข่าวระบุว่า ตามที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดย บมจ.ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสถิต โคกศรี สมาชิกเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อบัญชีผู้ใช้ว่า “ตาสว่าง” ในข้อหา “หมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 61 จากกรณีที่นายสถิต โคกศรี หมิ่นประมาทกล่าวใส่ร้ายบริษัทฯ กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยการโฆษณาคลิปวิดีโอบันทึกภาพ บันทึกเสียง โดยบิดเบือนข้อมูลว่าซีพีได้ใช้อาหารและสารเคมีต้องห้ามตามกฎหมายในการเลี้ยงไก่อย่างไม่ถูกต้อง และเลี้ยงไก่โดยใช้ฮอร์โมนเข้าไปทำให้ไก่โตไวผิดปกติ และกล่าวหาว่าซีพีประกอบธุรกิจเกษตรพันธสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร โดยจากการสืบพยานของศาลอาญากรุงเทพใต้ พบว่าคำบิดเบือนของเพจตาสว่างไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งพบข้อเท็จจริงอีกว่า การใช้ฮอร์โมนในการเลี้ยงไก่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย และซีพีประกอบธุรกิจตามหลักกฎหมาย และตามหลักธรรมาภิบาลมาโดยตลอด รวมถึงได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรเป็นอย่างดี

ส.อ.ท. เผยความเชื่อมั่นอุตฯ เพิ่มต่อเนื่อง แต่ขอรัฐแก้ปัญหาค่าครองชีพ - ตรึงดีเซล 

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนม.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยอยู่ที่ระดับ 88.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.8 ในเดือนธ.ค. 64 โดยกลับมาอยู่ระดับใกล้เคียงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบยกเว้นต้นทุนผู้ประกอบการ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ขยายตัว 

ทั้งนี้ สะท้อนจากคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่รัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังดำเนินไปได้แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน แต่ไม่ได้ส่งผลรุนแรงในภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

'รองโฆษกรัฐบาล' เผย สิทธิ์ทัวร์เที่ยวไทย เหลือกว่า 168,000 สิทธิ์ ชวน นทท.เที่ยว-บริษัททัวร์ ร่วมโครงการ ด้าน “นายกฯ”ย้ำ เข้มงวดมาตรการคุมโรค

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาล ขยายระยะเวลาโครงการทัวร์เที่ยวไทย ไปสิ้นสุด ในเดือนพ.ค.นี้ ขณะนี้ระบบเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนซื้อรายการนำเที่ยว บริษัทนำเที่ยวรายเดิมเริ่มส่งรายการนำเที่ยว และบริษัทนำเที่ยวรายใหม่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้แล้ว จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจ และผู้ประกอบการนำเที่ยวเข้าร่วมโครงการ  

โดยประชาชนสามารถดำเนินการขอรับสิทธิตามโครงการผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังค์ และสามารถตรวจสอบแพ็คเกจท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.ทัวร์เที่ยวไทย.ไทย ที่แบ่งกลุ่มให้เลือก 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม silver เป็นแพ็คเกจทัวร์ราคาถูก กลุ่ม Gold แพ็คเกจทัวร์ราคาปานกลาง และกลุ่ม Platinum แพ็คเกจทัวร์ราคาสูง ขณะที่ผู้ประกอบการนำเที่ยวรายเดิม สามารถยื่นรายการนำเที่ยว ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและศึกษารายละเอียดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตามโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.ทัวร์เที่ยวไทย.ไทย โดยข้อมูลถึงวันที่ 9 ก.พ.นี้ เหลือสิทธิตามโครงการกว่า 168,000 สิทธิ จากที่รัฐบาลให้สิทธิ 2 แสนสิทธิ  

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับสิทธิตามโครงการนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนส่วนลดค่าแพ็คเกจท่องเที่ยวในประเทศให้ประชาชนผู้ร่วมโครงการ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เกิน 5,000 บาทต่อสิทธิ ให้ 1 สิทธิต่อคน รวมทั้งหมด 2 แสนสิทธิ โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป และไม่สามารถใช้แพ็คเกจท่องเที่ยวของโครงการทัวร์เที่ยวไทยในช่วงเวลาเดียวกับการเข้าพักโรงแรม ที่พักของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ได้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กำชับว่าเนื่องจากขณะยังคงมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงขอให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)เข้มงวดในเรื่องของการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้โครงการฯ และกำกับให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวดูแลนักท่องเที่ยวตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด โดย

กนง.คงดอกเบี้ย 0.50% ประเมินเศรษฐกิจไทยฟื้น

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง การระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนคาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขในวงจำกัด ความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจโดยรวมจึงลดลง แต่ยังต้องติดตามการระบาดในระยะต่อไป อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งขึ้นในช่วงแรกของปี 2565 จากราคาพลังงานและอาหารสดบางประเภท และมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น 

ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนรายได้และกำลังซื้อที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามราคาพลังงานโลกและสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง 

ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ โดยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับมาตรการทางการเงินการคลังที่เน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ตลาดแรงงาน รวมถึงรายได้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็ง 

เปิดความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนม.ค.2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยอยู่ที่ระดับ 88.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.8 ในเดือนธ.ค. 2564 โดยกลับมาอยู่ระดับใกล้เคียงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบยกเว้นต้นทุนผู้ประกอบการ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ขยายตัว 

ทั้งนี้ สะท้อนจากคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่รัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังดำเนินไปได้แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน แต่ไม่ได้ส่งผลรุนแรงในภาคอุตสาหกรรมเรื่องจากมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top