Sunday, 5 May 2024
COLUMNIST

‘อีสาน ๒๔๙๘’ ต้นกำเนิด ‘ฝนหลวง’ เพื่อปวงชน ความคิดสร้างสรรค์ที่คนรุ่นใหม่บางคน ไม่เคยมี

๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็น ‘วันพระบิดาแห่งฝนหลวง’ ที่มักจะมีทีมงานสัมภเวสีออกมาดิ้น ปรักปรำ และด้อยค่า ‘ฝนหลวง’ เพื่อปวงชนของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยใส่ชุดความคิดที่ว่า “ในหลวงภูมิพลลอกความคิดเรื่องฝนหลวงมาจากฝรั่ง” ให้กับกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าคนรุ่นใหม่ เพื่อด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งชุดความคิดแบบนี้เมื่อใส่เข้าไปแล้วก็ไม่มีการพิสูจน์หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้แต่พร่ำบอกต่อกันไปราวกับนกแก้ว นกขุนทอง 

สรุปแล้วก็งงเหมือนกันว่า คนรุ่นใหม่บางคนทำไมถึงคิดกันได้เพียงเท่านี้? 

ถ้าจะเล่าเรื่องการเกิด ‘ฝนหลวง’ ก็อยากจะย้อนเชื่อมโยงไปกับการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรอีสานระหว่างวันที่ ๒-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่เส้นทางเสด็จฯ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ นั้น จะต้องผ่านพื้นที่ทุรกันดารมากมาย ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะถึงจุดหมาย

ระหว่างเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินฯ ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งยี่ห้อเดลาเฮย์ ซีดานสีเขียว จากจังหวัดนครพนมไปจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านจังหวัดสกลนครและเทือกเขาภูพาน พระองค์ได้พบความขัดแย้งกันของความแห้งแล้งในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญที่พระองค์ต้องทรงแก้ไข 

เรื่องมีอยู่ว่าพระองค์ได้ทรงสอบถามราษฎรเกี่ยวกับความเสียหายทางการเกษตรที่คาดว่าน่าจะเกิดจากความแล้ง แต่กลับกันทรงพบว่า มันเกิดขึ้นจากน้ำท่วม ทั้ง ๆ ที่พื้นที่โดยรอบมีแต่ดินแดงและฝุ่นฟุ้งกระจายไปทั่ว ส่วนพอถึงหน้าแล้งก็ไม่มีฝน ไม่มีน้ำที่สามารถจะใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรได้ ทั้งที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆเป็นกลุ่มก้อน สรุปคืออีสานมีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง ไม่มีสิ่งที่จะแก้ไขได้...แต่พระองค์ไม่ทรงคิดอย่างนั้น

ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็น ‘นวัตกร’ การแก้ปัญหาความขัดแย้งจนเป็นปัญหาปากท้องของราษฎรจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ปัญหาแรกคือน้ำท่วม เพราะการท่วมเกิดขึ้นจากไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ หรือพื้นที่ชะลอน้ำ เรื่องนี้ถูกแก้ด้วย ‘ฝายน้ำล้น’ และ ‘เขื่อน’ ขนาดเล็ก ๆ เพื่อชะลอและรองรับน้ำ ไม่ให้เกิดการชะล้างหน้าดินและสร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร

ส่วนอีกเรื่องคือ ‘ฝน’ เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงขบคิดและนำมาต่อยอดเมื่อกลับจากการเสด็จฯ ภาคอีสานแทบจะในทันที 

“...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้...”

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกรประดิษฐ์ควายเหล็ก ที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานแนวความคิดนั้น พร้อมๆ กับที่พระองค์ได้ทรงเริ่มต้นลงมือทำการค้นคว้าทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น และปฏิบัติการทดลองจริงในท้องฟ้า มิได้ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ คือทรงหาทั้งคนช่วยคิด ช่วยทำและทรงค้นคว้าพร้อมทรงปฏิบัติเองด้วยเพื่อความรวดเร็ว  

สำหรับการสร้าง ‘ฝนเทียม’ ที่คนรุ่นใหม่ถูกหลอกว่าฝรั่งเขาคิดได้ ในหลวง ร.๙ ไปลอกเขามา เรื่องนี้คนเชื่อต้องมีอคติบังตาขนาดไหน? และต้องไม่ศึกษาหาความรู้เบอร์ไหน? ถึงหลงเชื่อได้ขนาดนั้น 

‘พระองค์ไม่ได้ทรงคิดทดลองสร้างฝนเทียมเป็นคนแรก’ อันนั้นถูกต้อง!! เพราะผู้คิดทดลอง คือ นาย วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และ เออร์วิง ลองมัวร์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยใช้ส่วนประกอบหลักในการสร้างฝนเทียมคือสาร Silver Iodide ที่มีคุณสมบัติทำให้เมฆมีความเย็นเหนือจุดเยือกแข็ง ด้วยการโปรยสารนี้ลงมาจากเครื่องบินหรือปล่อยให้ลมหอบขึ้นไป จะทำให้ไอน้ำเกิดการควบแน่น และหนักมากพอจนตกลงมาเป็นฝน 

ดังนั้นหลักสำคัญของวิธีการนี้คือ ‘ปล่อยให้ลมหอบอนุภาคขึ้นไป’ หรือ ‘ปล่อยอนุภาคลงมา’ นั่นเอง ซึ่งว่ากันตามจริง มันคือ ‘เม็ดฝนตามยถากรรม’ ตามสารเคมีที่ใครก็ทดลองได้ ไม่ได้เป็นสิทธิบัตรทางความคิดอะไร ทั้งยังไม่เหมือนวิธีการทำ ‘ฝนหลวง’ แล้วจะเรียกว่าลอกได้อย่างไร?    

แน่นอนว่า ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักคิดค้นอย่างพระองค์ ทรงต้องทรงอ่านการผลการทดลองนี้เป็นแน่แท้ ตามที่พระองค์ได้พระราชทานแนวความคิดต่อ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่า “...เคยอ่านหนังสือ...ทำได้” 

กระนั้น พระองค์จึงทรงคิดค้นและต่อยอดเพื่อให้ ‘ฝน’ ของพระองค์ ‘ควบคุมได้’ ไม่ได้สักแต่เอาสารเคมีไปโปรยเพื่อให้เกิดฝนตามยถากรรม 

ก่อกวน - เลี้ยงให้อ้วน - โจมตี ๓ ขั้นตอนที่พระองค์ทรงทดลอง สู่เทคนิคที่เรียกว่า ‘Super Sandwich’ ลงรายละเอียด จนเกิดเป็น ‘ฝนเทียม’ ที่มีประสิทธิภาพ มากกว่าการโปรยแค่สารเคมีอย่างเดียวอย่างที่ฝรั่งเขาทำกัน ซึ่งกระบวนการสร้าง ‘ฝน’ ของพระองค์ได้รับสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕ เนื่องจากเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนที่สูงขึ้น เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม 

ทั้งนี้ ‘ฝนหลวง’ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้รับการยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์, องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และอุตุนิยมวิทยาระดับโลก จนในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ‘ฝนหลวง’ ก็ได้รับสิทธิบัตรโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนในต่างประเทศ สำนักสิทธิบัตรยุโรป (EPO) ก็ขึ้นทะเบียน ‘ฝนหลวง’ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาตามหมายเลข ‘EP1491088’ อีกทั้งยังมีสิทธิบัตรอยู่ในประเทศอื่น ๆ อีกด้วย

ถ้าแค่การโปรยสารเคมีบางอย่างลงบนเมฆแล้วเกิด ‘ฝนเทียม’ แต่ควบคุมไม่ได้ มีเม็ดฝนแล้วแต่บุญแต่กรรม ‘ฝนหลวง’ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก็คงไม่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ 

แน่นอนว่า คนรุ่นใหม่ที่อยากด้อยค่าสถาบันฯ ก็คงคิดแต่มุมที่พระองค์ทรงลอกฝรั่งมา ก็วนอยู่แค่นั้น และไม่ได้สำเหนียกรู้เลยว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องผ่านการค้นคว้า ทดลอง จนเกิดเป็นงาน ‘Original’ มันเป็นแบบไหน?

‘ฝนหลวง’ ไม่เพียงแค่ช่วยราษฎรชาวอีสาน แต่ยังช่วยราษฎรในภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย การคิดค้น ต่อยอดด้วยความสร้างสรรค์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่านทรงทำให้ดูแล้ว เกิดผลจริงแล้ว พิสูจน์ได้ ไม่ใช่ ‘ฝนเทียม’ จากสาร Silver Iodide ที่กระจัดกระจายและไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สร้างสรรค์และพิสูจน์อะไรไม่ได้สักอย่างเดียว

สุภาษิตว่าไว้ ‘รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี’ แต่หาก ‘ตี’ เกินกว่าเหตุ เสี่ยงนอนคุกยาวๆ

ความรัก ความใส่ใจ และความห่วงใย ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาบันครอบครัว แต่หากให้ความรัก ความใส่ใจ และความห่วงใย ‘มากจนเกินไป’ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา ‘ความรุนแรง’ ในครอบครัวได้

การอบรมสั่งสอนลูก หรือบุคคลในครอบครัว หากเกินขอบเขต ถึงขนาดการทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ จนเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ผู้กระทำอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย (หลายคนคิดว่าทำได้ ไร้ความผิด)

คราวนี้จะต้องมาทำความเข้าใจในคำว่าความรุนแรงในครอบครัวเสียก่อน 

ความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง ความรุนแรงที่พ่อ แม่ กระทำต่อลูก หรือสามีกระทำต่อภรรยา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นทั้งที่มีผลกระทบต่อร่างกาย หรือจิตใจ

บุคคลในครอบครัว หมายถึง สามี ภรรยา บุตร อดีตสามี/ภรรยา หรือญาติที่พักอาศัยอยู่ภายในครอบครัวเดียวกัน

หากฝ่าฝืน ผู้ที่กระทำความรุนแรงอาจมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 

ในระหว่างพิจารณาคดี ศาลอาจจะมีคำสั่งใด ๆ เพื่อกำหนดมาตรการและเหตุบรรเทาทุกข์ ให้ผู้กระทำหยุดการกระทำรุนแรงดังกล่าวต่อไปอีก หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้กระทำความรุนแรง อาจถูกให้ใช้วิธีฟื้นฟู บำรุงรักษา หรือคุมความประพฤติ ห้ามใช้ความรุนแรงในครอบครัวซ้ำอีก

หากภายหลังผู้กระทำความรุนแรง และบุคคลในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ อาจตกลงยอมความกัน ซึ่งหากสามารถทำข้อตกลงและอยู่ร่วมกันต่อไปได้ อาจมีการถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องได้ และถือเป็นความผิดอันยอมความได้

เนื่องจากความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน กฎหมายจึงกำหนด วิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง มีขั้นตอนแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไข ความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

‘Kimani Maruge’ นักเรียนชั้นประถมที่อายุมากที่สุดในโลก ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ทั้งโลกเห็นว่า ‘ไม่มีใครแก่เกินเรียน’


‘Kimani Maruge’ นักเรียนชั้นประถมที่อายุมากที่สุดในโลก

‘Kimani Ng'ang'a Maruge’ (ประมาณ ค.ศ. 1920 – 14 สิงหาคม 2009) เป็นชาวเคนยา เกิดในปี 1920 เขาเป็นนักรบในช่วงการจลาจลของชนเผ่า ‘Mau Mau’ เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักรในช่วงทศวรรษ 1950 เขาถือครองสถิติโลก The Guinness World Record ด้วยการเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดที่เข้าโรงเรียนประถม (ในระบบ) โดยเขาลงทะเบียนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2004 ด้วยวัย 84 ปี

แม้ว่าเขาจะไม่มีเอกสารพิสูจน์อายุของเขา แต่ Maruge เชื่อว่าเขาเกิดในปี 1920 อย่างไรก็ตาม รูปร่างหน้าตาของเขาดูอายุน้อยกว่า 84 ปีเล็กน้อย


ด้วยในปี 2003 รัฐบาลเคนยาออกประกาศเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นสากลและไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนชาวเคนยาอย่างกว้างขวาง กระตุ้นให้ประชาชนจำนวนมาก ยึดมั่นในเส้นทางการศึกษาในระบบอย่างเป็นทางการ Kimani Maruge ก็เช่นกัน ดังนั้น เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนประถม Kapkenduiywo ในเมือง Eldoret ประเทศเคนยา

นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลกระตุ้นให้เขาทำเช่นนั้น เขากล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นสากลและไม่มีค่าใช้จ่าย และอีกเหตุผลของ Maruge ในการเข้าโรงเรียน คือ เขาต้องการอ่านพระคัมภีร์ให้ได้และนับเลขให้เป็น

Maruge เป็นพ่อม่ายและเป็นปู่ทวด (หลาน 2 คนจากทั้งหมด 30 คนของเขา เรียนโรงเรียนเดียวกันและช่วยติวหนังสือให้เขาในการสอบไล่)


เส้นทางการศึกษาของเขาไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ต่อต้านการเข้าเรียนของเขาอย่างดุเดือด การตัดสินใจของ Maruge ได้รับการโต้แย้งเป็นอย่างมากจากผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ

แม้ว่าจะไม่มีการบันทึกวันเกิดอย่างเป็นทางการ แต่เชื่อกันว่าในขณะที่ลงทะเบียน เขามีอายุ 84 ปี ซึ่งทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดในโลกที่เข้าเรียนในโรงเรียน ในปี 2005 Maruge นักเรียนอายุมากที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากนักเรียนทั้งโรงเรียน เขาได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้านักเรียนของโรงเรียน

ในเดือนกันยายนของปีเดียวกันนั้นเอง เขาได้ขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรกในชีวิต และได้มีโอกาสขึ้นปราศรัยในการประชุมสุดยอดโลกประจำปี 2005 ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่นคร New York สหรัฐอเมริกา โดยได้ร่วมมือกับ ActionAid ในหัวข้อเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสำหรับทุกคน


หลังจากความรุนแรงภายหลังการเลือกตั้งของเคนยา ในปี 2007-2008 ทรัพย์สินของ Kimani Maruge ถูกรื้อค้นและถูกขโมยโดยผู้ปล้นสะดม เขาจึงคิดที่จะลาออกจากโรงเรียน แต่ที่สุดเขาก็ตัดสินใจที่จะอยู่เรียนต่อ เขาต้องอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนของเขาถึง 4 กิโลเมตร แต่เขาก็ยังคงไปเรียนทุกวัน

ในเดือนมิถุนายน 2007 Maruge ยอมแพ้ต่อแรงกดดันและยอมลาออกจากโรงเรียน และในที่สุดเดือนมิถุนายน 2008 เขาย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา อย่างไรก็ตาม Kimani ผู้ไม่ลดละได้เข้าเรียนในประถมปีที่ 6 อีกครั้งที่โรงเรียนประถม Marura ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ Kariobangi ของกรุงไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนยา


ปี 2015 Google ได้สร้าง Doodle เพื่อเป็นเกียรติแก่ ‘Kimani Maruge’
ชาวเคนยาที่เชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุด ที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2009 Maruge ได้เข้ารับพิธีล้างบาปที่โบสถ์คาทอลิก Holy Trinity ในเมือง Kariobangi และรับชื่อคริสเตียนว่า ‘Stephen’ ตามชื่อของ ‘นักบุญ Stephen’ เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2009 ด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ที่โรงพยาบาลแห่งชาติ Kenyatta ในกรุงไนโรบี ร่างของเขาถูกฝังที่ฟาร์มของเขาใน Subukia ปี 2015

เป็นเวลา 11 ปีหลังจากที่ Kimani Maruge ได้เข้าเรียน Google ได้สร้าง Doodle เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ซึ่งเชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา โดย Google กล่าวว่า “Doodle นี้เป็นการเตือนใจทุกคนว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ”


‘The First Grader (2011)’ เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจของ Kimani Maruge ซึ่งได้กระตุ้นความคิดของผู้คนจำนวนมาก ที่ตัดสินเข้าเรียนในโรงเรียนประถมอีกครั้ง


สำหรับบ้านเราแล้ว การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาผู้ใหญ่ และการศึกษาตามอัธยาศัยนั้นกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว ด้วยระบบการศึกษาของไทยที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนานมาหลายสิบปีแล้ว ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (จากเดิม : กองการศึกษาผู้ใหญ่ ต่อมาเป็น; กรมการศึกษานอกโรงเรียน และเป็น; สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.)) ในปัจจุบัน

‘ในหลวง ร.๙’ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนภาคอีสาน จุดเริ่มต้น ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ ร่วงหล่นจากตำแหน่ง

พอถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ภาพประวัติศาสตร์หนึ่งที่จะวนมาให้เราได้ระลึกถึงกัน ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรภาคอีสานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) ระหว่างวันที่ ๒ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคกลางมาแล้วในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ซึ่งในครั้งนั้นถือว่าเป็นการเสด็จฯ ครั้งประวัติศาสตร์ เพราะไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จฯ ทั่วทั้งภาคอีสานมาก่อน จะมีก็เพียง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่เคยเสด็จฯ ประพาสต้น จังหวัดนครราชสีมาโดยทางรถไฟเป็นการส่วนพระองค์ 

การเสด็จพระราชดำเนินประพาสอีสานและประเทศไทยในครั้งนั้นเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น 

ทำไม ? จอมพล ป. จึงสนับสนุนการเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎร ต่างจังหวัด ของรัชกาลที่ ๙ 

สืบเนื่องจากรัฐบาลพม่าโดยนายกรัฐมนตรีอูนุ ได้กราบบังคมทูลเชิญในหลวงรัชกาลที่ ๙ เยือนสหภาพพม่าเพื่อทรงเปิดการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ‘ฉัฏฐสังคายนา’ แต่ด้วยการกราบบังคมทูลเชิญในครั้งนั้นถือว่าไม่เป็นทางการเนื่องจากไม่ได้เป็นการเชิญโดยประมุขประเทศคือประธานาธิบดีบาอู พระองค์จึงทรงปฏิเสธ 

แต่จอมพล ป.เองก็ต้องการใช้การเสด็จฯ เยือนพม่าในคราวนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายการต่างประเทศ และการเมืองภายในประเทศของตน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงตระหนักดีว่า พระองค์สามารถใช้เรื่องนี้ต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาลได้ โดยพระองค์มีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัดเป็นการแลกเปลี่ยนกับการเสด็จฯ เยือนพม่าตามความต้องการของรัฐบาล

การต่อรองนี้เกิดขึ้นบนพื้นฐานที่ จอมพล ป. ต้องการฟื้นฟูบทบาทและกระชับความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากมองว่าตนเองกำลังสู่ขาลง และการใช้ประโยชน์จากสถาบันฯ จะเป็นโอกาสที่ตนจะมีฐานทางการเมืองที่มั่นคงมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นนอกเหนือจากการเสด็จพระราชดำเนินในที่ต่างๆ แล้ว จอมพล ป.ยัง สนับสนุนให้ฟื้นฟูกรมกองและพระราชพิธีต่างๆ ที่ถูกยุบไปโดยคณะราษฎรขึ้นมาอีกครั้ง แม้บางอย่างจะเป็นไปในแบบย่นย่อก็ตาม

กลับมาเรื่องของการเสด็จพระราชดำเนินประพาสอีสานกันต่อ จากการต่อรองที่เกิดขึ้น ทำให้ จอมพล ป. กุลีกุจอในการวางแผนการเสด็จฯ ของในหลวง ร.๙ ไว้ ๓ ภาค คือ ภาคอีสาน, ภาคกลาง และภาคเหนือตลอดช่วงฤดูแล้งของปี ๒๔๙๘ โดยก่อนที่พระองค์จะเสด็จฯ เยือนภาคอีสาน พระองค์ทรงขอให้รัฐบาลจัดแผนการเสด็จฯ ไปยังบางจังหวัดในภาคกลาง ซึ่งจอมพล ป. ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับสนองพระบรมราชโองการทันทีพร้อมอนุมัติเงินจำนวน 260,000 บาท เพื่อใช้ในการซ่อมแซมที่ประทับ ค่าใช้จ่ายในการเสด็จฯ และค่าพระกระยาหาร … เรียกว่าใจป้ำสุดๆ 

ข่าวการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคอีสานได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว การร่ำลือปากต่อปากก็ทำให้แพร่ไปอย่างทั่วถึง ประชาชนแม้ในถิ่นทุรกันดารต่างหอบเสื่อหอบหมอน ข้าวปลาอาหาร จูงลูกจูงหลาน ชักชวนกันมาเฝ้า ทั้งในตัวเมืองที่กำหนดเป็นสถานที่รับเสด็จฯ หรือตามเส้นทางเสด็จผ่านทางถนนและทางรถไฟ อย่างที่สถานีรถไฟนครราชสีมา มีราษฎรมาเฝ้ารับเสด็จเป็นแสนคน โดยเดินทางมาจากอำเภอต่างๆ ทำให้โรงแรมในเมืองทุกแห่งเต็มหมดจนต้องพักกันตามศาลาวัด

“บารมีของในหลวงองค์นี้ล้นเหลือนัก” 
“เหมือนฟ้ามาโปรด” 
“แต่นี้ไปความแห้งแล้งจะหมดไปจากอีสานละ”  
“ฮ้อนปานใดก็ฮีดได้ ขอเห็นเจ้าอยู่หัวคักๆ เถอะ” 

คำเหล่านี้คือ คำพูดจากประชาชนเมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จฯ โดยมีภาพจำตลอดสองข้างทางที่เสด็จฯ นั้น คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่อยากจะชื่นชมพระบารมี แม้มืดค่ำก็ไม่ได้มีความย่อท้อ ทั้งยังตั้งโต๊ะบูชาเรียงรายไว้เป็นแถว จุดธูปเทียน ทำให้แสงเทียนแวววาวอยู่ในความมืดทั้งสองฟากถนน เป็นภาพที่งดงาม ประชาชนต่างนั่งพนมมือขณะที่รถพระที่นั่งผ่าน

ในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ประวัติศาสตร์ชาติไทยต้องจารึกว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จฯ ไปสักการะพระธาตุพนม และภาพประวัติศาสตร์นึงที่เกิดขึ้น ณ จังหวัดนครพนมนี้ก็คือภาพที่ ในหลวง ร.๙ ทรงหยุดพระราชดำเนินที่แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ วัย ๑๐๒ ปี และโน้มพระองค์ลงจนพระพักตร์แทบแนบชิดศีรษะแม่เฒ่า แย้มพระสรวลด้วยความเมตตา พระหัตถ์แตะมือกร้านของแม่เฒ่าด้วยความอ่อนโยนถือได้ว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงถึงความอ่อนโยนของพระองค์ ที่ทรงน้อมพระองค์ลงสู่ราษฎร อันเป็นข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์

การเสด็จฯ เยือนต่างจังหวัดได้เปิดโอกาสให้ประชาชนร้องทุกข์ต่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยตรงแทนที่จะยื่นเรื่องผ่านส่วนราชการ ทำให้ข้าราชการได้ตื่นตัวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ มากขึ้น เรียกได้ว่าไม่เคยเกิดขึ้นผ่านระบบการปกครองของพรรคการเมืองหรือคณะราษฎรที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ ๒๔๗๕ เป็นต้นมา และในการเสด็จฯ เยือนภาคอีสานในครั้งนี้ รัชกาลที่ ๙ ยังได้ทรงพบกับ กระต่าย โดนสโสฤทธิ์ และ ผุย ชนะนิกร นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรลาว ซึ่งเดินทางข้ามชายแดนมาเข้าเฝ้าฯ พระองค์ที่หนองคายด้วย โดยนายกฯ ลาว ถึงกับประหลาดใจที่คนไทยให้การต้อนรับในหลวงอย่างที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตนี้ 

แต่คนที่น่าจะประหลาดใจที่สุดน่าจะเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยือนราษฎรภาคอีสานในครั้งนี้ สำหรับในหลวงรัชกาลที่ ๙ ถือว่าเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของประชาชนให้แก่พระองค์ และสำหรับจอมพล ป. แล้ว การสนับสนุนการเสด็จฯ ในครั้งนี้อาจเป็นนโยบายทางการเมืองที่ผิดพลาด เพราะนอกจากจะไม่สามารถสร้างความนิยมชมชอบตัวเขาในหมู่ประชาชนได้แล้ว กลับกลายเป็นว่าความชอบธรรมทางการเมืองและสังคมของจอมพล ป. กำลังถูกท้าทายจากบทบาทใหม่ของรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชน ซึ่งกลายเป็นชนวนที่ต่อมาจอมพล ป. ลดงบประมาณการเสด็จพระราชดำเนินภาคเหนือของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ลง 

พร้อมด้วยทัศนคติของจอมพล ป. ที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ นั้น ‘ย่ำแย่ลง’ ตามอุปนิสัยของท่านจอมพล ที่เรียกได้ว่า ‘ขี้อิจฉา’ โดยเฉพาะจุดแตกหักเกิดขึ้นหลังจากงาน ‘งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ’ หนังสือพิมพ์ที่ควบคุมโดย จอมพล ป. และ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์  ที่ชื่อว่า ‘ไทเสรี’ ได้ลงข่าวโจมตีพระราชวงศ์อย่างหยาบคาย (เป็นการพาดหัวข่าวในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)

กระแสของสังคมได้โต้กลับหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นอย่างรุนแรง รวมทั้งการอภิปรายโจมตีรัฐบาลอย่างหนักหน่วง ทำให้ความนิยมในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เป็นมาอย่างยาวนาน เสื่อมลงไปอีก ทั้งยังสร้างความโกรธแค้นชิงชัง จอมพล ป. ให้เกิดขึ้นกับประชาชน จนเกิดเป็นการทำรัฐประหารยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่มีนักวิชาการตกขอบชอบยกเหตุการณ์นี้ว่าเกิดขึ้นจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทั้งๆ ที่องค์พระมหากษัตริย์ในสมัยจอมพล ป. แทบจะไม่มีพระราชอำนาจใดๆ เลย และบริบททางสังคมและการเมืองในสมัยนั้นต้องการมิ่งขวัญของปวงชนมากกว่าผู้นำเผด็จการที่ชอบแอบอ้างตนและหวังการใช้ประโยชน์จากองค์พระมหากษัตริย์

‘ผู้ค้ำประกันรถยนต์’ ต้องรู้!! กรณี ‘ผู้เช่าซื้อ’ ไม่ส่งค่างวด หากถูกฟ้อง ต้อง ‘ตั้งสติ-ไปศาลตามนัด’ รักษาสิทธิตนเอง

การเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และเกื้อกูลกัน เป็นจุดเด่นที่ดีอย่างหนึ่งของสังคมไทย และคนไทยมักจะถูกสอนให้รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องต่าง ๆ โดยบางครั้งก็ไม่ได้คิดให้รอบคอบว่า ตนเองจะได้รับผลร้ายจากความมีน้ำใจนั้น

การขอให้ช่วย ‘ค้ำประกันหนี้’ ให้ เป็นสถานการณ์ซึ่งหลายท่านเคยประสบมากับตนเอง หลีกเลี่ยงได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วแต่ทักษะการเอาตัวรอดของแต่ละบุคคล

กรณีที่จะหยิบยกมาบอกเล่าในบทความนี้ คือ ‘ผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อรถยนต์’ ซึ่งมักพบว่าตนเองถูกทวงหนี้จากไฟแนนซ์หรือสถาบันการเงินที่ให้เช่าซื้อรถยนต์ ทั้งทางโทรศัพท์ หรือถูกทวงถามเป็นหนังสือไปถึงที่พักอาศัย ทำให้เกิดความเดือดร้อน อับอาย ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของตนเอง

เมื่อผู้เช่าซื้อรถยนต์ ผิดนัดไม่จ่ายค่างวด เจ้าหนี้จะเริ่มทวงถามไปที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ซึ่งในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้วผู้เช่าซื้อมักจะหลบหน้า ปิดโทรศัพท์หนีหาย ปล่อยให้ผู้ค้ำประกันรับเคราะห์ตามลำพัง

ต่อมาหากถูกฟ้องเป็นคดี ให้ผู้ค้ำประกัน ‘ตั้งสติ’ ให้ดี และอ่านคำฟ้องให้ละเอียด

ให้ดูว่าถูกฟ้องที่ศาลไหน ต้องไปขึ้นศาลวัน เวลาใด ลายเซ็นในสัญญาค้ำประกันใช่ของเราหรือไม่ 

ทำสัญญากันตั้งแต่ปี พ.ศ.ไหน นับถึงวันฟ้องเกินอายุความ 10 ปี หรือไม่

เนื้อหาคำฟ้องดังกล่าว เป็นการฟ้องเรียกรถคืน หรือการฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์กรณีเจ้าหนี้ได้รถคืนไปแล้ว แต่เป็นการนำรถไปประมูลขายแล้วได้รับความเสียหาย หรือที่เรียกว่า ‘ขายขาดทุน’

มีการทวงถามมายังผู้ค้ำประกันเมื่อใด ภายในกำหนด 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้เบี้ยวค่างวดหรือไม่ ซึ่งถ้าเจ้าหนี้ทวงถามเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้ค้ำจะหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดค่าดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าขาดประโยชน์ 

แต่ถ้าท่านอ่านฟ้องแล้วไม่เข้าใจ อาจจะไปขอคำปรึกษาจากผู้รู้หรือทนายความ

สิ่งสำคัญคือ เมื่อพบว่าตนเอง ถูกฟ้องเป็นคดี อย่าเพิกเฉย ควรไปศาลตามวันนัดเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง

ในกระบวนการพิจารณาคดีของศาล มีขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ให้ความเป็นธรรม แก่ลูกหนี้ ทุกขั้นตอน 

ขอเพียงท่านแสดงตัว และไปศาลตามกำหนดนัด เพื่อปกป้องและรักษาสิทธิของตนเอง

อย่าหนี้ อย่าเงียบเด็ดขาด!!

เหตุการณ์สังหารหมู่ที่ ‘Mỹ Lai’ โศกนาฏกรรมแห่งสงครามเวียดนาม จากน้ำมือของ ‘ทหารอเมริกัน’ และการปกปิดความผิดโดยกองทัพสหรัฐฯ

‘Mỹ Lai’ เหตุการณ์สังหารหมู่โดยทหารของกองทัพบกสหรัฐฯ

มีภาพยนตร์ Hollywood มากมายที่คอยตอกย้ำให้คนชาติต่าง ๆ ซึ่งเป็นอดีตศัตรู ต้องตกเป็นผู้ร้ายมาโดยตลอด ไม่ว่าภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามต่าง ๆ การก่อการร้าย ฯลฯ โดยผู้ร้ายก็มักจะเป็นต่างชาติ เช่น เยอรมนี, ญี่ปุ่น, โซเวียต, อาหรับ, ตาลีบัน ฯลฯ แม้กระทั่งสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ในขณะนี้ สื่อตะวันตกต่างก็เสนอข่าวเพียงด้านเดียว กล่าวหาให้ร้ายปาเลสไตน์เป็นผู้ร้ายแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้ง ๆ ที่ชาวปาเลสไตน์เป็นผู้ถูกกระทำโดยกองทัพอิสราเอลแท้ ๆ

เรื่องของการสังหารหมู่ที่ ‘Mỹ Lai’ เป็นการสังหารหมู่ชาวบ้านเวียดนามใต้ที่ไม่มีอาวุธมากถึง 504 คน โดยทหารสังกัดกองทัพบกสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 1968 ในระหว่างสงครามเวียดนาม Mỹ Lai เป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบล Son My ตั้งอยู่ในจังหวัด Quang Ngai ห่างจากตัวจังหวัด Quang Ngai ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 11 กม. พื้นที่นี้ได้รับการขนานนามโดยทหารสหรัฐฯ ว่า ‘Pinkville’ เนื่องจากมีสีแดงที่ใช้บ่งบอกถึงพื้นที่ Mỹ Lai ที่มีประชากรหนาแน่นบนแผนที่ทางทหาร

เมื่อ ‘กองร้อย Charlie’ แห่งกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 20 กองพลทหารราบที่ 11 มาถึงเวียดนามในเดือนธันวาคม 1967 พื้นที่ ‘Pinkville’ ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘แหล่งซ่องสุม’ ของเวียดกงที่ใช้ในการหลบซ่อน ในเดือนมกราคม 1968 กองร้อย Charlie เป็น 1 ใน 3 กองร้อยที่ได้รับมอบหมายให้ทำลายกองพันที่ 48 ซึ่งเป็นหน่วยรบของเวียดกงที่มีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ ซึ่งหน่วยดังกล่าวปฏิบัติการในจังหวัด Quang Ngai ตลอดเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม ทหารสังกัดกองร้อย Charlie ได้รับบาดเจ็บจากทุ่นระเบิดและกับดักไปหลายสิบคน ทั้งยังประสบความล้มเหลวในการสู้รบกับกองพันที่ 48 หลังจากความพ่ายแพ้ของการโจมตีใน ‘ปฏิบัติการตรุษญวน’ (Tet) เวียดกงได้กลับมาใช้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจร และพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงกับกองกำลังสหรัฐฯ

‘ร้อยเอก Ernest Medina’ ผู้บังคับกองร้อย Charlie

หน่วยข่าวกรองของกองทัพสหรัฐฯ ได้รับข้อมูลว่า กองพันเวียดกงที่ 48 ได้เข้าไปซ่อนตัวในพื้นที่ของหมู่บ้าน Mỹ Lai (แต่ในความเป็นจริงแล้วกองพันเวียดกงที่ 48 ได้ฝังตัวในที่ราบสูง Quang Ngai ทางตะวันตก ซึ่งอยู่ห่างออกไปมากกว่า 65 กม.)

ในการบรรยายสรุปเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ‘ร้อยเอก Ernest Medina’ ผู้บังคับกองร้อย Charlie ได้บอกกับทหารของเขาว่า ในที่สุดพวกเขาก็จะได้รับโอกาสสู้รบกับศัตรูที่หลบหนีพวกเขามานานกว่าหนึ่งเดือน ด้วยเชื่อว่า พลเรือนชาวเวียดนามใต้ได้อพยพออกจากพื้นที่ของหมู่บ้าน Mỹ Lai ไปยังเขตเมือง Quang Ngai หมดแล้ว เขาจึงสั่งว่า “ใครก็ตามที่ยังอยู่ใน Mỹ Lai จะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงสมาชิกหรือแนวร่วมของเวียดกง ภายใต้กฎการสู้รบเหล่านี้ ทหารมีอิสระที่จะยิงใครหรืออะไรก็ได้”

นอกจากนี้ กองทหารของกองร้อย Charlie ยังได้รับคำสั่งให้ทำลายพืชผลและสิ่งปลูกสร้าง และฆ่าปศุสัตว์ทั้งหมดด้วย

‘ร้อยโท William Calley’ ผู้บังคับหมวดที่ 1 กองร้อย Charlie

ก่อนเวลา 07.30 น. ของวันที่ 16 มีนาคม 1968 ตำบล Son My ถูกปืนใหญ่ของสหรัฐฯ ถล่มอย่างหนัก เพื่อเคลียร์พื้นที่ลงจอดสำหรับเฮลิคอปเตอร์ของกองร้อย Charlie แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงกลายเป็นการบังคับพลเรือนชาวเวียดนามใต้ที่ทยอยออกจากพื้นที่ให้กลับไปที่หมู่บ้าน Mỹ Lai เพื่อหาที่กำบัง

ต่อมา หมวดที่ 1 ของกองร้อย Charlie นำโดย ‘ร้อยโท William Calley’ ได้บุกเข้าไปทางตะวันตกของหมู่บ้านขนาดเล็กที่รู้จักกันในชื่อ ‘Xom Lang’ แต่ถูกทำเครื่องหมายระบุว่า เป็นหมู่บ้าน Mỹ Lai บนแผนที่ทางทหารของสหรัฐฯ เวลา 7.50 น. ส่วนที่เหลือของกองร้อย Charlie ลงจากเฮลิคอปเตอร์แล้ว และร้อยโท Calley นำทหารหมวดที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกผ่านหมู่บ้าน Mỹ Lai ไป

แม้ว่าพวกเขาจะไม่พบการต่อต้านเลย แต่ทหารหมวดที่ 1 ก็เริ่มสังหารพลเรือนชาวเวียดนามใต้ตามอำเภอใจ ในชั่วโมงถัดมา กลุ่มของผู้หญิง เด็ก และชายสูงอายุก็ถูกล้อมและยิงทิ้งในระยะประชิด นอกจากนั้นแล้วทหารสหรัฐฯ ยังทำการข่มขืนหญิงสาวอีกหลายคน

หมวดที่ 2 ของกองร้อย Charlie เคลื่อนพลขึ้นเหนือจากเขตลงพื้น สังหารพลเรือนชาวเวียดนามใต้ไปอีกหลายสิบคน ในขณะที่หมวดที่ 3 ที่ตามมาก็ได้จัดการเผาทำลายบ้านเรือนที่เหลืออยู่ของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ และผู้รอดชีวิตที่เหลือถูกกราดยิง เวลา 09.00 น. ร้อยโท Calley สั่งประหารพลเรือนชาวเวียดนามใต้มากถึง 150 คน โดยต้อนคนเหล่านั้นลงไปในคูน้ำ

ทหารสังกัดกองร้อย Charlie จัดการเผาทำลายบ้านเรือนที่ Mỹ Lai

‘จ่า Ron Haeberle’ ช่างภาพของกองทัพบกสหรัฐฯ สังกัดกองร้อย Charlie บันทึกเหตุการณ์ในวันนั้น โดยเขาใช้กล้องถ่ายภาพขาวดำสำหรับบันทึกอย่างเป็นทางการของกองทัพบก แต่ถ่ายเป็นสีด้วยกล้องส่วนตัวของเขา ภาพขาวดำหลายภาพเป็นภาพทหารขณะที่กำลังซักถามนักโทษ ค้นทรัพย์สิน และเผากระท่อม แม้ว่าการทำลายทรัพย์สินจะละเมิดคำสั่งบัญชาการของกองทัพสหรัฐฯ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องปกติของภารกิจค้นหาและทำลาย และไม่ได้เป็นหลักฐานโดยตรงในกรณีอาชญากรรมสงคราม

ภาพถ่ายสีส่วนตัวของ Haeberle ซึ่งเขาไม่ได้ส่งต่อให้กองทัพบก ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร ‘Cleveland Plain Dealer and Life’ ในเวลาต่อมา ภาพหนึ่งแสดงให้เห็นร่องรอยที่เกลื่อนไปด้วยศพผู้หญิง เด็ก และทารกที่เสียชีวิต และอีกภาพหนึ่งเป็นภาพของผู้หญิงและเด็กที่กำลังหวาดกลัวกลุ่มหนึ่ง ในช่วงเวลาก่อนที่พวกเขาจะถูกยิง ภาพถ่ายเหล่านี้กระตุ้นการเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามเวียดนาม และจะกลายเป็นชุดภาพเกี่ยวกับสงครามเวียดนามที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด

‘จ่า Hugh Thompson’ นักบินเฮลิคอปเตอร์ผู้ยุติการสังหารหมู่ที่ Mỹ Lai

มีรายงานว่าการสังหารหมู่ที่ Mỹ Lai สิ้นสุดลงหลังจากที่ ‘จ่า Hugh Thompson’ ซึ่งเป็นนักบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกสหรัฐฯ ในภารกิจลาดตระเวน เขาได้นำเฮลิคอปเตอร์ลงจอดระหว่างทหารกับชาวบ้านที่กำลังล่าถอย และขู่ว่าจะเปิดฉากยิงทหารกองร้อย Charlie หากพวกเขายังคงโจมตีพลเรือนชาวเวียดนามใต้ต่อไป

เขาบอกว่า “เราบินไปมาเรื่อย ๆ… และในเวลาไม่นานนักเราก็เริ่มสังเกตเห็นศพจำนวนมากขึ้น ทุกที่ที่เรามอง เราจะเห็นศพเหล่านี้เป็นเด็กทารก เด็กอายุ 2-3 ขวบ และ 4-5 ขวบ ผู้หญิง ผู้ชายที่แก่มาก ไม่ใช่คนในวัยฉกรรจ์แต่อย่างใด” Thompson กล่าวในเวทีการสัมมนา ‘เหตุการณ์ Mỹ Lai’ ที่มหาวิทยาลัยทูเลน เมื่อปี 1994

Thompson และลูกเรือของเขานำผู้รอดชีวิตหลายสิบคนบินไปรับการรักษาพยาบาล ในปี 1998 Thompson และลูกเรืออีก 2 คนได้รับเหรียญรางวัลทางทหาร ซึ่งเป็นเหรียญรางวัลขั้นสูงสุดของกองทัพสหรัฐฯ สำหรับความกล้าหาญที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรงกับศัตรู

‘พันตรี Colin Powell’ ในเวียดนามใต้

เมื่อการสังหารหมู่ Mỹ Lai สิ้นสุดลง มีผู้เสียชีวิต 504 ราย ในบรรดาเหยื่อเป็นผู้หญิง 182 คน ในจำนวนนี้เป็นหญิงตั้งครรภ์ 17 คน และเด็ก 173 คน รวมถึงทารก 56 คน เมื่อทราบข่าวการสังหารหมู่ซึ่งจะทำให้เกิดเรื่องอื้อฉาว เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่บังคับบัญชากองร้อย Charlie และกองพลที่ 11 จึงพยายามมองข้ามเหตุนองเลือดนี้ทันที

อย่างไรก็ตาม กองทัพบกสหรัฐฯ ก็ได้เริ่มการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการภายใน หนึ่งในผู้สืบสวนภายในของกองทัพสหรัฐฯ เกี่ยวกับการสังหารหมู่ Mỹ Lai คือ ‘พันตรี Colin Powell’ ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานคณะเสนาธิการร่วม และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศภายใต้ ‘ประธานาธิบดี George W. Bush’

ตามรายงานของ Powell ระบุว่า “แม้ว่าอาจมีบางกรณีของการปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อพลเรือนและนักโทษเชลยศึก แต่สิ่งนี้ไม่ได้สะท้อนถึงทัศนคติทั่วไปของทหารทั้งกองพล”

สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องความโหดร้ายที่กระทำโดยทหารอเมริกัน Powell กล่าวว่า “ในการหักล้างโดยตรงต่อการแสดงภาพนี้คือความจริงที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกองอเมริกากับชาวเวียดนามนั้นดีเยี่ยม” คำกล่าวนี้ ทำให้นักวิจารณ์หลายคนเยาะเย้ยว่าเป็น ‘การล้างบาป’ และกล่าวหาว่า Powell เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมที่ช่วยกันปกปิดการสังหารหมู่ที่ Mỹ Lai

‘Ronald Ridenhour’ ผู้เปิดเผยเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ Mỹ Lai

การปกปิดการสังหารหมู่ที่ Mỹ Lai ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งทหารในกองพลที่ 11 ซึ่งเคยได้ทราบรายงานการสังหารหมู่ ซึ่งเขาไม่ได้เข้าร่วม ได้เริ่มรณรงค์เพื่อให้เหตุการณ์ต่าง ๆ กระจ่างขึ้น หลังจากเขียนจดหมายถึง ‘ประธานาธิบดี Richard M. Nixon’ รัฐมนตรีกลาโหม รัฐมนตรีต่างประเทศ ประธานคณะเสนาธิการร่วม และสมาชิกรัฐสภาหลายคน โดยไม่มีการตอบกลับ ในที่สุด Ridenhour ก็ให้สัมภาษณ์กับ Seymour Hersh นักข่าวสืบสวนซึ่งรายงานเรื่องนี้ในเดือนพฤศจิกายน 1969 ท่ามกลางความโกลาหลระหว่างประเทศและการประท้วงสงครามเวียดนาม

ซึ่งมีการติดตามการเปิดเผยของ Ridenhour กองทัพบกสหรัฐฯ สั่งให้มีการสอบสวนเป็นพิเศษเกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่ Mỹ Lai และความพยายามปกปิดเหตุการณ์ดังกล่าวในภายหลัง

การสอบสวนนำโดย ‘พลโท William Peers’ ซึ่งมีการเผยแพร่รายงานในเดือนมีนาคม 1970 ได้เสนอให้ตั้งข้อหากับเจ้าหน้าที่ทหารไม่น้อยกว่า 28 นายที่เกี่ยวข้องกับการปกปิดการสังหารหมู่ การพิจารณาคดี Mỹ Lai เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1970 ต่อมา กองทัพได้ตั้งข้อหาทหารเพียง 14 คน รวมทั้งร้อยโท William Calley, ร้อยเอก Ernest Medina และพันเอก Oran Henderson ในข้อหาก่ออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ Mỹ Lai

‘พลตรี Julian Ewell’ เจ้าของฉายา “คนขายเนื้อแห่งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง”

ทุกคนพ้นผิดยกเว้นร้อยโท Calley ซึ่งถูกตัดสินว่า ‘มีความผิดในข้อหาฆาตกรรมโดยไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าจากการสั่งยิง’ แม้ว่าเขาจะโต้แย้งว่าเขาเพียงปฏิบัติตามคำสั่งของร้อยเอก Medina ผู้บังคับบัญชาก็ตาม ในเดือนมีนาคม 1971 ร้อยโท Calley ได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต ในฐานะผู้สั่งการในการสังหารหมู่ที่ Mỹ Lai

หลายคนมองว่า ร้อยโท Calley เป็นแพะรับบาป และเขาอุทธรณ์ลดโทษเหลือ 20 ปี และต่อมาได้ลดโทษเหลือเพียง 10 ปี และเขาถูกปล่อยตัวในปี 1974 หลังจากถูกจำคุกเพียง 3 ปีเท่านั้น

การสืบสวนในเวลาต่อมาเผยให้เห็นว่า การสังหารที่ Mỹ Lai ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียว ความโหดร้ายอื่น ๆ เช่น การสังหารหมู่พลเรือนชาวเวียดนามใต้ที่ Mỹ Khe ที่คล้ายกันนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก ปฏิบัติการทางทหารฉาวโฉ่ที่เรียกว่า ‘Speedy Express’ คร่าชีวิตพลเรือนชาวเวียดนามใต้ไปหลายพันคน จนกระทั่งพลเรือนชาวเวียดนามใต้ที่อาศัยอยู่บริเวนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้ให้ฉายา ‘พลตรี Julian Ewell’ ผู้บัญชาการในปฏิบัติการครั้งนั้นว่า “คนขายเนื้อแห่งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง”

ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 การสนับสนุนการทำสงครามของสหรัฐอเมริกาในเวียดนามลดน้อยลง เนื่องจากฝ่ายบริหารของ ‘ประธานาธิบดี Richard M. Nixon’ ที่ได้ดำเนินนโยบาย ‘การทำให้เป็นเวียดนาม’ (Vietnamization) ซึ่งรวมถึงการถอนกำลังทหารและโอนการควบคุมการปฏิบัติการภาคพื้นดินไปยังกองทัพเวียดนามใต้ ในบรรดากองทหารอเมริกันที่ยังอยู่ในเวียดนาม ล้วนแล้วแต่มีขวัญกำลังใจต่ำ มีความโกรธแค้นและความคับข้องใจสูง มีการใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์เพิ่มในหมู่ทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ และรายงานอย่างเป็นทางการในปี 1971 ประมาณการว่าทหารสหรัฐฯ 1 ใน 3 หรือมากกว่านั้นติดยาเสพติด

การเปิดเผยเรื่องราวของการสังหารหมู่ที่ Mỹ Lai ทำให้ขวัญกำลังใจของทหารอเมริกันตกต่ำลดลงไปอีก เมื่อบรรดาทหารอเมริกันในเวียดนามใต้ต่างพากันสงสัยว่า ผู้บังคับบัญชาของพวกเขาปกปิดความโหดร้ายอื่นใดอีก

ในสหรัฐฯ ความโหดร้ายของการสังหารหมู่ Mỹ Lai และความพยายามของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในการปกปิดเหตุการณ์ดังกล่าว ยิ่งทำให้ความรู้สึกต่อต้านสงครามรุนแรงขึ้น และเพิ่มความขมขื่นต่อการปรากฏตัวของกองทัพสหรัฐฯ ในเวียดนาม ต่างจากเหตุการณ์สงครามอื่น ๆ ที่ทั้งศัตรูและอดีตศัตรูของสหรัฐฯ มักกลายเป็นผู้ร้ายในภาพยนตร์ Hollywood ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่วน Mỹ Lai เหตุการณ์สังหารหมู่ชาวบ้านเวียดนามใต้ 504 ศพ โดยทหารของกองทัพบกสหรัฐฯ ไม่เคยถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ Hollywood เลย จะมีก็เพียงแต่ถูกนำมาสร้างเป็นสารคดีเท่านั้น

และในการแสดง The Lieutenant เป็นร็อกโอเปราที่มีทั้งหนังสือ ดนตรี และเนื้อร้องโดย Gene Curty, Nitra Scharfman และ Chuck Strand ได้เสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นศาลทหารของร้อยโท William Calley ในช่วงสงครามเวียดนาม โดยแสดงบนเวทีละครบรอดเวย์ ในปี 1975 และ ‘Mỹ Lai Four’ ซึ่งเป็นภาพยนตร์นั้นถูกสร้างโดยผู้สร้างและทีมงานชาวอิตาลี ไม่ใช่ผู้สร้างและทีมงานชาวอเมริกันจาก Hollywood แต่อย่างใด

มีการสร้างอนุสรณ์สถานเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ Mỹ Lai ณ ตำบล Sơn Mỹ และสวนสันติภาพ Mỹ Lai ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของเหตุการณ์สังหารหมู่ เมื่อ 16 มีนาคม 1998 สวนสันติภาพนี้อยู่ห่างจากสถานที่เกิดเหตุราว 2 กม. (1 ไมล์)

‘การละเมิดอำนาจศาล’ พฤติกรรมน่าละอายที่ไม่ควรกระทำ ‘วิวาท-โวยวาย-ดูหมิ่น-ฝ่าฝืนกฎ’ เสี่ยงนอนคุกนาน 6 เดือน

ประชาชนทั่วไป ถ้าไม่มีความจำเป็นจริง ๆ คงไม่มีใครอยากไปศาล ถึงขนาดมีคำกล่าวที่ว่า ‘ให้กินของไม่ดียังดีกว่าเป็นความหรือมีคดี’ อาจจะเพราะความเชื่อที่ว่า ไปศาลจะได้พบกับบรรยากาศที่น่ากลัว เข้มขลัง มีกฎระเบียบมากมาย หากไปเผลอทำผิดกฎต่าง ๆ ก็อาจจะมีความผิด

คำว่า ‘ศาล’ ในที่นี้มีความหมาย 2 อย่าง หมายถึงตัวผู้พิพากษา และยังหมายถึงสถานที่อันเป็นที่ตั้งของที่ทำการศาลยุติธรรม

การละเมิดอำนาจศาลนั้น หมายถึงการกระทำใด ๆ ที่ไปทำให้ เกิดความวุ่นวาย หรือความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเกิดภายในบริเวณศาล หรือเกิดขึ้นภายนอกบริเวณศาล แต่ส่งผลให้เกิดความวุ่นวาย หรือความไม่เรียบร้อยต่อกระบวนการพิจารณาคดีของศาล

กฎหมายเรื่องการละเมิดอำนาจศาล มีขึ้นเพื่อให้การใช้อำนาจตุลาการ มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และรวดเร็ว

โดยมีการกำหนดไว้ว่าศาลอาจออกข้อกำหนดสำหรับคู่ความหรือบุคคลที่มาอยู่ต่อหน้าศาล หรือการละเมิดอำนาจศาลของหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ เช่น การสั่งห้ามโฆษณา ซึ่งข้อความที่เกี่ยวข้องกับคดี ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรม หากผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ฝ่าฝืนก็จะมีความผิด

บทลงโทษสำหรับข้อหาละเมิดอำนาจศาล มีทั้งการไล่ออกจากบริเวณศาล หรือลงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรืออาจจะลงโทษทั้งสองวิธีการ 

อย่างไรก็ตามศาลอื่น ๆ เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลทหาร ต่างมีข้อกำหนดหรือกฎหมายในเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นการเฉพาะของแต่ละศาล แต่ก็มีหลักการคล้าย ๆ กันกับศาลยุติธรรม

ตัวอย่างของการกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล เช่น อ้างว่าจะเอาเงินไปให้ผู้พิพากษา, นำยาบ้าไปส่งมอบให้ผู้ต้องหาในศาล, ฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาล, พกพาอาวุธเข้าไปในบริเวณศาล, ทะเลาะวิวาทชกต่อยกันในห้องพิจารณาคดี, ลงข้อความในสิ่งพิมพ์เปรียบเปรยว่าผู้พิพากษาให้เลื่อนคดีโดยไม่เป็นธรรม, ปลอมลายมือชื่อมาขอประกันตัว ฯลฯ

เนื่องจากในบริเวณพื้นที่ศาลเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปผู้มีอรรถคดีเดินทางมาเพื่อแสวงหาความยุติธรรมให้กับตนเอง ซึ่งถือเป็นสถานที่สำคัญ แม้เป็นสถานที่สาธารณะ แต่ก็ต้องมีกฎระเบียบ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หากมีการประพฤติตน ในบริเวณศาล ซึ่งมีลักษณะไม่เรียบร้อย ตะโกนด่าทอด้วยเสียงดัง อันมีลักษณะเป็นการสร้างความวุ่นวาย และมีผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป ก็อาจถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ตามที่กฎหมายกำหนด

‘Apollo-Plumbat’ 2 ปฏิบัติการลับของหน่วย ‘MOSSAD’ แห่งอิสราเอล ในการโจรกรรม ‘แร่ยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะสูง’ ซึ่งใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์

‘Apollo’ และ ‘Plumbat’ ปฏิบัติการโจรกรรมยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะสูง 
โดยอิสราเอล

‘อิสราเอล’ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง และเชื่อกันว่า อิสราเอลมีความสามารถในการปล่อยหัวรบนิวเคลียร์ได้มากมายหลายวิธีจากอากาศยาน ขีปนาวุธร่อนที่ปล่อยจากเรือดำน้ำ และขีปนาวุธพิสัยกลางถึงข้ามทวีปแบบ ‘Jericho’ ซึ่ง Revital ‘Tally’ Gotliv สส.หญิงอิสราเอล เรียกร้องให้นำมาใช้ถล่มฉนวน Gaza หวังให้กลายเป็น ‘วันโลกาวินาศ’ (Doomsday) ของชาวปาเลสไตน์ https://thestatestimes.com/post/2023101214

โดยคาดว่า อิสราเอลเมื่อเริ่มแรกที่มีอาวุธนิวเคลียร์พร้อมใช้งานได้นั้น น่าจะเป็นในช่วงปลายปีของ ค.ศ. 1966 หรือต้นปี ค.ศ. 1967 และทำให้อิสราเอลกลายเป็นชาติที่ 6 ของโลกที่พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม อิสราเอลรักษานโยบาย ‘จงใจคลุมเครือ’ โดยไม่เคยปฏิเสธหรือยอมรับอย่างเป็นทางการว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ แต่ย้ำตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่า “อิสราเอลจะไม่ใช่ประเทศแรกที่จะเปิดฉากใช้อาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลาง”

นอกจากนี้ อิสราเอลยังปฏิเสธที่จะลงนามใน ‘สนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์’ (the Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons : NPT) แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากนานาชาติให้ลงนามก็ตาม โดยกล่าวว่าการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวจะขัดต่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติ

‘กองทัพอากาศอิสราเอล’ เปิดฉากทำลายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรัก
ใน ‘ปฏิบัติการ Opera’ ในปี ค.ศ. 1981

นอกจากนี้ อิสราเอลยังได้พัฒนาหลักการเริ่มต้นในการต่อต้านด้วยการชิงโจมตี โดยปฏิเสธไม่ให้ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค สามารถซื้อหรือผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองได้ กองทัพอากาศอิสราเอลเปิดฉากทำลายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรัก ใน ‘ปฏิบัติการ Opera’ ในปี ค.ศ. 1981 และซีเรีย ใน ‘ปฏิบัติการ Orchard’ ในปี พ.ศ. 2007 ตามลำดับ และการใช้มัลแวร์ ‘Stuxnet’ ที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านในปี พ.ศ. 2010 ซึ่งเชื่อว่าได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล ในปี ค.ศ. 2019

อีกทั้ง อิสราเอลยังคงเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางที่เชื่อว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ โดยกำหนดให้แผน Samson เป็นกลยุทธ์การป้องกันในการตอบโต้ครั้งใหญ่ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ในฐานะ ‘ทางเลือกสุดท้าย’ ต่อประเทศที่ส่งกองทัพมารุกราน และ/หรือ ทำลายอิสราเอล

‘Mordechai Vanunu’ ช่างเทคนิคผู้ที่เปิดเผยรายละเอียดของโครงการอาวุธนิวเคลียร์

อิสราเอลเริ่มโครงการนิวเคลียร์ไม่นานหลังจากประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1948 และด้วยความร่วมมือของฝรั่งเศส โดยอิสราเอลได้เริ่มสร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ ‘Negev’ อย่างลับ ๆ ซึ่งเป็นโรงงานใกล้ ๆ กับเมือง Dimona ซึ่งเป็นที่ตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และโรงงานปรับกระบวนการที่เกี่ยวข้องในปลายทศวรรษ 1950 ก่อนจะถูกเปิดเผยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1986 โดย ‘Mordechai Vanunu’ ช่างเทคนิคที่เคยทำงานในศูนย์แห่งนี้และอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร ไม่นานหลังจากนั้น Mordechai Vanunu ก็ถูกเจ้าหน้าที่ MOSSAD ลักพาตัวและถูกนำตัวกลับมาที่อิสราเอล ซึ่งเขาถูกตัดสินจำคุก 18 ปีในข้อหากบฏและจารกรรม

บริษัท Nuclear Materials and Equipment Corporation (NUMEC) 
เมือง Apollo และเมือง Parks Township

แต่สิ่งสำคัญที่อิสราเอลไม่สามารถหาได้เลย คือ วัตถุดิบหลักในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ ‘ยูเรเนียม’ ที่ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะสูง จึงเป็นที่มาของ 2 ปฏิบัติการโจรกรรมยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง โดย ‘หน่วย MOSSAD’ ของอิสราเอล

‘ปฏิบัติการ Apollo’ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1965 โดยบริษัทของสหรัฐอเมริกา บริษัท Nuclear Materials and Equipment Corporation (NUMEC) เมือง Apollo และเมือง Parks Township เขตชานเมืองพิตส์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลวาเนีย ถูกสอบสวนในข้อหาสูญเสียสารยูเรเนียมที่มีสมรรถนะสูงไปราว 200–600 ปอนด์ (91–272 กิโลกรัม) โดยสงสัยว่าได้มีการยักย้ายเข้าสู่โครงการอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอล

‘Dr. Zalman Shapiro’ ประธานฯ บริษัท Nuclear Materials and Equipment Corporation (NUMEC)

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ถึง พ.ศ. 1980 สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) ได้ทำการสอบสวน Dr. Zalman Shapiro ประธานบริษัทฯ ในเรื่องการสูญหายของยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะสูง จำนวน 206 ปอนด์ (93 กิโลกรัม) Shapiro เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยิว ที่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจและการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอิสราเอล รวมถึงได้รับสัญญาที่จะสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ให้อิสราเอลด้วย คณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู, สำนักข่าวกรองกลาง (CIA), หน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ และผู้สื่อข่าวที่สอบสวนได้ดำเนินการสืบสวนในลักษณะเดียวกันนี้ แต่ก็ไม่มีการตั้งข้อหาใด ๆ เลย

การศึกษาของสำนักงานบัญชีทั่วไปเกี่ยวกับการสืบสวนที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไป ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 ระบุว่า “เราเชื่อว่าความพยายามร่วมกันอย่างทันท่วงที ในส่วนของหน่วยงานทั้ง 3 นี้ จะช่วยได้อย่างมาก และอาจช่วยแก้ปัญหาการเบี่ยงเบนความสนใจของ NUMEC ได้ หากพวกเขาต้องการทำเช่นนั้น”

บริษัท Nuclear Materials and Equipment Corporation (NUMEC) 
เมือง Apollo และเมือง Parks Township

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 ‘CIA’ ได้บรรยายสรุปแก่เจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์ (NRC) เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยระบุว่า CIA เชื่อว่ายูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะสูงที่หายไปนั้น ถูกส่งไปยังอิสราเอล เมื่อ NRC แจ้งต่อทำเนียบขาว ส่งผลทำให้ประธานาธิบดี ‘Jimmy Carter’ เมื่อได้รับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการสอบสวน จึงสั่งให้ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติประเมินผล ซึ่งผลสรุปว่า “ข้อสรุปของ CIA มีความเป็นไปได้ แม้ว่าจะไม่ได้ข้อสรุปก็ตาม” บางคนยังคงเชื่อว่า อิสราเอลได้รับยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะสูง จำนวน 206 ปอนด์ (93 กิโลกรัม) หรือมากกว่าจาก NUMEC โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้รับหลังการมาเยือนของ ‘Rafi Eitan’ ซึ่งถูกเปิดเผยในภายหลัง ว่าเป็นสายลับอิสราเอลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘Jonathan Pollard’ ในเวลาต่อมา

เหตุการณ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1986 นักวิเคราะห์ ‘Anthony Cordesman’ บอกกับสำนักข่าว United Press International (UPI) ว่า “ไม่มีเหตุผลที่เป็นไปได้ใด ๆ สำหรับ Eitan ที่จะไปยังโรงงาน Apollo นอกจากไปเพื่อวัสดุนิวเคลียร์” การสอบสวนในภายหลังได้ดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์ (ต่อจาก AEC) เกี่ยวกับยูเรเนียมจำนวน 198 ปอนด์ (90 กิโลกรัม) ซึ่งพบว่าหายไประหว่างปี ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1976 หลังจากที่บริษัท Babcock & Wilcox และ Dr. Shapiro ได้ซื้อโรงงานดังกล่าว การสืบสวนพบว่า ยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะสูง น้ำหนักมากกว่า 110 ปอนด์ (50 กิโลกรัม) อาจถูกเรียกว่า ‘กลไกการสูญเสียที่ไม่สามารถระบุได้ และไม่มีเอกสารก่อนหน้านี้’ รวมถึง ‘การปนเปื้อนของเสื้อผ้าของคนงาน การสูญเสียจากระบบขัดพื้น วัสดุที่ฝังอยู่ในพื้น และคราบตกค้างในอุปกรณ์แปรรูป’ โดยอีกหนึ่งในผู้สืบสวนหลัก ‘Carl Duckett’ ได้กล่าวว่า “ผมไม่พบอะไรเลยที่บ่งชี้ว่า Shapiro มีความผิด”

‘ปฏิบัติการ Plumbat’ เชื่อกันว่าเป็น ‘ปฏิบัติการลับ’ ของอิสราเอลในปี ค.ศ. 1968 เพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘Yellowcake’ (แร่ยูเรเนียมแปรรูป) เพื่อนำมาใช้สนับสนุนในความพยายามด้านอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอล สาเหตุมาจากการที่ฝรั่งเศสหยุดจัดหาเชื้อเพลิงยูเรเนียมให้กับอิสราเอล สำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Dimona หลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในปี ค.ศ. 1967 แหล่งข่าวจำนวนมากเชื่อว่าในปี ค.ศ. 1968 อิสราเอลได้รับ Yellowcake (แร่ยูเรเนียมแปรรูป) ราว 200 ตันจาก ‘Union Minière’ บริษัทเหมืองแร่ของเบลเยียม และจัดส่งยูเรเนียมแปรรูปที่ขุดในคองโก จากเมืองแอนต์เวิร์ปไปยังเมืองเจนัว ให้กับบริษัทแนวหน้าของยุโรป โดยทำการขนถ่ายย้ายแร่ไปยังเรือลำอื่นกลางทะเล

ปฏิบัติการลับของ MOSSAD นี้ เป็นการละเมิดมาตรการควบคุมวัสดุนิวเคลียร์ของ ‘Euratom’ (The European Atomic Energy Community) โดยสมบูรณ์ ชื่อของปฏิบัติการ Plumbat มาจากภาษาละตินว่า ‘plumbum’ ซึ่งหมายถึง ‘ตะกั่ว’ อันเป็นวัสดุไม่อันตรายในการขนส่ง Yellowcake โดยสายลับของ MOSSAD ได้จัดตั้งบริษัทสมมติชื่อ ‘Biscayne Trader's Shipping Corporation’ ในไลบีเรีย เพื่อซื้อเรือขนส่งสินค้าทางทะเล จากเมือง Scheersberg A. (เมืองทางตอนเหนือของเยอรมนี ใกล้ชายแดนติดกับเดนมาร์ก) ด้วยความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ผู้เป็นมิตรของบริษัทปิโตรเคมีของเยอรมนี มีการจ่ายเงิน 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับ Union Minière เพื่อซื้อ Yellowcake จำนวน 200 ตัน Yellowcake เหลืออยู่ในสินค้าคงคลังจากยูเรเนียมที่ขุดได้จาก Shinkolobwe ใน Katanga ตอนบน โดยบรรทุก Yellowcake นี้ลงบนเรือบรรทุกสินค้าที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ และมีการทำสัญญากับบริษัทสีสัญชาติอิตาลี เพื่อดำเนินการผลิต Yellowcake

‘Yellowcake’ (แร่ยูเรเนียมแปรรูป)

‘Yellowcake’ ถูกบรรทุกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1968 ในถังที่มีเครื่องหมาย ‘PLUMBAT’ (ผลิตภัณฑ์ตะกั่วที่ไม่เป็นอันตราย) ลูกเรือชาวสเปนถูกแทนที่ด้วยกะลาสีเรือที่ MOSSAD เตรียมไว้ และได้รับหนังสือเดินทางปลอมที่จัดเตรียมไว้ให้ เรือสินค้าลำนี้แล่นไปยังเมืองเจนัว เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 หลังจากเดินทางได้ประมาณ 7 วัน เรือก็พบกับเรือบรรทุกสินค้าสัญชาติอิสราเอล ภายใต้ความมืดบริเวณที่ใดที่หนึ่งทางตะวันออกของเกาะครีต สินค้าถูกขนถ่ายไปอย่างเงียบ ๆ ขณะที่เรือรบของอิสราเอลคอยเฝ้าดูอยู่ใกล้ ๆ หลังจากบรรทุก Yellowcake แล้ว ก็ออกเดินทางสู่เมืองท่าไฮฟา และในที่สุดก็ถึงอุโมงค์ซึ่งเป็นโรงงานเคมีอัตโนมัติระดับ 6 เพื่อทำการแปรรูปให้เป็น ‘พลูโตเนียม’ ที่เมือง Dimona เมื่อเรือ Scheersberg A. เข้าเทียบท่าที่ตุรกี 8 วันต่อมา โดยไม่มีการขนส่งสินค้าใด ๆ สัญญากับบริษัทสีสัญชาติอิตาลีจึงถูกยกเลิก บันทึกของเรือหายไปหลายหน้าโดยไม่มีคำอธิบายใด ๆ บริษัทสีอิตาลีสันนิษฐานว่า สินค้าสูญหายเนื่องจากการปล้น

คำสารภาพของฝ่ายปฏิบัติการ MOSSAD ในปี ค.ศ. 1973 ‘Dan Ert’ ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ Mossad ถูกจับกุมในนอร์เวย์ โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการลอบสังหารผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์คนหนึ่ง ที่สังหารนักกีฬาอิสราเอล 11 คน ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี ค.ศ. 1972 ที่นครมิวนิก ซึ่งได้เล่าเรื่องราวขณะถูกคุมขังเพื่อพิสูจน์ให้ชาวนอร์เวย์เห็นว่า เขาเป็นเจ้าหน้าที่ของ MOSSAD เรื่องราวดูน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อตรวจสอบพบว่า Ert ได้รับเลือกให้เป็นประธานของบริษัทขนส่งในไลบีเรียที่เคยซื้อเรือ Scheersberg A. ในปี 1977 เรื่อง Plumbat Affair ถูกเปิดเผยโดย ‘Paul Leventhal’ อดีตนิติกรของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ในการประชุมลดอาวุธ เขากล่าวว่า “การขนส่ง Yellowcake ที่ถูกขโมยมานั้น เพียงพอที่จะเดินเครื่องปฏิกรณ์เช่นที่ Dimona ได้นานถึง 10 ปี”

ในตอนแรกเจ้าหน้าที่อิสราเอลนิ่งเงียบเมื่อมีการสอบสวน จากนั้น จึงออกมาปฏิเสธทุกแง่มุมในเรื่องราวที่อิสราเอลที่เกี่ยวข้องกับ Yellowcake ที่ถูกขโมย ปัจจุบันประมาณการว่า คลังอาวุธของอิสราเอลมีหัวรบนิวเคลียร์อยู่ระหว่าง 80 ถึง 400 หัว

ไขข้อข้องใจ!! หลากวิธีที่อาจส่อคุกคามทางเพศ แม้ 'ชมหยอก' แต่อีกฝ่าย 'หวาดกลัว-อับอาย' เท่ากับเสี่ยง

อุปนิสัย ใจคอของคนไทยเรา เป็นคนใจดี ร่าเริง สนุกสนาน ยิ้มง่าย การพูดจาหยอกล้อ ระหว่างคนในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน เพื่อเรียกเสียงหัวเราะ และรอยยิ้ม พฤติกรรมเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่อยู่กับสังคมไทยมาช้านาน 

แต่ในบางครั้ง เมื่อผู้พูดมีเจตนาไปในทางไม่เหมาะสม เช่นการพูดเรื่องสองแง่ สองง่าม พูดตลกเรื่องเพศ คู่สนทนาอาจไม่ได้มีความรู้สึกคล้อยตามคำพูดต่าง ๆ ของผู้พูด และทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ หรือเกิดความกลัว สิ่งเหล่านี้จะถือเป็นการคุกคามทางเพศต่อผู้ฟังหรือไม่ และมีโทษทางกฎหมายอย่างไร

ตามประมวลกฎหมายอาญา กำหนดความผิดเกี่ยวกับความผิดทางเพศไว้ 4 ประเภทได้แก่ 

1.ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา  
2.ความผิดฐานกระทำอนาจาร 
3.ความผิดฐานค้าบุคคลเพื่อความใคร่ 
4. ความผิดฐานค้าสิ่งลามกอนาจาร 

ความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ แต่มีบททั่วไป วางเกณฑ์กว้าง ๆ ไว้ว่า ถ้ากระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่นอันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคามหรือ กระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ จะเป็นความผิดและมีโทษ 

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถาน หรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ก็จะได้รับโทษหนักขึ้น 

และหากอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะผู้บังคับบัญชาชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจที่เหนือ ประการอื่น ก็จะต้องรับโทษหนักขึ้นไปอีก

การคุกคามทางเพศมีหลายวิธีการ เช่น การคุกคามทางเพศทางวาจาเช่น “ห้องพี่ว่างนะ” “มีค่าเทอมรึยัง”   การคุกคามทางเพศโดยการสัมผัสร่างกาย เช่น การตั้งใจยืนเบียดบนรถโดยสาร การคุกคามทางเพศโดยกิริยาท่าทาง เช่น การแสดงท่าทางที่ไม่เหมาะสม ผิวปากแซว หรือการคุกคามทางเพศทางออนไลน์ เช่นการส่งรูปเปลือยหรือรูปที่ไม่เหมาะสม ให้ผู้อื่น

ดังนั้น ตามที่ปรากฏข่าวว่ามีท่าน สส.ผู้ทรงเกียรติ ส่งข้อความชวนคุยเรื่องเพศ ถึงทีมงานหาเสียงในสังกัดของท่าน ที่เป็นสุภาพสตรี ไม่ว่าจะเกิดจากการ ‘ชมหยอก’ หรือเจตนาอื่น ซึ่งทำให้สุภาพสตรีท่านนั้น รู้สึกหวาดกลัว อับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ คนส่งอาจจะสนุกฝ่ายเดียว แต่ผู้รับคงไม่รู้สึกสนุกด้วย  และอาจมีความผิดตามกฎหมาย 

‘จ่า Gander’ ยอดสุนัขทหารแห่งกองทัพแคนาดาในสงครามโลกครั้งที่ 2 สัญญลักษณ์ของความภักดีและกล้าหาญ ในยุทธการที่เมือง Lye Mun

‘จ่า Gander’ ยอดสุนัขทหารแห่งกองทัพแคนาดา

ในโลกแห่งความจริงแล้ว สุนัขเป็นสัตว์ที่สุดยอด ไม่ใช่เพียงแค่ความวิเศษของสุนัขที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรักและภักดี ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของสุนัขมาโดยตลอดอีกด้วย ความภักดีของพวกมันสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความกล้าหาญได้ และสิ่งนี้ทำให้พวกมันมีบทบาทอยู่ในสนามรบตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ

ด้วยเหตุนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้มีสุนัขสงครามที่ต่อสู้เคียงข้างกับทหารของชาติต่าง ๆ จนกระทั่งปัจจุบัน และเรื่องที่น่าจดจำนี้เป็นเรื่องของสุนัขในกองทัพแคนาดาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

‘Gander’ เป็นสุนัขพันธุ์ Newfoundland ที่ได้ช่วยชีวิตทหารแคนาดาจำนวนหนึ่งระหว่างยุทธการ Lye Mun บนเกาะฮ่องกงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1940 ชื่อเดิมของมันคือ ‘Pal’ เป็นสุนัขของครอบครัว Hayden ที่อาศัยอยู่ในเมือง Gander บนเกาะ Newfoundland

‘จ่า Pal’ ชอบเล่นกับเด็ก ๆ ในละแวกบ้าน และมันมักถูกใช้เป็นสุนัขลากเลื่อน ดังที่เห็นจากภาพถ่าย สุนัขพันธุ์ Newfoundland เป็นสุนัขตัวใหญ่ที่น่าอัศจรรย์ (มีการบันทึกว่า ‘จ่า Gander’ มีน้ำหนักถึง 130 ปอนด์) 

แต่วันหนึ่งในขณะที่มันกำลังเล่นกับเด็ก ๆ เจ้า Pal ได้บังเอิญไปข่วนใบหน้าของ ‘Eileen’ เด็กหญิงวัย 6 ขวบเข้าโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่เธอต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ครอบครัว Hayden จึงต้องตัดสินใจว่า จะสังหารเจ้า Pal หรือมอบให้คนอื่นที่สามารถนำไปเลี้ยงต่อ พวกเขาเลือกที่จะมอบมันให้กับหน่วยปืนเล็กยาวหลวงแห่งแคนาดา (Royal Rifles of Canada) ซึ่งประจำการที่ฐานทัพอากาศ Gander

หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็น ‘Gander’ โดยมีชื่อ-ตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า ‘Regimental Mascot Sgt. Gander’ สุนัขตัวนี้จึงกลายเป็น Mascot ประจำกองพันที่ 1 ของหน่วยปืนเล็กยาวหลวงแห่งแคนาดาไปโดยปริยาย

มันสนุกกับการใช้ชีวิตอยู่ในฐานทัพอากาศ และชอบใช้เวลาบนทางวิ่งของเครื่องบินมาก เพราะมันมักจะวิ่งไล่เครื่องบินขณะที่กำลังจะลงจอด 

จ่า Gander กับทหารกองพันที่ 1 หน่วยปืนเล็กยาวหลวงแห่งแคนาดา
ระหว่างเดินทางไปยังฮ่องกง

ต่อมาประมาณเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 กองพันที่ 1 หน่วยปืนเล็กยาวหลวงแห่งแคนาดาถูกส่งไปประจำการยังฮ่องกง เพื่อเตรียมป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น แทนที่จะทิ้งจ่า Gander ไว้ข้างหลัง กองพันที่ 1 ของหน่วยปืนเล็กยาวหลวงแห่งแคนาดาก็พามันเข้าร่วมกับในภารกิจของพวกเขา โดย ‘พลทหาร Fred Kelly’ ทำหน้าที่ดูแลจ่า Gander ระหว่างที่มันอยู่ในฮ่องกง

พลทหาร Kelly ปล่อยให้จ่า Gander เล่นน้ำเย็นเป็นเวลานาน ๆ เพื่อช่วยให้มันสามารถรับมือกับอากาศที่ร้อนมาก ๆ ของฮ่องกงได้ ตามที่พลทหาร Kelly เล่าว่า จ่า Gander ก็เป็นคอเบียร์ด้วยเช่นกัน

การยอมจำนนต่อกองทัพญี่ปุ่นของกองกำลังป้องกันอาณานิคมอังกฤษ
เมื่อ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941

สงครามป้องกันอาณานิคมฮ่องกง’ ระหว่างกองทัพญี่ปุ่นกับกองกำลังป้องกันอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยทหารอังกฤษ อินเดีย และแคนาดา รวมถึงกองกำลังสำรอง และกองกำลังป้องกันอาสาสมัครฮ่องกง (HKVDC) เริ่มขึ้นระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม จนถึง 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็นหนึ่งในการรบครั้งแรก ๆ ของสงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในเช้าวันเดียวกับการโจมตีอ่าวเพิร์ลของกองทัพญี่ปุ่น ภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์กองทหารอังกฤษก็สูญเสียพื้นที่ 2 ใน 3 ของดินแดนฮ่องกง (เกาลูน และ New Territories) ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ ไม่ถึงสองสัปดาห์ต่อมา เมื่อไม่สามารถป้องกันที่มั่นสุดท้ายของพวกเขาบนเกาะฮ่องกง กองกำลังป้องกันอาณานิคมอังกฤษจึงต้องยอมจำนน

ในการรบระหว่างกองทัพญี่ปุ่นกับกองกำลังป้องกันอาณานิคมอังกฤษ จ่า Gander มีส่วนในการต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อคลื่นของทหารญี่ปุ่นบุกเข้ามา จ่า Gander ก็รีบวิ่งเข้าไปหาโดยเห่าและพุ่งเข้ากัดขาของทหารญี่ปุ่น ครั้งที่สองเกิดขึ้นในเวลากลางคืน มีทหารแคนาดาที่ได้รับบาดเจ็บกลุ่มหนึ่งนอนอยู่บนถนน และในขณะที่ทหารญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งก็กำลังเข้ามาหาพวกเขา จ่า Gander ก็วิ่งเข้าไปหาพวกทหารญี่ปุ่นจนทำให้ทหารญี่ปุนกลุ่มนั้นต้องเปลี่ยนเส้นทาง เข้าสกัดโดยการคำราม วิ่งเข้าใส่ทหารศัตรู และกัดส้นเท้าของทหารญี่ปุ่น

‘พลทหาร Reginald Law’ เล่าว่า การต่อสู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตอนกลางคืน และขนสีดำของจ่า Gander ทำให้ทหารญี่ปุ่นมองเห็นมันได้ยาก ผลก็คือ แทนที่จะยิงมัน ทหารญี่ปุ่นกลับต้องวิ่งหนีมันออกจากที่นั่น เพื่อให้รอดพ้นจากความโกรธเกรี้ยวของจ่า Gander ต่อมาทหารญี่ปุ่นสอบปากคำเชลยศึกชาวแคนาดาเกี่ยวกับ ‘สัตว์ร้ายสีดำ’ ด้วยเกรงว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำการฝึกสัตว์ดุร้ายเพื่อใช้ในทำสงคราม

หลังเที่ยงคืนของวันที่ 19 ธันวาคม ยุทธการที่เมือง Lye Mun (เมืองเล็ก ๆ ในเขตฮ่องกงใกล้ ๆ กับนคร Shenzhen) ก็ปะทุขึ้น จ่า Gander เข้าร่วมสู้รบกับทหารญี่ปุ่นเหมือนเช่นเคย จนกระทั่งระเบิดมือลูกหนึ่งถูกขว้างเข้าใกล้กลุ่มทหารแคนาดาที่ได้รับบาดเจ็บ เมื่อมันรู้ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น Gander ก็คาบระเบิดมือลูกนั้นขึ้นมาด้วยปากของมัน และวิ่งออกไป ระเบิดมือระเบิดขึ้น แล้ว จ่า Gander ก็เสียชีวิต แต่การกระทำเช่นนั้นของมันได้ช่วยชีวิตทหารแคนาดาไว้ได้ถึง 7 นาย เป็นการแสดงความกล้าหาญของจ่า Gander เป็นครั้งสุดท้าย

หลังจากความพยายามของพิพิธภัณฑ์สงครามแคนาดา สมาคมทหารผ่านศึกฮ่องกง และสมาคมอนุสรณ์ทหารผ่านศึกฮ่องกง อีก 60 ปี หลังจากการเสียชีวิตของจ่า Gander มันก็ได้รับ ‘Dickin Medal for Gallantry’ จาก The People's Dispensary For Sick Animals (PDSA) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลด้านสัตวแพทย์ในสหราชอาณาจักร (โดยหลักแล้วรางวัลนี้คือ ‘Victoria Cross’ สำหรับสัตว์) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ซึ่งถือเป็นรางวัลแรก โดยไม่มีการมอบรางวัลมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 แต่ PDSA รู้สึกว่า ‘จ่า Gander’ สมควรที่จะได้รับที่สุด

พิธีนี้มีสมาชิกที่รอดชีวิตจากกองทหารของกองพันที่ 1 หน่วยปืนเล็กยาวหลวงแห่งแคนาดาเข้าร่วม 20 นาย โดยพลทหาร Fred Kelly ผู้ดูแล ซึ่งมีสุนัข Newfoundland อยู่ข้าง ๆ รับเหรียญในนามของจ่า Gander เหรียญนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สงครามแคนาดาในออตตาวา นอกจากนี้ เมื่อมีการสร้างกำแพงอนุสรณ์ทหารผ่านศึกฮ่องกงในปี ค.ศ. 1977 ชื่อของจ่า Gander ก็ปรากฏอยู่เคียงข้างรายชื่อของทหารชาวแคนาดาที่เสียชีวิตระหว่างการสู้รบครั้งนั้นด้วย

อนุสาวรีย์ของจ่า Gander และทหารผู้ดูแล ณ เมือง Gander มณฑล Newfoundland

ในปี ค.ศ. 1975 ด้วยการยืนกรานของผู้รอดชีวิตจากการสู้รบ ชื่อของมันก็ปรากฏอยู่บนกำแพงอนุสรณ์สถานทหารผ่านศึกฮ่องกงในเมือง Ottawa มณฑล Ontario แคนาดา และวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 อนุสาวรีย์ของจ่า Gander และทหารผู้ดูแลได้ทำพิธีเปิด ณ อุทยานอนุสรณ์มรดก Gander ในเมือง Gander มณฑล Newfoundland

รูปปั้นจ่า Gander ณ อนุสาวรีย์วีรบุรุษที่ถูกลืม
ภายในอุทยานอนุสรณ์ทหารผ่านศึก Cobequid

อนุสาวรีย์ ‘การเปลี่ยนแปลง’

อนุสาวรีย์ ‘The Broken’

สวนแห่งความโศกเศร้า

สวนแห่งความทรงจำ

สวนแห่งความหวัง


ต้นเมเปิลแดง

‘อุทยานอนุสรณ์ทหารผ่านศึก Cobequid’ อนุสรณ์อุทยานแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงทหารที่เคยรับใช้ และที่ยังคงรับใช้ในการรักษาสันติภาพของกองทัพแคนาดา ประกอบสวน 3 แห่ง ได้แก่

1.) สวนแห่งความโศกเศร้า ซึ่งรำลึกถึงทหารแคนาดาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
2.) สวนแห่งความทรงจำ เตือนผู้มาเยือนถึงความน่าสะพรึงกลัวของสงคราม ความจำเป็นในการจดจำ
3.) สวนแห่งความหวัง ซึ่งเป็นสวนนานาชาติที่มีชีวิตชีวาและความหวังในสันติภาพ

และอนุสาวรีย์หินแกรนิตสีดำแปดแห่งที่มีรายชื่อของทหารแคนาดาหลายร้อยนายตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน ต้นเมเปิลสีแดงรำลึกถึงทหารแคนาดาที่สูญเสียไปในอัฟกานิสถาน

อนุสาวรีย์ ‘การเปลี่ยนแปลง’ เป็นโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความน่าสะพรึงกลัวของสงครามและความหวังในสันติภาพ

อนุสาวรีย์ ‘วีรบุรุษที่ถูกลืม’ ซึ่งอุทิศให้กับสัตว์สงคราม มีชื่อสัตว์ต่าง ๆ หลายร้อยชื่อและผู้ดูแล

อนุสาวรีย์ ‘The Broken’ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับทหารผ่านศึกที่ต้องทนทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และทหารผ่านศึกที่ฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา อุทยานอนุสรณ์แห่งนี้ได้รับการโหวตให้เป็นอุทยานอนุสรณ์ที่ดีที่สุดในแคนาดาในปี ค.ศ. 2013 โดย ‘Communities in Bloom’


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top