Sunday, 11 May 2025
LITE TEAM

States TOON EP.44

คนรวยสมัยนี้

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์

14 มกราคม “วันทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ” (National forest Conservation Day)

ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชน ช่วยรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อมและป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่าจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพป่าไม้ของชาติ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางภาวะแวดล้อม จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลง ทั้งแปลงได้ 
 

‘มากาวา’ หนูฮีโร่ดมกลิ่นกู้ระเบิดในกัมพูชา ลาโลกแล้วอย่างสงบในวัย 8 ปี

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 65 - องค์กรการกุศลอาโปโป (APOPO) เผยว่า “มากาวา” หนูยักษ์แอฟริกา ฮีโร่ผู้ทำหน้าที่ดมกลิ่นตรวจจับกับระเบิดในกัมพูชา ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองด้านความกล้าหาญ เสียชีวิตแล้วในวัย 8 ปี 

อาโปโป ได้ระบุแถลงการณ์ดังนี้

1.) ฮีโร่หนูมากาวาจากเราไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้มันมีสุขภาพแข็งแรงและยังเล่นสนุกตามปกติ แต่เริ่มเชื่องช้าลง งีบหลับมากขึ้น และกินอาหารน้อยกว่าเดิมในช่วงหลังมานี้

2.) มากาวาปฏิบัติภารกิจนาน 5 ปี มันตรวจจับกับระเบิดและวัตถุระเบิดกว่า 100 ชิ้น กลายเป็นฮีโร่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของอาโปโป ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ฝึกหนูยักษ์แอฟริกาให้สามารถดมกลิ่นหากับระเบิดและเชื้อวัณโรคเพื่อช่วยชีวิตผู้คน

3.) การเสียสละของ “มากาวา” ทำให้คนในหลายชุมชนในกัมพูชาสามารถดำเนินชีวิต ทำงาน และเล่นสนุกโดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ" 

13 มกราคม ‘วันการบินแห่งชาติ’ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณรัชกาลที่ 6 ผู้ก่อกำเนิดการบินของไทย

ปี พ.ศ. 2454 ที่ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบินที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ จึงมีคำสั่งให้นายทหาร 3 นาย คือ พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส

ในระหว่างที่นายทหารทั้ง 3 นายเดินทางไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น ทางการก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินเป็นครั้งแรกจากฝรั่งเศส มาจำนวน 7 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินแบบเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง เข้าไว้ประจำการ นอกจากนี้ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ยังได้อุทิศทรัพย์ส่วนตัว ซื้อเครื่องบินแบบเบรเกต์ให้ราชการไว้ใช้งานอีก 1 เครื่อง ด้วยเห็นว่าเครื่องบินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ ทำให้ในยุคแรก ประเทศไทยมีเครื่องบินประจำการ จำนวน 8 เครื่อง

หลังสำเร็จการศึกษานายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย ได้กลับมาทดลองบินครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งนายทหารนักบินทั้ง 3 นาย สามารถขับเครื่องบินและร่อนลงจอดได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางเสียงชื่นชมของผู้ชมจำนวนมากที่มารอชม เนื่องจากในสมัยนั้น การขึ้นบินบนท้องฟ้าถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง ผู้ที่สามารถขับเครื่องบินได้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญ และถือเป็นเกียรติประวัติที่ควรได้รับการสรรเสริญ

ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการการบินไทยได้รับการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ จากนั้น ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรการบิน โดยมีนายทหารนักบินขึ้นแสดงการบินถวายและโปรยกระดาษถวายพระพรชัยมงคล ในการนี้ก็มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ และประชาชนมาร่วมเฝ้าเสด็จและชมการแสดงการบินในครั้งนี้ด้วย

ในอดีตกิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้างอากาศยานใช้ในราชการได้ และหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การบินของไทยก็ได้ช่วยสร้างประโยชน์มากมาย อาทิ เช่น ป้องกันประเทศ (สงครามอินโดจีน ฯลฯ) ช่วยเหลือผู้ป่วย, ช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ (โรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ) และช่วยทำให้เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม การเดินทาง ขนส่งไปรษณีย์ และสินค้าได้รวดเร็วจนพัฒนามาเป็นสายการบินระหว่างประเทศ
 

‘แบทแมน’ ปรากฏตัวครั้งแรกทางโทรทัศน์ ABC เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2509 นำแสดงโดย ‘Adam West’ 

แบทแมน (Batman) เป็นซูเปอร์ฮีโร่สมมติ ปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยดีซีคอมิกส์ ตัวละครสร้างโดยศิลปิน บ็อบ เคน และนักเขียน บิล ฟิงเกอร์ และปรากฏตัวครั้งแรกใน ดีเทกทิฟคอมิกส์ ฉบับที่ 27 ในปี 1939 แต่เดิมตัวละครมีชื่อว่า เดอะ "แบท-แมน" และถูกเรียกด้วยฉายาต่างๆ ได้แก่ มือปราบใต้ผ้าคลุม (Caped Crusader), อัศวินรัตติกาล (Dark Knight) และ ยอดนักสืบของโลก (World's Greatest Detective)

ตัวตนที่แท้จริงของแบทแมนคือ บรูซ เวย์น เศรษฐีเพลย์บอยชาวอเมริกัน ผู้ใจบุญและเป็นเจ้าของธุรกิจ เวย์น เอ็นเทอร์ไพรส์ แบทแมนมีต้นกำเนิดมาจากอุบัติการณ์ในวันเด็กของบรูซ หลังจากดร.โทมัส และมาร์ธา เวย์น พ่อและแม่ของเขาถูกฆาตกรรมต่อหน้า เขาสาบานว่าจะล้างแค้นกับเหล่าอาชญากร ด้วยกระบวนการยุติธรรม บรูซฝึกฝนตนเองทั้งทางร่างกายและสติปัญญา และสร้างสัญลักษณ์ค้างคาวเพื่อต่อสู้กับเหล่าอาชญากร

58 ปี จุดเริ่มต้นการเตือนภัย ‘อันตรายของบุหรี่’ ส่งผลให้เกิดการต่อต้านการสูบบุหรี่ทั่วโลก

11 มกราคม ค.ศ. 1964 รายงานจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขสหรัฐฯ แถลงรายงานเตือนเรื่องบุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นการเตือนภัยจากบุหรี่อย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน

รายงานนี้มาจากชุดทำงานที่ควบคุมดูแลโดยนายแพทย์ ลูเธอร์ เทอร์รี (Luther Leonidas Terry) แห่งกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา รายงานนี้เตือนพิษภัยจากการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพว่า ผลจากการสูบบุหรี่เชื่อมโยงกับสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพองและโรคร้ายอื่นๆ

การออกแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นอันนำไปสู่ความพยายามต่อต้านการสูบบุหรี่ภายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้เกิดการรณรงค์งดสูบบุหรี่ทั่วโลกในปัจจุบัน

10 มกราคม ค.ศ. 1946 การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก ณ กรุงลอนดอน ของ ‘สหประชาชาติ’

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่าง ๆ มากมายของสหประชาชาติ

การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1946 ที่ศาลากลางนครเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน โดยในขณะนั้นมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งสิ้น 51 ประเทศ โดยสมัชชาใหญ่จะมีวาระการประชุมตามที่ประธานที่ประชุมหรือเลขาธิการสหประชาชาติได้เรียกประชุมตามขั้นตอนปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งโดยมากจะเริ่มเปิดวาระการประชุมตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป ซึ่งจะหารือกันในหัวข้อหลักต่างๆ ไปจนถึงราวเดือนธันวาคม และหารือกันในหัวข้อย่อยตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งสิ้นสุดทุกประเด็นตามที่ได้แถลงไว้

นอกจากนี้ อาจมีเปิดวาระการประชุมในกรณีพิเศษหรือกรณีฉุกเฉิน ซึ่งการประชุม, กลไก, อำนาจหน้าที่ และการลงคะแนนของสมัชชาใหญ่นั้น เป็นไปตามมาตรา 5 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ โดยการลงคะแนนของสมัชชาใหญ่เพื่อออกเป็นมติสมัชชาใหญ่ในหัวข้อสำคัญ ข้อแนะนำด้านสันติภาพและความมั่นคง ข้องบประมาณ การเข้าร่วมสหประชาชาติ การระงับหรือเพิกถอนสมาชิกภาพ จะต้องได้รับคะแนนเสียงในที่ประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดในที่ประชุม
 

132 ปี รัชกาลที่ 5 เสด็จประกอบพิธีเปิดอู่เรือหลวง โดยถือเป็น ‘วันสถาปนากรมอู่ทหารเรือ'

9 มกราคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิด อู่เรือหลวง ณ กรมอู่ทหารเรือ เพื่อซ่อมและสร้างเรือรบ เนื่องจากเวลานั้นมีจำนวนเรือหลวงเพิ่มมากขึ้น 

โดยอู่เรือหลวงสร้างขึ้นที่โรงหล่อ ซึ่งก็คือที่ว่าการกรมทหารเรือ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดระฆังโฆสิตาราม อู่หลวงดังกล่าวเป็นแบบอู่ไม้ ต่อมาได้ขยายเป็นอู่คอนกรีตในปี 2447 ต่อมาอู่เรือหลวงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมอู่ทหารเรือ" และใช้มาจนถึงทุกวันนี้

8 มกราคม พ.ศ. 2530 วันประสูติ ‘สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา’

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ประสูติเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

เมื่อแรกประสูติทรงดำรงพระอิสริยยศ ‘หม่อมเจ้า’ มีพระนามว่า ‘หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล’ ต่อมาได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า ‘หม่อมเจ้าจักรกฤษณ์ยาภา มหิดล’ จากนั้นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระราชทานพระนามใหม่ว่า ‘หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล’ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น ‘พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์’ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเป็นทั้งนักกีฬาขี่ม้าและอดีตนักแบดมินตันทีมชาติไทย ในวันที่ 21 กรกฎาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ ‘พันเอกหญิง’ ในฐานะพระอาจารย์หัวหน้าแผนก โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า (อัตราพันเอก)

States TOON EP.43

วัคซีนธรรมชาติ!!

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์…


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top