Sunday, 11 May 2025
LITE TEAM

วันเกิดครบรอบ 71 ปี ‘ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี’ ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของฉายาในตำนาน ‘จอมยุทธขลุ่ย’

‘ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี’ หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันดีในชื่อ ‘อาจารย์ ดร.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี’ เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2494 ที่ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษาจากวิทยาลัยการศึกษาปทุมวันและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ด้วยความที่เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาดนตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและวิทยาลัยครูจันทรเกษม จึงถูกเรียกติดปากว่า อาจารย์ธนิสร์ ได้เข้าร่วมวงคาราบาว ในปี พ.ศ. 2526 พร้อมกับ เทียรี่ เมฆวัฒนา และเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ในการเป็นนักดนตรีแบ็กอัปในห้องอัดของอโซน่า เมื่อคาราบาว โดยแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้มาอัดเสียงที่นี่ และชักชวนเข้าร่วมวง

บทบาทของ อ.ธนิสร์ในวงคาราบาวนั้นนับว่าโดดเด่นมาก โดยจะเป็นผู้เล่นในตำแหน่ง คีย์บอร์ด และการประสานเสียง แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และความสามารถเฉพาะก็คือการเป่าขลุ่ย โดยเฉพาะในเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ที่อยู่ในอัลบั้มประวัติศาสตร์ของวงนั้น อ.ธนิสร์ได้เป่าทั้งเพลง รวมทั้งการส่งเสียงแซวในเนื้อเพลงด้วย จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ที่เรียกสีสันประจำตัวเมื่อมักจะแซวสมาชิกในวงคนอื่นๆ โดยเฉพาะแอ๊ดเมื่อเล่นคอนเสิร์ตเสมอๆ ทำให้อ.ธนิสร์เปรียบเสมือนสีสันของวง

อ.ธนิสร์ได้แยกตัวออกจากวง เมื่อปี พ.ศ. 2531 ภายหลังวงคาราบาวออกอัลบั้มชุดที่ 9 คือ ทับหลัง โดยขัดแย้งในความเห็นกับแอ๊ด นับเป็นสมาชิกคนแรกที่แยกตัวออกไป จากนั้นเทียรี่และเป้าก็แยกออกจากวงคาราบาวตามอ.ธนิสร์ไปด้วย หลังจากนั้นทั้งสามคนได้ร่วมกันออกอัลบั้มชุดแรกของพวกเขาในปี พ.ศ. 2532 ชื่อชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ มีเพลงที่ได้รับความนิยม ซึ่งร้องโดย อ.ธนิสร์และเทียรี่ คือ วันเกิด และ เงินปากผี

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 อ.ธนิสร์ก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของตนเองชื่อชุด ‘ลมไผ่’ มีเพลงที่เป็นที่จดจำ มีเอกลักษณ์ของตนเอง และมีความไพเราะมาก คือ ทานตะวัน ที่นำเนื้อร้องมาจากบทกวีของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากการชมทุ่งทานตะวัน ที่รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อครั้งเดินทางไปพร้อมกับวงคาราบาวในการทัวร์คอนเสิร์ตต่างประเทศ ซึ่งเป็นการร้องประสานเสียงพร้อมเสียงขลุ่ย

วันนี้เมื่อปี 2486 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทาย

โดยผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยพิจารณามาจากศัพท์ “โสตฺถิ” ในภาษาบาลี หรือ “สวัสติ” ในภาษาสันสกฤต โดยได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเห็นชอบให้ใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 โดยมอบให้กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์) ออกข่าวประกาศในวันนี้

คำว่าสวัสดีนั้น จะทำหน้าที่ทั้งการทักทาย และอวยพรไปในคราวเดียวกัน และเมื่อเรากล่าวคำว่าสวัสดี คนไทยเรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงอก มือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่ บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้นมาจากใจของผู้ไหว้

States TOON EP.45

วิวัฒนาการแห่งอาวุธสงคราม

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์…

วันเกิด "ครูเอื้อ สุนทรสนาน" ผู้บุกเบิกและก่อตั้งสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย บุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล

นายเอื้อ สุนทรสนาน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ครูเอื้อ นักร้อง นักแต่งเพลง และเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี สุนทราภรณ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2453 ณ ตำบลโรงหีบ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บิดาชื่อ นายดี สุนทรสนาน มารดาชื่อ นางแส สุนทรสนาน มีนามเดิมว่า "ละออ" ต่อมา บิดาให้นามใหม่เป็น "บุญเอื้อ" และได้มาเปลี่ยนอีกครั้งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น "เอื้อ" มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน ได้แก่

1.) หมื่นไพเราะพจมาน (อาบ สุนทรสนาน) ต่อมาได้รับพระราชนามสกุล สุนทรสนาน จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
2.) นางเอื้อน แสงอนันต์
3.) นายเอื้อ สุนทรสนาน

ครูเอื้อ เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดใหม่ราษฎร์บูรณะในจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อเข้าศึกษาได้เพียงปีเศษ ในปี พ.ศ. 2460 บิดาได้พาเข้ากรุงเทพมหานคร พักอาศัยอยู่กับหมื่นไพเราะพจมาน ผู้เป็นพี่ชาย ซึ่งรับราชการเป็นคนพากย์โขนในกรมมหรสพ แล้วจึงมาเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนวัดระฆังโฆสิตารามจนจบชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นระยะเวลาเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนพรานหลวง ขึ้นที่สวนมิสกวัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอนวิชาสามัญตามปกติ (ภาคเช้า) และวิชาดนตรีทุกประเภท (ภาคบ่าย) ครูเอื้อเลือกเรียนดนตรีฝรั่งตามความถนัดกับครูผู้ฝึกสอนคือ ครูโฉลก เนตตะสุต และอาจารย์ใหญ่คือ อาจารย์พระเจนดุริยางค์

หลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2465 พระเจนดุริยางค์เห็นว่า มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี จึงให้หัดไวโอลิน และแซ็กโซโฟน ทั้งยังให้เปลี่ยนมาเรียนดนตรีเต็มวัน ส่วนวิชาสามัญนั้นให้งดเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้นมา

“สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” เป็นองค์ประธานในพิธีปล่อยเรือหลวงจักรีนฤเบศร

เรือหลวงจักรีนฤเบศร ได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีปล่อยเรือหลวงจักรีนฤเบศรลงน้ำ ณ อู่เรือบาซาน ประเทศสเปน ก่อนจะขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 
 

ก๋วยเตี๋ยวเรือ 50 สตางค์ ถ้วยเล็กจิ๋ว สร้างจุดขาย ให้คนอยากลอง

19 มกราคม 2565  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ร้านเตี๋ยวเรือเหาะ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 185/77 หมู่ 4 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย หรือใกล้กับสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย ศูนย์ราชการ มีลูกค้าเดินทางมาชิมความอร่อย และพิสูจน์ความจริงจำนวนมาก ภายหลังจากที่ นายคุณาวุฒิ จิตต์ใหญ่ ซึ่งใช้ติ๊กต๊อก @knwcy korn โพสต์ก๋วยเตี๋ยว 50 สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวเรือเหาะ เชียงราย จนมีผู้เข้ามาชมล่าสุดกว่า 3.7 ล้าน โดยลูกค้าหลายๆ คนต่างบอกว่า อยากมาชิมดูว่าจะอิ่มหรือไม่

ร้านเตี๋ยวเรือเหาะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหา เปิดมานานแล้วกว่า 1 ปี โดยนางสาว ทัศนา วงเวียน หรือ เอ อายุ 26 ปี เจ้าของร้าน เล่าให้ฟังว่า ก๋วยเตี๋ยว 50 สตางค์ นั้นเกิดมาจากแนวคิดของเพื่อนที่ชื่อมังกร นายคุณาวุฒิ จิตต์ใหญ่ ที่ต้องการให้ทุกคนได้รู้จักร้านก๋วยเตี๋ยวเรือเหาะให้มากขึ้น จึงสร้างเป็นจุดที่น่าสนใจ และประจวบกับในปัจจุบันประสบกับภาวะสินค้าแพงขึ้นราคาหลายอย่าง จึงหาทางช่วยลูกค้าได้ประหยัดเงินด้วย จึงเกิด "ก๋วยเตี๋ยวเรือ 50 สตางค์" ขึ้นมา

วันนี้เมื่อปี 2545 ‘พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร’ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ อาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ออกแบบอาคารโดย เฮลมุต ยาห์น (Helmut Jahn) สถาปนิกชาวอเมริกัน-เยอรมัน
 

‘ได๋ ไดอาน่า’ อึ้งไอเดีย เด็ก 14 จากเชียงราย เสนอ 3 ขั้นตอน แก้ปัญหา ‘หมูแพง’ 

เด็กยังคิดได้!! ชาวเน็ตแห่ชื่นชม เด็ก 14 จากเชียงราย เสนอไอเดีย แก้ปัญหา ‘หมูแพง’ ผ่านรายการ “นินทาประเทศไทย” ชี้ได้รับผลกระทบ ที่บ้านทำแต่ผัดผัก อาหารที่โรงเรียนลดหมูลง

ในรายการ “นินทาประเทศไทย” EP.1 ดำเนินรายการโดย น้าเน็ก พร้อมผู้ร่วมรายการอย่าง หมึก วิโรจน์ ควันธรรม สุดยอดดีเจยุค 70’s, ได๋ ไดอาน่า จงจินตนาการ นักแสดงชื่อดัง และทิดเอก อดีตพระมหาไพรวัลย์ วรวัณฺโณ ร่วมพูดคุยกับผู้ชมทางบ้าน ในประเด็น ‘หมูแพง’ ผ่านทางช่อง NANAKE555

ซึ่งในช่วงหนึ่งของรายการ มี น้องเฟิร์ส วัย 14 ปี จาก จ.เชียงราย โทรเข้ามาร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็น ที่ทำเอาพิธีกรทั้งรายการอึ้งไปตามๆ กันพร้อมใจกันปรบมือชื่นชม โดยเฉพาะ ได๋ ไดอาน่า ถึงกับตะลึงไอเดียเด็ก 14

โดยน้องเฟิร์ส บอกว่า ได้รับผลกระทบจากหมูแพง กับข้าวตอนเช้า ปกติที่บ้านจะมีผัดผักใส่หมู ทุกวันนี้กลายเป็นผัดผักเพียวๆ บางทีอาหารที่โรงเรียนหมูก็ลดลงด้วย เพราะค่าหมูมันแพงขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็ต้องทำใจ เพราะไม่ได้เป็นคนที่จัดการเรื่องนี้โดยตรง อีกอย่างบ้านเป็นโรงสีคงไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้

ในฐานะเด็ก 14 ถ้าสามารถแก้ได้จะแบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะแรก จะชดเชยเกษตรกร ซึ่งตอนนี้ขายหมูแล้วขาดทุน และเร่งส่งเสริมการสร้างรายได้จากหมู ทั้งเรื่องแม่พันธุ์

ระยะกลาง คือ ให้เกษตรกรกู้เงินระยะสั้น เอาไปพัฒนาฟาร์มหมูให้สามารถป้องกันโรคได้ รวมถึงสั่งหมูมาจากต่างประเทศ

ระยะสุดท้าย ส่งเสริมบูรณาการทุกอย่างให้เป็น Smart Farmer ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาจัดการ รวมถึงส่งเสริมคุณภาพหมู คุณภาพสินค้า รวมถึงพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งพาต่างประเทศ

118 ปี กำเนิด ‘โรงเรียนช่างไหม’ โดยกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งพัฒนาเป็น 'มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์' ในปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ แรกเริ่มเป็น ‘โรงเรียนช่างไหม’ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2447 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม องค์อธิบดีกรมช่างไหม ในกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนช่างไหมขึ้น ณ ท้องที่ตำบล ทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร ในบริเวณเดียวกันกับสวนหม่อนและสถานีทดลองเลี้ยงไหม 

โดยจัดการศึกษาหลักสูตร 2 ปี สอนเกี่ยวกับวิชาการ เลี้ยงไหมโดยเฉพาะ ต่อมาใน พ.ศ. 2449 ได้ขยายหลักสูตรเป็น 3 ปี โดยเพิ่มวิชาการเพาะปลูกพืชอื่นๆ เข้าในหลักสูตรตลอดจนได้เริ่มสอนวิชาสัตวแพทย์ด้วยและได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นโรงเรียนวิชาการเพาะปลูกต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการเพาะปลูก 

โดยในปี พ.ศ. 2451 กระทรวงเกษตราธิการ ได้รวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัด 3 โรงเรียนคือ โรงเรียนแผนที่ โรงเรียนกรมคลอง และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เป็นโรงเรียนเดียวกัน เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่างๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่าโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ และย้ายสถานที่ตั้งมารวมกัน ณ พระราชวังสระปทุม พร้อมกับได้ให้เรียบเรียงหลักสูตรใหม่ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาการเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย

พิธีเปิด “อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี” โดยได้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมมิต ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น

15 มกราคม พ.ศ. 2477 พิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ซึ่งข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของ ย่าโม โดยได้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมมิต ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรีคนแรกของประเทศ 

เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) ครั้นเมื่อยังเป็น พระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา

องคมนตรี และรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็ก บรรจุพระอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ที่วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก อีกทั้งยังอยู่ในที่แคบ ไม่สมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วยสัมฤทธิ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปไชย) ประติมากรเลื่องชื่อในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2510 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top