Sunday, 11 May 2025
LITE TEAM

15 ปี ผ่าตัดแฝดสยามรอด ‘คู่แรกของโลก’ ความสำเร็จครั้งใหญ่ของทีมแพทย์ไทย 

เมื่อ 15 ปีก่อน ได้เกิดข่าวใหญ่ที่นับเป็นความภาคภูมิใจคนไทยทั้งประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการแพทย์ไทย ที่สามารถ ‘ผ่าตัดแฝดสยาม’ ที่มีหัวใจและตับติดกับ แยกออกจากกันจนสำเร็จได้เป็นครั้งแรกของโลก!

เชื่อว่าข่าวใหญ่นี้คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้ผ่านจอแก้ว หรือหน้าหนังสือพิมพ์ พร้อมๆ กันเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วการผ่าตัดนั้นได้เกิดขึ้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยฝีมือทีมแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลศิริราช

ในการผ่าตัดครั้งนั้นแพทย์ศิริราช ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามหัวใจติดกัน ซึ่งทารกสองคนนั้นคือ “ด.ญ.ปานตะวัน-ด.ญ.ปานวาด ทิเย็นใจ” วัย 8 เดือน บุตรสาวของ น.ส.อุษา ทิเย็นใจ และนายถาวร วิบุลกุล

โดยเด็กแฝดปานวาดและปานตะวัน เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ซึ่งได้ทำการผ่าคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ น้ำหนักตัวแรกคลอดรวมกันประมาณ 3,570 กรัม แต่มีลักษณะพิเศษ คือ ลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง

ซึ่งบริเวณที่ติดกัน ขนาดกว่า 17 x 8 ซ.ม. โดยทีมแพทย์ได้ทำการตรวจเพื่อสำรวจจุดที่อวัยวะของแฝดเชื่อมต่อกัน ซึ่งพบว่า หัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่ ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้อง ปานวาด ทั้งยังมีเลือดจากปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา

ดังนั้นทีมแพทย์จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อมั่นใจว่าหัวใจของแฝดคู่นี้ ไม่ได้พึ่งพากันและกัน โดยแพทย์ได้ทำการสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบัลลูนเพื่อปิดบริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจ เสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทั้งคู่

เมื่อผลตรวจเป็นไปด้วยดี ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนการผ่าตัดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในขณะนั้นทารกอายุได้ 8 เดือน และมีน้ำหนักตัวรวมกัน 10.9 กิโลกรัม

โดยผศ.นพ.มงคล ได้กล่าวถึงความพิเศษของเคสนี้ ว่าจากการค้นรายงานทางการแพทย์ เด็กแฝดตัวติดกันจะมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดสูง แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตภายหลังคลอด

แต่ในกรณีแฝดที่มีหัวใจติดกัน พบว่าเคยมีการผ่าแยกแต่ ‘เสียชีวิต’ หรือ ‘รอดเพียงคนเดียว’ เท่านั้น ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถผ่าแยกและรอดชีวิตทั้งคู่ 
 

วันนี้เมื่อปี 2531 ‘ไทย - ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ!! 

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด 

ทหารไทยได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ซึ่งไทยต้องเสียเครื่องบินรบแบบเอฟ-5 หนึ่งลำ และโอวี-10 อีกหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตทหารอีกนับร้อยนายในการศึกครั้งนี้

‘เลสเตอร์’ เตรียมเปิดตัวอนุสาวรีย์คุณวิชัย รำลึกถึงอดีตประธานสโมสรอันเป็นที่รัก

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ เตรียมเปิดตัวอนุสาวรีย์ วิชัย ศรีวัฒนประภา อดีตประธานสโมสร โดยมีกำหนดเปิดตัวที่สนาม “คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม” ในเดือนเมษายน เพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตประธานสโมสรอันเป็นที่รัก

ทั้งนี้ อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ได้ให้คำมั่นหลังการจากไปของคุณวิชัย ในปี 2018 จะดำเนินการสร้างอนุสาวรีย์ของเจ้าสัววิชัย เพื่อแสดงความรำลึกถึงท่าน ซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ 138 ปีของเลสเตอร์ ซิตี้

ซูซาน วีแลน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอข่าวนี้กับแฟนบอลของเรา และกับเมืองเลสเตอร์ รวมถึงกับแฟนบอลทั่วโลก เนื่องจาก วิชัย ศรีวัฒนประภา เป็นบุคคลที่สำคัญของสโมสรแห่งนี้ และท่านยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย”

“ความมุ่งมั่นและตั้งใจของ วิชัย ที่มีต่อสโมสรแห่งนี้และเมืองนี้ ทั้งในด้านวิสัยทัศน์ ความเอื้ออาทรและความเชื่อมั่นได้ถูกจารึกไว้ในความทรงจำของทุกคนที่ได้มีโอกาสสัมผัสเรื่องราวจากเรา อนุสาวรีย์นี้จะเป็นสถานที่ที่ให้ผู้คนร่วมระลึกถึง และร่วมเฉลิมฉลองความสำเร็จในช่วงชีวิตของท่าน พร้อมแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นแก่คนรุ่นหลัง”

วิชัย ศรีวัฒนประภา เข้ารับตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ในปี 2010 และได้พาทีมเลื่อนชั้นกลับมาเล่นในพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ ภายใต้การนำทางของท่าน เลสเตอร์ ซิตี้ สร้างความสำเร็จอย่างมหัศจรรย์ให้คนทั่วโลกด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก ในปี 2016 ซึ่งเป็นความสำเร็จด้านกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล

States TOON EP.49

เรื่องกล้วยๆ

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์…
 

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 อนุสรณ์เตือนใจ ‘ไทยมุง’ หลังเกิดเหตุ ‘รถขนแก๊ประเบิด’

ในช่วงเย็นของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ขบวนรถบรรทุก “แก๊ปไฟฟ้า” ประกอบด้วยรถสิบล้อ 1 คัน รถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ 1 คัน มีรถตำรวจทางหลวงนำหน้า เดินทางจากภูเก็ตมุ่งหน้าไปสระบุรีโดยผ่านกรุงเทพฯ

การเดินทางดำเนินไปตามปกติ จนกระทั่งมาถึงบริเวณสามแยกตลาดทุ่งมะพร้าว หน้าสถานีอนามัยทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นโศกนาฏกรรมที่คนไทยจะต้องจดจำไปอีกนาน เพราะเมื่อถึงบริเวณทางโค้ง รถบรรทุกสิบล้อเกิดเสียหลักพลิกคว่ำ แก็ปไฟฟ้านับล้านแท่งซึ่งบรรจุในลังไม้ตกกระจายเกลื่อนเต็มถนนและสองข้างทาง

ชาวบ้านทุ่งมะพร้าวจำนวนกว่า 10 คน ที่เห็นเหตุการณ์ได้กรูเข้ามาเก็บแก็ปไฟฟ้า โดยไม่ยอมฟังคำห้ามปรามของตำรวจว่า ‘อาจเกิดระเบิด’ และได้กลายเป็นเหตุการณ์ชุลมุนในที่สุด

ซึ่งในระหว่างนั้นเอง ก็ยังมีรถที่สัญจรไปมา ต้องมาจอดติดรอให้ยกรถที่พลิกคว่ำขวางถนนออก ซึ่งมีทั้งรถบขส. บรรจุผู้โดยสารเต็มคันรถ รถสองแถว 4-5 คันและจักรยานยนต์อีกกว่า 50 คัน

ซึ่งเหตุการณ์ชุลมุนผ่านกว่าชั่วโมง ตำรวจยังคงควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ มีไทยมุงจำนวนหนึ่งนำเหล็กมางัดตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุแก๊ปไฟฟ้า ทันใดนั้นเองก็เกิดเสียงระเบิด สนั่นหวั่นไหวไปทั่วบริเวณ เปลวเพลิงลุกพรึ่บสลับกับเสียงระเบิดของแก๊ปไฟฟ้าที่ตกเกลื่อนกลาด

โดยรัศมีระเบิดกินพื้นที่ถึง 1 กม. บ้านเรือนโดยรอบ อาคารตึกปะทะกับแรงระเบิดจนพังยับเยิน อีกทั้งแรงระเบิดยังทำให้ถนนเป็นหลุมยักษ์ลึกถึง 4 เมตร ส่งผลให้การสัญจรถูกตัดขาด ซึ่งนอกจากบ้านเรือนที่เสียหายแล้ว แรงระเบิดยังทำให้ไทยมุงตายทันที 60 ศพ ด้วยอนุภาคของระเบิดที่ปะทะเข้าอย่างจังกับร่าง

แม้แต่รถบขส.ที่จอดติดอยู่พังยับ ผู้โดยสารตายคารถจำนวนมาก ไทยมุงที่เพลินกับการเก็บแก๊ปไฟฟ้าถูกแรงระเบิดไฟลุกท่วมตัวล้มตายอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ บางคนไฟลุกท่วมตัววิ่งหนีแต่ยังถือแก๊ปอยู่ในมือจึงเกิดระเบิดเป็นลูกโซ่ มือขาดแขนขาดล้มลงเสียชีวิต

14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535  ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานนาม ‘สถาบันราชภัฏ’

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นวันราชภัฏ เมื่อปี 2535 ในสมัยที่ ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้ขยายขอบเขตการจัดการศึกษา ซึ่งแต่เดิมมีลักษณะเป็นวิทยาลัยวิชาชีพเฉพาะทางให้สามารถจัดการศึกษาให้กว้างขวางขึ้น 

กรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ สรภ.) จึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนาม วิทยาลัยครูใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยครูทุกแห่งว่า “สถาบันราชภัฏ”

ต่อมาในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม “ราชภัฏ” และตราประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร โดยนาม “ราชภัฏ หมายความว่า เป็นคนของพระราชา”

ต้นกำเนิดภาพยนตร์ โดยสองพี่น้อง ‘AUGUSTE & LOUISE LUMIERE’ ประดิษฐ์ ‘เครื่องฉายภาพยนตร์’ เครื่องแรกของโลก

พี่น้องตระกูลลูมิแอร์ "ออกุส" และ "หลุยส์" ชาวฝรั่งเศส (Auguste Lumiere-Louis Lumiere) ได้ออกแบบกล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) ที่เป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ได้ วันนั้นนับเป็นครั้งแรกที่ทั้งคู่ทดลองนำภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกได้จากกล้องซิเนมาโตกราฟ มาฉายเป็นหนังทดลองลงบนจอภาพขนาดใหญ่ได้สำเร็จ และทำให้ความหมายของคำว่าภาพยนตร์สมบูรณ์

โดย กล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) ถูกดัดแปลงมาจากกล้อง "คีเนโตกราฟ" (Kinetograph) ที่ใช้ฟิล์มแผ่นพลาสติกเซลลูลอยด์ และเครื่องฉายภาพ "คีเนโตสโคป" (Kinetoscope) ที่เป็นตู้รับชมภาพยนตร์ด้วยวิธีการส่องดูทีละคน ในลักษณะการถ้ำมอง 

12 กุมภาพันธ์ “วันดาร์วิน” เพื่อระลึกถึง ‘ชาร์ลส์ ดาร์วิน’ ผู้ปฏิวัติความคิดเรื่องจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิต จากความเชื่อเรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้าง สู่ทฤษฎีการวิวัฒนาการสมัยใหม่

วันดาร์วินสากล (International Darwin Day) ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยา ชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และนำเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ รวมไปถึงหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมาก ทั้งทางชีววิทยา และมานุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการ ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา สำหรับผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขาก็คือ On the Origin of Species (กำเนิดสรรพชีวิต) ซึ่งได้รวมทฤษฎีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต และอธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เปลี่ยนมุมมองความคิดเรื่องจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิต จากพระเจ้าเป็นผู้สร้าง มาสู่ทฤษฎีการวิวัฒนาการ

States TOON EP.48

ขอบใจ๊จริงๆ

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์…

 

วันนี้ในอดีต ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’ นัดชุมนุมขับไล่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ลาออกจากตำแหน่ง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548 - 2549 เริ่มต้นจากการประท้วงขับ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากข้อกล่าวหาการบริหารประเทศของรัฐบาลที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และได้ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้นเมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2548 โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้นำ และขยายตัวในวงกว้างไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา

ในการรณรงค์ขับนี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลายๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนให้นายทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักร และตามจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top