Sunday, 11 May 2025
LITE TEAM

เปิด 'เรื่องราว' ผ่าน 'ตัวเลข' แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์

ใกล้จะครบ 1 เดือน กับเหตุการณ์การเสียชีวิตของดาราสาว แตงโม-นิดา พัชรวีระพงษ์ หลังจากค่ำคืนของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ มีข่าวออกมาว่า เธอได้พลัดตกลงแม่น้ำเจ้าพระยา 

ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 1 เดือนเต็ม มีเรื่องราวและข่าวคราวต่างๆ ออกมามากมาย ทั้งความสูญเสีย ตลอดจนคดีความต่างๆ จนกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ ที่ผู้คนในสังคมยังคงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
 

วันนี้เมื่อ 288 ปี ก่อน ตรงกับวันพระราชสมภพ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’

วันพระราชสมภพ ของ ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’ หรือที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักในนาม ‘พระเจ้าตาก’ เรียกได้ว่าเป็นข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งจากข้อถกเถียงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดมากมาย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ได้เสนอไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยใช้การคำนวณย้อนหลังจากวันเสด็จสวรรคตตามที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโหรว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาได้ 48 ปี 15 วัน และตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า ทรงถูกประหารชีวิตในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 และวันพระราชสมภพคือวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277

แต่หากถือตามหลักฐานฝ่ายไทยซึ่งบันทึกว่าเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2326 วันพระราชสมภพก็คือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 ประเด็นนี้ก็สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อมูลแก่หมอสมิธ เพื่อเขียนประวัติศาสตร์ไทยว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระราชสมภพในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2277

อย่างไรก็ดี แม้จะยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ แต่เรื่องราวของอดีตกษัตริย์ไทยพระองค์นี้ ยังเป็นที่สนใจของเราชาวไทยเสมอมา

โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ 

ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่างๆ ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง 

21 มีนาคม  วันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

เชื่อว่าหากพูดถึงชื่อนี้ คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จักเขา ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบัน แน่นอนว่าหากพูดถึงเขาคนนี้ ทุกคนต้องรู้จักเขาในบทบาทของนักการเมืองใหญ่ ทหารยศสูง วันนี้จึงจะพาทุกคนมาเปิดประวัติ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ของ ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ชื่อเล่น ตู่ เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

โดนเขาสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดาซึ่งเป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในสมัยที่ศึกษาอยู่ที่นี่เขาเคยถูกนำเสนอประวัติผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ในฐานะเด็กเรียนดีอีกด้วย จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

‘วันความสุขสากล’ วันแห่งการตระหนักถึงความสุขในชีวิต 

‘วันความสุขสากล’ เชื่อว่าอาจเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างและหากพูดถึงที่มาที่ไปของวันนี้ละก็ ต้องย้อนกลับไป ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่ประชุมสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวัน ‘ความสุขสากล’ หรือ ‘The International Day of Happiness’

แต่หากถามถึงแรงบันดาลใจ ที่ทำให้สหประชาชาติกำหนดวันแห่งความสุขขึ้นมาละก็คงไม่พ้น แนวคิดริเริ่มที่ได้มาจาก ‘ประเทศภูฏาน’ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก’ แถมยังติดอันดับที่ 1 ในการวัดความรุ่งเรืองของชาติและความสำเร็จทางสังคม หรือดัชนีมวลรวมความสุข หรือ Gross National Happiness Index (GNH) โดยที่การวัดค่าดังกล่าวไม่ได้นำการใช้เศรษฐกิจ หรือความร่ำรวยทางวัตถุมาเป็นตัวตัดสินการพัฒนา แต่กลับหันมามองแบบองค์รวมว่าจิตใจที่ดีของประชาชนและชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าวัตถุ

เมื่อเห็นถึงแนวคิดที่ไม่ได้วัดค่าจากความมั่งคั่งทางวัตถุแต่วัดจากความมั่งคั่งความสุขทางใจแบบนี้แล้ว ‘ยูเอ็น’ จึงได้มีมติกำหนด ‘วันความสุขสากล’ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ  2 ข้อ ด้วยกัน คือ เพื่อให้ทุกคนร่วมเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชนรวมถึงแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของมนุษย์ และเพื่อเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันและเข้าถึงนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชนทุกๆ
 

32 ปี สถาปนา ‘คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ สถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ 

นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขณะนั้น จัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531

ในการดำเนินการได้มีการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการผลิตบัณฑิตแพทย์พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2533
 

เมื่อ 84 ปีที่แล้ว ‘สวนสัตว์ดุสิต’ หรือ ‘เขาดินวนา’ เปิดให้บริการวันแรก

หากพูดถึงสวนสัตว์ในยุคสมัยนี้เรียกได้ว่ามีมากมายให้เลือกสรร ซึ่งเป็นสถานที่ยอดฮิต ที่ผู้คนมักเลือกไปพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ อีกด้วย สวนสัตว์สมัยนี้ต่างเต็มไปด้วยสัตว์แปลกใหม่ หรือแม้แต่เพิ่มความตื่นตาตื่นใจมากมาย เพื่อสร้างความโดดเด่น ให้ดึงดูดผู้เข้ามาเยี่ยมชม แต่กว่าที่ประเทศไทยของเราจะมีสวนสัตว์มากมายผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดขนาดนี้ รู้หรือไม่ว่า ‘สวนสัตว์แห่งแรกของไทย คือที่ไหน ?’ 

สวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จักในชื่อว่า ‘สวนสัตว์ดุสิต’ หรือ ‘เขาดินวนา’ โดยสวนสัตว์ดุสิต ตั้งอยู่ในบริเวณของ ‘วังสวนดุสิต’ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อสวนและนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงคลองสามเสน ด้านตะวันออกถึงทางรถไฟ ด้วยเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยพระราชทานชื่อที่ตำบลนี้ว่า ‘สวนดุสิต’

โดยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2481 เทศบาลนครกรุงเทพ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ดัดแปลงบริเวณสวนสัตว์กรุงเทพ เป็นสวนสาธารณะเปิดให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยมิต้องมีค่าเช่า และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นสวนสาธารณะ 

ทั้งยังพระราชทานลูกหลานกวางดาวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากอินโดนีเซีย ที่เมืองบุยเตนซอค (Buitenzurg) เมื่อการเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งหลัง พ.ศ. 2444 (ร.ศ. 120) และสัตว์อื่นอีก 2-3 ชนิด จากสวนกวางบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน มาเลี้ยง และได้โอนกิจการสวนสัตว์ดุสิตของเทศบาลนครกรุงเทพ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของกระทรวงมหาดไทย มาอยู่กับองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์

17 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันมวยไทย’ หรือ ‘วันนักมวย’ เพื่อรำลึกถึงบรมครูมวย ‘นายขนมต้ม’

วันมวยไทย หรือวันนักมวย ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันระลึกเหตุการณ์ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ที่ นายขนมต้ม นักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา ได้ขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้ามังระ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 และสามารถชนะได้ถึงสิบคน ทำให้ศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวของไทยได้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพร้อมกันนี้นายขนมต้มยังได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือน "บิดามวยไทย" อีกด้วย

โดยนายขนมต้ม เกิดที่ตำบล บ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเกิดและ นางอี มีพี่สาวชื่อ เอื้อย แต่หลังการบุกของทัพพม่าได้ทำให้พ่อแม่และพี่สาวถูกพม่าฆ่าตายทั้งหมด มีเพียงแต่นายขนมต้มคนเดียว ที่รอดชีวิตมาได้ จากการถูกจับเป็นเชลยในระหว่างการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และได้ไปอาศัยอยู่ในวัดตั้งแต่เล็ก ก็ได้เรียนรู้วิชาการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยอย่างต่อเนื่อง จนมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ

ดังปรากฏในพงศาวดารว่า “เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ 17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า “นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก”

16 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันไม่เซลฟี่’

ในวันที่โลกมีความเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของผู้คนต่างก็เปลี่ยนตาม สิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตมนุษย์ไม่น้อยนั่นก็คือเทคโนโลยีที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่นำมาซึ่ง สังคมไร้ขอบเขตอย่าง ‘โซเชียลมีเดีย’ ที่เข้ามามีอิทธิพลกับมนุษย์ไม่น้อย

หากมองถึงโลกในปัจจุบันไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือ วัฒนธรรมการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะ กิน เที่ยว ตื่น หรือนอน เรียกได้ว่าบางคนถ่ายทุกช็อตการใช้ชีวิต จนแทบจะกลายเป็นสารคดีอยู่แล้ว ซึ่งภาพเหล่านี้ก็จะถูกเจ้าตัวนำไปโพสต์ เพื่อหวังการตอบกลับจากการกดไลก์ กดแชร์ หรือแม้แต่คอมเมนต์ 

ซึ่งในวันนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 16 มีนาคม จึงเป็นวันสำคัญวันหนึ่งนั่นก็คือ “วันงดเซลฟี่” (No Selfie Day) วันที่มีขึ้นเพื่อเตือนสติมนุษย์โซเชียลทั้งหลายให้หลุดจากสังคมก้มหน้า และหันหน้ามายิ้มกับคนรอบข้างมากกว่ายิ้มให้กล้อง โดยในวันนี้เป็นวันที่ต้องการรณรงค์ให้คนทั่วโลกหยุดถ่ายรูปตัวเองชั่วคราว ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้หญิงใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมง 24 นาทีในแต่ละอาทิตย์เพื่อถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเอง ซึ่งบางครั้งอาจทำให้หมกมุ่นอยู่กับการเซลฟี่มากเกินไป

‘วันสิทธิผู้บริโภคสากล’ วันสำคัญที่มีขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้บริโภคทุกคนตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง

15 มีนาคมของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่มีขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้บริโภคทุกคนตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเคารพและปกป้องสิทธิของผู้บริโภคทุกคนอย่างทั่วถึงทั้งโลก ซึ่งต่างเรียกวันนี้ว่า ‘วันสิทธิผู้บริโภคสากล’ หรือ ‘World Consumer Rights Day’

โดยจุดเริ่มต้นของวันสิทธิผู้บริโภคสากล เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เป็นผู้บัญญัติวันสำคัญสากลนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า Consumer Right Day โดยได้รับการรับรองจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International)

แม้ว่าการเกิดขึ้นครั้งแรกอาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ในวันที่ 15 มีนาคม ปี ค.ศ. 1983 ได้มีการจัดแคมเปญนี้ขึ้นอีกครั้ง โดยจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม และเผยแพร่ความสำคัญของวันสิทธิผู้บริโภคสากลตามสื่อต่างๆ เท่าที่จะทำได้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วันที่ 15 มีนาคมของทุกปี จึงกลายเป็น ‘วันสิทธิผู้บริโภคสากล’

ซึ่งในประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญ กับสิทธิผู้บริโภคไม่แพ้กัน โดยเห็นได้จากร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2559 ก็ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 46 ว่า "สิทธิของผู้บริโภค ย่อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิร่วมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค

องค์กรของผู้บริโภคตามวรรคสองมีสิทธิร่วมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อำนาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
 

14 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับวัน ‘White Day’ ของญี่ปุ่น วันมอบของแทนใจจากฝ่ายชายสู่ฝ่ายหญิง

ถ้าพูดถึงเทศกาลสำคัญที่รายล้อมไปด้วยดอกไม้ และช็อกโกแลต เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงต้องนึกถึงวันวาเลนไทน์ แต่ว่าในประเทศญี่ปุ่นเอง กลับมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่รายล้อมไปด้วยดอกไม้ และช็อกโกแลต ไม่ต่างไปจากวันวาเลนไทน์ นั่นก็คือวัน ‘White Day’ ของชาวญี่ปุ่น

โดยตามธรรมเนียมญี่ปุ่น ในวันวาเลนไทน์มักเป็นวันที่ฝ่ายหญิงมอบของขวัญให้แก่ฝ่ายชาย ดังนั้น อีก 1 เดือนถัดมา ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ก็จะเป็นวันที่ฝ่ายชายจะได้ให้ของขวัญกลับแก่ฝ่ายหญิง ซึ่งดูเป็นเทศกาลแสดงความรักที่แสนน่ารักอีกเทศกาลหนึ่ง

แต่รู้หรือไม่ว่าเทศกาล ‘White Day’ จริง ๆ แล้วมีที่มา ที่ไปอย่างไร?

จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1977 ทางบริษัทขนม อิชิมุระ มันเซโดะ ในจังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการตลาดเพื่อโปรโมทสินค้า ‘มาร์ชเมลโล’ โดยมุ่งเป้าไปที่ ‘กลุ่มเพศชาย’ ซึ่งการตลาดนี้ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นกระแสที่ทำให้เกิด ‘วันมาร์ชเมลโล’ ขึ้น 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top