Tuesday, 29 April 2025
Hard News Team

‘ธณิกานต์’ ยื่นหนังสือ ‘ผอ.เขตดุสิต’ ขอตั้ง ‘ศูนย์กักแยกโควิด-19’ สำหรับกลุ่มเปราะบางและชุมชนแออัด นำร่องเขตบางซื่อ-ดุสิต กทม.

น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส. กทม.เขตบางซื่อ-ดุสิต พรรคพลังประชารัฐ เข้ายื่นหนังสือและร่วมหารือ นายดิชา คงศรี ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน เขตดุสิต และ ผู้อำนวยการเขตดุสิต เสนอตั้งศูนย์กักแยกต้นแบบ ในกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ติดเชื้อหรือผู้มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชุมชนแออัด เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการน้อย ไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล แต่ไม่มีสถานที่กักตัว เพื่อลดการแพร่เชื้อ แบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และสำรองพื้นที่โรงพยาบาลสำหรับผู้ที่จำเป็นจริง ๆ

ทั้งนี้ได้หารือเบื้องต้นกับเครือข่ายด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนา ซึ่งได้เคยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และอาสาสมัครภาคประชาชน สร้างโมเดลศูนย์กักแยกที่ปทุมธานี และ ปัตตานี ประสบความสำเร็จในการลดการแพร่ระบาด จึงเสนอแนวทางการช่วยกันแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ คือ การตั้งศูนย์กักแยก ในกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ติดเชื้อหรือผู้มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชุมชนแออัด เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการน้อย ไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล แต่ไม่มีสถานที่กักตัว เพื่อลดการแพร่เชื้อ แบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และสำรองพื้นที่โรงพยาบาลสำหรับผู้ที่จำเป็นจริง ๆ โดยในพื้นที่เขตดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี มีหน่วยงานทหาร 17 หน่วย ที่สามารถเข้าร่วมโครงการจิตอาสา ได้แก่

1.) กรมสรรพาวุธทหารบก

2.) กรมการอุตสาหกรรมทหาร

3.) กรมทหารทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

4.) กรมยุทธศึกษาทหารบก

5.) กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์

6.) กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2

7.) กรมสวัสดิการทหารบก

8.) กองคัดสรรและพัฒนาบุคลากร กรมยุทธศึกษาทหารบก

9.) กองพันทหารราบที่ 3

10.) กรมทหารราบที่ 1

11.) มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ

12.) กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

13.) กรมช่างอากาศ

14.) กรมการทหารสื่อสาร

15.) พล.ปตอ.เกียกกาย

16.) กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์

17.) กองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์

ในฐานะตัวแทนประชาชน จึงขอนำเสนอหน่วยงาน ศูนย์อำนวยการจิตอาสาฯ พิจารณาและช่วยสนับสนุน ขับเคลื่อน โมเดล "ศูนย์กักแยก" โควิด-19 สำหรับกลุ่มเปราะบางและชุมชนแออัดใน กทม. โดยอาศัยพื้นที่ของหน่วยงานทหารนำร่อง และขอแรงบุคลากรจากหน่วยจิตอาสาฯ อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่รัฐ ในการจัดสรรและดำเนินการ "ศูนย์กักแยก" ต้นแบบ สำหรับพี่น้องประชาชน กลุ่มเปราะบางและชุมชนแออัดใน กทม. เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ลดปริมาณการแพร่ระบาด ลดการสูญเสีย ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้พี่น้องประชาชนชาวไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ให้ทำงานที่บ้าน แต่นัดเพื่อน 'ไปกินข้าว-ช้อปปิ้ง' ผลติดเชื้อทั้งหมด ซ้ำบริษัทงดจ่ายเงิน เพราะผิดข้อตกลง WFH

นักแต่งเพลงเล่าเรื่องรุ่นน้องทำงานบริษัท ให้หยุดทำงานที่บ้าน 2 สัปดาห์ ยินดีจ่ายเต็มจำนวน มีกติกาห้ามออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ปรากฏว่านัดเพื่อนไปกินข้าวห้างฯ สุดท้ายติดโควิดทุกคน ลามถึงลูก เมีย และคนใช้ หาโรงพยาบาลวุ่นวาย แถมบริษัทฯ ไม่จ่ายเงิน เพราะผิดข้อตกลง 1 ใน 4 อาการหนัก

เฟซบุ๊ก Thawichaya Tungsaharangsee ของนายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี หรือ แจ็ค รัสเซล นักแต่งเพลง เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ที่รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นพนักงานบริษัทติดโควิด-19 และทำให้สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงานแย่ลงไปด้วย โดยกล่าวว่า...

เรื่องจริงที่อยากเล่า รุ่นน้องของผมคนหนึ่ง บริษัทให้หยุดทำงานอยู่ที่บ้าน 2 สัปดาห์ และยินดีจะจ่ายค่าทำงานให้เต็มจำนวน โดยมีกติกาว่าห้ามออกไปนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น เช่น เที่ยวเตร่ ดื่ม สังสรรค์ หรือเดินช้อปปิ้ง

แต่หยุดได้แค่สามวัน คนหนึ่งก็นัดกันกับเพื่อนในบริษัท อีก 3 คน รวมเป็นผู้ชาย 4 คน ออกไปกินข้าวที่ห้างฯ และตามด้วยไปเดินซื้อของ ไม่ได้บอกว่าห้างอะไร และกินข้าวกันที่ร้านไหน และก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ไทม์ไลน์ที่สังคมรับรู้มีเพียงเท่านี้

ทั้ง 4 คน แต่งงาน และมีลูกกันหมดแล้ว

ผ่านไป 6-7 วัน คนที่ไป 4 คน เริ่มมีอาการ ทยอยไปตรวจกันคนละที่ พบว่าติดเชื้อกันทุกคน

ที่หนักกว่านั้น ลูก เมีย คนรับใช้ในบ้านของบางคนติดไปด้วย

หาโรงพยาบาล หาที่รักษากันวุ่นวายไปหมด ต่างคนต่างโทษกันไปมา ก็ไม่มีใครรู้ความจริงว่าเพราะอะไร ติดจากอะไร

บริษัทเมื่อทราบเรื่องก็ไม่ขอชดใช้ค่าทำงาน เพราะผิดข้อตกลงที่ว่าต้องหยุดอยู่ที่บ้าน

ตอนนี้ต่างแยกย้ายกันไปรักษาตัวอยู่ และความสัมพันธ์ของแต่ละคนก็เริ่มไม่เหมือนเดิม เพราะโรคที่ตามมาพร้อมโควิด-19 คือ โรคเครียด

วันนี้ 1 ใน 4 อาการหนัก ปอดไม่แข็งแรง หายใจลำบาก ทั้ง ๆ ที่อายุแค่ 30 กลาง ๆ

คนที่เจ็บหนักสุดพูดเสียงอ่อย ๆ ว่า ฝากทุกคน ไม่จำเป็นอย่าออกจากบ้าน ใจแข็ง ๆ เข้าไว้ เพราะถึงวันนี้ก็ไม่รู้ว่าติดจากใคร นี่ขนาดใส่มาสก์ตลอดเวลา ยกเว้นตอนกินข้าวเท่านั้นเอง

เล่าสู่กันฟังครับ


ที่มา: https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4399452703401697&id=100000110337117

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000039824

อัพเดท! 54 จังหวัด ไม่ใส่แมสก์ออกจากบ้านมีโทษ บวกเพิ่ม 2 จังหวัด ‘นครนายก-กาฬสินธุ์’

อัพเดท 54 จังหวัด/พื้นที่ (53 จังหวัด + กทม.) ที่มีบทลงโทษ กรณีประชาชนไม่ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถาน/สถานที่สาธารณะ

 

ภาคกลางและภาคตะวันออก

1.) กาญจนบุรี (เฉพาะตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ)

2.) ปราจีนบุรี

3.) เพชรบุรี

4.) สุพรรณบุรี

5.) อยุธยา

6.) สมุทรสาคร

7.) ลพบุรี

8.) สมุทรปราการ

9.) ประจวบคีรีขันธ์

10.) ชลบุรี

11.) สระบุรี

12.) ตราด

13.) นนทบุรี

14.) นครปฐม

15.) จันทบุรี

16.) กรุงเทพมหานคร

17.) ปทุมธานี

18.) ฉะเชิงเทรา

19.) อ่างทอง

20.) สระแก้ว

21.) นครนายก

 

ภาคใต้

1.) สุราษฎร์ธานี

2.) ตรัง

3.) นครศรีธรรมราช

4.) นราธิวาส

5.) ปัตตานี

6.) พังงา

7.) ภูเก็ต

8.) ระนอง

9.) สตูล

10.) สงขลา

11.) ยะลา

 

ภาคเหนือ

1.) สุโขทัย

2.) ตาก

3.) เพชรบูรณ์

4.) อุตรดิตถ์

5.) ลำพูน

6.) พิษณุโลก

7.) เชียงใหม่

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1.) ยโสธร

2.) หนองคาย

3.) อุบลราชธานี

4.) ชัยภูมิ

5.) มหาสารคาม

6.) มุกดาหาร

7.) ศรีสะเกษ

8.) สุรินทร์

9.) อุดรธานี

10.) เลย

11.) อำนาจเจริญ

12.) บุรีรัมย์

13.) นครพนม

14.) ขอนแก่น

15.) กาฬสินธุ์

 

ศบค.มท.

ข้อมูล ณ 27 เม.ย.64 เวลา 09.55 น.

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาค

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 87.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 85.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาค

สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาจากความต้องการซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อภาคการผลิต รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการบริโภคในประเทศ ประกอบกับผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้าก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ในส่วนของการส่งออก ก็มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ขณะเดียวกัน ความคืบหน้าเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในหลายประเทศ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อาทิ สหรัฐฯ จีนและยุโรป ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ได้มีการสำรวจผู้ประกอบการ 1,351 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศในเดือนมีนาคม 2564 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 51.2 และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ร้อยละ 46.1 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 63.2, อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 52.0 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 33.5 ตามลำดับ

ส่วนดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 94.0 จากระดับ 92.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศ ตลอดจนมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ จะช่วยให้เศรษฐกิจการค้าโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ การผ่อนปรนมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป

นอกเหนือจากนี้ ทางสภาอุตสาหกรรม ยังได้นำข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนฝากไปถึงภาครัฐอีกด้วย ดังนี้...

1.) ขอให้ภาครัฐเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ให้ได้โดยเร็ว โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง

2.) เร่งรัดการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน

3.) สนับสนุนให้เอกชนนำเข้าวัคซีนที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว เพื่อช่วยให้การฉีดวัคซีนเร็วขึ้น

4.) ขอให้ภาครัฐดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

5. เร่งแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs)

6.) เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก


ที่มา: ฝ่ายสื่อสารองค์กร ส.อ.ท.

ด่วน! ทำเนียบรัฐบาล ยกระดับมาตรการป้องกันและหยุดการแพร่ระบาดโควิด -19 ห้ามสื่อ-ช่างภาพเข้าทำเนียบตั้งแต่ 28 เม.ย.-9 พ.ค. 64

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างหนักและทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีผู้เสียชีวิตสูงขึ้นรายวัน อีกทั้งการแพร่ระบาดก็กระจายวงกว้างแม้แต่ในทำเนียบรัฐบาลก็มีการติดเชื้อของโรคแล้ว จนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของทำเนียบรัฐบาลทำงานที่บ้านหรือเวิร์คฟอร์มโฮม (WFH) ร้อยละ 95 ล่าสุด ทำเนียบรัฐบาลได้ยกระดับมาตรการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัส โควิด-19 แล้วโดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนช่างภาพเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ที่ทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-9 พ.ค. 64 โดยจะเปิดให้เข้าปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งในวันที่ 10 พ.ค. หลังจากประเมินสถานการณ์ของโรคแล้ว

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ กองบัญชาการกองทัพบก ก็มีคำสั่งงดให้สื่อมวลชนเข้าปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ เมื่อสันที่ 26 เม.ย.แล้วเช่นกัน

พรรคกล้าเปิดคลับ Idea I do ระดมสมองช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ลดช่องว่าง อุดช่องโหว่ ช่วยประชาชนทุกคน เข้าถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม

หลังจากพรรคกล้าเปิดศูนย์ 'กล้าสู้โควิด' เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา โดยรวมพลังทีม 'ผู้กล้า-กทม.' แบ่งโซนกระจายการทำงานเป็นทีมย่อย รับแจ้งต่อจากทีมศูนย์กลาง เพื่อประสานงานหารถพยาบาล และหาเตียงให้ผู้ป่วยโดยเร็วที่สุดนั้น

ปรากฏว่ามีเคสเข้ามาที่เพจพรรคกล้า และได้ช่วยเหลือสำเร็จแล้ว 28 เคส ซึ่ง นายกรณ์ จาติกวณิช ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Korn Chatikavanij เพื่อแชร์ถึงการช่วยเหลือ โดยย้ำว่า "ติดเชื้อ นอนป่วย ไม่มีใครดูแล" ติดต่อได้ที่ inbox กล่องข้อความ Facebook พรรคกล้า ได้เลย

ล่าสุดพรรคกล้าได้เปิดคลับ 'Idea I do' ในคลับเฮาส์ เพื่อระดมสมองอย่างสร้างสรรค์ แก้ปัญหาให้กับประเทศชาติ ประเดิมกับหัวข้อแรก 'เล่าเคสหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด' มีผู้สนใจเข้าร่วมแชร์ประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆ กว่าพันคน นำโดย นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า พร้อมด้วยคนดังจากหลายวงการ อาทิ นายสาธิต ปิตุเดชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นาย ธีมะ กาญจนไพริน พิธีกรข่าวชื่อดัง, นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์คนพิการไทย, แพทย์จากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน, ศ.พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร จากโรงพยาบาลเด็ก รวมทั้งผู้กล้า ว่าที่ผู้สมัครสส.จากหลายจังหวัดจากพรรคกล้า และจิตอาสาอีกมากมาย

โดยผู้กล้า และจิตอาสา ได้แชร์ประสบการณ์จากการประสานงานช่วยเหลือผู้ป่วยว่า อาการที่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน คือ ผู้สูงอายุ กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว กลุ่มที่บุคลากรทางการแพทย์ กังวลคือ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน หัวใจ และโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มพวกนี้ ไม่ค่อยแสดงอาการ แต่ถ้าแสดงอาการจะวิกฤติ การให้การช่วยเหลือจะใช้ขั้นตอนมากขึ้น หรือหากเป็นหนุ่มสาว มีอาการท้องร่วงถ่ายท้องถี่มาก ถ้าเคสเหล่านี้มา ต้องรีบให้บริการเป็นลำดับแรก ในบางกรณี ติดกันทั้งครอบครัว ตั้งแต่คุณยายอายุ 87 ปี จนถึงหลานตัวเล็ก ๆ เพราะเป็นห้องแถวแคบ ๆ

และที่น่าเห็นใจคือ ผู้ติดเชื้อในบางรายไม่สามารถเข้าถึงโซเชียลเพื่อขอความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้เลย อีกเคสเป็นเด็กไปเที่ยวติดมา 5 คน คนอื่น 4 คนได้เตียงหมดแล้ว แต่ตัวเองยังไม่ได้และพยายามประสานงานทุกทาง มีคนติดต่อโทร.กลับมา 120 สาย แต่ส่วนใหญ่จะถามอาการ และบอกจะช่วยเหลือแต่ทั้งหมดก็เงียบหายไป กระทั่งจิตอาสาพรรคกล้าได้เข้าช่วยเหลือจนได้เตียงเป็นที่เรียบร้อย ในบางรายก็จองผ่านทางไลน์ @sabaideebot ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์จะโกลาหลมาก

ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช กล่าวว่า เราได้เตรียมผู้กล้าไว้ทั่วประเทศ เพื่อเป็นจิตอาสาช่วยเหลือผู้เดือดร้อนที่อยู่ต่างจังหวัดให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และอาจต้องมีการวางระบบเรื่องน้ำดื่ม อาหารสำหรับผู้สูงอายุ สิ่งที่น่ากังวลถ้าต้องอยู่กับสถานการณ์นี้ไปอีกนาน และยอดยังคงวันละสองพันราย เตียงที่จะรองรับผู้ป่วยก็จะวิกฤติขึ้นเรื่อย ๆ และสิ่งที่อดเป็นห่วงไม่ได้คือ ช่วงนี้ประชาชนเดือดร้อนมาก จากสภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวม คนอาจจะยอมติดเชื้อ เพื่อให้ได้เงินประกัน ตามที่ได้มีการโฆษณาจากบริษัทประกันว่า “เจอ จ่าย จบ”

นอกจากนี้ยังขอเรียกร้องไปยัง โรงพยาบาลเอกชน ต้องไปทบทวนบทบาทของตัวเองว่าได้ช่วยเหลือประชาชนบ้างหรือยัง การที่บอกว่าโรงพยาบาลเต็มนั้น เต็มแบบไหน? แล้วน้ำยาหมดนั้น หมดจริง หรือไม่? ทำไมบางคนตรวจได้และบางคนไม่ได้ตรวจ พอสอบถามไปก็บอกว่า ตรวจให้เนื่องจากเป็นลูกค้าเก่า เวลานี้ในภาคส่วนของราชการก็ปรับปรุงระบบขึ้นเรื่อย ๆ เอกชนก็ต้องปรับตัว เพื่อให้ประชาชนผ่านวิกฤตนี้ไปได้ แม้จะดูเหมือนว่าจะไม่เร็วก็ตาม

ขณะที่ จั๊ด ธีมะ ผู้สื่อข่าวชื่อดัง ร่วมแสดงความเห็นว่า ในช่วงสถานการณ์วิกฤติ แม้ประชาชนจะกลัวโควิด-19 แต่อาจจะไม่กลัวเท่าประสิทธิภาพการสื่อสารของรัฐบาลที่ดีพอ ทำให้เขาขาดความเชื่อมั่นและหมดหวัง

เช่นเดียวกับนางสาว วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นักวิชาการด้านนโยบายทางสังคม ที่บอกว่าได้ทำงานด้านสุขภาพจิตก็มีความกังวลว่า ทุกวันนี้คนเครียด วิตก ซึมเศร้ามากขึ้น และเป็นในหลาย ๆ ครอบครัว ที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เนื่องจากไร้ที่พึ่งและทางออกในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากวิกฤตครั้งนี้หนักกว่า “ต้มยำกุ้ง” จึงอยากให้ทุกคนช่วยกันที่จะส่งต่อพลังของคนไทย

ส่วนนายชีวานนท์ นายกสมาคมสหพันธ์คนพิการไทย บอกว่า สิ่งที่หลายคนอาจจะยังมองข้ามคือ ถ้าคนพิการติดจะปฏิบัติอย่างไร รัฐได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับคนกลุ่มนี้หรือไม่ เพราะคนพิการจะต้องมีเตียงเฉพาะ และการดูแลที่แตกต่างไปจากคนปกติ ตอนนี้มีติดไม่กี่รายยังพอรับได้ และหากเกิดวิกฤตจะทำอย่างไร ดังนั้นจึงอยากให้สอบถามไปทาง สายด่วนคนพิการ 1479 อาจจะช่วยอธิบายถึงความต้องการได้

ด้านนายกรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คลับ Idea I Do ทางคลับเฮาส์ จะเป็นช่องทางหนึ่งของพรรคกล้าในการระดมสมองอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีความสนใจในประเทศต่างๆ โดยพรรคกล้า จะใช้ช่องทางนี้ในการเชือมโยงกับประชาชนอย่างเป็นระบบ ระหว่างการทำงานของผู้กล้าในพรรคกับประชาชนต่อไป

พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ถึงสถานการณ์โควิด โดยมีเนื้อหาระบุว่า...

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ถึงสถานการณ์โควิด โดยมีเนื้อหาระบุว่า...

สถานการณ์การระบาดโควิดระลอกที่ 3 ได้สร้างความเสียหายต่อประเทศทั้งทางด้านสาธารณสุข สุขภาพของพี่น้องประชาชน และสภาวะเศรษฐกิจ ลงลึกถึงปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน โดยในระยะที่ผ่านมาการรับมือโควิดของรัฐบาลผิดพลาด ล้มเหลว และไร้ประสิทธิภาพ

ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการดังต่อไปนี้...

1.) ด้านสาธารณสุข

(1.1) รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาผู้ป่วยตกค้างที่รอเข้าสู่ระบบการรักษาหลายร้อยราย และต้องไม่มีเหตุการณ์ผู้ป่วยรอเข้าสู่ระบบจนเสียชีวิตเกิดขึ้นอีกเป็นอันขาด รัฐบาลยังต้องให้ความสำคัญกับปัญหาคอขวดด้าน ICU และอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับรองรับผู้ป่วยหนัก เพื่อป้องกันการเสียชีวิตของประชาชน

(1.2) รัฐบาลต้องบริการจัดการระบบโลจิสติกส์ด้านการตรวจเชื้อ การเข้ารักษาในโรงพยาบาล ปัญหาเตียงเต็ม ให้เป็นระบบ โดยใช้ฐานข้อมูลเดียวในการบริหารจัดการ และรายงานสถานะให้พี่น้องประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

(1.3) รัฐบาลต้องเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ โดยตั้งเป้าหมาย 100 ล้านโดส ภายในปีนี้ โดยเร่งฉีดให้ได้วันละ 400,000 โดสต่อวัน เพื่อให้ครอบคลุม 50-60% ของประชาชนภายในสิ้นปีนี้

(1.4) รัฐบาลต้องรับฟังและแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำงาน ตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง และร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มปริมาณการฉีดวัคซีนให้คนไทย เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาวะวิกฤต

(1.5) การล็อกดาวน์ (หากจำเป็นต้องดำเนินการ) ต้องทำโดยยึดหลักเฉพาะเจาะจง ไม่สร้างภาระกับประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศเกินความจำเป็น

2.) ด้านเศรษฐกิจ

(2.1) รัฐบาลต้องเร่งเยียวยาประชาชนและภาคเอกชน โดยที่เฉพาะที่ได้ผลกระทบจากการระบาดในระลอกที่ 3 โดยเยียวยาเป็นเงินสดจำนวน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน โดยควรใช้ระบบเฉพาะเจาะจง หลีกเลี่ยงการเยียวยาแบบเหวี่ยงแห

(2.2) ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายจริงของงบฟื้นฟูที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายอยู่ราว 300,000 ล้าน ให้มีการใช้จริงและเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน และโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นฯ วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องไม่มีเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

(2.3) รัฐบาลต้องเร่งช่วยเหลือ SMEs ซึ่งเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเยียวยาผู้ประกอบการที่ถูกสั่งปิดโดยภาครัฐ และที่ได้รับผลกระทบ เร่งแก้ไขกลไกในมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องสินเชื่อและการตีโอนทรัพย์ รวมถึงมาตรการเพื่อรักษาระดับการจ้างงาน

(2.4) มาตรการสิทธิพิเศษด้านภาษี เงินคืน ส่วนลด เพื่อดึงกำลังซื้อจาก “คนมีรายได้สูง” โดยระบุเงื่อนไขมุ่งเป้าไปที่การซื้อ “สินค้าคงทน” เครื่องจักร อสังหาริมทรัพย์ และสินค้าชิ้นใหญ่ๆ เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนรอบใหม่ สร้างการจ้างงาน สร้างเงินหมุนในระบบเศรษฐกิจ

(2.5) สนับสนุนการส่งออกในจังหวะที่ประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้น โดยสนับสนุนเรื่องต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร มาตรการด้านภาษีศุลกากร เพื่อทำให้ผู้ประกอบไทยส่งออกในราคาที่แข่งขันได้ เพื่อดึงรายได้เข้าประเทศ รวมถึงการดูแลค่าเงินบาท

วิกฤตโควิด-19 นั้นหนักหนาทั้งด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทยพร้อมทำหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ และพร้อมผนึกกำลังภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อฝ่าฟันและพ้นผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน


ที่มา: https://www.naewna.com/politic/568799

‘ปีกแรงงานก้าวไกล’ บี้รัฐเร่งออกมาตรการเยียวยา 3,000 บาท เยียวยาทุกระดับ ไร้เงื่อนไขพร้อมแนะตั้งหน่วยตรวจเชิงรุกในกลุ่มสถานประกอบการเพื่อป้องกันการระบาดวงกว้าง

สุเทพ อู่อ้น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเเรงงาน สภาผู้แทนราษฎร แสดงความเห็นหลังจากกระทรวงแรงงานได้เปิดหน่วยบริการตรวจโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตน ม.33, ม.39, ม.40 “ที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยง” โดยระบุว่า...

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในครั้งนี้ขยายไปทั่วทุกพื้นที่จนถึงขั้นวิกฤต จึงต้องการให้โรงพยาบาลเเละสำนักงานประกันสังคมในระบบของผู้ประกันตนเปิดให้บริการตรวจเชื้อโควิดตามสิทธิของผู้ประกันตน และขอเเนะนำให้รัฐตั้งหน่วยงานเพื่อตรวจเชื้อไวรัสในกลุ่มสถานประกอบการเพื่อเป็นการป้องกันการเเพร่ระบาดเเละกระจายเป็นวงกว้าง

เพราะการตั้งหน่วยในการตรวจเชื้อไวรัสไม่ว่าจะเป็นสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินเเดง หรือการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่าง ๆ ตามปริมณฑล อาทิ นนทบุรี, สมุทรปราการ, ปทุมธานี ในเวลานี้ล้วนมีความสำคัญ เทียบเท่ากับกรณีที่มีเคยมีการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจในคลัสเตอร์ที่ จ.สมุทรสาคร ที่ตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่อุตสาหกรรมเเละลงพื้นที่สำรวจผู้ติดเชื้อในกลุ่มสถานประกอบการ ซึ่งต่อมาทำให้หลายสถานประกอบการสามารถพบว่ามีผู้ติดเชื้อในสถานประกอบการของตนจึงไม่เคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อ เป็นการใช้มาตรการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาและถือเป็นนโยบายของปีกเเรงงานพรรคก้าวไกลด้วย

นอกจากนี้ สุเทพ ยังเรียกร้องว่ารัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชดเชยเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้ประกันตนหรือพี่น้องประชาชนทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะครั้งนี้เดือดร้อนหนักกว่าเดิม เนื่องจากเป็นผลกระทบสืบเนื่องมาตั้งแต่การระบาดครั้งเเรกที่ตกหล่นคนจำนวนมาก

ส่วนครั้งที่ 2 รัฐมีการออกมาตรการชดเชยเเต่ไม่ได้ให้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยและชดเชยในรูปแบบต่างกัน

แต่สำหรับครั้งนี้การระบาดกระจายวงกว้างมากจึงไม่ควรมีการเเบ่งเเยก พี่น้องประชาชนทุกคนควรได้รับการเยียวยาอย่างถ้วนหน้าเเละเท่าเทียมในส่วนของเงินดำรงชีพ 3,000 บาทต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือน

“นี่เป็นข้อเสนอของปีกเเรงงานพรรคก้าวไกล ที่เคยเสนอไว้ในการระบาดระลอกเเรก โดยมาจากการคำนวณค่าเฉลี่ยความยากจนต่อเดือนที่อยู่ที่ 2,800 บาท หรือต่อวันละ 100 บาท ผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้านหรือผู้ใช้เเรงงานในระบบควรได้รับสิทธินี้อย่างถ้วนหน้าเเละเท่าเทียมและรัฐจะต้องชดเชยอย่างเร่งด่วน เพราะการที่สถานประกอบการเอกชนต้องปฏิบัติงานที่บ้านตามมาตรการของรัฐบาล หรือ Work Form Home ทำให้มีการปรับเเละลดระดับเงินเดือน จึงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อยากให้รัฐควรปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าราชการที่ให้ปฏิบัติงานที่บ้านตามมาตรการของรัฐบาล หรือ Work from Home ได้โดยยังได้รับเงินเท่าเดิมเดือนเต็มจำนวน ซึ่งส่งผลให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เพราะคนทำงานในภาคเอกชน 10 กว่าล้านคนได้รับผลกระทบแน่นอน”

ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมาธิการการเเรงงาน พรรคก้าวไกล ยังกล่าวทิ้งท้ายถึง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเเรงงาน ว่าควรดำเนินการเเละผลักดันเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอย่างเร่งด่วน ทั้งการตั้งคณะทำงานในการตรวจเชื้อไวรัสในพื้นที่สถานประกอบการ รวมถึงขอให้ช่วยผลักดันเรื่องของงบประมาณเยียวยาประชาชนอย่างถ้วนหน้าคนละ 3,000 บาท โดยไม่ควรจะมีเงื่อนไขอะไรทั้งสิ้น

‘สุพัฒนพงษ์’ แจงปมดราม่า ‘ขอคนไทยนำเงินออมใช้จ่ายช่วยดันจีดีพี’ ระบุ สื่อเข้าใจผิด ตัดคำพูดรักชาติต้องใช้เงินเก็บ แจง หมายถึงเอกชนที่มีเงินฝากเพิ่มขึ้น หวังให้เกิดการหมุนเวียน  

เมื่อเวลา 08.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีการหารือถึงมาตรการเยียวยาประชาชนหรือไม่ ว่า การประชุม ครม.ครั้งนี้ยังไม่มีการพูดคุยถึงมาตรการเยียวยา แต่ต้องไปดูว่ากระทรวงการคลังจะเสนออะไรเข้าสู่ที่ประชุม ครม.หรือไม่

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องมีการพูดคุยกับภาคเอกชนในวันที่ 28 เม.ย. ก่อนหรือไม่ นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนให้ทั่วถึง และเป็นเรื่องของ ศบค. ที่เอกชนเสนอตัวมาร่วมทำงานกับรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องมาตรการเศรษฐกิจ 

นายสุพัฒพงษ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นช่วงเวลาที่เราทุกคนตระหนักและทราบดีว่าการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นทั้งโลก ประเทศไทยจึงต้องร่วมมือกัน ซึ่งน่าดีใจที่ภาคเอกชนมีประสบการณ์มากขึ้นและมีการเตรียมพร้อม รวมถึงเห็นความสำคัญของมาตรการที่รัฐบาลออกมา นอกจากนี้ ยังเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชนเพื่อให้เข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น วันนี้มาทำเรื่องนี้กันเสียก่อน เพราะเมื่อปีที่แล้วไม่มีวัคซีนและที่ไหนในโลกไม่มีวัคซีน แต่วันนี้วัคซีนทยอยเข้ามาแล้ว เราต้องช่วยกัน เรามีสิ่งที่ใหม่และเป็นโอกาสที่ทำให้ทั่วถึงและจัดลำดับให้ดี อาจจะทำให้ระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนและเปิดประเทศได้เร็วขึ้น  

นายสุพัฒนพงษ์ ยังชี้แจงกรณีที่มีสื่อบางแห่งนำคำให้สัมภาษณ์ของตนเองไปสื่อสารให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ว่า เมื่อวันที่ 26 เม.ย. มีสื่อนำคำพูดของตนที่ระบุว่า “ขอให้คนรักชาตินำเงินฝากที่เก็บไว้ไปใช้จ่าย” และใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์ ซึ่งเป็นคำพูดเพียงสั้น ๆ และคงเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะตนคิดว่าผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจเข้าใจในสิ่งที่ตนอยากสื่อสาร ทั้งนี้ ตนอยากทำความเข้าใจกับทุกคนว่าทุกประเทศในยามนี้ สิ่งที่จะรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจได้คือการบริโภคในประเทศ และเราพบว่าเงินฝากของภาคเอกชนที่อยู่ในระบบเงินฝากเพิ่มมากขึ้นหลายแสนล้านเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติโควิด-19 เหมือนกัน รัฐบาลจึงตระหนักว่าถ้านำเงินส่วนนี้มาช่วยกันจะเกิดเงินหมุนเวียนในประเทศ ไม่ใช่การบังคับ แต่จะมีมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนที่มีเงินฝากนำเงินที่เกินมาไปใช้ในการอุปโภคบริโภคและลงทุน ตรงนี้จะมีส่วนให้ประเทศไทยเรามีศักยภาพที่ดีขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก็เห็นอกเห็นใจกัน อยากให้สื่อทำความเข้าใจตรงนี้ เพราะการที่เขียนเครื่องหมายอัศเจรีย์หมายความว่ายังไม่เข้าใจ

'ธนกร' วอนฝ่ายค้านพักการเมืองชั่วคราว ผนึกกำลังกันช่วยประชาชนฝ่าวิกฤติโควิด-19 ชี้กรณี 'บิ๊กตู่' ถูกปรับ 6,000 เป็นตัวอย่างที่ดี แม้ไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ 2 มาตรฐาน

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นั่งประชุมที่ทำเนียบโดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยนั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้แจ้งไปยัง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า การกระทำดังกล่าวผิดหรือไม่?

ซึ่งเมื่อทราบว่าการกระทำดังกล่าวฝ่าฝืนประกาศ กทม. เรื่องให้ประชาชนในพื้นที่ กทม.สวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่ออกนอกเคหสถาน หรือสถานที่พำนัก เป็นความผิดตามมาตรา 51 พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ เป็นจำนวนเงิน 6,000-20,000 บาท พล.อ.ประยุทธ์ จึงได้ให้พนักงานสอบสวนมาเปรียบเทียบปรับจำนวน 6,000 บาท เนื่องจากเป็นความผิดครั้งแรก

ดังนั้นประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตามประกาศ หากทำผิดต้องถูกเปรียบเทียบปรับ ไม่มี 2 มาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม ท่านนายกฯ ไม่ได้ตั้งใจ แต่เมื่อทำผิดท่านก็แสดงความรับผิดชอบทันที ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ถูกต้อง

นายธนกร กล่าวอีกว่า มาตรการดังกล่าวของกทม. ก็เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้น ฝากถึงพี่น้องประชาชนด้วย ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัย

ทั้งนี้ ธนกร กล่าวอีกว่า อยากให้ทุกฝ่ายให้กำลังใจกันและกัน โดยเฉพาะการให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ และให้กำลังใจประชาชนทั่วประเทศในการต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 ตนไม่อยากเห็นการออกมาตำหนิกันไปมา โดยเฉพาะพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่ผ่านมาอะไรที่เป็นประโยชน์รัฐบาลก็รับฟัง อยากให้พักการเมืองไว้ก่อน แล้วมาช่วยกัน อยากเห็นความรัก ความสามัคคี ของคนไทยทุกคน ตนเชื่อว่าเราจะผ่านมันไปได้อย่างแน่นอน ขอเพียงทุกคนช่วยกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top