Friday, 9 May 2025
Hard News Team

สินมั่นคง หักดับ ยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด หลังเห็นยอดติดเชื้อพุ่งติดหลักหมื่นคนต่อวัน อ้างเป็นการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ จึงใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ฯ แบบ เจอ จ่าย จบ

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือแจ้งยกเลิกให้ความคุ้มครองประกันภัยโควิด แบบเจอ จ่าย จบ โดยในเอกสารระบุว่า

ด้วยผลสืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง จึงนับเป็นภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุขในระดับที่ท้าทายจนไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์จะพัฒนาไปสู่จุดใด ส่งผลให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ต้องบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ

บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) จึงมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนาแบบ เจอ จ่าย จบ หรือ COVID 2 in 1 ตามแบบและข้อความ หมวดที่ 2 เงื่อนไขทั่วไป และข้อกำหนด ข้อ 2.4.3 และข้อ 2.5.1 โดยให้กรมธรรม์ประกันภัยข้างต้นสิ้นสุดความคุ้มครองทั้งฉบับ เมื่อล่วงพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้เอาประกันได้รับหนังสือเป็นต้นไป และบริษัทฯ จะคืนค่าเบี้ยประกันภัยที่ได้รับมาแล้วแก่ผู้เอาประกันให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับ โดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน

การตัดสินใจดังกล่าว บริษัทฯ ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบและเฝ้าติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความห่วงใยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทบทวนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจ และการกำหนดทางเลือกและแนวทางที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถบริหารทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองและดูแลลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของบริษัทฯ อันได้แก่ ประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุและการเดินทาง และประกันภัยอื่น ๆ ได้อย่างดีที่สุดและยั่งยืนในระยะยาว

สินมั่นคงประกันภัย ขออภัยลูกค้าเป็นอย่างสูงที่ได้แจ้งยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัทประกันวินาศภัยหลายแห่ง ได้ทยอยเลิกขายประกันภัยโควิดแบบ เจอ จ่าย จบ แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ระบาดรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่พบว่า มีบริษัทใดที่ทำการบอกเลิกกรมธรรม์ มีเพียงสินมั่นคงประกันภัย เท่านั้นที่ถอดใจก่อน

ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ประกันภัยโควิด (ณ 15 มิ.ย. 2564) มีเบี้ยประกันรวม 9,070 ล้านบาท คิดจำนวนกรมธรรม์ทั้งหมด 26.41 ล้านกรมธรรม์ ยอดจ่ายเคลมประกันรวมกว่า 1,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2,095% จากสิ้นปี 2563 ที่มียอดเคลมเพียง 77.3 ล้านบาท โดยเฉพาะหลังจากช่วงระบาดโควิดระลอก 3 ยอดจ่ายเคลมเพิ่มขึ้นกว่า 770.26% จากสิ้นเดือน เม.ย. 2564 ที่มียอดเคลมเพียง 195 ล้านบาท โดยตัวเลขยอดเคลมสูงสุดเข้ามาในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2564


ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-700771


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

มิสเตอร์ผ้าไหม-โคราช โต้กลับกรณี ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ อ้าง ‘กรมหม่อนไหม’ มีงบประมาณ 560 ล้าน และตั้งคำถามทำไมต้องให้งบประมาณมากขนาดนี้ ลั่นหม่อนไหม คือ โอกาสของประเทศ ไม่ใช่ภาระของชาติ

จากกรณี ดราม่าวงการผ้าไหมไฟลุก หลังนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า อ้าง ‘กรมหม่อนไหม’ มีงบประมาณ 560 ล้าน และตั้งคำถามทำไมต้องให้งบประมาณมากขนาดนี้ พร้อมระบุว่า ‘คนทำงานตัวจริงโต้กลับ งบถูกตัดทุกปี คนทำงานกัดฟันดูแลเกษตรกร’ ชี้ อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ไม่ใช่ได้แค่ผ้าไหม แต่ยังมีทั้งอาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง แถมช่วยชีวิตคนในห้องผ่าตัดยื้อจากความตาย ตามที่เคยนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

วันนี้ (15 ก.ค.) เพจ ‘ศักดา แสงกันหา มิสเตอร์ผ้าไหม-โคราช’ หรือนายศักดา แสงกันหา กรรมการผู้จัดการ บริษัท มะลิกู๊ด จำกัด ทายาทวัย 30 ปี ของ ‘วันเพ็ญ แสงกันหา’ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรคึมมะอุ-สวนหม่อน จ.นครราชสีมา ได้ออกมาโพสต์ตอบโต้ถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า ‘กรมหม่อนไหม คือ ‘โอกาส’ มิใช่ภาระของชาติ อย่างที่เขาถากถาง จากกรณีมีคนตั้งถามทำร้ายหัวใจพวกเราชาวอีสาน ชาวเหนือผู้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และได้รับโอกาสในการทำงานร่วมกับ ‘กรมหม่อนไหม’ มายาวนานนับชั่วคน กับคำถามที่ว่าทำไมต้องมีกรมหม่อนไหม ไปส่งเสริมปศุสัตว์ประมง ดีกว่ามั้ย คำถามคำนี้ใจร้ายมาก เปี่ยมไปด้วยอคติ ความตื้นเขินทางความคิด และขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อ วิถีชีวิตของคนไทยโดยเฉพาะพี่น้องของผมที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ ผม ‘ศักดา แสงกันหา’ ผมโตมากับต้นหม่อนและตัวไหม ผมกับแม่ เราเป็นเกษตรกร เราปลูกหม่อน เลี้ยงตัวไหม ทอผ้าขาย นี่คือชีวิตของเรา นี่คือวิถีชีวิตของครอบครัวอีกหลายครอบครัว และนี่คือคำดูถูกที่พวกเรา รับไม่ได้!

ผ้าไหมกับวิถีชาวบ้าน ผมเกิดและเติบโตมาในภาคอีสาน ตั้งแต่เล็กจนโตเห็นการใช้ผ้าไหมในวิถีชีวิตต่าง ๆ โดยในสมัยก่อนผ้าไหมไม่ได้เป็นสินค้าในการจำหน่ายซะทีเดียว แต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจะเป็นอาชีพเสริมที่ผู้หญิง จะต้องทำผ้าไหม หรือผ้าฝ้าย เพื่อใช้ในพิธีการต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน ใช้เป็นเครื่องไหว้ต้อนรับผู้ใหญ่ของอีกฝ่าย และตัดชุดซึ่งคิดว่าเป็นชุดที่สวยที่สุดในวันสำคัญของชีวิต ต่อมาหากมีลูกเป็นผู้ชาย ก็จะนำผ้าไหม ให้ลูกใช้ใส่เป็นนาคก่อนบวช หรือ นำไปตัดเป็นผ้าไตรให้ลูกสำหรับใช้บวช นอกจากสองพิธีที่กล่าวมาข้างต้น ในงานมงคลต่าง ๆ ทางศาสนา ก็จะมีผ้าไหมเป็นองค์ประกอบอยู่เสมอ ๆ เพื่อสื่อว่า ‘ผ้าไหมคือผ้าที่ดีที่สุด มงคลที่สุด’ และเมื่อถึงวาระสุดท้าย คุณค่าอันสูงสุดของวิถีชีวิตของพวกเรา ผ้าไหมใช้ห่ออัฐิของบิดามารดาเพื่อเก็บไว้ประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป

ผ้าไหมกับการสร้างรายได้และอาชีพ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในปัจจุบัน ในหมู่บ้านของผมนั้น ผ้าไหมแทบจะกลายเป็นรายได้หลักในยามที่มีวิกฤต โรคระบาดเช่นนี้ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสามารถสร้างรายได้ได้ตั้งแต่ ใบหม่อน ราคารับซื้อในปัจจุบันตอนนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 10-30 บาท โดย 1 ไร่สามารถผลิตใบหม่อนได้เกือบ 5,000 กิโลกรัมในตลอดทั้งปี ต่อมาคือการเลี้ยงไหม

ชาวบ้านเริ่มด้วยการ ซื้อไข่ไหมราคาเป็นธรรมจากกรมหม่อนไหมมาในราคา 15-20 บาท หรือบางครั้งมีการแจกให้ฟรี ไข่ไหมหนึ่งแผ่น (ขนาดเท่ากระดาษเอสี่) สามารถเลี้ยงและสาวเป็นเส้นไหมได้ 4-6 กิโลกรัม เส้นไหมราคาปัจจุบันอยู่ที่ กิโลกรัมละ 1,400-1,600 บาท นอกจากเส้นไหมที่ขายได้แล้วดักแด้ ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตเส้นไหมยังสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้ สามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 80-120 บาท ไข่ไหม 1 แผ่น จะสามารถได้ดักแด้ประมาณ 10-20 กิโลกรัม หลังจากเราได้เส้นไหมมาแล้วเราจะนำเส้นไหมไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การฟอกกาวไหม ย้อมไหม มัดหมี่ และสุดท้ายทอออกมาเป็นผ้าไหม ซึ่งสามารถขายได้ ตั้งแต่ราคาเมตรละ 400 บาทจนถึงราคาเมตรละหลายหมื่นบาทไปจนถึงเมตรละเป็นแสนก็มี

ภูมิปัญหาท้องถิ่น คือโอกาสที่ต้องส่งเสริม เทคนิคที่พูดถึงนั้น ก็หมายถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ที่เป็นสิ่งล้ำค่า สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้า แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระราชินีในรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านได้นำภูมิปัญญาการทอผ้าไหมของไทยไปตัดเป็นชุดฉลองพระองค์และเผยแพร่ให้กับคนทั่วโลกได้รับรู้ถึงความงามของผ้าไหมไทยและภูมิปัญญาในการทอผ้าของไทย การทำงานร่วมกับ กรมหม่อนไหม ‘กรมหม่อนไหม’ ได้มีส่วนสำคัญในการเข้ามาพัฒนาสายพันธุ์ของไหมไทย เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงไหมให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น และยังสนับสนุนส่งเสริมด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพและมาตฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมไปถึงการประสานงานช่วยหาตลาดร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ อีกด้วย

หม่อนไหม คือ โอกาสของประเทศผมเคยอ่านเจอวิสัยทัศน์หนึ่งของผู้บริหารประเทศเมื่อ 10 ปีก่อน ที่พูดถึง ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ผมอยากจะบอกว่า นี่คือโอกาสของประเทศ ไหมไทย คือโอกาสของเกษตร ของคนไทย เราสร้างมูลค่าเพิ่มมากมายได้จากอุตสาหกรรมสิ่งทอ และโดยเฉพาะจากผ้าไหม

เทียบงบประมาณปีล่าสุด กรมหม่อนไหม ได้รับงบ 560 ล้านบาท เพื่อดูแลเรื่องนี้ทั้งระบบ แต่รายได้ของการขายผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ต่างไหมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ยา หรือเครื่องนุ่งห่ม เราสร้างรายได้รวมเข้าประเทศได้หลักหมื่นล้าน ใครที่จะมาเป็นนักการเมือง หรือเป็นผู้บริหารประเทศไทยต่อไป ยิ่งต้องมองเป็น ‘โอกาส’ หาใช่การผลักไสวิถีชีวิตของพวกเราไปเป็นเรื่องตลก หรือมองเป็น ‘ภาระ’ และท่านจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงของพวกเราอีกเลย


ที่มา : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000069183

https://www.facebook.com/112126377810669/posts/112220214467952/?d=n


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“คนรักสถาบันฯ” ร้อง “นายกฯทบทวนคุณสมบัติ “ชัยวุฒิ” นั่งดีอีเอส เหตุ ปล่อยปละเกิด เฟกนิวส์ กระทบความมั่นคง

ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล ตัวแทนกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) กลุ่มภาคีประชาชนปกป้องสถาบัน ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด Bully ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) อาชีวะปกป้องสถาบัน ในนาม พสกนิกรปกป้องสถาบัน นำโดย นางแน่งน้อย อัศวกิตติกร อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.พิษณุโลก พรรครวมพลังประชาชาติไทย(รปช.)ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ตรวจสอบการทำงานของนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ผ่านนายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี

นางแน่งน้อย กล่าวว่า สภาวะของประเทศไทยเวลานี้ เต็มไปด้วยความขัดแย้งของผู้คนในสังคม การต่อสู้กันจะอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ทุกแพลตฟอร์ม วิธีการที่นิยมนำมาใช้เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามคือการสร้างข่าวปลอม หรือเฟกนิวส์ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และมีอำนาจโดยตรงในการเข้ามาจัดการกับข่าวปลอมคือ กระทรวงดีอีเอส แต่สิ่งที่เกิดขึ้น และประชาชนเห็นชัดคือ กระทรวงดีอีเอส ไม่สามารถจะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ข่าวปลอมยังท่วมประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง และไม่สามารถนำคนที่ปล่อยข่าวปลอมมาลงโทยเอาผิดทางกฎหมายได้ โดยเฉพาะข่าวปลอมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้น ประชาชนภาคสังคม จึงขอให้พล.อ.ประยุทธ์ ตรวจสอบการทำงานของนายชัยวุฒิ ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2564 จนถึงปัจจุบันว่ามีความสามารถ และมีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ที่จะมาเป็นรัฐมนตรี เพื่อกำกับดูแลกระทรวงดีอีเอส ซึ่งถือเป็นกระทรวงหลักสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ

ด้านนายเสกสกล กล่าวว่า ขอชื่นชมทั้งองค์กรที่มาในวันนี้ที่มาช่วยกันรวมพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อยู่คู่สังคมไทยตลอดตราบนานเท่านาน ตนขอชื่นชมจากใจจริงเพราะก็เป็นคนหนึ่งที่พร้อมร่วมมือปกป้องสถาบันฯ และไม่ต้องการที่จะให้ใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาคิดไม่ดีต่อสถาบันฯ ทั้งการจาบจ้วงก้าวล่วงหรือทำผิดกฎหมายมาตรา 112 

พล.อ.ประวิตร  ประธานมอบหนังสืออนุญาต ใช้ที่ราชพัสดุ เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข-การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-การท่องเที่ยว  มุ่งพัฒนาท้องถิ่น  ยกระดับคุณภาพชีวิต ปชช.  ลดผลกระทบจากโควิด-19 

พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษกประจำรอง นรม. เปิดเผยว่า วันนี้เวลา10.00น.  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.ได้เป็นประธานในพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุ เพื่อสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.กค. และ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.กค. เข้าร่วมในพิธี  ณ  ห้องประชุมวายุภักษ์ 4  กระทรวงการคลัง

พล.อ.ประวิตร ได้เป็นประธาน และทำพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุ แก่หัวหน้าหน่วยงาน ภายใต้มาตรการ ป้องกันโควิด-19  เพื่อสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 71 รายการ รวมเนื้อที่ 561 ไร่เศษ โดยเป็นการสนับสนุนที่ดินให้กับหน่วยงานภาครัฐ ที่มีภารกิจ ด้านสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนาพื้นที่เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ โควิด-19 ด้วย

พล.อ.ประวิตร  ยังได้กล่าวขอบคุณ กระทรวงการคลัง และกรมธนารักษ์ ที่ได้ดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน ผู้ขอใช้ที่ราชพัสดุ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของ พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2562 ในการใช้ที่ราชพัสดุ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด พร้อมกำชับ ส่วนราชการและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งขับเคลื่อนภารกิจให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์ ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของพี่น้องประชาชน ต่อไป

“นิพนธ์” ร่วม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใย สู้ภัยโควิด-19” เติมของอุปโภค-บริโภคใส่ “ตู้ปันสุข” หน้ากระทรวง มท. ช่วยเหลือประชาชน พร้อมเชิญชวนผู้มีจิตกุศลร่วมบริจาคสิ่งของช่วยเพื่อนร่วมชาติยามวิกฤติ

ที่บริเวณหน้ากระทรวงมหาดไทย  นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย พร้อมข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ อส.ร่วมกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใย สู้ภัยโควิด-19”  เพื่อนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมาเติมเต็มที่ตู้ปันสุข เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ประชาชนโดยรอบกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับผลกระทบเป็นการคลายความทุกข์ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน และประชาชนที่เดือดร้อน เชิญเข้ามาหยิบสิ่งของนำไปใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนกันได้ทุกวัน และสำหรับผู้มีจิตกุศลและต้องการแบ่งปันสามารถนำสิ่งของไปเติมได้ในตู้ปันสุขทุกแห่ง เพื่อเป็นการแบ่งปันและพร้อมที่จะก้าวผ่านช่วงระยะเวลายากลำบากไปด้วยกัน 

สำหรับกิจกรรม "มหาดไทยปันสุข ส่งต่อความห่วงใย สู้ภัยโควิด 19" กรมการปกครอง โดยกระทรวงมหาดไทย จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมตามปรัชญากระทรวงมหาดไทยที่ว่า "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข"ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์โควิด-19  โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้จัดเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งมีประชาชน ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะอย่างแท็กซี่  และวินมอเตอร์ไซค์ มารอรับสิ่งของอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)ให้เป็นไปตามแนวทางมาตรการป้องกันโรค และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A โดยเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด

“องอาจ” เสนอนายกฯ แจกชุดตรวจเชื้อโควิดด้วยตนเองให้ประชาชนฟรี

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค และประธาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการตรวจเชื้อโควิด-19 ว่า นับตั้งแต่โควิดแพร่ระบาดรอบ 3 ที่กระจายตัวมากขึ้นทำให้มีประชาชนจำนวนมากสนใจตรวจโควิดมากขึ้น ถึงขนาดไปนอนรอคิวตามจุดตรวจต่างๆ จนภาครัฐต้องประกาศปลดล็อคให้โรงพยาบาลเอกชน และห้องแล็บเอกชนให้ตรวจเชื้อโควิดได้ โดยไม่บังคับให้ต้องรับผู้ติดเชื้อรักษาตัว รวมทั้งอนุญาตให้ประชาชนซื้อ Rapid Antigen Test มาตรวจเชื้อโควิดด้วยตัวเองได้เหมือนที่ทำกันในหลายประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ดีจากการติดตามการจัดตรวจหาเชื้อโควิดฟรีของหน่วยงานภาครัฐ ตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่ามีประชาชนจำนวนมากยังมีความต้องการตรวจเชื้อโควิดฟรีตามที่ทางราชการกำหนด เพราะถ้าไปใช้บริการตรวจตามโรงพยาบาลก็เสียค่าใช้จ่ายหลักพันบาทขึ้นไป หรือถ้าจะซื้อชุดตรวจมาตรวจหาเชื้อด้วยตนเองก็ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับคนหาเช้ากินค่ำหรือผู้มีรายได้น้อยเงินทุกบาททุกสตางค์ล้วนมีความหมาย จึงพบว่าประชาชนส่วนมากต่างมุ่งไปตรวจฟรีตามที่ทางราชการกำหนด

จากการตรวจสอบตามจุดตรวจต่างๆ ของทางราชการ พบว่ามีการบริหารจัดการดีขึ้น ประชาชนมารอข้ามคืนน้อยลง โดยใช้ระบบบัตรคิวซึ่งมีทั้งแจกบัตรคิววันต่อวัน หรือแจกบัตรคิวล่วงหน้า 1 วัน โดยเริ่มตั้งแต่ 6.00 น. หรือ 7.00 น. บ้าง แต่ก็มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ตรวจเพราะคิวเต็มต้องไปเสาะแสวงหาจุดตรวจอื่นๆ 

การที่ประชาชนไปรอคิวตรวจฟรีตามที่ต่างๆ แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการช่วยกันยับยั้งการแพร่ระบาด เพราะถ้าพบว่าตนเองติดเชื้อก็จะได้เข้าสู่กระบวนการของการรักษาตัวตามสถานพยาบาล หรือแยกกักตัวที่บ้าน เพื่อไม่นำเชื้อไปแพร่ให้บุคคลอื่นต่อไป ภาครัฐจึงควรจัดให้มีการเข้าถึงบริการสาธารณสุขดังนี้ 

1. จัดให้มีการตรวจเชื้อโควิดเพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่คิดว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยงใน กทม. ที่มีการระบาดสูง
2. อำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนและอุปสรรคที่ทำให้การเข้าถึงการตรวจเชื้อโควิดทุกกรณี
3. รัฐควรจัดหาชุดตรวจเชื้อโควิดด้วยตนเองฟรีให้ประชาชนส่งตรงถึงบ้าน โดยกำหนดช่องทางการขอรับชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองฟรีที่สะดวกที่สุด

จึงขอฝากข้อเสนอทั้ง 3 ข้อนี้ให้นายกรัฐมนตรี นำไปพิจารณาใน ศบค. เพื่อกำหนดมาตรการและวิธีการปฏิบัติเพื่อจะได้ช่วยกันทำให้การแพร่ระบาดของโควิดทุเลาเบาบางลง เมื่อสามารถขจัดต้นตอของการติดเชื้อของบุคคลต่างๆ ลงได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาวิกฤติโควิดในที่สุด 

“สิระ” อัด ”โทนี่” แสร้งสงสารคนไทย แต่เศษเนื้อ-เศษสตางค์ไม่เคยกระเด็นมาช่วย ชี้ คนเสื้อแดงควรตาสว่างสักที เผย ยินดีหากกลับมาประตูหน้า จะได้จองเมรุไว้รอเผา

นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร หรือ โทนี่ วู้ดซัม ร่วมเสวนาผ่านคลับเฮาส์ โดยระบุให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โทรศัพท์หา เพื่อขอคำปรึกษาและพร้อมกลับประเทศไทย ว่า ตนได้เห็นกระแสของบรรดาลิ่วล้อโทนาฟต้อนรับให้กลับประเทศมาหลายวัน แต่ช่วงที่ผ่านมา ตนมีภารกิจในการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 เยอะจึงไม่มีเวลาจะออกมาพูดอะไรถึงนายทักษิณ แต่วันนี้เห็นแล้วก็รู้สึกสงสารบรรดาคนเสื้อแดงและพวกที่พลีชีพให้นายทั้งหลาย เวลานี้นายทักษิณไม่สร้างประโยชน์ใดๆ ให้กับประเทศ แบบที่เคยทำในอดีตเป็นอย่างไรก็ยังคงเหมือนเดิม ดีแต่พูดสร้างค่าให้ตัวเอง และด้อยค่ารัฐบาลและประเทศไทย ตนคิดว่าบรรดาคนรักทักษิณควรที่จะหูตาสว่างได้บ้างแล้ว

“ทุกคนลองไปดูชีวิตประจำวันของมิจฉาชีพหนีคดีคนนี้ดูว่า เขาทำอะไรบ้าง เวลามาออกคลับเห่าก็แสร้งทำว่าสงสารประเทศไทย รักประชาชน แต่ภาพที่เห็นคือการใช้เงินที่โกงกินภาษีประชาชนกินเที่ยวที่ต่างประเทศอย่างสนุกสนาน มีความสุขกับลูกหลาน ถ้านายทักษิณคิดจะช่วยประเทศจริง วันนี้ไม่ต้องรอให้กลับมาเหยียบแผ่นดินไทยก็ทำได้ การบริจาคเงินผ่านบรรดา ส.ส.ในพรรคของคุณให้มาช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ก็สามารถทำได้ แต่วันนี้แค่ดีแต่พูด แต่ไม่เคยลงมือทำ งานถนัดของคนนี้คือสร้างวาทกรรมสวยหรูหลอกคนเสื้อแดงไปวันๆ เศษเนื้อ เศษสตางค์สักแดงเคยกระเด็นมาเผื่อแผ่ คนเสื้อแดงทั้งคนในคุกและนอกคุกหรือไม่ วันนี้บุคลากรทางการแพทย์ และคนไทยทุกคนกำลังร่วมมือกันเพื่อให้ผ่านวิกฤต นายทักษิณช่วยหุบปากบ้าง เอาเวลาไปถลุงเงินที่โกงประเทศ ใช้นั่งเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวพาลูกหลานไปท่องเที่ยวสวิตเถอะ”นายสิระ กล่าว 

นายสิระ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยไม่เคยกีดกันให้มิจฉาชีพคนนี้กลับมาที่แผ่นดินไทย อย่าออกมาพร่ำให้ประเทศชาติเสียหายไปมากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมากว่า 10 ปี คนไทยแตกแยกก็เพราะนายทักษิณ ถ้าจะกลับก็กล้าๆ หน่อย มาอย่างเปิดเผย อย่าหนีเหมือนตอนออกไปเป็นสัมภเวสีนอกประเทศ ส่วนตัวตนอยากให้กลับมาด้วยซ้ำ ถ้าหากได้กลับมาทางประตูหน้า ตนจะได้ทำบุญจองเมรุรอไว้พร้อมเผา 

จีนแผ่นดินใหญ่ เผยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วมากกว่า 1.4 พันล้านโดส

Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ระบุว่า วันที่ 13 กรกฎาคม จีนแผ่นดินใหญ่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้วทั้งหมด 1,402,019,000 โดส ซึ่งครอบคลุมครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศ โดยมีวัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนหลักในการฉีดให้แก่ประชาชนชาวจีน

ประสบการณ์ในการต่อสู้กับโควิด-19 ของจีนแสดงให้เห็นว่า วัคซีนจีนรวมถึงซิโนแวคมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่เมืองกว่างโจวและพื้นที่อื่น ๆ

จากผลการวิจัยสถานการณ์โควิด-19 ในเมืองกว่างโจวของนาย จงหนานซาน ผู้เชี่ยวชาญจีน แสดงให้เห็นว่า สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการเจ็บป่วย 60% มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคปอดอักเสบ 80% และไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มีอาการรุนแรงหรือป่วยหนัก


ที่มา : https://www.facebook.com/846555798724560/posts/4202923013087805/


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

นายกฯ สั่ง เร่งช่วยลูกหนี้พื้นที่ล็อกดาวน์ ให้ คลัง ถก แบงค์ชาติ หามาตรการผ่อนปรนด่วน

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการในที่ประชุม ครม. เมื่อ 13 ก.ค. 64 ให้รีบหารือกันโดยเร่งด่วน เพื่อหามาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย หรือการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า ทั้งที่เป็นประชาชนและผู้ประกอบการอย่างจริงจัง รวมถึงช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ 

นายธนกร กล่าวว่า ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ จึงร่วมกันออกออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน ให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั่วประเทศ ซึ่งได้แก่ ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด และนอกพื้นที่ควบคุมแต่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 หรือเดือนสิงหาคมเป็นต้นไปแล้วแต่กรณี

นายธนกร กล่าวว่า สำหรับลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้แต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้ โดยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยภายใต้มาตรการนี้ เป็นเพียงการเลื่อนการชำระออกไป ลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพและสามารถชำระหนี้ได้ ควรชำระหนี้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนี้ในอนาคตเพิ่มขึ้นสูงเกินจำเป็น 

นายธนกร กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือทั้งประชาชนและผู้ประกอบการหลายๆ มาตรการ โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เช่น สินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย ให้ผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจท่องเที่ยวและ Supply Chain สามารถกู้เงินกับธนาคารออมสิน วงเงินต่อรายอยู่ที่ 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ซึ่งตอนนี้ อนุมัติเงินกู้ไปแล้ว จำนวน 2,885 ราย วงเงินรวม 1,218 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวว่า สินเชื่ออิ่มใจ ธนาคารออมสินให้กู้กับผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม วงเงินต่อราย อยู่ที่ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก และสินเชื่อสำหรับ SMEs ขนาดย่อมและขนาดกลาง  ได้แก่ สินเชื่อ Extra cash โดย SME Bank ให้กู้กับ SMEs ขนาดย่อมในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น วงเงินรายละ 3 ล้านบาท ปัจจุบันอนุมัติแล้ว 4,283 ราย วงเงินรวม 7,335 ล้านบาท และสินเชื่อมีที่มีเงิน นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป ได้แก่ มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู

“โฆษกศบศ.” แจง “บิ๊กตู่” สั่งเร่งช่วยลูกหนี้ 10 จังหวัดล็อกดาวน์ เผยคลังถกแบงค์ชาติเตรียมพักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยผู้ประกอบการ-แรงงาน ที่ปิดกิจการจากมาตรการของรัฐ ส่วนลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการแต่ได้รับผลกระทบ เตรียมพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็น

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการในที่ประชุม ครม. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (13 ก.ค. 64) ให้รีบหารือกันโดยเร่งด่วน เพื่อหามาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย หรือการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า ทั้งที่เป็นประชาชนและผู้ประกอบการอย่างจริงจัง รวมถึงช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ จึงร่วมกันออกออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน ให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั่วประเทศ ซึ่งได้แก่ ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด และนอกพื้นที่ควบคุมแต่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 หรือเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แล้วแต่กรณี

นายธนกร กล่าวต่อว่า สำหรับลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้แต่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้ อย่างไรก็ตาม การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยภายใต้มาตรการนี้ เป็นเพียงการเลื่อนการชำระออกไป ลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพและสามารถชำระหนี้ได้ ควรชำระหนี้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนี้ในอนาคตเพิ่มขึ้นสูงเกินจำเป็น 

นายธนกร กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือทั้งประชาชนและผู้ประกอบการหลายๆ มาตรการ โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เช่น สินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย ให้ผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจท่องเที่ยวและ Supply Chain สามารถกู้เงินกับธนาคารออมสิน วงเงินต่อรายอยู่ที่ 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ซึ่งตอนนี้ อนุมัติเงินกู้ไปแล้ว จำนวน 2,885 ราย วงเงินรวม 1,218 ล้านบาท
สินเชื่ออิ่มใจ ธนาคารออมสินให้กู้กับผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม วงเงินต่อราย อยู่ที่ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก และสินเชื่อสำหรับ SMEs ขนาดย่อมและขนาดกลาง  ได้แก่ สินเชื่อ Extra cash โดย SME Bank ให้กู้กับ SMEs ขนาดย่อมในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น วงเงินรายละ 3 ล้านบาท ปัจจุบันอนุมัติแล้ว 4,283 ราย วงเงินรวม 7,335 ล้านบาท และสินเชื่อมีที่มีเงิน นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป ได้แก่ มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูอีกด้วย 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top