Friday, 24 January 2025
Hard News Team

พิธา ย้ำ พร้อมนำทัพก้าวไกล เดินหน้าจัดสรรงบเพื่อประชาชน ชี้ รัฐต้องเห็นหัวประชาชน แนะ รัฐ วางอิฐก้อนเเรกใหม่ให้เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง พร้อมรับเรื่องร้อง เครือข่าย We Fair เรียกร้อง กมธ.งบ 65 แปรญัตติเอาสวัสดิการปชช.เป็นที่ตั้ง

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ที่อาคารรัฐสภา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 พร้อมด้วย วรรณวิภา ไม้สน กรรมาธิการฯ โดยมีธีรัตน์ สำเร็จวานิชย์ กรรมาธิการสัดส่วนพรรคเพื่อไทย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง กรรมาธิการสัดส่วนพรรคประชาชาติ ร่วมรับหนังสือจาก นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (เครือข่าย We Fair) ที่ขอเรียกร้องคณะกรรมาธิการงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร (พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชาติ) เพื่อให้มีการแปรญัตติงบประมาณ โดยจัดลำดับความสำคัญในนโยบายสวัสดิการสังคม  มากกว่านโยบายที่ไม่ใช่ลำดับความสำคัญเช่น การจัดซื้ออาวุธ

พิธา กล่าวว่า ในวันนี้เป็นการทำงานวันเเรกของตนในฐานะกรรมธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ในส่วนของพรรคร่วมฝ่ายค้าน เราขอยืนยันว่า งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรมาไม่สอดคล้องกับวิกฤติบ้านเมือง เป็นงบประมาณที่ ‘ไร้สามัญสำนึก’ เป็นการจัดงบประมาณระหว่างอภิสิทธิชนกับประชาชนในประเทศที่เราอยู่ในภาวะที่ดิ่งเหว เป็นการสะท้อนว่าประเทศไทย หรือสังคมไทยเป็นสังคมแบบไหน โดยเรามีหน้าปกป้องสวัสดิการภาษีพี่น้องประชาชนใน 3 ประเด็น  

1.) รีดไขมัน เรารีดเป็นกองกลางให้มากที่สุด เเละกระจายให้คืนให้หน่วยงานสำคัญงบประมาณของอภิสิทธิ์ชนของกำลังพลที่มันไม่สำคัญที่ประชาชนต้องการวัคซีนไม่ได้ต้องการกระสุน   

2.) กระจายคืนหน่วยงานที่สำคัญของประชาชน อาทิ บัตรทอง สปสช เเละกองทุนเสมอภาคทางการศึกษา ที่โดนตัดลดลงในงบปีนี้ ผมทนไม่ได้ในฐานะพ่อคนที่ลูกเล็ก แต่งบด้านการศึกษาถูกตัดออกในช่วงวิกฤติโควิดเช่นนี้ เเละ

3.) เราต้องเจรจาหารือกับทางรัฐบาลถึงความสำคัญของรัฐสวัสดิการที่จะต้องเกิดขึ้นในประเทศ มีความเสมอภาค ที่ตนได้เคยอภิปรายไปเกี่ยวกับพลวัตน์ของรัฐสวัสดิการเบี้ยคนชราถ้วนหน้า ถ้วนประเทศ ให้รัฐบาลต้องคิดใหม่ ถึงผลประโยชน์ของที่ประเทศนี้ในการดูเเลโอบอุ้มคนที่เขาเปราะบสง ที่มีความสำคัญของพลวัตทางด้านเศรษฐกิจ เเละสิทธิมนุษยชนจะต้องกลับมา รัฐบาลต้องคำนึงผลประโยขน์ของประเทศ คนที่เป็นคนวันกลางคนอย่างผมจะต้องมีกำลังชาในการทำงาน เมื่อประเทศไทยได้ฟื้นฟูใหม่ โดยการวางอิฐก้อนเเรกใหม่ให้เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ของอภิสิทธิ์ชนที่จัดสรรมา 

พิธา กล่าวต่อไปว่า หลายท่านยังคงไม่ทราบว่าตอนเด็กตนโตมากับคนทุพลภาพ อยู่ในประเทศที่มีความเท่าเทียมมาก ผมเห็นถึงความเเตกต่างระหว่างประเทศเขากับประเทศไทย ที่ประเทศของเขามีรัฐสวัสดิการที่ดูเเลอย่างเต็มที่ เเละเขาคิดกับประชาชนเขาในเเง่สิทธิความเท่าเป็นสังคมสงเคราะห์ โดยตนจะเอาประสบการณ์ส่วนตัวมาผลักดันให้การเเก้ไขรัฐสวัสดิการเกิดขึ้นในประเทศเรา เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน แก้ไขงบประมาณในปีนี้ปีเเรกที่เราจะวางรากฐานให้รัฐสวัสดิการในประเทศไทย 

ด้านธนพร วิจัน เครือข่ายเเรงงานเพื่อสิทธิประชาชน กล่าวว่า วันนี้เป็นเเรกของการตั้งกมธ.งบประมาณ 65 ทางพวกเราเครือข่าย we fair ได้ติดตามการจัดทำงบประมาณที่ไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากขึ้น เราจึงมายื่นหนังต่อคณะกรรมาธิการ ให้มีการพูดคุยในการตัดงบประมาณที่ไม่จำเป็น ไปเพิ่มในส่วนรัฐสวัสดิการ ยื่นข้อเรียกร้องให้มีการพิจารณาใหม่ เพื่อจัดสรรงบประมาณเห็นแก่ประโยชน์ประชาชน

ขณะที่ นิติรัฐ ตัวแทนกลุ่ม We fair กล่าวว่า ขอบคุณ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในร่างพระราชบัญญัติงบฯ 65 ในวาระเเรกเราไม่เห็นด้วยที่สภาผู้แทนราษฎรรับรอง เมื่อผ่านวาระ 2 เราเห็นว่าไม่ตอบโจทย์ใน 3 ประเด็น  ประเด็นเเรกเหตุใดงบสวัสดิการประชาชนลด 10% และการไม่มีการจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณ อาทิ งบประมาณของกระทรวงกลาโหมสูงกว่างบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข เเละประเด็นที่สอง ในกรณีที่ไม่จัดสรรงบประมาณแก้ไขด้านโควิด เเละประเด็นที่สามด้านการเหลื่อมล้ำของประชาชน เเละส่วนในกรณีเงินอุดหนุนของประชาชน ทั้งเด็กเเรกเกิด เบี้ยผู้สูงอายุ เรามีความเห็นว่าไม่มีการปรับเพิ่มในงบประมาณดังกล่าว เเต่ในส่วนของเงินบำนาญข้าราชการปรับขึ้น เปรียบเทียบคือในเงิน 100 บาท ภาษีของประชาชน เป็นเงินสวัสดิการข้าราชการ 15 บาท เเละเงินเดือนข้าราชการ 25 บาท ซึ่งมันสะท้อนความผิดพลาดการจัดสรรงบในครั้งนี้ อาทิ งบกระทรวงกลาโหม 200,000 ล้านบาท เป็นเงินเดือนข้าราชการ 100,000 ล้านบาทเกิน 50% เป็นการเเสดงให้เห็นว่าร่างพรบ.ฉบับนี้ให้ความสำคัญกำลังพลของทัพมากกว่าบุคลากร เเละงบประมาณด้านสาธารณสุขและประชาชน 

“เรามีงบประมาณรายจ่ายมา 3 ปีเเล้ว เเต่เราไม่เคยเห็นงบประมาณด้านรัฐสวัสดิการบรรจุอยู่ในนโยบายของพรรครัฐบาลให้พวกเราเลย ท่านพูดก่อนหาเสียงว่าจะทำให้ประชาชน เเต่ทุกวันนี้เรายังไม่เห็นเลย พรบ.65 ควรสะท้อนเจตจำนงค์ของประชาชนที่เลือกตั้งท่านมาเป็นผู้แทนประชาชน” นิติรัฐ กล่าว

ขณะวรรณวิภา ในฐานะกรรมาธิการ กล่าวว่า สิ่งที่ตนตั้งใจมาเป็นกมธ.งบฯ ปี 65 ในครั้งนี้ เพื่อทวงถามงบประมาณด้านรัฐสวัสดิการให้แก่ประชาชน โดยตั้งเเต่ร่างงบประมาณทุกครั้งที่ผ่านมา ตนทวงถามเรื่องรัฐสวัสดิการมาตลอด เเต่ไม่เห็นความเปลี่ยนเเปลง โดยในพรรคก้าวไกลของเรามีการดำเนินการด้านนโยบายรัฐสวัสดิการให้ประชาชน เพราะเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่การเท่าเทียมกัน


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

คืบ! ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ลงเข็มเริ่มก่อสร้างแล้ว ส่งมอบพื้นที่แล้ว 86% คาดส่งมอบพื้นที่ 170 กม. ครบเดือนก.ย.นี้ พร้อมเปิดให้บริการปี 2568

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว โดยพร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมด ภายในเดือนก.ย.นี้

ทั้งนี้ ปัจจุบันเอกชนได้เข้าพื้นที่ และเริ่มออกแบบเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่สำหรับเตรียมก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวเพื่อลำเลียงวัสดุ งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน โรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง งานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและการจัดจราจร โดยการก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี และจะเปิดให้บริการช่วงพญาไท สุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ในปี 68 ส่วนการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ พร้อมส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญา โดยยืนยันว่า ผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ระหว่างการถ่ายโอนกิจการ โดยเฉพาะเรื่องบัตรโดยสาร ที่สามารถใช้บัตรรายเดือนได้ตามเดิม

ส่วนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา โดยเฉพาะการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 กองทัพเรือ ได้ออกแบบทางวิ่งและทางขับที่ 2 งานทางขับเชื่อมระหว่างทางวิ่ง พร้อมลานจอดศูนย์ซ่อมอากาศยานเสร็จแล้ว คือ ทางวิ่งความยาว 3,505 เมตร ทางขับที่เกี่ยวข้อง 6 เส้นทาง อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่ง และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ขณะที่การเตรียมส่งมอบพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้จัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติงานในพื้นที่เขตส่งเสริม สำหรับช่วงการก่อสร้างเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงดูแลรักษาความปลอดภัยพื้นที่ เช่นเดียวกับงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ก.แรงงาน จัดกิจกรรมจิตอาสามอบถุงยังชีพ “มีแล้วแบ่งปัน” แก่ชาวบ้านแฟลตดินแดงที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบถุงยังชีพ “มีแล้วแบ่งปัน” กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2564 ให้แก่ผู้แทนคณะกรรมการเคหะชุมชนดินแดง 2 โดยมี นายวิชาญ เขียวแก้ว ประธานชุมชนเคหะดินแดง 2 และกรรมการแฟลตเป็นตัวแทนประชาชนในเคหะชุมชนดินแดง 2 เป็นผู้รับมอบ ซึ่งถุงยังชีพ “มีแล้วแบ่งปัน” ประกอบด้วยสิ่งของเครื่องอุปโภคโภคบริโภค และของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อาทิ ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง นม ยารักษาโรค หน้ากากอนามัย และเครื่องอุปโภคอื่น ๆ จำนวน 520 ชุด เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ บริเวณโถงด้านล่างอาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ “มีแล้วแบ่งปัน” ในวันนี้ กระทรวงแรงงานจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2564 แสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อีกทั้งเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะชาวชุมชนแฟลตดินแดง 

ทั้งนี้ ชุมชนเคหะดินแดง 2 มีอาคารที่พักจำนวน 55 อาคาร ห้องพัก 5,962 ห้อง มีประชาชนพักอาศัยทั้งสิ้น 29,810 คน มีประชาชนติดเชื้อโควิด-19 และรักษาตัวในสถานพยาบาลของรัฐ จำนวน 30 ราย มีครัวเรือนที่กักตัวและให้ความช่วยเหลือ 30 ครัวเรือน ประมาณ 120 คน กลุ่มเปราะบาง ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 300 ครัวเรือน มีผู้พิการที่ต้องดูแลช่วยเหลือ 100 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ในภาพรวมภายในบริเวณเคหะชุมชนดินแดง 2 มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง ส่วนใหญ่มีอาการไม่น่าเป็นห่วง รักษาตามกำหนดระยะเวลาสามารถกลับบ้านได้ สำหรับมาตรการป้องกันโควิด-19 คณะกรรมการเคหะชุมชนดินแดง 2 มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยได้สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อออกจากที่พัก มีการตรวจคัดกรองโควิด-19 แก่แม่ค้าพ่อค้าในตลาดกลางเคหะชุมชนดินแดง 2 รวมทั้งกำชับให้มีการปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค.อย่างเคร่งครัดอีกด้วย

อธิบดีกรมควบคุมโรค ยันคนลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนโควิด ผ่านแอปฯ ‘หมอพร้อม’ ได้ฉีดตามนัดหมายวันที่ 7, 8, 9 มิ.ย.นี้ แน่นอน พร้อมเผยข่าวดีสัปดาห์หน้าเตรียมเซ็นต์สัญญาจอง ‘ไฟเซอร์’

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยแผนการกระจายวัคซีนว่า ในเดือนมิ.ย. จะมีการฉีดวัคซีนตามแผนหลัก สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนกับระบบหมอพร้อม และได้รับการนัดหมายฉีดวัคซีนในวันที่ 7, 8, 9 มิ.ย.นี้ จะได้รับการฉีดวัคซีนแน่นอน ไม่เลื่อน ขอให้ไปติดต่อกับสถานพยาบาลที่จองรับวัคซีนไว้

อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันว่า วัคซีน 2 ชนิด ที่ฉีดให้กับประชาชนอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นซิโนแวก หรือแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการรับรองแล้วจากทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าเป็นวัคซีนที่ใช้ได้ในภาวะฉุกเฉินเหมือนกันทั่วโลก และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ ยังระบุว่าวัคซีนทั้ง 2 ชนิด สามารถฉีดได้กับประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จนถึงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปได้ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลให้สามารถบริหารจัดการวัคซีนได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ ตามแผนการจัดหาวัคซีน 100 ล้านโดสในปีนี้ตามเป้าหมายนายกรัฐมนตรีนั้น ขณะนี้มีวัคซีนจากซิโนแวกแล้ว 6 ล้านโดส และได้ลงนามในสัญญากับบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) อีก 61 ล้านโดส ซึ่งขณะนี้ส่งมอบแล้ว 2 ล้านโดส รวมที่จัดหาได้แล้ว 67 ล้านโดส ยังขาดอีก 33 ล้านโดส ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายไว้ว่าให้จัดหาเพิ่มเติม โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการลงนามในสัญญาคำสั่งจองวัคซีนกับบริษัท ไฟเซอร์ ซึ่งคาดว่าจะได้ลงนามกันในสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ สำหรับวัคซีนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนเตรียมร่างสัญญาลงนามจองวัคซีน ซึ่งคาดว่าจะได้รับมาอีก 25 ล้านโดส ดังนั้นเมื่อรวมกับแผนการจัดหาวัคซีนซิโนแวกอีก 8 ล้านโดส ก็จะทำให้ครบ 100 ล้านโดสตามแผนที่กำหนด ซึ่งภายในเดือนมิ.ย.นี้น่าจะมีข่าวดี


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กมธ.งบ 65 นัดแรก เคาะ “อาคม” นั่งหัวโต๊ะ เลือกรองประธานวุ่น พท.ส่งชื่อ “ประเสริฐ” นั่งรองที่ 2 ฝ่ายรบ.ไม่ยอม จะให้ “นาที” จากภท.นั่ง จนต้องพักประชุม 30 นาที สุดท้าาย “บิ๊กอาย” คว้ารอง 2 ส่วน “เรืองไกร” ซิวโทรโข่ง ประจำคณะ

ที่ห้องประชุมงบประมาชั้น4 อาคารส่วนกลาง รัฐสภา ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2565 สภาผู้แทนราษฎร นัดแรก โดยมีวาระสำคัญในการเลือกตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ประธานกมธ.  รองประธานกมธ. เลขานุการ และโฆษก กมธ.โดยมีนายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ซึ่งอาวุโสสูงสุดเป็นประธานชั่วคราว โดยที่ประชุมมีมติเสียงข้างมากให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ในฐานะกมธ.ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกมธ.ฯ 

สำหรับตำแหน่งรองประธานกมธ.ที่ประชุมมีมติให้นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง เป็นรองประธานคนที่ 1 ส่วนตำแหน่งรองประธานคนที่ 2 ที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากตามธรรมเนียมปฏิบัติ ตำแหน่งรองประธานคนที่ 2 ต้องมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภาฯ คือพรรคเพื่อไทย โดยพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรค เป็นรองประธานคนที่ 2 แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยินยอม เนื่องจากต้องการให้นางนาที รัชกิจประการ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยไม่ต้องคำนึงถึงธรรมเนียมปฏิบัติ ที่จะต้องสลับฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลในตำแหน่งต่าง ๆ  ทำให้ฝ่ายค้านไม่พอใจ จนต้องพักการประชุม 30 นาที  เพื่อหารือถึงแนวทางแต่ละฝ่าย ก่อนกลับเข้ามาประชุมอีกครั้ง

จากนั้นเวลา 13.00 น. นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะโฆษกกมธ. แถลงผลการประชุมว่าที่ประชุมเลือกนายอาคม เป็นประธาน โดยมีรองประธานทั้งหมด 22 คน จากรัฐมนตรีและพรรคการเมืองต่างๆ โดยรองประธานคนที่ 2 คือนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน รองประธานคนที่ 3 นายวิรัช รัตนเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ รองประธานคนที่ 4 คือนางนาที รองประธานคนที่ 5 คือ นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ  รองประธานคนที่ 6 คือ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เป็นต้น

นายสรวุฒิ กล่าวว่า ส่วนตำแหน่งเลขานุการจำนวน 7คน มีนายอรรถกร ศิริลัทยากร  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นเลขานุการกมธ.คนที่ 1 ตำแหน่งโฆษก กมธ.จำนวน 9 คน ซึ่งนอกจากตนแล้วยังมีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กมธ.สัดส่วนพรรคพลังประชารัฐ เป็นโฆษกด้วย ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษากมธ.มีจำนวน 10 คน

นายสรวุฒิ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ที่ประชุมวางกรอบการพิจารณาทุกวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป โดยทางสำนักงบประมาณได้กำหนดแนวทางในการพิจารณาออกเป็นแบบที่1 เรียงตามมาตรา และแบบที่ 2 ตามกลุ่มภาระกิจ 6 กลุ่ม 11 แผนบูรณาการ  ซึ่งคาดว่าที่ประชุมจะเลือกแบบที่ 2 เหมือนการพิจารณางบประมาณปี 64

“บิ๊กตู่” เตรียมควง “อนุทิน” ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ-ศูนย์ฉีดวัคซีนผู้ประกันตนมาตรา 33 คิกออฟพื้นที่ กทม. ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ปูพรมฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ทั่วปท.7 มิ.ย.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า ในวันจันทร์ที่ 7 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เตรียมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ และศูนย์ฉีดวัคซีนผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง โดยที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ นายกฯจะวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ทักทายไปยังหน่วยงานส่วนภูมิภาค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และภูเก็ต และเป็นประธานสักขีพยานในโอกาส ปลัดกระทรวงคมนาคมมอบอุปกรณ์ ทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนภารกิจวาระการฉีดวัคซีนแห่งชาติ ให้แก่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบรมว.คมนาคม นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงานนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การยก์วินพงศ อธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมลงพื้นที่

ทั้งนี้ ในวันที่ 7 มิ.ย.จะเป็นวันที่เริ่มต้นการฉีดจำนวนมากในทุกพื้นที่ ซึ่งจะมีการฉีดวัคซีนทั้งแอสตราเซเนกา และซิโนแวค

“เมทินี” ออกข้อเเนะนำปธ.ศาลฎีกาเสริมสร้างประสิทธิภาพป้องกันการหลบหนีลดความเหลื่อมล้ำจำเลยยากจนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 64  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.64 ที่ผ่านมา นางเมทินี ชโลธรประธานศาลฎีก ได้ออกคำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการใช้มาตรการกำกับดูแลในระหว่างปล่อยชั่วคราว พ.ศ.2564 

ความว่าตามที่พระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ.2560 กำหนดให้มีมาตรการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวขึ้นโดยมุ่งประสงค์ที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการป้องกันการหลบหนีและภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวจากศาล ซึ่งนอกจากจะทำให้สังคมได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้นแล้วยังมีส่วนช่วยลดความจำเป็นในการเรียกหลักประกันลงด้วยส่งผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ยากจนซึ่งไม่อาจหาหลักประกันมาวางย่อมมีโอกาสที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวเช่นเดียวกับผู้ต้องหาหรือจำเลยอื่นอันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อีกทางหนึ่งจึงสมควรจัดวางระบบการใช้มาตรการกำกับดูแลดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักการและวัตถุประสงค์ของกฎหมายรวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้แพร่หลายมากขึ้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 

ประธานศาลฎีกาจึงออกคำแนะนำดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การกำกับดูแลหมายถึงการสอดส่องดูแลให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกำหนดซึ่งรวมถึงการรับรายงานตัวและการให้คำปรึกษาแก่บุคคลดังกล่าวด้วยเพื่อมิให้เกิดการหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายหรือความเสียหายใด ๆ ดังที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108

ข้อ 2 ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 111 หากศาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อคุ้มครองสังคมจะมีคำสั่งกำหนดเงื่อนไขหรือสั่งใช้มาตรการกำกับดูแลกับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวนั้นก็ได้

ข้อ 3 การปล่อยชั่วคราวในกรณีอื่นนอกจากข้อ 2ศาลพึงคำนึงถึงการใช้วิธีกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติและมาตรการกำกับดูแลเป็นเบื้องต้น

ข้อ 4 เงื่อนไขที่อาจกำหนดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติในระหว่างปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 วรรคสามเช่น (1) ให้มาศาลตามกำหนดนัด (2) ห้ามยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน (3) ห้ามเดินทางออกนอกประเทศหรือออกนอกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง (4) ห้ามพบหรือเข้าใกล้ผู้เสียหาย (5) ห้ามออกจากที่อยู่อาศัย (6) การเปลี่ยนหรือย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งให้ศาลทราบ (7) ห้ามเข้าไปในสถานที่บางแห่ง (8) ห้ามคบหาสมาคมกับบุคคลบางประเภท (9) ให้รายงานตัวต่อผู้กำกับดูแลหรือบุคคลที่ศาลกำหนด (10) ให้เข้ารับคำปรึกษาหรือการบำบัดรักษาความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ (11) ให้เข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อหาสารเสพติด (12) ห้ามทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพบางอย่าง (13) ห้ามพกพาอาวุธปืน (14) ห้ามกระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้อง

ข้อ 5 นอกจากกำหนดเงื่อนไขตามข้อ 4แล้วศาลจะกำหนดให้มีผู้กำกับดูแลเพื่อสอดส่องดูแลรับรายงานตัวหรือให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวด้วยก็ได้โดยอาจแต่งตั้งจากบุคคลที่ขึ้นบัญชีไว้ต่อศาลหรือบุคคลอื่นที่ศาลเห็นว่าเหมาะสมและสามารถสอดส่องดูแลให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่งของศาลได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นั้นในกรณีที่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีความเสี่ยงสูงที่จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายและมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสถานที่อยู่หรือการเดินทางซึ่งต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดศาลอาจสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือ จำกัด การเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวควบคู่ไปด้วยก็ได้

ข้อ 6 การกำหนดเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลตลอดจนการสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ศาลพึงพิจารณากำหนดให้เหมาะสมและได้สัดส่วนกับพฤติการณ์ของผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นราย ๆ ไปถ้าศาลเห็นว่าการใช้วิธีการตามวรรคหนึ่งเป็นอันเพียงพอต่อการป้องกันการหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแล้วศาลจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่เรียกหลักประกันเลยก็ได้เว้นแต่เป็นคดีเกี่ยวกับการทุจริตฉ้อฉล อันมีผลกระทบต่อสาธารณชนส่วนรวมหรือการค้ายาเสพติดให้โทษ ที่พฤติการณ์แห่งคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจและสังคมอย่างร้ายแรง

ข้อ 7 ถ้าความปรากฏต่อมาว่าวิธีการที่กำหนดไว้ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมศาลอาจมีคำสั่งให้ใช้วิธีการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามที่เห็นสมควร

ข้อ 8 ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วหากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนียุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นใดแม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาให้ศาลที่มีอำนาจนำวิธีการตามคำแนะนำนี้ไปใช้ประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวด้วยเพื่อให้จำเลยมีโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราวมากขึ้นและสามารถดูแลความปลอดภัยให้แก่สังคมได้ในขณะเดียวกัน

ข้อ 9 การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ศาลกับผู้กำกับดูแลอาจดำเนินการโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใดก็ได้ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแต่งตั้งบุคคลซึ่งอยู่นอกเขตศาลเป็นผู้กำกับดูแลอาจขอให้เจ้าหน้าที่ศาลที่บุคคลดังกล่าวมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตของศาลนั้นประสานงานให้และเพื่อความรวดเร็วการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ศาลด้วยกันจะดำเนินการโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ข้อ 10 การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้กำกับดูแลให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาลและเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยศาลอาจแจ้งให้ผู้กำกับดูแลทราบถึงสิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวภายหลังจากปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้นแล้วก็ได้

ข้อ 11 ให้สำนักงานศาลยุติธรรมจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลรวมทั้งคู่มือในการปฏิบัติตนของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและสนับสนุนการดำเนินการของศาลต่าง ๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำนี้

“กลุ่มโมกหลวง” ร่อนจม.ถึง ”บิ๊กตู่” ร่วมรับผิดชอบ ครบ 1 ปี “วันเฉลิม” ถูกอุ้มหาย ชี้ มีส่วนทำให้ต้องลี้ภัย บี้ คืนความเป็นธรรมปชช.ถูกดำเนินคดีสมัยคสช.

วันที่4 มิ.ย.ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ นำโดย นายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง สมาชิกกลุ่ม We Volunteer น.ส.มณฑาทิพย์ ศรีสุนทร ยื่นจดหมายถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบต่อการถูกอุ้มหายของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือต้าร์ ครบ1ปี โดยให้เร่งตามหาตัว พร้อมคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่ถูกคสช.และรัฐบาลชุดนี้คุกคาม

น.ส.มณฑาทิพย์ อ่านแถลงการณ์ ว่า นายวันเฉลิม ถูกกล่าวหาคดีฝ่าฝืนคำสั่งเรียกรายงานตัวของ คสช. เมื่อปี 2557 คดีผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อปี 2561 กรณีโพสต์ข้อความบิดเบือนให้ร้ายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด และคดีเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ในยุคคสช. 

แต่พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้าคสช.ขณะนั้น และผู้เกี่ยวข้อง ไม่เหลียวแลทั้งที่คสช.มีส่วนในการคุกคาม จนต้องลี้ภัยไปประเทศกัมพูชา กลายเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองตลอดเวลา 1 ปีเต็ม ไม่เห็นถึงความพยายามในการตามหา หรือดำเนินการช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อรักษาสวัสดิภาพของประชาชน รวมถึงคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่ถูกดำเนินคดีโดยคสช.

‘กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ รับผิดชอบในฐานะผู้บริหารประเทศ และในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินคดีนายวันเฉลิม และกดดันให้เขาต้องลี้ภัย นำไปสู่การถูกอุ้มหาย  โดยเร่งสืบสวนและตามหานายวันเฉลิม ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ และคณะมักกล่าวว่ารักชาติ จะนำความสุขสงบมาสู่ประเทศ หากเห็นความสำคัญของชาติจริงอย่างที่กล่าวอ้าง ขอให้คืนความยุติธรรมกลับสู่ประชาชน’ 

จากนั้นตัวแทนกลุ่มโมกหลวงฯ ได้หย่อนจดหมายเปิดผนึกผ่านตู้ไปรษณีย์ หน้าทำเนียบรัฐบาล ไปถึงพล.อ.ประยุทธ์ ก่อนแยกย้ายเดินทางกลับ

วุฒิสภาจ่อถก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท 14 มิ.ย.นี้ หากผ่านสภาฯ

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ที่รัฐสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญกิจการวุฒิสภา เปิดเผยว่า ในการประชุมวุฒิ วันที่ 7 มิ.ย.นี้ ที่ประชุมได้ตั้งคณะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติ (พ.รบ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2565 เพื่อพิจารณาคู่ขนานไปพร้อมกับสภาผู้แทนราษฎร โดยกมธ. จะเป็นผู้แทนจากคณะกมธ.สามัญของวุฒิสภาจำนวน 25 คณะ คณะละ 1 คน รวม 25 คน นอกจากนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 2 ฉบับที่สภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องมา คือ พ.ร.ก.ลดอัตราดอกเบี้ย และพ.ร.ก.ซอฟต์โลนฉบับใหม่ และตามขั้นตอนเมื่อที่ประชุมให้ความเห็นชอบก็จะส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป  

นายคำนูณ กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ในสัปดาห์หน้าจะประชุมในวันที่ 9 มิ.ย. ซึ่งกมธ.ได้เชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เมื่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้วคาดว่าจะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของวุฒิสภาในวันที่ 14 มิ.ย.นี้

เลขาฯ ศาลยุติธรรม เเจงไทม์ไลน์คดีภาษีโตโยต้า เร่งประสานหาข้อมูล ข้อเท็จจริงทุกมิติ เตรียมประสานขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ไต่สวนที่อเมริกา

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 64  ที่ชั้น12 สำนักงานศาลยุติธรรม อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นาย พงษ์เดช วานิชกิตติกูล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เเถลงข่าวกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวการสอบสวนเกี่ยวกับคดีภาษีของ บริษัท ในเครือโตโยต้าในประเทศสหรัฐอเมริกาจนกระทั่งมีการกล่าวอ้างถึงชื่อข้าราชการและอดีตข้าราชการตุลาการผู้ใหญ่ว่าอาจมีส่วนพัวพันธ์กับเรื่องนี้

นั้นตนขอเรียนว่าคดีที่มีการอ้างถึงเป็นคดีที่ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐที่จัดเก็บภาษีเป็นจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษามีคำขอให้เพิกถอนการประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีฟ้องคดีแรกวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ซึ่งศาลภาษีอากรกลางพิจารณาคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้แยกฟ้องโจทก์จึงยื่นฟ้องคดีเข้ามาใหม่อีก 9 คดีในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 และวันที่ 10 มิถุนายน 2559 มีการสืบพยานต่อสู้คดีกันเป็นระยะเวลาปีเศษ ศาลภาษีอากรกลางจึงมีคำพิพากษาทุกคดีในวันที่ 29 กันยายน 2560 พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นผลให้โจทก์ไม่มีความรับผิดทางภาษีอากร

ต่อมาจำเลยได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับคดีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 และต่อมาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์โดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวันที่ 10 มิถุนายน 2562 เป็นผลให้โจทก์ต้องรับผิดชำระภาษีอากรตามการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของหน่วยงานรัฐโจทก์จึงยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฎีกาและรับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณาโดยศาลภาษีอากรกลางได้อ่านคำสั่งคดีขออนุญาตฎีกาไปเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ขณะนี้คดียังอยู่ระหว่างศาลภาษีอากรกลางดำเนินการให้ฝ่ายจำเลยยื่นคำแก้ฎีกา ซึ่งจำเลยขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นคำแก้ฎีกาถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 หากยื่นคำแก้ฎีกาแล้วศาลภาษีอากรกลางจะรวบรวมสำนวนส่งคืนศาลฎีกาเพื่อพิจารณาต่อไป

ดังนั้นในคดีนี้ศาลฎีกาจึงยังไม่ได้พิจารณาพิพากษาคดีเพียงพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาเท่านั้นซึ่งการอนุญาตให้ฎีกาเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 26 ที่กำหนดให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาเมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย

เมื่อคดีนี้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ขัดแย้งกันในสาระสำคัญทั้งเกี่ยวพันกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทยและยังเป็นกรณีที่ไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลฎีกามาก่อนศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฎีกาได้โดยพิจารณาเพียงว่าปัญหาที่ ยื่นฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาสมควรอนุญาตให้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาหรือไม่ยังไม่ได้มีการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี แต่อย่างใด

เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีภาษีอากรซึ่งเป็นคดีชำนัญพิเศษในการพิจารณาพิพากษาจะมีผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษีอากรตลอดทั้งสายตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนกระทั่งถึงศาลฎีกา 

โดยศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีการวางระบบการทำงานในรูปแบบการประชุมคดีที่เข้มข้นขององค์คณะนับตั้งแต่เริ่มเปิดทำการเป็นต้นมาโดยองค์คณะจะร่วมกันพิจารณาคดีมีผู้ช่วยผู้พิพากษาทำหน้าที่เลขานุการคณะในการทำเอกสารสรุปข้อเท็จจริงประเด็นข้อพิพาทในคดีและข้อกฎหมายเมื่อประชุมแล้วท่านผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนก็จะยกร่างคำพิพากษาตามมติการประชุมแล้วจึงส่งร่างคำพิพากษานั้นให้ผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือผู้ช่วยเล็กหลังจากผู้ช่วยเล็กตรวจสำนวนแล้วจะเสนอร่างคำพิพากษาดังกล่าวต่อผู้พิพากษาประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือเรียกว่าผู้ช่วยใหญ่เพื่อตรวจร่างคำพิพากษาอีกครั้งหนึ่งเมื่อตรวจแล้วจะเสนอร่างคำพิพากษาดังกล่าวต่อรองประธานเมื่อเห็นว่าเป็นคดีสำคัญจึงส่งให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณีพิจารณาหากเห็นว่ามีปัญหาข้อกฎหมายสำคัญก็จะสั่งให้นำปัญหานั้นเข้าสู่การพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาทุกท่านในศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีประมาณ 70 คนส่วนศาลฎีกามี 176 คน
เมื่อร่างคำพิพากษาผ่านที่ประชุมแล้วจึงจัดทำคำพิพากษาเพื่อส่งให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังต่อไป

ในส่วนของการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกานั้นแม้จะเป็นเพียงชั้นขออนุญาตฎีกาก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็กำหนดจำนวนองค์คณะไว้อย่างน้อย 4 คนโดยหนึ่งในนั้นต้องเป็นรองประธานศาลฎีกาด้วยสำหรับคดีภาษีอากรนั้นคำร้องขออนุญาตฎีกาก็จะถูกพิจารณาโดยผู้พิพากษาที่อยู่ในแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกาเป็นองค์คณะภายหลังจากองค์คณะพิจารณาแล้วในคดีนี้ได้นำเข้าประชุมแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกาเพื่อให้ผู้พิพากษาในแผนกทุกคนได้ร่วมกันพิจารณาและลงมติก่อนจะที่จะมีการส่งมาให้ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในแต่ละชั้นศาลนั้นเป็นไปอย่างมีระบบโปร่งใสมีการปรึกษาคดีและตรวจทานความถูกต้องในทุกขั้นตอนยากที่จะมีการแทรกแซงหรือกระทำการใดที่จะก่อให้เกิดผลตามที่ใครต้องการได้

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะมั่นใจในระบบ แต่เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าอาจมีการกระทำที่แทรกแซงกระบวนการจนถึงขั้นอาจมีการเสนอให้สินบนขึ้นซึ่งต้องยอมรับว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวกระทบต่อภาพลักษณ์และศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาลยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

สำนักงานศาลยุติธรรมจึงไม่นิ่งนอนใจนับตั้งแต่มีการรายงานข่าวจึงได้ดำเนินการส่งหนังสือประสานขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบกรณีดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านกระทรวงการต่างประเทศอย่างที่ได้มีการนำเสนอข่าวไปแล้วต่อมาเมื่อในเนื้อหาข่าวปรากฏชื่อบุคคลในศาลยุติธรรมขึ้นสำนักงานศาลยุติธรรมจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและติดตามผลโดยที่ผมเป็นประธานคณะทำงานด้วยตัวเองคณะทำงานชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ติตามหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกรณีนี้ซึ่งผมได้ดำเนินการส่งหนังสือขอข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกประเทศแล้ว ได้แก่ ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท โตโยต้าอเมริกา กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา และกระทรวงการต่างประเทศรวมถึงส่งเมล์ติดต่อไปยังนักข่าวที่เขียนรายงานข่าวอันเป็นต้นทางของเรื่องนี้ และจะขอเข้าร่วมสังเกตการณ์การไต่สวนของคณะลูกขุนในรัฐเท็กซัสสหรัฐอเมริกาด้วย

ต่อมาวันที่ 31 พฤษภาคม นาง เมทินี ชโลธรประธานศาลฎีกาได้อาศัยอำนาจตามพ. ร. บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง“ คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง” 4 ท่านประกอบด้วยผู้พิพากษาชั้นฎีกาและชั้นอุทธรณ์ซึ่งมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการฯ และมีผู้พิพากษาชั้นศาลฎีกาและชั้นศาลอุทธรณ์เป็นกรรมการโดยให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการสอบสวนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต. ) กรณีข้าราชการตุลาการถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยให้เสร็จโดยเร็วทั้งนี้ให้กรรมการชุดนี้เสนอความเห็นว่ากรณีมีมูลเป็นความผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง หรือไม่มีมูลความผิดทางวินัย หากมีมูลความผิดทางวินัยก็ให้พิจารณาด้วยว่าเป็นความผิดวินัยตามบทมาตราใดและควรได้รับโทษสถานใดเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป 

และหากสอบสวนพบข้อเท็จจริงมีบุคคลอื่นใดเป็นผู้กระทำผิดหรือพบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมจากที่ระบุในคำสั่งนี้ก็ให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงชุดนี้ดำเนินการสอบสวนไปด้วยในคราวเดียวกันคณะทำงานติดตามข้อมูลที่ผมเป็นประธานจะทำงานสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงต้องการให้ความกระจ่างปรากฏต่อสาธารณชนโดยเร็วและหากพบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามกฎหมายก็จะดำเนินการต่อไปอย่างเด็ดขาด ดังนั้นหากพี่น้องประชาชนสื่อมวลชนหรือหน่วยงานใดมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่จะช่วยให้เรื่องนี้กระจ่างชัดทุกท่านสามารถส่งข้อมูลมายังสำนักงานศาลยุติธรรมได้ตลอดเวลา

โดยคณะทำงานติดตามข้อมูลจะดำเนินการทุกวิถีทางให้เร็วที่สุดและสำนักงานศาลยุติธรรมจะเสนอผลความคืบหน้าของการทำงานต่อพี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนเป็นระยะ 

การพบปะสื่อมวลชนในวันนี้นอกจากจะยืนยันการตรวจสอบและดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจังแล้วผมขอให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนและสังคมว่าหากคดีนี้เข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคู่ความจะได้รับความเป็นธรรมทุกอย่างตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนองค์คณะในศาลฎีกาจะพิจารณาคดีอย่างไม่หวั่นไหวส่วนการให้สินบนตามข่าวหากมีจริงก็เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการและดำเนินคดีต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top