Wednesday, 9 July 2025
Hard News Team

'สว.วีรศักดิ์' กระตุกมุมคิดด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านเวที 'Finance for Biodiversity' ชี้!! ไม่มีกิจกรรมใดของมนุษย์ที่ไปต่อได้ หากระบบนิเวศ 'ล่มสลาย-ขาดตอนลง'

เมื่อไม่นานมานี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษสรุป ก่อนพิธีปิดการเสวนา ในหัวข้อ 'Finance for Biodiversity: Towards a Nature-Positive Pathway' ณ อาคาร C-ASEAN ถนนพระราม 4 มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงได้รับเชิญมาร่วมเวทีมากมาย ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศ

โดยเวทีนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กองทุน AFD แห่งรัฐบาลฝรั่งเศส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนของ IUCN UN ESCAP / ธนาคารแห่งประเทศไทย / กลต. / BOI / ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย / สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย / สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง / สำนักสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ / Global Compact Thailand / ธนาคารกรุงไทย / BEDO เป็นต้น 

ทั้งนี้ เวที Finance for Biodiversity นับเป็นเวทีที่วงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและวงการการเงินการคลังทั้งในและระหว่างประเทศได้มาพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดกัน เพื่อระดมพลังเตรียมตัวสำหรับประกอบท่าทีไทยในการเข้าร่วมประชุมอนุสัญญาคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ COP 16 ที่จะมีขึ้นในปีนี้ที่ประเทศ โคลัมเบีย

สาระสำคัญหนึ่งจาก นายวีระศักดิ์ ในเวทีนี้ ระบุว่า ความจำเป็นที่ภาคส่วนอื่น นอกเหนือจากวงการอนุรักษ์ โดยเฉพาะภาคการเงินและธุรกิจควรจะเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อน เพื่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพเอาไว้ให้ได้ เพราะไม่มีกิจกรรมใดของมนุษย์ที่สามารถดำเนินต่อได้ ถ้าวงจรของระบบนิเวศจะล่มสลายหรือขาดตอนลง

"เราอาจใช้ดาวเทียมตรวจจับอุณหภูมิ ตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจก ไฟป่า หรือการใช้ผิวดิน สำรวจทรัพยากรใต้ดินได้ แต่ดาวเทียมไม่อาจตรวจจับการขาดตอนลงของระบบนิเวศ การพึ่งพากันของเผ่าพันธุ์พืช หรือเผ่าพันธุ์สัตว์ใดๆ ได้ ดังนั้นเราจึงไม่อาจรู้เลยว่า Tipping Points ของปัญหาการสูญเสียเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในธรรมชาติจะอยู่ที่จุดไหน...

"หากผึ้งหายไปหมด สัตว์และมนุษย์แทบจะสูญพันธุ์ตามไปในเวลาไม่ถึง 6 ปี เพราะทุกชีวิตบนแผ่นดินทุกทวีปอาศัยแกล่งอาหารจากพืชมาเป็นจุดเริ่มทั้งสิ้น..

"ถ้าวาฬในมหาสมุทรสูญพันธุ์ไปจากที่เหลือล้านตัวสุดท้าย แพลงตอนพืชที่ได้ปุ๋ยจากมูลวาฬอันอุดมด้วยแร่ธาตุที่แพลงตอนต้องใช้ประกอบการสังเคราะห์แสง แปลงคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาเป็นออกซิเจนกว่า 65% บนโลกใบนี้ก็จะหายไป แล้วสัตว์และมนุษย์จะหายใจได้อย่างไร" นายวีระศักดิ์ กล่าว

ปิดท้ายด้วยคำกล่าวที่เรียกเสียงปรบมืออย่างยาวนานก่อนจบการปาฐกถาว่า...

"...How do you put a price on saving the earth 
We are putting trillions of dollars to rescue our economies 
Our countries 
Our communities 

But healthy proporous communities also depend on a healthy planet 
The food we eat
The water we drink
The air we breathe 

They all depend on 
Nature 

So how do we ensure the investments we make now
Are good for the future 

If we dug into the numbers creatively and bravely,
We can have great thriving economies and a thriving planet 
But we need some changes 
We will have to stop investing in ways that degrade the planet 
Get creative with new investments 
from both the public and private sectors 
And we have to spend the money we have more efficiently 
Putting our money to work for People and Nature 
We can’t return to business as usual 

It’s time to do better 
It’s time to be better 
It’s time for nature  

And the time is Now…"

อีอีซี ร่วมมือ มูลนิธิเสนาะอูนากูลม.บูรพา พร้อมภาคีเครือข่าย เปิดเวทีสัมมนา “บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำผลักดันลงทุนเศรษฐกิจสีเขียวสู่การพัฒนาพื้นที่ อีอีซีและชุมชนอย่างยั่งยืน  

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)หรืออีอีซี ร่วมกับมูลนิธิเสนาะ อูนากูล มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)และศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่องสถานการณ์ภาคตะวันออก พ.ศ. 2567 หัวข้อ “ระบบนิเวศของภาคตะวันออก และการบริหาร จัดการน้ำ”ณ หอประชุมธํารงบัวศรีมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เป็นประธาน ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี ร่วมปาฐกถาพิเศษ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมเสวนา และนำเสนอกรณีศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา กรรมการมูลนิธิเสนาะ อูนากูลดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการ TDRI ดร.ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบนวัตกรรม GISTDA นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ส.อ.ท.เป็นต้น และมีดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI ร่วมดำเนินการเสวนา 
 ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูลกล่าวว่า งานสัมมนาฯ ครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกให้มีใช้อย่างยั่งยืน ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนรวมทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม ตลอดจนสถาบันการศึกษาและเยาวชน อีกทั้งเพื่อนำเสนอ“รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกพ.ศ. 2565”เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้สาธารณชนโดยรวมได้รับทราบสถานภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ได้จัดทำรายงานชิ้นนี้เพื่อติดตามสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำเสนอข้อมูลโดยสรุป หรือDashboardเรื่อง State of the Eastern Regionเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวถึง การบริหารความพิเศษเพื่อโอกาสของ อีอีซี ซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้แนวคิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ใช้ข้อมูลเดียวกับแนวคิดการพัฒนาอีอีซี กลไกในการขับเคลื่อนการลงทุนและการบริหารงานใน สกพอ. การส่งเสริมการให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ การพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี รวมถึงสิทธิประโยชน์ และมาตรการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนที่ สกพอ. พร้อมให้บริการมาตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 
2566 – 2570 

สำหรับงานสัมมนาวิชาการฯ ครั้งนี้ ได้นำเสนอกรณีศึกษาในการจัดการน้ำในพื้นที่ทั้งที่ใช้ระบบเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังของชุมชน เช่นระบบ Actionable Intelligence Policy (AIP) ที่ GISTDA ได้พัฒนาและทดลองดำเนินการเพื่อเสริมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซีและกรณีศึกษาชุมชนในท้องถิ่นที่บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง ซึ่งมีความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรน้ำด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่

นอกจากนี้ ภายในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการจัดการน้ำในภาคตะวันออกซึ่งมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ประธาน TDRI ดำเนินการเสนวนา ได้เจาะลึกถึงข้อเสนอหลักจากรายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก พ.ศ. 2565 ดังกล่าวรวมทั้งได้มีการอภิปรายจากมุมมองของหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรผู้ใช้น้ำโดยเฉพาะภาคเอกชน รวมทั้ง TDRI GISTDA สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โดยในรายงานฯ ได้มี4ข้อเสนอหลัก ถึงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกได้แก่
1)ปรับวิธีคิดของภาครัฐในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยให้คำนึงถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ 2)เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรผู้ใช้น้ำ โดยพัฒนาบุคลากรและเพิ่มทักษะความรู้ ให้กับบุคลากรในองค์กรทุกระดับ 3)พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือที่เรียกว่า Integrated Area-based Water Resource Management (IWRM)โดยอาจดำเนินการในลักษณะSandboxในอีอีซี4)เตรียมแผนรองรับ ป้องกัน และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเผชิญกับภัยภูมิอากาศ ในเขตพื้นที่อีอีซีรวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ‘รัชกาลที่ 6’ ทรงประกาศใช้ ‘พุทธศักราช’ (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน ‘รัตนโกสินทร์ศก’ (ร.ศ.)

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ประกาศยกเลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หลังใช้มาได้เพียง 24 ปี (พ.ศ. 2432-2455)

รัตนโกสินทร์ศก หรือ รัตนโกสินทร์ศักราช (ร.ศ.) ถูกกำหนดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยเริ่มนับจากปีที่มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง คือ พ.ศ. 2325 นับเป็นรัตนโกสินทร์ศก 1 (ร.ศ. 1) แต่ในทางพระพุทธศาสนา ยังคงใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) ตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ. 2455) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ ‘พระพุทธศักราช’ ในราชการทั่วไป โดยถือเอาวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นวันเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้พุทธศักราชและรัตนโกสินทร์ศก ประเทศไทยเคยใช้ ‘มหาศักราช’ (ม.ศ.) และ ‘จุลศักราช’ (จ.ศ.) มาก่อน

นอกจากนี้ ประเทศไทย กัมพูชา และสปป.ลาว เริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี ส่วนที่ศรีลังกาและเมียนมา เริ่มนับปีพุทธศักราชตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือเมื่อ 544 ปีก่อนคริสตศักราช พุทธศักราชของศรีลังกาและเมียนมาจึงเร็วกว่าไทย 1 ปี

‘มาเลเซีย’ หวังคว้าประโยชน์จาก ‘เทคโนโลยีจีน’ ภาคส่วนการบิน เชื่อ!! จะนำโอกาสมาให้ พร้อมก้าวสู่บทบาทห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

เมื่อวานนี้ (19 ก.พ.67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เหลียวชินตง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย กล่าวว่ามาเลเซียต้องการคว้าประโยชน์จากเทคโนโลยีของจีนในภาคส่วนการบิน เพื่อมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในภาคส่วนดังกล่าว

ทั้งนี้ เหลียวชินตง ได้ขึ้นกล่าวที่การประชุมการบินมาเลเซีย-จีน ปี 2024 (Malaysia-China Aviation Forum 2024) ระบุว่า อุตสาหกรรมการบินและอวกาศที่เติบโตอย่างรวดเร็วของจีนจะนำมาซึ่งโอกาสและพลวัตใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มาเลเซียหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์ด้วย

ซึ่ง เหลียวชินตง กล่าวเสริมว่ามาเลเซียมีสถานะที่น่าเชื่อถืออยู่แล้วในด้านวัสดุการบิน รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบของเครื่องบิน แต่เราต้องการเดินหน้าทำงานมากกว่านี้และมีส่วนสำคัญมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

การประชุมฯ เน้นย้ำถึงความร่วมมือที่ผสานรวมความเชี่ยวชาญของจีน และความปรารถนาของมาเลเซียในการเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศระดับโลก

ทั้งนี้ แบบพิมพ์เขียวอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของมาเลเซีย ปี 2030 ระบุว่ามาเลเซียตั้งเป้าเป็นประเทศด้านการบินและอวกาศแห่งหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นส่วนสำคัญของตลาดโลกภายในปี 2030 โดยคาดการณ์ทำรายได้ต่อปี 5.52 หมื่นล้านริงกิต (ราว 4.16 แสนล้านบาท) และสร้างตำแหน่งงานที่มีรายได้สูงกว่า 32,000 อัตรา

'กรมเจ้าท่า' เตรียมเผยโฉมใหม่ 'ท่าเรือท่าเตียน' มี.ค.นี้   พร้อมเร่งพัฒนาท่าเรืออื่นๆ ในกรุงเทพและปริมณฑล 

(20 ก.พ.67) นายกริชเพชร ชัยช่วย อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า ท่าเรือท่าเตียนมีความสำคัญตั้งแต่ในอดีต เป็นท่าเรือสำคัญของพระนคร ในฐานะตลาดการค้าขนาดใหญ่ เป็นจุดขนส่งอาหาร ผัก ผลไม้ และเป็นท่าเรือโดยสารอีกด้วย ปัจจุบันความสำคัญท่าเรือท่าเตียน มีจุดเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญมากมาย อาทิ พระบรมมหาราชวัง, วัดพระแก้ว, วัดโพธิ์, วัดอรุณฯ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งทางน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีความสำคัญอย่างมาก และด้วยตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนในปัจจุบัน ที่อยู่ตรงข้ามกับพระปรางค์วัดอรุณฯ จะทำให้เป็นอีกหนึ่งท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็น Landmark ให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มาเช็กอิน และถ่ายภาพ มุมฝั่งตรงข้าม ที่เห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ ที่สวยงามยามพระอาทิตย์ตก 

สำหรับ ท่าเรือท่าเตียน มีความสำคัญสำหรับการเดินทางคมนาคมทางน้ำ รองรับเรือต่างๆ ดังนี้ 1. เรือข้ามฝากท่าเตียน ฝั่งท่าวัดอรุณ ธนบุรี 2. เรือโดยสารสาธารณะ (เรือด่วนเจ้าพระยา เรือไฟฟ้า) 3. เรือทัวร์ และเรือทั่วไป

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ได้ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณท่าเรือท่าเตียน และพื้นที่ด้านหน้าอาคารสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมออกทั้งหมด แล้วดำเนินการก่อสร้างท่าเรือใหม่ เพื่อใช้สำหรับการคมนาคมทางน้ำ ทั้งเรือข้ามฟากและเรือโดยสาร อีกทั้งใช้เป็นแหล่งพักผ่อน และชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมออกแบบท่าเรือให้กลมกลืนกับ อาคารบริเวณใกล้เคียงโดยต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ซึ่งท่าเรือฯ มีสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ให้บริการ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ลานโล่ง รวม 1,320 ตารางเมตร มีอาคารพักคอย จำนวน 2 หลัง พร้อมทางลาดสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ เก้าอี้รองรับสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ที่จอดรถวีลแชร์และการประชาสัมพันธ์ด้วยระบบภาพและเสียง สำหรับโป๊ะเทียบเรือ มีจำนวน 4 ลูก ประกอบด้วย ท่าเรือข้ามฟาก จำนวน 2 ลูก และท่าเรือโดยสาร จำนวน 2 ลูก โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 39.047 ล้านบาท พร้อมเปิดใช้ในเดือนมีนาคม 2567 นี้

สำหรับแผนพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นสถานีเรือ 29 ท่า อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา โดย...

1. แบ่งเป็นท่าเรือที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ จำนวน 9 ท่า ได้แก่ท่ากรมเจ้าท่า, ท่าสะพานพุทธ, ท่าเรือนนทบุรี, ท่าเรือพายัพ, ท่าบางโพ, ท่าช้าง, ท่าราชินี, ท่าเตียน, ท่าสาทร 

2. ท่าเรือที่อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุง มีจำนวน 5 ท่า ได้แก่...

- ท่าพระปิ่นเกล้า ผลงาน 60% คาดว่าจะแล้วเสร็จ เม.ย. 67
- ท่าพระราม 5 ผลงาน 45% คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ค. 67
- ท่าปากเกร็ด ผลงาน 20% คาดว่าจะแล้วเสร็จ ส.ค. 67
- ท่าพระราม 7 ผลงาน 42% คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ย. 67
- ท่าเกียกกาย ผลงาน 24% คาดว่าจะแล้วเสร็จ ธ.ค. 67

ทั้งนี้ เนื่องจากตำแหน่งก่อสร้างเป็นบริเวณเดียวกับตำแหน่งก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การก่อสร้างทั้ง 2 โครงการไม่กีดขวางกันจึงมอบให้ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการต่อ)

3. ในปี พ.ศ. 2568 วางแผนจะพัฒนาปรับปรุงเพิ่มอีกจำนวน 4 ท่า ได้แก่ ท่าโอเรียนเต็ล, ท่าเทเวศร์, ท่าสะพานกรุงธน (ซังฮี้) และท่าเขียวไข่กา

4. ในปี พ.ศ. 2569 วางแผนจะพัฒนาปรับปรุงเพิ่มอีกจำนวน 11 ท่า ได้แก่ ท่าราชวงศ์, ท่าวัดเทพากร, ท่าพิบูลสงคราม 2, ท่าวัดเทพนารี, ท่าวัดตึก, ท่ารถไฟ, ท่าพิบูลสงคราม, ท่าสี่พระยา, ท่าวัดเขมา, ท่าพรานนก และท่าวัดสร้อยทอง

อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติม กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามนโยบาย 'คมนาคม เพื่อความอุดมสุข ของประชาชน' ซึ่งหมายถึงความสุขของประชาชนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านความปลอดภัย ด้านการให้บริการที่เป็นมาตรฐานสากลและด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกรอบแนวทางภายใต้นโยบายของรัฐบาลและทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม จะต้องขับเคลื่อนนโยบายด้านต่างๆ สู่การปฏิบัติ เพื่อประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดความสะดวกและความปลอดภัย

เสธ.เปิ้ล 'พลโท เจียรนัย วงศ์สอาด' ผงาด!! นั่งบอร์ด กฟผ. ร่วมทีมสร้างพลังงานไทยเป็นธรรม เพื่อประชาชน

(20 ก.พ. 67) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติ/เห็นชอบ การแต่งตั้ง ดังนี้...

ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวม 10 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์และขอลาออก ดังนี้...

1.นายประเสริฐ สินสุขประเสิริฐ ประธานกรรมการ
2.รองศาสตราจารย์กุลยศ อุดมวงศ์เสรี กรรมการ
3.พลโท เจียรนัย วงศ์สอาด กรรมการ
4.รองศาสตราจารย์ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา กรรมการ
5.นางสาวนิรมาณ ไหลสาธิต กรรมการ
6.นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ กรรมการ
7.นายพรพจน์ เพ็ญพาส กรรมการ
8.ศาสตราจารย์พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ
9.นายวรากร พรหโมบล กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงพลังงาน)
10.นายอัครุตม์ สนธยานนท์ กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)

โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป 

สำหรับ เสธ.เปิ้ล พลโท เจียรนัย วงศ์สอาด เคยเป็นแกนนำ ตท.29 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสำนักปลัดกลาโหม และเคยเป็น ประธานบอร์ดการเคหะฯ ในยุครัฐบาลบิ๊กตู่ ซึ่งมี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรม และเร่งรัดการปฏิบัติราชการในขณะนั้น

‘สุริยะ’ เผย ตั๋วเครื่องบินแพง เหตุคำนวณราคาอิงน้ำมันโลก ชี้!! ควรปรับสูตรคำนวณใหม่ ลดราคาให้ทันช่วงสงกรานต์

(20 ก.พ.67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม กล่าวถึงกรณีผู้ใช้เครื่องบินโดยสารโพสต์ในโซเชียลมีเดียถึงราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ - ภูเก็ต มีราคาแพงมาก ว่า ตนได้ให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ที่ดูแลเรื่องการกำหนดเพดานค่าโดยสาร เครื่องบินหลังจากตรวจสอบแล้ว ตั๋วเครื่องบินที่บอกว่ามีราคาเป็นหมื่น ไม่ใช่เพราะเป็นการเดินทางไป - กลับ แต่ถ้าเป็นสายการบินแบบ low cost ไม่น่าจะเกิน 5,000 บาท ต่อเที่ยวบิน แต่ในขณะเดียวกันตนได้ให้ ผู้อำนวยการ กพท. ไปดูการปรับสูตรเพื่อที่จะลดราคาตั๋วเครื่องบินลง เพราะในสูตรเดิมมีค่าน้ำมัน ที่อยู่ในสูตรการคำนวณราคา แต่เดิมราคาน้ำมัน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตอนนี้น้ำมันถูกลงแล้ว จะต้องมีการปรับสูตร ทาง กพท. ก็จะชวนสายการบินต่าง ๆ มาพูดคุยกัน เพื่อหาทางลดภาระของผู้โดยสาร

เมื่อถามว่ามีราคาในใจที่คิดว่าเหมาะสมจะอยู่ที่เท่าไหร่ นายสุริยะกล่าวว่า มันคงจะต้องถูกกว่าเดิมแน่ แต่เท่าไหร่นั้นมันมีสูตรการคำนวณอยู่ และยืนยันว่าจะทันในช่วงที่ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ คือช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน

'นักวิจัยญี่ปุ่น' เผย!! 'ตาข่ายสีแดง' ปกป้องพืชผลจากแมลงได้ดีที่สุด บังตาพืชผล ลดใช้สารเคมี เพิ่มโอกาสพืชรับ 'แสง-น้ำ-อากาศถ่ายเท'

(20 ก.พ. 67) จาก TNN Tech เผยข้อมูลจากนักวิจัยประเทศญี่ปุ่นที่ค้นพบว่า 'ตาข่ายสีแดง' สามารถปกป้องพืชผลจากแมลงได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ซึ่งแตกต่างจากตาข่ายที่ใช้กับแปลงปลูกผักแบบกางมุ้งในปัจจุบันที่มักเป็นสีดำ สีขาว สีเขียวหรือสีน้ำเงิน

แม้ว่าการปลูกพืชในมุ้งจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผักปลอดจากสารเคมีกำจัดแมลงมากที่สุด แต่ยังคงมีแมลงบางชนิดที่สามารถหลุดรอดผ่านมุ้งเข้าไปทำลายแปลงผักของเกษตรกรได้ โดยเฉพาะ 'เพลี้ยไฟหัวหอม' ซึ่งนอกจากกินต้นพืช มันยังมีเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายทิ้งเอาไว้ด้วย

งานวิจัยตาข่ายสีแดงปกป้องพืชชิ้นนี้เกิดขึ้นโดยความบังเอิญหลังมีการตรวจพบว่าเพลี้ยไฟหัวหอม มักอยู่ห่างจากพืชที่ถูกฉายรังสีด้วยแสงสีแดง ทำให้ศาสตราจารย์ มาซามิ ชิโมดะ และทีมงานนักวิจัยมหาวิทยาลัยโตเกียว ตั้งสมมติฐานว่าหากใช้ตาข่ายสีแดงอาจสามารถกันแมลงได้ 

ทีมงานได้ใช้ตาข่ายสีแดงผสมกับสีอื่นๆ สามสี ประกอบด้วย แดง-ขาว แดง-ดำ และแดง-แดง โดยตาข่ายแต่ละสีมีขนาดรูแตกต่างกัน เช่น 2, 1 และ 0.8 มม. เพื่อให้ได้คำตอบของงานวิจัยที่แม่นยำทั้งในด้านของการใช้สีและขนาดของรูตาข่าย

ตาข่ายทั้ง 3 แบบ ถูกนำมาคลุมแปลงต้นหอมคูโจ หรือหัวหอมเวลส์ และเริ่มทำการทดลองปล่อยให้ต้นหอมเจริญเติบโต ผลการทดลองพบว่าแม้ตาข่ายสี 'แดง-แดง' จะมีรูตาข่ายขนาดใหญ่แมลงลอดผ่านได้ง่ายมากกว่าตาข่ายสีอื่น แต่ผักกลับมีร่องรอยการโจมตีของแมลงที่น้อย แสดงว่าให้เห็นว่าแมลงอาจมองไม่เห็นตาข่ายสีแดง

นักวิจัยได้ทำการค้นคว้าเพิ่มเติมและพบคำตอบว่า แมลงส่วนใหญ่รวมถึงเพลี้ยไฟหัวหอม ไม่มีเซลล์รับแสงสีแดงในดวงตาไม่สามารถมองเห็นสีแดงได้เช่นเดียวกับดวงตาของมนุษย์ ทำให้พวกแมลงไม่สามารถมองเห็นตาข่ายสีแดง รวมไปถึงผักที่โดนตาข่ายสีแดงปกป้องเอาไว้ 

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังคงทำการทดลองต่อไป เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติของตาข่ายสีแดงที่มีผลต่อแมลงและพฤติกรรมของเพลี้ยไฟหัวหอมอย่างแท้จริง รวมไปถึงศึกษาพฤติกรรมของแมลงสายพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากตาข่ายสีแดงยังไม่สามารถป้องกันแมลงทุกสายพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าว นับว่าเป็นการค้นพบครั้งสำคัญและอาจปูทางไปสู่การลดใช้สารเคมีปราบแมลงในการทำเกษตร นอกจากนี้การใช้ตาข่ายสีแดงและรูตาข่ายที่ใหญ่ขึ้น ยังเพิ่มโอกาสให้พืชสามารถรับแสงแดด น้ำและการไหลเวียนของอากาศได้ดีมากขึ้นยิ่งขึ้น

'นายกฯ' ย้ำ!! ลงพื้นที่ไม่ต้องตามไปเยอะ  เน้นแค่คนที่จำเป็น ไม่ต้องสนเรื่องบารมี 

(20 ก.พ.67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ว่า นายกฯ ระบุว่าก่อนหน้านี้เคยสั่งการไปแล้วว่าขอให้ลดจำนวนผู้ติดตามในการลงพื้นที่ตรวจราชการ แต่ปรากฏว่าขบวนก็ยังยาวอยู่ คนติดตามก็ยังเยอะอยู่ นายกฯ จึงขอย้ำว่าจากนี้ให้ลดจำนวนผู้ติดตามลง อย่าทำให้มันเกิดปัญหากับประชาชนในเรื่องการจราจร และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งนายกฯ กังวลเรื่องนี้ ฉะนั้น ครม.ทุกท่านได้รับการย้ำแล้วว่า ไม่ต้องห่วงเรื่องบารมีอะไร เอาคนไปเท่าที่จำเป็น อย่ายกกันไปเยอะเกินไป พี่น้องประชาชนจะไม่แฮปปี้

‘หญิงสิงคโปร์’ ตัดสินใจจัด ‘งานศพคนเป็น’ ให้ตัวเอง หวังบอกลาคนที่รักครั้งสุดท้าย ก่อนจากไปด้วยโรคมะเร็ง

(20 ก.พ. 67) กลายเป็นไวรัลสุดเศร้าในโลกออนไลน์ หลังสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานถึงภาพวาระสุดท้ายในชีวิตของ ‘มิเชลล์ อึ้ง’ (Michelle Ng) หญิงสาวชาวสิงคโปร์ วัย 29 ปี ตัดสินใจจัดงานศพให้ตัวเองในบรรยากาศสุดอบอุ่น เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของคนที่รัก

โดยเชิญเพื่อนกับญาติ 30 คน มาร่วมงานเลี้ยง เพื่อเป็นการบอกลาครั้งสุดท้าย ก่อนที่เธอจะจากไปเพราะโรคมะเร็งในอีก 1 สัปดาห์หลังจากนั้น

ตามรายงานระบุจากข้อมูลของ ‘HCA Hospice Care’ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่จะให้ความช่วยเหลือ ดูแลแบบประคับประคองแก่ผู้ป่วย งานศพนี้มีการจัดเลี้ยงอาหาร และนักร้องมาร้องเพลง ไม่ต่างไปจากงานวันเกิด

ในคำเชิญที่มิเชลล์ส่งให้แขกที่มาร่วมงาน เธอยังสนับสนุนให้ทุกคนเขียนจดหมายฉบับสุดท้ายให้เธอ รวมถึงมีการนำหนังสือมาแลกเปลี่ยนกับญาติ และเพื่อนคนอื่น ๆ

มิเชลล์กล่าวในงานว่า “ฉันอยากจะแบ่งปันความรัก อาหาร ดนตรี และหนังสือกับเพื่อน ๆ” และบอกอีกว่า “ฉันอยากจะเรียกงานนี้ว่างานศพที่มีชีวิต… ฉันคิดว่าความตายอยู่ใกล้ใจเรามากและไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ขอบคุณที่ทำให้ฉันมีความสุขมากในวันนี้ ขอบคุณมากที่มา ฉันรู้สึกขอบคุณทุกเสียงหัวเราะที่ได้ยินและทุกรอยยิ้มที่ฉันเห็น”

อย่างไรก็ดี เดิมที มิเชลล์ เป็นนักวิ่งและนักปั่นตัวยง แถมยังมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ขณะที่ชีวิตกำลังไปได้สวยทุกอย่างก็ต้องหยุดลง เมื่อเธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ขณะมีอายุเพียง 27 ปี

กระทั่งในช่วงสิ้นปี 2565 มะเร็งได้ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อีกทั้งการรักษา ก็ไม่ทำให้อาการของเธอดีขึ้น

จากนั้นเธอจึงตัดสินใจอยู่บ้าน และใช้เวลาอยู่กับญาติ ๆ ให้มากขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือ ก่อนรู้ว่าตัวเองเหลือเวลาอยู่อีกไม่นาน จึงตัดสินใจจัด ‘งานศพคนเป็น’ ให้ตัวเองขึ้น เพราะอยากใช้วันสุดท้ายของชีวิตที่บ้านของเธอ ท่ามกลางคนที่เธอรักและรักเธอ

โดยงานศพในครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2566 หลังจากนั้น ผ่านไปได้ 10 วัน มิเชลล์ก็เสียชีวิตลงอย่างสงบ ในวันที่ 2 ม.ค.67 ที่ผ่านมา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top