Thursday, 25 April 2024
ตุรกี

‘ตุรกี’ ซบ ‘รัสเซีย’ จับมือร่วมพันธมิตรเฉพาะกิจ เคลียร์ปัญหาใจในซีเรีย ดีดสหรัฐฯ ออกนอกวง

เมื่อวันพุธ 29 กันยายน 2021 ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เปิดรีสอร์ทหรูในเมืองโซชิ ต้อนรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของ ประธานาธิบดี ราเซป ไทยิป แอโดแกน ผู้นำตุรกี เป็นการพบหน้าหารือกันเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน และในครั้งนี้ถือเป็นการประชุมวาระพิเศษ ที่ทั้ง 2 ผู้นำจะทำข้อตกลงร่วมกันในหลายประเด็น ได้แก่ การซื้อระบบขีปนาวุธ S-400 เสริมกองทัพตุรกี และจับมือกันเพื่อสร้างเสถียรภาพในซีเรีย

หลังจากที่นัดคุยกันเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมง แม้จะไม่มีการให้รายละเอียดกับผู้สื่อข่าวถึงเนื้อหาการประชุม แต่เป็นการพบกันด้วยบรรยากาศที่ชื่นมื่น โดยประธานาธิบดีปูตินได้กล่าวขอบคุณผู้นำตุรกีในการมาเยือนครั้งนี้ ที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นกันที่มีประโยชน์ร่วมกันอย่างมากมาย และจะมีการติดต่อกันเพิ่มเติมหลังจากนี้อีกแน่นอน 

เช่นเดียวกันกับประธานาธิบดีแอโดแกน ก็กล่าวว่าเป็นการพูดคุยอย่างมีเนื้อหาสาระจริงๆ และกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซีย และตุรกี เริ่มพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ การพูดคุยครั้งนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็จะประนีประนอมเข้าหากันเพื่อให้สามารถบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันได้ในที่สุด

แต่ผลประโยชน์อะไรที่ทำให้ทั้งตุรกี และ รัสเซีย พยายามจับมือร่วมกันให้ได้ในวันนี้ 

คำตอบอาจอยู่ที่ "ซีเรีย" 

ซึ่งที่ผ่านมา ปมความขัดแย้งอย่างหนึ่งระหว่างตุรกี และ รัสเซีย ก็เกิดขึ้นที่ซีเรีย โดยเป็นที่รู้กันว่าฝ่ายรัสเซียสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลของประธานาธิบดี บาซาร์ อัล-อาซาด มาโดยตลอด ในขณะที่ตุรกีสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาล และกองทัพของรัสเซีย ก็เคยปะทะกับฝ่ายกองทัพตุรกีในเมืองอิดลิบของซีเรียมาแล้ว

ถึงแม้จะมีความสัมพันธ์อันคลุมเครือ แต่ก็มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ทั้ง 2 ชาติมีความเห็นตรงกันคือ ไม่อยากให้สหรัฐอเมริกาเข้ามายุ่ง 

'เซเลนสกี้' โวย 'ตุรกี 2 มาตรฐาน' ทำตัวเป็นคนกลาง แต่กลับอ้าแขนรับนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย

ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์ตุรกีเมื่อวันจันทร์ (2 พ.ค.) ต่อการใช้มาตรการต่าง ๆ ดึงดูดกระตุ้นนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย ทั้งที่ขณะเดียวกัน อังการาพยายามรับบทบาทเป็นคนกลางในการเจรจาสันติภาพระหว่างเคียฟกับมอสโก

เซเลนสกี้ ให้สัมภาษณ์กับ ERT สถานีโทรทัศน์กรีซ ว่า ตุรกีกำลังแสดงออกถึงความ 2 มาตรฐาน เพราะว่าพวกเขาทำตัวในฐานะคนกลางสำคัญช่วยยุติปฏิบัติการรุกรานยูเครนของรัสเซีย แต่ขณะเดียวกัน กลับกำลังเตรียมการสำหรับเป็นจุดหมายปลายทางต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย

เซเลนสกี้ ระบุอีกว่า ด้านหนึ่งตุรกีทำตัวเป็นคนกลาง และสนับสนุนยูเครนด้านมาตรการต่าง ๆ ที่สำคัญ แต่อีกด้านหนึ่งที่เราเห็น ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้พวกเขากำลังเตรียมการเส้นทางการท่องเที่ยวหลายเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวรัสเซีย คุณไม่สามารถจัดการมันด้วยแนวทางนั้น มันคือ 2 มาตรฐาน

ทั้งนี้ รัฐบาลตุรกี ได้วางกรอบแผนการสำหรับปล่อยกู้ราว 300 ล้านดอลลาร์แก่บริษัทท่องเที่ยวของตุรกีที่ทำธุรกิจกับรัสเซีย และเพิ่มเที่ยวบินทั้งขาออกและขาเข้าจากมอสโก และเมืองอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของพวกเขา ในขณะที่การท่องเที่ยวตุรกีพึ่งพานักท่องเที่ยวรัสเซียเป็นหลัก

วัดพลังชาติสมาชิก!! เมื่อ 'ตุรกี' ขวาง 'สวีเดน-ฟินแลนด์' เข้าร่วมนาโต้ แต่อาจไร้ผล หากชาติมหาอำนาจปูเสื่อรอ

(16 พ.ค.65) ประธานาธิบดี เรเจป ไตยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เน้นย้ำจุดยืนของตุรกีที่จะต่อต้านการเป็นสมาชิกนาโต้ของฟินแลนด์และสวีเดน โดยกล่าวหาทั้งสองประเทศ ว่าล้มเหลวในการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในการต่อต้านก่อการร้าย

"เราจะไม่ตอบตกลงกับประเทศเหล่านี้ ที่มาขออนุมัติจากตุรกี เพื่อเข้าร่วมองค์กรความมั่นคงนาโต้" แอร์โดอัน กล่าว

ก่อนหน้านี้บรรดาผู้แทนทูตของสวีเดนและฟินแลนด์ แสดงถึงความตั้งใจพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตุรกี ในเรื่องนี้ แอร์โดอัน ระบุว่า "พวกเขาบอกว่าจะมาตุรกีในวันจันทร์ พวกเขาจะมาโน้มน้าวเรางั้นหรือ? ขอโทษนะ เราไม่สนใจพวกเขาหรอก"

อย่างไรก็ตาม ตุรกี ขู่ขัดขวางการแผ่ขยายอาณาเขตของกลุ่มพันธมิตรแห่งนี้ โดยกล่าวหาว่า สวีเดน และ ฟินแลนด์ เป็นแหล่งกบดานของพวกก่อการร้าย ซึ่งในนั้นรวมถึงกลุ่มนอกกฎหมายนักรบเคิร์ด ซึ่งอยู่ในบัญชีดำของทั้งอังการา, อียูและสหรัฐฯ

"ทั้งสองประเทศไม่ได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเลย ในการต่อต้านองค์กรก่อการร้าย และการสมัครเข้าเป็นสมาชิกใดๆ จึงจำเป็นต้องได้รับการเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จาก 30 ชาติสมาชิกปัจจุบันของนาโต้" แอร์โดอัน กล่าวเสริม

ตุรกียื่นข้อเสนอ รับสวีเดนและฟินแลนด์เข้า NATO หากหยุดสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในตุรกี | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.52

✨ ตุรกียื่นข้อเสนอ รับสวีเดนและฟินแลนด์เข้า NATO หากหยุดสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในตุรกี

✨ เสียสละซะ!! ‘ทูตยูเครน’ ชี้!! ชาติยุโรปควรเสียสละทางเศรษฐกิจ เพื่อกดดันการคว่ำบาตรรัสเซีย

✨ จีนฟาดกลับแรง!! บอก G7 ควรใส่ใจปัญหาของตน หยุดบังคับชาติอื่นคว่ำบาตรตามคำสั่ง

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

.

.

ตุรกี ยัน สวีเดน-ฟินแลนด์ เบื้องหลังกลุ่มก่อการร้ายพีเคเค ย้ำ!! หากนาโตรับเข้าพวก ยิ่งเสี่ยงต่อความมั่นคงของตุรกี

ประธานาธิบดีเรเวป เทย์ยิป เออร์โดวาน ของตุรกี ยืนยัน ตุรกีจะไม่ยอมให้ประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้ายเข้าเป็นสมาชิกนาโต แม้ว่าสวีเดนและฟินแลนด์ได้ออกมาประณามการก่อการรายก่อนหน้านี้ แต่เออร์โดวานเชื่อว่า พวกเขาไม่จริงใจหรือซื่อสัตย์เพียงพอ 

เออร์โดวาน ผู้นำตุรกี ได้เขียนบทความที่เผยแพร่โดยนิตยสาร Economist เน้นย้ำให้เห็นถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มติดอาวุธพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน หรือ พีเคเค ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่ตุรกีต่อต้านสวีเดนและฟินแลนด์ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต และกล่าวว่า ทั้งสองประเทศที่กำลังทำเช่นนั้น จะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงสำหรับตุรกี

ทั้งนี้ กลุ่มพีเคเค ต่อสู้กับรัฐบาลตุรกีมานาน 38 ปี มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน ถูกขึ้นบัญชีให้เป็นองค์กรก่อการร้ายโดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งรวมทั้งสวีเดนและฟินแลนด์ด้วย 

อย่างไรก็ตาม ทัศนคติของชาติตะวันตกที่มีต่อกลุ่มติดอาวุธที่ชื่อว่า 'หน่วยพิทักษ์ประชาชน' หรือวายพีจี ในซีเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพีเคเค เป็นสาเหตุให้เกิดความบาดหมางระหว่างตุรกีและสมาชิกนาโตชาติอื่น ๆ เนื่องจากกลุ่มวายพีจี เป็นกองกำลังสำคัญของกองทัพที่นำโดยสหรัฐฯ ในการกวาดล้างกลุ่มนักรบรัฐอิสลาม หรือไอเอส 

สหประชาชาติเห็นชอบ เปลี่ยนชื่อ 'ตุรกี' เป็น 'ตุรเคีย' หวังเพิ่มเกียรติภูมิในเวทีโลก มีผลบังคับใช้ทันที

'ตุรกี' เปลี่ยนชื่อประเทศใหม่ เป็น 'ตุรเคีย' โดยผ่านความเห็นชอบจากสหประชาชาติแล้ว และมีผลในทันที หลังจากที่รณรงค์เปลี่ยนชื่อประเทศมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2021) ภายใต้การนำของ 'เรเซป ทายยิป เออร์โดกัน' (Recep Tayyip Erdogan) ประธานาธิบดีแห่งตุรกี

สเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกประจำตัวของ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) แถลงข่าวว่า สหประชาชาติอนุมัติการยื่นขอเปลี่ยนชื่อประเทศของตุรกี เป็น 'ตุรเคีย' (Türkiye) แล้ว หลังตุรกีรณรงค์เปลี่ยนชื่อประเทศมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปีที่แล้ว

โดย ดูจาร์ริก ระบุว่า การปรับเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งนี้ มีผลบังคับใช้ทันทีที่สหประชาชาติได้รับจดหมายจากเมฟลุต คาวูโซลู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ซึ่งส่งถึง กูแตร์เรส พร้อมคำร้องขอเปลี่ยนชื่อประเทศ

ด้านคาวูโซลูเผยว่า การเปลี่ยนตัวสะกดชื่อประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานที่มีจุดประสงค์เพิ่มเกียรติภูมิของตุรกีในเวทีโลก กระบวนการดังกล่าว เริ่มต้นขึ้นภายใต้ความเป็นผู้นำของประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดวาน

จดหมายของคาวูโซกลู ที่ส่งถึง กูแตร์เรส ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2021 เพื่อขอใช้ชื่อประเทศในภาษาต่างประเทศ คือ ตุรเคีย (Turkiye) แทนตุรกี (Turkey)

สำหรับการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อต่างประเทศและประชาชนทั่วไปในประเทศ รวมถึงการค้าขายระหว่างประเทศด้วย อาทิ การติดฉลากบนสินค้า จากเดิม “Made in Tukey” กลายเป็น “Made in Türkiye” และ กิจกรรมและการสื่อสารที่เป็นทางการในระดับนานาชาติ จะเปลี่ยนมาใช้ “Türkiye” ทั้งหมด

ส่วนเหตุผลเรื่องการเปลี่ยนชื่อประเทศนั้น อาจมาจากคำว่า Turkey แบบเดิม มีคำพ้องเสียงภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า 'ไก่งวง' ซึ่งเป็นนกที่บินไม่ได้จำพวกหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าเป็นเมนูอาหารในวันคริสต์มาสหรืออาหารมื้อค่ำในวันขอบคุณพระเจ้า และยังมีคำจำกัดความในพจนานุกรมบางแห่งด้วยว่า Turkey มีความหมายว่า 'บางสิ่งที่เลวร้าย'

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ยังมองว่า รัฐบาลตุรกีคำนึงถึงเรื่องภาพลักษณ์จากภายนอกที่มีต่อประเทศด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลตุรกีพยายามขยายขอบเขตภาพจำเกี่ยวกับประเทศ จากที่เดิมทีแล้ว บางครั้งผู้คนก็ผูกโยงกับภาพลักษณ์ทางการทหาร ให้เพิ่มไปสู่เรื่องความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างเช่น ซีรีส์ที่ฉายทางช่องทางต่างๆ

เมื่อช่วงหลังรัฐบาลตุรกีค่อนข้างให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตัวเอง นักวิเคราะห์มองว่า ความเคลื่อนไหวเรื่องปรับชื่อประเทศนี้เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันภาพลักษณ์ความเป็นตุรกีในแบบใหม่ไปสู่สายตานานาชาติ

แฟนบอลตุรกี ตะโกนชื่อ 'ปูติน' เย้ยทีมยูเครน ระหว่างศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือก

ทูตยูเครนประจำตุรกีเมื่อวันพฤหัสบดี (28 ก.ค.) แสดงความรู้สึก 'เศร้าใจเป็นอย่างยิ่ง' ต่อเหตุการณ์แฟนบอลของสโมสรเฟเนร์บาห์เชของตุรกี ตะโกนเรียกชื่อ 'วลาดิมีร์ ปูติน' ก้องสนาม เย้ยหยันทีมเยือน ระหว่างศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือก ระหว่างเจ้าถิ่นกับดีนาโม เคียฟ ของยูเครน ในอิสตันบูล

ในภาพที่ปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ พบเห็นแฟนบอลบางส่วนที่อัดแน่นอยู่ในสนามเหย้าของเฟเนร์บาห์เช ตะโกนร้องเพลงเรียกชื่อประธานาธิบดีรัสเซีย ตอบโต้หลังถูกทีมเยือนยิงออกนำไปก่อนในเกมการแข่งขันเมื่อวันพุธ (27 ก.ค.) ก่อนเกมจบลงด้วยการที่ ดีนาโม เคียฟ เป็นฝ่ายเอาชนะไป 2-1 และผ่านเข้าสู่รอบต่อไป หลังจากนัดแรกที่ ดีนาโม เคียฟ เป็นเจ้าบ้าน แต่ต้องย้ายไปแข่งที่โปแลนด์ สืบเนื่องจากการรุกรานของรัสเซีย ลงเอยด้วยการเสมอกัน 0-0

ผลในนัดนี้ทำให้ ดีนาโม เคียฟ ผ่านเข้าสู่รอบ 3 ของศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ส่วน เฟเนร์บาห์เช ต้องจอดป้ายเพียงเท่านี้

"มันน่าเศร้าอย่างยิ่งที่ได้ยินถ้อยคำสนับสนุนฆาตกรรัสเซียและผู้รุกรานที่ทิ้งระเบิดใส่ประเทศของเรา จากแฟนบอลของเฟเนร์บาห์เช" วาซีล บอดนาร์ เอกอัครราชทูตยูเครนประจำตุรกีเขียนบนทวิตเตอร์ ส่วนทางสโมสรเฟเนร์บาห์เช เผยแพร่ถ้อยแถลงว่าพฤติกรรมของแฟนบอล "ไม่ได้เป็นตัวแทนของจุดยืนและค่านิยมของสโมสร"

อย่างไรก็ตาม ทางเฟเนร์บาห์เช โต้แย้งว่าแฟนบอลส่งเสียงตะโกนชื่อปูติน "เป็นเวลาแค่ 20 วินาที" และไม่เผยแพร่ถ้อยแถลงขอโทษอย่างเป็นทางการใดๆ

สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (UEFA) เปิดเผยว่าพวกเขากำลังแต่งตั้งคณะผู้สืบสวนด้านจริยธรรมและระเบียบวินัย เข้าตรวจสอบคำกล่าวหาแฟนบอลของเฟเนร์บาห์เชแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม

ชื่อของ ปูติน มีความเกี่ยวข้องกับเคียฟ ทั้งในเรื่องการรุกรานที่ยืดเยื้อมานาน 5 เดือนและความขัดแย้งกับกบฏแบ่งแยกดินแดนที่เครมลินให้การสนับสนุน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน มากกว่า 14,000 คน นับตั้งแต่ปี 2014

มีร์เซีย ลูเชสคู ผู้จัดการทีมชาวโรมาเนียของดีนาโม ปฏิเสธเข้าร่วมแถลงข่าวหลังจบเกม เพื่อประท้วงเหตุตะโกนเรียกชื่อปูติน "ผมไม่คาดคิดเลยว่าจะมีการตะโกนแบบนี้ มันน่าเศร้ามาก" เขาระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ถึงสื่อมวลชนตุรกี

โดยทั่วไปแล้ว ตุรกี เป็นที่ชื่นชมในหมู่ประชาชนชาวยูเครนจำนวนมาก สืบเนื่องจากพวกเขาให้การสนับสนุนทางทหารแก่รัฐบาลเคียฟที่ได้รับการหนุนหลังจากตะวันตก

'แสนยากรณ์' ชื้ หากสภาเสียเวลาแก้ระบบเลือกตั้งนานไป จะทำให้ญัตติประชาชนแก้ รธน. ม.272 ห้าม ส.ว.เลือกนายกฯ ไม่ทันสมัยประชุมนี้

นายแสนยากรณ์ สิงห์วีรธรรม โฆษกพรรคกล้า กล่าวถึงความพยายามเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งจากระบบหาร 500 กลับไปใช้ระบบหาร 100 ว่า เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมรัฐสภา เห็นชอบให้ใช้การคำนวณแบบหาร 500 ไปแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนแก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้อง แล้วลงมติวาระ 3 แต่บางฝ่ายที่อยากได้ระบบหาร 100 ส่งสัญญาณใช้แท็กติกทางการเมือง ยื้อเวลาให้การแก้ไข พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พิจารณาไม่ทันกรอบ 180 วัน คือวันที่ 15 สิงหาคมนี้ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะทำให้รัฐสภาผ่านกฎหมายไม่ได้แล้ว ยังส่งผลกระทบทำให้ญัตติสำคัญหลายญัตติ โดยเฉพาะญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 อาจไม่ทันพิจารณาในสมัยประชุมนี้

สภากาชาดไทยสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรีย

สภากาชาดไทยอนุมัติเงินช่วยเหลือฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมให้กับสภาเสี้ยววงเดือนแดงตุรกีและสภาเสี้ยววงเดือนแดงอาหรับซีเรีย จำนวน 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวในสาธารณรัฐตุรกีและสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย และจะเปิดรับบริจาคจากสาธารณชนเพื่อส่งเงินบริจาคเพิ่มเติมไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้แทนสภากาชาดไทย โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์และสำนักวิเทศสัมพันธ์ ได้เข้าร่วมการประชุมทางไกลกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือและเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งความช่วยเหลือไปยังตุรกีและซีเรีย

สภากาชาดไทยขอแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในตุรกีและซีเรียและ ขอไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตและผู้สูญเสียจากเหตุการณ์นี้ สภากาชาดไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในเร็ววัน

เหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัด Kahramanmaraş ส่งผลให้ประชาชนทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐตุรกีและทางตอนเหนือของสาธารณรัฐอาหรับซีเรียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ประชาชนหลายล้านคนเดือดร้อน สภาเสี้ยววงเดือนแดงตุรกีและสภาเสี้ยววงเดือนแดงอาหรับซีเรียได้ออกปฏิบัติการตอบโต้ภัยพิบัติในทันที โดยทางเว็บไซต์ของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) รายงาน ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า สภาเสี้ยววงเดือนแดงตุรกีได้กระจายทีมให้ความช่วยเหลือไปยังพื้นที่กว่าสิบจังหวัดทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมนำอาหารและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลพื้นฐาน อาทิ ที่พักอาศัยชั่วคราวและผ้าห่ม เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บและใช้ในการอพยพ นอกจากนี้ สภาเสี้ยววงเดือนแดงตุรกียังให้การสนับสนุนช่วยเหลือทางจิตใจ พร้อมกับส่งโลหิตและพลาสมาสำรองให้กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย ในส่วนของสภาเสี้ยววงเดือนแดงอาหรับซีเรีย ได้ช่วยสนับสนุนปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ ส่งอุปกรณ์ปฐมพยาบาล และขนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไปส่งที่โรงพยาบาล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top