Friday, 29 March 2024
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมส่งเสริมการเกษตร แถลงข่าวออนไลน์เผยความคืบหน้าโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ จาก COVID-19 ดำเนินการได้ตามแผน เกษตรกรสามารถลดต้นทุน

 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกภาคส่วน ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบของพี่น้องเกษตรกรทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้น ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกร ที่ประสบปัญหาสินค้าล้นตลาด ราคาตกต่ำ เพื่อนำไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้ “โครงการแบ่งปันน้ำใจ เกษตรไทยสู้ภัยโควิด-19” ซึ่งดำเนินการแล้ว 264 ครั้ง 46 จังหวัด รวมเป็นมูลค่าสินค้าทั้งสิ้น 1.2 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงการช่วยกระจายผลผลิตให้กับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ในแคมเปญ  “เกษตรกรแฮปปี้”  จำนวน 2 เฟส  สามารถช่วยระบาย มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ได้จำนวนมาก ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากพี่น้องประชาชน ทำให้ราคาผลไม้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นที่น่าพอใจ และได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการขนส่งและเป็นจุดกระจายสินค้า 

สำหรับระยะยาว กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินงานโครงการสำคัญหลายโครงการ ภายใต้โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีโครงการสำคัญหลายโครงการได้แก่ โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ซึ่งมีหลายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมดำเนินการ และโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) เป็นต้น ซึ่งผลการดำเนินการในแต่ละโครงการ กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการเป็นไปตามแผนที่ได้วางกรอบเอาไว้เป็นที่น่าพอใจ และพร้อมกำชับให้กรมส่งเสริมการเกษตรรายงานผลการดำเนินงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบอย่างต่อเนื่อง  

ด้านนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สำหรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการ แบ่งตามแหล่งที่มาของงบประมาณ ประกอบด้วย 1) เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 จำนวน 12 โครงการ เช่น โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) และโครงการที่หน่วยงานระดับจังหวัดเสนอขอดำเนินการ เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตร (สมุทรสงคราม) โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยเชิงการค้าในกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ (จังหวัดสตูล) เป็นต้น  ผลการดำเนินงานโดยภาพรวม มีการเบิกจ่ายไปแล้วประมาณ 3,029 ล้านบาท คิดเป็น 56.92% ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร โดยมีหลายโครงการที่ดำเนินการเบิกจ่ายเสร็จสิ้นแล้ว  และ 2) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  
จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตร (จังหวัดสมุทรสงคราม) และโครงการโรงเรือนเพาะเห็ดอัจฉริยะ (จังหวัดสระบุรี) ขณะนี้ดำเนินการเบิกจ่ายไปแล้วประมาณ 1.14 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 83.37 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับ 

‘จุรินทร์’ ยันให้เกียรตินายกฯ และทุกพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อนายกฯ คลี่คลายปัญหาให้เรียบร้อย

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี, รมว.พาณิชย์ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงการที่นายกรัฐมนตรีมอบให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล 4 กรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เคยอยู่ในการดูแลของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรมช.เกษตรฯ ว่า ตนไม่ขอพูดอะไรถึงเรื่องนี้เพิ่มเติม เพราะทุกอย่างเหมือนกับที่เคยพูดไปในเรื่องความเห็น อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้รับทราบเรื่องนี้แล้ว ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะออกมาด้วยดี

เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีจะเปลี่ยนให้ทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวมาอยู่ในการดูแลของ รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่? นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถามนายกรัฐมนตรี แต่อย่างน้อยที่สุด ตนได้สื่อสารถึงนายกฯ แล้ว และท่านได้รับทราบ ทั้งนี้ส่วนตัวตนเชื่อว่าทุกอย่างจะออกมาด้วยดี พรรคประชาธิปัตย์ให้เกียรตินายกรัฐมนตรีในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล และให้เกียรติทุกพรรคที่ร่วมรัฐบาล เพราะเราเข้าใจดีถึงวัฒนธรรมของพรรคการเมืองในการทำงานร่วมกัน ในรูปแบบรัฐสภาและรัฐบาลผสม  ดังนั้นให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้คลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น  ส่วนจะเป็นการออกคำสั่งใหม่หรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ ขอให้ไปถามนายกรัฐมนตรี เพราะตนได้สื่อสารให้ท่านทราบแล้ว

 

“เฉลิมชัย” เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร เปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565 – 2566 สั่งทุกหน่วยงานเดินหน้าเต็มสูบ!!

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (zoom meeting) จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0

โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ลดความเหนื่อยยากของการใช้แรงงานในภาคการเกษตร มีการนำเอาเครื่องมือจักรกลและเครื่องมือทันสมัย โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยในตลาดโลก

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะและเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร สามารถนำกรอบข้อเสนอโครงการที่จัดทำไว้ ภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับนี้ไปปรับใช้เป็นข้อเสนอโครงการในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ

นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร

โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุก ๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอภายใน 3 ปี เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวว่า ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ขึ้น มีองค์ประกอบอนุกรรมการ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech

2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ

3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce และ

4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด เข้ามาช่วยขับเคลื่อนดำเนินการมุ่งสู่เกษตร 4.0

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะปี 2565 - 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำโดยคณะอนุกรรมการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งมี ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ เป็นประธานประกอบด้วย 6 ยุทธสาสตร์ 18 แผนงาน 63 โครงการ จะเป็นคานงัดและเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญในการปฎิรูปภาคการเกษตรตามนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

 

เร่งเดินหน้า “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ครองแชมป์โลกยางพารา!! “อลงกรณ์” ปักหมุด 7 กลยุทธ์รุกตลาดน้ำยาง 5 หมื่นล้าน เพิ่มรายได้เกษตรกร อัพเกรด กยท.เป็นองค์กรระดับโลก!!

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางกล่าววันนี้(10ต.ค)ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินนโยบายบริหารจัดการยางพาราสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกยางจำนวน 1.83 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 24.76 ล้านไร่ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้บูรณาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการตลาดยางพารา โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ซื้อ และผู้ขาย ประกอบด้วย ตลาดกลางยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 8 แห่ง ตลาดซื้อขายออนไลน์ และตลาดยางพาราท้องถิ่น รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางด้านรายได้ในภาวะช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดผลกระทบจากวิกฤติโควิด19ด้วยการขับเคลื่อนโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางตลอดจนการสร้างกลไกและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการรักษาเสถียรภาพราคา และเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การขับเคลื่อนนโยบายตลาดเชิงรุกโดยการให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ทูตเกษตรประจำอยู่ต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับทูตพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ตามโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตได้ผนึกกำลังกันส่งเสริมการตลาดยางพาราในประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ พร้อมกับติดตามและรายงานข้อมูลสถานการณ์การนำเข้าและส่งออก สินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย และสภาวะแวดล้อมด้านการค้าการแข่งขัน รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโอกาสทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการปรับมิติของกลยุทธ์การตลาดยางพารา โดยขับเคลื่อนร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาตลาดยางพาราในต่างประเทศ ทั้งในตลาดเก่า และการเปิดตลาดใหม่โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share)และขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ ดำเนินการเร่งดำเนินการจัดตั้ง”ตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริงของยางพารา”โดยกยท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.พร้อมกันนั้นก็เร่งส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล จากผลกระทบของโควิด-19

รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการผลิตการแปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในงานด้านวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เน้นเทคโนโลยีเมดอินไทยแลนด์(made in Thailand)

พร้อมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยางพารา เช่น “โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม” และโครงการเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่สู่ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรยุคใหม่(Big Brothers)

รวมถึงข้อริเริ่มใหม่ ๆ เช่นโครงการ Rubber Valley ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (suitability and development of the rubber industry in Nakhon Si Thammarat Province) ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) ของรัฐบาลสู่การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ครอบคลุมทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราทั้งระบบ

วิกฤตโควิด-19 เป็นปัญหาและโอกาสที่ท้าทายประเทศไทยซึ่งข้อมูลและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อไปนี้คือคำตอบว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหนและเดิมพันก็สูงมากแต่ก็คุ้มค่าสำหรับอุตสาหกรรมยางพาราโดยเฉพาะน้ำยางข้น ยางพาราโลกปี2563 ไทยเบอร์ 1 ผลผลิตยางพาราโลกปี 2563 มีปริมาณ 12.9 ล้านตัน โดยประเทศไทยมีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 4.4 ล้านตัน หรือ 38.2% รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินเดีย

เอเชียผลิตมากที่สุดในโลก ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผลิตยางพารา 93% ของผลผลิตยางพาราทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นแหล่งผลิตใหญ่ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศกลุ่ม CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam)  

ไทย...แชมป์โลกส่งออกน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควัน

ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางของโลก โดยเฉพาะน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควันส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

แนวโน้มการส่งออก

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว 5.0-8.0% ต่อปี ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ต่าง ๆ  โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทย และเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลก

ขณะที่ผู้ผลิตน้ำยางข้นยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องตามทิศทางความต้องการของอุตสาหกรรมขั้นปลาย ได้แก่ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ และถุงยางอนามัยในตลาดโลก ประกอบกับการผลิตน้ำยางข้นในตลาดโลกยังมีน้อยเนื่องจากกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ยังเน้นผลิตเพียงยางก้อนถ้วยและเศษยาง ทำให้ภาวะการแข่งขันในการส่งออกน้ำยางข้นไม่รุนแรงนัก

จุดแข็งและโอกาสของน้ำยางพาราไทย

1.การผลิตน้ำยางสด92%

การผลิตน้ำยางสดมีสัดส่วนถึง 92% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมดซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางได้ทุกประเภท ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ส่วนใหญ่ผลิตยางก้อนถ้วยจึงเน้นผลิตยางแท่งเป็นหลัก

2.ศักยภาพน้ำยางข้นไทยอันดับ1ของโลก

อุตสาหกรรมน้ำยางข้นของไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทในปี 2563 (มูลค่ารวมส่งออกและใช้ในประเทศ) โดยส่งออกในสัดส่วน 75.9% และไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเกือบ 70% ของปริมาณการค้าน้ำยางข้นทั่วโลก

3.ตลาดใกล้กระจุกตัวแต่มีตลาดทั่วโลกรออยู่

ตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่ใกล้บ้านในอาเซียนและเอเซียตะวันออกคือ มาเลเซียที่มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณส่งออกน้ำยางข้นทั้งหมด รองลงมาเป็นจีน (33.5%) และเกาหลีใต้ (1.8%) แต่ในอีกแง่หนึ่งคือการมีตลาดดั้งเดิมกระจุกใน3ประเทศแสดงว่ายังมีตลาดใหม่ในอีกกว่า100ประเทศรอเราอยู่

4.Covid โอกาสในวิกฤติ

จากวิกฤติโควิด19 ทำให้ความต้องการน้ำยางข้นเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมถุงมือยางและถุงยางอนามัย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซีย The Malaysian Rubber Glove Manufacturers Association (MARGMA) คาดการณ์ความต้องการถุงมือยางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 662 พันล้านชิ้นในปี 2566 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 23.1% ต่อปีในช่วงปี 2564-2566

‘อลงกรณ์’ ปลื้ม ผลงานประกันรายได้ชาวนา ดันเงินหมุนเวียนนับล้านล้านบาท 

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็น 1 ใน 5 พืชเศรษฐกิจหลัก ภายใต้นโยบายประกันรายได้เกษตรกร ได้แก่ ข้าว, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์ม, น้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ “ไม่ใช่ภาระแต่เป็นธุระของรัฐบาล” ในการบริหารนโยบายให้สำเร็จตามที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นโครงการที่เกษตรกรพึงพอใจมากที่สุดโครงการหนึ่งของรัฐบาล

เพราะสามารถสร้างหลักประกันรายได้ (Universal basic income) จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในช่วงที่เกิดความผันผวนของราคาผลผลิตทางการเกษตร จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจวิกฤตไปทั่วโลก ซึ่งนี่ถือเป็นนโยบายเรือธง (Flagship policy) ของพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาล

สำหรับโครงการประกันรายได้ชาวนาเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์แห่งอนาคตในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition period) ของการปฏิรูปภาคเกษตรเพื่อสร้างศักยภาพใหม่ของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าว 5 ปี (2563-2567) ที่เริ่มมาแล้วตั้งแต่ปี 2563 ขับเคลื่อนด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ตั้งแต่… 

‘ต้นน้ำ’ การผลิตมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนพัฒนาพันธ์ุสร้างมาตรฐานเชื่อมโยง 

‘กลางน้ำ’ การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม 

และ ‘ปลายน้ำ’ การตลาดแบบออนไลน์/ออฟไลน์ ทั้งตลาดในและต่างประเทศตามโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต

“โครงการนี้ได้ช่วยพัฒนาฐานะและชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและครอบครัวเกือบ 30 ล้านคน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีแรงงานและการจ้างงานมากที่สุด อีกทั้งเป็นฐานรากสำคัญของประเทศ ทำให้สามารถรักษาการผลิตสินค้าเกษตรสร้างรายได้ในการส่งออกให้กับประเทศของเราจนเป็นอันดับต้นของสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (มองในมุมของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและการนำรายได้เข้าประเทศ) ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่และภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว มีตัวเลขการส่งออกที่ลดลง

“ประการสำคัญ คือ เงินประกันรายได้ที่เกษตรกรได้รับ เกิดจากการทำงานแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน จากหยาดเหงื่อแรงกาย ไม่ใช่การแจกจ่ายแบบให้เปล่า (Free rider) จำนวนหลายแสนล้านบาทเหมือนโครงการอื่น ๆ ของรัฐ”

นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ภาคเกษตรในรัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ กำลังนำภาคเกษตรกรรมเข้าสู่มิติใหม่โดยเฉพาะเกษตรอัจฉริยะแนวทางเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) ที่ใช้บิ๊กดาตา (Big Data) และดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Technology) รวมถึงการทำเกษตรแปลงใหญ่ซึ่งพัฒนาขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 5,000 แปลง รวมพื้นที่กว่า 6 ล้านไร่ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเกษตรและประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืน เน้นการบูรณาการความร่วมมือทำงานเชิงรุกกับทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคเกษตรกร ด้วยการสร้างกลไกเชิงโครงสร้างและระบบเพื่อขับเคลื่อนด้วยแนวทางใหม่ ๆ ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตร...

‘เฉลิมชัย’ ปูพรมเกษตรกรรมยั่งยืน 1.7 ล้านไร่ เดินหน้าดันฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล

“เฉลิมชัย” โชว์ผลงานเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) ปี 64 กว่า 1.7 ล้านไร่ เร่งเครื่องวางหมุดหมายฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล ดึง “พอช.” ลุยชุมชนสีเขียวพร้อม ผนึก “ศธ.” ปั้นกรีนสกูล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (18พ.ย.) ว่าดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบ ZOOM โดยมีนายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม, นายสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ, นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย, ตัวแทนหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ตัวแทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์), เครือข่ายของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, ตัวแทนภาคเกษตรกร ร่วมในการประชุม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า จากความร่วมมือของทุกภาคีภาคส่วน ทำให้การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในปีนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากจากรายงานการดำเนินงานของหลายหน่วยงานสามารถขยายพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนประจำปีงบประมาณ 2564 ได้กว่า 1,766,269.15 ไร่ ทั้งในรูปแบบของเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์

นอกจากนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล (Tambom Sustainable Agriculture Development Project : TAP) ซึ่งมีเป้าหมาย 7,255 ตำบล ทั่วประเทศ โดยจะเน้นส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งในทุกตำบล และเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืนกินได้ อยู่ได้ และอยู่ดี ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน” ใน 21 แนวทางได้แก่ 

(1) 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ 
(2) 1 ตำบล 1 ร้านค้าเกษตรตำบล
(3) 1 ตำบล 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ 
(4) 1 ตำบล 1 Product Champion 
(5) 1 ตำบล 1 วนเกษตร 
(6) 1 ตำบล 1 กลุ่ม Young Smart 
(7) 1 ตำบล 1 เกษตรธรรมชาติ 
(8) 1 ตำบล 1 แปลงสมุนไพร 
(9) 1 ตำบล 1 เกษตรผสมผสาน 
(10) 1 ตำบล 1 กลุ่มปศุสัตว์ 
(11) 1 ตำบล 1 เครือข่ายศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 
(12) 1 ตำบล 1 กลุ่มประมง 
(13) 1 ตำบล 1 องค์กรกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร 
(14) 1 ตำบล 1 ท่องเที่ยวเกษตร 
(15) 1 ตำบล 1 โครงการชลประทานชุมชน 
(16) 1 ตำบล 1 เครือข่าย ศพก. 
(17) 1 ตำบล 1 ธนาคารต้นไม้ (ผลิตและจำหน่ายต้นกล้า) 
(18) 1 ตำบล 1 วิสาหกิจชุมชน 
(19) 1 ตำบล 1 กลุ่มเครื่องจักรกลเกษตร 
(20) 1 ตำบล 1 ตลาดออนไลน์ 
(21) 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรพลังงาน 

ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการ ก่อนนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อการขับเคลื่อนต่อไป 

เพชบูรณ์ - มณฑลทหารบกที่ 36 สนับสนุนผลผลิตลำใย ที่ได้รับผลกระทบผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ ของเกษตรกรในพื้นที่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 ได้มอบลำไยพันธ์อีดอ (เกรดเอ) ให้กับกำลังพลของหน่วย โดยรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากกรณีผลไม้ล้นตลาด และราคาตกต่ำของเกษตรในพื้นที่ อ.จอมทอง จว.ช.ม. จำนวน 25 ตัน ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)

โดย มณฑลทหารบกที่ 36 สนับสนุนการรับซื้อลำไยจากเกษตรกรที่ได้รับ ผลกระทบ จำนวน 350 กิโลกรัม (117 ตะกร้า) ณ กองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 36 ค่ายพ่อขุนผาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

“เฉลิมชัย” โชว์ผลงานนโยบายสมุนไพร! ปั้นเกษตรกร 3 แสนราย ดันแปลงใหญ่ชู!! “สมุนไพรอินทรีย์” ลุยตลาด 50,000ล้าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าววันนี้ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน กำหนดนโยบายส่งเสริมสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต(Future Food Future Crop) เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพทางเลือกและมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมทั้งสนับสนุนการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและทุกภาคีภาคส่วนถือเป็นหนึ่งในเกษตรมูลค่าสูงโดยส่งเสริมสนับสนุนตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา(R&D)ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำการตลาด

จากมาตรการการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร ทำให้มีความคืบหน้าอย่างมากโดยในปัจจุบันมีเกษตรกร 369,353 รายขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านพืชสมุนไพร เครื่องเทศ พืชสมุนไพรที่เป็นพืชอาหาร (รวม 82 ชนิด) ดำเนินการปลูกพืชสมุนไพรบนพื้นที่รวมประมาณ 1.15 ล้านไร่  แบ่งออกเป็น การปลูกพืชสมุนไพรให้ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้า GAP และมาตรฐานพืชสมุนไพรอื่น ๆ กว่า 6.4 หมื่นไร่ และมีกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่พืชสมุนไพร ตั้งแต่ปี 2559 – 2564 จำนวนทั้งสิ้น 37 แปลง จำนวนเกษตรกร 1,565 ราย พื้นที่ 7,913 ไร่ ใน 22 จังหวัด และในปี 2565 ได้มีกลุ่มเกษตรกรขอเข้าร่วมโครงการอีกจำนวน 15 กลุ่ม กำลังอยู่ในขั้นตอนขอรับรองแปลง และกระทรวงฯ มีโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพรปี 2565 มีเป้าหมายเกษตรกร จำนวน 1,110 ราย ในพื้นที่ 37 จังหวัด และจัดทำแปลงขยายและรวบรวมพันธุ์สมุนไพรในศูนย์ปฏิบัติการ จำนวน 16 ศูนย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวัตถุดิบ ส่งเสริมการผลิตสมุนไพร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามแนวเกษตรปลอดภัย สร้างรายได้แก่เกษตรกรและเพิ่มมูลค่าการส่งออกอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ทั้งนี้ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งกลับมาขยายตัวอีกครั้งตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไปด้วยอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 4% ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิด Covid-19 ที่มูลค่าตลาดประมาณ 54,500 ล้านบาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อร่วมกันพัฒนาสมุนไพรให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพและระบบเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรให้ไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงในทุกมิติ โดยใช้ตลาดเป็นตัวนาการผลิต เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินการวิจัยตั้งแต่การกำหนดโจทย์วิจัยที่ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ตาม 10 ภารกิจหลักในการพัฒนาตามแผนด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ พ.ศ. 2563 –2565 ประกอบด้วย

1. การปลูกสมุนไพรที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งดำเนินการได้ 64,225 ไร่ จาก 82 ชนิดพืช

2. กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ได้รับการส่งเสริมการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว ณ สถานที่ปลูกและการผลิตผลิตภัณฑ์ และสารสกัดอย่างง่ายในระดับชุมชน จำนวน 92 แห่ง

3. กำหนดมาตรฐาน GAP หรือมาตรฐานพืชสมุนไพรตามกลุ่มที่ใช้ของพืช จำนวน 5 ฉบับ

4. จัดทำแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกพืชสมุนไพร (Land Suitability) 24 ชนิด

5. พัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร (Land Use) 1 ฐานข้อมูล

6. ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 17025 ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ จำนวน 8 แห่ง

7. พัฒนาระบบตลาดกลาง 1 แห่ง และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 1แห่ง (E-Market)

8. กำหนดมาตรฐานสมุนไพรในตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) จำนวน 109 รายการ

9. พัฒนาฐานข้อมูลพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ของประเทศไทย (National Database of Thai Plants and Traditional Knowledge) 1 ฐานข้อมูล

10. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชสมุนไพรและเทคโนโลยีเพื่อผลิตวัตถุดิบ 57 เรื่อง

 

กาฬสินธุ์ - รณรงค์หยุด!! ‘การเผาพื้นที่เกษตร’ ร่วมทำแนวกันไฟ เดินหน้านำร่องหนุนเกษตรกร ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนของเสียให้มีประโยชน์

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายปกครอง องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายเกษตรกร รณรงค์หยุดการเผาในพื้นที่เกษตร เดินหน้านำร่องหนุนเกษตรกรใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนของเสียให้มีประโยชน์ ลดต้นทุนการผลิต เกิดความสมบูรณ์ของดินและอินทรียวัตถุในดิน ได้ผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 14 มกราคม 2565 ที่แปลงเกษตรกร นายสุนัน มิทะรา บ้านโนนตูม หมู่ที่ 4 ต.หนองตอกแป้น อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ นายทรงพล ใจกริ่ม ผวจ.กาฬสินธุ์ เป็นประธานพิธีเปิดงานนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุทดแทนการเผา ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผา ในพื้นที่การเกษตร ปี 2565 โดยมีนายธวัชชัย รอดงาม รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ นายชานุวัฒน์ วรามิตร นายก อบจ.กาฬสินธุ์ นายอัครพงษ์ เขียวแจ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาฬสินธุ์ และหัวหน้าส่วนราชการร่วมงาน

นายทรงพล ใจกริ่ม ผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่างานนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุทดแทนการเผา ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาดังกล่าว จัดโดยสำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ ร่วมกับอำเภอยางตลาด สำนักงานเกษตรอำเภอยางตลาด องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตอกแป้น องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่การเกษตร สร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำเกษตรปลอดการเผา รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรนำเอาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสร้างมูลค่าและเพิ่มผลผลิต

นายทรงพลกล่าวอีกว่า ปัญหาหมอกควันปกคลุมและเกิดมลพิษทางอากาศ มีสาเหตุหนึ่งมาจากการเผาในที่โล่ง ทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง คือทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์และส่งผลให้สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

"เฉลิมชัย" มอบ "อลงกรณ์" แจงมาตรการรับมือผลไม้ปี 65ต่อคณะกรรมาธิการสภา
 เผย! ไทยครองตลาดผลไม้จีนเป็นอันดับ1 พร้อมพิจารณาเยียวยาชาวสวนลำไย ด้าน “ณัฐวุฒิ” พอใจการทำงานของฟรุ้ทบอร์ดเตรียมทำข้อเสนอสู่ที่ประชุมFruit Board17 ก.พ.นี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าประชุมกับคณะกรรมธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม ในวันนี้(3ก.พ.)ที่รัฐสภาเพื่อตอบข้อซักถามและร่วมหารือแสดงความคิดเห็นโดยมี นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นประธาน ดร.ประกอบ รัตนพันธ์คณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วย นายวีระกร คำประกอบที่ปรึกษากรรมการ และคณะกรรมาธิการฯ 

นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ร่วมประชุมหารือให้ข้อมูล และผู้แทนภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมทุเรียนไทย ผู้แทนสมาคมผูประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด และผู้แทนสมาคมผู้ค้าและส่งออกลำไยภาคตะวันออก เข้าร่วมประชุม

โดยนายอลงกรณ์ชี้แจงถึงศักยภาพผลไม้ไทยและผลงานรัฐบาลโดยใน ปี2564ประเทศไทยครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้ในจีน45% เป็นอันดับ1 และส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า1.6แสนล้านบาท(ม.ค-พ.ย2564)โดยเฉพาะทุเรียนส่งออกทะลุแสนล้านเป็นครั้งแรกแม้จะเผชิญปัญหาด่านและการขนส่งจากผลกระทบโควิด19โดยยึดแนวทางและมาตรการการบริหารจัดการผลไม้ 

รวมทั้ง การปฏิรูปเชิงระบบภายใต้5ยุทธศาสตร์ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ และแนวทางการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565 – 2570 นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังชี้แจงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่นโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรและผลไม้ ,โครงการ1กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารสู่เกษตรมูลค่าสูง (กรกอ.), ศูนย์AIC(ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม:Agritech and Innovation Center) 77 จังหวัด 

และ ศูนย์ความเป็นเลิศ 23 แห่งสนับสนุนด้านR&D การอบรมบ่มเพาะ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เน้นMade in Thailand เช่น เทคโนโลยีจุลินทรีย์ขจัดการปนเปื้อนและคงสภาพความสดของผลไม้ได้เพิ่มขึ้นโดนAICจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีไนโตรเจน( Nitrogen Technology ), การบริหารข้อมูลโดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Big Data Center :NABC) ,การบริหารLogistics ผลไม้ และสถานการณ์ด่านรวมทั้งการขนส่งเส้นทางรถไฟจีน-ลาวโดยขบวนรถไฟขนสินค้าเกษตรของไทยไปจีนเที่ยวปฐมฤกษ์ออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ 27ม.ค.2565

ส่วนการขนส่งผลไม้ไทยเหลือเพียงการก่อสร้างด่านตรวจพืชของจีนที่ด่านรถไฟโมฮ่านก็เริ่มใช้บริการได้ ในขณะที่สถานการณ์ด่านและการขนส่งมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้ง4ด่านหลักเปิดบริการยกเว้นช่วงตรุษจีนแต่ยังมีความเสี่ยงจากมาตรการZero Covid ส่วนค่าระวางเรือเริ่มลดลงมีสายการเดินเรือเพิ่มขึ้น 
นายอลงกรณ์ยังได้นำเสนอตัวเลขการส่งออกปี 2564 ซึ่งสามารถส่งออกทำสถิติสูงสุด ทุเรียนทะลุแสนล้านทั้งนี้ 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.)ของปี 2564 ส่งออกผลไม้ 7 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่และมะม่วง จำนวน1,992,751ตันคิดเป็นมูลค่า 165,624ล้านบาทเพิ่มขึ้น 40.75% 

เทียบกับปี 2563 ที่ส่งออก1,718,228 ตัน มูลค่า 117,673ล้านบาท สำหรับทุเรียนส่งออก 903,700ตัน ปริมาณเพิ่มขึ้น38.29% คิดเป็นมูลค่า115,459ล้านบาทเติบโต59.11%เทียบกับปี2563ส่งออก653,476ตันมูลค่า72,566ล้านบาท ทางด้านฤดูกาลผลิตปี2565คาดว่าจะมีผลผลิตออกมา5,200,009ตันเพิ่ม11.39%หรือเพิ่มกว่า5แสนตันเทียบกับปี2563ที่มีปริมาณ4,668,435ตัน โดย 17 มาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2565 

เพื่อดูแลบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ เป็นมาตรการหลักในการขับเคลื่อน เช่น

1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง

2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน

3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ย 3 %และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน

4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฎหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน 

5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศเป็นต้น
ส่วนในกรณีเกิดวิกฤติได้มีการออก5มาตรการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าทั้งระบบ ปี 2565ได้แก่
1) มาตรการป้องกันเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ไม่ปกติ
2) มาตรการช่วยเหลือในการกระจายสินค้า ควบคุม คุณภาพและกระตุ้นการบริโภคผลไม้
3) มาตรการช่วยเหลือสนับสนุนการส่งออกผลไม้ไทย
4) มาตรการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้
5) มาตรการช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่ปกติ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top