Sunday, 28 April 2024
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

'อลงกรณ์' ลุยโรงงานต่างด้าวอิทธิพลสั่งลงดาบซ้ำมอบกรมชลประทานดำเนินคดี พร้อมชื่นชม ผู้ว่าเพชรฯ.สนธิกำลังปิดโรงงานลักลอบปล่อยน้ำเสียลงคลองชลประทานก่อมลพิษกลิ่นเหม็นเน่าสร้างความเดือดร้อนชุมชน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ (30 ม.ค.) ว่าได้มอบหมายให้กรมชลประทานพิจารณาแจ้งความดำเนินคดีโรงงานต่างด้าวอิทธิพลที่ลักลอบปล่อยน้ำเสียลงคลองชลประทานที่บ้านนาขลู่หมู่1ซึ่งเข้าข่ายการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง ที่บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดปล่อยน้ําซึ่งทำให้เกิดเป็นพิษแก่น้ําตามธรรมชาติหรือ สารเคมีเป็นพิษลงในทางน้ำชลประทานจนอาจทำให้น้ำในคลองชลประทานเป็นอันตรายแก่เกษตรกรรม การบริโภค อุปโภคหรือสุขภาพอนามัยของประชาชน" พร้อมกับให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรีขุดลอกตะกอนน้ำเสียออกจากคลองเพื่อไม่ให้น้ำเสียที่ขังในคลองส่งกลิ่นเหม็นในบริเวณชุมชนใกล้เคียง

นายอลงกรณ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่17 มกราคมที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาอบต.และประชาชน หมู่1ตำบลนาพันสามระหว่างลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนตำบลนาพันสามที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ต.นาพันสาม อ.เมือง กรณีที่มีโรงงานทำขนมลักลอบปล่อยน้ำเสียลงคลองชลประทานส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงมาเป็นเวลานานสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนและชุมชนโดยรอบจึงเดินทางไปตรวจสอบพบว่า มีการลักลอบปล่อยน้ำเสียจากโรงงานทำขนมหวานลงคลองชลประทาน 3 ขวา 1 ซ้าย สายใหญ่ 3 เป็นระยะทางยาวนับร้อยเมตรส่งกลิ่นเน่าเหม็นรุนแรงและเมื่อเข้าไปตรวจสอบภายในโรงงานพบว่ามีสายยางวางจากบ่อเกรอะพาดข้ามกำแพงโรงงานปล่อยลงคลองส่งน้ำของชลประทานและยังพบคนงานเป็นต่างด้าวหลายคนจึงให้ตามเจ้าของมาพบซึ่งได้รับแจ้งว่าไม่อยู่และมีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นชาวกัมพูชาบอกว่าเป็นภรรยาเจ้าของจึงสอบถามว่าทำไมถึงลักลอบปล่อยน้ำเสียลงคลองส่งน้ำของชลประทานซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและได้รับคำตอบว่าพยายามแก้ไขแต่ทำไม่ได้ ตนจึงแจ้งว่าถ้าแก้ไขไม่ได้ก็ต้องปิดโรงงานและจะดำเนินคดีพร้อมกับได้โทรศัพท์แจ้งให้นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีและนายสันต์ จรเจริญ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี (ผคบ.เพชรบุรี) ทราบเพื่อดำเนินคดีต่อไป

'อลงกรณ์' นำทีมกระทรวงเกษตรผนึกทีมเพชรบุรีโมเดลขับเคลื่อนโครงการชุมชนสีเขียว เมืองสีเขียว(Green Community)

เพิ่มพื้นที่สีเขียวและทำเกษตรในเมืองในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองนำทีมเกษตรทุกหน่วยและทีมเพชรบุรีโมเดล เปิดเผยวันนี้(1ก.พ.)หลังจากลงพื้นที่สร้างการรับรู้โครงการชุมชนสีเขียว เมืองสีเขียว (Green Community- Green City)ให้ชาวชุมชนสุรินทรฤาชัย ที่ตลาดริมน้ำ ถนนพานิชเจริญ ตำบลท่าราบ เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ว่าโครงการชุมชนสีเขียว เมืองสีเขียว มีเป้าหมาย 1.เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อคุณภาพเมืองและสวัสดิภาพประชาชน  ลดฝุ่นละออง PM 2.5 ร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน 2.ส่งเสริมการทำเกษตรในเมืองเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือนและชุมชน ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องเป็นชุมชนที่2ต่อจาก 'ชุมชนสีเขียวคลองกระแชง' โดยได้รับความสนใจจากประชาขนอย่างมากและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการชุมชนสีเขียว(Green Community) 17 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีภายใต้แนวทาง 'เพชรบุรีโมเดล' มีการแนะนำการปลูกพืชผักสลัด พืชสวนครัว การกำจัดศัตรูพืช การปรุงดิน การผลิตปุ๋ยไส้เดือน การทำสวนแนวตั้ง การใช้ภาชนะในครัวเรือนปลูกพืช การทำผักยกแคร่ เป็นต้นเพื่อเป็นต้นแบบของทุกเทศบาลและอบต.ที่มีความเป็นชุมชนเมือง

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ย้ำว่า เขตเมืองยังมีพื้นที่สีเขียวมีพื้นที่สวนสาธารณะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่ถึง9ตารางเมตรต่อคน และเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความมั่นคงทางอาหารเพราะผลิตอาหารได้เองไม่ถึง10% ทั้งนี้ในปี2562 เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทยที่จำนวนประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรก 

อีกทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ(Climate Change)จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(GHG)ทำให้โลกร้อนขึ้น ตนจึงริเริ่มดำเนินการ 'โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง' ( Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project ) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองที่ตนเป็นประธานและมีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ. เป็นเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติเป็นโครงการในรูปแบบเกษตรในเมือง (Urban Farming)แบบยั่งยืนและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในหลายรูปแบบเช่นสวนเกษตร(Pocket Garden) สวนวนเกษตร (Forest Garden) โดยใช้แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อรักษาความหลากหลายทางธรรมชาติ ระบบนิเวศน์เกษตร และเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เชิงประจักษ์ในเมือง

'อลงกรณ์' ดัน 5 มติ เตรียมเสนอ 'รมต.เฉลิมชัย' เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมง

'อลงกรณ์' เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนชาวประมง สรุปมติ 5 ข้อเตรียมเสนอ 'รัฐมนตรีเฉลิมชัย' ยกเลิกคำสั่งคสช.พร้อมชะลอประกาศกรมประมงเรื่องรางวัลนำจับเพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

วานนี้ (8 ก.พ.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงโดยมีนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและกรรมการตลอดจนตัวแทนนายกสมาคมชาวประมง เจ้าของเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากพระราชกำหนดประมงปี 2558, นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ, นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง, นายเดชา ปรัชญารัตน์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมประมง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  

นายอลงกรณ์ แถลงถึงผลการประชุมวันนี้ว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาโดยจะเสนอ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้....

1.) เห็นควรเสนอให้มีการปรับปรุงประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง คณะกรรมการเปรียบเทียบ และหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. 2561 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 170 วรรคสองและวรรคสาม แห่ง พรก.การประมง พ.ศ.2558 

2.) เห็นควรยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 22/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

3.) กรณีที่มีการออกกฎระเบียบใดๆ จะต้องกำหนดห้วงเวลาก่อนการบังคับใช้เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ชาวประมง โดยกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการบังคับใช้ หลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

4.) มอบหมายกรมประมงหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาประเด็นความคลุมเครือในมาตรา 38 และมาตราอื่น ๆ เช่น มาตรา 19 และมาตรา 20 และมาตรา 105 เป็นต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้และการตีความกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม

‘อลงกรณ์’ ผนึกเครือข่าย ชู ‘ตลาดท้ายเกาะโมเดล’ ขับเคลื่อน ‘ตลาดกลางเกษตรอินทรีย์’ ทั่วประเทศ

(14 ก.พ. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นประธานเปิดเวทีขับเคลื่อนตลาดเกษตรอินทรีย์ท้ายเกาะ อำเภอสามโคก ปทุมธานี ภายใต้โครงการออกานิค เวิล์ดไทยแลนด์ (Organic World Thailand) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ‘ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนของประเทศไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนและ BCG โมเดล’ ในวันนี้ว่า การพัฒนาและขับเคลื่อน ‘ตลาดกลางเกษตรอินทรีย์ท้ายเกาะ’ หรือ โครงการ Organic World Thailand สามโคก-ปทุมธานี ในวันนี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) โดยมีคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (แห่งชาติ) มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเป็นประธาน และมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งมีตนเป็นประธาน มีคณะทำงาน ขับเคลื่อนหลายคณะ ได้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ คณะทำงานขับเคลื่อนเกษตร ผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ คณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรธรรมชาติและวนเกษตร และคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture) ใน 76 และกรุงเทพมหานคร 

นอกจากนี้ได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในระดับตำบล 7,255 ตำบลใน 76 จังหวัดแล้วซึ่งเป็นกลไกสำคัญ ในการทำงานเชิงพื้นที่ และในส่วนของเกษตรอินทรีย์ ได้ร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส แห่งประเทศไทยสำเร็จเป็นครั้งแรก

“การเปิดเวทีขับเคลื่อนตลาดกลางเกษตรอินทรีย์ท้ายเกาะโดยจะมีการเปิดตลาดอย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้บนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตร และภาควิชาการเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับตลาดเกษตรอินทรีย์ทุกจังหวัดและยกระดับสู่การเป็นตลาดส่งออกด้วย ทั้งนี้มีนโยบายที่จะส่งเสริมขยายผลให้มีตลาดกลางและตลาดเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ

ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะ อนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนขอแสดงความชื่นชม คุณวิเชียร สวาทยานนท์ ประธานกรรมการบริหาร ตลาดโรงเกลือท้ายเกาะ ที่มีจิตอาสาในการช่วยเกษตรกรให้มีตลาดจำหน่ายสินค้าเกษตร อินทรีย์ และขอขอบคุณ ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ และเครือข่าย ที่มีความมุ่งมั่นใน การพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าเกษตรอินทรีย์ซึ่งนำมาสู่การก่อเกิดตลาดกลาง และการเตรียมความพร้อมในการเปิดตลาดกลางเกษตรอินทรีย์ท้ายเกาะภายในเดือนเมษายนนี้

'อลงกรณ์' เร่งเดินหน้าเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) เผยปี2565 'ปลาทู' เพิ่ม 63% ชี้มาตรการปิดอ่าวของกรมประมงบรรลุความสำเร็จภายใต้นโยบาย '3ป.' ของรัฐมนตรีเกษตรฯ.

พร้อมประกาศปิดอ่าวไทยดีเดย์ 15 ก.พ. คุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูและสัตว์น้ำมีไข่ หวังเพิ่มผลผลิตและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทูและสัตว์น้ำมีไข่ให้แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน 

โดยมี นายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกรมประมง สมาคมประมง องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เข้าร่วม ณ สวนสาธารณะปากน้ำปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอ่าวไทยทั้งหมด แบ่งเป็น บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2566 

ในบริเวณอาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางและเขตต่อเนื่องตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และบริเวณพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก 2 ช่วงระยะเวลา ได้แก่ ระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2566 ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน ในพื้นที่อ่าวไทยตอนในด้านเหนือของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี  

สำหรับพิธีประกาศปิดอ่าวฯ ในวันนี้ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกอบพิธีบวงสรวงพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และกล่าวคำปฏิญาณตนที่บริเวณด้านหน้าอ่าวประจวบฯ พร้อมกล่าวเปิดพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ มีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 พร้อมทั้งได้มอบแผ่นป้ายเงินอุดหนุนโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านประมงให้กับผู้แทนองค์กรประมงท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 200 ชุมชน 

โดยมอบให้กับผู้แทนสมาคมประมงพื้นบ้าน และมอบป้ายเงินอุดหนุนให้แก่ประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพร จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ สมาคมประมงด่านสวี หมู่ที่ 3 ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ชุมชนประมงท้องถิ่นบ้านควนเสาธง หมู่ที่ 9 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านกลางอ่าว 1 หมู่ที่ 13 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านกลางอ่าว 2 หมู่ที่14 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตจังหวัดชุมพรประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้านเขาแดง ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านปากคลอง ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงและการท่องเที่ยวบางสะพาน ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และประธานองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ 

กลุ่มประมงพัฒนาสาหร่ายทะเลเพชรบุรี ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ตำบลนาพันสาม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และได้มอบพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ตัวแทนชุมชนประมงท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 215,000 ตัว ประกอบด้วย กุ้งกุลาดำ 200,000 ตัว กุ้งแชบ๊วย 10,000 ตัว และปลากะพง 5,000 ตัว

 

จากนั้นนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดแผ่นป้ายประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ มีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ทะเลอ่าวไทย ประจำปี 2566 พร้อมพิธีปล่อยเรือตรวจประมงทะเลออกปฏิบัติงานในพื้นที่ ประกอบด้วย เรือตรวจประมงทะเลขนาด 60 ฟุต เรือตรวจประมงทะเล ขนาด 38 ฟุต เรือตรวจประมงทะเลขนาด 24 ฟุต เรือตรวจประมงทะเลขนาด 19 ฟุต และเรือยางตรวจประมงทะเล และได้เยี่ยมชมนิทรรศการจากหน่วยงานกรมประมงและนิทรรศการหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อาทิ นิทรรศการการจัดตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่เพาะพันธ์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมบอร์ดแสดงข้อมูล นิทรรศการผลการศึกษาทางวิชาการมาตรการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนกลาง อ่าวไทยรูปตัว ก นิทรรศการมาตรการปิดอ่าวไทยตอนกลางและมาตรการปิดอ่าวไทยตอนในในภาพรวม รวมไปถึงมาตรการที่เกี่ยวข้อง นิทรรศการการลงทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตประมงพื้นบ้านและเตรียมความพร้อมก่อนลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตประมงพื้นบ้าน นิทรรศการการควบคุมการทำประมงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนประมง การอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (MMPA) นิทรรศการการจัดทำหนังสือคนประจำเรือ (Sea book) ฯลฯ

อลงกรณ์เผย 'ประเทศกานา' ชื่นชมโครงการพระราชดำริยกเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยืนยันกระทรวงเกษตรฯ.พร้อมขยายความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยกับกานา

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ ดร.สิชา สิงห์สมบุญ กงสุลกิตติมศักดิ์ สาธารณรัฐกานาประจำประเทศไทย และคณะ โดยมี นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักการเกษตรต่างประเทศ ผู้แทนกรมการข้าว กรมชลประทาน กรมประมง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (112) สำหรับการประชุมหารือกันในวันนี้มีประเด็นหารือที่สำคัญ อาทิ เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่เป็นแนวทางการการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่น ๆ

นายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการหารือว่าประเทศกานามีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น และมีความสนใจในแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบ BCG Model โดยเฉพาะข้าวรักษ์โลกที่ช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และยังเป็นแนวทางใหม่ของการทำการเกษตรโลก เนื่องจากกานามีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการเกษตร และแรงงานไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านเกษตร เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิม ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากนัก ทำให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตต่ำ

‘อลงกรณ์’ เผย ‘กานา’ ชื่นชม ‘โครงการพระราชดำริ’ พร้อมยกย่องเป็น ‘ต้นแบบ’ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

เมื่อวานนี้ (22 ก.พ.66) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ ดร.สิชา สิงห์สมบุญ กงสุลกิตติมศักดิ์ สาธารณรัฐกานาประจำประเทศไทย และคณะ โดยมี นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักการเกษตรต่างประเทศ ผู้แทนกรมการข้าว กรมชลประทาน กรมประมง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (112) สำหรับการประชุมหารือกันในวันนี้มีประเด็นหารือที่สำคัญ อาทิ เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่เป็นแนวทางการการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่น ๆ

นายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการหารือว่าประเทศกานามีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น และมีความสนใจในแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบ BCG Model โดยเฉพาะข้าวรักษ์โลกที่ช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และยังเป็นแนวทางใหม่ของการทำการเกษตรโลก เนื่องจากกานามีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการเกษตร และแรงงานไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านเกษตร เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิม ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากนัก ทำให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตต่ำ

‘เฉลิมชัย’ ผุดไอเดียเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย สู่ตลาด Sex Toy - Made in Thailand

ไม่นานมานี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

‘Sex Toy - Made In Thailand’ กอบกู้ ‘ยางไทย’ เพิ่มมูลค่า #น้ำยางไทยดีที่สุดของโลก เพื่อกู้ราคายางในไทย

วันนี้เราต้องกล้าตัดสินใจ แปรรูปยางเข้าสู่ตลาด Sex Toy เพื่อทำกำไรเข้าประเทศ และไม่ใช่แค่เรื่องลามกจกเปรต แต่เป็นเรื่องของ ‘สุขภาวะทางเพศ’

ในปี 2021 ที่ผ่านมา ตลาด Sex Toy ทั่วโลก มีขนาด 1.3 ล้านล้านบาท!

ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2016 ตลาด Sex Toy เติบโตขึ้น 300% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท ในปี 2030

รีบทำก่อนยุบสภา ‘อลงกรณ์’ จี้นายกฯ พิจารณาโครงการช่วยชาวสวนลำไย วอน!! อย่าอ้างไม่มีงบฯ แล้วโยนให้รัฐบาลหน้า

(2 มี.ค.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565 ว่า ขณะนี้รอเพียงนายกรัฐมนตรีนำโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ประสบความเดือดร้อนจากผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 ในฤดูกาลผลิตปี 2564/2565 เข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบเท่านั้น จึงฝากท่านนายกรัฐมนตรีให้ช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยเป็นการด่วน โดยสามารถนำเข้าคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในสัปดาห์หน้าก่อนที่จะมีการยุบสภา เนื่องจากรอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วแต่กลับถูกดึงเรื่องจนถึงวันนี้กลับบอกว่าไม่มีเงิน

“โครงการนี้ฟรุ้ทบอร์ดได้มีมติเห็นชอบโครงการตามข้อเสนอของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไยในภาคตะวันออกและภาคเหนือโดยการนำของ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีเกษตรฯ นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต ส.ส.จันทบุรี นายขยัน วิพรหมชัย อดีตส.ส.ลำพูน และ นายพสิษฐ์ สุขสวัสดิ์ ประธานแปลงใหญ่ลำไย จังหวัดลำพูน ร่วมกับเครือข่ายชาวสวนลำไยทุกกลุ่ม โดยดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามเห็นชอบโครงการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนผ่านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีลงนามเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ถ้านายกรัฐมนตรีนำเข้าคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปีที่แล้ว ชาวสวนลำไยก็คงได้รับเงินเยียวยาไปเรียบร้อยแล้ว” นายอลงกรณ์กล่าว

นายอลงกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นข้ออ้างว่า เงินช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยใช้เงินจำนวนมากนั้นฟังไม่ขึ้นเพราะกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณใช้เงินหลายแสนล้านในโครงการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ ในขณะที่การเยียวยาชาวสวนลำไยใช้เงินเพียง 3 พันล้านเท่านั้น

ส่วนประเด็นข้ออ้างเรื่องวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ใช้เต็มวงเงินนั้นขอยืนยันว่าการดูแลช่วยเหลือเกษตรกรจะมีเพดานเงินไม่ได้เพราะหากเกิดภัยแล้งวันนี้ต้องใช้เงินช่วยเหลือเกษตรกรแล้วบอกว่าวงเงินไม่มี พูดแบบนี้อย่าเป็นรัฐบาล ขอแนะนำว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาง่ายมากโดยคณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งทำได้อยู่แล้ว เพราะคณะรัฐมนตรีเคยดำเนินการมาแล้วเป็นเงินหลายแสนล้าน จึงขอให้เห็นใจชาวสวนลำไยซึ่งรอเงินเยียวยาโดยกระทรวงเกษตรฯ เสนอไปตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้ว

‘อลงกรณ์’ ชู 8 ลมใต้ปีก สร้างโอกาสการค้าของไทย ดึงเม็ดเงินอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง กว่า 10 ล้านลบ.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวในโอกาสบรรยายพิเศษในหัวข้อ 'ศักยภาพและโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลางและอาเซียน' ในงานสัมมนาธุรกิจ & Business Talk ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 4 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ วันนี้ ว่า ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมากรวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น”ลมส่งท้ายถึง ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทย ทางด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวของไทยเริ่มต้นปีด้วยข่าวดีเมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางนโยบายขับเคลื่อนภาคเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิศ AIC 23 ศูนย์ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุน ของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า '8 ลมใต้ปีก' จะช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้สำเร็จ ได้แก่

1.) การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบีย 
สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่(New Economic Corridor)ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียและอาเซียนและตะวันออกกลาง

2.) รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋าง 

3.) 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP) 
เขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งรองนายกฯ.จุรินทร์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4.) มินิ-เอฟทีเอ ( Mini-FTA)
เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศเช่น ไห่หนาน กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน เมืองโคฟุของญี่ปุ่น เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5.) FTAและการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจาFTAกับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTAและUAE

6.) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น  โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)

7.) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศ ล่าสุดทางการตั้งเป้าหมายลงทุนใน EEC ระยะที่ 2 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะแรกที่ตั้งเป้าไว้ 1.7 ล้านล้านบาท (2561-2564) 

8.) ฐานการค้าการลงทุนใหม่ 18 กลุ่มจังหวัด
กระทรวงเกษตรฯ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมมือกันเดินหน้าโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อกระจายการลงทุนกระจายฐานเศรษฐกิจใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุม77 จังหวัดจะมีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศจากจีน อาเซียน ตะวันออกกลางและอีกหลายประเทศมาร่วมลงทุนในโครงการนี้เช่น นิคมอุตสาหกรรมเมืองอุดรฯ.ในกลุ่มอีสานตอนบน และโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง ปัจจุบันโลกกำบังเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารและราคาอาการแพง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top