Sunday, 28 April 2024
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

‘เฉลิมชัย’ เร่งพลิกโฉมกระทรวงเกษตรฯ ย้ำชัด พอใจผลพัฒนา-การบริหารภาครัฐคืบหน้า

‘เฉลิมชัย ศรีอ่อน’ เร่งปฏิรูปพลิกโฉมกระทรวงเกษตรฯ พอใจผลการพัฒนาการบริหารและการบริการภาครัฐด้วยระบบดิจิทัลคืบหน้า 70% 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC)เปิดเผยวันนี้ (7 ก.พ.) ถึงผลงานความคืบหน้าของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ประจำเดือนมกราคม 2565 ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า จากผลการปฏิรูปการบริการและการบริหารภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และการดำเนินงานของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC : Agritech and Innovation Center) มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พอใจต่อผลการทำงานล่าสุดโดยเฉพาะการดำเนินงานด้านระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Gov Tech) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความคืบหน้าถึง 70% จากพัฒนาบริการภาครัฐทั้งหมด 176 ระบบเปลี่ยนเป็นการบริการภาครัฐด้วยดิจิทัล (Digital Service) แล้ว 156 ระบบ ซึ่งในส่วนนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นและให้บริการแล้ว 109 ระบบหรือคิดเป็น 70% 

ส่วนการพัฒนา NSW (National Single Window) 54 ระบบ อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 47 ระบบ ในขณะที่ด้านระบบฐานข้อมูลดิจิทัล (Big Data) โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติได้เชื่อมโยงข้อมูลสู่ภูมิภาคกับศูนย์ AIC เช่นศูนย์ AIC เพชรบุรี (มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี) ในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนาเกลือทะเลไทยเชิงบูรณาการ การวิจัยและพัฒนาต้นแบบด้าน IT เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านเกษตรกรรม และศูนย์ AIC จังหวัดเชียงราย ในการดำเนินโครงการ Flagship ร่วมกับ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมกาแฟอาราบิกา การใช้งานระบบ CKAN เพื่อจัดทำ Data Catalog เป็นต้นทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้สั่งการให้มีการจัดประชุมเรื่อง NSW เป็นการเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศและการพยากรณ์ข้อมูลราคาและตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ

สำหรับด้านเกษตรอัจฉริยะ ได้มีการรายงานการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 - 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านเกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่ จับคู่เกษตรแปลงใหญ่ (Big Farm) กับบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ (Big Brother) โครงการความร่วมมือด้าน Smart Farming กับบริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อขับเคลื่อนแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะข้าว และระบบช่วยการตรวจประเมินระยะไกล (Remote Audit) หรือการตรวจผ่านระบบออนไลน์ แปลง GAP และเกษตรอินทรีย์ (Organic) (แอปพลิเคชัน Kasettrack) 

สำหรับด้าน E-Commerce ได้มีการขับเคลื่อนเรื่องแผนการกระจายผลไม้ในประเทศ และความร่วมมือด้านการเกษตรและการค้าไทย-บาห์เรน รวมทั้งโครงการ Thailand E-Commerce Village 

ส่วนงานด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาแบรนด์ธุรกิจ SMEs ด้วยการสร้างสรรค์คาแรคเตอร์ให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภค และการประชาสัมพันธ์การจัดงานตลาดนัด Local CIP Fair และ Character Walking Street โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2565

นอกจากนี้นายอลงกรณ์ได้มอบนโยบายให้คณะอนุกรรมการด้านธุรกิจเกษตร ศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งในเรื่องของระบบธุรกิจเกษตรแบบ Contract Farming ภายใต้กฎหมายปัจจุบันว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งที่จะต้องดำเนินการแก้ไขพัฒนาอย่างไร และการขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ด้วยคณะทำงานของ AIC ในการพัฒนาธุรกิจเกษตร 

ทางด้านผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนการทำงานของ AIC ที่ผ่านมา มีการนำเสนอความก้าวหน้าในเรื่องของการเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับศูนย์ AIC โดย กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันมีการทำโครงการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของศูนย์ AIC ผ่าน ศพก. ใน 6 เขตพื้นที่ โดยเกษตรกรสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเทคโนโลยีการผลิต ที่เป็นองค์ความรู้จาก AIC ไปใช้ในแปลงเกษตรได้เป็นอย่างมาก และมีการสนับสนุนงบประมาณในกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนาเกษตรกรครบรอบด้านผ่านการดำเนินงานของศูนย์ ศพก. และเครือข่าย การนำ (INNOVATION CATALOG) มาใช้ประโยชน์กับเกษตรกรของศูนย์ AIC จังหวัดระยอง ร่วมกับศูนย์ ศพก. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรในพื้นที่ 

“อลงกรณ์” เผย! ขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ ถึงมหานครฉงชิ่งแล้วใน 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 65 รอเพียงจีนเปิดด่านตรวจพืชสถานีรถไฟโมฮ่าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนานได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วันตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้เมื่อเวลา1 5.00 น. ของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาโดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีนคือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วันเมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย 

เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลาการขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาลและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆโดยเฉพาะผลไม้เช่นทุเรียน มังคุด เงาะเป็นต้นโดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้วรอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้จะรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ในวันที่17 ก.พ.นี้

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรกและเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวตามนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”

นายอลงกรณ์กล่าวว่า สื่อมวลชนในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟจากไทยไปจีนเที่ยวแรกอย่างมากโดยเสนอข่าวกันครึกโครมและวิเคราะห์ว่าเร็วกว่าการขนส่งทางเรือถึง 4 เท่า ดังตัวอย่างข่าวที่แปลเป็นภาษาไทยที่ยกเป็นตัวอย่างมา ณ ที่นี้

“สินค้าทางการเกษตรของไทยที่ถูกขนส่งโดยรถไฟมาถึงจีนเป็นครั้งแรก เส้นทางรถไฟจีน-ลาวทั้งสองทางเปิดให้บริการแล้ว รถไฟบรรทุกข้าวเหนียวไทยปริมาณ 500 ตัน ขบวนแรกของรถไฟสายจีน-ลาว ได้ออกจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ในลาวและเดินทางมาถึงด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 จากนั้นใช้เวลา 3 วันขนส่งถึงเมืองฉงชิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน

เป็นที่รู้กันว่าการขนส่งทางรถไฟนั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าทางทะเลถึง 4 เท่า โดยการมาถึงของสินค้าทางการเกษตรของไทยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปิดให้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นทางการทั้งสองทาง

ครบรอบ 130 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “เฉลิมชัย” ประกาศแนวทางพัฒนาภาคการเกษตรสู่ยุค Next Norma lขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์  มุ่งเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) การเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตร เพิ่มพื้นที่ชลประทาน และเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เกษตรกร

พร้อมจัดพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวง พิธีสงฆ์ และมอบเกียรติบัตรและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติสืบสานเกษตรกรรมยั่งยืน ประจำปี 2565 พร้อมโชว์ผลงานเด่นของหน่วยงานในสังกัด สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรม Talk Show เหลียวหลังแลหน้า 130 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สู่ Next Normal

วันที่ 1 เม.ย. 65 เวลา 06.30 น. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครบรอบ 130 ปี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานจุดธูปเทียนและถวายพวงมาลัยแก่ ศาลพระภูมิเจ้าที่ ศาลท้าวเวสสุวรรณ ศาลตา-ยาย องค์พระพิรุณทรงนาค (หน้าอาคาร) และองค์พระพิรุณทรงนาค (ห้องพิพิธภัณฑ์)
ต่อมาในเวลา 07.00 น. เข้าสู่ช่วงพิธีสงฆ์ โดยประธานได้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหาร ถวายภัตตาหาร และจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ประธานสงฆ์ประพรมน้ำพุทธมนต์ให้กับผู้เข้าร่วมพิธี ณ ห้องรับรอง 112

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติสืบสานเกษตรกรรมยั่งยืน ประจำปี 2565 ณ ห้องประชุม 115 เพื่อเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้มีจิตอาสา ประกอบคุณงามความดีที่มีความประพฤติเหมาะสม ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมีผลการปฏิบัติงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี หลังจากนั้นคณะผู้บริหารได้เยี่ยมชมนิทรรศการการแสดงผลงานสำคัญของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “130 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” อาทิ การขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model การผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ การพัฒนากุ้งสู่ความยั่งยืน การอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาลวดลายผ้าไหมไทยสู่ความยั่งยืน การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมให้เหมาะสม ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ในฝัน และสมาชิกสหกรณ์รุ่นใหม่ สร้างเกษตรไทยเข้มแข็ง เป็นต้น

“เฉลิมชัย” สั่งฟัน แอบอ้างเป็นที่ปรึกษา เคลียร์ล้งทุเรียนอ่อนจันทบุรี ด้าน “อลงกรณ์” มอบฝ่ายกฎหมายรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีพร้อมขับจากสมาขิกพรรค

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากกรณีมีบุคคลแอบอ้างเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี เข้าเคลียร์ล้งทุเรียนอ่อน  จากการตรวจสอบบุคคลดังกล่าว ยืนยันได้ว่าไม่มีการแต่งตั้งและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับตนทั้งสิ้น ถ้าหากกรณีบุคคลดังกล่าวมีการกระทำใดที่เข้าข่ายผิดกฏหมายขอให้ดำเนินการตามกฏหมายได้ทันที

ทั้งนี้นโยบายปราบปรามทุเรียนอ่อน เป็นนโยบายของตน ซึ่งดำเนินการมาตลอด 2 ปีกว่าและดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียนได้ราคาที่เป็นธรรม และตนอยากจะเน้นย้ำว่า การขายทุเรียนอ่อนถือเป็นการบ่อนทำลายวงการทุเรียนที่ตนยอมไม่ได้อยู่แล้ว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ทันทีที่ทราบเรื่องได้ประสานกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีและท่านผอ.สวพ.6ให้ดำเนินการทางกฎหมายกับบุคคลผู้แอบอ้างและให้ยึดนโยบายปราบปรามทุเรียนอ่อนอย่างเด็ดขาดอย่ากลัวเกรงอิทธิพลใดๆ

“เฉลิมชัย”เดินหน้าขยายตลาดญี่ปุ่น ส่ง”อลงกรณ์”กระชับความร่วมมือกับบริษัทการค้าญี่ปุ่นหวังพัฒนาสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มส่งออกกว่าแสนล้านบาท

   รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งวันนี้(3ก.ค.)ว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว  โชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. นายณฐกร สุวรรณธาดา  คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. น.ส.นิณา รัตนจินดา ผู้บริหารโปรเฟสอินเตอร์เนชั่นแนลและคณะเข้าเยี่ยมชมระบบความเย็น(Cold Chain)และรับฟังข้อมูลระบบโลจิสติกส์ ระบบเครือข่ายตลาดค้าส่งค้าปลีก รวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้าในการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยมายังประเทศญี่ปุ่น ณ บริษัท P.K. SIAM  เมืองโยโกฮามา จังหวัดคานากาวะ โดยมีนายรุ่งสิทธิ์ สนธิอัชชรา ผู้จัดการฝ่ายการค้า(Trading Division Manager) ให้การต้อนรับ พาชมพร้อมบรรยายสรุป โดยบริษัท พี.เค.สยาม(P.K.SIAM )เป็นบริษัทผู้นำเข้า  ผักและผลไม้รายใหญ่ในกรุงโตเกียว  อาทิ มะม่วงทุเรียน กล้วยหอม ส้มโอ มะพร้าว มังคุด  ผักสด น้ำมะนาวคั้นสด รวมถึงสินค้าแปรรูป อาหาร ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น 

จากนั้นนายอลงกรณ์และคณะะได้เดินทางไปพบหารือกับคณะผู้บริหารของบริษัทไนไกนิตโตะซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่มีการร่วมทุนกับไทยจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยมากว่า25ปีพร้อมกับเยี่ยมชมระบบขนส่งทางเรือทางอากาศซึ่งมีบริการขนส่งยางพาราและเครื่องจักรกลการเกษตรด้วย 
 

“กระทรวงเกษตรฯ.” เร่งขับเคลื่อน ”สภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.” ผนึกทุกเครือข่ายเดินหน้าเกษตรออร์กานิคดันไทยขึ้นแท่นฮับอาเซียน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นประธานพิธีเปิดและปาถกฐาพิเศษ เรื่อง “เกษตรอินทรีย์และเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.”ที่รร.อมารี ดอนเมือง ผ่านระบบออนไลน์โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มที่ เป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food)ที่มีโอกาสเติบโตในตลาดโลกได้อย่างมากจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ด้านการผลิต การแปรรูป การบริโภค การค้าสินค้า และ การบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มีความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลภายใต้”ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564” โดยมีคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติและคณะกรรมบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเป็นกลไกระดับนโยบายและมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภายใต้3คณะทำงานได้แก่คณะกรรมการด้านเกษตรอินทรีย์ คณะทำงานด้านเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสานและคณะทำงานด้านวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ ได้เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการปี 2564-2565เดินหน้าจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ 2566-2570 และร่างพรบ.เกษตรกรรมยั่งยืนพร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติรวมทั้งการจัดทำโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)และโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank) ประการสำคัญคือการจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ19สิงหาคม2564 โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)จัดทำหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)หรือเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชน
   วันนี้ถือเป็นวันสำคัญที่สภาเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส.แห่งประเทศไทยได้เห็นชอบธรรมนูญของสภาฯ.และคณะกรรมการบริหารอย่างเป็นทางการชุดแรกแทนคณะกรรมการบริหารชุดเฉพาะกิจด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเครือข่ายองค์กรเกษตรอินทรีย์หลักๆเช่น มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย มูลนิธิ เกษตรกรรมยั่งยืน สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พี จี เอส สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่ง ประเทศไทย ยังมีกลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ในเครือข่ายอื่นๆ อีกเป็นจํานวนมากที่พร้อมจะร่วมกันขับเคลื่อนสภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส และแผนดําเนินงานขับเคลื่อนระบบ พี จี เอส ของประเทศให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (1) เพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ (2) เพิ่มการค้าและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ (3) เพื่อให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ (4) เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของสินค้าและบริการด้านเกษตรอินทรีย์ในระดับภูมิภาคอาเซียน 


   

‘อลงกรณ์’ ลุยพัฒนาเกษตรฯยั่งยืนระดับตำบล นำร่องเพชรบุรีจังหวัดแรก ก่อนขยายไปทั่วปท.

'อลงกรณ์' เร่งวางรากฐานการพัฒนาเกษตรกรรม ยกระดับสู่ความยั่งยืน 7,255 ตำบลทั่วประเทศ ลุยเดินหน้าผนึกพลังชุมชนนำร่องเพชรบุรีโมเดลร่วมกับหน่วยราชการศูนย์ AIC และ ภาคเอกชน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติเปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลในจังหวัดเพชรบุรีภายใต้เพชรบุรีโมเดลเป็นจังหวัดแรก ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อและที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมีคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ตัวแทนส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตร กลุ่มอาสาสมัครเกษตร กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young smart farmer) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตร ปราชญ์เกษตร กลุ่มผู้ใช้น้ำ ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC เพชรบุรี ผู้แทนคณะทำงานเพชรบุรีโมเดล ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาแบรนด์เพชรบุรี คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ และผู้นำชุมชนในตำบลบ้านหม้อ ต้นมะม่วง ตำบลหนองโสน ตำบลธงชัย และตำบลบ้านกุ่ม เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการประชุมว่าต้องการที่จะให้แต่ละตำบลได้มีการพัฒนาระบบเกษตรกรรมในแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมกันทั่วประเทศ 7,255 ตำบล ขณะนี้มีการแต่งตั้งเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทยและทุกภาคีภาคส่วนโดยหวังว่าการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนจะสร้างอาชีพสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรและชุมชน เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาหนี้สินและความยากจน โดยมีการส่งเสริมทั้ง3สาขาเกษตรคือพืช ประมงและปศุสัตว์ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละตำบลเป็นการปักหลักวางหมุดหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนลงไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้แก่ ตลาดนำการผลิต เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เกษตรปลอดภัย เกษตรยั่งยืน เกษตรมั่นคง การบูรณาการทำงานเชิงรุกทุกภาคส่วน และเกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ซึ่งจะเป็นกลไกการพัฒนาหมู่บ้านตำบลแบบบูรณาการทุกภาคส่วน เชื่อว่ากลไกใหม่ที่วางไว้ทุกตำบลทั่วทั้งประเทศ จะเป็นเสาเข็มใหม่ 7,255 ต้นที่จะเป็นฐานที่แข็งแกร่งให้กับชุมชนและประเทศ

‘เฉลิมชัย’ มอบนโยบายเร่ง ‘เพิ่มรายได้’ เกษตรกร พร้อมตั้งเป้าพัฒนา ‘อาชีพปศุสัตว์’ สู่เกษตรมูลค่าสูง

'อลงกรณ์' ขานรับทันทีเดินหน้าเพชรบุรีโมเดลดีเดย์ 11 พ.ย.ระดมพลคนปศุสัตว์ผนึกทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาโคขุนโคนมโคพื้นเมืองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำพร้อมยกระดับวัวลานประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ภายใต้นโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้เร่งเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืนโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาอาชีพปศุสัตว์สู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในระหว่างปฏิบัติราชการที่จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีโดยคำแนะนำของที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ จึงได้จัดการประชุมเรื่อง 'การพัฒนาโคขุนโคนม โคพื้นเมืองและวัวลานกีฬาประเพณีวิถีไทย' เป็นครั้งแรกเพื่อพัฒนาการปศุสัตว์อย่างเป็นระบบและยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืนในวันศุกร์ที่ 11 พ.ย. เวลา 14.00- 16.00 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรีโดยประสานงานเขิญทุกภาคส่วนได้แก่จังหวัดเพชรบุรี พาณิชย์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตชะอำ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอาเอ็มอี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนโคนมโคพื้นเมือง วัวลาน วิสาหกิจชุมชนโค โคแปลงใหญ่ และตัวแทนจากกรมปศุสัตว์ ฯลฯ เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคขุนโคนมและโคพื้นเมืองมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศถือเป็นฐานรายได้สำคัญของเกษตรกรจึงมีความพร้อมที่จะเดินหน้ายกระดับการพัฒนาแบบครบวงจรภายใต้โครงการเพชรบุรีโมเดลตั้งแต่พันธ์ุโค อาหารสัตว์ มาตรการฟาร์ม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) คอกกักมาตรฐานเอกชนสำหรับการนำเข้า การส่งออก และปลอดโรค FMD การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ และการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์เช่นกรณีของพรี่เมี่ยมบี๊ฟ(Premium Beef)แปรรูปผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้มากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ เช่น สันนอก สเต็กแช่แข็ง ลิ้นแองกัสสไลด์แช่แข็ง เนื้อหมักกระเทียมพริกไทยเสียบไม้ โดยจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ และส่งไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าได้อีกด้วยหรือกลุ่มโคเพชรบุรีสามารถส่งโคไปภาคใต้สู่ตลาดมาเลเซียเป็นต้นหากมีการยกระดับการพัฒนาจะเพิ่มศักยภาพเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรมากขึ้นโดยเฉพาะการขยายความสัมพันธ์การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียด้านการเกษตรและปศุสัตว์จะเพิ่มช่องทางใหม่ๆให้กับเพชรบุรีซึ่งเลี้ยงและจำหน่ายโคกว่า140,000-150,000ตัวต่อปี พร้อมกันนี้ก็จะจะพัฒนาวัวลานซึ่งเป็นกีฬาประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่ให้สามารถจัดการแข่งขันได้สม่ำเสมอรวมทั้งการส่งเสริมวัวเทียมเกวียน

‘เฉลิมชัย’ ปลื้ม!! ข้าวไทยครองแชมป์ข้าวที่ดีที่สุด 2 ปีซ้อน ส่งออกเบอร์ 2 ของโลก 9 เดือนแรก โกย 9 หมื่นล้านบาท

‘เฉลิมชัย’ ขอบคุณชาวนาพาไทยผงาดเบอร์ 2 ส่งออกข้าวโลกและครองแชมป์ข้าวดีที่สุดในโลก 2 ปีซ้อน พอใจส่งออกข้าว 9 เดือน 9 หมื่นล้าน เพิ่มทั้งปริมาณและมูลค่าพร้อมเดินหน้านโยบายประกันรายได้ข้าวปีที่ 4 ชี้ เป็นประโยชน์ช่วยเพิ่มรายได้ชาวนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

(14 พ.ย. 65) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แสดงความพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพของชาวนาไทยและการส่งออกข้าวภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 และยุทธศาสตร์ ‘ตลาดนำการผลิต’ ตั้งเป้าไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลกเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาโดย 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค. - ก.ย. 65) ประเทศไทยส่งออกข้าวไปต่างประเทศได้ทั้งสิ้น 5.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 39.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าส่งออก 2,796.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ถึง 95,233 ล้านบาท 

สำหรับราคาส่งออกข้าวไทยเฉลี่ยในเดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ตันละ 510.8 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ที่ราคาตันละ 500.5 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยคาดว่าปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้ 7-8 ล้านตันทำให้ประเทศไทยกลับมาผงาดขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลกในปีนี้อย่างแน่นอน

‘อลงกรณ์’ นำสินค้าเกษตรฯร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

‘อลงกรณ์’ รวมพลคนครีเอทีฟร่วมคิกออฟ งานสินค้าเกษตรXคาแรคเตอร์ หนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์การประชุมเอเปค 2022 ระหว่างวันที่ 18 - 20 พ.ย.ที่ตลาดน้ำ อตก.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน 'ตลาดนัดสินค้าเกษตร X คาแรคเตอร์' ( Agriproducts X Character Market ) พร้อมกล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นโยบาย 'ตลาดนำการผลิต และนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0' ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งพัฒนาการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก รวมทั้งยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบคาแรคเตอร์มาเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร รวมทั้งการส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตรรุ่นใหม่ 

ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมลิขสิทธิ์นานาชาติ หรือ LIMA ระบุว่า สำหรับปี 2564 ภาพรวมของสินค้าและบริการที่นำเอาลิขสิทธิ์ของผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในโลก มีมูลค่าสูงถึง 315.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นมาจากปี 2019 ร้อยละ 7.75 แม้จะเป็นช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัสทั่วโลกก็ตาม นอกจากนี้มูลค่าของค่าลิขสิทธิ์ผลงานสร้างสรรค์ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีมูลค่าราว 17.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาแรคเตอร์เป็นประเภทผลงานสร้างสรรค์ที่มูลค่าสูงสุดถึง 129.9 พันล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของผลงานสร้างสรรค์ทุกประเภท เนื่องจากคาแรคเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถนำเอาไปใช้ได้ง่าย และเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายวิธี ส่วนในประเทศไทยมีมูลค่าการใช้คาแรคเตอร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกราวร้อยละ 20 (ร้อยละ 62 ของมูลค่ารวมโดยประมาณ) ติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยใช้ในการส่งเสริมการขายและการตลาดของภาคธุรกิจในสินค้าหลากหลายประเภทที่จำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ตามกิจกรรมการตลาดที่ประชาสัมพันธ์ออกมาตามสื่อต่าง ๆ หรือนำไปผลิตเป็นสินค้า ตลอดจนใช้ในการประชาสัมพันธ์การบริการต่าง ๆ ซึ่งเกือบทั้งหมดก็จะเป็นคาแรคเตอร์ชั้นนำ ที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศที่เรารู้จักกันดี แต่แทบจะไม่มีคาแรคเตอร์ไทยได้แชร์ส่วนแบ่งเลย

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มองเห็นโอกาสดังกล่าวในการนำไปเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรไทย จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมการใช้คาแรคเตอร์กับธุรกิจเกษตร โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นประธาน ได้ต่อยอดผลสำเร็จของโครงการ Change 2021 และ 2022 Visual Character Arts for SME ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมกับสมาคมการค้าลิขสิทธิ์และของที่ระลึก จากคาแรคเตอร์ดีไซน์ของเล่น และผลงานศิลป์ร่วมสมัยไทย หรือสมาคม TCAP (ทีแคป) ซึ่งยึดแนวความคิดแบบเศรษฐกิจเผื่อแผ่ โดยให้โอกาสเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่ของคาแรคเตอร์นั้น ๆ สามารถยื่นขออนุญาตนำลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ส่งเสริมการขายสินค้าและบริการของตนได้ โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งแนวทางนี้หากได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมผลักดัน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความแข็งแรงของคาแรคเตอร์ในภาพรวมเปรียบเสมือนหนึ่งในแบรนดิ้งจังหวัดแล้ว ยังจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนที่นำไปใช้ กระจายไปทั่วประเทศ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถาม เพื่อซื้อหรือขอใช้ลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะขยายผลความร่วมมือนี้ให้กระจายไปสู่พี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการทั่วประเทศต่อไป 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top