Saturday, 17 May 2025
World

‘แจ๊ก’ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวลาว รอดตาย หลังถูกมือดียิงจ่อยิงระยะประชิดถึง 2 นัด ใจกลางเมือง

หนังเหนียว! ‘แจ็ก’ เจ้าของเพจวิจารณ์ รบ.ลาว ‘ขับเคลื่อนด้วยคีย์บอร์ด’ รอดตาย หลังถูกยิงระยะเผาขน

(4 พ.ค.66) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน โดยอ้างอิงองค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch (HRW) ว่า นายอนุสา หลวงสุพรม หรือ ‘แจ็ก’ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวลาว เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ‘ขับเคลื่อนด้วยคีย์บอร์ด’ รอดชีวิตหลังจากที่ถูกคนร้ายจ่อยิงถึง 2 นัดในระยะประชิด และกำลังเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล

ก่อนหน้านี้ หลายหน่วยงาน อาทิ HRW องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) หนังสือพิมพ์ในประเทศลาว รวมถึงเพจขับเคลื่อนด้วยคีย์บอร์ด ต่างเผยแพร่ข่าวการเสียชีวิตของแจ็ก หลังจากที่มีรายงานว่านักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวลาวคนนี้ถูกยิงเข้าที่ศีรษะและลำตัวที่ร้านคาเฟ่แห่งหนึ่งในกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว เมื่อวันที่ 29 เมษายน

วันสำคัญของราชวงศ์อังกฤษ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 'สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3' การประทานพระราชอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าสู่พระมหากษัตริย์

มารู้จักกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3

6 พฤษภาคมนี้ ถือเป็นวันสำคัญยิ่งของราชวงศ์อังกฤษ เพราะจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ สะท้อนถึงโบราณราชประเพณีที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ยุคกลางนับย้อนไปได้กว่า 1,000 ปี

คำถามแรกที่ผู้คนอาจสงสัยคือเหตุใดจึงต้องมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในเมื่อพระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศกษัตริย์อยู่แล้วในปัจจุบัน เนื่องจากถือได้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติโดยอัตโนมัติเมื่อ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชมารดาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายนปีก่อน โดยมีการประกาศการขึ้นครองสิริราชสมบัติอย่างเป็นทางการของพระองค์ในอีก 2 วันหลังจากนั้น ในพิธีที่มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อังกฤษ

ในเวลานั้น สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 มีพระราชดำรัสว่า พระองค์ตระหนักดีถึงมรดกอันยิ่งใหญ่นี้ รวมถึงพระราชภาระและพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ ภายใต้ความรับผิดชอบของพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้ตกทอดมาถึงพระองค์ ถ้าเช่นนั้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม มีความสำคัญอย่างไร อันที่จริงไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และสถาบันกษัตริย์ในยุโรป ประเทศอื่น ๆ ก็ได้ยกเลิกพระราชพิธีดังกล่าวของตนเองไปแล้ว แต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ถือว่ามีความสำคัญยิ่งในทางศาสนา

ขณะที่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่มีเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่าง ๆ มากมายถือเป็นการยืนยันสถานะของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ในฐานะประมุขแห่งรัฐ รวมถึงประมุขของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระผู้เป็นเจ้าประทานพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์

ในการประกอบพิธีทางศาสนาที่นำโดย อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ผู้นำทางจิตวิญญาณของคริสตจักรอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงรับการเจิมด้วยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์จากเยรูซาเล็ม และรับมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามโบราณราชประเพณี รวมถึงการที่พระองค์จะทรงสวมพระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดเป็นครั้งแรก ขณะที่พระราชินีคามิลลาก็จะได้รับการสวมพระมหามงกุฎควีนแมรีเช่นกัน

ขั้นตอนต่าง ๆ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกส่วนใหญ่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากโบราณราชประเพณีที่มีมาตั้งแต่ยุคกลาง มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของราชวงศ์มาตั้งแต่พระเจ้าวิลเลียม ผู้พิชิต เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1066

อาหารและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ วัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนานหลายร้อยปี

(5 พ.ค. 66) งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 นั้นมีขนบธรรมเนียมและพิธีการที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี หนึ่งในนั้นก็คือ 'วัฒนธรรมด้านอาหาร' ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับพระราชพิธีมาอย่างยาวนาน

หนึ่งในธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปีแล้วก็คือการจัดงานเลี้ยงข้างถนน หรือที่เรียกว่า 'Big Lunch' สำหรับประชาชนที่จะร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยอาหารและเครื่องดื่ม

‘จีน’ เผย ยอดผลิต ‘โลหะนอกกลุ่มเหล็ก’ ไตรมาสแรกพุ่ง!! ตอกย้ำการเติบโตอย่างรวดเร็วในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ

(5 พ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า สมาคมอุตสาหกรรมโลหะนอกกลุ่มเหล็กแห่งประเทศจีน รายงานว่าภาคธุรกิจโลหะนอกกลุ่มเหล็กของจีน มีการผลิตเติบโตอย่างรวดเร็วในไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ที่ผ่านมา

รายงานระบุว่า มูลค่าเพิ่มทางอุตสาหกรรมของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ในภาคธุรกิจโลหะนอกกลุ่มเหล็กของจีน ช่วงไตรมาสแรก ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยผลผลิตของโลหะนอกกลุ่มเหล็ก 10 ชนิด อยู่ที่ 18.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบปีต่อปี

‘รัสเซีย’ ชี้!! ‘สหรัฐฯ-ยูเครน’ ร่วมกันวางแผนปลิดชีพ ‘ปูติน’ หลังเกิดเหตุ ‘โดรน’ โจมตีทำเนียบเครมลินในกรุงมอสโก

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว, มอสโก/วอชิงตัน รายงานว่า นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลินของประเทศรัสเซีย กล่าวว่า รัสเซียมีหลักฐานบ่งชี้ว่า ‘สหรัฐฯ และยูเครน’ อยู่เบื้องหลังเหตุอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนโจมตีทำเนียบฯ เมื่อไม่นานนี้

เพสคอฟ กล่าวว่า รัสเซียได้รับข้อมูลจากหน่วยงานพิเศษ ซึ่งเกี่ยวกับความพยายามโจมตีทำเนียบฯ ด้วยโดรนเมื่อวันพุธ (3 พ.ค.) โดยสหรัฐฯ ควรรู้ว่า รัสเซียตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในเหตุก่อการร้ายดังกล่าว และสหรัฐฯ ต้องเข้าใจว่ามันอันตรายเพียงใด

เมื่อวันพุธ (3 พ.ค.) สำนักประชาสัมพันธ์ประจำประธานาธิบดีรัสเซีย ระบุว่า ยูเครนพยายามลอบสังหารวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ด้วยการใช้โดรน 2 ลำ โจมตีทำเนียบฯ ซึ่งหน่วยงานทางทหารและหน่วยงานพิเศษสามารถยับยั้ง โดรนทั้ง 2 ด้วยยุทธวิธีทางเรดาร์

เจาะประวัติ St Edward’s Chair บัลลังก์ประวัติศาสตร์ อายุ 700 ปี พระราชอาสน์ที่สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงประทับ

#บัลลังก์ประวัติศาสตร์ อายุ 700 ปี #บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด St Edward’s Chair หรือ บัลลังก์ราชาภิเษก The Coronation Chair เป็นพระราชอาสน์ที่สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงประทับ ขั้นตอนของการสวมพระมหามงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษพระองค์ใหม่ ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 นี้

พระราชอาสน์เซนต์เอ็ดเวิร์ดนั้น เชื่อกันว่าเป็นเครื่องเรือนอายุเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักรที่ยังถูกใช้งานตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมอยู่ โดยมีกษัตริย์อังกฤษถึง 26 พระองค์ ที่ได้ประกอบพิธีราชาภิเษกบนบัลลังก์นี้

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 โปรดให้สร้างพระราชอาสน์เซนต์เอ็ดเวิร์ดขึ้นในช่วงยุคกลาง เพื่อใช้บรรจุ 'ศิลาแห่งชะตาลิขิต' Stone of Destiny หรือ หินแห่งสโคน (Stone of Scone) ซึ่งเป็นพระแท่นศิลาราชาภิเษกของกษัตริย์สกอตแลนด์ที่ทรงนำมาจากนครหลวงเก่าของชาวสกอต หลังทรงชนะศึกพิชิตดินแดนทางเหนือได้สำเร็จ รัฐบาลอังกฤษได้ส่งคืนศิลาแห่งชะตาลิขิตให้กับทางการสกอตแลนด์ไปเมื่อปี 1996 แต่มันจะถูกนำกลับมายังกรุงลอนดอนเป็นการชั่วคราว เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้

พระราชบัลลังก์ได้รับชื่อภายหลังตามพระนามของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ Edward the Confessor ผู้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ ตัวบัลลังก์เก็บไว้ที่ชาเปลเซนต์เอ็ดเวิร์ดในแอบบีเวสต์มินสเตอร์ พระมหากษัตริย์อังกฤษและพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1308 ต่างก็ประทับบนบัลลังก์นี้เมื่อได้รับการสวมมงกุฎอย่างเป็นทางการ ยกเว้นพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเลือกประทับบนบังลังก์ที่ได้รับการประทานจากพระสันตะปาปา และพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ผู้ประทับบนบังลังก์ที่สร้างเลียนแบบบัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด วาระสุดท้ายที่บัลลังก์นี้ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์คือในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปี ค.ศ. 1953

บัลลังก์เป็นเก้าอี้หลังตรงแบบกอธิคทำจากไม้โอ้คโดยช่างไม้ชื่อมาสเตอร์วอลเตอร์ผู้ได้รับค่าจ้างเป็นจำนวน 100 ชิลลิง ตัวบัลลังก์ตั้งอยู่บนสิงห์ปิดทองสี่ตัวซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับการซ่อมแซมในปี ค.ศ. 1727 แทนสิงห์ที่มาเพิ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้ที่นั่งเป็นช่องสำหรับวางหินแห่งสโคนจนกระทั่งปี ค.ศ. 1996 เมื่อถูกส่งคืนไปยังสกอตแลนด์โดยมีข้อแม้ว่าต้องถูกส่งกลับในโอกาสที่จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งต่อไป 

คิงชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จทักทาย-ขอบคุณประชาชน ก่อนบรมราชาภิเษก พสกนิกรนับพันแห่ร่วมยินดีและรอเป็นสักขีพยานในพระราชพิธีฯ ครั้งนี้

(6 พ.ค. 66) สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินออกมาตรัสขอบคุณเหล่าพสกนิกรที่ปรารถนาดี ที่ออกมาแสดงความสนับสนุนปักหลักบริเวณด้านนอกพระราชวังบัคกิงแฮม ตั้งแต่คืนวันศุกร์ (5 พ.ค.) ก่อนหน้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์สหราชอาณาจักรพระองค์ใหม่ในวันเสาร์นี้ (6 พ.ค.)

รายงานข่าวระบุว่า สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินขอบคุณเหล่าพสกนิกร ร่วมกับเจ้าชายวิลเลียม และเจ้าหญิงเคท มิดเดิลตัน เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ โดยทรงพระสรวลและยื่นพระหัตถ์จับมือกับเหล่าพสกนิกรด้วยความเป็นกันเอง

ประชาชนบางส่วนถือธงยูเรียนแจ็คและสวมมงกุฎเทียม รวมถึงร้องเพลง God Save the King ถวายแด่กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร โดยในการเสร็จในครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูง ภายใต้การเฝ้าระวังโดยรถตำรวจหลายสิบคัน และตำรวจบนรถจักรยานยนต์อีกจำนวนหนึ่ง

หวิดดรามา!! ‘กัมพูชา’ รีบขอโทษ ‘อินโดนีเซีย’ หลังติดธงชาติกลับด้านกลายเป็นโปแลนด์

(6 พ.ค. 66) แม้ว่าพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่สนามกีฬามรดกเตโช กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จะจบลงอย่างน่าประทับใจ ซึ่งเจ้าภาพกัมพูชาทำได้อย่างยิ่งใหญ่ และได้รับเสียงชื่นชมมากมาย

อย่างไรก็ตาม ในพิธีเปิดนั้นปรากฏว่าเกิดข้อผิดพลาดของเจ้าภาพให้เห็นอยู่บ้าง เมื่อผู้แสดงรายหนึ่งซึ่งควรจะถือธงอินโดนีเซีย แต่ธงดังกล่าวดันกลับด้าน จนดูเหมือนเป็นธงชาติโปแลนด์ ก่อนที่เวลาต่อมาจะมีการแก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่การแสดงจะจบลง

‘จามา เน็ตเวิร์ค’ เผยผลการศึกษาของ ‘วัคซีนโควิด-19’ ชี้ ประสิทธิภาพต้าน ‘โอไมครอน’ ลดทันทีหลังฉีด 6 เดือน

เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 66 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ผลการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์จามา เน็ตเวิร์ค (JAMA Network) เมื่อวันพุธ (3 พ.ค. 66) ชี้ว่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอนลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเวลาผ่านไป

พิธีบรมราชาภิเษก ‘คิงชาร์ลส์-ควีนคามิลลา’ เริ่มขึ้นแล้ว พสกนิกรเนืองแน่นตลอดเส้นทางสู่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์

(6 พ.ค. 66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา แห่งสหราชอาณาจักร ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นไปตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดมายาวนานกว่าหนึ่งพันปี และเป็นพระราชพิธีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 70 ปีของสหราชอาณาจักร ได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อเวลา 10.20 น.ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 16.20 น.ตามเวลาในไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top