Saturday, 17 May 2025
World

'แอรอน ทักเกอร์' หนุ่มวัย 32 ปี ที่เพิ่งออกจากคุกเพียงสัปดาห์เดียว ยอมทิ้งโอกาสสัมภาษณ์งาน เพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น...ผลลัพธ์?

(2 พ.ค.66) รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้โพสต์เรื่องราวจากเพจ 'Pagarung Rit (ปะการัง)' ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในชีวิตผ่านชายหนุ่มวัย 32 ที่เพิ่งออกจากคุกมาไม่นาน ว่า...

แอรอน ทักเกอร์ หนุ่มวัย 32 ปี เพิ่งออกจากคุกเพียงสัปดาห์เดียว แต่เขาโชคดีที่ได้นัดสัมภาษณ์งานในเช้าวันหนึ่ง ที่เมืองบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต 

เขาตื่นแต่เช้ามืด สวมเสื้อเชิ้ตสะอาดตัวเก่งแล้วรีบขึ้นรถบัสประจำทางตรงไปจุดหมายทันที...

ระหว่างทาง ได้พบเหตุการณ์ไม่คาดคิด รถคันหนึ่งประสบอุบัติเหตุพุ่งชนต้นไม้แล้วพลิกคว่ำ ขณะที่รถบัสชะลอ 

แอรอนถามคนขับว่า คุณจะลงไปช่วยไหม? คนขับรถบัสตอบว่า “ไม่ได้ครับ แต่ถ้าคุณลงจากรถ ผมก็ต้องทิ้งคุณไว้นะครับ” เพราะคนขับต้องรักษาเวลาตามตารางเดินรถ"

ขณะนั้นเอง ที่แอรอนสังเกตเห็นเริ่มมีควันลอยออกมาจากรถที่ประสบเหตุ 

เขาตัดสินใจวิ่งลงจากรถบัสตรงไปยังรถที่พลิกคว่ำทันที เขารีบปลดเข็มขัดที่นั่งคนขับ ดึงเขาออกมาจากซากรถ ปากพร่ำพูดปลอบประโลมชายผู้เคราะห์ร้ายว่า “ไม่เป็นไร คุณจะไม่เป็นไร...ครอบครัวของคุณยังต้องการคุณ ลืมตาตื่นไว้นะครับ” 

ครู่ต่อมา ไฟลุกท่วมรถ โชคดีที่ดึงคนขับออกมาจากรถได้ทัน แอรอนยอมถอดเสื้อสะอาดตัวเก่งเพียงตัวเดียวของเขาออกและใช้มันช่วยห้ามเลือดที่ศีรษะของผู้บาดเจ็บ เขาอยู่เฝ้ารอจนนักผจญเพลิงและหน่วยกู้ภัยฉุกเฉินมาถึง...

แล้วแอรอนก็พลาดนัดสัมภาษณ์งาน เขารู้ว่านั่นเป็นนัดครั้งสำคัญของเขา โดยเฉพาะคนที่เพิ่งออกจากคุก แต่ก็มีสิ่งอื่นที่สำคัญมากกว่า...

**เมื่อมีคนถามว่าทำไมยอมเสียโอกาสขนาดนั้น?

***เขาตอบว่า “เรื่องงานเดี๋ยวก็มาใหม่ได้แต่เรื่องของชีวิต มีแค่ครั้งเดียว"

มาร์กาเร็ต บี. มอสส เคยกล่าวว่า “ความหวัง คือหน้าต่างบานใสที่ยอมให้แสงสว่างและโอกาสใหม่ ๆ ผ่านเข้ามา

"ถ้อยคำดีๆ, ความมีน้ำใจ และความรักจะเปิดหน้าต่างบานนั้น... 

"ความหวัง, ก็เป็นเช่นเดียวกับแสงตะวันอบอุ่น ที่สามารถทำให้เรากลับมามีชีวิตได้...”

สุดทึ่ง!! เมื่อ ‘คู่รักชาวจีน’ โชว์สกิลขั้นเทพ โดยเต้นบัลเลต์ ‘บนไหล่’ งานนี้พื้นไม่จำเป็นอีกต่อไป

(2 พ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ชวนชมลีลาการเต้นบัลเลต์บนไหล่อันน่าทึ่งของคู่รักชาวจีน ซึ่งเป็นสมาชิกคณะกายกรรมในนครกว่างโจว มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน

‘เจฟฟรีย์ ฮินตัน’ ประกาศลาออกจากกูเกิลด้วยวัย 75 ปี เตือน!! เอไอส่อเค้าอันตราย วันหนึ่งอาจฉลาดเหนือมนุษย์

เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 66 นายเจฟฟรีย์ ฮินตัน ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ในฐานะเจ้าพ่อด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ลาออกจากกูเกิล พร้อมเตือนเกี่ยวกับภัยอันตรายจากการพัฒนา AI
ทั้งนี้ นายฮินตัน อายุ 75 ปี ได้ประกาศเรื่องการลาออกจากกูเกิล ในแถลงการณ์ต่อหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส พร้อมระบุว่า เขาเริ่มเสียใจต่องานของเขาแล้ว

นอกจากนี้ นายฮินตันได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีว่า อันตรายบางประการจากแชตบอต AI นั้น ‘ค่อนข้างน่ากลัว’

“ขณะนี้แชตบอต AI ยังไม่ฉลาดกว่าพวกเราก็จริง แต่ผมคิดว่าอาจเป็นเช่นนั้นในอนาคตอันใกล้นี้” นายฮินตัน กล่าว

‘IMF’ เผย ยูโรอาจกลายเป็นผู้ท้าชิง ‘สกุลเงินสำรองหลักของโลก’ หลังสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเหลือต่ำกว่า 60%

(3 พ.ค. 66) กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความคิดเห็นในเวทีสัมมนาหนึ่งในสัปดาห์นี้ เผย ดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังค่อยๆ สูญเสียสถานะในฐานะ ‘สกุลเงินสำรองหลักของโลก’ ท่ามกลางสัดส่วนการถือครองลดลงจากระดับ 70% เหลือต่ำกว่า 60% เล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เน้นย้ำระหว่างกล่าวในเวทีสัมมนา Milken Institute Global Conference ประจำปี 2023 ในเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เรีย สหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (1พ.ค.) ว่ายังไม่มีทางเลือกอื่นในบรรดาสกุลเงินอื่น ๆ ของโลก ที่จะก้าวมาแทนที่ดอลลาร์ในอนาคตอันใกล้นี้

“มีการบ่ายหนีจากดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป สัดส่วนการสำรองเคยอยู่ที่ 70% ตอนนี้ลดลงมาต่ำกว่า 60% เล็กน้อย” เธอกล่าว พร้อมระบุว่า ยูโรสามารถถูกมองในฐานะผู้ท้าชิงรายใหญ่ที่สุดของดอลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ของสหราชอาณาจักร เยนญี่ปุ่นและหยวนองจีน “มีบทบาทเล็กน้อยมาก”

เธอเน้นว่าปัจจัยสำคัญสำหรับความเชื่อมั่นที่มีต่อสกุลเงินและประเทศนั้น ๆ ก็คือความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและมิติความลึกของตลาดทุน

“และหากคุณคิดว่ามีทางเลือกอื่นๆในโลก ซึ่งเราอาจโยกย้ายสู่สกุลเงินดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางครั้งใหญ่ แต่ฉันมองไม่เห็นทางเลือกอื่น ฉันไม่เห็นว่ามันจะก้าวเข้ามาในอนาคตอันใกล้นี้” จอร์เจียวา ระบุ

สหรัฐฯ อ่วม!! ประสบปัญหา 'สมองไหล' นักวิทยาศาสตร์หัวกะทิ ย้ายหนีกลับจีน

สหรัฐอเมริกากำลังสูญเสียนักวิทยาศาสตร์ระดับมันสมองไปต่างประเทศเป็นจำนวนมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน จีนกลับได้อานิสงส์จากกระแสย้ายถิ่นของนักวิชาการจากอเมริกาเพิ่มขึ้นหลายเท่าในรอบทศวรรษ

จากข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับรัฐบาลเปิดเผยว่า สหรัฐอเมริกากำลังเสียนักวิทยาศาสตร์ชั้นหัวกะทิ ที่ต่างเคยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำนับพันคนให้กับต่างประเทศ โดยเฉพาะ ‘จีน’ ที่กำลังอัดฉีดแคมเปญดึงดูดนักวิทยาศาสตร์ระดับสูง ให้มาร่วมงานกับสถาบันการศึกษาของจีนเป็นจำนวนมาก 

ทั้งนี้ได้มีการยกตัวอย่างตัวเลขที่มีการเปิดเผยว่า ในปี 2021 ปีเดียว จีนได้ตัวนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศไปร่วมงานราว ๆ 2,408 คน แม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่ว้าวอะไร แต่หากเทียบกับข้อมูลในปี 2017 จะพบว่า สหรัฐอเมริกาสามารถดึงนักวิจัยต่างชาติได้ถึง 4,292 คน ในขณะที่จีนได้เพียง 116 คน เท่านั้น 

เท่ากับจีน มีตัวเลขนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติที่ก้าวกระโดดหลายเท่าตัว กลับกันกับสหรัฐฯ ที่นอกจากจะสูญเสีย ‘เสน่ห์’ ในการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศแล้ว ยังเสี่ยงเจอปัญหาสมองไหล ถูกต่างชาติดึงตัวนักวิจัยเก่ง ๆ ไปด้วย

กระแสสมองไหลในอเมริกา เริ่มเกิดขึ้นก่อนจะเกิดวิกฤติการระบาด Covid-19 ในโลกเสียอีก โดยมีเหตุและปัจจัยจากนโยบายของอดีตผู้นำสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จุดประกายสงครามการค้ากับจีน ซึ่งช่วงเวลานั้นรัฐบาลสหรัฐฯ ใช้กฎหมายเล่นงานนักวิชาการจากจีน ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิทางปัญญา ไปจนถึงการเป็นสายลับ จารกรรมข้อมูล

ด้วยการดำเนินนโยบายอย่างแข็งกร้าวต่อจีน มีส่วนกดดันสถาบันการศึกษาในสหรัฐฯ ที่ทำงานร่วมกับนักวิชาการจีน หรือเพียงแค่มีเชื้อสายจีน มีการข่มขู่ คุกคามที่จะฟ้องร้อง ดำเนินคดีนักวิชาการเหล่านั้น หรือตัดสิทธิ์นักศึกษาจีนไม่ให้เข้าเรียนในสถาบันของสหรัฐฯ ได้

นับเป็นช่วงเวลาแห่งการกวาดล้างนักวิชาการเชื้อสายจีนในสหรัฐฯ โดยสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติเปิดเผยว่า มีการไล่นักวิชาการจีนมากกว่า 100 คน รวมถึงการปิดศูนย์วิจัยกว่า 150 โครงการ ซึ่งกว่า 80% เป็นงานของนักวิจัยเชื้อสาย ‘เอเชีย’ 

แอนดรูส์ อี. เลลลิง อัยการสหรัฐฯ ยอมรับว่า การกดดันทางกฎหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ผ่านมา สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในแวดวงวิชาการสหรัฐฯ อย่างมาก และสร้างความอึดอัดใจในการทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศทั่วโลก ที่ล้วนมีนักวิจัยจากหลากหลายเชื้อชาติ หรือเคยรับทุนวิจัยส่วนหนึ่งจากรัฐบาลจีนมาก่อน

สหรัฐฯ เตรียมยุติข้อบังคับฉีดวัคซีนโควิด19 ชี้!! มาตรการเหล่านี้ไม่จำเป็นอีกต่อไป

(3 พ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า เมื่อวันจันทร์ (1 พ.ค.) ทำเนียบขาวของสหรัฐฯ รายงานว่าฝ่ายบริหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะยุติข้อกำหนดของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่เหลือส่วนใหญ่ภายในสัปดาห์หน้า

รายงานระบุว่าสหรัฐฯ จะยกเลิกข้อกำหนดที่บังคับนักเดินทางระหว่างประเทศ คนงานและผู้รับเหมาของรัฐบาลกลาง บุคลากรการดูแลสุขภาพ และนักการศึกษากลุ่มผู้นำ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. ซึ่งเป็นวันที่ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านโรคโควิด-19 ของประเทศสิ้นสุดลง

อนึ่ง ไบเดนสั่งการให้บังคับใช้ข้อกำหนดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ข้างต้นครั้งแรกเมื่อปลายปี 2021

‘แจ๊ค อนุซา’ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวลาว ถูกยิงดับในคาเฟ่ใจกลางเมือง ตร.เร่งหาคนร้าย

(3 พ.ค. 66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทางการลาวโพสต์คลิปจากกล้องวงจรปิด ภาพมือปืนสวมเสื้อเชิ้ตสีน้ำตาลและหมวกสีดำเดินตรวจสอบเป้าหมายว่าอยู่ในคาเฟ่ ก่อนชักปืนพกสั้นที่เอวออกมาและกลับเข้าไปในร้านจ่อยิงระยะเผาขน 2 นัด เป้าหมายคือนายอนุสา หลวงสุพรม หรือ แจ็ค วัย 25 ปี ล้มลงบนพื้น ขณะที่มือปืนฉวยโอกาสหลบหนีไป คลิปจากกล้องวงจรปิดเห็นมือปืนใช้ผ้าเช็ดหน้าเปิดและปิดประตูร้านอย่างระมัดระวัง คาดว่าไม่ต้องการทิ้งลายนิ้วมือไว้ในที่เกิดเหตุ ตำรวจกำลังสอบสวนและตามหาผู้ต้องสงสัย

‘ฮาแลนด์’ ทุบสถิติยิงประตูสูงสุดในศึกพรีเมียร์ลีก 1 ฤดูกาล ช่วย ‘แมนฯ ซิตี’ ต้อน ‘เวสต์แฮม’ คว้าแต้ม 3-0 ทวงคืนจ่าฝูง

‘เออร์ลิง ฮาแลนด์’ จารึกสถิติทำประตูสูงสุดในศึกพรีเมียร์ลีก 1 ฤดูกาล หลังซัดประตูที่ 35 ของตัวเอง ช่วยให้ ‘แมนเชสเตอร์ ซิตี’ เปิดบ้านต้อน ‘เวสต์แฮม ยูไนเต็ด’ 3-0 คว้า 3 แต้ม ทวงคืนตำแหน่งจ่าฝูงจาก ‘อาร์เซนอล’ ได้สำเร็จ

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 66 ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ แมนเชสเตอร์ ซิตี หรือ ‘เรือใบสีฟ้า’ เปิดรังเอติฮัด สเตเดียม ต้อนรับการมาเยือนของ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด หรือ ‘ขุนค้อน’

แมนเชสเตอร์ ซิตี ภายใต้การคุมทีมของ ‘เป๊ป กวาร์ดิโอลา’ เปิดฉากบุกอย่างต่อเนื่องในครึ่งเวลาแรก แต่จังหวะจบสกอร์ยังทำได้ไม่ดีพอ หมด 45 นาทีแรก ‘เรือใบ’ เสมอ ‘ขุนค้อน’ อยู่ที่ 0-0

‘NASA’ เผย การโคจรสำรวจรอบดวงจันทร์ สำเร็จในรอบ 50 ปี คาด มนุษย์อาจสามารถไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นได้ภายใน 10 ปีนี้!!

หลังจาก โครงการอาร์ทิมิส 1 (Artemis I) ของ NASA ที่ได้ส่งจรวดกลับไปสำรวจ ด้วยการโคจรรอบดวงจันทร์ ในรอบ 50 ปี เป็นผลสำเร็จ ทำให้วงการดาราศาสตร์ได้มีการคาดการว่า มนุษย์โลกจะสามารถย้ายไปอยู่ในดวงจันทร์ ดาวบริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลกได้ในอีก 10 ปีนี้

‘โฮวาร์ด ฮู’ (Howard Hu) หัวหน้าโครงการยานอวกาศโอไรออน (Orion) ในโครงการอาร์ทิมิส 1 ได้กล่าวว่า มนุษย์จะขึ้นไปอยู่ทำงานทางวิทยาศาสตร์และใช้ชีวิตบนดวงจันทร์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนสิ้นทศวรรษนี้

“แน่นอนว่าในทศวรรษนี้ เราจะมีคนอยู่ที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้อยู่บนพื้นผิว (ดวงจันทร์) นานแค่ไหน พวกเขาจะมียานโรเวอร์อยู่บนพื้นดิน” ฮู กล่าว “เราจะส่งคนลงไปที่พื้นผิว และพวกเขาจะอาศัยอยู่ที่นั่นพร้อมกับทำงานด้านวิทยาศาสตร์”

สำหรับโครงการอาร์ทิมิส 1 เป็นโครงการของนาซาพยายามนำมนุษย์กลับไปสู่ดวงจันทร์อีกครั้งในรอบ 50 ปี โดยในเที่ยวบินแรกที่เพิ่งปล่อยตัวไปนี้เป็นการทดสอบระบบจรวดใหม่ที่มีชื่อว่า ‘Space Launch System’ หรือ SLS เป็นหนึ่งในจรวดที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา และมียานอวกาศโอไรออนติดตั้งอยู่ส่วนบนสุดของจรวด

ในโครงการการสำรวจนี้ ภายที่ปล่อยนั้น จะมีหุ่นคล้ายมนุษย์ทำหน้าที่บันทึกสิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกเรือที่เป็นมนุษย์ในอนาคตเช่นความดัน แรงของการบิน และการสัมผัสกับรังสี นอกจากนี้โอไรออนยังบรรทุกเมล็กพืช รา ยีสต์ และสาหร่ายไว้ในภาชนะที่เรียกว่า ‘การทดลองทางชีวภาพ 1 (Biological Experiment - 1)’ ซึ่งจะช่วยเผยให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสภาพที่รุนแรงของห้วงอวกาศอย่างไร และรวมไปถึงการตอบสนองต่อสภาวะไร้น้ำหนัก

“ผมคิดว่านี่เป็นวันประวัติศาสตร์สำหรับนาซา และก็เป็นวันประวัติศาสตร์สำหรับทุกคนที่รักการบินอวกาศของมนุษย์ รวมทั้งการสำรวจห้วงอวกาศด้วย เรากำลังกลับไปที่ดวงจันทร์ และทำงานเพื่อโครงการที่ยั่งยืน และนี่คือพาหนะที่จะนำพาผู้คนกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง”

หัวหน้าโครงการยานอวกาศโอไรออน กล่าวเสริมตามแผนที่ได้วางไว้ในการกลับไปดวงจัทร์อีกครั้ง เป้าหมายเร็วที่สุดคือภายในเดือนพฤษภาคมปี 2024 ในโครงการ ‘อาร์ทิมิส 2’ และ ‘อาร์ทิมิส 3’ จะมีลูกเรือคนแรกที่เดินทางจากพื้นผิวดวงจันทร์ไปสู่การผจญภัยครั้งใหม่ จากนั้น ‘อาร์ทิมิส 4’ จะเป็นการเริ่มก่อสร้างสถานีอวกาศในวงโครจรของดวงจันทร์

“นี่เป็นการเปิดหน้าแรกของการสำรวจอวกาศบทใหม่” จาคอบ บลีชเชอร์ (Jacob Bleacher) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการกล่าว

ขณะที่ บิล เนลสัน (Bill Nelson) ผู้บริหารของนาซา เสริมว่า “เรากำลังกลับไปที่ดวงจันทร์เพื่อใช้ชีวิตและเรียนรู้ เพื่อที่จะไปดาวอังคาร นั่นคือการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ต่อไป”


ที่มา : BBC / National Geographic Thailand
https://mgronline.com/science/detail/9660000040954
 

สรุปผลแถลงการณ์ 13 เรื่อง จาก FED ยัน!! 'แบงก์-เศรษฐกิจสหรัฐฯ' ยังแข็งแกร่ง

(4 พ.ค. 66) จบไปแล้วสำหรับแถลงการณ์ของ Jerome Powell ประธาน FED ในค่ำคืนนี้ ! โดย FED ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย +0.25% และเรื่องที่ Powell เน้นย้ำ ซึ่ง World Maker ได้สรุปสาระสำคัญไว้ 13 เรื่อง ดังนี้...

1. ปัจจัยต่าง ๆ มีการปรับตัวดีขึ้น (รวมถึงในด้านของเงินเฟ้อ) แต่ FED จะติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดต่อไป และขณะเดียวกันจะดำเนินนโยบายอย่างรัดกุมพอเหมาะ เพื่อรักษาเสถียรภาพให้ระบบธนาคารไปด้วย

2. FED ย้ำว่าตลาดแรงงานและอัตราว่างงานยังคงต่ำมาก (ต่ำสุดในรอบราว 50 ปี) และเงินเฟ้อโดยรวมยังสูงกว่าเป้าหมาย 2% อยู่มาก แม้ว่าจะเริ่มชะลอตัวลงแล้วก็ตาม ดังนั้นแรงกดดันยังคงมีอยู่ในการควบคุมเงินเฟ้อ และยังมีหนทางอีกยาวไกลสำหรับการน้ำเงินเฟ้อกลับสู่ 2% นอกจากนี้ยังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะ 'เติบโตเล็กน้อย-ปานกลาง' แต่ไม่ใช่ Recession รุนแรง

3. FED ยังมีจุดยืนที่แข็งแกร่งสำหรับการนำเงินเฟ้อกลับสู้ 2% ให้ได้ ดังนั้นอาจมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจในบาง Sectors ต่อไป เช่น อสังหาฯ ขณะที่วิกฤต Bank Run ทำให้สหรัฐฯ ต้องเข้มงวดในแง่ของสินเชื่อมากขึ้น

4. การตัดสินใจนโยบายในอนาคตจะยังขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเศรษฐกิจโดยมีเป้าหลักคือนำเงินเฟ้อกลับสู่ 2% และ FED พร้อมที่จะดำเนินนโยบายเข้มงวดเพิ่มเติมหากจำเป็น

5. มีการถามเรื่องของเพดานหนี้สหรัฐฯ ซึ่ง FED กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นการตัดสินใจของรัฐบาลเป็นหลัก (ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ FED) แต่โดยภาพรวมแล้ว Powell มองว่าสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่ในจุดที่ยังควบคุมได้ และเราไม่ได้อยู่ในจุดที่จะพูดถึงเรื่องของการผิดชำระหนี้ของสหรัฐฯ (ดูเหมือน Powell ค่อนข้างมั่นใจว่าสหรัฐฯ จะไม่ยอมผิดชำระหนี้)

6. วิกฤต Bank Run ที่เกิดขึ้นเช่น SVB, Signature, First Republic ถูกมองว่าไม่ใช่ภัยคุกคามระดับหายนะเหมือนที่หลายคนคาดเอาไว้ ยังไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉินรุนแรงที่จะต้องกังวลมากเกินไป (แต่ก็ไม่ใช่ความเสี่ยงที่จะละเลยได้โดยไม่คำนึงถึง) แต่โดยภาพรวมแล้วสถานะของธนาคารต่าง ๆ ดีขึ้นมากจากแรง Panic ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤต ยังมีความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นในองค์รวมใหญ่ ๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top