Tuesday, 13 May 2025
World

เปิดเบื้องลึก!! หลัง KNU ร่อนประกาศชัยชนะ ถึงฝั่งไทย ตีค่ายแตกปุ๊บ!! กองทหารเมียนมา ร่วม 200 หนีทัพมาฝั่งไทย

(11 พ.ค. 68) เหมือนอาทิตย์ที่ผ่านมาสื่อต่างๆรีบงับข่าวประกาศที่ทาง KNU ที่เมืองมะริดและทวายประกาศยึดฐานได้ อย่างครึกโครม แต่สำหรับเอย่าที่อยู่ในวงการข่าวเมียนมานั้น  ประกาศนั้นเหมือนเป็นการส่งสัญญาณเยาะเย้ยไทยเสียมากกว่า เอามาเป็นว่าวันนี้เอย่าจะมาวิเคราะห์ให้ผู้อ่านลองคิดเล่นๆกัน

1. แปลกไหมตีค่ายแตกปุ๊บกองทหารเมียนมาร่วม 200 นายหนีทัพมาฝั่งไทย เพื่อต้องการให้ฝะ่งไทยผลักดันกลับแถมพร้อมกลับทันทีด้วยนะ  ฝั่งเมียนมาก็ไม่รอช้ารีบจัดแจงการรับกลับโดยมารับที่ด่านเกาะสองโดยให้ทั้งหมดเนรเทศออกจากไทยที่ด่านระนอง 

เอาให้ลึกกว่านี้ดีกว่าเผื่อยังไม่เข้าใจ ในเมียนมาโทษของการหนีทัพคือประหารชีวิต  แต่นี่คนกลับก็อยากกลับ ตกลงกลับไปตายหรือเป็นแผนที่ฝั่งเมียนมาต้องการจะทิ้งฐานเพื่อรักษาชีวิตทหารกันแน่

2. ฝั่งกองทัพกะเหรี่ยงอ้างถึงความไม่ปลอดภัยจากการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เอย่าอยากจะบอกนะคะ ไม่ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าแบบไหนก็ตามเขามีวิศวกร และผู้ชำนาญงานมาควลคุมดูแล เขาไม่ใช่สร้างมั่วๆนะคะ  ถามหาความปลอดภัยจริงๆควรบอกพวกตนดีกว่าไหมคะ ไปทำอะไรไม่มีความรู้ตูมตามขึ้นมาอันตรายกว่าไม่รู้กี่เท่า  อีกเรื่องคือทวายห่างจากด่านพุน้ำร้อนไทยเกือบ 150 กิโลเมตร เส้นทางคดเคี้ยวเป็นป่าเขา ไม่ต้องห่วงจะกระทบถึงไทยคะ ห่วงพวกตัวเองเถอะไม่ต้องเอาไทยมาอ้าง เพราะไทยไม่ใช่คู่ขัดแย้งของเมียนมา

3. ทางกะเหรี่ยงยึดได้แล้วประชาชนมีชีวิตดีขึ้นไหม  คนไทยทิ้งแผ่นดินที่อยู่ในบริเวณแถบนั้นมีความเป็นอยู่ดีขึ้นไหม ตลอด 75 ปีที่กะเหรี่ยงพยายามปลดแอกนั้น ประชาชนคนกะเหรี่ยงทะลักเข้าไทยนับล้านสร้างภาระให้แก่ไทย มีอะไรดีขึ้นมาบ้าง นั่นคือสิ่งที่ฝั่งกะเหรี่ยงควรตอบกับประชาชนของตนและนำพาคนของตนไปสร้างประเทศได้แล้ว

4. สุดท้ายสงครามนี้ให้ประโยชน์กับกองทัพไทยอย่างหนึ่งในขณะที่วัยรุ่นไทยไม่อยากเป็นทหารเกณฑ์แต่พวกวัยรุ่นเชื้อสายกะเหรี่ยงที่ได้บัตรไทยอยากเป็นทหารเกณฑ์เพราะเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการรบจริงในกะเหรี่ยงได้ 

อีกทั้งล่าสุดมีคลิปว่อนโซเชียลเมียนมาที่มีคุณแม่ชาวกะเหรี่ยงพูดว่าคิดถึงลูกมากไม่ได้เจอนานเพราะลูกไปเป็นทหารเกณฑ์ฝั่งไทย  แหม...ดีใจแทนกองทัพไทยและกลาโหมจนน้ำตาไหลเลยคะ

อ้อเอย่าลืมบอกคนกะเหรี่ยงไปรบนี่ได้เงินนะคะ  หลายคนรบจนสร้างตัวได้ละก็หนีเข้าไทยมาซื้อบัตรไทยทั้งครอบครัวประกอบสัมมาอาชีพตามชายแดน  เดี๋ยวพูดไปข้าราชการแถวนั้นก็จะหากินยากอีกเอาเป็นว่าเอย่าไม่พูดละกัน 

วันนี้ก็ขอจบเรื่องราวเพียงเท่านี้ดีกว่าคะ ไว้ว่างๆเมื่อไหร่เอย่าคงได้เล่าเพิ่มเติมอีก

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย นางมาเรีย ซัคคาโรว่า แถลงเซเลนสกี้ พูดถึงเงื่อนไขการหยุดยิง 30 วัน โดยต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม จึงจะคุยเรื่องการเจรจาสันติภาพ ว่ามันเข้าใจไขว้เขว

(12 พ.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Ethan Hunts’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย นางมาเรีย ซัคคาโรว่า แถลงเซเลนสกี้ พูดถึงเงื่อนไขการหยุดยิง 30 วัน โดยต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม จึงจะคุยเรื่องการเจรจาสันติภาพ ว่ามันเข้าใจไขว้เขว

เธอแถลงว่า ปธน.ปูติน ประกาศออกสาธารณะอย่างชัดเจน เรื่องนัดให้มาเจรจาสันติภาพวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ที่อิสตันบูล เพื่อถกรากเหง้าของความขัดแย้ง จนเป็นสงครามในปัจจุบันเสียก่อน ค่อยพูดถึงการตกลงหยุดยิง

ด้านเซเลนสกี้ทวีตในเอ็กซ์ ว่าจะไปรอคุยกับปูตินที่ตุรเกีย แต่ทางการตุรเกียแถลงว่ายังไม่ได้รับการติดต่อใดๆจากยูเครนเลย (สรุปมันยังใช้ลีลานักแสดงตลก แต่มุกไม่เวิร์ค)

‘อังกฤษ’ ออกกฎใหม่!! คุมเข้ม!! คนเข้าเมือง ยกระดับวีซ่าทำงาน!! เทียบเท่าปริญญาตรี

(12 พ.ค. 68) Amthaipaper (หนังสือพิมพ์ไทยในอังกฤษ) รายงานว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีเว็ตต์ คูเปอร์ ประกาศปฏิรูประบบตรวจคนเข้าเมืองครั้งใหญ่ โดยมีเป้าหมายหลักในการลดจำนวนผู้อพยพอย่างจริงจัง  
ประเด็นสำคัญในนโยบายใหม่นี้  
•  ยกระดับเกณฑ์วีซ่าทำงาน (Skilled Worker Visa)
จากเดิมที่พิจารณาจากระดับทักษะต่ำ จะปรับขึ้นเป็น RQF ระดับ 6 เทียบเท่าปริญญาตรี เท่านั้น
•  จำกัดวีซ่าทำงานทักษะต่ำ อนุญาตเฉพาะตำแหน่งงานที่ ขาดแคลนอย่างมาก และจะเป็นการอนุญาตแบบ ชั่วคราว เท่านั้น
•  ส่งเสริมการจ้างงานคนในประเทศ
รัฐบาลจะสนับสนุนให้นายจ้าง ฝึกอบรมแรงงานภายในประเทศ มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานจากต่างชาติ
•  ตั้งกลุ่มวิเคราะห์ตลาดแรงงาน (LMEG) จัดตั้ง Labour Market Evidence Group (LMEG) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาด้านทักษะแรงงาน และเสนอแนะแนวทางแก้ไข
•  เร่งรัดการส่งกลับผู้พำนักผิดกฎหมาย
มีการดำเนินการส่งกลับผู้ที่พำนักอยู่ในสหราชอาณาจักรโดยไม่มีสิทธิ์แล้วกว่า 24,000 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2024
•  ยังคงเปิดรับผู้มีทักษะสูง
รัฐบาลยืนยันว่าจะยังคงเปิดรับ “ผู้มีทักษะสูง” จากต่างประเทศ แต่ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นที่ต้องการจริง
•  ขยายระยะเวลาขอสัญชาติ
ผู้ยื่นขอสัญชาติจะต้องอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 10 ปี (จากเดิม 5 ปี)
•  Fast-track สำหรับผู้มีส่วนร่วมสูง
ผู้ที่มี "ส่วนร่วมสูง" ต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น แพทย์ พยาบาล หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จะสามารถยื่นขอสัญชาติได้เร็วขึ้น
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนไทยในสหราชอาณาจักร   
•  ผู้ถือวีซ่าทำงานต่ำกว่าระดับปริญญา
คนไทยที่ทำงานสายงานที่ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิปริญญา เช่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care workers), แม่บ้าน, พนักงานบริการร้านอาหาร อาจ ไม่สามารถต่อวีซ่า หรือขอวีซ่าใหม่ ได้ง่ายเหมือนเดิม
•  โอกาสทำงานของนักเรียนไทยลดลง
น้องๆ นักเรียนไทยที่เรียนจบและต้องการอยู่ทำงานต่อ อาจต้องแสดงให้เห็นว่าได้งานใน ระดับปริญญา และได้รับ ค่าจ้างตามเกณฑ์ที่สูงขึ้น
•  ธุรกิจไทยในสหราชอาณาจักร
ร้านอาหารไทย หรือธุรกิจไทยขนาดเล็กที่พึ่งพาแรงงานจากไทย อาจประสบปัญหา
•  แรงกดดันด้านกฎหมายและวีซ่า
คนที่อยู่ในสหราชอาณาจักรโดย ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรืออยู่เกินระยะวีซ่า อาจถูก ตรวจสอบและผลักดันออกนอกประเทศ เข้มงวดมากขึ้น
•  การปรับตัวของชุมชนไทย
พี่น้องคนไทยอาจต้อง พัฒนาทักษะและวุฒิการศึกษา ให้สูงขึ้น หรือพิจารณา เปลี่ยนประเภทวีซ่า เช่น วีซ่านักเรียน วีซ่าคู่สมรส หรือวีซ่าธุรกิจ
คำแนะนำสำหรับพี่น้องคนไทย
•สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าทำงานในปัจจุบัน ควรตรวจสอบเงื่อนไขวีซ่าของตนเองอย่างละเอียด และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น
• น้องๆ นักเรียนไทย ควรวางแผนการศึกษาและเส้นทางอาชีพในอนาคต โดยคำนึงถึงนโยบายใหม่นี้
• ธุรกิจไทยควรพิจารณาแผนการจ้างงานในระยะยาว และอาจต้องลงทุนในการฝึกอบรมพนักงานที่มีอยู่
• หากต้องการขอสัญชาติ ควรวางแผนการอยู่ในสหราชอาณาจักรในระยะยาว และพิจารณาแนวทางการพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็น "ผู้มีส่วนร่วมสูง"

‘จีน - สหรัฐฯ’ เดินหน้าเจรจาการค้า แก้ไขปัญหาภาษี เน้น!! เคารพซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

(12 พ.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า …

การเจรจาการค้าระหว่าง #จีน และ #สหรัฐฯ คืบหน้าไปมาก

ทั้งจีนและสหรัฐต่างชื่นชมความคืบหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการเจรจาการค้าที่เจนีวาเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมุ่งลดความตึงเครียดที่เกิดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ

รองนายกรัฐมนตรีจีน เหอ หลี่เฟิง ผู้นำด้านการค้าและเศรษฐกิจจีน-สหรัฐ พบกับผู้นำของสหรัฐ ได้แก่ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ สก็อตต์ เบสเซนต์ และผู้แทนการค้าสหรัฐ เจมีสัน กรีร์ ที่เจนีวาเมื่อวันเสาร์และวันอาทิตย์ นับเป็นการประชุมระดับสูงครั้งแรกระหว่างทั้งสองฝ่ายนับตั้งแต่สงครามภาษีตอบโต้กันครั้งล่าสุด

“บรรยากาศของการประชุมเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เจาะลึก และสร้างสรรค์ การประชุมมีความคืบหน้าไปมากและมีฉันทามติที่สำคัญ” เขากล่าวในการแถลงข่าวเมื่อเย็นวันอาทิตย์

เขากล่าวว่าทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งกลไกการปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นการค้าและเศรษฐกิจ ระบุผู้นำของแต่ละฝ่าย และจะดำเนินการปรึกษาหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการค้าและเศรษฐกิจที่ทั้งสองฝ่ายมีความกังวลร่วมกัน

ทั้งสองฝ่ายจะสรุปรายละเอียดที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุดและจะออกแถลงการณ์ร่วมที่บรรลุในการประชุมในวันจันทร์นี้ ตามที่นายเหอกล่าว

เมื่อถูกถามว่าจะออกแถลงการณ์ร่วมในวันจันทร์นี้เมื่อใด นายหลี่เฉิงกัง ผู้เจรจาการค้าระหว่างประเทศและรองรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของจีน ตอบว่าหากอาหารจานนี้อร่อย เวลาก็ไม่ใช่ปัญหา

นายหลี่กล่าวว่า "ไม่ว่าแถลงการณ์นี้จะออกเมื่อใด จะเป็นข่าวใหญ่และเป็นข่าวดีสำหรับโลก"

นายเหอ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณรัฐบาลสวิสที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ และเขายังกล่าวอีกว่า "ความเป็นมืออาชีพและความขยันขันแข็ง" ของเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกันนั้น "น่าประทับใจ"

เขากล่าวว่าในช่วงกว่าสามเดือนที่ผ่านมา สงครามการค้าโลกที่สหรัฐฯ เป็นผู้ก่อขึ้นได้ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก

ภาษีศุลกากรที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ กำหนดให้กับจีนตั้งแต่ต้นปีรวมแล้วสูงถึง 145 เปอร์เซ็นต์ โดยภาษีศุลกากรรวมของสหรัฐฯ ต่อสินค้าจีนบางรายการสูงถึง 245 เปอร์เซ็นต์ จีนตอบโต้ด้วยภาษีศุลกากรต่อสินค้าสหรัฐฯ ถึง 125 เปอร์เซ็นต์ สถานการณ์นี้ถูกบางคนอธิบายว่าเป็นเหมือนการคว่ำบาตรทางการค้า

“จุดยืนของจีนต่อสงครามการค้าครั้งนี้ชัดเจนและสม่ำเสมอ นั่นคือ จีนไม่ต้องการทำสงครามการค้า เพราะสงครามการค้าไม่ได้ทำให้มีผู้ชนะ แต่ถ้าสหรัฐฯ ยืนกรานที่จะบังคับให้จีนทำสงครามนี้ จีนจะไม่กลัวและจะสู้จนถึงที่สุด” เขากล่าว โดยย้ำจุดยืนของจีน

เขากล่าวว่าการพบปะครั้งนี้มีประโยชน์และเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่ทั้งสองฝ่ายดำเนินการเพื่อแก้ไขความแตกต่างอย่างเหมาะสมผ่านการเจรจาอย่างเท่าเทียม เพื่อเชื่อมช่องว่างความแตกต่างและกระชับความร่วมมือ

เขาย้ำว่าธรรมชาติของการค้าและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและสหรัฐฯ เป็นประโยชน์ร่วมกันและเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย

“สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามหลักการเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และการหาหนทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมผ่านการพูดคุยและปรึกษาหารืออย่างเท่าเทียม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่มีเสถียรภาพ มั่นคง และยั่งยืน” เขากล่าว

เขากล่าวว่าฝ่ายจีนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับฝ่ายสหรัฐฯ เพื่อปฏิบัติตามฉันทามติสำคัญที่ผู้นำทั้งสองประเทศบรรลุในการโทรศัพท์หารือเมื่อวันที่ 17 มกราคมอย่างจริงจัง และด้วยแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหา

“เรายินดีที่จะมีส่วนร่วมในบทสนทนาอย่างเข้มข้นและการปรึกษาหารืออย่างเท่าเทียม จัดการความแตกต่างของเรา ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของความร่วมมือ ขยายผลลัพธ์จากการทำงานร่วมกัน และทำให้ผลประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น” เขากล่าว
“เราสามารถส่งเสริมการพัฒนาใหม่ด้วยความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างจีนและสหรัฐฯ และเพิ่มความแน่นอนและเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น”

หลี่ เฉิงกัง หัวหน้าผู้เจรจาของจีน อธิบายถึงลักษณะเด่นสามประการของการประชุมครั้งนี้ว่า “การเคารพซึ่งกันและกัน ความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน ความเป็นมืออาชีพ และประสิทธิภาพสูง”

ด้าน เบสเซนต์ รมว.คลังสหรัฐฯ กล่าวในวันอาทิตย์ว่าการเจรจาครั้งนี้ "มีประสิทธิผล"

"ผมดีใจที่จะรายงานว่าเราได้บรรลุความคืบหน้าที่สำคัญระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนในการเจรจาการค้าที่สำคัญยิ่ง" เขากล่าวกับผู้สื่อข่าว
เบสเซนต์กล่าวว่าเขาได้แจ้งให้ทรัมป์ทราบถึงความคืบหน้าของการเจรจาแล้ว

ปธน.ทรัมป์กล่าวบนโซเชียลมีเดียในวันอาทิตย์ว่า "วันนี้เป็นการประชุมที่ดีมากกับจีนที่สวิตเซอร์แลนด์ มีการหารือกันหลายเรื่องและหลายฝ่ายเห็นด้วย การเจรจารีเซ็ตใหม่ทั้งหมดเป็นไปอย่างเป็นมิตรแต่สร้างสรรค์

"สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าเราสามารถบรรลุข้อตกลงได้เร็วเพียงใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบางทีความแตกต่างอาจไม่มากเท่าที่คิด" กรีเออร์กล่าวในวันอาทิตย์

แถลงการณ์ร่วม!! การประชุมเศรษฐกิจการค้า 'จีน - สหรัฐฯ' ณ นครเจนีวา ทั้ง 2 ประเทศ ตกลงร่วมดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าทวิภาคี

(12 พ.ค. 68) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า จีน และสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการประชุมทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-สหรัฐฯ ณ นครเจนีวา (Joint Statement on China-U.S. Economic and Trade Meeting in Geneva) ซึ่งระบุว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ("จีน") และรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ("สหรัฐฯ") ตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคีต่อทั้งสองประเทศและเศรษฐกิจโลก และตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่ยั่งยืนในระยะยาวและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ทั้งสองฝ่ายตกลงจะดำเนินการต่างๆ ภายในวันที่ 14 พ.ค. 2025 ตามการหารือครั้งล่าสุดและความเชื่อที่ว่าการหารืออย่างต่อเนื่องมีศักยภาพจัดการกับข้อวิตกกังวลของแต่ละฝ่ายในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า รวมถึงการก้าวไปข้างหน้าด้วยจิตวิญญาณแห่งการเปิดกว้างร่วมกัน การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือ และความเคารพซึ่งกันและกัน

สหรัฐฯ จะ (1) ปรับการบังคับใช้อัตราภาษีตามมูลค่า (ad valorem rate) เพิ่มเติมกับสินค้าของจีน (รวมถึงสินค้าของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและเขตบริหารพิเศษมาเก๊า) ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งฝ่ายบริหารหมายเลข 14257 ณ วันที่ 2 เม.ย. 2025 โดยระงับอัตราภาษีดังกล่าว 24 จุด เป็นระยะเวลา 90 วัน ขณะคงอัตราภาษีตามมูลค่าที่เหลือไว้ที่ร้อยละ 10 สำหรับสินค้าเหล่านี้ตามเงื่อนไขของคำสั่งดังกล่าว และ 

(2) ยกเลิกอัตราภาษีตามมูลค่าเพิ่มเติมที่แก้ไขแล้วกับสินค้าดังกล่าว ซึ่งกำหนดโดยคำสั่งฝ่ายบริหารหมายเลข 14259 ณ วันที่ 8 เม.ย. 2025 และคำสั่งฝ่ายบริหารหมายเลข 14266 ณ วันที่ 9 เม.ย. 2025

จีนจะ (1) ปรับการบังคับใช้อัตราภาษีตามมูลค่าเพิ่มเติมกับสินค้าของสหรัฐฯ ตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะกรรมการภาษีศุลกากรแห่งคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 4 ประจำปี 2025 โดยระงับอัตราภาษีดังกล่าว 24 จุด เป็นระยะเวลา 90 วัน แต่ยังคงอัตราภาษีตามมูลค่าเพิ่มเติมที่เหลือไว้ที่ร้อยละ 10 สำหรับสินค้าดังกล่าว และยกเลิกอัตราภาษีตามมูลค่าที่แก้ไขแล้วกับสินค้าดังกล่าว ซึ่งกำหนดโดยประกาศของคณะกรรมการภาษีศุลกากรแห่งคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 5 ประจำปี 2025 และประกาศของคณะกรรมการภาษีศุลกากรแห่งคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 6 ประจำปี 2025 และ 

(2) ปรับใช้มาตรการฝ่ายบริหารที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อระงับหรือยกเลิกมาตรการตอบโต้ที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่ดำเนินการกับสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. 2025

หลังจากดำเนินการข้างต้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งกลไกการหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าต่อไป โดยคณะผู้แทนจากฝ่ายจีนสำหรับการหารือนี้ ได้แก่ เหอลี่เฟิง รองนายกรัฐมนตรีจีน และคณะผู้แทนจากฝ่ายสหรัฐฯ ได้แก่ สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ และเจมิสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งการหารือเหล่านี้อาจจัดขึ้นสลับกันในจีนและสหรัฐฯ หรือในประเทศที่สามตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่ายอาจจัดการปรึกษาหารือระดับปฏิบัติการในประเด็นเศรษฐกิจและการค้าที่เกี่ยวข้องหากจำเป็น

ผลเจรจาสหรัฐฯ – จีน 🇺🇸🇨🇳 ก็แค่พักรบสงครามภาษี มันเป็นได้แค่เกมซื้อเวลา ตราบใดที่สหรัฐฯ ยังคงหวาดระแวงการเติบใหญ่ของจีน

(12 พ.ค. 68) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Aksornsri Phanishsarn ระบุว่า ...

ผลเจรจาสหรัฐฯ - จีน 🇺🇸🇨🇳 ก็แค่พักรบสงครามภาษี  มันเป็นได้แค่เกมซื้อเวลา  ตราบใดที่สหรัฐฯ ยังคงหวาดระแวงการเติบใหญ่ของจีน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top