Saturday, 10 May 2025
World

โฆษกเวียดนามโต้ไม่ทราบชัด รัฐบาล ‘ทรัมป์’ สั่งเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ห้ามร่วมงานวันชาติ แต่ย้ำเป็นวันแห่งมิตรภาพและการให้อภัยระหว่างสองชาติ

(25 เม.ย. 68) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม นางฟาม ถู ฮั่ง (Pham Thu Hung) เปิดเผยในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 24 เมษายนว่า ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของรายงานจาก The New York Times ที่ระบุว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยสั่งห้ามเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบรอบ 30 เมษายนของเวียดนาม โดยกล่าวเพียงว่า “ไม่ทราบว่าข้อมูลนี้ถูกต้องแค่ไหน”

อย่างไรก็ตาม โฆษกฯ ได้เน้นย้ำว่า วันปลดปล่อยภาคใต้และวันรวมชาติในวันที่ 30 เมษายน เป็นชัยชนะและความยุติธรรม ที่ยุติความสูญเสียอันเจ็บปวด ไม่เพียงแต่ของประชาชนเวียดนามแต่ยังรวมถึงครอบครัวชาวอเมริกันอีกเป็นจำนวนมากด้วย

ปีนี้ เวียดนามจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการปลดปล่อยภาคใต้ โดยมีผู้แทนระดับสูงจากพรรคการเมืองต่างๆ องค์กรระหว่างประเทศ ขบวนการสันติภาพ และมิตรประเทศเข้าร่วมตามคำเชิญของเวียดนาม รวมถึงการยืนยันเข้าร่วมจากจีน ลาว และกัมพูชา ที่เข้าร่วมขบวนพาเหรดในพิธีเฉลิมฉลอง

ทั้งนี้ เวียดนามและสหรัฐฯ ได้พัฒนาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 1995 จนกระทั่งยกระดับเป็นความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมในปี 2013 การเฉลิมฉลองวันที่ 30 เมษายนนี้ จึงเป็นสัญลักษณ์ของการให้อภัย การปรองดอง และการมุ่งสู่อนาคตร่วมกันของทั้งสองประเทศหลังผ่านพ้นความขัดแย้งในอดีต

นายกอินเดียลั่น ‘ตามล่าถึงขอบโลก’ ผู้ก่อเหตุชาวปากีฯ กราดยิงในแคชเมียร์ พร้อมตัดสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ-ขับเจ้าหน้าที่ปากีสถานพ้นประเทศ

(25 เม.ย. 68) นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ของอินเดีย ประกาศจุดยืนอย่างแข็งกร้าวว่าจะ “ไล่ล่าผู้ก่อการร้ายและผู้สนับสนุนไปจนสุดขอบโลก” เพื่อตอบโต้เหตุกราดยิงนักท่องเที่ยวในแคชเมียร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าผู้ก่อเหตุ 2 ใน 3 รายเป็นชาวปากีสถาน โดยไม่เอ่ยชื่อปากีสถานโดยตรง แต่ท่าทีแข็งกร้าวของผู้นำอินเดียสะท้อนถึงความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน

อินเดียตอบโต้ทางการทูตโดยระงับสนธิสัญญาแบ่งปันแม่น้ำสินธุที่มีมายาวนานกว่า 60 ปี และปิดด่านพรมแดนทางบกเพียงแห่งเดียวกับปากีสถาน นอกจากนี้ ยังเรียกตัวที่ปรึกษาด้านกลาโหมกลับประเทศ พร้อมลดจำนวนเจ้าหน้าที่สถานทูตในอิสลามาบัดจาก 55 คน เหลือ 30 คน และประกาศให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันของสถานทูตปากีสถานเป็น “บุคคลไม่พึงปรารถนา”

ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจในแคชเมียร์ได้เผยชื่อผู้ต้องสงสัยทั้ง 3 ราย พร้อมเสนอเงินรางวัลนำจับ โดยระบุว่ามือปืน 2 คนเป็นชาวปากีสถาน และคาดว่าเชื่อมโยงกับกลุ่มติดอาวุธข้ามพรมแดน ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอินเดียแถลงว่าคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อมโยงดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด

เหตุโจมตีนี้นับเป็นการโจมตีพลเรือนครั้งรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 20 ปีของอินเดีย สื่อท้องถิ่นรายงานว่า นายกฯ โมดีเรียกประชุมทุกพรรคการเมืองเพื่อหารือแนวทางตอบโต้และสร้างความเป็นเอกภาพ ขณะที่ปากีสถานออกมาตอบโต้ว่า อินเดียระงับสนธิสัญญาแม่น้ำอย่างบุ่มบ่าม และถือเป็นการ 'ก่อสงครามน้ำ' อย่างผิดกฎหมายอีกด้วย

‘จีน’ ผนึกกำลัง ‘รัสเซีย’ สร้างบ้านหลังแรกของมนุษย์บนดวงจันทร์ ตั้งเป้าฐานถาวรพร้อมแหล่งพลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2035

(25 เม.ย. 68) จีนและรัสเซียเดินหน้าขยายความร่วมมือด้านอวกาศอย่างต่อเนื่อง โดยลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (ILRS) ร่วมกันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021 และกำหนดเริ่มภารกิจสำรวจดวงจันทร์ภายในปี 2026 ทั้งสองประเทศยืนยันเป้าหมายจะสร้างฐานทัพที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างถาวรภายในทศวรรษหน้า

หนึ่งในเป้าหมายหลักคือการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์บนดวงจันทร์ เพื่อรองรับการใช้พลังงานในช่วงกลางคืนอันยาวนานของดวงจันทร์ที่ไร้แสงอาทิตย์ โดย เป่ย เจ้าอวี่ (Pei Zhaoyu) หัวหน้าวิศวกรของภารกิจฉางเอ๋อ-8 (Chang’e-8) เผยว่าโรงไฟฟ้าจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของ ILRS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 24 เมษายน ซึ่งเป็นวันอวกาศของจีน ตัวแทนของจีนและรัสเซียได้พบปะเพื่อย้ำจุดยืนร่วมด้านความร่วมมืออวกาศ โดยรัสเซียได้นำเสนอแผนการสำรวจทรัพยากรแร่ธาตุและน้ำบนดวงจันทร์ พร้อมทั้งแนวคิดใช้วัสดุจากดวงจันทร์เป็นเชื้อเพลิงในอนาคต ขณะที่จีนตั้งเป้าส่งมนุษย์เหยียบดวงจันทร์ภายในปี 2030

ระหว่างปี 2033-2035 จีนและรัสเซียมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ร่วมบนดวงจันทร์ ขณะนี้มี 17 ประเทศเข้าร่วมโครงการ ILRS และจีนตั้งเป้าขยายพันธมิตรเพิ่มเป็น 50 ประเทศ โดยเน้นกลุ่ม BRICS และประเทศกำลังพัฒนา

โครงการ ILRS ได้รับการแบ่งเป็น 3 ระยะ เริ่มจากการสำรวจและระบุตำแหน่งฐาน ทดสอบเทคโนโลยี ต่อด้วยการสร้างระบบสื่อสารและการขนส่ง ก่อนเข้าสู่ระยะสุดท้ายคือการขยายสถานีวิจัยและส่งมนุษย์ขึ้นสำรวจดวงจันทร์ โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ระบุว่า โครงการนี้ “น่าสนใจและมีแนวโน้มดีมาก” ในระหว่างการเยือนจีนปี 2024

ตำรวจเมียนมารวบ ‘หมอดู’ TikTok ร้อนวิชาวัย 21 ปี ทำนายแผ่นดินไหวใหญ่ล่วงหน้าสุดมั่ว ทำคนตื่นตระหนก

(25 เม.ย. 68) ทางการเมียนมาจับกุมนายจอห์น โม (John Moe) หมอดูหนุ่มวัย 21 ปี ผู้มีผู้ติดตามกว่า 300,000 คนบน TikTok หลังโพสต์คลิปทำนายว่าแผ่นดินไหวรุนแรงจะเกิดขึ้นอีกครั้งทั่วประเทศภายใน 12 วัน ซึ่งสร้างความวิตกในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะหลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคมที่คร่าชีวิตผู้คนกว่า 3,700 ราย

ในวิดีโอทำนายของหมอดูรายนี้ มียอดเข้าชมถึง 3.3 ล้านครั้ง เขาแนะนำให้ผู้คน “อย่าอยู่ในตึกสูง” และ “พกของสำคัญหนีออกจากอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว” โดยคำเตือนนี้ถูกโพสต์เมื่อวันที่ 9 เมษายน เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งก่อน ซึ่งทำให้ผู้รอดชีวิตจำนวนมากยังไม่กล้ากลับเข้าไปอยู่ในบ้าน

ส่งผลให้เจ้าหน้าที่บุกจับเขาที่บ้านในเมืองโมนยวา เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา และแถลงผ่านสื่อของรัฐในวันที่ 24 เมษายนว่า การทำนายดังกล่าวเข้าข่ายเผยแพร่ข่าวปลอม ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก และอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในประเทศ

‘ทรัมป์’ เผยเริ่มเจรจากับจีนแล้ว แต่ฝั่งปักกิ่งบอกไปคุยตอนไหน สหรัฐฯ ‘คุยกับใครเหรอ ไม่เห็นรู้เรื่อง!’ ยันยังไม่เจอตัวแทนวอชิงตัน

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ยืนยันว่า ได้มีการเจรจากับทางการจีนเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากร แม้ว่ารัฐบาลปักกิ่งจะออกมาปฏิเสธการเจรจาดังกล่าว โดยระบุว่า “ยังไม่มีการพูดคุยทางการค้าใดๆ” ระหว่างสองฝ่ายในขณะนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดทางเศรษฐกิจที่ดำเนินมายาวนาน

ทรัมป์กล่าวระหว่างการประชุมกับนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ที่ทำเนียบขาวว่า “พวกเขาประชุมกันเมื่อเช้านี้” และเสริมว่า “เราได้ประชุมกับจีนแล้ว” อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยตัวแทนของฝ่ายจีน โดยระบุเพียงว่าอาจมีการเปิดเผยในภายหลัง แต่ยืนยันว่าการเจรจาเกิดขึ้นแล้ว

ด้านกระทรวงพาณิชย์ของจีนออกมาปฏิเสธรายงานดังกล่าว โดยโฆษกเหอ หยาตง (He Yadong) ย้ำว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาการค้าระหว่างสองประเทศ และข่าวใด ๆ ที่ระบุว่ามีความคืบหน้าเป็นเพียงการคาดเดา โดยไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ พร้อมระบุว่าจีนยังยึดมั่นในแนวทางการเจรจาบนพื้นฐานของความเสมอภาค

แม้ยังไม่มีความชัดเจนในข้อเท็จจริง แต่นักลงทุนมองว่าการแสดงท่าทีเชิงบวกของสหรัฐฯ อาจช่วยผ่อนคลายความกังวล ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากภาวะขาดทุนในเดือนเมษายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังมีรายงานว่ารัฐบาลทรัมป์กำลังพิจารณาลดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนลงมาอยู่ในช่วง 50% ถึง 65%

ทรัมป์ยังใช้แพลตฟอร์ม Truth Social กล่าวโจมตีจีนเพิ่มเติม ทั้งในประเด็นการชะลอรับมอบเครื่องบินโบอิ้ง และการปล่อยให้เฟนทานิลไหลเข้าสหรัฐฯ ผ่านเม็กซิโกและแคนาดา พร้อมเรียกร้องให้โบอิ้งเป็นฝ่ายเรียกร้องจีนที่ผิดนัดชำระหนี้ ไม่ยอมรับมอบ พร้อมกำหนดอัตราภาษีนำเข้าต่อจีน แคนาดา และเม็กซิโก เพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการค้าและควบคุมปัญหายาเสพติด

วัยรุ่นรัสเซีย สนใจเรียนรู้!! ‘ภาษา - วัฒนธรรม’ ของประเทศจีน เป็นอย่างมาก ‘โฆษก ก.ต่างประเทศรัสเซีย’ เผย!! พร้อมสนับสนุน เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพ

(26 เม.ย. 68) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า มาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวเนื่องในวันภาษาจีนแห่งสหประชาชาติ (UN) ว่าชาวรัสเซียยังคงสนใจเรียนรู้วัฒนธรรมจีน วรรณคดีจีน และภาษาจีนกันอย่างมาก ขณะเดียวกันคนหนุ่มสาวในจีนสนใจเรียนภาษารัสเซียเพิ่มขึ้นด้วย

ซาคาโรวากล่าวว่าการเรียนภาษาเป็นหัวข้อพิเศษในความร่วมมือทางมนุษยศาสตร์รัสเซีย-จีน ขณะความต้องการผู้ใช้ทั้งภาษารัสเซียและภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่วเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการพัฒนาที่รวดเร็วของด้านต่างๆ ในความสัมพันธ์รัสเซีย-จีน โดยทั้งสองประเทศสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาอย่างแข็งขัน โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสัมพันธ์ทวิภาคี และมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในการเสริมสร้างความไว้วางใจและมิตรภาพ

ทั้งนี้ ซาคาโรวายังเน้นย้ำความพยายามของรัสเซียและจีนในการสร้างสภาพแวดล้อมอันเกื้อหนุนการขยับขยายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ การบ่มเพาะผู้มีความรู้ความสามารถ และการแบ่งปันประสบการณ์

เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ยกนิสัยคนจีนรักการเรียนรู้ จุดแข็งขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ ครูพี่ป๊อป ดร. ณัฐพงศ์ นำศิริกุล ในการบรรยายพิเศษ ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ ‘Apple’ จะย้ายโรงงานผลิต จากจีนไปอินเดีย ต้องผ่านมาตรการศุลกากร ข้อบังคับทางการค้า ด้านการส่งออก

(26 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Ethan Hunts’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

อินฟลูเปรียบเทียบประโยคที่ เมื่อครั้งนายเจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีจีน และอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สอนนักข่าวฮ่องกง ถามเรื่องการลงสมัครเป็นผู้ว่าการเกาะฮ่องกงของนายถัง ซึ่งเป็นผู้ว่าการฯในขณะนั้น โดยใช้มุกสัมภาษณ์ควาย ๆ ยิงคำถามเดิมซ้ำ ๆ และคาดเดานัยของคำตอบซึ่งไม่ถูกใจ ด้วยการถามใหม่ปรับเปลี่ยนบางคำในประโยคคำถามนั้น คล้ายว่าหากตอบไม่ตรงกับความตั้งใจที่แฝงมากับคำถาม ก็จะทู่ซี้ถามอีก นายเจียง ตัดบทหลายครั้งหลังตอบคำถามเมื่อถูกถามว่าตนสนับสนุนนายถังหรือไม่? และตอบไปแล้วว่าโดยส่วนตัวเขาสนับสนุน แต่นักข่าวต้องการคำตอบว่าจีนกดดันฮ่องกงให้เลือกนายถังหรือเปล่า? นายเจียงถามนักข่าวว่าไปเอาความคิดนี้มาจากไหน? นักข่าวชี้ว่ามาจากสื่อตะวันตก นายเจียงจึงสอนนักข่าวว่า “ในฐานะสื่อฯ คุณไม่ควรคาดเดาเอาเอง หรือมโนฯเพียงสัมผัสลม ก็ฟันธงว่ามีฝน พวกคุณต้องพิจารณาว่าแหล่งข่าวน่าเชื่อถือหรือไม่ แล้วตัดสินใจก่อนจะนำมา ต่อเรื่องเป็นตุเป็นตะ พวกคุณยังอ่อนวัยเกิน, คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันง่าย ๆ จนทำตัวเองให้ดูเหมือนพวกอ่อนต่อโลก (เอเคเอ ปัญญาอ่อน)” 

แอปเปิ้ลก็มีข่าวว่า วางแผนจะย้ายฐานการผลิตจากจีนไปอินเดีย จากนโยบายสุดระห่ำของไอ้บ้า 'คนขายส้ม' เอเคเอ ดิ ออเรนจ์แมน (ฉายาที่สื่อฯอเมริกันใช้นิยามทรัมป์) ซึ่งคาดว่าการย้ายฐานการผลิตจะเกิดขึ้นภายในปี 2026 แต่ที่ทิม คุ๊ก ซีอีโอแอปเปิ้ล อาจแสร้ง หรือคาดไม่ถึงคือ จีนเห็นการย้ายฐานการผลิตของแอปเปิ้ลเป็นเรื่องที่ “คิดได้ ถึงกล้าทำแต่มันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ” แอปเปิ้ลอาจคิดว่าจีน เป็นแค่โรงงานรับจ้างผลิต ทั้งยังเป็นตลาดขนาดใหญ่รองรับสินค้านับหลายร้อยล้านเครื่องต่อปี จึงคิดว่าแค่ย้ายโรงงานไม่ใช่เรื่องใหญ่ หรือดำเนินการยากแต่อย่างใด

แต่เอาเข้าจริง การส่งออกวัตถุดิบตลอดจนเครื่องจักรจากจีน เพื่อที่จะย้ายไปอินเดียนั้น แบบไม่ต้องประกาศอย่างโจ๋งครึ่มแต่อย่างใด ทางการจีนสามารถใช้มาตรการทางศุลกากร และข้อบังคับทางการค้า ด้านการส่งออก เป็นเครื่องมือในการปิดประตูหน้า, ขวางประตูข้าง และทิ้งช่องประตูด้านหลังโรงงานเล็ก ๆ ไว้ให้ กว่าแอปเปิ้ลจะดำเนินการจนแล้วเสร็จคาดว่า อาจหมดสมัยทรัมป์ไปแล้ว หรือแย่กว่านั้น ระหว่างตั้งโรงงาน สหรัฐดันคุยกับจีนแล้วตกลงกันได้ ทิม คุ๊ก ก็อาจมีสภาพต้องกินอาหารเม็ดไปเลยก็เป็นได้

‘วาติกัน’ เปลี่ยนพิธีสาร!! เพื่อให้ ‘เซเลนสกี’ ได้นั่งแถวหน้า ในพิธีศพของ ‘สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส’

(27 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

หนังสือพิมพ์ The Telegraph ของอังกฤษระบุว่ากฎทางการทูตกำหนดให้ผู้นำโลกต้องนั่งตามลำดับตัวอักษรตามชื่อประเทศในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นภาษาทางการทูตแบบดั้งเดิม ตามกฎเหล่านี้ เซเลนสกีน่าจะได้นั่งในแถวที่สามหรือถอยหลังลงไป

ตรงกันข้าม เขานั่งแถวหน้า ห่างจากทรัมป์ 11 ที่นั่ง ซึ่งนั่งอยู่ทางขวาของเขา
วาติกันไม่ปฏิเสธว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงพิธีการดังกล่าว "ผมเชื่อว่าพวกเขาได้เติมเต็มตำแหน่งที่ว่างแล้ว" โฆษกวาติกัน มัตเตโอ บรูนี กล่าวกับเดอะเทเลกราฟ

ระหว่างเซเลนสกีและทรัมป์มีประธานาธิบดีของอินเดีย ฮังการี กาบอง รวมถึงมาครงกับภริยาของเขา และประธานาธิบดีของฟินแลนด์ อเล็กซานเดอร์ สตับบ์

ในภาษาฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาถูกเรียกว่า États-Unis โดยเริ่มด้วยตัวอักษร E ผู้ที่นั่งทางขวาของทรัมป์และเมลาเนีย ภริยาคือ ประธานาธิบดีเอสโตเนีย อลาร์ คาริส และกษัตริย์เฟลิเปแห่งสเปน (Espagne ในภาษาฝรั่งเศส)

ประธานาธิบดีไมเคิล ดี. ฮิกกินส์ของไอร์แลนด์ นั่งอยู่ทางขวาของเซเลนสกี ซึ่งเป็นหลักฐานเพิ่มเติมว่าระเบียบการนั่งปกติได้รับการปรับเปลี่ยนโดยเจตนาเพื่อให้เซเลนสกีได้มีตำแหน่งที่โดดเด่นยิ่งขึ้น

ในที่อื่นๆ กฎเกณฑ์ดูเหมือนจะได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด: ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ฮาเวียร์ ไมลีย์ นั่งทางด้านขวาสุดของแถวหน้า ถัดจากทหารรักษาพระองค์สวิสที่ยืนอยู่

ในเวลาเดียวกัน นักการเมืองอิตาลีวิพากษ์วิจารณ์การแต่งกายของ Zelensky ที่ไม่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ และวิพากษ์วิจารณ์การประชุมทางการเมืองในระหว่างพิธีศพอีกด้วย

Google เปลี่ยนคำว่า 'อ่าวเปอร์เซีย' เป็น 'อ่าวอาหรับ'

(27 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

Google เปลี่ยนคำว่า 'อ่าวเปอร์เซีย' เป็น 'อ่าวอาหรับ' ตามคำขอจากประเทศในอ่าวอาหรับ
ผู้ใช้บางคนยังรายงานว่าเห็นชื่อเดิม แต่ตอนนี้แสดงอยู่ในวงเล็บ

Google changes 'Persian Gulf' to 'Arabian Gulf' following requests from Arab Gulf countries
Some users still report seeing the old name, but now listed in parentheses


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top