Monday, 20 May 2024
World

รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว มีรัฐบาลโดยกระทรวงการเงินถือหุ้น 100% มาตลอด จะมีการเปิดประมูลซื้อ-ขายหุ้นออกมา 49% ภายในกุมภาพันธ์นี้ นับเป็นการแปรรูปกิจการของภาครัฐ ของสปป.ลาว

คอลัมน์ "เบิ่งข้ามโขง"

12 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่แค่เป็นวันตรุษจีน ของชาวเชื้อสายจีนเท่่านั้น แต่ยังเป็นวันสำคัญของ นักลงทุนใน สปป.ลาวด้วย เพราะต้องจับตาว่านักลงทุนเจ้าไหนบ้าง!!!จะยื่นซอง ประมูลซื้อ-ขายหุ้น 49% ของรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว

กำหนดยื่นซองประมูลและเปิดซอง ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร 2 กรมคุ้มครองวิสาหกิจรัฐลงทุนและการประกันภัย กระทรวงการเงิน บ้านโพนไซ เมืองไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์

รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว เคยเป็นส่วนหนึ่งของกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2518 โดยตั้งเป็นกระทรวงไปรษณีย์โทรคมนาคม และเปลี่ยนเป็นกระทรวงขนส่งไปรษณีย์ในปี 2525

ปี 2529 ลาวได้มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานของรัฐ โดยยุบกระทรวงขนส่งไปรษณีย์ กระทรวงก่อสร้าง และกระทรวงคมนาคม รวมเป็นกระทรวงเดียว คือ กระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์ และก่อสร้าง

ปี 2530 มีการปรับโครงสร้างอีกครั้ง โดยจัดตั้งเป็นกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง แยกกิจการไปรษณีย์ออกมาจัดตั้งเป็นบริษัทไปรษณีย์โทรคมนาคม

ปี 2538 ได้แยกกิจการไปรษณีย์และกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน โดยกิจการโทรคมนาคมได้ร่วมทุนกับบริษัทชินวัตร อินเตอร์เนชั่นแนล ตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจผสมลาวโทรคม ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัทลาวโทรคมนาคม เจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ Lao GSM

ส่วนกิจการไปรษณีย์ได้ตั้งเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว มีรัฐบาลโดยกระทรวงการเงินถือหุ้น 100% มาตลอด นี่จึงเป็นครั้งแรกที่จะมีการเปิดประมูลขายหุ้นออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ นับเป็นการแปรรูปกิจการของภาครัฐ ของสปป.ลาว

ภารกิจในปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวให้บริการรับส่งจดหมาย พัสดุภัณฑ์ ธนาณัติ และรับชำระค่าบริการสาธารณูปโภค.

จึงน่าสนใจไม่น้อยว่าการแปรรูปครั้งนี้ จะเกิดผลทำให้เศรษฐกิจและกิจการไปรษณีย์ของลาวคล่องตัวมากน้อยแค่ไหน เพราะแม้จะเปิดประมูลแค่ 49 % แต่ก็เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และกิจการไปรษณีย์ซึ่งอยู่ในประเภทขนส่ง การแข่งขันในตลาดเสรีนั้นมีความตื่นตัวมาก การปรับตัวครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญของภาคธุรกิจของสปป.ลาว เช่นกัน


เรื่องโดย: หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการต่อต้านการผูกขาด ภายใต้รัฐบาลจีน มีมติผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยเรื่องระเบียบการค้าใหม่ ที่ป้องกันการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยย้ำว่าจะใช้กฎหมายนี้ในทุก ๆ อุตสาหกรรม

แม้จะไม่มีการเอ่ยตรงๆ แต่ก็เชื่อได้ว่าเป็นการสกัดกลุ่มธุรกิจ e-Commerce ในกลุ่ม Big Tech ของจีนโดยเฉพาะ เพราะกำลังเป็นกลุ่มธุรกิจที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในจีน หากมองในแง่มุมของการครอบครองข้อมูลฐานลูกค้าหลายล้านรายทั่วประเทศ

โดยร่างกฎหมายฉบับใหม่ มีกฏข้อห้ามในการตั้งราคาขายในกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีผลต่อการทำโปรโมชั่นเพื่อทุ่มตลาด รวมถึงการผูกขาดให้ใช้เฉพาะช่องทางการชำระเงินของบางบริษัท ที่กีดกันบริการคู่แข่ง และการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อความได้เปรียบทางตลาด

สำหรับธุรกิจที่จะโดนผลกระทบเต็มๆ จากร่างกฎหมายต่อต้านการผู้ขาดฉบับล่าสุด จะมีตั้งแต่เว็บ Alibaba, Taobao, Tmall, JD.com รวมถึงแอปพลิเคชันในให้บริการทางการเงินอย่าง AliPay, WeChat หรือแม้แต่เว็บไซต์โซเชียลมีเดีย และผู้ให้บริการส่งอาหาร เรียกรถแท็กซี่ ที่จะไม่มีข้อยกเว้น

ทั้งนี้ สำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ ได้ไห้ความเห็นว่า ร่างกฎหมายใหม่จะป้องกันกลยุทธ์เพื่อผูกขาดตลาดของบริษัทใหญ่ผ่านแพลตฟอร์มทางธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่ยุติธรรมมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่ค่อนข้างชัดเจนจากรัฐบาลจีนในการใช้กฎหมายใหม่ น่าจะเน้นไปที่การจำกัดการใช้กลยุทธ์ด้านราคา หรือเทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือใช้ระบบอัลกอริธึมในการควบคุมตลาด ซึ่งตอนนี้อยู่ในมือบริษัทที่มีดิจิตัลแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ อย่าง Alibaba และ Tencent ซึ่งบริษัทเหล่านี้กำลังเป็นบริษัทเงินทุนสุดทรงอิทธิพลอย่างมากในเศรษฐกิจของจีน และนี่ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนไม่อาจมองข้ามได้

รัฐบาลจีนส่งสัญญาณชัดเจนในเรื่องนี้ ตั้งแต่ที่ ‘แจ็ค หม่า’ ประกาศตั้งบริษัท Ant Group เสนอนวัตกรรมผู้ให้บริการด้านการเงินแบบใหม่ โดยใช้ฐานลูกค้า Alibaba ในการพิจารณาสินเชื่อ แทนการกู้ในระบบธนาคารรัฐ ที่แจ็ค หม่า เคยวิจารณ์ว่าเป็นระบบที่ล้าหลังไม่ต่างจากโรงรับจำนำ

การกำเนิดของ Ant Group สร้างความฮือฮาในวงการการเงินทั้งใน และต่างประเทศเป็นอย่างมาก และคาดการณ์ว่าราคา IPO ของ Ant Group จะสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่แล้วทางรัฐบาลจีนก็ออกคำสั่งด่วน สกัดการเข้าตลาดหลักทรัพย์ของ Ant Group ตามมาด้วยข่าวการร่างกฎหมายต่อต้านการผูกขาดตลาดใหม่ และเข้าสอบสวนเครือบริษัท Alibaba ว่าเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายการผูกขาดหรือไม่

เมื่อเดินหน้าแล้ว รัฐบาลจีนก็ไม่หยุดแค่ Alibaba แต่จัดระเบียบกับผู้ให้บริการด้านดิจิทัลทั้งหมด ด้วยกฎหมายเดียวกัน เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม

แต่ทั้งนี้ การเข้าถึงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ก็เริ่มเป็นสร้างความกังวลใจให้กับรัฐบาลหลายประเทศ ที่จำเป็นต้องเข้ามาจัดการก่อนสายเกินไป

ดังอย่างเช่น รัฐบาลกลางสหรัฐได้ยื่นฟ้องบริษัท Big Tech ยักษ์ใหญ่ ทั้ง Google และ Facebook ในข้อหาผิดกฎหมายผูกขาดด้านการตลาด ที่ตอนนี้กำลังพิจารณาในชั้นศาล

และรัฐบาลออสเตรเลีย ตัดสินใจผ่านกฎหมายคุ้มครองสื่อในประเทศ ยื่นฟ้องทั้ง Facebook และ Google ต้องจ่ายค่าคอนเท้นท์ให้แก่สำนักข่าวท้องถิ่นของออสเตรเลียเมื่อมีการอ้างอิงเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม ที่ทำให้ Google ออกมาขู่ระงับการใช้งานในออสเตรเลีย และกลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังจับตาว่า บริษัท Big Tech อาจมีอิทธิพลเหนือกว่ารัฐบาลทั่วโลกแล้วในขณะนี้

ส่วนรัฐบาลกลางของสหภาพยุโรปได้เคยยื่นฟ้องร้องคดีการผู้ขาดตลาดกับ Google ให้จ่ายค่าปรับไม่น้อยกว่า 9.5 พันล้านเหรียญมาแล้วตั้งแต่ปี 2017

เรื่องการผูกขาดตลาดในโลกดิจิทัลที่เกือบจะไร้พรมแดนเพื่อครอบครอง Big Data อาจเป็นเรื่องที่จริงจังกว่าที่เราคิดก็ได้


อ้างอิง:

https://www.globaltimes.cn/page/202102/1215210.shtml

https://www.usnews.com/news/world/articles/2021-02-07/china-issues-new-anti-monopoly-rules-targeting-its-tech-giants

https://www.cnbc.com/2021/02/08/asia-markets-shares-of-china-tech-giants-alibaba-tencent-coronavirus-currencies-oil.html

รายงานสถานการณ์จากพม่าเกี่ยวกับการต่อต้านรัฐประหารของหมอในประเทศล่าสุด จากเพจ LOOK Myanmar ได้เผยว่า...

แอดมินได้รับรายงานเรื่องแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไม่มาทำงานเพราะต่อต้านรัฐประหาร โดยเมื่อวานมีรายงานจากคนพม่าว่าที่โรงพยาบาล Yangon General มีแพทย์ใน ER แค่ 4 ท่าน ซึ่งจากเดิมมีเป็นสิบ ก็แทบจะงานล้นมือแล้ว เหตุผลเนื่องจากมาจากแพทย์หลายท่านมาทำงานในโรงพยาบาลเอกชนช้า เพราะไปประท้วง

แอดคิดในใจว่า เอ้า!! ถ้าคนไข้ผ่าตัดมีความเป็นตายเท่ากัน แล้วคนไข้นั้นเป็นญาติหมอคนหนึ่ง แต่หมอเจ้าของไข้ไม่รักษา เพราะไปประท้วงหรือขอมาผ่าช้าไปชั่วโมงนึง เนื่องจากไปประท้วงก่อน แอดว่านี่ไม่ใช่ละ

ตอนนี้หลายเสียง จากหลายภูมิภาค เริ่มส่งเสียงสะท้อนออกมาว่า มากกว่าการเรียกร้องประชาธิปไตย คือ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ควรมีจรรยาบรรณทางการแพทย์หรือไม่?

วิกฤติศรัทธาทางการแพทย์เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ และเชื่อได้ว่ามันจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการประท้วงและมีคนบาดเจ็บ

แอดหวังว่าบทความนี้ของแอดจะถูกส่งต่อให้บุคลากรทางการแพทย์ในเมียนมาให้คำนึงถึงจรรยาบรรณทางการแพทย์ในการรักษาคนไข้ด้วย

แอดเคารพการตัดสินใจของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านในเมียนมาและหวังว่าท่านจะมีจรรยาบรรณดังแพทย์ทั่วโลกพึงกระทำเช่นกัน

#แอดหม่อง


ที่มา: https://www.facebook.com/621374414597386/posts/3686812931386837/

ระหว่าง ‘น้ำใจ’ กับ ‘กฎระเบียบ’ บางครั้งก็เป็นเรื่องที่แยกออกกันยาก เหมือนกับ Bryan Johnston หนุ่มพนักงานร้าน Dunkin’ Donuts วัย 16 ปี ที่ดวงซวยต้องถูกไล่ออกจากงาน หลังจากถ่ายคลิปแจกโดนัท และเครื่องดื่มจำนวนมากให้คนไร้บ้าน

Bryan Johnston ทำงานที่ร้าน Dunkin’ Donuts แห่งหนึ่งเป็นเวลา 5 เดือน ทุก ๆ การทิ้งโดนัท นับเป็นความเจ็บปวดของเขา ที่ต้องทิ้งสิ่งที่ตัวเองทำขึ้น ด้วยปริมาณที่เยอะเกิน ทำให้วันหนึ่งเขาได้ทำตาม follower บน Tiktok โดยให้นำไปแจกคนเร่ร่อนแถวนั้นแทน

และเขาก็ทำเช่นนั้น แต่นั่นเป็นการผิดกฎของบริษัทอย่างร้ายแรง จึงทำให้เขาถูกไล่ออกในเวลาไม่กี่วันหลังจากนั้น

Bryan บอกว่าเขาประหลาดใจมากเมื่อพบว่าเขาถูกไล่ออก “มันยังยากมากที่จะมองย้อนกลับไปเมื่อฉันย้อนดูสถานการณ์ทั้งหมดในหัวของฉัน รู้สึกราวกับว่าผู้จัดการของฉันไม่สนใจที่ฉันทำงานที่นั่นเป็นเวลา 5 เดือนและเธอก็ไม่ได้พูดอะไร เช่น เสียใจที่ได้เห็นคุณจากไป หรือ ขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งของทีม”

แม้ว่า Bryan จะถูกไล่ออกเพราะเขาแจกโดนัทให้กับคนไร้บ้านแทนที่จะทิ้งมันไป แต่ก็มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นกับเขาเช่นกัน โดยเขาได้รับการสนับสนุนมากมายจากทุกคนทางออนไลน์และบางคนยังบริจาคเงินให้เขา เพื่อส่งต่อความตั้งใจดี ๆ เหล่านี้สะท้อนไปสู่สังคมต่าง ๆ แต่ที่แสบหน่อย คือ ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ได้ลงคลิปยูทูปโดยซื้อโดนัทของคู่แข่งมากินและแจกจ่ายให้กับพนักงานที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วย เรียกว่าประชดขั้นสุดจริง ๆ

ทั้งนี้หลังจากคลิปของ Bryan ถูกแชร์ไปในวงกว้าง Dunkin 'Donuts ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า จะสนับสนุนให้แฟรนไชส์ของตนสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นของตน แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของแฟรนไชส์แต่ละรายว่าต้องการบริจาคอาหารเหลือหรือไม่

เพราะตามกฎแล้ว การห้ามเอาอาหารไปขายหรือแจกต่อนี้ มีไว้เพื่อเอาไว้ป้องกัน หากว่าอาหารที่ทิ้งเหล่านี้ไม่ได้มาตราฐาน มีคนกินแล้วท้องเสียอาจสร้างความเสียหายให้กับร้านและบริษัทได้นั่นเอง เฉกเช่นเดียวกันกับแฟรนไชส์บริษัทไก่ทอดเจ้าดัง ก็มีกฏแบบนี้ เพื่อป้องกันการทอดอาหารเกินปริมาณ แล้วจะทำให้พนักงานเก็บกลับบ้าน นำไปแจก นำไปขาย

เรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่หาคำตอบแบบผิดถูกได้ยาก เพราะธุรกิจก็ต้องแยกความเมตตา ออกจากอาชีพ การงาน ไม่งั้นมันก็เสียระบบกันหมดน่ะเซ่


ที่มา:

https://www.facebook.com/208675086547938/posts/910487676366672/

https://www.boredpanda.com/dunkin-employee-fired.../

https://board.postjung.com/1272748

Top 10 สุดยอดเมืองที่ปลอดภัย และ อันตรายที่สุดในสหรัฐอเมริกา ‘ความยากจน - การว่างงาน - การศึกษา - ความเหลื่อมล้ำ’ ยังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมสหรัฐ

เมื่อไม่นานมานี้ เว็บไซท์ safewise.com ได้จัดอันดับ Top 10 เมืองที่มีความน่าอยู่ ปลอดภัยที่สุดในสหรัฐอเมริกา และในขณะเดียวกันก็ได้จัดอันดับเมืองที่อันตรายที่สุดมาด้วยเช่นกัน โดยใช้ข้อมูลจากอัตราการเกิดคดีอาชญากรรมจากฐานข้อมูลที่เปิดเผยได้ของ FBI ในรอบปีที่ผ่านมา

โดยใช้ค่าเฉลี่ยจากคดีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อประชากร 1,000 คน เป็นเกณฑ์จัดอันดับสูงต่ำตามคะแนนที่ได้

และเมืองที่ชนะเลิศ เข้าเกณฑ์เมืองที่ปลอดภัยน่าอยู่สุดๆในสหรัฐอเมริกา ได้แก่

1. เมืองบอร์ดวิว ไฮทส์ รัฐโอไฮโอ

2. เมืองฮอพคินตัน รัฐแมสซาชูเซสส์

3. เมืองโอ๊คแลนด์ ทาวน์ชิพ รัฐมิชิแกน

4. เมืองริดจ์ฟิลด์ รัฐคอนเนตทิคัต

5. เมืองเบอร์เกนฟิลด์ รัฐนิวเจอร์ซี

6. เมืองนิวแคสเซิล ทาวน์ รัฐนิวยอร์ค

7. เมืองแฟรงคลิน รัฐแมสซาชูเซสส์

8. เมืองเบดฟอร์ด ทาวน์ รัฐนิวยอร์ค

9. เมืองโชรส์เบอรี รัฐแมสซาชูเซสส์

10. เมืองเบอร์นาร์ดส ทาวน์ชิพ รัฐนิวเจอร์ซี

เมื่อมีเมืองในฝันที่สวยหรู ก็ต้องมีเมืองแห่งโลกความจริงอันโหดร้าย กับเมืองที่จัดว่าอันตรายที่สุดในสหรัฐอเมริกา 10 อันดับได้แก่

1. เมืองแองเคอเรจ รัฐอะลาสก้า

2. เมืองอัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก

3. เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี

4. เมืองวิชิทา รัฐแคนซัส

5. เมืองลับบ็อก รัฐเท็กซัส

6. เมืองดีทรอยท์-เดียร์บอร์น-ลิวอนเนีย รัฐมิชิแกน

7. เมืองสโปแคน-สโปแคน วัลลีย์ รัฐวอชิงตัน

8. เมืองชรีฟพอร์ต-บอสซิเออร์ซิตี้ รัฐลุยเซียนา

9. เมืองคอร์ปัส คริสตี รัฐเท็กซัส

10. เมืองโมบิล รัฐอลาบามา

แต่การใช้ความถี่ของคดีอาชญากรรมในพื้นที่เป็นเครื่องวัดความน่าอยู่ ปลอดภัยของแต่ละเมือง ก็เป็นเพียงแค่ข้อมูลส่วนเดียว ผู้จัดทำข้อมูลจึงได้หาข้อมูลปัจจัยอื่นๆที่จะวัดถึงความปลอดภัยในแต่ละเมือง โดยใช้เกณฑ์อื่น ๆ เช่น

- ค่าเฉลี่ยรายได้และความยากจน

- ระดับการศึกษาของคนในเมือง

- การจัดโซนนิ่งที่อยู่อาศัยจากสีผิว เชื้อชาติ

- การเข้าถึงอินเตอร์เนตความเร็วสูง

- การจัดสรรงบประมาณพัฒนาชุมชน และอัตราการว่างงาน

และก็พบความสัมพันธ์ระหว่างเมืองที่มีปัญหาอาชญากรรมสูง กับ ปัจจัยการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน ระดับการศึกษาของชาวเมือง และความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างไม่น่าเชื่อ

ในแง่รายได้เฉลี่ย พบว่ากว่า 90% ของเมืองที่มีความไม่ปลอดภัย มักมีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐาน จากการประเมินรายได้ต่อครัวเรือนของสหรัฐเฉลี่ยอยู่ที่ 61,937 เหรียญต่อปี ซึ่งกว่า 87% ของชาวเมืองที่อาศัยในเมืองที่มีความปลอดภัยน้อยมักมีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนี้

ยิ่งมาดูที่เส้นความยากจน ก็จะพบว่าประชากรที่อยู่ในเมืองที่อันตรายสูง มีถึง 16.3% ที่มีรายได้อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน ยกเว้นเมือง เมืองแองเคอเรจ ในรัฐอะลาสก้า แม้จะมีคดีอาชญากรรมสูงแต่ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้สูงกว่าเฉลี่ยของประเทศ แต่ก็เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบาง

และมากกว่าครึ่งของเมืองที่มีคดีอาชญากรรมสูง มักมีประวัติศาสตร์การแบ่งเขตโซนนิ่งที่เคยกีดกันคนบางกลุ่มเข้าถึงเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ชาวเมืองมีรายได้เหลื่อมล้ำ มีอัตราการจบการศึกษาขั้นพื้นฐานน้อยกว่า เข้าถึงสวัสดิการรัฐบาล หรือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ไม่เท่ากับเมืองอื่น ๆ ที่มีความปลอดภัยมากกว่า

ดังนั้นการจัดอันดับสุดยอดเมืองที่มีความปลอดภัย หรือไม่ปลอดภัย ก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา ก็ยังมีเมืองที่ยังเต็มไปด้วยปัญหาสังคม ที่ส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิต และความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ควรเร่งแก้ไข เพื่อให้ทุกเมืองเป็นสถานที่ปลอดภัย น่าอยู่เหมือนกันทุกพื้นที่ทั่วประเทศนั่นเอง


อ้างอิง

https://www.safewise.com/blog/most-dangerous-cities/

https://www.safewise.com/safest-cities-america/

‘เหวียน ฝู จ่อง’ บุคคลทรงอิทธิพลทางการเมืองที่สุดในเวียดนาม เข้าสู่ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นสมัยที่ 3 แล้ว ตั้งเป้าเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างเต็มตัวอีก 24 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2588)

คอลัมน์ "เบิ่งข้ามโขง"

สามสมัยเสถียรภาพทางการเมืองเวียดนาม

เหวียน ฝู จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม วัย 76 ปี หนึ่งในผู้นำที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของประเทศในรอบหลายทศวรรษ ผู้ที่ได้รับการยกเว้นจากกฎระเบียบของพรรคที่กำหนดให้ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี ควรเกษียณอายุ

จากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคในกรุงฮานอย ที่ผู้แทนพรรค 1,600 คน จากทั่วประเทศ เพื่อเลือกทีมผู้นำคนใหม่ ในเป้าหมายที่จะสนับสนุนความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศและความชอบธรรมของการปกครองของพรรค

…เขา ก็ ได้รับเลือกในสมัยที่สาม หลังได้รับคัดเลือก เขากล่าวว่า

"เวียดนามจะตั้งเป้าที่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างเต็มตัวภายในปี 2588 และการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง "

เป้าหมายที่สูงลิ่วในช่วงปี 2564 - 2568 นี้ มีขึ้นในขณะที่เวียดนามกำลังรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบเกือบ 2 เดือน เครื่องเตือนใจว่าความสำเร็จในอนาคต อย่างน้อยที่สุดในระยะสั้น ขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส

แม้จะเกิดการระบาด แต่ในเดือน ม.ค. กิจการในเครือของบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยีจากไต้หวัน ได้รับใบอนุญาตการลงทุนมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์ในประเทศ ที่บริษัทกำลังย้ายฐานประกอบ iPad และ MacBook จากจีน

ขณะเดียวกันผู้ผลิตชิปสัญชาติอเมริกันอย่างบริษัทอินเทล ระบุว่า ได้เพิ่มการลงทุนในเวียดนามอีก 475 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 1,500 ล้านดอลลาร์

การเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 2.9 ในปีก่อน ถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับหลายประเทศในโลก แต่สำหรับเวียดนามแล้วนับเป็นปีที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ที่เป็นผลจากมาตรการการกักตัวที่เข้มงวด การปิดพรมแดน และมาตรการการต่อต้านไวรัสต่างๆ

เวียดนาม จะมุ่งเน้นในมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยเติมเต็มองค์ประกอบของเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม และจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและตลาดและสังคมให้ดียิ่งขึ้น จะขับเคลื่อนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นกิจการที่ดำเนินงานในพื้นที่ที่เห็นว่ามีความสำคัญสำหรับความมั่นคงและการป้องกันประเทศ

จะเปลี่ยนความสนใจในด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากปริมาณไปสู่คุณภาพ โดยมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม หลายสิบปีของการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอย่างแข็งแกร่ง ที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ต้องการแรงงานมากและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เวียดนามจะไม่อนุมัติโครงการที่มีเทคโนโลยีล้าสมัย และเสี่ยงก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม


เรื่องโดย: หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

ทีมแฮคเกอร์เกาหลีเหนือสุดแสบ แอบเจาะข้อมูลขโมยทรัพย์สินออนไลน์ ระดมเงินให้ ‘รัฐบาลคิม’ สร้างขีปนาวุธนิวเคลียร์ 2 ปี ได้ไปกว่า 300 ล้านเหรียญ

สำนักข่าว CNN ได้อ้างอิงเอกสารลับจากองค์การสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ทีมแฮ็คเกอร์ของกองทัพเกาหลีเหนือได้เจาะข้อมูลดูดเงิน และทรัพย์สินในระบบออนไลน์รวมมูลค่าถึง 316.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 2019 - 2020 ที่ผ่านมา เชื่อว่าส่งไปให้รัฐบาลคิม จอง-อึน ใช้พัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ในประเทศ

การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักรบไซเบอร์ของเกาหลีเหนือ ถูกจับตามานานแล้วทั้งทีมสืบสวนพิเศษของสหประชาชาติ (UN) และ หน่วยข่าวกรองด้านความมั่นคงของสหรัฐ และ เกาหลีใต้ ที่เชื่อได้ว่าเกาหลีเหนือกลับมาพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง แต่ไม่อาจยืนยันได้ว่ากำลังพัฒนาขีปนาวุธในพิสัยยิงไกลระดับใด และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว

และสอดคล้องกับถ้อยแถลงของคิม จอง-อึน ที่เคยประกาศว่า เกาหลีเหนือจะรื้อฟื้นโครงการพัฒนาขีปนาวุธขึ้นมาใหม่ เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามของสหรัฐอเมริกา แม้ในสมัยของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะมีความพยายามที่จะดึงเกาหลีเหนือสู่โต๊ะเจรจาในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ แต่ทว่าไม่สามารถตกลงกันได้เนื่องจาก ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการยุติการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือ แม้ว่ารัฐบาลคิม จอง-อึน จะเผยแพร่ภาพการทำลายฐานทดสอบนิวเคลียร์ให้โลกเห็นแล้วก็ตาม

และท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดไวรัส Covid -19 ทั่วโลก ที่บีบให้เกาหลีเหนือตัดสินใจปิดพรมแดน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 เข้ามาในประเทศ นั่นหมายถึงการระงับการส่งออกถ่านหินไปยังประเทศจีน ที่เป็นคู่ค้าสำคัญ และเป็นรายได้หลักเพียงไม่กี่อย่างของเกาหลีเหนือ

และยังถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าทุนสำรองในประเทศของเกาหลีเหนืออาจแทบไม่เหลือแล้ว และอาจเลวร้ายถึงขั้นเศรษฐกิจล่มสลายในไม่ช้า ดังนั้นการหารายได้เสริมจากหน่วยรบไซเบอร์ จึงกลายเป็นช่องทางการเงินเพียงอย่างเดียว ที่จะทำให้เกาหลีเหนือเข้าถึงเงินตราต่างประเทศได้

ซึ่งข้อมูลที่ทางฝ่ายสืบสวนของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับอาจมีเพียงแค่ส่วนเดียว เพราะเป็นที่รู้กันนานแล้วว่า เกาหลีเหนือมีหน่วยงานด้านการทหารที่ฝึกนักรบไซเบอร์โดยเฉพาะที่เรียกว่า Bureau 121 ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับกลุ่มแฮ็คเกอร์ในต่างประเทศ ที่เคยโจมตีเว็บไซต์ของกระทรวงรวมประเทศของเกาหลีใต้ เพื่อเจาะฐานข้อมูลชาวเกาหลีเหนือแปรพักตร์ การปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานราชการในสหรัฐอเมริกามาแล้ว

ตอนนี้หลายฝ่ายกำลังจับตามองท่าทีของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐคนล่าสุด ว่าจะมีนโยบายต่อเกาหลีเหนืออย่างไร ส่วนทางเกาหลีเหนือยังไม่ได้ออกมาตอบโต้รายงานข่าวเรื่องการจารกรรมทรัพย์สินโดยทีมแฮ็คเกอร์ของเกาหลีเหนือในครั้งนี้


อ้างอิง

https://edition.cnn.com/2021/02/08/asia/north-korea-united-nations-report-intl-hnk/index.html

https://www.cnbc.com/2019/09/13/treasury-department-sanctions-north-korean-hackers-over-cyberattacks-of-critical-infrastructure.html

https://en.wikipedia.org/wiki/Bureau_121

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เตรียมทบทวนประสิทธิภาพวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าใหม่ หลังพบป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้น้อยลง

นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ WHO ได้ประชุมกันเมื่อวานนี้ เพื่อทบทวนประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หลังผลศึกษาแสดงให้เห็นว่า วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพน้อยลงในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในแอฟริกาใต้ซึ่งมีการค้นพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.351 นั้น ได้ประกาศระงับการนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้ข้อมูลประสิทธิภาพทางคลินิกเพิ่มขึ้น

นายแพทย์ทีโดรส กล่าวว่า "แม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของออกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า จะเป็นหนึ่งในวัคซีนหลายตัวที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรง ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ แต่การค้นพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ก็ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนเช่นกัน"

"เมื่อพิจารณาหลักฐานจากการทดลองวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าจำนวนหลายครั้ง ก็เป็นที่ชัดเจนว่าประสิทธิภาพของวัคซีนต่ออาการป่วยรุนแรง การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต แตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19" ดร.เคท โอ’เบรียน ผู้อำนวยการฝ่ายภูมิคุ้มกัน วัคซีนและชีววิทยาของ WHO กล่าว

ขณะเดียวกัน ยังมีสัญญาณบ่งชี้บางอย่างถึงประสิทธิภาพที่ลดลงของวัคซีน โดยบางตัวมากกว่าเดิม บางตัวน้อยกว่าเดิม ขึ้นอยู่กับว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใด ประชากรกลุ่มใด รวมถึงการตอบสนองของแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ (neutralizing antibody) ด้วย


Cr : http://www.xinhuanet.com/english/2021-02/09/c_139732313.htm

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เผยรายงานที่นับเป็นข่าวดี หลังจากทั่วโลกติดเชื้อโควิด-19 ลดลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่แล้วลดลงกว่า 17% เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า

จากการอัพเดททางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ ขององค์การอนามัยโลก ระบุว่ามีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ใหม่มากกว่า 3.1 ล้านรายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลง 17% จากสัปดาห์ก่อนหน้า และนับเป็นจำนวนผู้ป่วยต่ำสุดที่มีรายงานตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม 2563

โดยสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่มากที่สุด มีจำนวน 871,365 ราย แต่ก็ลดลง 19% จากสัปดาห์ก่อนหน้า

ขณะที่ทวีปแอฟริกา พบผู้ป่วยลดลงมากที่สุดถึง 22% ส่วนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกมีจำนวนการลดลงน้อยที่สุด เพียงแค่ 2% เท่านั้น

ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนกว่า 107.41 ล้านราย และเสียชีวิตกว่า 2.35 ล้านราย นับตั้งแต่เริ่มระบาดเมื่อปลายปี 2019


ที่มา: https://www.springnews.co.th/global/805885

หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดทีมสืบสวนพิเศษ เพื่อสืบหาความจริงของต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เมืองอู่ฮั่น ศูนย์กลางการระบาดเมืองแรกของโลก

โดยทีมสืบสวนประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ทั้งด้านไวรัสวิทยา, การระบาด, สัตวแพทย์, วิทยาศาสตร์การอาหาร และสาธารณสุข จำนวน 14 คน เดินทางเข้าไปในเมืองอู่ฮั่นตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา

และได้มีการตระเวนเก็บข้อมูลอย่างละเอียดในตลาดซีฟู้ดอู่ฮั่น ที่พบการระบาดครั้งแรก, โรงพยาบาลในอู่ฮั่นที่รับคนไข้ Covid-19 กลุ่มแรก และสถาบันวิจัยด้านไวรัสแห่งชาติ ประจำเมืองอู่ฮั่น ที่เคยถูกกล่าวหาจากรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมพ์ และ นักทฤษฎีสมคบคิดว่าเป็นจุดต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส Covid-19

ในที่สุด เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางทีมสืบสวนพิเศษของ WHO ก็ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ โดยปฏิเสธเรื่องทฤษฎีที่เชื่อว่าเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดจากในห้องแล็บที่อู่ฮั่น พร้อมย้ำชัดว่า ‘แทบเป็นไปไม่ได้’ และ ‘ไร้หลักฐาน’

ด็อกเตอร์ ปีเตอร์ เบน เอ็มบาเรค หัวหน้าทีมสืบสวนของ WHO ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหาร และโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์ แถลงว่า สมมติฐานที่ว่าไวรัส Covid-19 ถูกสร้างโดยห้องแล็บนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ และเมื่อทีมงานได้เข้าไปตรวจสอบสถาบันวิจัยไวรัสที่อู่ฮั่น พบว่า มีโอกาสน้อยมาก ๆ ที่จะมีเชื้อไวรัสหลุดออกมาจากแล็บไปแพร่ระบาดที่ในชุมชนได้

โดยยังคงยืนยันว่า เชื้อไวรัส Covid-19 เป็นเชื้อโรคชนิดใหม่ เกิดในสัตว์ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรน่า เช่น ค้างคาว และติดต่อสู่สัตว์อีกชนิดก่อนที่จะแพร่สู่มนุษย์ ที่ยังเป็นจิ๊กซอว์ปริศนาที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

นอกจากนี้ ทีมสืบสวนพิเศษได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า เชื้อ Covid-19 อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่นด้วย แต่อาจเป็นเชื้อโรคที่ปะปนมาในผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และขอให้มีการตรวจสอบระบบการขนส่ง ซื้อขายอาหารแช่แข็งทั้งระบบอย่างละเอียด

แต่ทั้งนี้ ทีมสืบสวนจะยังคงมีงานต้องทำอีกมาก เพื่อค้นหาต้นตอของ Covid-19 ตามภารกิจ แต่จะเริ่มเปลี่ยนเป้าหมายมาสืบค้นในประเทศย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เนื่องจากตลาดค้าส่งอาหารทะเลหัวหนาน ในเมืองอู่ฮั่น ที่พบการแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นครั้งแรกรับสินค้าส่งมาจากทั้งในประเทศจีน และบางส่วนมาจากประเทศในย่านอาเซียนด้วย

และหากดูจากพื้นที่ในการตรวจสอบระบบขนส่งที่ทีมสืบสวนจากองค์การอนามัยโลกได้กล่าวถึง ทั้งจีน และอาเซียน ก็นับว่ากว้างมาก ยิ่งมาไล่สืบตามหลังเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วกว่า 1 ปี การสืบค้นยิ่งยากลำบาก แต่การค้นหาความจริงต้องใช้เวลา และความอดทนอยากมาก และต้องไม่ลืมว่าเป้าหมายของการค้นหาความจริง คือการใช้ความกระจ่างนั้นป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยในวันนี้นั่นเอง


อ้างอิง:

https://www.theguardian.com/world/2021/feb/09/wuhan-laboratory-leak-covid-origin-theory-unlikely-says-who-team

https://www.bbc.com/news/world-asia-china-55996728

https://www.abc.net.au/news/2021-02-09/world-health-organization-investigation-china-covid-explainer/13132710


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top