ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2566
‘ศีลธรรม’ คือเครื่องคุ้มครอง
ถ้าศีลธรรมจากเราไป
เราก็ขาด ‘หลักประกัน’
เหมือนอยู่บ้านที่ไม่มี ‘หลังคา’
-พระพรหมมังคลาจารย์
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ-
‘ศีลธรรม’ คือเครื่องคุ้มครอง
ถ้าศีลธรรมจากเราไป
เราก็ขาด ‘หลักประกัน’
เหมือนอยู่บ้านที่ไม่มี ‘หลังคา’
-พระพรหมมังคลาจารย์
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ-
'ศัตรู' ก็คือ ใจของเรานั้นเอง อยากจะชนะสิ่งใด จงชนะใจตนเองให้ได้ก่อน เป็นนายของตนเองให้ได้ก่อน ชีวิตจะพบกับ ความสำเร็จได้ไม่ยากเลย
- หลวงปู่ดูลย์ อตุโล -
ความสุขที่ได้รับ เป็นของไม่เที่ยง
สักวันหนึ่ง...ก็ต้องจากเราไปทั้งหมด
แม้แต่ร่างกายที่คิดว่าเป็นของเรา
สุดท้าย...มันก็ไม่ได้เป็นของเราอย่างที่คิด
- พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป -
ถ้าขาดความอดทน
ความดีอื่นก็ไม่เจริญ
อด...คือ อดต่อสิ่งที่ชอบ
ทน…คือ ทนต่อสิ่งที่ชัง
- หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม -
ผู้สะสม...
เป็นทุกข์ในโลก
ผู้ปล่อยวาง...
เป็นสุขทุกเมื่อ
- หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
“ความซื่อสัตย์ต่อหน้า
ต่างกันอย่างดินกับฟ้า
เมื่อนำมาเทียบกับ
ความซื่อสัตย์ลับหลัง”
- ท่านพุทธทาสภิกขุ -
"ถ้ากตัญญูต่อพ่อแม่ไม่ได้ก็ไปเกิดเป็นลูกแมงป่องซะพ่อแม่เลี้ยงเรามายากลำบากนัก เราฉี่ เราอึใส่ตักพ่อแม่ ท่านยังไม่เคยว่า คอยเช็ดคอยล้างให้"
"แล้วแค่พ่อแม่ตักเตือน จะมีปฏิกิริยาอะไรหนักหนา ไม่ได้นะ ถ้ากตัญญูไม่ได้ก็ไปเกิดเป็น 'ลูกแมงป่อง' ซะ เพราะลูกแมงป่องอะไรกระทบกระทั่งนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ได้ เอาแต่จะยกหางชูก้าม ขู่ฟ่อ ๆ"
"ลูกอกตัญญูท่านจึงอุปมาเป็นลูกแมงป่อง" ที่มักอวดกิเลสสำแดงพิษภัย แม้กระทั่งกับพ่อแม่ยังอวดตนว่า 'ตนเก่ง ตนสามารถ ตนฉลาด' ที่มักเถียงคำไม่ตกฟาก 'อันเป็นวิสัยของคนพาลสันดานหยาบ' อย่าให้มีอย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ"
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อวันที่ 11 ม.ค.67 ผู้สื่อข่าวสอบถามเรื่องปีชงกับพระราชธรรมนิเทศน์ หรือพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพระพยอม กล่าวว่า เรื่องความเชื่ออะไรบางอย่างในแต่ละยุคสมัยนั้น จะมีขึ้นบ้างลงบ้าง เช่น ชง 25 ชง 50 หรือชง 100 เป็นเรื่องของจิตใจ ใครอยากออกนอกหลักไปเอาโน่นเอานี่มาเสริม เพราะคิดว่าทำไปแล้ว จะทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น ทำแล้วสบายใจ แต่อย่าลืมคำสั่งสอนที่พระพุทธกล่าวไว้ว่า อย่ากล่าวเหตุให้เป็นเรื่องถกเถียงกัน เพราะจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน ห่างไกลจากสมาธิและไม่เห็นธรรมที่แจ่มแจ้ง
“เรื่องนี้ต้องค่อยๆ ดูกันไปว่าคนที่ชงไปทำพิธีมาแล้วดีขึ้นจริงหรือไม่ แล้วคนที่เกิดปีเดียวกัน แต่ไม่ไปทำพิธีกรรม เกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้เชื่อในเรื่องกรรมและความเพียร ให้เชื่อว่าถ้าเราทำกรรมดีเต็มที่แล้วไม่ปล่อยจิตให้เป็นไปตามยถากรรม โดยไม่มีความเพียรที่จะพยายามออกจากกรรม เฉพาะฉะนั้นถ้าเราทำดีให้ถึงที่สุดแล้ว เราจะได้รับผลดีมากกว่าการไปทำพิธีอย่างอื่นแน่นอน แต่อาตมาจะไม่ไปบล็อกใครว่าจะต้องอยู่ในหลัก เพราะปัจจุบันนี้มีคนไม่อยากอยู่ในหลักเยอะ ต้องการค้นหา แสวงหาไปเรื่อยๆ ซึ่งอาตมาเชื่อว่าคนเหล่านี้เมื่อแสวงหาหลักใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ แล้ว เมื่อเขาหาหลักไม่เจอ เดี๋ยวเขาก็จะกลับมาหาหลักตรงนี้เอง”
“ขอให้ยังเชื่อในเรื่องหลักของกรรมของเวรตามหลักของชาวพุทธ เพราะเรื่องเวรเรื่องกรรม ไม่ต้องไปเสียเงินเสียทองทำพิธีอะไรเลย มีแต่จะได้เพิ่ม”
พระพยอม กล่าวว่า ส่วนนิยามเรื่องปีชงนั้น อาตมาไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ เพราะไม่มีเวลาไปศึกษา ไม่รู้ว่าปีชงจะเหมือนกับปีเบญจเพศหรือไม่ แต่ที่รู้แน่ๆ คือ ปีชงแบบนี้จะมีแต่เรื่องเสียเงินเสียทอง สู้ไปชงกาแฟหรือโอวัลตินไม่ได้ ชงแบบนั้นดีกว่าและยังอิ่มด้วย ไม่ต้องมานั่งถกเถียงกัน
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ท่านได้มอบคำสอน หลักคิดดีๆ ให้แก่ชาวพุทธมากมาย หนึ่งในนั้นคือคำสอนเกี่ยวกับเรื่องการรู้จักความคิดของตนเอง โดยท่านกล่าวว่า…
“ถ้าเรารู้จัก ‘ความคิด’ ของเราดีพอ เราจะไม่ด่วนสรุป ไม่รีบตัดสินอะไรง่ายๆ ‘สติ’ จะช่วยทักท้วง ตักเตือนให้ช้าก่อน เพราะประสบการณ์หลายๆ ครั้ง สอนเราว่า…เมื่อด่วนสรุปแล้ว มักจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น
สิ่งที่เราคิดว่าแน่นอนแล้ว แต่ความจริงเป็น ‘ตรงกันข้าม’”
“ทุกข์นี่แหละ!! จะทำให้เราฉลาดขึ้นทำให้เกิดปัญญา
สุขนั่นสิ!! มันจะปิดหูปิดตาเราความสุขสบายทั้งหลาย จะทำให้เราประมาท”
ธรรมะสอนใจ จาก ‘หลวงปู่ชา สุภทฺโท’