ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2565 : หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
การกระทำใด ๆ ที่ทำไปโดยต่อเนื่อง
ของเล็ก...ก็จะกลายเป็นของใหญ่
บุญน้อย...ก็จะกลายเป็นบุญมาก
ทำดีไม่ได้ผล เพราะทำตนลุ่ม ๆ ดอน ๆ
ทำดีที่ได้ผล เพราะทำตนสม่ำเสมอ
การกระทำใด ๆ ที่ทำไปโดยต่อเนื่อง
ของเล็ก...ก็จะกลายเป็นของใหญ่
บุญน้อย...ก็จะกลายเป็นบุญมาก
ทำดีไม่ได้ผล เพราะทำตนลุ่ม ๆ ดอน ๆ
ทำดีที่ได้ผล เพราะทำตนสม่ำเสมอ
พร...ที่ประเสริฐที่สุด
คือ พรที่มาจากการสร้างความดี
ความดี...ที่ดีที่สุด
คือ ความดีที่ตัวเราเองสร้างขึ้นมา
โดยที่ไม่ต้องให้ผู้อื่น..อวยพรให้
ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว
ทำเหตุให้เกิดทุกข์ ก็ได้ความทุกข์
ทำเหตุให้เกิดสุข ก็ได้ความสุข
ทำเหตุให้เกิดความเสื่อม เราก็ได้ความเสื่อม
ทำเหตุให้เกิดความเจริญ เราก็ได้ความเจริญ
เราหนีจากผลที่เราทำไว้ไม่ได้
ให้อภัยได้...
เราก็สบาย เขาก็สบาย
ต่างคน ต่างหลับ ต่างนอน
ได้อย่างสุข อย่างสบาย
จะอยู่เย็นเป็นสุข
ไม่วุ่นวายกัน
"คิดดี ทำดี"
จงคิดแต่สิ่งดี ๆ
ให้บันทึกสะสมไว้ในจิตใจ
และเมื่อเหตุดีแล้ว
ผลก็ย่อมดีตามมาเช่นกัน
อยู่ให้เขาเบาใจ
ยามจากไปให้เขาอาลัยถึง
ไม่ใช่อยู่ให้เขาหนักใจ
จากไปให้เขาไล่ส่ง
อายุมากขึ้น เราก็ใกล้ศพมากขึ้น
จากเดิมวัยเด็ก ไปงานศพนั่งไหนก็ได้
พอโตมา เจ้าภาพเรียกไปนั่งหน้าเรื่อย ๆ
จนในที่สุดก็ระดับเป็นเจ้าภาพ
พอใกล้มากขึ้นนั่งนานขึ้น
บ่อยเข้าเราก็เมื่อย พอเมื่อยถึงจุดหนึ่ง
เราก็เปลี่ยนจากนั่ง...มาเป็นนอนเอง
(5 มี.ค. 66) เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โพสต์ข้อความระบุว่า เนื่องในวันมาฆบูชา 6 มีนาคม 2566 เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า…
“ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัททุกหมู่เหล่ารำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก 1,250 รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน 3 อย่างไรก็ดี หากปีใดเป็นปีอธิกมาส วันมาฆบูชาจะตรงกับดิถีเพ็ญเดือน 4 ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปีนี้
สารัตถะประการหนึ่งในโอวาทปาติโมกข์นั้นคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง อันเป็นหัวใจพระศาสนาประการต้นที่พุทธบริษัททั่วหน้า พึงยึดถือเป็นหลักประพฤติให้ได้ ก่อนจะก้าวไปสู่การบำเพ็ญความความดีและการชำระใจให้บริสุทธิ์ บาปทั้งปวงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ประมวลอยู่ในอกุศลกรรมบถ 10 ประการ จำแนกเป็น กายกรรม 3 กล่าวคือการฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม วจีกรรม 4 กล่าวคือ คำโกหก คำส่อเสียด คำหยาบคาย คำเพ้อเจ้อ และ มโนกรรม กล่าวคือ การเพ่งเล็งอยากได้ของเขา การคิดปองร้ายผู้อื่น และความเห็นผิด ครั้นเมื่อได้กระทำกรรมใดกรรมหนึ่งในอกุศลกรรมบถ 10 จึงถูกจัดว่าเป็นบาป
พุทธศาสนิกชนจึงมีหน้าที่ลด ละ และเลิกการกระทำบาปทั้งปวงแม้เล็กน้อย ซึ่งล้วนให้ผลเป็นความทุกข์ทำให้จิตใจเสื่อมคุณภาพ ยังอุปนิสัยให้กลายเป็นคนถนัดทำชั่ว จนท่วมท้นไปด้วยบาป ดั่งพระพุทธพจน์ที่ว่า
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
ทุกข์นี่แหละ...
จะทำให้เราฉลาดขึ้น
ทำให้เกิดปัญญา
สุขนั่นสิ!
มันจะปิดหูปิดตาเรา
ความสุขสบายทั้งหลาย
จะทำให้เราประมาท
เราจะวางจิตอย่างไร
เมื่อต้องเจอคน ที่ทำไม่ดีกับเรา
ให้คิดว่า จิตเค้าอยู่ตรงนั้น
จิตของเรา มันข้ามไปแล้ว
เค้าทำไม่ดี...
ก็อย่าไปทำเหมือนเค้า