Tuesday, 29 April 2025
TheStudyTimes

5 เคล็ดลับการพูดให้ดูแพง ในโลกของการทำงาน การพูดเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ

ใครๆ ก็พูดได้ ใครๆ ก็พูดเป็น แต่จะพูดอย่างไรให้ดูดีมีราคา และมีเสน่ห์น่าประทับใจ บางคนบุคลิกภาพดี หน้าตาดี แต่งตัวดี แต่พอพูดออกมา หมดเสน่ห์ไปเลยก็มี ต่างจากบางคน บุคลิกหน้าตาการแต่งตัวแสนจะธรรมดา แต่พอพูดออกมาช่างน่าฟังและมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ติดตราตรึงใจไม่รู้ลืม เป็นเพราะอะไร ความลับเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยไหน อย่างไร เรามาดูกันค่ะ

ถ้าคุณอยากเป็นคนหนึ่งที่ต้องการพูดแล้วให้มีเสน่ห์และแลดูแพง จงทำสิ่งต่อไปนี้
.
1. ฝึกพูดให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดยเฉพาะเรื่อง วรรณยุกต์ อักขระ และควบกล้ำ

วิธีฝึก ให้อ่านหนังสือออกเสียงเบาๆ แต่จริงจัง พวกเราติดนิสัยการอ่านหนังสือในใจ จึงทำให้ขาดทักษะในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ทั้งๆ ที่ภาษาไทย เป็นภาษาที่ไพเราะมาก คนที่พูดได้ไพเราะ ให้ภาษาได้ดี สละสวยฟังเพลินเหมือนฟังดนตรี เป็นเพราะเขาออกเสียงได้ตรงตามหลักของภาษาไทยนั่นเอง

2. ฝึกการแบ่งวรรคตอนให้ดี พูดให้เป็นจังหวะ อัตราความช้าเร็วของการพูดไม่มากไป ไม่น้อยไป จังหวะการพูดให้สอดคล้องกับจังหวะของลมหายใจของผู้พูด 

วิธีฝึก กำหนดจังหวะการพูดด้วยการตั้งคำถาม  ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร 

3. การปรับระดับน้ำเสียงให้สอดคล้องกับเรื่องที่เรากำลังพูด ระดับของน้ำเสียงต้องสอดคล้องกับอารมณ์และความรู้สึกในเรื่องที่คุณกำลังพูด คุณต้องการสื่อสารให้ผู้ฟังรู้สึกอย่างไร กำหนดอารมณ์ของคุณให้ชัด เช่น มีแรงบันดาลใจ ฮึกเหิม ลุกขึ้นสู้ กังวลใจ เห็นอกเห็นใจ เช้าใจ เศร้า เสียใจ หมดหวัง สะใจ เสียดาย ฯลฯ

วิธีฝึก การฝึกพูดจากอินเนอร์ พูดให้เหมือนการร้องเพลง ลีลาให้เหมือนนักแสดง


4. ฝึกการใช้ภาษากายและลีลาท่าทางให้มีประสิทธิภาพ บุคลิกภาพการพูดการใช้ภาษากายได้ดี จะมีอิทธิพลต่อผู้ฟังมากที่สุด เช่น การใช้สายตา การใช้มือ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ท่าท่างที่มั่นใจ สามารถสร้างเสน่ห์ ดึงดูด และสร้างความเชื่อมั่นได้มากทีเดียว

วิธีฝึก ประสานสายตากับผู้ฟังขณะที่พูด แต่ไม่ต้องถึงกับจ้อง ภาษามือใช้ซ้ายขวาพอประมาณ อย่าให้ดูวุ่นวายจนเกินไป


5. พูดเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังเท่านั้น เรื่องบางเรื่องเป็นความจริง แต่ความจริงนั้นไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ควรพูด เช่น เพื่อนถูกแฟนทิ้ง ความจริงคือเพื่อนถูกทิ้ง แต่พูดแล้วเกิดประโยชน์ไหม ถ้าไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ควรพูด 

วิธีฝึก การพูดที่ดี ผู้พูดต้องมีจิตวิทยาการพูด เรื่องที่เราพูดคู่สนทนาเราอยากฟังหรือไม่ เพราะในมุมของคนฟังเขาต้องการได้ยินในเรื่องที่เขาชอบ มีประโยชน์และทำให้เขาสบายใจเท่านั้น

การพูดไม่ยาก ทุกคนสามารถพูดได้ แค่รู้วิธี

เขียนโดย อ.นิธิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากร โปรเฟสชั่นนอล เทรนเนอร์
#Talktonitima


อ้างอิงข้อมูล: #สโมสรการพูดแห่งประเทศไทย #ระบบโทสมาสเตอร์สากล 
พัฒนาศักยภาพด้านการพูดและบุคลิกภาพ ได้ที่ #Talktonitima

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ตัวอย่างการสอบคณิตศาสตร์ ม.ปลาย

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ตัวอย่างการสอบคณิตศาสตร์ ม.ปลาย

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล

อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

THE STUDY TIMES X DekThai Online, ClassOnline สัปดาห์ที่แปด พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชา

????THE STUDY TIMES X DekThai Online, ClassOnline สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม - วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

⏰ทุกวัน เวลา 18.00 น.

พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ 5 รายวิชา 

????วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ของผสมสำหรับนักเรียน ม.ต้น

โดย อ.ต้น Study Cadet
จบวิศวกรรมศาสตร์ วศ.บ.โรงเรียนนายเรือ
ศึกษา Afaps 42 ประสบการณ์การสอนกว่า 15 ปี
#สอนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ม.ต้น - ม.ปลาย, สอบทหาร

????วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม
วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

????วันพุธที่ 7 กรกฎาคม
วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม
วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง ระบบสุริยะ

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

????วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม
วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ของผสมสำหรับนักเรียน ม.ต้น

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ของผสมสำหรับนักเรียน ม.ต้น

โดย อ.ต้น Study Cadet

จบวิศวกรรมศาสตร์ วศ.บ.โรงเรียนนายเรือ

ศึกษา Afaps 42 ประสบการณ์การสอนกว่า 15 ปี

#สอนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ม.ต้น - ม.ปลาย, สอบทหาร

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/instructor/StudyCadet

.

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล

อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

.

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันพุธที่ 7 กรกฎาคม

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง ระบบสุริยะ

THE STUDY TIMES X DekThai Online

.

????วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม

วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง ระบบสุริยะ

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี

นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา

#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/instructor/P'NAMWAN

.

.

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

Marie Curie นักเคมี ผู้ช่วยชีวิตมนุษยชาติพ้นจากมะเร็งร้าย

ถ้าจะพูดถึงโรคร้ายที่ใครหลาย ๆ คนไม่คิดไม่ฝันที่อยากจะเป็นนอกจาก โควิด-19 แล้วโรคมะเร็งก็ถือว่าเป็นโรคอันดับหนึ่งที่ผู้คนไม่อยากจะเป็น แต่กลับกันโรคมะเร็งในปัจจุบันได้คร่าชีวิตผู้คนมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน เมื่อย้อนกลับไปโรคมะเร็งถือว่าเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษา จน “Marie Curie” นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้คิดและค้นพบตัวธาตุที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้สำเร็จ วันนี้ THE STUDY TIMES จะขอกล่าวถึงประวัติและผลงานที่สำคัญของ Marie Curie ที่ได้ช่วยชีวิตผู้คนจากโรคมะเร็งได้กันค่ะ 

ชื่อเดิมของ Marie Curie คือ Marie Sklodowska เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 ณ เมืองวอร์ซอ เมืองหลวงของประเทศโปแลนด์ มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 5 คน โดยพ่อของ Marie เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และแม่เป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้ Marie นั้นได้มีความชื่นชอบและสนใจในด้านของวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก หลังจบการศึกษาระดับมัธยม 

ด้วยสถานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดีทำให้ Marie กับพี่สาว ทำงานเป็นอาจารย์สอนในระดับอนุบาลเพื่อหาเงินเรียนต่อมหาวิทยาลัย จน Marie สามารถเรียนจบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1893 และได้เริ่มทำงานในห้องปฏิบัติการทางอุตสาหกรรมของศาสตราจารย์ Abriel Lippmann และเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสจนจบปริญญาโทในปี ค.ศ. 1894

ในขณะที่ Marie ทำงานเป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมี ทำให้ Marie พบกับ Pierre Curie เป็นนักฟิสิกส์ที่ทำงานอยู่ที่เดียวกับ Marie โดยทั้งสองเริ่มสนิทกันจากความสนใจในด้านแม่เหล็ก แร่ธาตุต่าง ๆ ทั้งคู่ตัดสินใจแต่งงานกันและมีลูกด้วยกัน 2 คน แต่ก็ยังไม่ทิ้งในเรื่องของวิทยาศาสตร์ทั้งตัว Marie และ Pierre ร่วมศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการแผ่รังสีของแร่ด้วยกันต่อจากนั้น

ในช่วงเวลานั้น ที่ประเทศฝรั่งเศสมีนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่สนใจในเรื่องของรังสี แร่ธาตุต่าง ๆ โดยหนึ่งในผู้คนพบรังสีชนิดใหม่ คือ Antoine Henri Becquerel นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เพื่อนสนิทของ Pierre ผู้ค้นพบปรากฏการณ์การแผ่รังสีจากแร่ยูเรเนียม (Uranium) ทำให้ทั้ง Marie และ Pierre จึงศึกษาค้นคว้าต่อไปจนถึงแหล่งพลังงาน พวกเขาสืบเสาะไปจนพบว่าแหล่งที่มาของพลังงานที่แผ่ออกมาคือ แร่พิตช์เบลนด์ (Pitchblende) ซึ่งเป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของแร่ยูเรเนียม โดยหลังจากพยายามสกัดแร่พิตช์เบลด์ออกมา Marie และ Pierre ก็ได้ค้นพบธาตุชนิดใหม่ โดยตั้งชื่อว่า โปโลเนียม (Polonium) เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศโปแลนด์ บ้านเกิดของ Marie

และในปี ค.ศ. 1898 Marie และ Pierre จึงได้ศึกษาต่อเพิ่มเติม โดยทั้งคู่ได้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะยังมีสารประกอบที่อยู่ในแร่พิตช์เบลด์อีกมาก หลังจากพยายามมานานกว่า 5 เดือนหลังทั้งคู่ก็ได้พบกับธาตุชนิดใหม่ โดยตั้งชื่อธาตุนี้ว่า เรเดียม (Radium) ในภาษากรีกแปลว่าแสง ซึ่งธาตุเรเดียมนี้สามารถแผ่รังสีออกมาได้มากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า และธาตุเรเดียมยังสามารถส่องผ่านเนื้อหนังของมนุษย์ได้

ทั้งคู่ได้สังเกตเห็นว่า ธาตุเรเดียมสามารถแผ่รังสีพลังงานลึกถึงภายในของเนื้อเยื่อ จนส่งผลให้มือของ Marie แห้งกร้าน และลอกเป็นชั้นสีดำเหมือนโดนไฟไหม้ ในขณะที่ Pierre เก็บธาตุเรเดียมเพียงไม่กี่มิลลิกรัมในกระเป๋าเสื้อ ตัวแร่ธาตุก็ทำให้เสื้อของ Pierre ไหม้และทำให้เกิดรอบแผลเป็นบริเวณหน้าอก 

จึงทำให้ทั้งคู่ทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นทั้ง Marie และ Pierre ได้ร่วมมือกับ Antoine ในการคิดค้นและวิจัย ทำให้ทั้ง 3 คนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในฐานะกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) 

และจากการที่ Marie และ Pierre ได้ค้นพบธาตุเรเดียมทำให้ Marie ได้ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปารีสซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกของประเทศฝรั่งเศส แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าใจคือ Pierre ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทำให้ Marie โศกเศร้าเสียใจแต่ก็ยังศึกษาในเรื่องของแร่ธาตุต่อไป 

และในปี ค.ศ. 1911 Marie ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยปารีส ในการตั้งสถาบันเรเดียม เพื่อค้นคว้าการใช้ประโยชน์จากธาตุเรเดียม ทําให้ Marie รวมถึงทีมนักวิจัยค้นพบว่าเรเดียมมีคุณสมบัติทางการแพทย์ที่สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นเครื่องมือรักษาโรคมะเร็งบางอวัยวะได้โดยการใช้ธาตุเรเดียมยิงไปที่เซลล์มะเร็งด้วยอนุภาคกัมมันตรังสี

จากผลงานนี้เองทำให้ Marie ได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้ง ในสาขาเคมีจากการค้นพบธาตุพอโลเนียมและเรเดียม ซึ่งการรับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งของมารีทำให้มารีกลายเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล 2 สาขาเพียงคนเดียวในโลก

ด้วยความสำเร็จของ Marie ในปี ค.ศ. 1933 ได้ทำการจัดตั้งมูลนิธิ Curie Foundation เพื่อทำหน้าที่ในการสนับสนุนการวิจัยด้านงานวิทยาศาสตร์และสนับสนุนทางการแพทย์ และในปี ค.ศ. 1953 สถาบันแห่งนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของสถาบันวิจัยมะเร็งในหลายประเทศ และเริ่มใช้งานด้านวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสังคมมากขึ้น

และช่วง Marie อายุ 58 ปี สุขภาพเริ่มทรุดโทรมหนักมากขึ้น เริ่มมีอาการหูหนวก ตาบอด และมีรอยไหม้ที่ตามมือ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เวลาทำการทดลองรังสีต่าง ๆ ทำให้ถูกรังสีจากสารกัมมันตภาพรังสีเผาตามอวัยวะ ในเวลาต่อมา Marie ป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลโอตซาวัว (Haute Savoie) และเสียชีวิตในวัย 67 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934

นับได้ว่า Marie Curie คือบุคคลที่เสียสละและสร้างประโยชน์หลายอย่าง เป็นสิ่งที่เกิดจากความรักในการทดลอง ความสนใจ ความชอบในวิชาชีพของตัวเองถึงแม้อาจจะทำให้ตัวเองต้องบาดเจ็บแต่ผลลัพธ์หรือสิ่งที่เธอได้จากการค้นคว้าและวิจัยนี้สามารถต่อชีวิต และ ลมหายใจให้กับผู้คนอีกหลายล้านคน ถึงแม้เธอจะจากไป แต่คุณงามความดีและบทเรียนที่ได้จากการทดลองของ Marie สามารถต่อยอดและทำให้มีการวิจัยพัฒนาทางการแพทย์จนถึงปัจจุบัน 


แหล่งข้อมูล 
https://thepeople.co/marie-curie-radioactivity/
https://www.scimath.org/article-science/item/11461-19-marie-curie
https://www.takieng.com/stories/8714


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top