Monday, 28 April 2025
TheStatesTimes

'รัสเซีย' ช่วยส่งน้ำมัน 'จีน' ช่วยส่งเวชภัณฑ์-ข้าว-ดูแลหนี้ น้ำใจที่ ศรีลังกา ไม่เคยได้จากการคบตะวันตกกว่า 100 ปี

ที่ผ่านมาในยามศรีลังกา มีกินมีใช้ แต่ก็มักจะถูกฝ่ายระเบียบโลกเก่า สหรัฐอเมริกา และอดีตเจ้าอาณานิคมสหราชอาณาจักร ปอกลอกจนหมดตัว ผ่านนโยบายรัฐบาลที่โปรตะวันตก เห่อตามกระแสถือครองเงินดอลลาร์, ยูโร ในสัดส่วนที่สูงมากกว่าเงินตราชาติตนเอง

ส่งผลให้เกิดการละทิ้งภาคเกษตรลงไป 50% จนรายได้ลดหายไป, พิมพ์เงินตราท้องถิ่นตนเพิ่มไม่บันยะบันยังโดยไร้ทองคำค้ำประกัน, ใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อไปกับค่าพลังงานสิ้นเปลือง, ปิดโรงกลั่นน้ำมันดิบ ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปเอาสะดวกเข้าว่า...

...ไม่นานนักอัตราเงินเฟ้อก็ทะยานกว่า 39%

พอหมดหนทาง ก็พิมพ์เงินเพิ่มไปใช้หนี้ต่างประเทศ และพันธบัตร จากนั้นจบตามสูตรด้วยการไปขอกู้ IMF กับธนาคารโลก พร้อมทั้งทำแผนขายสินทรัพย์ชาติ เช่น สายการบิน ฯลฯ ซึ่งถือเป็นสูตรสำเร็จในการโจมตีค่าเงินแบบชาติตะวันตก ที่ทำกันมานานแล้วกับหลายชาติที่รัฐบาลโปรตะวันตก และรู้ไม่เท่าทัน (เฉกเช่นพิษต้มยำกุ้งทางเศรษฐกิจ)

สุดท้ายเงินคงคลังของศรีลังกาเกลี้ยง ถังแตก ไม่มีเงินชำระหนี้คงค้างค่าน้ำมันสหรัฐฯ แม้จะแค่ 53 ล้านดอลลาร์ ด้านเรือน้ำมันก็จอดจิบกาแฟ นอนตากอากาศสบายใจเฉิบอยู่นอกชายฝั่งไม่ยอมเทียบท่า ท่ามกลางปัญหาทุกข์เข็ญของคนศรีลังกาทั้งประเทศที่ขาดแคลนน้ำมัน ดับลมหายใจการเดินทางด้วยรถยนต์, เรือประมงต้องงดหาปลา, ไฟฟ้าดับแทบตลอดวัน, ขาดยารักษาโรค, อาหาร, สินค้าจำเป็นอุปโภคบริโภค ประชาชนเสียชีวิตไปหลายสิบคนเนื่องจากไม่มีน้ำมันเติมรถไปโรงพยาบาล ขณะที่อุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินก็ขาดกระแสไฟฟ้าเชื่อมต่อ

ซ้ำร้าย!! รัฐบาลศรีลังกา ที่เคยรับคำสั่งมหาอำนาจจากระเบียบโลกเก่า ก็ได้ทำสิ่งที่ผิดร้ายแรง คือ ประกาศอายัดเครื่องบินโดยสารรัสเซีย แต่เมื่อจนตรอกยากจนทุกข์ยาก ชาติตะวันตกสุดโหดเหล่านั้นก็นิ่งดูดายเสีย ไม่ส่งน้ำมัน ยารักษาโรค หรือแม้จะส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมไปให้ ทำให้รัฐบาลศรีลังกา ต้องดิ้นเฮือกสุดท้ายบากหน้ายอมขัดคำสั่งสหรัฐฯ โดยติดต่อขอซื้อน้ำมันจากรัสเซียโดยไม่มีเงิน ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาไม่มีความหวังเลยว่ารัสเซียจะช่วยเนื่องจากไปอายัดเครื่องบินโดยสารรัสเซียไว้

>> แต่โลกไม่ได้เลวร้าย และ 'รัสเซีย' ก็ไม่ได้โหดร้ายตามที่ชาติตะวันตกปั้นภาพให้น่ากลัว เมื่อรัฐบาลศรีลังกา กล้าอ่อนน้อมมาขอ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียก็กล้าให้ ตามสไตล์ 'นักเลงโบราณ ใจถึงพึ่งได้' โดยปูตินสั่งบริษัทพลังงานรัฐวิสาหกิจของรัฐ ขนน้ำมันดิบใส่เรือมาเทียบท่าศรีลังกาในเวลาไม่กี่อึดใจเท่านั้น 

ส่วนเรื่องเงินค่าน้ำมันน่ะหรอ!! สำหรับรัสเซียแล้วเล็กน้อยมาก ให้ติดหนี้ไว้ก่อนมีเมื่อไรค่อยมาใช้ คนจะอดตายอยู่แล้วไม่ใช่เวลามาขูดเลือดกับปู 

เรื่องนี้แม้แต่รัฐบาลศรีลังกา ยังแทบไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะที่ผ่านมาคบกับชาติตะวันตกมาเป็นร้อยปี มีแต่ถูกเอาเปรียบกดขี่เอาแต่ได้แถมยังถูกปอกลอกมาตลอด ขณะที่รัสเซียไม่เพียงแค่ช่วยขนน้ำมันมาให้ถึงท่า แต่ยังส่งทีมงานมาช่วยเดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันอีกด้วย ส่งผลให้เกิดผลผลิตพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบตามมามากมาย เช่น ก๊าซเหลวหุงต้ม, น้ำมันหล่อลื่น, น้ำมันเตา, ยางมะตอย ฯลฯ

งานนี้ส่งผลให้ศรีลังกา ละอายใจมากแพ้ใจนักเลงรัสเซีย จนต้องรีบปล่อยอายัดเครื่องบินโดยสารทันที

>> ล่าสุดมิตรแท้ ก็โผล่มายามยากจนข้นแค้นอีกราย คือ 'จีน' ที่ได้ขนส่งเวชภัณฑ์ ข้าว และสิ่งของบรรเทาทุกข์เพื่อมนุษยธรรมฉุกเฉินล็อตแรก 500 ล้านหยวน ถึงศรีลังกาเป้นที่เรียบร้อย และที่คาดไม่ถึงคือ นายจ้าว ลี่เจี้ยน (Zhao Lijian) โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน แถลงว่า "จีนจะช่วยศรีลังกาจัดการกับภาระหนี้สินที่มีต่อจีน และหนี้กับประเทศอื่น รวมทั้งหนี้กับองค์กรระหว่างประเทศ (IMF, World bank) อีกด้วย"

...เพื่อนกินหาง่ายยามเรามีกินมีใช้ แต่พวกเขาจะพากันหายหัวไปเมื่อเราตกยาก แต่เพื่อนแท้จริงใจจะมาช่วยเหลือในยามที่เราไม่เหลืออะไรเลย แค่อาหาร เวชภัณฑ์ พลังงาน ให้ชีวิตรอดมีแรงเดินต่อได้ และยังช่วยดูแลหนี้ต่างๆ แค่นี้ก็ซึ้งใจ

INTERLINK บินลัดฟ้า สู่ภาคเหนือ จัดงาน Golf VIP Thank You Party 2022 (11 - 12 มิ.ย. 65)

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จัดทริปพิเศษให้แก่ลูกค้า VIP กลุ่ม Consultant มาร่วมตีกอล์ฟกระชับมิตร ณฺ สนามกอล์ฟ ซัมมิท กรีนวัลเลย์ เพื่อแสดงความขอบคุณกลุ่มลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจ เชื่อมั่นในคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ LINK รวมถึงอุปกรณ์ Cabling and Networking ด้วยดีเสมอมา 

'ก้าวไกล' ก้าวต่อ ขอทวงคืน 'ทรงผม' ให้ตำรวจ  'สั้น-ยาว' ได้ ขอแค่ 'สุภาพ-เรียบร้อย'

‘ปฏิรูปตำรวจ’ ไม่จริง ‘สารวัตรเพียว’ สะท้อน เสียงข้างน้อยแพ้โหวต ‘กระจายอำนาจ’  ยืนยัน ‘ก้าวไกล’ เป็นรัฐบาลขอปรับโครงสร้างตำรวจใหม่ เผย สัปดาห์หน้าสู้ต่อ ‘ทวงคืนทรงผม’ ให้ตำรวจ

พันตำรวจตรี ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หรือสารวัตรเพียว แสดงความเห็นต่อบรรยากาศการพิจารณา พ.ร.บ.ตำรวจ วาระที่ 2 ซึ่งเป็นการพิจารณารายมาตราช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า สามารถพิจารณาไปได้เพียง 14 มาตราจาก 172 มาตรา เท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีหลายมาตราที่ตนในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยได้สงวนความเห็นเอาไว้ หากผ่านก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตำรวจ ทำให้ตำรวจไทยดีขึ้นได้ทันที โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจไปให้จังหวัด ลดการรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกับที่องค์กรตำรวจญี่ปุ่นใช้ โดยทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นองค์กรตำรวจที่ดีอันดับต้นๆ ของโลกและมีบริบทที่คล้ายคลึงกันไม่ว่าการเป็นรัฐเดี่ยวหรือการเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 

พันตำรวจตรี ชวลิต กล่าวต่อไปว่า ในการอภิปรายมาตรา 13  กรรมาธิการเสียงข้างมากมีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ต่อจากมาตรา 13 หลายมาตรา ตนจึงได้ขอเพิ่มใหม่เช่นกันเพื่อไปสู่ข้อเสนอสำคัญคือ การกำหนดให้มี ‘กรรมการนโยบายตำรวจจังหวัด’ และ ‘กรรมการนโยบายตำรวจนครบาล’ และเป็นข้อเสนอที่ภูมิใจที่จะบอกว่า เป็นการปฏิรูปได้เต็มปาก

“การจัดโครงสร้างอำนาจแบบที่ผมเสนอจะเปลี่ยนระบบราชการตำรวจให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้ แต่ถึงสภานี้โหวตให้ข้อเสนอไม่ผ่าน อย่างน้อยก็จะเป็นพื้นที่ที่ทำให้ประชาชนทางบ้านได้เห็นว่า รัฐบาลก้าวไกล ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะถึงจะพลิกเปลี่ยนระบบราชการไทยให้มีประสิทธิภาพ มีอนาคตที่สดใส เทียบประเทศที่เจริญแล้วได้อย่างไร”

พันตำรวจตรี ชวลิต กล่าวต่อไปว่า การบริหารองค์กรยุคใหม่ต้องเลิกสายบังคับบัญชาที่ยาว ทำให้ระบบงานอุ้ยอ้าย เปลี่ยนเป็นสายบังคับบัญชาสั้นลง เคารพกันมากขึ้น เจ้านายเคารพลูกน้อง ลูกน้องเคารพเจ้านาย
เปลี่ยนจากโครงสร้างที่ต้องให้เจ้านาย กด ขี่ ควบคุม ลูกน้อง เจ้านายถูกเสมอ ใช้อำนาจแบบบนลงล่าง
เปลี่ยนเป็น โครงสร้างที่ให้ความสำคัญกับคนหน้างาน โดยเจ้านายเป็นผู้สนับสนุนทรัพยากร ให้ลูกน้องทำงานได้ดี ทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน การจะเปลี่ยนอนาคตให้เป็นแบบนี้ได้ จะต้องทำลายโครงสร้างอำนาจแบบรัฐรวมศูนย์

ตอนอภิปรายในมาตรา 7 เราเห็นปัญหางบประมาณ เพราะจากส่วนกลางคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็นหน่วยรับและจัดงบ กว่าจะไหลหยดไปทีละชั้น ก็มองแต่อะไรใกล้ตัว จนกลายเป็นงบซื้อเครื่องบิน สร้างตึกหรู ทำให้งบที่ไหลลงตำรวจภาคเหลือน้อยกว่าที่ควรจะเป็น พอไปถึงระดับตำรวจภาคก็ทำแบบเดียวกัน กว่าจะถึงสถานีตำรวจ คนหน้างานที่บริการรับใช้ประชาชนก็ขาดแคลนงบตลอดเวลา

สำหรับการจัดโครงสร้างอำนาจใหม่ให้เป็นการกระจายมากกว่าเป็นรัฐราชการรวมศูนย์ พันตำรวจตรี ชวลิต อภิปรายว่า ต้องทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง โดยตัดอำนาจบังคับบัญชาระหว่างตำรวจภาคกับตำรวจจังหวัด และตัดอำนาจบังคับบัญชาระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจนครบาล แล้วเปลี่ยนจากอำนาจบังคับบัญชาให้เป็นการสนับสนุน จากนั้นจึงให้มี ‘คณะกรรมการนโยบายตำรวจจังหวัด’ และ ‘คณะกรรมการนโยบายตำรวจนครบาล’ มาเป็นผู้บังคับบัญชาแทน เพื่อให้สามารถดูแลจัดการพื้นที่ได้ตามสภาพแต่ละจังหวัดที่มีบริบทแตกต่างกันไป

สำหรับคุณสมบัติหรือที่มาของ คณะกรรมการนโยบาย ได้เสนอให้ คณะกรรมการนโยบายตำรวจนครบาล มาจาก ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ สรรหามาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ ในทางด้านนิติศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การเงินการคลัง จิตวิทยาองค์การ และสังคมวิทยา ด้านละหนึ่งคน และให้ สภา กทม. รับรอง ส่วนของจังหวัดแต่ละจังหวัด ก็ทำไปในกระบวนการลักษณะเดียวกัน และกำหนดให้ตั้งอนุกรรมการทำหน้าที่ต่างๆ เช่น ติดตามผลการดำเนินงานและรับเรื่องร้องเรียน การประชุมต้องโปร่งใส ประชาชนเข้าถึงรายงานการประชุม และมติการประชุมได้ง่าย

“โครงสร้างอำนาจแบบกระจายอำนาจแบบนี้ เอาแบบมาจากตำรวจญี่ปุ่น พ.ร.บ. ตำรวจ ญี่ปุ่น วางโครงสร้างไว้ตั้งแต่หลังจบสงครามโลก โดยไม่แก้เลยเป็นเวลา 70 ปีแล้ว ผลก็คือได้รับการจัดอันดับให้เป็นองค์กรตำรวจที่ดีอันดับต้นๆ ของโลก นี่คือพิสูจน์มาแล้ว ประเทศไทยคงไม่ต้องมาลองผิดลองถูกอีกแล้ว การปรับนิดๆ หน่อยๆ แต่ยังคงความเป็นอำนาจรวมศูนย์เหมือนเดิมไม่ใช่การปฏิรูป การปฏิรูปตำรวจ จริงๆ คือ ต้องกระจายอำนาจให้เกิดขึ้นจริง”

'ก.อุตฯ' เผย ค่าเงินบาทอ่อน ส่งผลบวก ศก.อุตฯ ไทย  แนะภาคธุรกิจบริหารความเสี่ยง หันใช้วัตถุดิบทางเลือก

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลการศึกษาผลกระทบค่าเงินบาทอ่อนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย ชี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงส่งให้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัว เป็นผลบวกต่อการส่งออกและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (RGDP) แม้ภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น พร้อมแนะนำผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้วัตถุดิบทางเลือกอื่นเพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบหลัก

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ศึกษาผลกระทบค่าเงินบาทอ่อนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย โดยพบว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าในปัจจุบัน (ณ วันที่ 7 มิ.ย. 2565 อยู่ที่ระดับ 34.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับวันที่ 30 ธ.ค. 2564 อยู่ที่ระดับ 33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมโดยรวม 

เนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นบวกต่อการส่งออก ทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลงและสามารถส่งออกได้มากขึ้น แม้ว่าในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น แต่เมื่อพิจารณาโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมพบว่า การอ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ แตกต่างกันตามสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และสัดส่วนการส่งออกสินค้า โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบน้อยและมีสัดส่วนการส่งออกมากจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ 

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ผลกระทบของการอ่อนค่าของเงินบาทโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติมหภาค กรณีถ้าหากเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 5 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (RGDP) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 มูลค่าการส่งออกเมื่อคิดเป็นสกุลเงินบาทจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14 มูลค่าการนำเข้าเมื่อคิดเป็นสกุลเงินบาทจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.94 

ด้านการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21 เนื่องจากผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.31 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.57 

ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลปัจจัยการผลิตและผลผลิต สามารถแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินบาทแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

'ไบเดน' จวก บ.พลังงาน โกยเงินบนความทุกข์ เจอสวนกลับ!! น้ำมันแพง เพราะนโยบายรัฐ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน โวยวายใส่เอ็กซอน ยักษ์ใหญ่พลังงานสัญชาติอเมริกันเมื่อวันศุกร์ (10 มิ.ย.) กล่าวหาบริษัทแห่งนี้ "กำลังโกยเงินมากกว่าพระเจ้า" ในขณะที่ประชาชนชาวสหรัฐฯ กำลังเผชิญความทุกข์ทรมาน อย่างไรก็ตาม ทางเอ็กซอน ออกมาตอบโต้ว่าพวกเขาได้ยกระดับกำลังผลิตแล้ว ในขณะที่พวกฝ่ายอนุรักษ์นิยมกล่าวโทษราคาน้ำมันที่พุ่งสูง ว่า มีต้นตอจากนโยบายต่างๆ ของไบเดนเอง

ระหว่างแถลงข่าวที่ท่าเรือในลอสแองเจลิส ไบเดนหยิบยกแพะรับบาปต่างๆ กล่าวโทษว่าเป็นต้นตอของราคาน้ำมันพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสหรัฐฯ และเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ในนั้นรวมถึงภาคอุตสาหกรรมขนส่ง และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เช่นเดียวกับปัญหาติดขัดในห่วงโซอุปทาน

ในเรื่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูง ไบเดนล็อกเป้าไปที่เอ็กซอน บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ สำหรับการซื้อหุุ้นคืน (stock buyback) แทนที่จะนำสภาพคล่องที่เหลือจากการดำเนินงานเหล่านั้นไปลงทุนขยายกิจกรรมการขุดเจาะ

"เอ็กซอนทำเงินมากกว่าพระเจ้าเสียอีกในปีนี้" เขาบอกกับผู้สื่อข่าว "สิ่งแรกที่ผมอยากพูดก็คือ พวกบริษัทน้ำมันไม่ได้ขุดเจาะเพราะพวกเขาจะทำเงินมากขึ้น หากไม่ผลิตน้ำมันเพิ่มเติม"

ไบเดน กล่าวต่อว่า "อย่างที่ 2 คือ เหตุผลที่พวกเขาไม่ขุดเจาะก็คือ พวกเขากำลังซื้อหุ้นของตัวเองคืน ซึ่งบอกตรงๆ มันควรเสียภาษี" เขาระบุ "เอ็กซอนควรเริ่มลงทุนและเริ่มจ่ายภาษีของคุณ ขอบคุณ"

อย่างไรก็ตาม โฆษกของเอ็กซอน ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฟอร์บส์ ว่า ที่จริงแล้วทางบริษัทได้ยกระดับการขุดเจาะในแหล่งหินน้ำมัน Permian Basin ใต้รัฐเทกซัส 70% ระหว่างปี 2019 ถึง 2021 และเพิ่มศักยภาพการกลั่นในภูมิภาคแถบนี้มากกว่า 50% ในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2021"

นอกจากนี้ ทางโฆษกของเอ็กซอน ให้ข้อมูลว่าทางบริษัทขาดทุนมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 และเสียภาษีในปี 2021 ถึง 40,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ราว 17,800 ล้านดอลลาร์

ปัญหาเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และความกังวลทางเศรษฐกิจ คือ 3 ลำดับแรกในประเด็นที่ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้ความสำคัญมากที่สุด และในผลสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยเอบีซีนิวส์เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่ามีชาวอเมริกันชนมากถึง 71% ที่ไม่พอใจ ไบเดน ในความพยายามควบคุมเงินเฟ้อ และอีก 72% ไม่พอใจประธานาธิบดีรายนี้ในความพยายามฉุดราคาเชื้อเพลิงให้ลดต่ำลง

การเดินทางแสนพิเศษ กับเส้นทางชลประทานประวัติศาสตร์แห่ง 'Wallis'

วันนี้วี่จะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยว Sion (ซียง หรือ ซียอง) เป็นเมืองหลวงของ Wallis (วาเล หรือ วาลิส) ตั้งอยู่ในภูมิภาค Romandie (รอม็องดี) ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก เมืองซียองตั้งอยู่กลางหุบเขาขนาดใหญ่ในเทือกเขาแอลป์ และเป็นแหล่งผลิตไวน์มากเป็นอันดับสามในสวิตเซอร์แลนด์ ผู้คนส่วนใหญ่ที่นี่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก พื้นที่ตรงนี้อากาศจะค่อนข้างร้อนกว่าภูมิภาคอื่น 

วี่ชอบเที่ยวไปเรื่อยๆ ชอบ hiking ดังนั้นไม่ว่าจะไปพักร้อนที่ไหนก็จะหาทางเดินแปลกๆใหม่ๆ เสมอ พอดีวี่ได้หนังสือมาเล่มนึงซึ่งรวมสถานที่ว๊าวๆ หลายที่ในสวิส แล้วก็ได้สะดุดตากับสถานที่หนึ่งคือ Grand Bisse de Lens เป็น historic irrigation channels of the Valais หรือช่องทางชลประทาน ประวัติศาสตร์ของ Valais (เรียกช่องทางชลประทานได้รึป่าวนะ) Grand Bisse de Lens สร้างเมื่อปี 1450 เส้นทางนี้มีคำเตือนว่าเมื่อจะเดินไม่ควรมีความเวียนหัวใดๆ และไม่ควรมีอาการกลัวความสูง เพราะบางช่วงบางตอนคือไม่มีที่ให้จับ ทางเดินแคบมากที่สุดและบางช่วงบางตอน เหมือนเราเดินบนผา มองลงไปตัดตรงลงพื้นเลย คือไม่ต้องนึกว่าถ้าตกไปจะสภาพเป็นแบบไหน 

วี่ขับรถไปจอดที่ เมือง Chermignon d’en Bas แล้วนั่งรถบัสไปลงที่เมือง Lens วี่เริ่มเดินจากตรงนี้แล้วกลับมาที่เมือง Chermignon d’en Bas เส้นทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร ช่วงที่สวยที่สุดน่าจะเป็นจากเมือง Lens ที่เป็นจุดเริ่มต้นของวี่ไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 3 

เปิด 6 ชาติอาเซียนผนึก 'จีน-รัสเซีย' ต่อกร 'มหาอำนาจโลกเก่า' ที่จ้องเอาเปรียบ

จากสถานการณ์มหาอำนาจโลก อย่างสหรัฐกลุ่มประเทศตะวันตก กำลังเผชิญหน้ากับรัสเซียและจีน รวมทั้งพันธมิตรตะวันออก ซึ่งมีอาเซียนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งด้วย โดยมีความเคลื่อนไหวที่ถูกจับตามองว่าจะเข้ากับฝ่ายไหนนั้น

ล่าสุดวานนี้ (11 มิ.ย. 65) เพจ World Update ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความโดยระบุที่มา AP, VOAthai, Global Time, The Time, ลึกชัดกับผิงผิง (สื่อจีน) และ ข่าวสารอาเซียน ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีข้อความบางส่วนที่สำคัญดังนี้

“กัมพูชา ลาว ติมอร์-เลสเต มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมา เร่งขยายความร่วมมือฝ่ายระเบียบโลกใหม่ การแข่งขันหาพันธมิตรที่แน่นแฟ้นระหว่าง “ฝ่ายระเบียบโลกเก่าขั้วเดียวผูกขาด” ที่นำโดยสหรัฐ อังกฤษ ที่ครองอำนาจโลกมานานกว่า 7 ทศวรรษ กับ “ฝ่ายระเบียบโลกใหม่หลายขั้วที่เป็นธรรม” รัสเซีย-จีน 

โดยการแข่งขันชิงอำนาจโลกนี้น่าจะดำเนินไปอีกอย่างน้อย 3 ปี ฝ่ายใดกุมพลังงาน อาหาร อาวุธร้ายแรงไว้ได้ และเน้นใช้พระคุณ ก็จะชนะฝ่ายกุมเงินตรา แต่ใช้พระเดชในที่สุด

สำหรับภูมิภาคอาเซียนนั้น หากใครครองย่านนี้ได้ ก็ย่อมมีผลแพ้ชนะที่สำคัญ โดยฝ่ายระเบียบโลกเก่า พยายามดึงอาเซียนไปเป็นคู่ขัดแย้งกับจีนในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก (NATO-2) โดยฐานยิงขีปนาวุธย้ายจากอาเซียนไปญี่ปุ่น เพื่อช่วยไต้หวัน แต่ในทางกลับกัน Asian - NATO ไม่มีความคืบหน้าใดๆ 

ล่าสุดทางฝ่ายจัดระเบียบโลกใหม่รุกคืบช้าๆ แต่ทว่ามั่นคง เริ่มจาก...

>> #กัมพูชา 
จีนเดินหน้าช่วยต่อเติมฐานทัพเรือเรียม เมืองสีหนุวิลล์ในอ่าวไทย มูลค่าราว 4,640 หยวน (24,000 ล้านบาท) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับศักยภาพของกองทัพเรือกัมพูชา ในทางลับ จีนให้กัมพูชายืมเรือดำน้ำมาใช้ และเพิ่งส่งอาวุธหนักปืนใหญ่ จรวดหลายลำกล้อง รถหุ้มเกราะ ยานลำเลียงพล ฯลฯ จำนวนมากมาให้ประจำการ

>> #เมียนมา
จีนให้ยืมเรือดำน้ำมาใช้ในการปกป้องทะเลอันดามัน ชายฝั่งเมืองเจ้าก์ผิ่ว เป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือดะญะวดีของกองทัพเรือ โดยเป็นต้นทางท่อก๊าซและน้ำมันของจีน ที่วางพาดผ่านพื้นที่เมียนมาขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามชายแดนที่รัฐฉาน ส่งก๊าซและน้ำมันเข้าไปในจีนทางมณฑลยูนนาน และเป็นปลายทางของระเบียงเศรษฐกิจจีน-พม่า ที่รัฐบาลจีนใช้เป็นเส้นทางออกสู่ทะเลทางมหาสมุทรอินเดียที่สั้นที่สุด

โดยบริษัทของรัฐบาลจีนกำลังมีการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกอยู่ในเมืองเจ้าก์ผิ่ว เมียนมาในขณะนี้ รวมทั้งจีนได้สนับสนุนเครื่องบินรบ ขีปนาวุธ ยานเกราะ รถลำเลียงพล อากาศยานโดรน ปืนสงครามอิเล็กทรอนิกส์สอยโดรน ฯลฯ 

นอกจากนี้ยังทำรางรถไฟเจาะทะลุภูเขาจากยูนาน เพื่อเชื่อมการเดินทางกับพม่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว คล้ายเชื่อมกับลาวทางตอนเหนือ

>> #ลาว 
ได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากกองทัพรัสเซีย เบลารุส เช่น สนามบินทหาร เครื่องบินรบ ขีปนาวุธ รถถัง โดยขนย้ายเข้ามาจากท่าเรือผ่านประเทศเวียดนาม 

ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา พล.ต.กราเยฟ ดิมิทรี วราดิมีโรวิช หัวหน้าสำนักงานผู้แทนกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ประจำลาว ได้เดินสายเยี่ยมหน่วยทหารในพื้นที่ หลวงพระบาง และแขวงไซยะบูลี ภาคเหนือของลาว พร้อมช่วยเสริมเขี้ยวเล็บ ตรวจสอบ ประเมินสภาพอาวุธยุทโธปกรณ์ ยานพาหนะที่มี ให้การช่วยเหลือปรับปรุงให้ทันสมัย 

>> #เวียดนาม 
สำหรับเวียดนามนั้น ได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ที่นำโดยรัสเซีย - จีน - อินเดีย แล้ว มีประชากรรวมกันกว่า 40% ของโลก ทำให้มีตลาดผู้บริโภค และฐานการผลิตขนาดใหญ่ ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก 

โดยในปี 2021 มีมูลค่าการค้าร่วมกันราว 16.6 ล้านล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้น 39.2% ต่อปี และมีระบบ “ศุลกากรอัจฉริยะ” เชื่อมต่อระหว่างกัน

'เพื่อไทย' ชี้!! 8 ปี คนจนเพิ่มเป็น 20 ล้านคน  ซัด!! รัฐแก้จนล้มเหลว หากทำไม่ได้ พท.จะทำเอง

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาความยากจนมาตลอดระยะเวลา 8 ปี เหตุใดยิ่งแก้ยิ่งจน บัตรคนจนเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคน ทะยานสู่ 20 ล้านคนแล้วในปีนี้ 

นอกจากนี้ช่วงปลายปี 2563 ยังได้ตั้ง “คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนฯ” (คจพ.) อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงอดสงสัยไม่ได้ว่าแผนแก้จนของพลเอกประยุทธ์ ที่ประกาศจะเริ่มดำเนินการในเดือนกันยายน ปี 2565 จะสำเร็จหรือไม่   

มะกันกระอัก!! 'เบนซิน' แพงพุ่งเป็นประวัติการณ์ ราคาหน้าปั๊มอยู่ที่ 5 ดอลฯ ต่อแกลอน

ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินพรีเมียมหน้าปั๊มพุ่งทะลุ 5 ดอลลาร์ต่อแกลลอนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ จากการเปิดเผยของสมาคมรถยนต์แห่งอเมริกา (AAA) เมื่อวันเสาร์ (11 มิ.ย.)

ราคาระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์มีขึ้นท่ามกลางตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานต่อเนื่องนานหลายเดือน และเป็นตัวแทนข่าวร้ายล่าสุดสำหรับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในขณะที่เหลือเวลาอีกเพียง 5 เดือน ก่อนถึงศึกเลือกตั้งกลางเทอมอันสำคัญ

เมื่อ 1 ปีก่อน ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ อยู่ที่แค่ 3.07 ดอลลาร์ ทว่านับตั้งแต่นั้นมันดีดตัวขึ้นมาแล้ว 62%

ในขณะที่ชาวยุโรปคุ้นเคยมาช้านานกับการจ่ายเงินแพงกว่าสำหรับราคาน้ำมันหน้าปั๊ม แต่สำหรับในสหรัฐฯ แล้ว มีการเก็บภาษีน้ำมันในระดับต่ำ นั่นจึงทำให้ชาวอเมริกันผู้ชื่นชอบรถยนต์ต้องอยู่ในภาวะช็อกกับราคาที่พุ่งทะยาน

การพุ่งขึ้นของราคาเบนซิน เป็นไปตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากครั้งหนึ่งเคยดำดิ่งในช่วงต้นๆ ในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งฉุดรั้งอุปสงค์ทางพลังงาน แต่อุปสงค์ฟื้นตัวขึ้นหลังกิจกรรมเศรษฐกิจโลกกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง

ราคาน้ำมันพุ่งสูงยิ่งขึ้นอีก หลังจากมอสโกเปิดฉากรุกรานยูเครนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และมาตรการคว่ำบาตรนานาชาติที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย ชาติผู้ผลิตปิโตรเลียมรายใหญ่ของโลก เริ่มมีผลบังคับใช้

สัญญาน้ำมันดิบซื้อขายล่วงหน้าอยู่ที่ระดับเหนือกว่า 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งในตลาดลอนดอน และนิวยอร์ก

'กรณ์' อึ้ง!! 'ค่ากลั่นน้ำมัน' ขึ้นพรวด 10 เท่าในปีเดียว  เหตุใดรัฐปล่อยบริษัทน้ำมันฟันกำไรได้ขนาดนี้

'กรณ์' เปิดราคาน้ำมัน คนไทยโดนปล้น ค่ากลั่นน้ำมันขึ้นพรวด 10 เท่าในปีเดียว ย้ำรัฐอย่าปล่อยฟันกำไร ประชาชนเดือดร้อน กองทุนน้ำมันติดลบใกล้แสนล้าน เสนอกำหนดเพดานค่ากลั่นป้องกันค้ากำไรเกินควร เสนอเก็บ 'ภาษีลาภลอย' บริษัทน้ำมัน นำกำไรส่วนเกินช่วยประชาชน 'อรรถวิชช์' เตรียมยกร่างแก้ไขกฎหมาย เสนอร่างให้รัฐบาล-สภาฯ พิจารณา

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี  เลขาธิการพรรค ร่วมกันแถลงถึงวิกฤตพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ก็ยังราคาต่ำกว่าหลายประเทศในอาเซียนด้วยกัน เพราะมีการใช้กองทุนน้ำมันมาชดเชยราคาหน้าปั๊ม แต่วันนี้สถานะกองทุนน้ำมันติดลบ 86,000 ล้านบาท หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น อาจติดลบทะลุ 1 แสนล้านบาทในสิ้นเดือนนี้ กองทุนน้ำมันจึงอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถกู้สถาบันการเงินได้อีก แม้ในอนาคตราคาน้ำมันโลกจะลดลง แต่ก็ยังเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจำนวนมาก เพื่อชำระหนี้กองทุนที่ติดลบอยู่ จึงกลายเป็นภาระในอนาคตของประชาชน

นายกรณ์ กล่าวอีกว่า ตอนนี้คนไทยกำลังโดนปล้นจากค่ากลั่นน้ำมัน จากข้อมูลราคาค่ากลั่นน้ำมันในช่วงเวลาเดียวกันปี 2563 อยู่ที่ 0.88 บาทต่อลิตร , ปี 2564 อยู่ที่ 0.87 บาทต่อลิตร , แต่ปี 2565 กระโดดมาอยู่ที่ 8.56 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 เท่า เท่ากับค่ากลั่นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ไปเพิ่มตามราคาตลาดน้ำมันสิงคโปร์ ทั้งที่ต้นทุนไม่ได้เพิ่มขึ้น กลายเป็นภาระประชาชน ภาระกองทุนน้ำมัน แต่ทำไมรัฐปล่อยให้ฟันกำไรได้ขนาดนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top