Monday, 28 April 2025
TheStatesTimes

'จุรินทร์' เบรกขึ้นราคา 'บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป' ยึด 'วิน-วิน โมเดล' ให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้

‘จุรินทร์’ ยังไม่อนุญาตให้ปรับราคา ‘บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป’ รับสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำต้นทุนพุ่ง แต่ขอความร่วมมือผู้ประกอบการตรึงราคาไว้ให้นานที่สุด ยึดวิน-วิน โมเดล ให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีเครือสหพัฒน์ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ขอปรับขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือมาม่า ว่า ขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่อนุญาตให้ปรับขึ้นราคา แม้ว่าจะมีการร้องขอปรับราคามาหลายเดือนแล้ว โดยปัจจุบันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขายซองละ 6 บาท ซึ่งการปรับราคาก่อนหน้านี้เป็นการปรับราคาจากการบริหารจัดการภายในเป็นทอดๆ เช่น จากโรงงานไประบบค้าส่งไประบบค้าปลีก เป็นต้น แต่ปลายทางยังราคาซองละ 6 บาท สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพื้นฐานทั่วไป

กรมวิชาการเกษตรแจกกัญชา 1 ล้านต้น เปิดลงทะเบียน 16 มิ.ย.นี้

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตรจะแจกต้นกัญชาให้ประชาชนที่สนใจครัวเรือนละ 2 ต้น ตามเป้าหมาย 1 ล้านต้นของรัฐบาลหรือประมาณ 500,000 ครัวเรือน ภายหลังการปลดล็อกวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ให้กัญชา กัญชง และกระท่อม ไม่เป็นพืชในบัญชียาเสพติดอีกต่อไป ทั้งนี้สามารถลงทะเบียนแจ้งความจำนงได้ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.65 เป็นต้นไป ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร (ศวพ.) ของกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ 53 จังหวัด 

ทั้งนี้ การแจกต้นกัญชาให้ครัวเรือนละ 2 ต้น ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ไทย ซึ่งพันธุ์ที่แจกหลัก ๆ คือ พันธุ์อิสระ 01 พัฒนาพันธุ์โดยกรมการแพทย์ กรมวิชาการเกษตร และมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นพันธุ์รับรองเมื่อ 29 ม.ค.64 นอกจากนั้นจะมีกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ในโครงการนี้ด้วย 

โฆษก ทร.เผย บริษัท CSOC ต้อง กำหนดระยะเวลาในการส่งมอบเรือดำน้ำให้ กองทัพเรือ พิจารณา ภายใน 60

โฆษก ทร.เผยผลการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับเรือดำน้ำของกองทัพเรือ

เมื่อ 9 มิ.ย.65 เวลา 18.00 น. พลเรือโท ปกครอง  มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ  เปิดเผยถึงผลการประชุมท้ายเรือ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระหว่าง กองทัพเรือ กับ บริษัท CSOS โดยมี พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ เป็นประธานฝ่ายไทย และ Mr.  Liu Song รองประธาน บริษัท CSOC เป็นประธานฝ่ายจีน และมีรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตจีน/กรุงเทพ ร่วมในการประชุม ซึ่งจัดให้มีขึ้น ณ ห้องประชุม อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน  เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

โดย บริษัท CSOC แจ้งว่าได้ใช้ความพยายามในการเจรจา กับบริษัท MTU สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทั้งในระดับ บริษัท-บริษัท รัฐบาล-รัฐบาล และ ช่องทางทางการทูต ในการจัดหาเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แต่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงได้

ทั้งนี้ บริษัท CSOC ได้เสนอเครื่องยนต์ดีเซล ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น CHD 620 ให้ กองทัพเรือพิจารณาทดแทนรุ่น MTU 396 แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือ ได้แจ้งยืนยันความต้องการใช้ เครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 396 ตามข้อตกลงเนื่องจากเครื่องยนต์ CHD620 ที่ บริษัท CSOC เสนอ ไม่เคยมีการใช้งานในเรือดำน้ำของประเทศใดมาก่อน

13 มิถุนายน 2535 สิ้น 'พุ่มพวง ดวงจันทร์' ราชินีลุกทุ่ง ผู้ขับกล่อมบทเพลงอมตะข้ามกาลเวลา

“เมื่อสุริยนย่ำสนธยา จะกลับบ้านนาตอนชื่อเสียงเรามี จะยากจะจน ถึงอดจะทนเต็มที่ นักร้องบ้านนอก คนนี้จะกล่อมน้องพี่ และแฟนเพลง…”

อีกท่อนจำข้ามกาลเวลาจากบทเพลง 'นักร้องบ้านนอก' ที่เชื่อว่าคนไทยในยุค 'เกิดทัน' ยังคงตราตรึงจิตอยู่ร่ำไป

หากบรรจบครบวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ก็จะเท่ากับ 30 ปี แห่งการจากไปของราชินีลูกทุ่ง 'พุ่มพวง ดวงจันทร์'

พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน 2535) ชื่อจริงว่า 'รำพึง จิตรหาญ' (ชื่อเล่น ผึ้ง) ผู้ชอบร้องเพลงเป็นชีวิตใจ และเธอก็เหมือนนักร้องคนอื่นที่ใช้เวทีประกวดร้องเพลงงานวัดเป็นหนทางเข้าสู่วงการ โดยใช้ชื่อว่า ผึ้ง สองพี่น้อง, ผึ้ง ณ ไร่อ้อย

พ.ศ. 2518 ขณะมีอายุได้ 15 พุ่มพวงร้องเพลง 'สาวสวนแตง' ของผ่องศรี วรนุช และชนะเลิศนักร้องฝ่ายหญิงที่งานวัดท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี รำพึง จิตรหาญ-พ่อของพุ่มพวง จึงพาเธอไปฝากเป็น 'หางเครื่อง' ในวงดนตรีของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ที่มาทำแสดงที่วัดท่ามะกาในเวลานั้น

ระหว่างที่อยู่วงดนตรีของไวพจน์ พุ่มพวงทดลองร้องเพลงหน้าเวที ครั้งแรกในงานประจำปี ที่ตลาดลำนารายณ์ อำเภอไชยบาดาลจังหวัดลพบุรี ต่อมาไวพจน์แต่งเพลง 'แก้วรอพี่' ให้พุ่มพวงร้องบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า “น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ” และที่นี้อีกเช่นกันที่พุ่มพวงได้พบรักกับ ธีระพล แสนสุข-สามีคนแรกซึ่งเป็นนักดนตรีอยู่ในวง

ต่อมา รุ่ง โพธาราม-นักร้องรุ่นพี่ชักชวนให้แยกมาตั้งวงดนตรีเอง ด้วยการสนับสนุนของมนต์ เมืองเหนือ และมีการเปลี่ยนชื่อจาก น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ เป็น 'พุ่มพวง ดวงจันทร์' แต่กิจการวงดนตรีไม่ประสบความสำเร็จและต้องเลิกไปในที่สุด แต่พุ่มพวงไม่ถอดใจ เธอตั้งวงดนตรีอีกเป็นครั้งที่ 2 แต่ก็ขาดทุนจนเลิกกิจการไป พุ่มพวงจึงหันมาเป็นนักร้องประจำวงของ ศรเพชร ศรสุพรรณ และขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด

นิติกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินผู้เยาว์ ที่ศาลจะต้องอนุญาต | รู้ LAW FOR LIFE EP.5

นิติกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินผู้เยาว์ ที่ศาลจะต้องอนุญาต (ตอนที่ 2)

รู้ Law For Life
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รวมปฐมบทกฎหมายง่ายๆ สำหรับคนไทย

.

สลากดิจิทัล 80 บาท ‘สัญญาณดี’ ที่ชี้ว่ารัฐกำลังมาถูกทาง | NEWS GEN TIMES EP.55

✨ สลากดิจิทัล 80 บาท ‘สัญญาณดี’ ที่ชี้ว่ารัฐกำลังมาถูกทาง พร้อมคลายข้อสงสัยประเด็นต่าง ๆ

✨ ‘รับใช้พรรค’ หรือ ‘รับใช้ประชาชน’!! ‘โบว์ - ณัฏฐา’ ฝากให้คิด “จะมีรัฐสภาไว้ทำไม หากห้ามโหวตนอกมติพรรค”

✨Twitter จ่ายค่าปรับอ่วม! เหตุเอาข้อมูลผู้ใช้ 140 ล้านราย ไปให้บริษัทโฆษณาทำการตลาด

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จับตา!! ‘Doomsday Clock’ เมื่อนาฬิกาวันสิ้นโลก เดินมาถึงจุด ‘100 วินาที’ ก่อนเที่ยงคืนแล้ว!!

นาฬิกาเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้วัดและกำหนดสิ่งต่างต่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาในยุคเริ่มแรกตั้งแต่ นาฬิกาแดด นาฬิกาทราย นาฬิกาไขลาน นาฬิกาออโตเมติก จนกระทั่งนาฬิกาไขดิจิตอล ไปจนถึงนาฬิกาชีวภาพในวิชาชีววิทยา ฯลฯ 

จากหลักการทำงานของนาฬิกาดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อจัดทำนาฬิกาสำหรับทำหน้าที่พยากรณ์จุดจบของโลกขึ้นมา 

Doomsday Clock (นาฬิกาวันสิ้นโลก) จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. 1947) โดยสมาชิกคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และความมั่นคงในคณะผู้จัดทำหนังสือจดหมายเหตุของนักวิทยาศาสตร์ปรมาณู (Bulletin of the Atomic Scientists) ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการด้านต่าง ๆ ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล ๑๘ คนร่วมอยู่ด้วย 

Doomsday Clock ไม่ได้เป็นนาฬิกาที่เป็นตัวเรือน แต่เป็นเพียงแผ่นหน้าปัดนาฬิกาที่ถูกจัดทำขึ้น มีลักษณะเป็นเชิงสัญลักษณ์ โดยเปรียบการนับถอยหลังจากเกิดมหันตภัยต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น สงครามนิวเคลียร์ หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยิ่งนาฬิกาถูกปรับให้เข้าใกล้เที่ยงคืนมากเท่าใด บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างก็เชื่อว่าโลกของเราก็ยิ่งเข้าใกล้การเกิดภัยพิบัติมากขึ้นเท่านั้น

ประวัติของ Doomsday Clock นาฬิกาที่แสนจะแปลกประหลาดและไม่เป็นมงคลเรือนนี้ เริ่มขึ้นภายหลังการสิ้นสุดของมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัยนั้นประชาชนพลโลกทั่วไปยังไม่มีความรู้ถึงภัยร้ายแรงจากอาวุธนิวเคลียร์ รู้อย่างมากแค่ว่า อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่มีอานุภาพรุนแรงจนสามารถบีบให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้สำเร็จ กลุ่มคนที่เล็งเห็นและตื่นตัวถึงภัยคุกคามนี้เป็นพวกแรก ๆ ก็ไม่ใช่ใครอื่น แต่ก็คือ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มที่ประดิษฐ์ระเบิดปรมาณูขึ้นมานั่นเอง

Eugene Rabinowitch ผู้ร่วมกันก่อตั้ง Bulletin of the Atomic Scientists

จากความกังวลเรื่องนี้เองทำให้ Eugene Rabinowitch นักชีวะ-ฟิสิกส์ กับ Hyman Goldsmith นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน จึงได้ร่วมกันก่อตั้งนิตยสารชื่อ Bulletin of the Atomic Scientists ขึ้นมา แปลเป็นภาษาไทยว่า จดหมายเหตุจากนักวิทยาศาสตร์ปรมาณู ซึ่งเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. 1945) โดยมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากมายในยุคนั้นให้การสนับสนุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Morton Grodzins, Hans Bethe, Anatoli Blagonravov, Max Born, Harrison Brown, Stuart Chase, Brock Chisholm, E.U. Condon, Albert Einstein, E.K. Fedorov, Bernard T. Feld, James Franck, Ralph E. Lapp, Richard S. Leghorn, J. Robert Oppenheimer, Lord Boyd Orr, Michael Polanyi, Louis Ridenour, Bertrand Russell, Nikolay Semyonov, Leó Szilárd, Edward Teller, A.V. Topchiev, Harold C. Urey, Paul Weiss, James L. Tuck ฯลฯ

Hyman Goldsmith ผู้ร่วมกันก่อตั้ง Bulletin of the Atomic Scientists

จุดประสงค์ของนิตยสารก็คือ เป็นแหล่งความรู้สำหรับผู้ที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์ และ ให้ความรู้แก่ประชาชนชาวอเมริกันในเรื่องของอันตรายจากอาวุธนิวเคลียร์ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. 1947) จึงได้เพิ่ม Doomsday Clock (นาฬิกาวันสิ้นโลก) เข้าไป อันเป็นการเริ่มต้นการเดินของนาฬิกาเรือนนี้ วิธีการอ่านค่าเวลาจากนาฬิกาวันสิ้นโลกนั้นไม่ยากเลย โดยส่วนประกอบและลักษณะรูปลักษณ์ของจะไม่ต่างจากนาฬิกาทั่วไป ประกอบด้วย เข็มยาว เข็มสั้น จุดบอกเวลา ฯลฯ แต่จุดกำหนดเวลาบนหน้าปัดจะมีเพียงเลข ๙ ไปจนถึงเลข ๑๒ คือ มีแต่ส่วนบนซ้ายของหน้าปัทม์นาฬิกา ซึ่งเมื่อเวลาเที่ยงคืนมาถึงจะหมายถึงว่า โลกได้เข้าถึงขีดสุดแห่งความหายนะแล้ว และเป็นการเข้าสู่วันสิ้นโลก แต่เมื่อ ภยันตราย ความรุนแรง และเหตุวิกฤต ลดลงเมื่อใด เข็มเวลาก็จะยิ่งออกห่างจากเวลาเที่ยงคืนมากขึ้นเรื่อย ๆ ยกตัวอย่าง เช่น เวลา 23:55 น. จะวิกฤตน้อยกว่าเวลา 23:58 น. 

การบ่งบอกว่า โลกเข้าใกล้จุดหายนะที่เป็นการสิ้นสุดของโลกมากน้อยขนาดไหน จะใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกเป็นตัวแปร ตัวกำหนด เช่น สงคราม ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ภัยคุกคามของระเบิดนิวเคลียร์ สภาวะโลกร้อน ฯลฯ เดิมทีนาฬิกาเรือนนี้ถูกแขวนบนกำแพงในสำนักงานของจดหมายเหตุฯ ภายในมหาวิทยาลัยชิคาโก และกลายเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ของภัยคุกคามสงครามนิวเคลียร์ที่ชาติต่าง ๆ ต่างพากันสะสมไปจนทั่วโลก ทว่า หลัง พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการนำเอาผลสะท้อนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงพัฒนาการใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งอาจทำให้เกิดภัยต่อมนุษยชาติอย่างร้ายแรงจนไม่อาจกู้คืนหรือแก้ไขได้

RDS-1 ระเบิดปรมาณูลูกแรกของสหภาพโซเวียต

เวลา 23:53 น. หรือ ๗ นาทีก่อนเที่ยงคืน ถูกตั้งให้เป็นเวลาตอนที่ Doomsday Clock (นาฬิกาวันสิ้นโลก) เริ่มเดินเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. 1947)  โดยสมัยนั้นเป็นช่วงที่โลกเพิ่งผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาได้ไม่นาน และกำลังก้าวเข้าสู่ยุคนิวเคลียร์ พร้อมกับการก่อตัวขึ้นของความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตหรือที่รู้จักกันในชื่อของ “สงครามเย็น (Cold war)” สองปีต่อมา นาฬิกาถูกปรับให้เป็นเวลา 23:57 น. โดยเกิดจากการที่สหภาพโซเวียตทดลอง RDS-1 ระเบิดปรมาณูลูกแรกเป็นผลสำเร็จ จึงนับเป็นประเทศที่สองของโลกที่ครอบครองอาวุธมหาประลัยชนิดนี้ ภายหลังสหรัฐอเมริกาเพียง 4 ปี และเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันสะสมอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย 

การทดลองระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำลายล้างสูงกว่าระเบิดปรมาณูหลายเท่าตัว

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. 1953) นาฬิกาถูกปรับให้เหลือเวลา ๒ นาทีก่อนเที่ยงคืน อันเป็นผลมาจากสหรัฐฯ กับโซเวียตตัดสินใจทดลองระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำลายล้างสูงกว่าระเบิดปรมาณูหลายเท่าตัว หลังจากที่นาฬิกาถูกปรับให้ใกล้เที่ยงคืนไปหลายครั้ง ในที่สุดเวลาก็ได้ถูกเลื่อนให้ออกห่างจากเวลาเที่ยงคืนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. 1960) สาเหตุจากท่าทีประนีประนอมของทั้งสองขั้วอำนาจต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น เช่น วิกฤตสุเอซ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. 1956) และมีความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของทั้งสองฝ่ายผ่านการประชุมต่าง ๆ 

วิกฤตสุเอซ

ประวัติการปรับเวลาของ Doomsday Clock ตั้งแต่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. 1947) จนถึง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ค.ศ. 2017)   

สามปีให้หลังต่อมา เวลาของ Doomsday Clock ถูกปรับเป็น 23:48 น. หรือ ๑๒ นาทีก่อนเที่ยงคืน อันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์บนพื้นดิน แต่ยังคงอนุญาตมีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ที่ใต้ดินอยู่ สนธิสัญญานี้แสดงให้เห็นว่า มีความพยายามจากทั้งสองฝ่ายที่จะลดอัตราการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ลง และร่วมกันปกป้องสภาพอากาศที่เสียหายจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์

แน่นแฟ้น!! สานสัมพันธ์ 'กองทัพเรือ' และ 'สื่อมวลชน'

กองเรือยุทธการ ร่วมกับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ทัพเรือภาคที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ ประจำปี งป.65

(9 มิ.ย.65) พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธาน มีผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ ผู้บังคับบัญชาหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ทัพเรือภาคที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ร่วมจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ ในปี งป.65  

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและพัฒนาความสัมพันธ์อันดี ระหว่างผู้บังคับบัญชา ของกองทัพเรือ กับ สื่อมวลชนสาขาต่างๆ ที่ได้ให้ความร่วมมือกับกองเรือยุทธการ และกองทัพเรือ ด้วยดีเสมอมา อันจะทำให้ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และได้รับความร่วมมือ ในการเผยแพร่การประชาสัมพันธ์ ผลงาน ภารกิจ หน้าที่ และกิจกรรมที่สำคัญของกองเรือยุทธการ และกองทัพเรือ

กรมแพทย์ทหารเรือ มอบประกาศนียบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตร แพทย์ประจำบ้าน 5 สาขา

กรมแพทย์ทหารเรือ พัฒนาศักยภาพด้านการแพทย์อย่างไม่หยุดยั้ง จนได้การรับรองให้เป็นสถาบันผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพิ่มมากขึ้น เพื่อรับใช้สังคมไทย

นาวาโทหญิง ชะรอยบุญ ศาสตรสุข โฆษกกรมแพทย์ทหารเรือ ได้เปิดเผยว่า พลเรือโท ชลธร สุวรรณกิตติ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ เป็นประธานในพิธี มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน 5 สาขา ประกอบด้วยสาขาศัลยศาสตร์ สาขาอายุรศาสตร์ สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงเวชศาสตร์ทางทะเล และสาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา รวมทั้งสิ้น 15 นาย ซึ่งเป็นแพทย์ในส่วนของกองทัพเรือ 3 นาย และนอกกองทัพเรือ 12 นาย เมื่อวันที่ 9  มิถุนายน ที่ผ่านมา 

ซึ่งภายหลังสำเร็จการอบรมแล้ว แพทย์ที่ผ่านการอบรมจะต้องออกไปปฎิบัติหน้าที่แพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในและนอกกองทัพเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่างจังหวัดได้แก่ จังหวัดเลย, ชัยภูมิ, พิษณุโลก, ราชบุรี, ชลบุรี และตราด

'ทูตจีน' เยือนจันทบุรี ย้ำสัมพันธ์ไทยจีนแน่นแฟ้น ปลื้มชาวสวนทุเรียนไทยให้ความสำคัญกับมาตรการ GAP Plus เผยจีนนำเข้าทุเรียนไทยเพิ่ม 87%

'เฉลิมชัย' พอใจยอดส่งออกทุเรียนจากภาคตะวันออกของไทยไปจีน 4 เดือนปีนี้กว่า 4.3 แสนตัน ทำลายสถิติส่งออกมากกว่าปี 2564 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) แสดงความพอใจต่อรายงานการส่งออกทุเรียนจากภาคตะวันออกของไทยไปจีน ระหว่าง 1 ก.พ. – 5 มิ.ย. ปีนี้ มีปริมาณ 433,809.92 ตัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 มีปริมาณ 425,000 ตันซึ่งเป็นทำลายสถิติการส่งออกของฤดูกาลปี 2564 ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดจันทบุรีมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนแล้ว 91% ส่งออกแล้ว 87% สำหรับมังคุดเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 73% และส่งออกแล้ว 60%       

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำราชอาณาจักรไทย และคณะ เดินทางศึกษาดูงานด้านการเกษตร ณ จันทบุรี ในวันที่ 10 มิถุนายน โดยมีส่วนราชการ ได้แก่ นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายพิษณุ คล้ายเจตน์ดี ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 นางสาววนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ และนายภานุศักดิ์ สายพาณิชย์ นายกสมาคมทุเรียนไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ

โดยคณะได้เดินทางไปยังสวนทุเรียนรักตะวัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี จากนั้นเข้าเยี่ยมชมและหารือกับผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ ดราก้อน เฟรชฟรุ๊ต อ.มะขาม จ.จันทบุรี เพื่อรับทราบมาตรการ GMP Plus ที่มีการควบคุมดูแลผลไม้ส่งออกที่ปลอดโรคแมลงศัตรูพืชและปลอดโควิด-19 จากนั้นได้เดินทางไปยังสหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ซึ่งถือเป็นสหกรณ์ต้นแบบที่ได้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าแบบครบวงจร

ทั้งนี้นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า “ทุเรียนถือว่าเป็นราชาแห่งผลไม้หรือคิงออฟฟรุตที่ได้รับความชื่นชอบจากชาวจีนและชาวไทย ผมและคณะของผมก็เป็นผู้บริโภคทุเรียนของไทย การเดินทางมาดูสวนทุเรียนครั้งนี้ ในด้านนึงก็เพื่อศึกษาเรียนรู้การผลิตทุเรียน รวมถึงมาตรการต่างๆเพื่อควบคุมโควิด-19 อย่าง GAP Plus และที่สำคัญในฐานะผู้บริโภคที่ชื่นชอบทุเรียน  อยากแสดงความเคารพต่อผุ้ผลิตทุเรียน ที่ผลิตทุเรียนที่อร่อยผู้บริโภคชาวจีนจึงได้ชิมทุเรียนที่อร่อยสุดๆ 

"ผมจำได้ว่าครั้งแรกที่ได้ชิมทุเรียน คือ ได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อ 20 ปีก่อน แต่ตอนนี้ทุเรียนไทยมีขายทั่วไปในประเทศจีน เพราะฉะนั้นผมเองก็อยากขอบคุณกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดจันทบุรี สมาคมทุเรียนไทย และท่านสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ชวนผมมาดูสวนทุเรียนประเทศไทย 

"จีนกับไทยเป็นประเทศฉันท์มิตร ตามคำกล่าวที่ว่า จีนไทยพี่น้องกันใช่อื่นไกล ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งสองประเทศจะไปมาหาสู่กันลดลง แต่ว่าทั้งสองประเทศได้ร่วมมือร่วมใจ สนับสนุนซึ่งกันและกัน ทั้งเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้ความสัมพันธ์ไทยจีนแน่นแฟ้นกันมากขึ้นผ่านการต่อสู้เรื่องโควิด-19 ซึ่งระหว่างความสัมพันธ์ไทย-จีน คือการค้าขายสินค้าทางด้านเกษตร ซึ่งปีที่แล้วสินค้าเกษตรของไทยที่ส่งไปจีน มูลค่าทะลุ 11,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 3 แสนล้านบาท) เติบโต 33 % มีสินค้าทุเรียนที่ส่งไปจีนมูลค่า 5,430 ล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 1.6 แสนล้านบาท) เติบโต 87% 

"ตั้งแต่มีโควิดขึ้นมาพวกเราก็มีมาตรการต่างๆเพื่อป้องกัน และฝ่ายจีนก็ใช้มาตรการต่างๆเพื่อส่งเสริมการส่งออกทุเรียนไทยไปยังจีน ยกตัวอย่างเช่น มนฑลกว่างสี ในเรื่องการการอำนวยความสะดวกส่งผลไม้ไทยไปจีน ก็ได้ขยายเวลาทำการจากวันละ 8 ชั่วโมง เป็นวันละ 10 ชั่วโมง และจากทำการจากอาทิตย์ละ 5 วัน เป็นอาทิตย์ละ 7 วัน 

"ผมได้ยินว่าปีนี้ประเทศไทยมีทุเรียนออกมาเยอะมาก แต่ผมก็มั่นใจว่าการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนจะประสบความสำเร็จ ในเรื่องของการขนส่งก็ได้มีการเปิดรถไฟลาว-จีน เชื่อว่าอนาคตประเทศไทยจะส่งสินค้าไปยังประเทศจีนได้ทางรถไฟอีกทาง ตอนนี้จีนกับไทยก็ผลักดันการสร้างรถไฟไทย-จีน อนาคตจะมีการขนส่งสะดวกขึ้นเพื่อส่งสินค้าของไทยไปจีนมากขึ้น 

"ทาง นายกสมาคมทุเรียนไทยบอกผมว่าจะมีการปลูกต้นทุเรียนร่วมกัน ซึ่งผมเชื่อว่าสินค้าเกษตรโดยเฉพาะทุเรียน เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของไทย-จีน ผมเองก็หวังว่าต้นทุเรียนที่เราได้ร่วมปลูกกันจะเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ ที่ได้มีร่วมกัน"

นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้รับทราบถึงมาตรการนำเข้าสินค้าของประเทศจีนที่ต้องการให้เป็น Zero Covid จึงได้ดำเนินมาตรการคุมเข้มและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างมาตรฐานการส่งออกผลไม้ที่ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการในสวน โรงคัดบรรจุ และการขนส่ง รวมทั้งได้มีการเพิ่มมาตรการของเกษตรกร จากมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับทุเรียน (GAP) เป็น GAP Plus โดยเพิ่มเติมเรื่องการควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 ในสวน เพื่อลดเชื้อและการปนเปื้อนในผลผลิต สำหรับโรงคัดบรรจุจะเพิ่มมาตรการจากหลักเกณฑ์ในการจัดการขั้นตอนพื้นฐานของกระบวนการผลิต (GMP) เป็น GMP Plus โดยจัดทำมาตรการความปลอดภัยในโรงคัดบรรจุ (Covid Free Setting) และมาตรฐานความปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 ในผลไม้

ขณะเดียวกัน จังหวัดจันทบุรีได้ตระหนักและมีการติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ในผลไม้ส่งออกไปจีน จึงได้มีการวางมาตรการที่เข้มข้นมากขึ้น ได้แก่ การตรวจ ATK แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงคัดบรรจุเป็นประจำ การจัด Big Cleaning เพื่อทำความสะอาดโรงคัดบรรจุ และการฉีดพ่นน้ำยาก่อนการบรรจุและก่อนการขนส่งจนสินค้าที่ส่งออกเป็นที่ยอมรับ และมีการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเข้าประเทศจีนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top