
6 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) เกิดเหตุเพลิงไหม้ในอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นำไปสู่การค้นพบแผนการก่อการร้ายครั้งใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า “Project Bojinka” ซึ่งถือเป็นแผนการที่ทดลองซ้อมการก่อเหตุ ก่อนเหตุวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544
Project Bojinka เป็นแผนสังหารพระสันตะปาปา John Pal ที่ 2 พร้อมกับสร้างความตื่นกลัวให้ธุรกิจการบินทั่วโลกด้วยการระเบิดเครื่องบินโดยสารที่เดินทางระหว่างเอเชียและสหรัฐฯ พร้อมกันถึง 11 ลำ และขั้นตอนสุดท้ายของแผนนี้คือ การส่งเครื่องบินเล็กพร้อมระเบิดเต็มลำถล่มสำนักงานใหญ่ CIA โดยกลุ่ม Al Qaeda ที่ Bin Laden เป็นผู้นำ

พระสันตะปาปา John Pal ที่ 2 ขณะเสด็จเยือนกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1981 ซึ่งขณะนั้นอดีตประธานาธิบดี Ferdinand Marcos ยังอยู่ในอำนาจ

พระสันตะปาปา John Pal ที่ 2 ขณะเสด็จเยือนกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ.1995 อดีตประธานาธิบดี Fidel V. Ramos (ประธานาธิบดีในขณะนั้น) เชิญเสด็จตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ

>> 1.) แผนสังหารพระสันตะปาปา John Pal ที่ 2 ซึ่งผู้ก่อการวางแผนจะสังหารพระสันตะปาปา ขณะเสด็จเยือนกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995)

>> 2.) ระเบิดเครื่องบินโดยสารที่เดินทางระหว่างเอเชียและสหรัฐฯ พร้อมกัน 11 ลำ เพื่อสร้างความตื่นกลัวและผลกระทบทางลบอย่างรุนแรงแก่ธุรกิจการบินทั่วโลก (ประมาณการว่า หากทำการสำเร็จยอดผู้เสียชีวิตน่าจะอยู่ที่ราว 4,000 คน) ประกอบด้วย
- เที่ยวบินจากกรุงโตเกียวไปสหรัฐฯ จำนวน 4 เที่ยวบิน
- เที่ยวบินจากกรุงโซลไปสหรัฐฯ จำนวน 1 เที่ยวบิน
- เที่ยวบินจากกรุงไทเปไปสหรัฐฯ จำนวน 3 เที่ยวบิน
- เที่ยวบินจากกรุงไทเปไปกรุงเทพฯ และต่อไปสหรัฐฯ จำนวน 1 เที่ยวบิน
- เที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปสหรัฐฯ จำนวน 1 เที่ยวบิน
- เที่ยวบินจากสิงคโปร์ไปสหรัฐฯ จำนวน 1 เที่ยวบิน

** สำนักงานใหญ่ CIA Fairfax County มลรัฐ Verginia
>> 3.) ส่งเครื่องบินพร้อมระเบิดเต็มลำถล่มสำนักงานใหญ่ CIA
Project Bojinka เป็นแผนที่ผู้ช่วยคนสำคัญของ บิน ลาเดน คือ รัมซี ยูเซฟ และคาลิก ชีค โมฮัมเหม็ด ร่วมกันคิดและก่อการ แต่ผลของแผนการนี้คือ การทดสอบโดย รัมซี ยูเซฟ เอง ซึ่งทำให้เกิดไฟไหม้ในเที่ยวบิน 434 ของ Philippine Airlines ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 10 ราย โดย รัมซี ยูเซฟ เดินทางโดยเที่ยวบินในประเทศจาก มะนิลา ไป เซบู ซ่อนระเบิดในกระเป๋าเครื่องใช้ส่วนตัว แบตเตอรี่ และตัวจุดชนวนในส้นรองเท้า และใช้นาฬิกาข้อมือดิจิทัลซึ่งตั้งเวลาไว้ 4 ชั่วโมง เป็นตัวจุดชนวน ก่อนจะซ่อนไว้ในเสื้อชูชีพใต้ที่นั่งหมายเลข 26K หลังจากเครื่องลงจอดที่สนามบินเซบู และ รัมซี ยูเซฟ ออกจากเครื่องบินแล้ว นักธุรกิจเกี่ยวกับจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมชาวญี่ปุ่น ฮารุกิ อาเมกามิ (Haruki Ikegami) อายุ 24 ปีก็เข้ามานั่งแทนที่ ซึ่งเครื่องบินเกิดความล่าช้าราว 38 นาที แล้วจึงออกบินไปยังกรุงโตเกียว
การระเบิดทำให้ ฮารุกิ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่กี่นาที ผู้โดยสารในที่นั่งใกล้เคียงบาดเจ็บ 10 คน แต่กัปตัน Eduardo "Ed" Reyes นักบินสามารถนำเครื่องลงฉุกเฉินที่สนามบินนาฮา เกาะโอกินาวา ซึ่งอยู่ห่างจากจุดระเบิดไปทางตะวันตกราว 74 กิโลเมตรได้อย่างปลอดภัย

สภาพห้องโดยสารหลังเกิดเหตุระเบิดในเหตุการณ์ดังกล่าว


เครื่องบิน Boeing 747-200 ลำดังกล่าวของ Philippine Airlines

กัปตัน Eduardo "Ed" Reyes นักบินผู้สามารถนำเครื่องลงได้อย่างปลอดภัย
แผนการของยูซุฟคือ ทำระเบิดด้วยการบรรจุ Nitroglycerin ลงในขวดน้ำยาล้าง Contact Len จำนวน 14 ขวด (ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทุกสายการบินห้ามนำขวดบรรจุน้ำหรือของเหลวขึ้นเครื่องจนทุกวันนี้) ส่วนผสมอื่น ๆ ได้แก่ nitrate, sulfuric acid, และ nitrobenzene, silver azide (silver trinitride), และ acetone เหลว 9-volt batteries 2 ก้อนในระเบิดแต่ละลูกเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน ใช้นาฬิกาดิจิทัลเป็นตัวตั้งเวลาจุดระเบิด

สำหรับการลอบสังหารพระสันตะปาปา John Pal ที่ 2 ขณะเสด็จเยือนกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ครั้งที่สอง แผนคือ ให้มือระเบิดฆ่าตัวตายแต่งตัวเป็นพระคาทอลิก เมื่อสบโอกาสอยู่ใกล้พระสันตะปาปาก็กดระเบิดทันที โดยยูซุฟฝึกมือระเบิดไว้ราว 20 คน
ส่วนการส่งเครื่องบินเล็กพร้อมระเบิดเต็มลำถล่มสำนักงานใหญ่ CIA นั้น มีแผนที่จะซื้อหรือจี้เครื่องบินเล็กโดยเฉพาะแบบ Cessna เพื่อบรรทุกระเบิดเต็มลำเพื่อใช้บินโจมตีสำนักงานใหญ่ CIA ด้วยนักบินพลีชีพที่ได้รับการฝึกในมลรัฐ North Carolina