Wednesday, 2 July 2025
TheStatesTimes

พาณิชย์ทำดัชนีวัดค่าครองชีพ หวังประชาชนวางแผนใช้จ่าย

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจใหม่ 2 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มค่าบริการ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคบริการ เพื่อให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพด้านบริการมากยิ่งขึ้น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าการศึกษา เพื่อให้ประชาชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการใช้จ่ายและวางแผนดำเนินชีวิต รวมถึงให้หน่วยงานใช้ประกอบการกำหนดมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการได้แม่นยำ มากยิ่งขึ้น

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มค่าบริการ เป็นดัชนีราคาที่คัดเลือกรายการค่าบริการจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งมีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยมีทั้งสิ้น 87 รายการ จาก 430 รายการ จำนวน 14 หมวด โดยหมวดที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูงสุด 5 อันดับแรก คือ หมวดกิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูงที่สุด  54.93% ตามด้วยหมวดข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 15.88% หมวดการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 6.94% หมวดกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 6.55% และหมวดการศึกษา  4.22% 

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคบริการ เป็นเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่แสดงถึงความคิดเห็นของผู้ประกอบการภาคบริการที่มีต่อธุรกิจของตนเอง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเป็นประจำทุกปี อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย รายรับ และสินค้าคงเหลือ รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นต่อการดำเนินธุรกิจ

Click on Clear THE TOPIC EP.2/4 จับประเด็น เน้นความรู้ ตอน ปัญหาที่ดิน คือ รากฐานของความเหลื่อมล้ำ

Click on Clear THE TOPIC EP.2/4 จับประเด็น เน้นความรู้ ตอน ปัญหาที่ดิน คือ รากฐานของความเหลื่อมล้ำ

ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินในมือคนมีอันจะกิน ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การกระจายอำนาจและวางแผนแก้ไขปัญหาที่ดินอย่างจริงจังเท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งปัญหาที่ดิน คือ รากเหง้าของปัญหาความเหลื่อมล้ำ

พบกับ มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล 

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Host & Content Creator THE STATES TIMES

.

.

“ซินโครตรอน” แสงที่ไขปริศนา...คดีฆาตกรรมน้องชมพู่

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คดีการฆาตกรรมน้องชมพู่ เด็ก 3 ขวบ ในหมู่บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ที่หายตัวออกไปจากบ้าน เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 และหลังจากใช้เวลาตามหา 3 วัน ก็พบว่าเป็นศพเปลือย อยู่ในป่าบนภูเขาเหล็กไฟ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ซึ่งอยู่ห่างจากตัวบ้านที่น้องอาศัยอยู่เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร กลับเป็นข่าวดังอีกครั้ง หลังจากตำรวจใช้เวลาในการรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีจำนวนมาก เป็นระยะเวลากว่า 1 ปี เต็ม 

จากระยะเวลาที่ยาวนาน ฝ่ายตำรวจกับอัยการคงต้องทำงานหนักในเรื่องการส่งฟ้องศาล เพราะทุกความเชื่อมโยงต้องไม่ให้เกิดความน่าสงสัยในพยานหลักฐาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวจำเลยในคดีอาญา เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้ ตามคำกล่าวที่คนเรียนกฎหมายมักจะได้ยินบ่อย ๆ คือ “ปล่อยคนผิดไป 10 คน ดีกว่าจับผู้บริสุทธิ์มา 1 คน” และมีพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ตำรวจค่อนข้างจะมั่นใจ เนื่องจากเป็นพยานหลักฐานที่ใช้นิติวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ นั่นก็คือการใช้แสง “ซินโครตอน” ในการพิสูจน์ลักษณะความสอดคล้องกันของพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ ที่เชื่อมโยงกับพยานหลักฐานที่พบในผู้ต้องสงสัย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จะเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุด เนื่องจากเป็นหลักฐานที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกับพยานบุคคล ที่อาจะเปลี่ยนแปลงคำให้การได้ตลอดเวลา 

สำหรับวันนี้ จะพาทุกท่านมาดูกันว่า แสงซินโครตรอน คืออะไร และทำไมจึงใช้เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ตัวผู้กระทำความผิดได้ครับ 

แสงซินโครตอนคือแสงชนิดหนึ่ง ทั้งนี้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะได้พบเห็นแสงต่าง ๆ มากกมาย เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ แสงจากดวงจันทร์ หรือแม้กระทั่งแสงจากหิงห้อย เป็นต้น แต่แสงซินโครตรอนที่จะพูดถึงนี้เป็นแสงที่มีลักษณะพิเศษกว่าแสงชนิดอื่น คือมีความเข้ม หรือความสว่างสูงกว่าแสงอื่นเป็นอย่างมาก โดยจะมีความเข้มของแสงมากกว่าแสงจากดวงอาทิตย์เป็นล้านเท่าเลยทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของแสงจะเป็นลำกรวยขนาดเล็กทำให้มีความเข้มสูง นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากแสงซินโครตรอนถูกปลดปล่อยออกมาจากอิเล็กตรอนอิสระ ค่าความยาวคลื่นของแสงจึงครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นกว้างตั้งแต่ย่านอินฟราเรดจนถึงรังสีเอกซ์ ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย 

สำหรับแหล่งกำเนิดของแสงซินโครตรอนนั้น เกิดจากการกระตุ้นหรือเร่งให้อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง คือความเร็ว 1,080,000,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และบังคับให้เลี้ยวโค้งด้วยความเร็วนั้น ในระหว่างที่เลี้ยวโค้งนั้นจะทำให้เกิดลำแสงที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยขนาดเล็ก หลุดออกมาในระหว่างโค้ง เปรียบเทียบได้กับการที่เวลามีอะไรวิ่งมาด้วยความเร็วสูง เมื่อเลี้ยวโค้งจะทำให้มีสิ่งของหลุดออกมาได้ในระหว่างที่เลี้ยวโค้ง เนื่องจากเกิดแรงเหวี่ยงขณะเลี้ยวโค้ง ซึ่งเครื่องที่ใช้กระตุ้นหรือเร่งให้อิเล็กตรอนมีความเร็วสูงนี้ เรียกว่าเครื่องซินโครตรอน จึงเรียกแสงที่เกิดจากกรณีนี้ว่าแสงซินโครตรอน นั่นเอง 

เนื่องจากลักษณะสมบัติของแสงซินโครตรอนที่มีความเข้มสูง และมีความยาวคลื่นกว้าง ทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่าง ได้แก่การศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่มีอยู่ในวัสดุ หรือการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุต่าง ๆ โดย อาศัยหลักการ ทำให้แสงซินโครตรอนวิ่งผ่านเข้าไปกระตุ้นอะตอม ที่อยู่ภายในวัสดุที่จะวิเคราะห์ ทั้งนี้เนื่องจากแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เมื่อแสงวิ่งผ่านวัสดุหรือสิ่งกีดขวาง จะทำให้เกิดการสะท้อน การหักเห การเลี้ยวเบน หรือเกิดการกระเจิง และการดูดกลืนคลื่นแสงของวัสดุที่แสงวิ่งผ่าน

นอกจากนั้นการที่เรายิงแสงความเข้มสูงไปกระทบกับวัสดุก็ทำให้มีอิเล็กตรอนหลุดออกมาได้ เป็นไปตามทฤษฎีทางฟิสิกส์ของแสง ส่งผลให้มีการปลดปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา ซึ่งสมบัติเหล่านี้จะเป็นลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือสสารแต่ละชนิดที่มีพฤติกรรมต่อสมบัติของแสง และเมื่อนำลักษณะเหล่านี้มาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือจะทำให้ทราบลักษณะโครงสร้าง หรือองค์ประกอบของวัสดุ แต่ละชนิดได้ 

ทั้งนี้ในการใช้แสงซินโครตรอนมาช่วยวิเคราะห์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ อาศัยหลักการดังกล่าวข้างต้นของแสงซินโครตรอน มาตรวจสอบพยานหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุ และพยานหลักฐานที่พบในตัวผู้ต้องสงสัย ว่ามีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ โดยในกรณีคดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่นั้น เป็นการพิสูจน์พยานหลักฐานคือเส้นผมของน้องชมพู่ที่พบว่าถูกหั่นในที่เกิดเหตุ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเส้นผมที่พบในรถของผู้ต้องสงสัย ทั้งนี้พบว่าเป็นเส้นผมที่มีองค์ประกอบที่เหมือนกัน แสดงว่าเป็นเส้นผมของคนคนเดียวกัน นอกจากนั้นยังวิเคราะห์ได้ว่าลักษณะโครงสร้างของเส้นผมที่พบในทั้งสองจุด มีโครงสร้างที่เหมือนกันย่อมแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นเส้นผมของคนเดียวกัน ที่มาจากจุดที่เกิดเหตุเดียวกันอีกด้วย ทำให้ตำรวจมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนอีกชิ้นหนึ่ง ที่ทำให้ศาลอนุมัติออกหมายจับผู้ต้องสงสัยได้นั่นเอง 

โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษา และวิจัย รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน คือสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ครับ


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ตม.1 รวบฝรั่งคู่เกย์เฒ่าเจ้าเล่ห์ โอเวอร์สเตย์ เบี้ยวค่าเช่าอพาร์ตเม้นท์หรู ไฮโซวงการบันเทิง นานเป็นปีเกือบล้านบาท

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม.ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีหมายจับตำรวจสากล หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ปิติ นิธินนทเศรษฐ์ ผบก.ตม.1, พ.ต.อ.ศุภณัฎฐ์ เจริญเรืองสกุล รอง ผบก.ตม.1, พ.ต.อ.ยศเอก รักษาสุวรรณ รอง ผบก.ตม.1,และ พ.ต.อ.กีรติศักดิ์ ก้องเกียรติศิริ ผกก.สส.บก.ตม.1 ร่วมแถลงข่าวจับกุม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กรณีสืบเนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้รับการร้องเรียนจากเจ้าของอพาร์ตเมนท์หรูแห่งหนึ่งย่านสาทร ว่าตนเป็นเจ้าของตึกอพาร์ตเมนท์เก่าแก่ระดับหรู มีชาวต่างชาติทั้งชาวยุโรปและอเมริกันเช่าอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีราคาค่าเช่าตั้งแต่ 50,000 - 100,000 บาท ตนต้องการจะร้องเรียนว่ามีชาวต่างชาติ สูงอายุ 2 นาย เช่าพักอาศัยอยู่เป็นเวลานานแล้ว แต่ผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่าติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน (มูลค่าความเสียหายเกือบล้านบาท) ตนจึงได้ให้สำนักงานบริหารอพาร์ตเมนท์ทวงถาม ก็ได้รับคำตอบว่าไม่มีทรัพย์สินเหลือพอจะจ่ายค่าเช่า และจะไม่ยอมย้ายออกจากอพาร์ตเมนท์ดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ทั้งเรื่องสถานการณ์โควิด–19 ความชรา และมนุษยธรรม

ทางอพาร์ตเมนท์ได้มีจดหมายขอให้บุคคลทั้งสองเก็บของและย้ายออกจากอพาร์ตเมนท์ โดยยังไม่ได้พูดคุยถึงค่าเช่าที่ค้างชำระ แต่เมื่อทั้งสองได้รับจดหมายเตือนดังกล่าว นอกจากจะไม่ย้ายออกจากอพาร์ตเมนท์แล้ว ยังมีพฤติกรรมดื้อดึงขัดขืนไม่ยอมย้ายออก และนอกจากนั้นคนต่างชาติทั้งสองยังมักมีพฤติกรรมชอบออกไปเที่ยวเมาสุราและกลับมาโวยวายที่อพาร์ตเมนท์ และมีครั้งหนึ่งเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มหัวฟาดพื้นบริเวณหน้าลิฟท์ เจ้าหน้าที่อพาร์ตเมนท์ได้เรียกรถพยาบาลเพื่อนำตัวไปรักษา แต่ปรากฏว่ายังพากันหนีออกมาจากโรงพยาบาลทั้งชุดผู้ป่วยกลับมาอาศัยในอพาร์ตเมนท์ตามเดิม และรักษาตัวกันเอง ทั้งยังนำกระดาษเขียนข้อความกล่าวหาเจ้าของอพาร์ตเมนท์ต่าง ๆ นา ๆ นำไปติดทั่วอพาร์ตเมนท์

ทางอพาร์ตเมนท์เห็นว่าบุคคลทั้งสองมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยได้รับอนุญาตในเหตุผลใช้ชีวิตบั้นปลาย ประกอบกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณนั้น ควรจะมีการวางแผนการใช้จ่ายที่เป็นเรื่องเฉพาะตัว และอพาร์ตเมนท์ที่เช่าอยู่ก็มีค่าเช่าสูง แต่ทั้งนี้ทางอพาร์ตเมนท์ก็มีจิตเมตตา ที่จะพร้อมเจรจาประนีประนอมค่าเช่า หรือให้ผ่อนชำระได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม จึงได้ร้องเรียนมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้เดินทางมาตรวจสอบบุคคลทั้งสอง

เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ตม.1 ได้เคยเดินทางไปตรวจสอบเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2563 ตรวจสอบพบว่าชาวต่างชาติทั้งสองพึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้แนะนำให้ทางเจ้าของอพาร์ตเมนท์ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือดำเนินคดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีแพ่งไปก่อน ต่อมาทางเจ้าของอพาร์ตเมนท์ได้ทำการฟ้องคดีต่อศาล ผลคำพิพากษา ศาลตัดสินให้ชาวต่างชาติทั้งสองออกจากอพาร์ตเมนท์และชำระค่าเสียหายคือค่าเช่าที่ค้างชำระจำนวน เกือบ 1 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าชาวต่างชาติทั้งสองก็ยังดื้อดึงไม่ออกจากอพาร์ตเมนท์ ตนจึงแจ้งเรื่องต่อกรมบังคับคดีให้มาปิดหมายบังคับคดีที่อพาร์ตเมนท์ แต่ยังติดขัดเนื่องจากเป็นช่วงเวลาสถานการณ์โควิด-19 ทางอพาร์ตเมนท์มีความอัดอั้นใจว่าเหตุใดตนซึ่งไม่ได้มีความผิดอะไร จะต้องมาได้รับความเสียหายและรับภาระดูแลชาวต่างชาติทั้งดังกล่าว จึงได้ทำหนังสือชี้แจ้งข้อเท็จจริงต่อ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ขอให้พิจารณาไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติทั้งสองอยู่ต่อตามอำนาจหน้าที่ และขอให้เดินทางมาตรวจสอบอีกครั้ง

เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ตม.1 จึงได้จัดกำลังไปตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่เดินทางไปที่อพาร์ตเมนท์พบคนต่างชาติทั้งสองพักอาศัยอยู่ตามที่ได้รับแจ้ง เจ้าหน้าที่จึงขอตรวจสอบเอกสารการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร จากการตรวจสอบปรากฎพบว่า นายโรส กับ นายรีส การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้สิ้นสุดลงแล้ว เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งสิทธิและจับกุมนำส่งพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป  

สตม.ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม. มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดในด้านต่าง ๆรวมทั้งดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตราย ต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติ หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178  หรือที่ www.immigration.go.th

รู้เพื่อตั้งรับ 5+1 รูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ภายหลังวิกฤติโควิด

มาตรการเร่งกระจายวัคซีนโควิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศขณะนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์จากหลายฝ่ายถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยที่จะกลับสู่ระดับเดิมเช่นก่อนเกิดวิกฤติ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประสิทธิภาพของนโยบายการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิดแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ นโยบายการเงิน การคลัง ที่ผ่อนปรนต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นำไปสู่การฟื้นตัวของภาคธุรกิจ และกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ตลอดจนการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้แนวโน้มการฟื้นตัวยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และคาดเดาได้ยาก 

อย่างไรก็ตาม ตามหลักเศรษฐศาสตร์ได้อธิบายถึง 5 รูปแบบ ของการฟื้นตัวหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่  V, U, W, Swoosh และ L-Shape ที่กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในขณะนี้ 

ที่มา ห้องเรียนนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7516&type=article)

1.) การฟื้นตัวแบบ V-Shape (V-Shape Rebound) “ลงเร็ว ฟื้นเร็ว”

เป็นรูปแบบที่ถูกคาดหวังอยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด คือ เมื่อประเทศผ่านวิกฤติซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดไปแล้ว เศรษฐกิจจะพลิกฟื้นกลับสู่ระดับเดิมได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศและรายได้จากการท่องเที่ยวที่ยังอาจไม่กลับมาฟื้นตัวในปีนี้ ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในลักษณะนี้มีความเป็นไปได้ยาก

2.) การฟื้นตัวแบบ U-Shape (U-Shape Rebound) “หดตัวนาน ฟื้นตัวช้า”

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจเป็นไปได้สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยมีรูปแบบคล้ายกับ V-Shape แต่แตกต่างตรงระยะเวลาของผลกระทบที่อาจนานกว่า ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่า ก่อนที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ระดับเดิม ทั้งนี้การออกนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญถึงระยะเวลาที่เศรษฐกิจไทยจะสามารถผ่านพ้นช่วงฐานตัว U ไปได้ช้าเร็วเพียงใด

3.) การฟื้นตัวแบบ W-Shape (W-Shape Rebound) “ฟื้นเร็ว ดิ่งลงรอบสอง”

จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด หากเกิดการระบาดในระลอกใหม่อย่างรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ และรัฐบาลเลือกใช้มาตรการล็อกดาวน์ ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีรูปแบบ “ดับเบิ้ล ดิป” ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจหรือจุดที่ต่ำที่สุดอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น มาตรการผ่อนปรนที่ถูกใช้ในเวลาหรือสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวในรูปนี้ก็เป็นได้

4.) การฟื้นตัวแบบ Swoosh (Swoosh Rebound) “ไถลลงเร็ว ค่อยๆ ฟื้นตัว” หรือ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามแบบ “รูปเครื่องหมายไนกี้”

เป็นการไถลลงเร็วแบบตัว V และค่อยๆ ฟื้นตัว โดยการฟื้นตัวของนี้จะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายถูกหางยาว ที่แสดงถึงการเติบโตอย่างเชื่องช้า แต่สุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้ก็ไปในแนวโน้มที่ดีและพุ่งขึ้นเหมือนเดิม ซึ่งเป็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามการผ่อนปรนมาตรการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้การค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศในช่วงแรกยังคงทำได้อย่างจำกัด

5.) การฟื้นตัวแบบ L-Shape (L-Shape Rebound) “หดตัวยาวนาน ไร้สัญญาณการฟื้นตัว” 

เป็นรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ที่เมื่อเศรษฐกิจปรับลดลงแล้ว อัตราการขยายตัวจะไม่สามารถกระตุ้นให้กลับมาเป็นปกติเท่ากับระดับก่อนหน้าเกิดวิกฤติได้ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจซบเซาต่อเนื่องยาวนาน และไม่รู้ว่า่จะกลับมาอยู่ในระดับเดิมได้หรือไม่ ดังเช่น วิกฤติโลก Great Depression ที่ใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการฟื้นตัว ซึ่งการฟื้นตัวในรูปแบบนี้อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ และเกิดภาวะถดถอยในระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง 

นอกจากนี้ มีการกล่าวถึงรูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่งเพิ่มเติม คือ รูปแบบ K-Shaped หรือ ตัวอักษร K ซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกลับสู่ระดับเดิมได้และขยายตัวต่อเนื่องในบางกลุ่ม (แทนหางของตัว K ที่ชี้ขึ้นไปข้างบน) ขณะเดียวกันสำหรับบางกลุ่มอาจยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ และยังคงเผชิญกับภาวะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ (แทนหางของตัว K ที่ชี้ลงมาด้านล่าง)

ที่มา : บทความการฟื้นตัวแบบรูปตัว K ของเศรษฐกิจไทย: ในวิกฤตยังมีโอกาส ธนาคารแห่งประเทศไทย (https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_31May2021.aspx)

อย่างไรก็ตาม แสงสว่างปลายอุโมงที่อาจเริ่มมองเห็นได้ในขณะนี้ คงเป็นความหวังของทุกคนที่จะร่วมใจผ่านพ้นวิกฤติโควิดของประเทศในครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7516&type=article
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_31May2021.aspx
https://www.prachachat.net/public-relations/news-521654
https://www.terrabkk.com/news/198705/


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รมว.แรงงาน แจงเหตุประกันสังคมยกเลิกคิวฉีดวัคซีนไปเป็น 28 มิ.ย. ยัน ไม่ใช่เพราะวัคซีนไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะข้อมูลจากบริษัทสับสน

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. สำนักงานประกันสังคม ได้มีการส่งหนังสือแจ้งเวียนไปยังสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครฯ ที่ประสงค์ให้ผู้ประกันตน ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามนัด ว่าจะขอฉีดวัคซีนในวันนี้เป็นวันสุดท้ายเพื่อปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว ทั้งหมด 45 ศูนย์ ตั้งแต่วันที่ 12-27 มิ.ย.นี้ เพื่อขอเคลียร์ยอดพนักงานหรือแรงงานของบริษัทต่างๆ ที่จะขอรับการฉีดวัคซีนโควิดมาให้กับสำนักงานประกันสังคม เนื่องจากพบปัญหาว่าบางบริษัทส่งยอดพนักงานเข้ามาจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อถึงเวลานัดหมายฉีดวัคซีนจริงกลับมีจำนวนไม่ตรงกับยอดที่แจ้งไว้ และจะเปิดใหม่อีกครั้ง ในวัน 28 มิ.ย.

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม จะปิดปรับปรุงศูนย์บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้ง 45 ศูนย์ในวันที่ 12-27 มิ.ย.นี้

ทั้งนี้ ยืนยันว่า การปิดให้บริการฉีดวัคซีนดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะปัญหาได้รับจัดสรรวัคซีนไม่เพียงพอ เนื่องจากกระทรวงแรงงาน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1 ล้านโดส และเริ่มทยอยจัดส่งมา ตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับผู้ประกันตนในระบบไปแล้วตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา

 

ที่มา : https://www.posttoday.com/politic/news/655272

https://www.infoquest.co.th/2021/95582


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดกาญจนบุรี “ทลายแก๊งลักลอบส่งออกรถจักรยานยนต์” ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้ว “จับกุมแก๊งคนจีนลักลอบเข้าเมืองพร้อมขบวนการ”

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม.ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีหมายจับตำรวจสากล หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ ฐากูรปุณยสิริ ผบก.ตม.3, และ ว่าที่ พ.ต.อ.จิรพงศ์ รุจิรดำรงค์ชัย ผกก.สส.บก.ตม.3 ร่วมแถลงข่าวจับกุม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1). ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดกาญจนบุรี “ทลายแก๊งลักลอบส่งออกรถจักรยานยนต์” ในห้วงที่ผ่านมา ตม.จว.กาญจนบุรี เข้มงวดกวดขันกับขบวนการลักลอบเข้า-ออกตามแนวชายแดนธรรมชาติอยู่เสมอมา โดยยกตัวอย่างในกรณีนี้ กลุ่มผู้ต้องหามีความพยายามนำรถจักรยานยนต์ออกจากประเทศไทยโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากรที่ถูกต้อง ทั้งยังให้การช่วยเหลือช่อนเร้น นำพา บุคคลต่างด้าวซึ่งหลบหนีเข้าเมืองโดยการขนย้ายฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯอีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ก่อนเกิดเหตุชุดจับกุมได้ทำการสืบสวนทราบว่า จะมีกลุ่มบุคคลลักลอบขนย้ายรถจักรยานยนต์โดยใช้เส้นทางออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเมียนมาร์ ผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณชายป่าห้วยวายอ ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี จึงได้วางแผนทำการจับกุมโดยได้บูรณาการกำลังกับหลายหน่วยงานราชการในพื้นที่ไปดักซุ่มอยู่บริเวณดังกล่าว ขณะซุ่มดูอยู่จนถึงเวลาประมาณ 00.30 น. ได้พบเห็นรถยนต์กระบะ จำนวน 2 คัน บรรทุกรถจักรยานยนต์ด้านหลังกระบะทั้ง 2 คัน ขับเข้ามาในที่เกิดเหตุลักษณะต้องสงสัยตามข้อมูลทางการสืบสวน ระยะเวลาต่อมาไม่นานขณะที่ซุ่มสังเกตอยู่พบว่ามีกลุ่มบุคคลลักษณะคล้ายคนเมียนมาเดินมาขึ้นรถ 2 คันดังกล่าว จึงเข้าไปตรวจสอบพบว่ารถกระบะคันแรก เป็นรถยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีโก้ สีน้ำตาล บรรทุกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 คัน เป็นรถยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟ สีขาว มีนายโลโซ อายุ 43 ปี  ผู้ต้องหาที่ 1 เป็นผู้ขับและมีนายชยากร อายุ 21 ปี ผู้ต้องหาที่ 3 เป็นผู้นั่งโดยสารมาด้วยในรถ รถกระบะคันที่สอง เป็นรถยี่ห้อเชฟโรเล็ต สีขาว บรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คัน เป็นรถยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟ125ไอ สีเทาดำ และรถยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟไอ สีดำ มีนายเชนโกอู อายุ 21 ปี ผู้ต้องหาที่ 2 เป็นผู้ขับรถ มีนายนิชาออง อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาที่ 4 นายอองเมียวทู อายุ 19 ปี ผู้ต้องหาที่ 5 และนายโซ้ง อายุ 20 ปี ผู้ต้องหาที่ 6 เป็นผู้นั่งโดยสารมาด้วยในรถ ในส่วนกลุ่มคนต่างด้าวชาวเมียนมาอีก 19 คนนั้น ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคนหลบหนีเข้าเมือง ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารอื่นติดตัวมาอย่างใด

การแจ้งข้อกล่าวหา : ผู้ต้องหาที่ 1-6 “ร่วมกันพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังไม่ผ่านพิธีการศุลกากร”

ผู้ต้องหาที่ 1-2 “ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ ให้บุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุม”

ผู้ต้องหาที่ 7-25 (คนต่างด้าว 19 คน) “เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือผู้ว่าราชการ ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความแห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548”

 การตรวจยึดของกลาง :

1. รถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีโก้ สีน้ำตาล ทะเบียน กาญจนบุรี

2. รถยนต์กระบะ ยี่ห้อเชฟโรเล็ต สีขาว ทะเบียน กรุงเทพฯ

3. รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟ๑๒๕ไอ สีขาว ไม่ติดป้ายทะเบียน

4. รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟ๑๒๕ไอ สีเทา-ดำ ไม่ติดป้ายทะเบียน

5. รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟไอ สีดำ ไม่ติดป้ายทะเบียน

6. โทรศัพท์มือถือ จำนวน 2 เครื่อง

สอบถามผู้ต้องหาที่ 1-6 ให้การรับสารภาพสอดคล้องกันว่า รับการว่างจ้างจากนายหน้าฝั่งประเทศเมียนมาโดยการติดต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ ให้บรรทุกรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยไปส่งที่เมียนมาโดยในระหว่างทางให้แวะรับผู้ต้องหาที่ 7-25 ไปด้วยและรับค่าจ้างเที่ยวละ 3,000 – 5,000 บาท จากการสืบสวนมีข้อมูลเป็นไปได้ว่ากลุ่มขบวนการนี้อาจลักลอบกระทำผิดในลักษณะเดียวกันอยู่หลายครั้ง

โดยในส่วนรถยนต์กระบะของกลางตรวจสอบประวัติย้อนหลังพบว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับการกระทำผิดข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ(เดินทางข้ามพื้นที่ควบคุมโรค) มาแล้วถึง 2 ครั้ง จึงจับกุมตัวพร้อมของกลางนำส่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย

2). ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้ว “จับกุมแก๊งคนจีนลักลอบเข้าเมืองพร้อมขบวนการ”

ในห้วงนี้ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้วมีการเข้มงวดตรวจสอบตรึงแนวชายแดนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกวดขันจับกุมบุคคล ที่ลักลอบเข้า–ออกไม่ผ่านช่องทางที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง ตลอดจนขบวนการที่คอยช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้อยู่ ในครั้งนี้ได้ทำการจับกุม กลุ่มคนจีนซึ่งใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านลักลอบเข้ามาตามช่องทางธรรมชาติโดยต้องการจะลักลอบเดินทางออกไปประเทศกัมพูชา โดยสามารถจับได้พร้อมขบวนการช่วยเหลือซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ก่อนเกิดเหตุ ชุดสืบสวนตม.จว.สระแก้ว ได้ร่วมทำการสืบสวนทราบว่าจะมีการลักลอบเดินทางเข้าหลบหนีเข้าเมืองผ่านพื้นที่บ้านโคคลาน ม.1 ต.โคคลาน อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยใช้รถยนต์เก๋ง ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นยาริส สีขาว จึงได้บูรณาการกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันในพื้นที่วางแผนจับกุม  โดยทำการไปดักซุ่มบริเวณที่เกิดเหตุ เมื่อถึงเวลาประมาณ 10.00 น. ได้พบรถยนต์ลักษณะตรงตามข้อมูลที่สืบสวนมาจึงได้เข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรถคันดังกล่าว พบว่าเป็นรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นยาริส สีขาว สระแก้ว มีนายศักดิ์ชายผู้ต้องหาที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าว ตรวจพบคนต่างด้าวเชื้อชาติจีนอีกจำนวน 6 คน ผู้ต้องหาที่ 2-7 นั่งอัดกันโดยสารมากับรถตรวจสอบแล้วไม่มีเอกสารหลักฐานหนังสือเดินทางอย่างใด

การแจ้งข้อกล่าวหา : ผู้ต้องหาที่ 1 “นำพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรหรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการอุปการะหรือช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย”

ผู้ต้องหาที่ 2-7 (คนต่างด้าวชาวจีน) “เป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต”

การตรวจยึดของกลาง : รถยนต์เก๋ง ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นยาริส สีขาว ทะเบียน สระแก้ว

จากการซักถามผู้ต้องหาที่ 1 ให้การยอมรับสารภาพว่าได้รับการจ้างวานให้รับคนจีนไปส่งยังบริเวณใกล้พรมแดนธรรมชาติ บ้านกุดเตย ม.5 ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดยจะมีคนมารับอีกทอดรับค่าจ้างจำนวน หัวละ 800 บาท โดยรับว่าทำเป็นลักษณะเช่นนี้เป็นประจำหลายครั้ง

ซักถามผู้ต้องหาที่ 2-7 ให้การรับสารภาพว่า เดินทางมาจากเมืองยูนนาน ประเทศจีน เดินทางผ่านประเทศเมียนมา จำนวน 3 วัน ลักลอบเข้ามาประเทศไทยพักที่กรุงเทพฯ 2 วัน และเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุ ต้องการข้ามไปทำงานที่คาสิโนในประเทศกัมพูชา ทางชุดจับกุมจะได้สืบสวนขยายผลติดตามขบวนการซึ่งให้ความช่วยเหลือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดีต่อไป

สตม.ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม. มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดในด้านต่างๆรวมทั้งดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตราย ต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติ หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178  หรือที่ www.immigration.go.th

 

กก.สส.บก.ตม.4 ตรวจเข้มต่างด้าวในพื้นที่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบ Overstay หลายราย รวมกันกว่า 10 ราย

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีหมายจับตำรวจสากล หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ ผบก.ตม.4, พ.ต.อ.พิษณุ สิทธิฑูรย์ ผกก.สส.บก.ตม.4 ร่วมแถลงข่าวจับกุม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตามนโยบายของ ผบก.ตม.4 ให้ตรวจสอบบุคคลต่างด้าวที่อยู่และเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาติสิ้นสุดในพื้นที่ อีกทั้งเน้นย้ำป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บก.ตม.4 โดยกองกำกับการสืบสวนสอบสวนตรวจคนเข้าเมือง 4 จึงนำรถยนต์ตรวจการอัจฉริยะ(BMW) ออกตรวจสอบพื้นที่รับผิดชอบ เมื่อพบบุคคลต่างด้าวต้องสงสัย และเดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง จึงได้เชิญตัวมาตรวจสอบด้วยระบบสารสนเทศสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(Biometrics) ซึ่งสามารถตรวจพบและจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทั้งสิ้น จำนวน 14 ราย ได้แก่

 1. Mr.Njibili สัญชาติ แคมเมอรูน overstay จำนวน 2,779 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดขอนแก่น

 2. Mr.Atemapac สัญชาติ แคมเมอรูน overstay จำนวน 1931 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดขอนแก่น

 3. MR.SEN อายุ 25 ปี สัญชาติ กัมพูชา overstay จำนวน 1,436 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดชัยภูมิ

 4. MR.MOHAMED อายุ 69 ปี สัญชาติ เมียนมา overstay จำนวน 1,350 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดอุดรธานี

 5. MR.YOGESH อายุ 29 ปี สัญชาติ อินเดีย overstay จำนวน 1,267 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดสุรินทร์

 6. MR.ANAND อายุ 19 ปี สัญชาติ อินเดีย overstay จำนวน 996 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดร้อยเอ็ด

 7. MR.SHRAVAN อายุ 29 ปี สัญชาติ อินเดีย overstay จำนวน 979 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดนครราชสีมา

 8. MR.BHOLA อายุ 31 ปี สัญชาติ อินเดีย overstay จำนวน 764 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดยโสธร

 9. MR.SHAILENDRA อายุ 32 ปี สัญชาติ overstay จำนวน 742 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดสุรินทร์

 10. MR.VALENDAR อายุ 31 ปี สัญชาติ อินเดีย overstay จำนวน 715 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดยโสธร

 11. MR.RAJESH อายุ 32 ปี สัญชาติ overstay จำนวน 672 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดนครราชสีมา

 12. MR.SANTOSH อายุ 41 ปี สัญชาติ อินเดีย overstay จำนวน 664 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดมหาสารคาม

 13. Mr.Nwofor สัญชาติ แคมเมอรูน overstay จำนวน 495 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดขอนแก่น

 14. MR.DINH อายุ 31 ปี สัญชาติ เวียดนาม overstay จำนวน 213 วัน จับกุมได้ที่จังหวัดหนองคาย

 จึงนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวนในพื้นที่ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สตม.ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม. มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดในด้านต่างๆรวมทั้งดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตราย ต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติ หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178  หรือที่ www.immigration.go.th

‘Checkpoint Charlie’ (เช็กพอยท์ชาลี) จุดตรวจต่างแดน ตัวแทนการแบ่งแยก ในยุคสงครามเย็น

ในยุคสงครามเย็นมีเรื่องราวของ Checkpoint Charlie มากมายด้วยจุดตรวจผ่านแดนในอดีต ที่กั้นประชาชนชาวเยอรมัน 2 ฝ่าย คือฝั่งเสรีประชาธิปไตย (ฝั่งของเยอรมันตะวันตก) และฝ่ายคอมมิวนิสต์ (ฝั่งของเยอรมันตะวันออก) ซึ่งอยู่ภายใต้สหภาพโซเวียต ปัจจุบันเมื่อรวมเป็นเยอรมันเดียวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 แล้ว Checkpoint Charlie จึงกลายเป็น Landmark ของกรุง Berlin ที่นักท่องเที่ยวต้องไปเยี่ยมชม เลยขอนำมาเขียนเป็นบทความนี้ครับ

Walter Ulbricht ผู้นำเยอรมันตะวันออกในขณะนั้นได้รับความเห็นชอบจากสหภาพโซเวียต ให้สร้างกำแพงเบอร์ลินในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)

Checkpoint Charlie เป็นจุดตรวจผ่านแดนที่รู้จักกันดีที่สุดระหว่างเบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตกในช่วงสงครามเย็น (พ.ศ. 2490-2534) ตามที่พันธมิตรตะวันตกตั้งชื่อ Checkpoint Charlie เกิดจากการที่ Walter Ulbricht ผู้นำเยอรมันตะวันออกในขณะนั้นได้รับความเห็นชอบจากสหภาพโซเวียตให้สร้างกำแพงเบอร์ลินในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เพื่อยุติการอพยพ และการหลบหนีไปเยอรมันตะวันตก เป็นการป้องกันการหลบหนีข้ามพรมแดนจากเบอร์ลินตะวันออกไปยังเบอร์ลินตะวันตก 

Checkpoint Charlie จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ซึ่งเป็นตัวแทนของการแบ่งแยกระหว่างเยอรมันตะวันออกกับเยอรมันตะวันตก รถถังโซเวียตและอเมริกันเคยเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาสั้น ๆ ณ จุดนี้ในช่วงวิกฤต Berlin ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2506 ประธานาธิบดี John F. Kennedy แห่งสหรัฐอเมริกาได้เยี่ยมชม Checkpoint Charlie และมองเข้าไปใน Berlin ตะวันออกจากแท่นบนกำแพง Berlin

ชาวเยอรมันตะวันออกหลบหนีออกจาก Berlin ตะวันออกด้วยวิธีการต่างๆ

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 วิธีการจำกัดการย้ายถิ่นฐานของสหภาพโซเวียตได้รับการเลียนแบบโดยกลุ่มตะวันออกที่เหลือส่วนใหญ่ รวมทั้งเยอรมนีตะวันออกด้วย อย่างไรก็ตามในเยอรมนีที่ถูกยึดครองจนถึงปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) เส้นแบ่งระหว่างเยอรมนีตะวันออกกับเขตที่ถูกยึดครองทางตะวันตกส่วนใหญ่ยังคงสามารถข้ามไปมาได้อย่างง่ายดาย ต่อมาพรมแดนเยอรมันชั้นในระหว่างสองประเทศในเยอรมนีถูกปิด และมีการสร้างรั้วลวดหนามขึ้น

พรมแดนของเขต Berlin จึงเป็น "ช่องโหว่" ที่ประชาชนเยอรมันตะวันออกยังสามารถใช้หลบหนีได้

แม้หลังจากปิดพรมแดนเยอรมันชั้นในอย่างเป็นทางการในปี ปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) เขตแดนของเมือง Berlin ตะวันออกและ Berlin ตะวันตกยังคงสามารถข้ามไปมาได้ง่ายกว่าพรมแดนอื่น ๆ ที่เหลือ เนื่องจากถูกปกครองโดยพันธมิตรทั้งสี่ (สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหภาพโซเวียต) ดังนั้น Berlin จึงกลายเป็นเส้นทางหลักที่ชาวเยอรมันตะวันออกออกอพยพเข้าเยอรมันตะวันตก ดังนั้นพรมแดนของเขต Berlin จึงเป็น "ช่องโหว่" ที่ประชาชนเยอรมันตะวันออกยังสามารถใช้หลบหนีได้

ทหารเยอรมันตะวันออก หลบหนีออกจาก Berlin ตะวันออก

ชาวเยอรมันตะวันออก 3.5 ล้านคน ที่อพยพออกมาในปี พ.ศ. 2504 คิดเป็นจำนวนรวมประมาณ 20% ของประชากรชาวเยอรมันตะวันออกทั้งหมด ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นมักเป็นเยาวชนและผู้ที่มีการศึกษาดี ความสูญเสียดังกล่าวเกิดขึ้น ทำให้จำนวนผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร ช่างเทคนิค แพทย์ ครู ทนายความ และช่างฝีมือ ไม่สมส่วนและขาดแคลน สภาวะสมองไหลของผู้เชี่ยวชาญได้ทำลายความน่าเชื่อถือทางการเมืองและความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันออกอย่างมาก จำเป็นต้องจัดตั้งด่านและระบบการควบคุมชายแดนตามแบบสหภาพโซเวียต ระหว่างปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949)  ถึง พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ชาวเยอรมันตะวันออกกว่า 2.5 ล้านคน หลบหนีไปยังเยอรมันตะวันตก และจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงสามปีก่อนที่กำแพง Berlin จะถูกสร้างขึ้น โดยมีจำนวน 144,000 คน ในปี พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959), และ 199,000 คน ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) และ 207,000 คน ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เศรษฐกิจของเยอรมันตะวันออกได้รับความเดือดร้อน และเสียหายอย่างมาก

กำแพงลวดหนามกลายเป็นกำแพงที่แยก Berlin ตะวันออกและตะวันตกออกจากกัน ถูกสร้างขึ้นโดยเยอรมันตะวันออก

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 กำแพงลวดหนามกลายเป็นกำแพง ซึ่งแยก Berlin ตะวันออกและตะวันตกออกจากกัน ถูกสร้างขึ้นโดยเยอรมันตะวันออก สองวันต่อมาวิศวกรของตำรวจและกองทัพเริ่มสร้างกำแพงคอนกรีตถาวรขึ้นตลอดแนวเขตแดนยาว 830 ไมล์ (1336 กม.) ข้างกำแพงนั้นกว้าง 3.5 ไมล์ (5.6 กม.) ทางด้านเยอรมันตะวันออกในบางส่วนของเยอรมนี โดยมีรั้วตาข่ายเหล็กสูงทอดยาวไปตาม "แถบมรณะ" ที่ล้อมรอบด้วยทุ่นระเบิด เช่นเดียวกับช่องทางไถดินเพื่อชะลอการหลบหนี และแสดงรอยเท้าได้ง่ายขึ้น

Checkpoint Charlie เป็นจุดผ่านแดนของกำแพง Berlin ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางแยก Friedrichstraße กับ Zimmerstraße และ Mauerstraße (ซึ่งด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่เก่ากว่านั้นบังเอิญหมายถึง 'Wall Street') อยู่ในย่าน Friedrichstadt โดย Checkpoint Charlie ถูกกำหนดให้เป็นจุดข้ามแห่งเดียว (ด้วยการเดินเท้าหรือโดยรถยนต์) สำหรับชาวต่างชาติและสมาชิกของกองกำลังพันธมิตร (สมาชิกของกองกำลังพันธมิตรไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้จุดผ่านแดนจุดอื่น ๆ ที่กำหนดไว้สำหรับใช้โดยชาวต่างชาติ เช่น สถานีรถไฟ Friedrichstraße)

ชื่อ Charlie มาจากตัวอักษร C ตามอักษรรหัสของ NATO ในทำนองเดียวกันสำหรับด่านอื่น ๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรบน Autobahn จากตะวันตก เรียกว่า Checkpoint Alpha ที่ Helmstedt และ Checkpoint Bravo ที่เทียบเท่ากันที่ Drelinden, Wannsee ตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้ของ Berlin และ โซเวียตเรียกว่า จุดผ่านแดน KPP Fridrikhshtr ชาวเยอรมันตะวันออกเรียก Checkpoint Charlie อย่างเป็นทางการว่า Grenzübergangsstelle ("Border Crossing Point") Friedrich-/Zimmerstraße

Cafe Adler ("Eagle Café") ตั้งอยู่ที่จุดตรวจ เป็นจุดชมวิวที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการชม Berlin ตะวันออกขณะรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม

Checkpoint Charlie เป็นจุดตรวจที่กำแพง Berlin ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด จึงปรากฏในภาพยนตร์และหนังสือ ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงและจุดชมวิวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ และผู้มาเยือน Cafe Adler ("Eagle Café") ตั้งอยู่ที่จุดตรวจ เป็นจุดชมวิวที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการชม Berlin ตะวันออก ขณะรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม

Checkpoint Charlie มีความไม่สมดุลอย่างน่าประหลาด ในช่วงที่ใช้งาน 28 ปี โครงสร้างพื้นฐานทางฝั่งตะวันออก ได้ขยายให้ครอบคลุมไม่เพียงแค่กำแพง หอสังเกตการณ์ และแนวซิกแซกเท่านั้น แต่ยังมีโรงจอดรถหลายช่องทางสำหรับตรวจสอบรถยนต์และผู้โดยสาร อย่างไรก็ตามผู้มีอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรไม่เคยสร้างอาคารถาวรใด ๆ เลย และสร้างขึ้นเป็นเพิงไม้ที่มีชื่อเสียง ซึ่งถูกแทนที่ในช่วงทศวรรษ 1980 ด้วยโครงสร้างโลหะที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พันธมิตรใน Berlin เหตุผลของพวกเขา คือพวกเขาไม่ได้ถือว่าเขตแดนของ Berlin ชั้นในเป็นพรมแดนระหว่างประเทศ

รถถังโซเวียตและอเมริกันเคยเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาสั้น ๆ ณ จุดนี้ในช่วงวิกฤต Berlin ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)

ไม่นานหลังจากการก่อสร้างกำแพง Berlin ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2504 เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างรถถังสหรัฐและโซเวียตที่ด่านชาร์ลีทั้งสองด้าน เริ่มเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม จากข้อโต้แย้งว่า เจ้าหน้าที่รักษาชายแดนของเยอรมันตะวันออกได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบเอกสารการเดินทางของนักการทูตสหรัฐฯ ที่อยู่ใน Berlin ตะวันตกชื่อ Allan Lightner มุ่งหน้าไปยัง Berlin ตะวันออกเพื่อชมการแสดงโอเปร่าที่นั่นหรือไม่ เนื่องจากตามข้อตกลงระหว่างทุกฝ่าย สี่มหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรที่ยึดครองเยอรมนี จะต้องอนุญาตให้กองกำลังพันธมิตรในกรุง Berlin เดินทางได้อย่างอิสระเสรี และไม่มีกองกำลังทหารเยอรมัน จากทั้งเยอรมนีตะวันตกหรือเยอรมนีตะวันออกมาประจำการในตัวเมือง และยิ่งไปกว่านั้นสหรัฐอเมริกา (ในขั้นต้น) ไม่ได้ยอมรับความเป็นรัฐตะวันออกของเยอรมนี และสิทธิที่จะคงอยู่ในเมืองหลวง Berlin ตะวันออกที่ประกาศตนเอง ในทางกลับกัน ชาวอเมริกันยอมรับเพียงอำนาจของโซเวียตเหนือเบอร์ลินตะวันออก มากกว่าความเป็นเยอรมันตะวันออก 

วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504 รถถังโซเวียตสิบคันและรถถังอเมริกันจำนวนเท่ากันจอดห่างกัน 100 หลา ณ จุดตรวจทั้งสองฝั่ง การเผชิญหน้าครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยความสงบในวันที่ 28 ตุลาคม หลังจากการทำความเข้าใจระหว่างสหรัฐฯ-โซเวียตในการถอนรถถังและลดความตึงเครียด การเจรจาระหว่างรัฐมนตรียุติธรรม (อัยการสูงสุด) ของสหรัฐอเมริกา Robert F. Kennedy และหัวหน้า KGB Georgi Bolshakov มีส่วนอย่างสำคัญในการบรรลุข้อตกลงนี้โดยปริยาย

พลเมืองของเยอรมันตะวันออกได้ขับรถฝ่าสิ่งกีดขวางด้วยรถเปิดประทุน โดยถอดกระจกบังลมออกก่อน และพุ่งลอดใต้ที่กั้น

กำแพง Berlin ถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วโดยรัฐบาลเยอรมันตะวันออกในปี พ.ศ. 2504 แต่มีวิธีการหลบหนีมากมายที่ไม่คาดคิด ตัวอย่างเช่น Checkpoint Charlie ในขั้นต้นถูกปิดกั้นโดยประตูเท่านั้น และพลเมืองของเยอรมันตะวันออกได้ขับรถฝ่าผ่านเข้าไปเพื่อหลบหนี จึงมีการสร้างเสาที่แข็งแรงมั่นคง ผู้หลบหนีอีกคนหนึ่งพยายามฝ่าสิ่งกีดขวางด้วยรถเปิดประทุน โดยถอดกระจกบังลมออกก่อน และพุ่งลอดใต้ที่กั้น สิ่งนี้ถูกทำซ้ำในอีกสองสัปดาห์ต่อมา ดังนั้นเยอรมันตะวันออกจึงลดความสูงของเครื่องกั้น และเพิ่มเสากั้นให้มากขึ้น

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2505 Peter Fechter วัยรุ่นชาวเยอรมันตะวันออกถูกยิงที่กระดูกเชิงกรานโดยทหารเยอรมันตะวันออกขณะพยายามหลบหนีจาก Berlin ตะวันออก ร่างของเขาติดอยู่ในรั้วลวดหนาม และเลือดออกจนตาย ในมุมมองของสื่อทั่วโลกทหารอเมริกันไม่สามารถช่วยชีวิตเขาได้ เพราะเขาอยู่ในเขตโซเวียตไม่กี่เมตร ทหารรักษาการณ์ชายแดนของเยอรมันตะวันออกไม่เต็มใจที่จะเข้าไปช่วยเขา เพราะเกรงว่าจะเป็นการยั่วยุทหารฝั่งตะวันตก ซึ่งหนึ่งในนั้นได้ยิงตำรวจชายแดนของเยอรมันตะวันออกเมื่อไม่กี่วันก่อน อีกกว่าหนึ่งชั่วโมงต่อมาร่างของ Fechter ก็ถูกทหารเยอรมันตะวันออกนำออกมา การประท้วงเกิดขึ้นเองที่จุดตรวจฝั่งอเมริกัน เป็นการประท้วงต่อต้านการกระทำของตะวันออกและความเฉยเมยของตะวันตก

อนุสรณ์สถานสงครามโซเวียต ซึ่งตั้งอยู่ใน Tiergarten ในเขตของอังกฤษ (ในขณะนั้น)

สองสามวันต่อมา ฝูงชนขว้างก้อนหินใส่รถบัสของสหภาพโซเวียตที่ขับไปยังอนุสรณ์สถานสงครามโซเวียต ซึ่งตั้งอยู่ใน Tiergarten ในเขตของอังกฤษ โซเวียตซึ่งพยายามคุ้มกันรถบัสด้วยรถหุ้มเกราะ (APCs) หลังจากนั้น โซเวียตได้รับอนุญาตให้ข้ามได้เฉพาะทางข้ามสะพาน Sandkrug (ซึ่งใกล้ Tiergarten ที่สุด) และห้ามมิให้นำรถหุ้มเกราะ (APCs) เข้ามา หน่วยทหารเยอรมันตะวันตกถูกส่งไปปฏิบัติการในตอนกลางดึกของต้นเดือนกันยายน พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์และยานพาหนะเพื่อบังคับใช้คำสั่งห้าม

คืนวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ส่วนหนึ่งของกำแพง Berlin ถูกเปิดออก

ในคืนวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ส่วนหนึ่งของกำแพง Berlin ถูกเปิดออก แม้ว่ากำแพง Berlin จะถูกรื้อทุบในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และ ส่วนที่กำบังของ Checkpoint Charlie ถูกรื้อออกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2533 เพิงตรวจของ Checkpoint Charlie ยังคงเป็นจุดผ่านแดนอย่างเป็นทางการสำหรับชาวต่างชาติและนักการทูต จนกระทั่งการรวมชาติเยอรมันสำเร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 Checkpoint Charlie ได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักของกรุง Berlin ที่ซึ่งเศษชิ้นส่วนของจุดผ่านแดนดั้งเดิมบางส่วนผสมกับชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นอนุสรณ์สถานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว อาคารหลังที่สองในฝั่งอเมริกันถูกย้ายออกไปในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) 

เพิงตรวจปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ของพิพิธภัณฑ์พันธมิตรใน Berlin-Zehlendorf ป้อมยามจำลองและป้ายที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นจุดผ่านแดนถูกสร้างใหม่ในภายหลัง ในขนาดเดียวกันโดยคร่าว ๆ คล้ายกับเรือนยามหลังแรกที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยอยู่หลังแนวกั้นกระสอบทราย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ป้อมนี้ถูกแทนที่หลายครั้งด้วยป้อมยามที่มีขนาดและรูปแบบต่างกัน ที่ถูกรื้อออกระหว่างปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) มีขนาดใหญ่กว่าอันแรกมาก และไม่มีกระสอบทราย นักท่องเที่ยวเคยสามารถถ่ายรูปได้โดยเสียค่าธรรมเนียม โดยมีนักแสดงที่แต่งตัวเป็น ตำรวจ ทหารฝ่ายพันธมิตรยืนอยู่หน้าป้อม แต่ทางการ Berlin ได้สั่งห้ามในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) โดยระบุว่านักแสดงได้เอาเปรียบนักท่องเที่ยวด้วยการเรียกร้องเงินเพื่อถ่ายรูป

ชิ้นส่วนและเศษซากของกำแพง Berlin ถูกนำมาตั้งแสดง

เส้นทางของกำแพงและชายแดนเดิม ตอนนี้ถูกทำเครื่องหมายไว้ที่ถนนด้วยหินปูถนน การจัดแสดงกลางแจ้งเปิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2549 ผนังห้องแสดงภาพตามถนน Friedrichstraße และ Zimmerstraße แสดงข้อมูลเกี่ยวกับความพยายามในการหลบหนี การขยายจุดตรวจ และความสำคัญในช่วงสงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผชิญหน้าของรถถังโซเวียตและอเมริกาในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) นอกจากนี้ยังมี Gallery รวมภาพของอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการแบ่งประเทศเยอรมนีและกำแพง Berlin

Checkpoint Charlie ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการรื้อถอนหอสังเกตการณ์ของเยอรมันตะวันออกในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อเปิดทางสำหรับสำนักงานและร้านค้าต่าง ๆ หอสังเกตการณ์เป็นอาคารสุดท้ายของ Checkpoint Charlie ดั้งเดิมที่ยังหลงเหลืออยู่ เทศบาลกรุง Berlin พยายามรักษาหอคอยไว้แต่ล้มเหลว เนื่องจากไม่ได้ถูกจัดให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ กระนั้น โครงการพัฒนานั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริงจนถึงทุกวันนี้ พื้นที่ระหว่าง Zimmerstraße และ Mauerstraße/Schützenstraße (จุดผ่านแดนทางฝั่งเยอรมันตะวันออก) ยังคงว่างอยู่ทำให้มีพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยวและอนุสรณ์สถานชั่วคราวจำนวนมาก แผนใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 บนเว็บไซต์สำหรับโครงการโรงแรมทำให้เกิดการถกเถียงทางการเมืองเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสม หลังจากการขึ้นทะเบียนสถานที่สุดท้ายให้เป็นพื้นที่มรดกที่ได้รับการคุ้มครองในปี พ.ศ. 2561 แผนต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปในแนวทางที่เป็นมิตรต่อความเป็นมรดกที่ได้รับการคุ้มครองมากขึ้น

นิทรรศการ “BlackBox Cold War”

นิทรรศการ “BlackBox Cold War” ได้จุดประกายให้กับรัฐบาลเยอรมันและนคร Berlin ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 การจัดแสดงกลางแจ้งฟรี นำเสนอส่วนกำแพง Berlin ดั้งเดิม และข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การจัดแสดงในร่มแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของ Berlin ด้วยสถานีสื่อ 16 แห่ง โรงภาพยนตร์ วัตถุสิ่งของ และเอกสารต้นฉบับ (ซึ่งต้องเสียค่าเข้าชม) ดำเนินการโดย NGO Berliner Forum fuer Geschichte und Gegenwart e.V.

พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie

พิพิธภัณฑ์ Checkpoint Charlie ใกล้กับที่ตั้งของป้อมยามคือ Haus am Checkpoint Charlie " พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie" เปิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ใกล้กับกำแพง Berlin แสดงให้เห็นภาพถ่าย และเรื่องราวของการแบ่งแยกเยอรมนี ป้อมชายแดนและ "ความช่วยเหลือของผู้มีอำนาจที่ปกป้อง" แสดงไว้ นอกจากภาพถ่ายและเอกสารประกอบความพยายามในการหลบหนีที่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังมีการจัดแสดงอุปกรณ์หลบหนี เช่น บอลลูนลมร้อน รถหนีภัย ลิฟต์เก้าอี้ และเรือดำน้ำขนาดเล็ก ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2548 มีอนุสรณ์สถานเสรีภาพ (The Freedom Memorial) ซึ่งประกอบด้วยส่วนผนังดั้งเดิมและไม้กางเขนที่ระลึก 1,067 อันตั้งอยู่บนพื้นที่ (เช่า) พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie ดำเนินการโดยสมาคม Arbeitsgemeinschaft 13 สิงหาคม สมาคมจดทะเบียนก่อตั้งโดย Dr. Rainer Hildebrandt ผู้จัดการคือ Alexandra Hildebrandt ภรรยาม่ายของผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในอาคาร "House at Checkpoint Charlie" โดยสถาปนิก Peter Eisenman ด้วยผู้เข้าชม 850,000 คนในปี พ.ศ. 2550 พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie จึงเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของนคร Berlin และเยอรมนี 

ไม้กางเขนที่ระลึก 1,067 อัน ใน The Freedom Memorial

Checkpoint Charlie มีบทบาทในการจารกรรมในยุคสงครามเย็นและนวนิยายและภาพยนตร์ทางการเมือง ตัวอย่างบางส่วน ได้แก่ 

James Bond (แสดงโดย Roger Moore) กับ Checkpoint Charlie

- James Bond (แสดงโดย Roger Moore) เดินผ่าน Checkpoint Charlie ในภาพยนตร์ 007 ตอน Octopussy (1983) จากเยอรมันตะวันตกไปเยอรมันตะวันออก

- Checkpoint Charlie เป็นจุดเด่นในฉากเปิดของภาพยนตร์ปี 1965 เรื่อง The Spy Who Came in from the Cold (นำแสดงโดย Richard Burton และ Claire Bloom) ซึ่งสร้างจากนวนิยายของ John le Carré ที่มีชื่อเดียวกัน

Francis Gary Powers (ซ้าย) กับ Rudolf Abel (ขวา)

- ในภาพยนตร์ Bridge of Spies นักศึกษาชาวอเมริกัน Frederic Pryor ที่ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัวที่ Checkpoint Charlie โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนตัว Francis Gary Powers นักบินของ U-2 กับ Frederic Pryor โดยแลกกับ Rudolf Abel สายลับโซเวียตที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด การปล่อยตัวไพรเออร์เกิดขึ้นนอกจอในขณะที่การแลกเปลี่ยน Francis Gary Powers กับ Rudolf Abel เกิดขึ้นที่สะพาน Glienicke

เกมอินดี้ Papers Please โดย Lucas Pope

- Checkpoint Charlie เป็นแรงบันดาลใจให้กับเกมอินดี้ Papers Please โดย Lucas Pope ที่ซึ่งผู้เล่นทำหน้าที่ของหน่วยยามชายแดนสำหรับเวอร์ชั่นสมมติของ Berlin ตะวันออก

ฉากเปิดตัวของ The Man from U.N.C.L.E ณ Checkpoint Charlie

- นอกจากนี้ยังปรากฎในฉากเปิดตัวของ The Man from U.N.C.L.E ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) อีกด้วย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เคลียร์ชัดๆ กับคำถามคาใจใครหลายคน ก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด ดื่มชา กาแฟ ได้หรือไม่

เคลียร์ชัดๆ กับคำถามคาใจใครหลายคน ก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด ดื่มชา กาแฟ ได้หรือไม่


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top