Friday, 16 May 2025
Region

ปทุมธานี- ผู้ว่าฯปทุมธานี และคณะสงฆ์ เปิดรพ.สนาม หลังปทุมมีผู้ป่วย 3,000 คนรอเตียง

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เลา 13:30 น. ที่สนามกีฬาสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (คลองสี่) ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) ,นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี  , นางสาวกันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน นายอำเภอธัญบุรี , นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ ร่วมเปิดโรงพยาบาลสนามชุมชนหรือศูนย์พักคอย (Community Isolation) สำหรับชาวตำบลบึงยี่โถที่เป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยจัดเตรียมเตียงจำนวน 100 เตียง ภายในโรงยิมบึงยี่โถสปอตเอ็กเพรส  เทศบาลเมืองบึงยี่โถได้เปิดโรงพยาบาลสนามชุมชน (Community Isolation) โดยได้รับสนับสนุนจากคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี , วัดพระธรรมกาย , มูลนิธิข้างเตียงเคียงกัน มอบเตียง มุ้ง หมอน ผ้าห่ม เจลฆ่าเชื้อโรค นอกจากนี้ยังมีสถานที่ออกกำลังกาย พักผ่อน ให้ผู้ป่วยที่เข้ามาอยู่อาจจะมีความเคียด มีไวไฟ มีกล้องวงจรปิด และทีมแพทย์ของสูนย์การแพทย์เทศบาลบึงยี่โถที่พร้อมดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เป็นอย่างดี

ด้าน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นจึงต้องมีโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยหรือโรงพยาบาลสนามชุมชนในแต่ละที่ โดยแต่ละอำเภอได้จัดให้มีศูนย์พักคอยอย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่ง แต่ละอำเภอในจังหวัดปทุมธานีได้เริ่มจัดตั้งศูนย์พักคอยได้มากกว่า 1 แห่ง จังหวัดปทุมธานีมีจำนวนผู้ป่วยที่รอเตียงจำนวน 3,000 กว่าคน ส่วนอำเภอที่อยู่ระหว่างกันจัดตั้งคือ อำเภอคลองหลวง และอำเภอลำลูกกา ส่วนอำเภออื่น ๆ มีความพร้อมที่จะนำผู้ป่วยที่รอเตียงเข้าดูแลที่ศูนย์พักคอย

ในส่วนของศูนย์พักคอยที่ตำบลบึงยี่โถนั้นมีแพทย์ประจำเนื่องจากเทศบาลตำบลบึงยี่โถมีศูนย์การแพทย์อยู่ที่นี่ และการจัดพื้นที่มีการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ มีสถานที่ออกกำลังกาย มีสนามให้เดินพักผ่อน มีเครื่องชัดผ้า ห้องน้ำ และเครื่องอำนวยความสะดวกที่พร้อมและเต็มความสามารถ รวมถึงมีแพทย์ที่อยู่ประจำ ผู้ป่วยและแพทย์สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา มีระบบอินเตอคอมฯให้ ถือว่าเป็นศูนย์ที่มีความสะดวกสะบายมาก นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) และคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี นำเตียง อาหาร รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ทางคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานีได้นำมามอบให้ทางจังหวัดได้นำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 และได้จัดแพทย์เพิ่มเติม โดยจัดแพทยืพยาบาลให้คำปรึกษา ที่เรียกว่าเทเลคลีนิค (Teleclinic)  ขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาของคณะสงฆ์แทนชาวจังหวัดปทุมธานี


ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

ขอนแก่น - เร่งสร้าง รพ.สนาม แห่งที่ 4 และ 5 รับมือภาวะผู้ป่วยล้นเตียง พร้อมสั่งปิดร้านเกม-อินเตอร์เนต -โรงหนัง -ร้านอาหาร ตามเวลาที่กำหนด หลัง ศบค.กำหนด ให้เป็นพื้นที่สีแดง ต้องคุมเขัมทุกมาตรการ

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 19 ก.ค.2564 ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 ภายในสำนักงานสาธารณสุข จ.ขอนแก่น นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ขอนแก่น ครั้วที่ 28/2564 เพื่อประเมินและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง

นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้ ศบค.ได้กำหนดให้ขอนแก่นเป็นพื้นที่ควบคุมสีแดง จากสถานการการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ซึ่งจังหวัดได้มีมติในการปิดโรงภาพยนต์เป็นเวลา 14 วัน ขณะที่ร้านเกม ร้านอินเตอร์เนต มีคำสั่งปิดออกไปอย่างไม่มีกำหนด ขณะที่ร้านอาหารงดการจำหน่ายตั้งแต่เวลา 23.00 น. เป็นต้นไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังคงมีคำสั่งเลื่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของพรรคประชาธิปไตยใหม่ และพรรคครูไทยเพื่อประชาชน ออกไปเป็น เดือน ธ.ค.

"การจำกัดการเดินทางเข้ามาในพื้นที่นั้นชัดเจนว่าตอนนี้เรามีจุดตรวจ เข้าเมือง ทั้งสิ้น 3 จุด คือที่ อ.บ้านไผ่ อ.ชุมแพ และที่ด่านตรวจเขตเมืองที่บริเวณสวนสาธารณะประตูเมือง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบรถทุกคันโดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ รถที่มีป้ายทะเบียนต่างจังหวัด เช่นเดียวกันกับด่านตรวจหลักที่สนามบิน,สถานีขนส่งและสถานีรถไฟ จะตรวจเข้มทุกคนที่เดินเข้ามาในเขตจังหวัด โดยขอให้เตรียมเอกสารแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งประกอบด้วยเอกสารการยืนยันฉีดวัคซีนชิโนแวคครบ 2 เข็มมาแล้วไม่น้อยกว่า 28 วัน หรือการฉีดวัคชีนแอสตร้าเชเนก้า 1 เข็มมาแล้วไม่น้อยกว่า 28 วัน และมีผลตรวจโควิดมาแล้วไม่เกิน 72 ชม."

ผวจ.ขอนแก่น กล่าวต่ออีกว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นท่มีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดเกิดจากการรับเชื้อมาจากต่างพื้นที่โดยที่ยังคงไม่มีการติดเชื้อภายในเขตจังหวัด ซึ่งในการประชุมได้มีมติ ตั้งโฮสพิเทล เพิ่มเติม คือที่โรงแรมโฆษะ และ โรงแรม กรีนโฮเต็ล ในการกำกับดูแลของ รพ.ราชพฤกษ์ รวมทั้งการตั้ง รพ.สนาม แห่งที่ 4 ที่ค่ายเปรมติณสูลานนท์ อ.น้ำพอง  และ รพ.สนาม แห่งที่ 5 ที่ บ.กระทิงแดงจำกัด ซึ่งเป็นภาคเอกชน ที่ ตั้งอยู่ที่ อ.อุบลรัตน์ ที่ได้มีการเสนอตัวขึ้นมา เนื่องจากขณะนีเตียงรักษาผู้ป่วยโควิด ของ รพ.ฯ ต่าง ๆ ใกล้เต็มจำนวน ซึ่งคณะทำงานจะลงพื้นที่ประเมินและจัดตั้ง ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเข้มงวดต่อไป

นราธิวาส - นายก อบจ.”กูเซ็ง” เตรียมนำวัคซีน Moderna 10,000 โดส ช่วยชาวนราฯ ด้านผู้ว่าฯเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนขานรับตามมาตรการของจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับ ศบค.อย่างเคร่งครัด

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ที่ห้องประชุมพระนราภิบาลชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานการแถลงข่าว มาตรการของ จ.นราธิวาส เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการ ศบค.โดยมีนายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายแพทย์วิเศษ สิรินทรโสภณ นายแพทย์สาธารณสุขชจังหวัดนราธิวาส นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแถลงข่าว

ด้านนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ในส่วนของมาตรการที่จังหวัดนราธิวาสได้เตรียมความพร้อม ซึ่งได้ประชุมหารือโดยมีข้อยุติที่สำคัญที่ต้องนำเรียนให้ประชาชนชาวนราธิวาสได้รับทราบคือ

1.งดหรือชะลอหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป จำนวน 14 วัน เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ค่อนข้างสูงมาก โดยใน 13 อำเภอมีตัวเลขผู้ติดเชื้อทุกวันวันละไม่ต่ำกว่า 100 ราย ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการในเรื่องของการเดินทาง งดการเดินทางโดยไม่จำเป็นยกเว้นมีข้อจำเป็นที่ให้เดินทางได้ ซึ่งขณะนี้สายการบินของจังหวัดนราธิวาสก็งดทุกสายการบินจนถึงสิ้นเดือน รวมถึงสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ และรวมไปถึงการบริการรถไฟด้วย ซึ่งจำเป็นที่จะขอความร่วมมือในการหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงนี้

2.การเปิดกิจการประกอบการต่าง ๆ อย่างเช่นร้านอาหาร ซึ่งก่อนหน้านี้จังหวัดนราธิวาสมีประกาศให้เปิดร้านอาหารได้รับประทานอาหารในร้านได้จนถึง 21:00 น. ในขณะนี้ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคมเป็นต้นไป ขอความร่วมมือทุกร้านอาหารทุกประเภทสามารถจำหน่ายอาหารที่ร้านได้ แต่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหารที่ร้าน แต่สามารถสั่งไปรับประทานที่บ้านเท่านั้นและเปิดได้ถึง 20:00 น. เท่านั้นโดยมีข้อกำหนดในฉบับล่าสุด

และในส่วนของมาตรการอื่น ๆ ทางจังหวัดนราธิวาส ก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่เหมือนเดิม ซึ่งภาพรวมของจังหวัดนราธิวาสขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทำตามมาตรการของจังหวัดและสิ่งที่กังวลที่สุดในห้วงวันที่ 21 กรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นวันอีดิลอัฏฮา กรือวันรายอของพี่น้องมุสลิม ดังนั้นขอความร่วมมือจากพี่น้องมุสลิมทุกท่านเรามีมาตรการในข้อกำหนดซึ่งได้แจ้งไปยังอำเภอและผู้นำศาสนาใน 13 อำเภอให้ได้รับทราบแล้วในการชะลอการเดินทางหรือการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงนี้

ขณะที่นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ทางสภากาชาดไทยได้แจ้งให้จังหวัดทุกจังหวัดทราบว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ได้มีประกาศ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ซึ่งได้ให้สภากาชาดไทยเป็นหน่วยงานหนึ่งในการสั่งนำเข้าวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชน ซึ่งขณะนี้ สภากาชาดไทยได้สั่งจองวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna จำนวนหนึ่งจากผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยผ่านองค์การเภสัชกรรม เพื่อนำมาฉีดบริการให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มต่าง ๆ โดยไม่คิดมูลค่า ตามพันธกิจของสภากาชาดไทย ทั้งนี้ สภากาชาดไทยจะได้จัดสรรโควตาวัคซีนจำนวนหนึ่งให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อนำไปฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่าต้องดำเนินการฉีดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า และแผนการฉีดวัคซีนดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด และเงื่อนไขอื่น ๆ ดังนี้

1. ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำแผนการขอรับการจัดสรรวัคชีน เพื่อนำไปฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตามที่สภากาชาดไทยกำหนด และแจ้งให้สภากาชาดไทยทราบภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ได้แก่

1) คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง สตรีตั้งครรภ์ ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

2) ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

3) บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ในถิ่นทุรกันดาร

4) ผู้ที่ทำงานประจำอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาล หรือครู อาจารย์

ผู้ที่ทำหน้าที่สอนหนังสือในโรงเรียน ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 มาก่อน

5) บุคลากรที่ต้องออกปฏิบัติงานสัมผัสประชาชน ตามโครงการฉีดวัคซีนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ยังไม่เคยได้รับวัคนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน และบุคคลที่ยังไม่วสามารถรับการฉีดวัคซีนได้เนื่องจากติดขัดระเบียบหรือกฎหมาย

2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการกับสภากาชาดไทย ต้องสนับสนุน

งบประมาณค่าวัคซีน Moderna ราคา 1,300 บาท ต่อโดส นั้น เมื่อหักต้นทุนวัคซีนและค่าบริหารจัดการตาม

โครงการแล้ว เงินส่วนที่เหลือจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะนำเข้าสมทบใน "กองทุนสภากาชาดไทย เพื่อจัดหาวัคซีนโควิด-19 และยารักษาโรคโควิด-19 สำหรับประชาชน" ต่อไป

3. เมื่อสภากาชาดไทย แจ้งการจัดสรรโควตาให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้ว ขอให้ชำระเงินเต็มตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติจากสภากาชาดไทย ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ก่อนเวลา 12.00 น.

4. สภากาชาดไทยจะทยอยจัดสรรวัคซีนได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป สำหรับจังหวัดนราธิวาส ได้รับความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาสในการขอรับวัคซีนเพื่อนำไปฉีดบริการให้กับประชาชนตามเงื่อนไขดังกล่าว จำนวน 10,000 โดส เป็นเงินทั้งสิ้น 13,000,000 บาท

นอกจากนี้นายแพทย์วิเศษ สิรินทรโสภณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ในภาพรวมของวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุนจาก อบจ.นราธิวาสจำนวน 10,000 โดส จะเป็นกลุ่มเป้าหมายซึ่งสามารถฉีดได้จะเป็นการส่งเสริมการฉีดวัคซีนของชาวจังหวัดนราธิวาสให้ครอบคลุมเร็วขึ้น ซึ่งตอนนี้มีประชากรที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย 600,000 กว่าคน ฉีดไปแล้ว 100,000 กว่าคน และยังคงเหลืออีก 500,000 คน ซึ่งถ้าได้รับวัคซีนตรงนี้ก็จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่เร็วขึ้น และในเรื่องของการเก็บวัคซีนมีที่จัดเก็บวัคซีน 10,000 โดสใช้พื้นที่ไม่มาก โดยศักยภาพการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาสในหนึ่งวันฉีดได้ 7,500 โดส ซึ่งถ้าได้วัคซีนมา 10,000 โดนฉีดได้ 5,000 คนใช้เวลาฉีดภายใน 1-2 วันโดยสถานการณ์ภาพรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตอนนี้ในจังหวัดนราธิวาสมีจำนวน 4,184 รายอยู่ในระบบการรักษา 1,201 รายอยู่ที่โรงพยาบาล 645 รายและอีกส่วนอยู่ที่โรงพยาบาลสนาม 556 รายและเสียชีวิตทั้งหมด 40 ราย ซึ่งคาดการณ์ว่าผู้ป่วยรายใหม่นับจากวันนี้เป็นต้นไป จะอยู่ที่ 150 -200 รายต่อวัน จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทำตามมาตรการของจังหวัดนราธิวาสกำหนดด้วย

พังงา – ด่วน !! พบแรงงานต่างด้าวป่วยโควิด 3 ราย ในเมืองพังงา ทำชาวบ้านผวาและหลายโรงเรียนสั่งเด็กพื้นที่ห้ามมาโรงเรียนชั่วคราว

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพังงา (ศบค.พง) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ว่าพบผู้ป่วยรายใหม่อีก 7 ราย อยู่ในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า 1รายเป็นชาวไทย อยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง 3 ราย เป็นแรงงานชาวเมียนมา ในคลัสเตอร์บ้านพักคนงานสวนยางพาราตำบลหล่อยูง อยู่ในซอยเทศบาลบำรุง 3 เขตเทศบาลเมืองพังงา 3 ราย เป็นแรงงานชาวเมียนมา เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์หล่อยูง ทำให้มีหลายโรงเรียนในตัวเมืองพังงาได้ประกาศห้ามเด็กนักเรียนในพื้นที่พบผู้ป่วยโควิด-19 มาเรียนหนังสือในโรงเรียนชั่วคราว

ล่าสุดทางเทศบาลเมืองพังงาและ อบจ.พังงาได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปฉีดน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อ พร้อมกับทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพังงา ส่งเจ้าหน้าที่สอบสวนโรคลงพื้นที่สอบสวนคัดแยกกลุ่มเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ ทำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ พร้อมสั่งให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกักตัวที่บ้านและ LQ ทันที จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่าผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ได้เดินทางไปร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยในคลัสเตอร์ตำบลหล่อยูง ก่อนจะมีอาการป่วย จนตรวจพบเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลพังงา


ภาพ/ข่าว  อโนทัย งานดี / พังงา

ขอนแก่น - สสจ. ย้ำชัด บุคลากรด่านหน้าต้องได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน เร่งสำรวจผู้ที่ตกหล่น ฉีดให้ครบภายในเดือนนี้ วอนทุกคนเห็นใจตามการจัดสรรวัคซีนมาจากส่วนกลาง

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 20 ก.ค. 2564 ที่สำนักงานสาธารณสุข จ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุข จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า รพ.น้ำพอง และสำนักงานสาธารณสุข อ.น้ำพอง ได้สรุปรายงานและชี้แจงเหตุการณ์ กลุ่ม อสม. ในเขต อ.น้ำพอง ได้รวมตัวกันประท้วงและต่อว่าการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเขต อ.น้ำพอง จนทำให้ อสม. บ.น้ำพอง เกือบ 60 คนไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ทั้งที่เป็นบุคลากรด่านหน้า ตามที่หน่วยงานรัฐกำหนด ซึ่งขณะนี้เหตุการณ์ดังกล่าวได้คลี่คลายแล้ว โดย นายอำเภอน้ำพอง,รพ.น้ำพอง,สำนักงานสาธารณสุข อ.น้ำพอง,สภ.น้ำพอง และ ชมรม อสม.อ.น้ำพอง ได้มีการประชุมและหารือกันในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่าเกิดจากการสำรวจ ในระบบต่างๆในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคณะทำงานได้หารือร่วมกันใหม่ทั้งหมดจนได้ข้อยุติ คือการสำรวจรายชื่อ อสม.ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนใหม่หมดทั้งอำเภอ เพื่อเข้าสู่แผนการฉีดวัคซีนให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.

" ผมย้ำว่าบุคลากรด่านหน้าต้องได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน ขอแค่ทุกท่านดำเนินการตามที่ สสจ.หรือ ทีมแพทย์กำหนด ขณะที่ตัวแปรที่สำคัญคือการได้รับการจัดสรรวัคซีน จากส่วนกลาง ตามที่ได้รับการจัดสรรมาในแต่ละรอบ แต่เมื่อทางจังหวัดได้รับมาเท่าใดนั้น ก็มีการจัดส่งกระจายไปในพื้นที่ทุกอำเภอท่านพี่ ดังนั้น กล่ม อสม. ในเขต อ.น้ำพอง รวมกว่า 60 คนนั้น จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 ก.ค.นี้"

นพ.สมชายโชติ กล่าวต่ออีกว่า อสม.จัดเป็นบุคลากรด่านหน้าที่สำคัญที่ทำงานร่วมกันกับ ฝ่ายสาธารณสุขในทุกเรื่องโดยเฉพาะกับสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ที่ อสม.ทำงานอย่างหนักทุกวัน ดังนั้นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฎิบัติงาน จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกันและร่วมมือกัน ให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มที่เพื่อที่เราจะก้าวผ่านวิกฤติเหตุการณ์นี้ไปด้วยกัน

กาฬสินธุ์ – เปิด รพ.สนามสหัสขันธ์ อุปถัมภ์โดยคณะสงฆ์ กว่า 500,000 บาท พร้อมเปิดบริจาคสิ่งของจำเป็นเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19

อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดโรงพยาบาลสนาม 50 เตียงรักษา 30 เตียงพักคอย พร้อมรับคนสหัสขันธ์กลับบ้านปลอดภัย อุปถัมภ์ก่อสร้างปรับปรุงโดยคณะสงฆ์อำเภอสหัสขันธ์ มูลค่ากว่า 500,000  บาท พร้อมเปิดรับบริจาคสิ่งของจำเป็นเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เล็งปรับ LQ เป็นพื้นที่นอนรอเตียงรักษา 8 ตำบล

วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่บริเวณหอประชุมอำเภอสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นายสนั่น พงษ์อักษร รองผวจ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยจิตอาสาพระราชทาน 904 ,พระอาจารย์ณรงค์ ชยุมงฺคโล เจ้าอาวาสวัดพุทธนิมิต (ภูค่าว) ,นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์,นายแพทย์คมกฤษ วิเศษ ผอ.รพ.สหัสขันธ์ พร้อมด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทน อปท. 8 แห่ง พื้นที่ อ.สหัสขันธ์ คณะแพทย์ พยาบาล รพ.สหัสขันธ์  ร่วมเปิดโรงพยาบาลสนาม อ.สหัสขันธ์ เพื่อเตรียมรับผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งมีภูมิลำเนาเป็นคน อ.สหัสขันธ์ โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยอยู่ระหว่างการรักษา 22 คน จากจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 62 คน ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

โดยผู้มีจิตศรัทธา ได้นำสิ่งของที่จำเป็นมอบให้กับ รพ.สนาม ทั้งน้ำดื่ม ยาเม็ดฟ้าทะลายโจร พัดลม เครื่องนอน ข้าวสาร อาหารแห้ง และเงินสด โดยโรงพยาบาลสนาม อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ได้รับการอุปถัมภ์โดยพระเทพมงคลวชิรมุณี (หา สุภโร) หรือหลวงปู่ไดโนเสาร์ มอบเงินให้กับคณะกรรมการเป็นเงิน 505,237 บาท นอกจากนี้ พระอาจารย์ณรงค์ ชยมงฺคโล เจ้าอาวาสวัดพุทธนิมิต ยังมอบเงินสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 50,000 บาท รวมถึงผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วสารทิศ ที่โอนเงินผ่านบัญชีสาธารณกุศลอ.สหัสขันธ์ ขณะที่การปรับปรุงพื้นที่ รพ.สนาม รวมถึงการควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด มีพระครูสิริพัฒนนิเทศก์ เจ้าอาวาสวัดพุทธาวาสภูสิงห์ ควบคุมดูแลและนำเครื่องจักรเข้าปฏิบัติการทั้งหมด ส่วนเตียง รพ.สนาม นายอำเภอสหัสขันธ์ ได้ระดมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สร้างเตียงจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ทดแทนในช่วงที่เตียงขาดแคลนและราคาสูง

นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์ กล่าวว่าโรงพยาบาลสนาม อ.สหัสขันธ์ เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของทุกฝ่าย โดยเฉพาะเมตตาจากคณะสงฆ์ เป็นที่ปรึกษาในการเริ่มต้นของโรงพยาบาลสนาม  โดยใช้หอประชุม อ.สหัสขันธ์ และพื้นที่บริเวณโดยรอบ ติดกับโรงพยาบาลสหัสขันธ์ ซึ่งจะสามารถรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ซึ่งเป็นคนสหัสขันธ์ ไม่น้อยกว่า 50 คน มีศูนย์พักคอยอีก 30 เตียง ที่มอบหมายให้ทางนายแพทย์คมกฤษ วิเศษ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสหัสขันธ์  พร้อมทีแพทย์พยาบาล และนายสมบูรณ์ ไชยศรี สาธารณสุขอำเภอสหัสขันธ์ จัดการภายในโรงพยาบาลสนามฯ เบื้องต้นมีคนสหัสขันธ์ยืนยันติดเชื้อแล้วจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด 13 จังหวัด แจ้งกลับมารักษากว่า 30 คน ทั้งนี้ได้สั่ง LQ ของ อปท. ทุกแห่ง เตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินตลอด 24 ชม.

“ส่วนลำดับขั้นตอนของโรงพยาบาลสนาม อ.สหัสขันธ์ โดยนายแพทย์คมกฤษ วิเศษ ผอ.รพ.สหัสขันธ์ และเป็นผอ.รพ.สนามฯ เมื่อผู้ป่วยมีความประสงค์จะเข้ามารักษา เบื้องต้นต้องเข้ารับการตรวจและยืนยันผลก่อน จากนั้นจะนำผู้ป่วยที่มีผลยืนยันเข้ารับการรักษาตามลำดับ ทั้งการตรวจเลือด เอ็กซเรย์ปอด เมื่อเข้าโรงพยาบาลสนามจะต้องเปลี่ยนชุดในชุดคนไข้ของ รพ.สนามที่เตรียมไว้ ซึ่งภายในโรงพยาบาลสนามจะมีกล้องวงจรปิดกระจายอยู่ทุกมุมกว่า 18 ตัว รอบนอกมีกำลังเจ้าหน้าที่ อส. ชรบ. อปพร. จากทุกตำบล มาอยู่เฝ้าเวรยามแบ่งกำลังวันละ 3 ผลัด มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรสหัสขันธ์ เป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยอีกชั้น ทั้งนี้ยังมี 8 อปท. ให้ความร่วมมือในการเตรียม LQ บุคลากร งบประมาณ เป็นความสามัคคีในพื้นที่เพื่อเอาชนะไวรัสโควิด-19 สร้างความปลอดภัยใน อ.สหัสขันธ์อย่างเข้มแข็ง” นายอำเภอสหัสขันธ์กล่าว


ภาพ/ข่าว ณัฐพงษ์  ประชากูล จ.กาฬสินธุ์

เชียงราย - ข้าวแกง 10 บาท ช่วยเหลือประชาชนช่วงโควิด ด้าน ‘พระอาจารย์พบโชค’ นำไข่ไก่ 3,000 ฟองสนุบสนุน

เจ้าของร้นอาหารเชียงราย ทำข้าวราดแกง 10 บาท ขายช่วยเหลือชาวบ้านช่วงโควิด หลังก่อนหน้านี้ได้ทำผัดกะเพรา 9 บาทมาแล้ว ด้านพระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง ทราบข่าว นำไข่ไก่ 3,000 ฟองมาสนับสนุนด้วย

วันที่ 20 ก.ค.64 คุณธเนตร ติ๊บโท๊ะ หรือ "ต้นอ้อ" เจ้าของร้านอาหารฟอร์เก็ตมีน๊อต (forget me not) ตั้งอยู่เลขที่ 35/2 ม.22 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย ด้านเยื้องประตู 3 สนามกีฬาจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นร้านอาหารสไตล์ ล้านนาประยุค สไตล์ในสวน ได้ใช้พื้นที่หน้าร้านเปิด ขายข้าวราดแกง 10 บาท มีทั้งนั่งทานที่ร้านและซื้อกลับบ้าน ซึ่งข้าวราดแกงที่ขาย มีเมนูที่หลากหลายวันละ 3-4 อย่างทั้งผัดกระเพราไก่ ผัดเผ็ดถั่วหมู แกงเขียวหวานไก่ ผัดบวบใส่ไข่ โดยทุกเมนูจะปรุงสดใหม่ทุกวัน จากเชฟประจำร้าน เริ่มขายตั้งแต่เวลา 11.00 น. จนกว่าอาหารจะหมดโดยใช้พื้นที่หน้าร้านเช่นเดิม ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำเมนู ผัดกระเพราไก่ ราดข้าว ในราคากล่องละ 9 บาทมาก่อนแล้ว เพื่อช่วยเหลือทุกคนในภาวะเศรษฐกิจโควิด-19  โดยทางร้านบริการมีเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยแจกฟรี สำหรับผู้ที่ต้องการอีกด้วย

โดยการขายข้าวราดแกงในราคา 10 บาท ทำให้มีผู้สนใจเดินทางมาซื้อข้าวแกงจำนวนมาก เพราะถือว่ามีราคาที่ถูกและได้ข้าวราดแกงที่มีคุณภาพ อร่อยและปรุงสดทุกวัน เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดตัวลงทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนอยู่รอด ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "ข้าวแกง 10 บาท ทำให้หลายคนอยู่รอดได้ และถือว่าคนทำใจบุญอย่างมาก เพราะเชื่อว่าไม่ได้กำไรอย่างแน่นอน

คุณต้นอ้อ กล่าวว่า การที่มาขายข้าวแกง 10 บาท ก็เพราะจากการต่อยอดมาจากผัดกระเพรา 9 บาท ที่อยากให้ทุกคนได้อิ่มท้องในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แบบนี้ อะไรที่ช่วยสังคมได้ก็พร้อมช่วย เมื่อทำแล้วก็มีเพื่อนอีกหลายคน เห็นว่าดีต่อสังคม ใครพอจะมีเงินก็สมทบทุนมาให้ทำข้าวราดแกงในราคานี้ ซึ่งยอมรับว่า ไม่ได้กำไรจากการขายนี้เลย แต่ขอให้ได้ช่วยสังคมและอิ่มบุญ และพร้อมจะทำ เมื่อขายข้าวแกง 10 บาทก็พบว่า ทุกคนที่มาซื้อ ก็จะร่วมทำบุญให้กับสมาคมศิริกรณ์เชียงรายบรรเทาสาธารณภัย ที่ตั้งกล่องรับบริจาคเพื่อนำเงินไปซื้ออุปกรณ์และช่วยเจ้าหน้าที่รับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ในจังหวัดเชียงราย

ด้านพระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง อ.เมือง จ.เชียงราย เมื่อทราบข่าวว่ามีข้าวแกง10 บาท ขายให้กับทุกคน เพื่อช่วยภาวะเศรษฐกิจ จึงได้ให้ลูกศิษย์ นำไข่ไก่จำนวน 3,000 ฟอง ผักสดนานาชนิด และเงินสดอีกจำนวนหนึ่ง มามอบให้กับทางร้าน  เพื่อเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเพื่อช่วยทุกคนด้วย

พระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวว่า สาเหตุที่นำสิ่งของมาช่วยทางร้านในการขายข้าวแกง 10 บาท เพราะทราบดีว่าการขายแบบนี้ ทางร้านไม่ได้กำไรอะไรเลย แต่เมื่ออยากที่จะทำบุญก็นำสิ่งของที่ได้รับมาจากญาติโยม ที่ทำบุญมาต่อบุญอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะได้บุญมหาศาลสำหรับผู้ที่ร่วมทำบุญกับทางวัดห้วยปลากั้ง


ภาพ/ข่าว  ณัฐวัตร ลาพิงค์

ขอนแก่น - โควิดระบาด ชาวบ้านแห่ซื้อฟ้าทะลายโจรและกระชายขาว เกลี้ยงแผงทุกร้านขายยา พบของขาดมานานหลายเดือนแล้ว

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 20 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจร้านขายยาแผนปัจจุบัน ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น หลังพบว่ามีประชาชนจำนวนมากพากันมาเลือกซื้อสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและกระชายขาว แบบแคปซูล กันอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปรับประทานป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อในเขต จ.ขอนแก่น พบผู้ป่วยมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะที่ร้านยาธงดีเภสัช ซึ่งตั้งอยู่ที่ ถ.ศรีธาตุประชาสันติ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบว่ามีประชาชนมาสอบถามและซื้อยาฟ้าทะลายโจรและยากลุ่มต้านไวรัสกันตลอดทั้งวัน

เภสัชกรธง ดีมาก เจ้าของร้านขายยาธงดีเภสัช กล่าวว่า ยอมรับว่าฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูลขายหมดได้ประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว ส่วนยาเขียวตราใบโพธิ์ และกระชายขาวนั้นขาดตลาดมานานกว่า 4 เดือนแล้วเช่นกัน ซึ่งเมื่อลูกค้าเข้ามาสอบถามก็จะแนะนำในส่วนของสมุนไพรทางเลือกอื่น ๆ ขณะที่จากการสอบถามลูกค้าที่มาซื้อนั้นพบว่าเป็นลูกค้าจากต่างอำเภอที่ไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน แวะเข้ามาถามซื้อฟ้าทะลายโจร และกลุ่มยาต้านไวรัส เพื่อซื้อส่งไปให้ลูก หลาน รวมทั้งญาติพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง เพราะได้รับการประสานจากญาติว่ากลุ่มยาเหล่านี้หาซื้อไม่ได้แล้ว

"ยังมีกลุ่มยาที่ประชาชนเข้ามาถามหาเพิ่มเติม คือยากลุ่มต้านเชื้อไวรัสโควิด-19  ที่ก่อนหน้านี้พบว่ามีการเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างมาก ที่เป็นสูตรในการรักษาโควิด แบบประคับประคอง เพราะลูกค้าบางรายอาจจะเตรียมไว้เผื่อในอนาคตหากต้องติดโควิด แล้วโรงพยาบาลสนามเต็ม ก็จะได้มีการรักษาตัวเองไปก่อน รวมไปถึงกลุ่มยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลมในกรณีที่เชื้อลงปอด และยังมีกลุ่มยาลดไข้และสมุนไพรทางเลือกอื่น ๆ ที่ลูกค้าแวะมาเลือกซื้ออยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตามหากในกรณีที่ฟ้าทะลายโจรขาดตลาด และลูกค้ามาสอบถามก็จะแนะนำขมิ้นชันวิตามินซี รวมทั้งสเปรย์พ่นคอ ที่ช่วยต้านเชื้อไวรัสเชื่แแบคทีเรียและเชื้อราได้อีกด้วย"

เภสัชกรธง กล่าวต่ออีกว่า ร้านมีการปรับตัวในการขายเยอะขึ้นตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการขายยาผ่านช่องหน้าต่าง ปิดประตูไม่ให้ลูกค้าเข้ามาภายในบริเวณร้าน มีพัดลมดูดดอากาศให้อากาศหมุนเวียนตลอดเวลา อีกทั้งมีการเขียนป้ายไฟบริเวณด้านหน้าร้าน ว่าจ่ายยาผ่านช่องรบกวนให้ลูกค้ากดกริ่งเรียกเภสัชกร นอกจากนี้ยังมีการจัดส่วนของยาให้เหมาะในการจ่ายได้ทันที และในของเภสัชกรเองก็จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยสวมทับด้วยเฟสชิวอีกชั้น นอกจากนี้ยังมีการขายยาผ่านช่องทางไลน์เป็นเทเลฟาร์มาซี มีการปรึกษาเภสัชกรทางวิดีโอคอลก่อนซื้อยา หลังจากนั้นให้ลูกค้าโอนเงินให้ร้านยา และจัดส่งด้วย Grab เพื่อความปลอดภัย ลดการเดินทางออกจากบ้านที่จะเสี่ยงติดเชื้ออีกด้วย

ชลบุรี - นาวิกโยธินห่วงใยประชาชน ส่งเจ้าหน้าที่เดินแจกหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ พร้อมให้กำลังใจสู้ภัยโควิด-19

วันนี้ 20 ก.ค. 64 ที่ตลาดสหชัยพัฒนา อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พลเรือโท รณรงค์ สิทธินันทน์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มอบหมายให้ กองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ลงพื้นที่มอบหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือ ให้กับพ่อค้า แม่ค้า ประชาชน เพื่อป้องกันระมัดระวัง เชื้อโควิด19 จากสถาน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID - 19) ระลอก 3 ที่กลายพันธุ์ในรอบนี้ถือว่าหนักและรุนแรงมากกว่าเดิม ติดง่ายกว่ารอบแรก รอบสองหลายเท่า ส่งผลให้จำนวนยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และลุกลามไปทั่วทุกจังหวัด กระจายทุกกลุ่ม ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่นหนุ่มสาว จนถึงผู้สูงอายุ ส่อทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่ในขั้นวิกฤติ และไม่มีแนวโน้มจะหยุดลง

ส่วนในพื้นที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีแนวโน้มสูงขึ้นรายวัน ซึ่งประชาชนมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินจึงได้จัดเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจิตวิทยาลงพื้นที่ เพื่อให้ความรู้ถึงวิธีการป้องกันตนเอง ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงได้แจกหน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ให้กับประชาชนไว้ใช้ป้องกันตนเอง พร้อมทั้งส่งกำลังใจให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอสัตหีบ โดยหวังว่าให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน


ภาพ/ข่าว  นิราช ทิพย์ศรี / นันทพล  ทิพย์ศรี  อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ตราด – ประมงพื้นบ้าน นำเรือจอดหลบลม หลังเจอมรสุม ทำให้ช่วงนี้อาจจะขาดรายได้ในการออกเรือจับสัตว์น้ำจนไปถึงปลายเดือนตุลาคมนี้

วันที่ 20 กค. 64 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางสํารวจ หลังกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเตือนทุกภาคของประเทศไทย ยังคงมีฝนตกหนักและมีลมแรงในบางพื้นที่ เนื่องจากพายุโซนร้อน “เจิมปากา” บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ทำให้คลื่นลมบริเวณอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลให้พื้นที่จังหวัดตราดได้รับกระทบในช่วง 2-3 วันนี้ เนื่องจากในพื้นที่มีฝนและลมกรรโชกแรง บริเวณชายฝั่งทำให้ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

ขณะรายงานข่าวในพื้นที่ของอำเภอคลองใหญ่ยังคงมีลมค่อนข้างแรง ทำเรือประมง และประมงพื้นบ้านต้องพากันจอดหลบลม และคอยติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่อำเภอคลองใหญ่เป็นพื้นที่ติดทะเล และด้านหลังติดเขา ในช่วงฤดูฝนจะมีลมมรสุมค่อนข้างแรง ทำให้การทำอาชีพประมงต้องคอยติดตามฝนฟ้าอากาศกันทุกวัน โดยเฉพาะเรือประมงพื้นบ้าน ที่เป็นเรือเล็ก ช่วงนี้จะขาดรายได้ในการออกเรือจับสัตว์น้ำจนไปถึงปลายเดือนตุลาคมนี้ต่อไป


ภาพ/ข่าว  วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าว จ.ตราด

นายพรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top