Saturday, 17 May 2025
Region

ชลบุรี - ทัพเรือภาคที่ 1 จัดกำลังพลจิตอาสากองทัพเรือ เปิดปฏิบัติการปูพรมทำความสะอาดหาดดงตาล ครั้งที่ 2/2564

สืบเนื่องจากช่วงวันที่ 23-26 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ คลื่นลมทะเลได้หอบพัดเอาขยะมูลฝอยที่อยู่ในทะเลขึ้นมาบริเวณชายหาดดงตาล ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี เป็นจำนวนมาก

ในวันนี้ 30 พ.ค.64  เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ พลเรือโท โกวิท อินทร์พรหม ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ยังคงเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเล และสถานที่สาธารณประโยชน์ จึงได้มอบหมายให้ นาวาเอก วีระชัย  บุญมาก ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน ทัพเรือภาคที่ 1 จัดกำลังพลจิตอาสาทัพเรือกองทัพเรือ จำนวน 61 นาย ได้แก่ กำลังพลจากกองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ร่วมกับกำลังพลจากหมวดเรือเฉพาะกิจทัพเรือภาคที่ 1 และเรือในหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน เปิดปฏิบัติการ ปูพรมทำความสะอาดชายหาดดงตาล ตั้งแต่ทางเข้าออกหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งบริเวณสะพานคลองถูป จนถึงอุทยานเรือประวัติศาสตร์เรือของพ่อ ต.91

สำหรับปฏิบัติการปูพรมทำความสะอาดหาดดงตาลในครั้งนี้ สามารถกำจัดขยะมูลฝอยบริเวณชายหาด และที่ฝังอยู่ใต้พื้นทราย ได้เป็นจำนวนมาก โดยมีขยะที่ถูกกำจัด ได้แก่ ถุงพลาสติก หลอดกาแฟ แก้วพลาสติก ขวดน้ำดื่ม ขวดแก้ว กระสอบ ถุงขนม ฯลฯ รวมปริมาณขยะมูลฝอยที่สามารถกำจัดได้ในครั้งนี้คิดเป็นน้ำหนักขยะจำนวนมากกว่า 600 กิโลกรัม ในการนี้ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือนได้กล่าวขอบคุณกำลังพลจิตอาสากองทัพเรือ ที่เสียสละเวลาส่วนตัวในวันหยุดราชการ มาร่วมกันทำความดีเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเล และสถานที่สาธารณประโยชน์ ตามที่ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ได้มอบนโยบายให้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่กำลังพลในสังกัดทัพเรือภาคที่ 1 ให้ร่วมกันทำความดีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อีกด้วย

การปฏิบัติการทำความสะอาดชายหาดดงตาลในครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะทางทะเล และชายหาด นั้น ยังคงมีขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ครัวเรือนไปจนถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องหันมาร่วมกันรณรงค์ “งดการทิ้งขยะลงทะเล” อันจะทำให้สภาพแวดล้อมทางทะเลเกิดความสะอาด ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล อีกทั้งจะทำให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามบริเวณชายหาด ใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สะอาดได้อย่างยั่งยืน


ภาพ/ข่าว : กองกิจการพลเรือน ทัพเรือภาคที่ 1 / นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี ก012 ชลบุรี

อำนาจเจริญ - รมช.เกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจโรคลัมปี-สกิน ระบาดโค-กระบือระบาดในพื้นที่ อำนาจเจริญรับปากจะนำเรื่องเข้าครม.เพื่อหาทางช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดงานรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคลัมปี-สกินระบาดในโค-กระบือ ที่บ้านโคกพระ หมู่ 3 ต. นาป่าแซง อ.ปทุมราชวงศา จ. อำนาจเจริญ และมอบเวชภัณท์และอุปกรณ์การป้องและปล่อยขบวนรถในการรณรงค์ ป้องกันโรคระบาด เพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในครั้งนี้ และรับปากว่าจะนำความเดือดร้อนจากเกษตรกรเข้า ครม.เพื่อหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

นายทวีภัทร เหล่าบรรเทา สหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ บอกว่าขณะนี้ได้เกิดโรคลัมปีสกินหรือโรคตุ่มระบาดในโค ของสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่ จ. อำนาจเจริญ มาตั้งแต่ต้นเดือน มีนาคม 2564 ส่งผลให้สมาชิกสหกรณ์ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในครั้งนี้ ทางสหกร์จึงได้จัดโครงการรณรงค์ป้องกันโรคระบาด โดยเชิญ รมช.เกษตรและสหกรณ์มาหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ต่อไป

นางมนัญญา รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าจากการรายงานของ ผวจ.สหกรณ์จังหวัดและ ปศุสัตว์จังหวัด ทราบว่าโรคระบาดในพื้นที่ จ. อำนาจเจริญ  ระบาดในครั้งนี้ประมาณ 1,000 ตัว  ตายตามที่ได้รับรายงานจำนวน 38 ตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ตนรับปากว่าจะนำปัญหาดังกล่าวไปเสนอ ครม.เพื่อหาทางช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป


ภาพ/ข่าว รมช.เกษตรติดตามสถานการณ์โรคระบาดโค-กระบือ / นายคู่  บุญมาศ 

ขอนแก่น - เปิดตัวน้อง “ใบหม่อน” หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปราบโควิด-19 จากผลงานของนักเรียนชั้น ม.1 ส่งมอบให้กับ รพ.ชุมแพ ได้ใช้งานจริงในราคาไม่แพง

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 31 พ.ค.2564 ที่โรงเรียนเมทนีดล อ.เมือง จ.ขอนแก่น ดร.อรทัย  สันติเมทนีดล ผู้อำนวยการโรงเรียนเมทนีดล จ.ขอนแก่น นำคณะครูและนักเรียน ร่วมส่งมอบน้อง “ใบหม่อน” หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปราบโควิด-19 ให้กับ พญ.ดวงพร  อัศวราชันย์ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นผลงานประดิษฐ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้ประดิษฐ์และคิดค้นขึ้นสำหรับการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น

ดร.อรทัย สันติเมทนีดล ผู้อำนวยการโรงเรียนเมทนีดล จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ด้วยการจัดการเรียนการสอนที่มีการบรรจุรายวิชา เอไอ หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งคณะครูได้ให้โจทย์ให้กับนักเรียนระดับชั้น ม.1 ในการคิดค้นและประดิษฐ์หุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถใช้งานได้และสอดรับสถานการณ์ปัจจุบัน นักเรียนจึงได้เสนอแผนงานในการประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้นจึงได้ประสานงานร่วมกันกับหลักสูตรภาควิชาเมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการวางแผนประดิษฐ์หุ่นยนต์ขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุม

“น้องใบหม่อน เป็นหุ่นยนต์ตัวที่ 2 ที่นักเรียนได้คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้น โดยมีความสูง 165 ซม. และขนาดความกว้าง 40 ซม. โดยด้านบนส่วนหัวจะเป็นที่ตั้งของกล้องและระบบรับสัญญา บริเวณลำตัวจะติดตั้งหลอดรังสี UVC ที่มีคุณสมบัติเศษในการฆ่าเชื้อโรคได้ในรัศมี 5-7 เมตร ขณะที่ช่วงล่างก่อนถึงฐานล้อ มีการติดตั้งกล่องใส่สิ่งของ ที่สามารถรับน้ำหนักได้ ไม่เกิน 3 กม. ระบบพลังงานใช้แบตเตอรี่รองรับไฟบ้านทั่วไป โดยใช้เวลาชาร์จ 2 ชม. ต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องได้นานถึง 6 ชม. ระบบรับ-ส่งสัญญาณผ่านระบบไวไฟที่สามารถส่งสัญญาณได้ถึงกันระยะทางกว่า 300 เมตร ซึ่งเมื่อได้รูปแบบแล้วจึงวางแผนในการจัดหาอุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ อย่างครบถ้วนและเข้าสู่ขั้นตอนของการประดิษฐ์ตามคำแนะนำของคณาจารย์ โดยนักเรียนได้ใช้เวลาเพียง 2 วันก็สามารถทีจะประดิษฐ์หุ่นยนต์ตัวนี้ได้สำเร็จ อย่างไรก็ดีสำหรับหุ่นยนต์อัจฉริยะตัวแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นได้ส่งมอบให้กับ รพ.ภูเวียง และวันนี้ตัวที่ 2 ได้ส่งมอบให้กับ รพ.ชุมแพ โดยได้มีการสาธิตและสอนการใช้งานกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรียบร้อยแล้ว และทางโรงเรียนยินดีที่จะดูแลรักษาและซ่อมบำรุงให้กับหุ่นยนต์ทั้ง 2 ตัวตลอดระยะเวลาของการใช้งานที่โรงพยาบาลอีกด้วย”

ด.ช.ณัฎฐ์  นาคบรรพต  จิตร์โต นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนเมทนีดล จ.ขอนแก่น กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่าหุ่นยนต์ที่ใช้ในวงการการแพทย์ ที่มีบางพื้นที่นำมาใช้ในการเป็นผู้ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ราคาสูงถึงตัวละกว่า 5 ล้านบาท ทำให้เพื่อนๆร่วมชั้นเรียน ซึ่งขอเป็นส่วนหนึ่งในการนำความรู้ ความสามารถ นำเอาแนวความคิดมาประสานกับเทคนิคทางวิชาการวิทยาศาสตร์ จนกลายมาเป็นน้องใบหม่อน ในราคาต้นทุนตัวละ 30,000 บาทที่เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคนใช้เวลาในการประดิษฐ์เพียง 2 วัน ซึ่งข้อดีของน้องใบหม่อนนี้นั้นสามารถหมุนได้ 360 องศา มีขนาดความกว้างที่พอดี ที่สามารถเข้าไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้แทบทั้งหมด รัศมีการฉายรังสี ยูวีซี ได้กว้างและไกลถึง 5-7 เมตร ซึ่งสามารถที่จะทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค เชื้อจุลชีพ แบคทีเรียในห้องพักผู้ป่วย หรือห้องปฎิบัติการได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังคงสามารถใช้ในการรับส่งของ ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ด้วยการติดตั้งกล่องด้านล่างช่วงฐานล้อ และบริเวณตัวหุ่นยนต์มีการติดตั้งชั้นสำหรับการใส่สิ่งของ หรือยา หรือแฟ้มผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

ขณะที่ พญ.ดวงพร อัศวราชันย์ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า หุ่นยนต์ที่ได้รับมอบจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของโรงพยาบาลอย่างมาก โดย รพ.ชุมแพ ทำการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แล้วทั้งสิ้น 23 ราย ซึ่งขณะนี้บางส่วนหายขาดจาดโรคและบางส่วนอาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหุ่นยนต์ที่ได้รับมอบถือเป็นมิติใหม่ในการทำงานโดยเฉพาะกับการที่จะช่วยในเรื่องของการทำความสะอาดห้องผู้ป่วยหรือ ห้องปฎิบัติการต่าง ๆ ด้วยระบบรังสียูวีซี รวมทั้งการรับ-ส่งสิ่งของ เวชภัณฑ์ยา หรือการติดต่อกับผู้ป่วยกับทีมแพทย์ ที่จากนี้ไปจะสามารถดำเนินการได้อย่าง สะดวก คล่องตัวและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจากผลงานของนักเรียนในครั้งนี้

ยโสธร - Kick off การป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน สร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกร

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 31 พ.ค.64 นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดการรณรงค์ Kick off การป้องกัน กำจัดโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือ ที่ฟาร์มโคขุนหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม โดยมี นายสัตวแพทย์ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดยโสธร นายสรวิศ สมพงษ์ นายอำเภอกุดชุม จ.ส.ต.พงษ์สถิตย์ อรอินทร์ ประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้แทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายเทอดศักดิ์ สมภักดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน นายทรงศักดิ์ วงษ์สุพรรณ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ นายดำรงศักดิ์ หงษ์ทะนี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ พร้อมเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ ในพื้นที่ ข้าร่วมงาน

นายสัตวแพทย์ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดยโสธร กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศ ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค การจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การปล่อยขบวนรถหน่วยพ่นยาฆ่าเชื้อโรคและพ่นยากำจัดแมลง  ปล่อยขบวนรถหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ สร้างความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคลัมปี สกิน แก่เกษตรกรโดยงดการเคลื่อนย้ายสัตว์ และขอให้เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรค พร้อมทั้งมอบสารกำจัดแมลง น้ำส้มควันไม้ ชุดเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์  แร่ธาตุก้อน วิตามิน บำรุงสุขภาพสัตว์ มอบหญ้าแห้งอาหารสัตว์

ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดโรคในพื้นที่บ้านหนองแหน หมู่ 1 ,3, 7 ซึ่งมีเกษตรกรเลี้ยงสัตว์รวม 8 คอก โค 14 ตัว องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน ได้สนับสนุนพ่นยาไล่แมลงที่เป็นพาหนะนำชื้อโรคพร้อมปศุสัตว์อำเภอกุดชุม เร่งลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค

สำหรับโรคลัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่พบในโค กระบือ  เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยแมลงดูดเลือดเป็นพาหนะนำโรคและไม่ติดต่อสู่คน สัตย์ป่วยจะมีอาการไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร มีตุ่นนูนแข็งขึ้นตามลำตัว ต่อน้ำเหลือโต ขณะนี้มีการแพร่ระบาดทั่วประเทศ 41 จังหวัด ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบระบาดใน 17 จังหวัด โดยจังหวัดยโสธร พบารระบาดใน 9 อำเภอ 58 ตำบล เกษตรกรได้รับผลกระทบ 563 ราย ซึ่งมีสัตว์เลี้ยง รวม 160,236 ตัว มีสัตว์ป่วยรวม 875 ตัว  ยังคงป่วย 768 ตัว และได้ประกาศเป็นเขตโรคระบาดชนิดลัมบีสกิน ในโค เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกในพื้นที่ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถกำจัดโรคลัมปี สกิน ให้หมดไปได้อย่างแน่นอน และขอให้เชื่อมั่นว่า โรคนี้ รักษาหาย เนื้อกินได้ ไม่ติดคน


ภาพ/ข่าว  สมัย คำแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดยโสธร

พิจิตร - นายก อบต.โพธิ์ประทับช้าง ปลุกพลังชาวบ้านฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อป้องกันโควิด

วันที่ 31 พ.ค. 2564 นายปิติพล  ปานทิม  นายก อบต.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร และ เรืออากาศตรี บุญเกิด มีทวี  รองนายก อบต.โพธิ์ประทับช้าง รวมถึง นายปุณยวัจน์ เหลืองวิจิตร รองนายก อบจ.พิจิตร ได้ร่วมกันทำกิจกรรมในการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อไวรัสโควิด โดยมีประชาชน กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และ สมาชิก อบต. รวมเกือบ 100 คน ที่นำเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ฉีดพ่นไม้ผลหรือสวนส้มโอมาดัดแปลงเป็นเครื่องฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อไวรัสโวิด รวมถึง อบจ.พิจิตร ก็นำเครื่องฉีดพ่นที่เป็นนวัตกรรมมาร่วมดำเนินการในครั้งนี้ด้วย  

ซึ่งการรณรงค์ในครั้งนี้เนื่องจาก ต.โพธิ์ประทับช้าง เป็นพื้นที่ตั้งของวัดโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเป็นโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว อบต.โพธิ์ประทับช้างจึงได้ดำเนินการดังกล่าว สำหรับพื้นที่ ต.โพธิ์ประทับช้าง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และทำสวนปลูกส้มโอ โดยที่ผ่านมาพื้นที่แห่งนี้ไม่เคยพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดเลยแม้แต่รายเดียว สาเหตุเนื่องจากชาวบ้านให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง จึงทำให้รอดพ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดดังกล่าว

สำหรับสถานการณ์ของจังหวัดพิจิตรประจำวันที่ 31 พ.ค. 64 วันนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ติดต่อกันมาเป็นเวลา 2 วันแล้ว ผู้ป่วยสะสมระลอก 3 เดือนเมษายน 64 จนถึงวันนี้มีผู้ป้วยสะสม 144 รายรักษาหายแล้ว 95 ราย  ผู้ป่วยยังรักษาตัวอยู่ 47 ราย มีเสียชีวิต 2 ราย 


ภา/ข่าว  สิทธิพจน์  พิจิตร

สมุทรสงคราม - ผอ.ศรชล.ภาค 1/ผบ.ทรภ.1 ตรวจเยียมหน่วยงาน ศรชล.จังหวัด และหารือข้อราชการ

พล.ร.ท.โกวิท อินทร์พรหม ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 1 และผู้บัญชาการทัพเรือภาค 1 (ผอ.ศรชล.ภาค 1/ผบ.ทรภ.1) พร้อมคณะฯ เข้าเยี่ยมพบปะและหารือข้อราชการกับ นายชรัส บุญณสะ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม/ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม (ผอ.ศรชล.จว.สส./ผวจ.สส.) เพื่อหารือข้อราชการ พร้อมตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของ ศรชล.จว.สส.และศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสมุทรสงคราม (ศคท.จว.สส.) ศคท.จว.สส.เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจกับกำลังพล ตลอดจนให้แนวทางในการปฏิบัติราชการในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานและยกระดับการให้บริการในด้านต่าง ๆ กับประชาชนและพี่น้องชาวประมงในพื้นที่ ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย


ภาพ/ข่าว ปชส.ศรชล.ภาค 1 / นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

สระแก้ว - นายกเทศมนตรีเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ทำคลีนนิ่งหน้าด่านพรมแดนคลองลึก-ปอยเปต

ถึงแม้ประเทศไทยยังพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทุกวัน แต่ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ และอยู่ในสถานกักกัน รวมถึงมีการสกัดคนที่ลักลอบเข้าไทยอย่างผิดกฎหมายได้ก็ตาม โดยเฉพาะหน้าด่านพรมแดนคลองลึก-ปอยเปตเป็นส่วนสำคัญที่ต้องรับคนไทยที่ไปทำงานในฝั่งกัมพูชากลับเข้าประเทศวันละ 100 ราย ดังนั้นจึงต้องทำการคลีนนิ่งป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด-19

เมื่อเวลา 15.00 น.ของ วันที่ 31 พค.64 นายวัชรินทร์ อรัญเจริญยิ่ง นายกเทศมนตรีเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้วพร้อมทีมงาน ทม.อรัญประเทศและ อสม.กม.5ฝั่งซ้ายและขวา จนท.ตำรวจท่องเที่ยวอำนวยความสดวกเดินหน้าสู้ภัยโควิด19 ณ.หน้าด่านพรมแดนคลองลึก-ปอยเปต ทำการฉีดล้างพ่นน้ำยาคลอบคลุมทั่วบริเวณทุกจุดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด-19 สร้างความมั่นใจให้กับ จนท.ที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณดังกล่าวและกลุ่มการเดินรถส่งสินค้าข้ามแดนไปยังประเทศกัมพูชา ส่วนด่านพรมแดนคลองลึก-ปอยเปตยังคงไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดด่านสำหรับบุคคลเข้า-ออก (ยกเว้น) รถขนส่งระบบโลจิสติกส์ยังใช้มาตราการให้มีคนขับประจำรถเพียงคนเดียวในการเข้า-ออกเท่านั้น

ทั้งนี้นายวัชรินทร์ อรัญเจริญยิ่ง นายกเทศมนตรีเมืองอรัญประเทศได้กล่าวห่วงใยว่า พี่น้องประชาชนคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศกัมพูชาเพื่อที่จะเข้ารับการรักษาตัวนั้นให้ปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบเพื่อตัวท่านเองร่วมมือกับ จนท.อย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อโรคไปยังสถานที่ต่าง ๆ กล่าวทิ้งท้ายเชิญพี่น้องฉีดวัคซินกาดอย่าตกเพื่อครอบครัวและพร้อมที่ช่วยเหลือทุกหน่วยงานที่ประสานมา ทำความสะอาด ล้างท่อระบายน้ำต่าง ๆ บริเวณหน้าด่านนอกจากนั้นแล้วยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพ่อค้าแม่ค้นชาวกัมพูชาด้วย วันนี้ พร้อมอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด รถฉีดน้ำแรงดันสูง เข้าทำความสะอาดพื้นถนน และตามท่อระบายน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งการทำความสะอาดพื้นที่ตลาดโรงเกลือบริเวณหน้าด่านในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการจัด “บิ๊กคลีนนิ่งเดย์”เพื่อเตรียมรองรับเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งบริเวณนี้อยู่ในพื้นที่ต่ำเมื่อถึงฤดูฝนของทุก ๆ ปีจะเกิดปัญหาน้ำท้วมเป็นประจำ เนื่องจากมีขยะจำนวนมากเข้าไปอุกตันท่อระบายน้ำ การทำความสะอาดในครั้งนี้จึงเน้นการจัดเก็บขยะต่าง ๆ ออกจากท่อระบายน้ำ เพื่อให้น้ำไหลได้อย่างสะดวก ปัญหาน้ำท้วมตลาดโรงเกลือก็จะสามารถแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพ่อค้าแม่ค้าชาวกัมพูชาจำนวนมากที่เปิดร้านขายสินค้นในตลาดโรงเกลือช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดย มีความเป็นห่วงเรื่องนี้มาก จึงได้ให้หน่วยงานต่างๆในพื้นที่อำเภออรัญประเทศ จัดกิจกรรม บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ และกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าชาวกัมพูชามีความมั่นใจว่า คนไทยจะดูแลให้กับพ่อค้าแม่ค้าชาวกัมพูชาเป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการจัดกิจกรรม บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ มีความเป็นห่วงประชาชนทั่วประเทศอีกด้วย


ภาพ/ข่าว  อดิศักดิ์ สระแก้ว / สมศักดิ์ สารการ /บูรพาทีวีออนไลน์ รายงาน

ขอนแก่น - สหกรณ์โคนมจี้รัฐ ทบทวนสิทธิ์การจัดสรรโควตานมโรงเรียนให้กับสหกรณ์มากขึ้น หวั่นนมล้นตลาด หลังพบเอกชนรายใหญ่เจาะตลาดนมโรงเรียนและนมพาณิชย์มากขึ้น เฉพาะที่ขอนแก่นนมคงค้างมากถึงวันละเกือบ10 ตัน วอนทุกหน่วยเร่งแก้ปัญหา

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 1 มิ.ย.2564 ที่สหกรณ์โคมนม จ.ขอนแก่น นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด  พร้อมด้วย นายคำพันธ์ ไชยหัด ประธานสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด นำคณะกรรมการสหกรณ์โคมนมแห่งประเทศไทย และสหกรณ์โคนมขอนแก่น ร่วมกันจัดกิจกรรมเนื่องในวันดื่มนมโลกประจำปี 2564 แบบวิถีใหม่ หรือนิวนอมอล ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนดื่มนมกันอย่างแพร่หลาย และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่  ก่อนที่ทั้งหมดจะร่วมประชุมเพื่อรับทราบถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ได้รับผลกระทบอยู่ในขณะนี้

นายคำพันธ์ ไชยหัด ประธานสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่เป็นสมาชิกขณะนี้มีอยู่กว่า 174 ราย แต่ละวันมีการส่งน้ำนมโคดิบให้กับสหกรณ์วันละ ประมาณ 42 ตัน ในราคารับประกันการซื้อที่ กิโลกรัมละ 17.50 บาท ซึ่งสหกรณ์ได้ทำการคัดคุณภาพและผ่านขั้นตอนกระบวนการต่างเพื่อส่งจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าหลัก 2 กลุ่มแยกเป็นกลุ่มบริษัทเชิงพาณิชย์ อาทิ  อสค.,ซีพี ,บริษัทเอกชนตามสัญญาคู่ค้า วันละ ประมาณ 20 ตัน และอีกส่วนคือส่งจำหน่ายให้กับ กลุ่มนมโรงเรียนวันละ 22 ตัน แต่ปัญหาที่พบคือการส่งจำหน่ายให้กับกลุ่มนมโรงเรียนนั้นมีการรับซื้อวันละ 15 ตัน ทำให้นมของสหกรณ์คงค้างอยู่ในสต๊อกมากถึงวันละ 7  ตัน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการจัดสรรโควต้า ซึ่งสหกรณ์โคนมขอนแก่นอยู่ในกลุ่ม 3 ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัดภาคอีสานตอนบนโดยมีผู้ประกอบการทั้งในส่วนของสหกรณ์และบริษัทเอกชน รวมทั้งสิ้น 14 ราย โดยมีการรับซื้อน้ำนมจากผู้ประกอการดังกล่าววันละ 166 ตัน ในรูปแบบของการจัดสรรโควต้า

“ยอมรับว่าสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น นั้นส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมาก การจัดสรรโควต้าของกลุ่มนมโรงเรียน ที่ประกาศให้กลุ่มที่ 3 รับซื้อวันละ 166 ตัน แต่ก็มีการจัดสรรให้กับกลุ่มสหกรณ์ในสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มบริษัทเอกชน จนทำให้ขณะนี้น้ำนมจากสหกรณ์โคนมขอนแก่นคงค้างอยู่ในสต็อกแต่ละวันจำนวนมาก ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขก็จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคมที่อาจจะต้องปล่อยทิ้งน้ำนมทั้งหมดไป”

ขณะที่ นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า กลุ่ม 3 ของสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย พบว่ามีสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบในลักษณะนี้เกิดขึ้นแล้วที่ สหกรณ์โคนมขอนแก่น และ สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จึงต้องมีการประชุมด่วนหารือถึงทางออกในการแก้ไขปัญหาเพราะหากปล่อยทิ้งไว้เข้ามารับฟัง รับทราบ หรือแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทางก็จะส่งผลต่อเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบในด้านต่างๆอย่างมาก ทุกภาคส่วนกำลังกำหนดแนวทางและพากันก้าวผ่านวิกฤติเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยกันโดยเร็ว ดังนั้นการจะออกมาเทนมทิ้งหรือการกระทำใด ๆ นั้นควรไม่มีเกิดขึ้น

“เราต้องหาทางออกและได้ข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะที่เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนี้นั้นแต่ละสหกรณ์นั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะการเลื่อนการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนทุกแห่ง ทำให้การบริโภคนมลดลง จึงขอเชิญชวนให้คนไทยทั้งประเทศร่วมกันช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ด้วยการดื่มนมทุกวัน ขณะที่คณะทำงานเมื่อได้ข้อสรุปจากปัญหาดังกล่าวแล้ว จะมีการเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐบาลเพื่อได้รับทราบจนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและชัดเจนต่อไปอย่างเร่งด่วน”

อุทัยธานี - หน่วยทหารยื่นมือช่วยชาวบ้าน แก้ปัญหาน้ำท่วม กำจัดผักตบชวาในลำคลอง เขาฆ้องชัย หมู่ 11 บ้านวังหน้าศาล ต.ประดูยืน อ.ลานสัก

ณ ลำคลองเขาฆ้องชัย บ้านวังหน้าศาล หมู่ 11 ต.ประดู่ยืน อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี โดยมี นาวาเอกเอกปิ่นแก้ว สาระปัญญา รองผู้บังคับบัญชาหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 15 พร้อมหน่วยข้าราชการในพื้นที่ ที่ขาดไม่ได้ ก็คือความร่วมมือของชาวบ้าน ที่ร่วมใจกัน ดำเนินการแก้ไขปัญหาผักตบชวาบ้านวังหน้าศาล และขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล และแนวทางการดำเนินการ บูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวาให้เกิดความเรียบร้อย เป็นรูปธรรม เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืนให้ประชาชนในพื้นที่ ที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำรักษาความสะอาดและจัดเก็บขยะมูลฝอยในพื้นที่สาธารณะ คูคลอง ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาน้ำเน่าเสีย และสิ่งปฏิกูลจากการปล่อยลงแม่น้ำลำคลอง สารเคมี การสะสมของวัชพืชต่าง ๆ ส่งผล ให้คุณภาพน้ำต่ำลง คูคลอง ตื้นเขิน ไม่สามารถระบายน้ำได้ทันเมื่อฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมตามมา


ภาพ/ข่าว ภาวิณี ศรีอนันต์ รายงาน

สมุทรปราการ - มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลงพื้นที่ส่งต่อน้ำใจไทย มอบเครื่องช่วยหายใจ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลสมุทรปราการ สู้ภัยโควิด-19

วันนี้ (วันที่ 1 มิถุนายน 64 เวลา 13.00 น.) นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พร้อมด้วยนายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก มอบอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ในโครงการ “ส่งต่อน้ำใจไทย สู้ภัยโควิด-19”  แก่โรงพยาบาลสมุทรปราการ ประกอบด้วย เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 1 เครื่อง ชุด Personal Protective Equipment ( PPE ) จำนวน 200 ชุด หน้ากาก N95 จำนวน 200 ชิ้น หน้ากากอนามัย จำนวน 200 กล่อง เจลแอลกอฮอล์ ขนาด 5 ลิตร จำนวน 20 แกลลอน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 281,900 บาท(สองแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน) เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) โดยมี นายแพทย์ปฏิวัติ วงศ์งาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องประชุมโกศล อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ

การมอบอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ริเริ่มดำเนินการมามอบมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุน “ธารน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” เพื่อมอบอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนต่อเนื่อง ควบคู่กับโครงการ “ส่งต่อน้ำใจไทย สู้ภัยโควิด-19” โดยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ระลอกใหม่นี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ปรับแผนการดำเนินงานการช่วยเหลือประชาชนทั้งด้านบรรเทาสาธารณภัย สังคมสงเคราะห์ และหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน พร้อมประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือเชิงรุกทั้งในส่วนของประชาชน ชุมชน และบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงจัดตั้งโรงครัวประกอบอาหารปรุงสุกเพื่อช่วยเหลือประชาชนในขณะนี้ รวมงบประมาณดำเนินการออกช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 33 ล้านบาท

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมบริจาคสมทบทุนช่วยเหลือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) กับมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ติดต่อสอบถาม รวมถึงติดตามข่าวสารกิจกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ – ผู้ประสบภัยต่าง ๆ ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top