Monday, 12 May 2025
Region

เชียงใหม่ - สดร. คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประจำปี 2564

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทองค์กรภาครัฐ ราชการ และประชาสังคม ประจำปี 2564” บทพิสูจน์ความมุ่งมั่นตั้งใจ ใช้ดาราศาสตร์เป็นโจทย์ท้าทายการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคน ผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้าสู่สังคม สร้างการรับรู้ และมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชนไทยให้เข้าถึงดาราศาสตร์และเทคโนโลยี ควบคู่กับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรมอย่างเข็มแข็งและยั่งยืน


ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา
กว่า 12 ปีที่ผ่านมา สดร. มุ่งใช้โจทย์ที่ท้าทายที่สุดทางดาราศาสตร์ เป็นยุทธศาสตร์ผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า ผลักดันเทคโนโลยีที่ต้องคิดค้นขึ้นเพื่อตอบโจทย์วิจัยดาราศาสตร์ การได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของบุคลากรทุกคนในสถาบัน และถือเป็นบทพิสูจน์ความตั้งใจของคนทั่วทั้งองค์กร
ที่ต่างมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมในทุกด้าน เราใช้ดาราศาสตร์ซึ่งเป็นโจทย์วิทยาศาสตร์ขั้นแนวหน้าในการพัฒนาคนและเทคโนโลยี จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกจำนวนมาก มีต้นกำเนิดมาจากการพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์ขั้นแนวหน้า นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราลงมือทำ โดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไทยอาจจะยังไม่เคยทำมาก่อน เราขับเคลื่อนองค์กรด้วยความมุ่งมั่นและแรงบันดาลใจของบุคลากร เรามีพื้นที่ให้ทุกคนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และลงมือปฏิบัติจริง และไม่ปฏิเสธการร้องขอจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่นในเรื่ององค์ความรู้และเทคนิค ส่งผลให้ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา งานนวัตกรรมของ NARIT  มีหลากหลายทั้งในระดับโลก ระดับชาติ และระดับองค์กร 


บางชิ้นเป็นต้นแบบเครื่องแรกในโลก เช่น  ระบบถ่ายภาพความละเอียดสูงพร้อมระบบทัศนูปกรณ์แบบปรับได้ เป็นต้น นวัตกรรมดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสถาบันยังต่อยอดไปสู่นวัตกรรมในวงการอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และดาวเทียม ฯลฯ นอกจากนี้ การเข้าร่วมโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกหลายโครงการ ยังนำมาซึ่งการพัฒนาขีดความสามารถสูงสุดของนักวิจัย วิศวกร ช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะทำให้เกิดคนเก่งแล้ว ยังจะนำไปสู่การพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต นำประเทศไทยให้หลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลางอีกด้วย 
 

ลำปาง - "พิทักษ์คน ร่วมกันพัฒนาค่ายฯ" ผบ.มทบ.32 มอบของที่ระลึกแก่กำลังพล เนื่องในวันสถาปนาหน่วย

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. พลตรี อโณทัย ชัยมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 เป็นประธานในพิธี มอบของที่ระลึกเป็นสวัสดิการแก่กำลังพลของมณฑลทหารบกที่ 32 และหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 เนื่องในวันสถาปนาของหน่วย เพื่อให้หน่วยได้ใช้งบประมาณของหน่วยในการดูแล สวัสดิการกำลังพลให้เกิดประโยชน์ เป็นการแสดงออกถึงความปรารถนาดีของผู้บังคับบัญชา และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับกำลังพล ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ ทุ่มเทเสียสละช่วยเหลือในการทำงาน ตามภารกิจของหน่วยอย่างเต็มขีดความสามารถ ในห้วงที่ผ่านมา ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

  ในการนี้ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 ได้กล่าวขอบคุณ และให้กำลังใจกำลังพลทุกนาย ที่ได้ร่วมกันพัฒนาค่ายฯ โดยได้เน้นกำชับในเรื่องมาตรการพิทักษ์คน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไว้รัสโคโรนา 2009 หรือโควิด-19 ให้กำลังพลทุกนายไม่ประมาท พร้อมเดินหน้าร่วมมือการทำงานเป็นทีม

ในการพัฒนาค่ายสุรศักดิ์มนตรีอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์ต่อกองทัพบก และประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ 
พลตรี อโณทัย ชัยมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 กล่าวว่า "วันนี้ผมเป็นตัวแทนในนามหน่วย มอบของเป็นสวัสดิการเนื่องในวันสถาปนาหน่วย เป็นกระติกน้ำให้กับพวกเรา ถือว่าเป็นการขอบคุณแทนหน่วย สำหรับในปี 65 นี้อยากบอกพวกเราว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดเนื่องจากว่าขณะนี้เราได้ และกลับมาปฏิบัติงานเต็มรูปแบบ


 

ชลบุรี - นครแหลมฉบัง จัดประชุมประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหาร เชิญ ‘ดร.คณิศ’ เลขา EEC แนะพัฒนาพื้นที่ เผยข่าวดี ท่าเรือเฟส 3 เตรียมยื่นนายกตู่ นำเข้า ครม.อีก 2 อาทิตย์

ที่ห้องประชุมเมืองท่า ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร เทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 2/2564 พร้อมด้วยนางจินดา  ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม ในการยังได้เชิญ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เข้าร่วมพบปะพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้แทนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย ท่าเรือแหลมฉบัง บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) การนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และโรงกลั่นไทยออลย์ เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย

นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ ได้กล่าวขอบคุณ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ช่วยในการผลักดันงบประมาณ จนกำเนิดโครงการก่อสร้างทางแยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 กับถนนเมืองใหม่เหนือและถนนนิคมแหลมฉบัง 4 จ.ชลบุรี ด้วยงบประมาณ 177 ล้านบาท ที่จะช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนสุขุมวิท ที่ต้องการมุ่งหน้าเข้าไปทำงานในพื้นที่ ท่าเรือแหลมฉบัง และบริษัทกว่า 200 บริษัท ภายในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยไม่ต้องมุ่งหน้าไปเลี้ยวยูเทรินกลับรถ ประดังกันที่บริเวณสี่แยกท่าเรือแหลมฉบัง บางครั้งรถติดยาวเหยียดหลายกิโลเมตร

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ได้มาร่วมประชุมในครั้งนี้ สำหรับโครงการภายใต้การผลักดันงบประมาณของ คณะกรรมการ EEC นั้น มีทั้ง ท่าเรือมาบตะพุด สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งพัฒนาไปมากแล้ว แต่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 กลับกลายเป็นว่าพัฒนาช้าที่สุด ซึ่งเราเสียเวลาไป กว่า 3 ปี และเสียดายมาก แต่ล่าสุดได้มีการแก้ไขระเบียบสัญญาต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย

ทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ได้เตรียมยืนเรื่องการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ให้กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีก 2 อาทิตย์ เพื่อนำเข้าสู่ ครม.ต่อไป

โดยท่าเรือระยะที่ 3 มีอยู่ 3 เรื่องที่เป็นข่าวดีและเป็นเรื่องใหม่ ท่าเรือแห่งนี้ จะเป็นท่าเรือ ฟลูออติเมชั่น ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 2 ที่ ในโลกเท่านั้น และเราจะเป็นที่ ๆ 3 ต่อจาก ท่าเรือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และข้อดีของการเป็นท่าเรือฟลูออติเมชั่น คือสามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง เพราะว่าไม่ต้องใช้คนงานเยอะ สอดคล้องกับการใช้ระบบ 5 จี เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน เช่นการยกตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลง ผ่านทางลางรถไฟ ซึ่งหากปิดไฟมืดสนิทก็ยังคงสามารถปฏิบัติงานได้ เนื่องจากเป็นระบบ

ในขณะที่เรื่องที่ 2 คือ ระบบรถไฟ ซึ่งเราได้วางระบบไว้ โดยจะใช้การขนส่งทางรถไฟ เป็นส่วนใหญ่ หรือ 80 % และที่สำคัญจะสามารถช่วยลดปัญหาความคับคั่งของปัญหาจราจรในพื้นที่ได้ และเรื่องที่ 3 คือ คอร์เนต ทีริตี้ มาใส่ในท่าเรือแหลมฉบัง โดยเป็นการนำตู้คอนเทนเนอร์มาขนถ่ายผ่านระบบออโตเมติกในท่าเรือแหลมฉบัง ให้เยอะที่สุด เราหวังว่าตู้คอนเทนเนอร์ จาก 11 ล้านทีอียู ในปัจจุบัน จะเพิ่มอีก 7 ล้านทีอียู รวมเป็น 18 ล้านทีอียู ต่อปี และส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบัง ขึ้นเป็นอันดับที่ 15 ของโลก

ส่วนที่มีการสอบถามมาว่า ปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และพื้นที่อื่น ๆ ถือมีความแออัดเป็นอย่างมาก เกรงว่าจะไปไม่ทัน และตกรถไฟได้

เรื่องนี้ทางคณะกรรมการ EEC ได้มีการวางแผนเพื่อรองรับพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงไว้แล้ว โดยจัดให้มีการลดการใช้รถยนต์เดินทางมายังสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเปิดให้มีจุดรับส่งประชาชนขึ้นรถโดยสารสาธารณะ เดินทางไปสถานีรถไฟ ตามจุดต่าง ๆ ของพื้นที่

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ได้สนับสนุนเงินลงทุนใน 3 จังหวัด พื้นที่ EEC ในโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วกว่า 630,000 ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าอีกใน 4 ปีข้างหน้า จะมีการลงทุนอีก 1.66 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาครัฐ ต้องการเพิ่มศักยภาพลงทุนให้เป็นจำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และชักชวนให้ภาคเอกชนมาลงทุนในพื้นที่ EEC เป้าหมายตั้งไว้ที่ ปีละประมาณ 5 แสนล้านบาท

 

ปทุมธานี - บิ๊กแจ็ส จับมือท้องถิ่นลอกคลองหนองเสือ เตรียมรับมือ ‘พายุไลออนร็อค’

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 08:30 น. ที่คลอง 10 บริเวณที่เขื่อนหน้าที่ว่าการอำเภอหนองเสือ ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นายเสวก ประเสริญสุข , นายสิระพงษ์ สิริโพธินันท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี , ร.ต.อ. ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต , นายวริศ เจริญกัลป์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองเสือ ร่วมลงพื้นที่ติดตามตรวจการทำงานขุดลอกคลองโดยใช้เรือโป๊ะในการขุดลอกภายในคลอง 10 ซึ่งเป็นหนึ่งคลองจากการดำเนินการทั้งหมด14 คลองเพื่อเป็นการปรับทัศนียภาพเเละกำจัดวัชพืชบริเวณผิวน้ำ รวมไปถึงรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดปัญหาอุทกภัยในช่วงสองวันข้างหน้าหากมีผลกระทบจากน้ำฝนและเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับปริมาณน้ำรวมไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นอีก 30 - 50 เซนติเมตร และรับพายุหมายเลข 17  ไลออนร็อค จะทำให้ฝนตกหนักในภาคเหนือและอีสานตอนบนในวันที่ 11-12 ต.ค.64 นี้

สืบเนื่องกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ มีประกาศแจ้งว่าได้ประเมินสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก พบว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,775 - 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนปาสักชลสิทธิ์ได้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยคาดว่าในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากรวมกันผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุดที่ 3,050 - 3,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 7-10 ตุลาคม 2564 ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี จึงเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว

โดยแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทห้างร้านที่ประกอบกิจการริมแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ทราบถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ขอให้อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก กำชับผู้อำนวยการท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ติดตามสถานการณ์และตรวจสอบแนวคันกันน้ำให้มีความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว ตลอดจนประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมความพร้อม กำลังพล วัสดุ อุปกรณ์เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้พร้อมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ให้รายงานสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบทันที ผ่านทางสายด่วน 1784

 

เพชรบูรณ์ - ประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ประจำปี 2564 รักษาแก่นแท้ของประเพณี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์

6 ตุลาคม 2564 เวลา 09.39 น. ที่บริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วยกรมการเมืองทั้ง 4 คือ เวียง วัง คลัง และนา ได้ร่วมอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ จากวัดไตรภูมิ แห่องค์พระล่องไปตามแม่น้ำป่าสัก ไปยังท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร เพื่อประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ประจำปี 2564 โดยในปีนี้จังหวัดเพชรบูรณ์กำหนดจัดงานเพื่อ รักษาแก่นแท้ของประเพณีเท่านั้น งดการจัดกิจกรรมที่รวมคนเป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 

โดยพิธีเริ่มจากนายกฤษณ์  คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  ได้อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาขึ้นประดิษฐานบนเรือ จากวัดไตรภูมิมายังแม่น้ำป่าสัก และแห่องค์พระพุทธมหาธรรมราชาล่องไปตามสายน้ำ ถึงท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร เพื่อประกอบพิธี อุ้มพระดำน้ำ ที่ปฏิบัติสืบทอดมานาน และเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อันจะนำความสุข ความสงบร่มเย็นมาสู่เมือง ส่งผลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชผลการเกษตรอุดมสมบูรณ์ และทำให้ชาวเพชรบูรณ์มีความเจริญรุ่งเรือง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วยกรมการเมืองทั้ง 4 คือ เวียง วัง คลัง และนา ได้ร่วมกันอุ้มพระดำน้ำจำนวน 6 ครั้ง ครั้งแรกและครั้งที่สองทำพิธีอุ้มในทิศใต้  ครั้งที่สามครั้งที่สี่ทำพิธีอุ้มในทิศเหนือ ครั้งที่ห้าทำพิธีอุ้มในทิศใต้ และครั้งที่หกทำพิธีอุ้มในทิศเหนือ  ซึ่งภายหลังจากเสร็จพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ และผู้ร่วมประกอบพิธี ได้แจกจ่ายเครื่องบวงสรวง กระยาสารท ข้าวต้มลูกโยน กล้วย ที่ผ่านพิธีอันเป็นมงคล ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาร่วมพิธีนำกลับไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำมีตำนานที่ถูกเล่าขานมานานเป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลกของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ออกหาปลาในแม่น้ำป่าสัก แต่อยู่มาวันหนึ่งเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น โดยกระแสน้ำในบริเวณวังมะขามแฟบ มีพรายน้ำผุดขึ้นมาทีละน้อยจนแลดูคล้ายน้ำเดือด จากนั้นกลายเป็นวังวนดูดเอาองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ทำให้ชาวประมงต้องลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ แต่ในปีถัดมาตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 วันประเพณีสารทไทย พระพุทธรูปดังกล่าวหายไป ชาวบ้านต่างพากันระงมหา สุดท้ายไปพบพระพุทธรูปกลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณที่พบพระพุทธรูปองค์นี้ในครั้งแรกกำลังอยู่ในอาการดำผุดดำว่าย

 

กรุงเทพฯ - กองทัพเรือจัดกำลังพลจิตอาสา บูรณาการชุมชน วางกระสอบทราย 7,000 ถุงรับมืออุทกภัย

กองทัพเรือ โดยศูนย์ประสานงานและสนับสนุนโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริของกองทัพเรือ (ศปง.โครงการจิตอาสาฯ ทร.) จัดกำลังพลจิตอาสาจากฐานทัพเรือกรุงเทพ จำนวน 30 นาย ร่วมกับสำนักการระบายน้ำ และสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กองทัพบก ตำรวจ และประชาชนจิตอาสา ชุมชนต่าง ๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ กองทุนแม่ของแผ่นดินชุมชนตรอกตาแทน กองทุนแม่ของแผ่นดินชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ กองทุนแม่ของแผ่นดิน  ชุมชนหลังเสสะเวช ชุมชนลานมะขามบ้านหม้อเขตบางกอกใหญ่ และชุมชนหลังเสสะเวชเขตบางกอกน้อย ดำเนินการจัดเรียงกระสอบทราย บริเวณท่านิเวศน์วรดิฐ จำนวน 7,000 ถุง ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่อาจได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในครั้งนี้


ภาพ/ข่าว  นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

สมุทรปราการ - กำลังพลจิตอาสา โรงเรียนนายเรือ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” พัฒนาวัดบางโฉลงนอก และคลองสำโรง

วันที่ 6 ต.ค.64 เวลา 10.30 น.พลเรือโท ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของโรงเรียนนายเรือ และกำลังพลจิตอาสาโรงเรียนนายเรือ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ในกิจกรรมจิตอาสาป้องกันน้ำท่วม โดยมีพลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ และกำลังพลจิตอาสากองทัพเรือ ตลอดจนจิตอาสาจังหวัดสมุทรปราการ และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ วัดบางโฉลงนอก อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ในการนี้โรงเรียนนายเรือ ได้จัดกำลังพลจิตอาสาจำนวน 30 นาย  พร้อมด้วยรถดับเพลิงเข้าร่วมกิจกรรม โดยได้ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่บริเวณภายในวัดบางโฉลงนอก และเก็บขยะ ผักตบชวาในคลองสำโรง เพื่อไม่ให้เข้าไปกีดขวางการทำงาน งของเรือผลักดันน้ำ ของหน่วยเฉพาะกิจเรือผลักดันน้ำกองทัพเรือ

 

ลำปาง - มทบ.32 ร่วมแบ่งปันน้ำใจ นำสิ่งของอุปโภค-บริโภค ใส่ตู้ปันสุข MC32 แจกจ่ายประชาชน

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรน่า 2019 หรือ "COVID-19" ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวบ้านหลากหลายอาชีพที่ได้รับความลำบากต้องหยุดงานขาดรายได้ บางรายเดือดร้อนหนักขาดแคลนอาหาร มณฑลทหารบกที่ 32

โดย พลตรี อโณทัย ชัยมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 ได้มอบหมายให้ พันเอก กวิน ยาวิชัย รองเสนาธิการ มณฑลทหารบกที่ 32 และวิทยากรจิตอาสา 904 นำสิ่งของอุปโภค-บริโภค ช่วยเหลือประชาชน ช่วงวิกฤตโควิด-19 ในโครงการ"ตู้ปันสุข" ตามแนวคิด "หยิบแต่พอดี ใครมีก็แบ่งปัน" ณ จุดรอรถ บริเวณทางเข้าที่ 2 มณฑลทหารบกที่ 32 ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

 

กระบี่ - “อนุทิน” อนุมัติวัคซีน sinovac - AstraZeneca จำนวน 500,000 โดส พร้อมส่งมอบพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเปิดเมืองพื้นฟูเศรษฐกิจ - การท่องเที่ยว พร้อมให้กำลังใจข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด-19

วันนี้ (7 ตุลาคม 2564) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตรวจเยี่ยมการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID -19) พื้นที่จังหวัดกระบี่  โดยมี  นายพุฒิพงศ์  ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวต้อนรับ เข้าร่วมประชุม รับและส่งมอบวัคซีนจาก ผู้บริหารจากทั้ง 2 กระทรวง โดยมี องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมพนมเบญจา (ชั้น) 5 ศาลากลางจังหวัดกระบี่

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 2019 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2563 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ชะลอตัวไปจนถึงหยุดชะงัก ร้านอาหาร ห้างร้าน โรงแรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวต้องหยุดให้บริการ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว รัฐบาลได้ประกาศ "เปิดประเทศ" ไว้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เดินหน้าแผนระยะที่ 1 โดยทำการทดลองเปิดพื้นที่นำร่องในรูปแบบ Sandbox ซึ่งจังหวัดกระบี่ เริ่มเปิดเกาะพีพี เกาะไหง หาดไร่เล  ก่อนแผนระยะที่ 3 เป็นการผ่อนผัน ในเรื่องของระยะเวลาในการทำกิจกรรมในสถานที่ต่าง ๆ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และแผนระยะที่ 3 การเปิดจังหวัด เปิดประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2564

จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว พื้นที่นำร่องระยะแรกที่พร้อมจะเปิดจังหวัด  จึงกำหนดเป็นนโยบายให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างน้อย ร้อยละ 70 หรือประมาณ 352,653 คน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 504,00 คน ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มหนึ่งแล้วทุกคนจะได้รับวัคซีนเข็มสองภายใน เดือนตุลาคมนี้ คิดเป็นร้อยละ ๓๘ กระทรวงสาธารณสุขยังคงเร่งให้วัคซีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ครบตามเป้าหมายโดยเร็วที่สุด เพื่อเปิดเมือง  พื้นฟูเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว พร้อมส่งมอบวัคซีน จำนวน 500,000 โดส

  

กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้การเปิดประเทศครั้งนี้ ไม่ก่อให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญกับทั้งสุขภาพประชาชนควบคู่ กับเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 จึงเป็น "วาระแห่งชาติ"ที่ประชาชนในแผ่นดินไทยจะต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 70% หากประชาชน มีความประสงค์จะเข้ารับวัคซีนมากกว่านั้น กระทรวงสาธารณสุขก็ได้เตรียมวัคซีน สำหรับปี 2564 ไว้ถึง 125 ล้านโดส วัคซีนทางเลือก 27 ล้านโดส รวมถึง การได้รับบริจาคจากประเทศต่าง ๆ มาเป็นระยะ 

 

จันทบุรี - จุรินทร์ "ประกาศ 17 มาตรการ" ดูแลผลไม้ปี 65 ล่วงหน้า ปลื้ม!! ส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ นำรายได้เข้าประเทศถึง 169,000 ล้าน

วันที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 15.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ประชุมเตรียมการดูแลผลไม้ปี 2565 โดยเป็นการกำหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ โดยมีนายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต สส.จังหวัดจันทบุรี นายอิทธิพล จังสิริมงคล นายชรัตน์ เนรัญชร นายชาติชาย วรพิพัฒน์ ตัวแทนเกษตรกรผู้ประกอบการและผู้รับซื้อ ผู้ส่งออก ผู้บริการขนส่ง ทูตพาณิชย์ในต่างประเทศ และพาณิชย์จังหวัดที่มีสินค้าผลไม้ ร่วมรับฟังนโยบาย พร้อมผู้บริหารระดับสูง 2 กระทรวง ณ โครงการศูนย์บริหารจัดการ มหานครผลไม้ ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการสัญจรลงพื้นที่ตามภารกิจอ"จุรินทร์ออนทัวร์ ภาคตะวันออก"

การประชุมหารือได้สรุปผลของการแก้ไขปัญหาปี 2564 และที่ผ่านมาและได้เตรียมการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเวทีรับฟังปัญหาของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องจากนั้นแถลงสรุปมาตรการ โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ตนมาประชุมร่วมกับตัวแทนเกษตรกร ตัวแทน SMEs แปรรูปผลไม้ ล้ง ผู้ประกอบการ ส่วนราชการจังหวัดและกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งหน่วยงานราชการทั้งหมด ในจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด เพื่อกำหนดแนวทางในการเตรียมการมาตรการรองรับผลไม้ ปี2565 ที่จะออกไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปีหน้า ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรการล่วงหน้าก่อน 6 เดือน โดยมาตรการผลไม้เชิงรุกมี 17 มาตราดังนี้

1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง

2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน

3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน

4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฏหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน

5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่าง ๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป

6.มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง

7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 2557 จะสนับสนุนที่15,000 ตัน

8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่างๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน

9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก

10.จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น

11.จะส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศในรูปแบบ THAIFEX – Anuga Asia

จัดงานส่งเสริมการบริโภคผลไม้ระดับนานาชาติ ช่วงเดือนพฤษภาคม 65 ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

12.เร่งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็น 5 ภาษา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย

13.จะจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการค้าออนไลน์เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภคและจะเพิ่มเติมหลักสูตรการส่งออกเบื้องต้นให้ด้วย ตั้งเป้าอบรมเกษตรกรให้ได้อย่างน้อย 1,000 ราย

14.มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อให้สามารถดำเนินการเก็บผลไม้และส่งเสริมการขายผลไม้ได้ต่อไป

15.ในบางช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน ให้ กอ.รมน.ส่งกำลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้

16.กระทรวงพาณิชย์จะสั่งการให้ทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศประสานงานกันช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศต่อไป ให้มีความเข้มข้นขึ้น

17.กระทรวงพาณิชย์และจังหวัดจะบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้ราคาดีไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายชั่งตวงวัดโดยเคร่งครัดต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top