Sunday, 11 May 2025
Region

กรุงเทพฯ - โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจงกรณี กองทัพเรือ “ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ รื้อต้นไผ่ภายในกองทัพเรือ”

พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีสื่อมวลชนและสำนักข่าวหลายสำนัก นำเสนอข่าว กองทัพเรือ ปรับภูมิทัศน์ ในพื้นที่กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิมและวังนันทอุทยานโดยระบุว่า ผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบัน ได้สั่งให้มีการรื้อต้นไผ่ซึ่งปลูกในสมัย พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์  ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ เพราะมีความขัดแย้งกับ พลเรือเอก ลือชัย ฯ นั้น โฆษกกองทัพเรือ

ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เนื่องจากภายในเขตพระราชวังเดิม นอกจากจะเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานของกองทัพเรือแล้ว ยังมีโบราณสถานที่สำคัญที่กองทัพเรือดูแลรักษา ตกแต่งภูมิทัศน์ให้มีความงดงามอยู่เสมอ แต่เนื่องจากต้นไผ่ ซึ่งปลูกมาเป็นเวลากว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตสูงขึ้นและบดบังอาคารสำนักงาน รวมถึงบดบังทัศนียภาพโบราณสถานที่สวยงามอีกด้วย

จึงจำเป็นต้องถอนหรือตัดออกบางส่วนเพื่อความสวยงาม ส่วนในพื้นที่ กองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน ก็พบว่าต้นไผ่ขึ้นสูงจนบดบังอาคารเช่นเดียวกัน  รวมถึงบดบังเส้นทางจราจรในพื้นที่ดังกล่าวด้วย จึงให้มีการตัดถอนออกบางส่วนเพื่อปรับภูมิทัศน์ ด้วยเช่นกัน โดยต้นไผ่ที่ถอนออกมานั้น จะได้นำไปปลูกที่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ศาลายาต่อไป โดยผู้บัญชาการทหารเรือ มิได้สั่งการให้หน่วยต่าง ๆ ดำเนินการรื้อต้นไผ่ตามที่มีข่าวลือแต่อย่างใด

 

 

สงขลา - “เฉลิมชัย” ควง “นิพนธ์” ตรวจคลองอาทิตย์ และคลองร.1 มั่นใจแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ - น้ำแล้งสงขลา ทั้งระบบ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการขุดลอกคลองพลเอกอาทิตย์ฯ ม.9 ต.ท่าหินกิน อ.สทิงพระ  จ.สงขลา พร้อมรับฟังการบรรยายสรุป เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและรับทราบปัญหาอุปสรรค โดยมีนายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายไพโรจน์ ศรีละมุน นายอำเภอระโนด และส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่ร่วมติดตามและให้การต้อนรับ

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การขุดลอกคลองพลเอกอาทิตย์ฯ เป็นหนึ่งในโครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา ที่ผ่านมาประสบปัญหาอุทกภัยมาโดยตลอดเมื่อมีฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเป็นประจำ เมื่อมีการรุกตัวของน้ำเค็มถึงทะเลสาบตอนบน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งขณะนี้ได้มีการขุดลอก และขยายคลองพลเอกอาทิตย์ฯ จากความกว้างเดิม 40 เมตรเป็น 70 เมตร และขุดขยายคลองหนัง บริเวณ อำเภอสทิงพระ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บกักน้ำ ก่อสร้างแก้มลิงรวมไปถึงปรับปรุงแก้มลิงเดิมเพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ก่อสร้างระบบกระจายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนต่าง ๆ เข้าสู่พื้นที่การเกษตร ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ซึ่งหากแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำจาก 2 ล้าน ลบ.ม. เป็น 7 ล้าน ลบ.ม. หรือมากกว่าเดิมกว่า 3 เท่าตัว โดยสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 12,000 ไร่ โดยมีแผนดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 

ต่อจากนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และท่านนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ณ สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในตัวเมืองหาดใหญ่ และเก็บกักน้ำไว้สำหรับการเพาะปลูกด้านการเกษตร ผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภค อุตสาหกรรม สนองความต้องการใช้น้ำในด้านต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลาที่กำลังขยายตัว

โดยการดำเนินงานจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระบายน้ำ ร.1 ซึ่งเดิมสามารถระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เมื่อรวมกับอัตราการระบายน้ำของคลองอู่ตะเภาที่ระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จะทำให้สามารถระบายน้ำได้สูงสุดรวม 1,665 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้งประมาณ 5.00 ล้านลูกบาศก์เมตร มีระยะเวลาโครงการ 8 ปี (พ.ศ.2558 – 2565) วงเงินงบประมาณ 6,500 ล้านบาท

จันทบุรี - “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า” โปรดกระหม่อมให้องคมนตรี ร่วม กับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เชิญสิ่งของพระราชทานมอบแก่ ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย

วันนี้ 18 ตุลาคม 2564 ที่หอเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสิน อ.เมือง จ.จันทบุรี นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี และคณะเดินทาง ประชุม พร้อมติดตามสถานะการณ์ความคืบหน้าในการแก้ไขสถานะการณ์อุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยมี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีนำหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับพร้อมรายงานสถานะการณ์อุทกภัย จากเหตุการณ์ภัยพิบัติ พายุโซนร้อน ไลออนร๊อก และพายุโซนร้อน คมปาซุ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวน 48 ตำบล 279 หมู่บ้าน 37 ชุมชน รวม 11,079ครัวเรือนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1,692 หลังคาเรือนและพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 9452.50 ไร่สิ่งสาธารณประโยชน์เช่น ถนนคอสะพาน และสถานที่ราชการได้รับความเสียหาย

ปทุมธานี - สสส.ร่วมชุมชนสวนอาหารบ้านพักผ่อน จัดโครงการบริโภคอย่างปลอดภัยเรียนรู้อาหารสมุนไพร สู้โควิด-19

เมื่อวันที่ 18 คุลาคม 2564 ที่ลานจัดกิจกรรมสวนอาหารบ้านพักผ่อน ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี ดร.ณัจยา แก้วนุ้ย ผจก.โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัยฯ / ดร.วิฑูร อินทร์จันทร์ นายวิชัย ขุนศรี ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลหลักหก / กำนันเพ็ญใจ จันทร์หอมกุล เลขาฯนายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่ / ผู้ใหญ่ธนพร อิษฎานนท์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่1 ตำบลหลักหก / นายนพนรรจ์ จันทร์หอมกุล เจ้าของสวนอาหารบ้านพักผ่อน / นางสาวอรวีร์ หินแดง ผู้จัดการสวนอาหารบ้านพักผ่อน  พร้อมด้วยประชาชนในชุมชน 40 คน ร่วมกับ สำนักกองทุนส่งเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดโครงการบริโภคอย่างปลอดภัยเรียนรู้อาหารสมุนไพรสู้โควิด-19 จังหวัดปทุมธานี โดยมีเครือข่ายประชาคมอาหารเพื่อสุขภาพ จังหวัดปทุมธานี ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในชุมชน ได้หันมาดูแลสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย มีประโยชน์ และปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีโทษต่อร่างกาย ตามแนววิถีใหม่ แบบ New normal

โดยการรณรงค์ของภาครัฐเพื่อให้ความรู้ กับประชาชนในชุมชน ตลอดจนผู้บริโภคให้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ สร้างภูมคุ้มกันให้ร่างกายซึ้งจะได้รับความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆที่มีการพัฒนา โดยเฉพาะโรคในปัจจุบัน ไวรัสโควิด-19 การรักษาที่ดีที่สุดคือการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการบริโภคอาหารให้เป็นยา ด้วยการใช้สมุนไพรพื้นบ้านซึ้งมีอยู่มากมายในการปรุงอาหาร ร่วมทั้งการใช้ชีวิตประจำวันแบบเว้นระยะห่างล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย ก็จะเป็นอีกส่วยหนึ่งในการระมัดระวังอย่างถูกวิธีไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

กำนันเพ็ญใจ จันทร์หอมกุล เลขาฯนายกเทศมนตรี ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี กล่าว่า ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงโควิด-19 สูง โดยเฉพาะที่ชุมชนหลักหกของเราโควิดระบาดข่อนข้างมากเพราะมีส่วนเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานคร ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ทางชุมชนได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายโควิด-19 อย่างเข้มข้น รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง สสส.เล็งเห็นความสำคัญให้การสนับสนุนมอบความรู้ให้ประชาชนในชุมชนด้วยการส่งเสริมสนับสนุนบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ สร้างภูมคุ้มกันให้ร่างกายซึ้งจะได้รับความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ ที่มีการพัฒนา โดยเฉพาะโรค ไวรัสโควิด-19 ซึ้งนอกจากให้องค์ความรู้แล้วยังได้มีการสาธิตการปรุงอาหารด้วยสมุนไพร

อันได้แก่ เมนูผัดฉ่าปลาทับทิมอันอุดมไปด้วยเครื่องเทศนา ๆ ชนิด โดยมีการสาธิตปรุงสด ๆ ให้กับผู้ร่วมกิจกรรมได้ชิม ส่วนที่เผ็ดร้อนไม่แพ้กันก็เห็นจะเป็นไก่บ้านต้มขมิ้นรสชาดจัดจ้านดับคาวได้เป็นอย่างดี จบคาวตามด้วยหวานก็ยังคงเป็นสมุนไพรอย่างต้มถั่วเขียวใส่ น้ำตาลทรายแดง น้ำขิงและแป๊ะก้วย ช่วยดับเผ็ดรสชาติกลาง ๆ หวานไม่มาก สดชื่น ตบท้ายด้วยน้ำสมุนไพรยอดนิยมซึ้งเป็นสูตรเฉพาะของร้านอาหารบ้านพักผ่อน เป็นน้ำกระชายขาวปั่นสดผสมน้ำผึ้งน้ำมะนาวแช่เย็น ซึ้งทางร้านได้แจกจ่ายสูตรให้ความรู้ประชาชนทั่วไปสามารถไปทำทานที่บ้านได้โดยไม่ยาก จะเห็นได้ว่าสมุนไพรในอาหารของคนไทยคุ้นเคยอยู่แล้วนำกลับมาใหม่ด้วยการรณรงค์อย่างจริงจังก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตนแบบ New normal เพราะประชาชนในชุมชนต้องช่วยเหลือตัวเองและต้องอยู่กับเชื้อโรคที่แพร่หลายในขณะนี้ด้วยการทานอาหารเป็นยาเสริมภูมคุ้มกัน

เชียงใหม่ - อุตสาหกรรมเชียงใหม่ จัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจ นำเสนอผลงานผู้ประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรมกาแฟในภาคเหนือ สร้างโอกาสการเติบโตในธุรกิจ

อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ จัดพิธีเปิดกิจกรรมเจรจาธุรกิจพร้อมนำเสนอผลงานผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมกาแฟในภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟในภูมิภาค (Lanna Coffee Hub) กิจกรรมพัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจของเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟ (Coffee Entrepreneurs Development)

โดยมีนายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงาน มีผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และหัวหน้าส่วนราชการ และผู้มีเกียรติร่วมงาน ณ ลานกิจกรรมชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

โครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ได้รับโอกาส ในการต่อยอดธุรกิจสู่เวทีระดับสากล นอกเหนือจากองค์ความรู้และการพัฒนาทักษะจากการอบรม เพื่อพัฒนาทักษะและขีดความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจของเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง พร้อมตอบโจทย์กลุ่มตลาดเป้าหมายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กรอบ BCG Model และเป็นที่รู้จักในวงกว้างอันนำไปสู่การเกิดศูนย์กลางอุตสาหกรรมกาแฟในระดับภูมิภาค     

ทั้งนี้ นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวให้ข้อมูลในฐานะผู้ให้ทุนว่า สำหรับกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2564  โดยจัดให้มีนิทรรศการแสดงผลงานผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำจำนวนกว่า 50 บูธ

ชลบุรี - ทัพเรือภาคที่ 1 ระดมกำลังพลจิตอาสา ทำความสะอาด “big cleaning day” ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม

พลเรือโท พิชัย ลู้ชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 มอบหมายให้ นาวาเอก เกียนติกูล สุวรรณ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 พร้อมด้วย นาวาเอก วีระชัย บุญมาก ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือนทัพเรือภาคที่ 1 จัดกำลังพลจิตอาสากองทัพเรือ ทำความสะอาดครั้งใหญ่ ”big cleaning day” ณ พื้นที่อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเล และปรับภูมิทัศน์

โดยกิจกรรมในครั้งนี้ มีกำลังพลจิตอาสากองทัพเรือ จำนวน 30 นาย ร่วมทำความสะอาด ตั้งแต่สะพานท่าเทียบเรืออุทยานใต้ทะเลเกาะขามไปจนถึง สุดชายหาดทางด้านทิศเหนือของอุทยานใต้ทะเลเกาะขาม

การทำความสะอาด “big cleaning day” อุทยานใต้ทะเลเกาะขามในครั้งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 มีการกระจายตัวเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อทำความสะอาด เก็บขยะตลอดแนวชาดหาดอุทยานใต้ทะเลเกาะขาม ซึ่งได้ดำเนินการตามมาตรป้องกันการแพร่ระบาดของโรติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัด โดยให้กำลังพลจิตอาสาสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างมากกว่า 2 เมตร ตลอดการทำกิจกรรมฯ โดยสามารถกำจัดขยะมูลฝอยบริเวณชายหาดฯ ได้เป็นจำนวนมาก คิดเป็นน้ำหนักขยะ จำนวนมากกว่า 500 กิโลกรัม

 

ปทุมธานี - ปภ.เตือนเจ้าพระยาสูงเพิ่ม 40 ซ.ม. “บิ๊กแจ๊ส” ส่งลูกสาวตรวจดูสถานการณ์น้ำ พร้อมมอบถุงรอดชีพเตรียมแผนเยียวยาหลังน้ำลด

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เวลา 08:00 น. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ได้มอบหมายให้ นางรุจศลักษณ์ ธูปกระจ่าง ตั้งวงษ์เลิศ (น้องบาย) เลขานุการนายก อบจ.ปทุมธานี ลงเรือตรวจสอบสถานการณ์น้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจาก กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือน 11 จังหวัดระวังน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะสูงขึ้นอีก 20 - 40 เซนติเมตร และ มอบถุงรอดชีพ ข้าวสารถุงละ 5 กิโลกรัม ยาเสริมภูมิคุ้มกันโรคระบาด หน้ากากอนามัย จำนวน 300 ชุด ให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน บริเวณชุมชนไทย-มอญ ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากกระทรวงมหาดไทย

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 11 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร รวมถึงกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งท้ายเขื่อนเจ้าพระยามีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 20-40 เซนติเมตร และจะกระทบบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 20-30 ตุลาคม 2564 ให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ เฝ้าระวังระดับน้ำและเตรียมพร้อมรับมือ แจ้งจังหวัดประสาน อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่มีน้ำท่วมขังอยู่โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมเครื่องมือ ตรวจสอบให้ป้องกันแนว น้ำท่วมให้แข็งแรง เพื่อป้องกันน้ำท่วมล้นแนวป้องกันน้ำและพร้อมช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

โดยมี นายสิระพงษ์ สิริโพธินันท์ รองนายก อบจ.ปทุมธานี นายธนศักดิ์ แป้นมุข นายณเรศ คุชิตา ที่ปรึกษานายก อบจ.ปทุมธานี รวมถึงเจ้าหน้าที่ อบจ.ร่วมลงพื้นที่เตรียมถุงรอดชีพ ข้าวสารถุงละ 5 กิโลกรัม อาหารแห้ง น้ำดื่ม และยา มอบให้กับประชาชนที่อยู่ริมเจ้าพระยา เนื่องจากสถานการณ์น้ำยังท่วมสูงอยู่และมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ในจังหวัดปทุมธานีก็ยังไม่นิ่ง วันนี้จะเห็นว่าน้ำได้ขึ้นสูงขึ้นมาอีก พี่น้องประชาชนยังได้รับผลกระทบและมีความเดือดร้อนอยู่ เราจึงต้องลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาภัยอย่างต่อเนื่อง วันนี้เราได้รับการร้องขอจากพี่น้องประชาชน ได้แก่เรื่องไฟฟ้า จึงมอบหมายรองนายก อบจ.ปทุมธานี , เลขา นายก อบจ.ปทุมธานี ,และที่ปรึกษาฯ ที่ได้ลงเรือไปมอบอุปกรณ์ตรวจกระแสไฟฟ้าในน้ำ

นอกจากนี้ยังมอบแพโฟมเพื่อขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ  และถุงรอดชีพ มีอาหาร สิ่งจำเป็นและยาป้องกันน้ำกัดเท้าไปให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเพราะเขาอาจจะไม่สะดวกในการออกมาซื้อหาอาหาร ซึ่งเราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและดีที่สุด และทางสมาคมนายก อบจ.จะมอบถุงรอดชีพมาให้อีก 1,000 ถุง หากน้ำทะเลไม่หนุนมาเพิ่มรวมถึงไม่มีมรสุมซ้ำเข้ามา ผมเชื่อว่าเราเอาอยู่ ส่วนบริเวณถนนที่เป็นคันกั้นน้ำเราได้เตรียมแท่งแบริเออร์และกระสอบทรายพร้อมอยู่แล้ว

ชลบุรี - ทรภ.1 เน้นย้ำ!! ต้องปฎิบัติหน้าที่ ให้สมกับคำว่า “พี่ใหญ่แห่งท้องทะเล”

ตามที่ พลเรือโท พิชัย  ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ได้มอบนโยบายให้ ผู้บังคับบัญชาในลำดับรองลงมา และฝ่ายอำนวยการ ของทัพเรือภาคที่ 1 ทำการตรวจความพร้อมของเรือ โดยไม่แจ้งกำหนดการล่วงหน้า (Surprise check) และได้เน้นย้ำ กองเรือปฎิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 1 ต้องพร้อมปฎิบัติภารกิจตลอด 24 ชม.

วันที่ 19 ต.ค.64 พลเรือตรี ขวัญชัย อินกว่าง รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 พร้อมด้วยคณะฝ่ายอำนวยการ ทัพเรือภาคที่ 1 ทำการตรวจความพร้อมของเรือ จำนวน 2 ลำ โดยไม่แจ้งกำหนดการล่วงหน้า ( Surprise check ) ได้แก่ เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงสัตหีบ

 

สมุทรปราการ - “สุชาติ” ลงพื้นที่เยี่ยม FAI นิสสัน จ.สมุทรปราการ ป้องกันโควิดระบาด ในสถานประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ศูนย์แยกกักตัวรักษาในสถานประกอบการ (Factory Accommodation Isolation : FAI) ตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ ณ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ต.ศีรษะจรเข้ใหญ่ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วย นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นางธิวัลรัตน์ อังกินันนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

โดย นายสุทธิ สุโกศล นายมนัส โกศล นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายพินิจ ผุดไชตู ประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมการตรวจเยี่ยม

โดยมีนายอิชาโอะ เซคิกุจิ รองประธานสายงานการตลาดและการขาย นิสสันภูมิภาคอาเซียน และประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด นายอัครพล แก้วพินิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการผลิต บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมคณะผู้บริหารเจ้าหน้าที่พนักงานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกภาคส่วนของประเทศ โดยเฉพาะกำลังการผลิตสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ และอาหารแช่แข็ง ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดโรงงานเหล่านี้ จะเกิดผลกระทบมากมายเกี่ยวการผลิตการส่งออกของประเทศทันที เพื่อให้การดำเนินงานในสถานประกอบการสามารถดำเนินการก้าวเดินหน้าต่อไปได้อย่างปกติ

รัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานบูรณาการร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงาน ตามมาตรการบริหารจัดการในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในโรงงานหรือสถานประกอบการหรือ Factory Accommodation lsolation (FAI) และมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ หรือ Bubble and Seal เพื่อป้องกันระบาดของผู้ใช้แรงงาน ในสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มเช่น นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี ระยอง สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสมุทรปราการ

ปทุมธานี - “บิ๊กแจ๊ส” เตือนมวลน้ำปีนี้น้อง ๆ ปี 54 ประชาชนอย่าประมาท! ร่วมสมาคม อบจ.ช่วยเหลือคนปทุม

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 เวลา 10:30 น. นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกสมาคมองค์การบริหาส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย มอบหมายให้ นางบังอร วิลาวัลย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมองค์การบริหาร่วมจังหวัดแห่งประเทศไทย ร่วมลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ 1,000 ถุง ให้กับ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่างนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นางรุจศลักษณ์ ธูปกระจ่าง ตั้งวงษ์เลิศ (น้องบาย) เลขานุการนายก อบจ.ปทุมธานี เพื่อไปมอบให้กับประชาชนเพื่อเป็นกำลังใจและบรรเทาภัยให้กับผู้ที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ และตำบลบ้านฉาง ที่ชุมชนวัดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

สืบเนื่องจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ประเมินและวิเคราะห์ปริมาณฝนตกร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากแม่น้ำปิงจะทำให้มีน้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มสูงสุดจากอัตรา 2,484 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 3,000-3,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 โดยจะบริหารจัตการน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการหน่วงน้ำและผันน้ำเข้าคลองต่าง ๆ ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อยู่ในเกณฑ์ 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น จากปัจจุบันประมาณ 20-40 เซนติเมตร ในช่วงวันที่ 23-30 ตุลาคม 2564 

ด้าน นางบังอร วิลาวัลย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมองค์การบริหาร่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกสมาคมองค์การบริหาส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (นายก อบจ.สุพรรณบุรี) ได้มอบหมายให้ตนเองและทีมงานที่มาด้วยความตั้งใจและห่วยใยพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมไม่ว่าผู้ประสบภัยจะอยู่ที่ไหน สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย จะเข้าไปช่วยส่วนในจังหวัดปทุมวันนี้ได้จัดถุงยังชีพ 1,000 ชุด บรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 10 ซอง ปลากระป๋อง 10 กระป๋อง และข้าวสารหนัง 15 กิโลกรัม เพื่อบรรเทาภัยให้กับผู้ที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ และตำบลบ้านฉาง จำนวน 500 ชุด และอีก 500 ชุด ทางพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และทีมงานจะทำไปมอบยังจุดอื่น ๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top