Friday, 25 April 2025
Politics

เปิดไทม์ไลน์ ‘พีระพันธุ์’ เหตุใดถึงทำให้ ‘เขา’ เพิ่งจะมาปฏิรูปพลังงานตอนนี้ เพราะ ‘ตัวจริง’ เพิ่งมี ‘โอกาส’ และอยู่ในช่วงหล่อดาบ (กฎหมาย) มาลงทัณฑ์

ทำไม ‘พีระพันธุ์’ เพิ่งจะปฏิรูปพลังงาน ทำไม...แปดปีที่ผ่านมาจึงไม่ทำ?

ในขณะที่ทุกวันนี้ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ กำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิรูปพลังงานเพื่อให้พี่น้องประชาชนคนไทยได้รับประโยชน์สูงสุด ด้วยการทำภารกิจในการ 'รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง' เพื่อทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงพลังงานที่สำคัญทั้งระบบที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเกิดความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม ให้เป็นนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ก็มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า แปดปีของรัฐบาล ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ทำไม ‘พีระพันธุ์’ จึงไม่ได้ทำ

ย้อนกลับไปในช่วงแปดเก้าปีที่แล้ว หลัง คสช.เข้าควบคุมอำนาจ ‘พีระพันธุ์’ ก็เช่นเดียวกับนักการเมืองอื่นคือไม่ได้มีสถานะใดๆ ทั้งสถานะ สส.และฝ่ายบริหาร แต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

สี่ปีต่อมา ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 ‘พีระพันธุ์’ ได้รับเลือกเป็น สส.ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีตำแหน่งบริหาร แต่ใช้สถานะความเป็น สส.ศึกษาเรื่อง 'โฮปเวลล์' ผ่านการทำงานในคณะกรรมาธิการ 

เมื่อ ‘พีระพันธุ์’ ได้อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแล้วเห็นว่าคดีนี้น่าจะมีปัญหาเรื่องการนับอายุความ จึงได้สืบค้นเพิ่มเติมหลักกฎหมายเรื่อง 'อายุความ' และพบว่า ศาลปกครองกลางได้เคยวินิจฉัยบนพื้นฐานของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ ที่บัญญัติไว้ว่า 'การนับอายุความ' ให้นับตั้งแต่วันที่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี โดยไม่ได้มีบทเฉพาะกาลยกเว้นไว้ว่า คดีนั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเปิดทำการศาลปกครอง แต่ปรากฏว่า ศาลปกครองสูงสุดใช้ 'มติของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด' เป็นหลักในการตัดสินว่า คดีที่เกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ ให้นับตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่ศาลปกครองเปิดทำการ จึงส่งผลให้คดีโฮปเวลล์ยังไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย

‘พีระพันธุ์’ ซึ่งมีความเห็นต่างและได้ชี้ว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้ ศาลทุกศาล รวมถึงศาลปกครอง ต้องตัดสินตามกฎหมายเท่านั้น แต่หากเห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมในประเด็นปัญหาสำหรับคดีที่เกิดขึ้นก่อน ก็ต้องไปให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว ไม่สามารถใช้ 'มติที่ประชุมใหญ่' เป็นหลักในการตัดสินได้ เพราะขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ กระทั่งต่อมา ศาลปกครองกลางได้ดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ และมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บริษัทโฮปเวลล์ฯ เนื่องจากการใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัทดังกล่าวขาดอายุความตามกฎหมาย ทำให้รัฐบาลไม่ต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปจ่ายค่าโง่คดีโฮปเวลล์จำนวนหลายหมื่นล้านบาท

วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ‘พีระพันธุ์’ ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จึงพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อของพรรคฯ ไปด้วย แต่ยังคงไม่ละมือจากการทำงานกรณีโฮปเวลล์

สิบวันต่อมา วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เข้าดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาเมื่อนายกฯ ขอความเห็น แต่ไม่มีอำนาจในการบริหาร ซึ่งในช่วงเดียวกันนี้ได้เดินหน้าร่วมกับกระทรวงคมนาคมต่อสู้คดีกรณีโฮปเวลล์อย่างเข้มข้น

และต่อมาเมื่อ 20 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงปลายสมัยที่สองของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ‘พีระพันธุ์’ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งตำแหน่งเลขาฯนายกฯก็ไม่ได้มีอำนาจบริหารกระทรวงเช่นกัน ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ที่ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองงานให้นายกฯและทำงานที่ได้รับมอบหมายเฉพาะบางกรณี เพราะอำนาจในการบริหารในการบริหารราชการอยู่ที่รัฐมนตรีผู้เป็นเจ้ากระทรวงเท่านั้น 

ในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ‘พีระพันธุ์’ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และได้รับการเลือกตั้ง จนกระทั่งเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ‘พีระพันธุ์’ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวพรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคร่วมรัฐบาล ปฐมบทแห่งการปฏิรูปพลังงานด้วยนโยบาย รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง จึงพึ่งจะได้เริ่มต้นขึ้น โดยสิ่งสำคัญที่พี่น้องประชาชนคนไทยไม่รู้เลยก็คือ การปฏิรูปพลังงานนั้นจะต้องอาศัยเครื่องมือที่มีทั้งประสิทธิภาพและให้ประสิทธิผลสูงสุดก็คือ ‘กฎหมาย’ ซึ่งต้องมีการออกแบบและจัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้การปฏิรูปพลังงานเกิดขึ้นและดำเนินการขับเคลื่อนได้

ด้วยนโยบายด้านพลังงานที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่ง ‘พีระพันธุ์’ ได้นำมาใช้เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยมีความถูกต้องและเป็นธรรมคือ...

(1) การประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2567 ให้ผู้ค้าน้ำมันตาม ม. 7 พรบ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 โดยผู้ต้าต้องรายงานข้อมูลรายละเอียดราคาและต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการนำเข้าและการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานทราบ ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถรู้ถึงต้นทุนที่แท้จริงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งระบบ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำกับดูแลราคาน้ำเชื้อเพลิงจำหน่ายปลีกในประเทศ และช่วยให้กรมสรรพกรสามารถคำนวณภาษีจากข้อมูลที่แท้จริงและมีความเป็นปัจจุบันได้อย่างถูกต้องและครบถ้ว

(2) การจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันและก๊าซเพลิงยุทธศาสตร์ (SPR : Strategic Petroleum Reserve) นอกจากจะเกิดขึ้นเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและสร้างเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิงแล้ว และหาก SPR เกิดขึ้นในไทยได้สำเร็จ ทำให้รัฐเป็นผู้ถือครองน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองซึ่งมีเพียงพอใช้ในประเทศได้ถึง 90 วัน ในขณะที่ทุกวันนี้เอกชนผู้ค้าน้ำมันเป็นผู้ถือครองน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองในปริมาณที่รองรับการใช้งานได้พียง 25-36 วันเท่านั้น และหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ภาครัฐต้องการเข้าควบคุมเพื่อจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองจะทำไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจเว้นแต่จะใช้กฎหมายพิเศษบังคับ ซึ่งระบบ SPR จะรวมถึงเชื้อเพลิงทางเศรษฐกิจที่สำคัญทุกชนิดอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว...

(3) ‘พีระพันธุ์’ ยังได้ประสานกับบริษัทนานาชาติเพื่อร่วมมือในการพัฒนาพลังงานใหม่ในประเทศ อาทิ ‘ไฮโดรเจน’ เพื่อทดแทนพลังงานรูปแบบเดิม ดังนั้น การปฏิรูปพลังงานตามแนวทางของ ‘พีระพันธุ์’ หากสามารถทำได้สำเร็จแล้ว ที่สุดจะสร้างประโยชน์โภคผลมากมายให้เกิดกับพี่น้องประชาชนคนไทยโดยรวมอย่างยั่งยืน

'อัษฎางค์' มอง!! 'โพสต์พี่เล็ก' ไม่เอี่ยวการเมือง แต่เตือน 'พี่แอ๊ด' ให้หยุดพูดเรื่องการเมือง

(14 ส.ค. 67) อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า…

จากแอ๊ด เล็ก จนมาถึงเอ็ด

ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนเลยว่า เห็นข่าวนี้มาตั้งแต่แรก และไม่อยากมีดราม่าหรือมีส่วนร่วมในดราม่านี้เลย แต่มันเห็นข่าวหรือที่มีคนเอามาแชร์กันซ้ำ ๆ สุดท้ายก็อดใจไม่ได้ที่อยากจะพูดในมุมที่ตัวเองเห็นบ้าง

จากที่เห็นในข่าวหรือที่คนพูดกันสนั่นโซเชียลคือ พี่เล็กโพสต์ข้อความแสดงพฤติกรรมเหมือนพี่แอ๊ดที่เชียร์ก้าวไกลว่าโดนศาลรังแกตัดสินยุบพรรค แต่เท่าที่ผมอ่านจากโพสต์ของพี่เล็ก ซึ่งเป็นต้นเรื่องดรามานี้ ผมว่าไม่น่าจะใช่

ขอเริ่มต้นแบบนี้ ผมไม่รู้หรอกว่าพี่เล็กเชียร์ก้าวไกลหรือไม่ หรือพี่เล็กสนับสนุนการเมืองฝ่ายไหน เพราะยังไม่เคยเห็นพี่เล็กเชียร์ใครหรือด่าใคร แต่จากที่อ่านตามตัวหนังสือจากโพสต์ของพี่เล็ก ผมว่าประเด็นสำคัญเลยคือ “เรื่องที่พี่เล็กทั้งเตือน ทั้งห้าม ทั้งปราบให้พี่แอ๊ดหยุดพูดเรื่องการเมืองเสียที” ก็เท่านั้น

ประโยคนี้ที่พี่เล็กเล่าว่า… “เมื่อวานขณะอยู่บนเวทีพี่แอ๊ดพูดกับผู้ชมว่า "ผมแก่แล้ว ไม่อยากพูดเรื่องการเมืองแล้ว" แล้วแกก็หันมาทางผมพร้อมพูดว่า "เดี๋ยวโดนพี่เล็กว่า พี่เล็กเค้าห้ามไว้" 

ตรงนี้มันแสดงให้เห็นผ่านตัวหนังสือว่า “ไม่มีใครกล้าเตือนพี่แอ๊ด และพี่แอ๊ดไม่ฟังใคร แต่พี่แอ๊ดฟังพี่เล็ก และอาจจะมีพี่เล็กคนเดียวที่ทำได้” และทบทวนดูดี ๆ ไอ้คำพูดของพี่แอ๊ดที่ว่า "ผมแก่แล้ว ไม่อยากพูดเรื่องการเมืองแล้ว" ผมว่าเกิดการเตือนมาหลายครั้งแล้ว และทุกครั้งพี่แอ๊ดก็ทำซ้ำ แล้วหลังจากนั้นก็พูดซ้ำอีกว่า “ไม่เอาแล้ว ไม่พูดแล้ว” แต่เชื่อเถอะ แกไม่หยุดหรอก มันถึงเกิดเรื่องแบบนี้ซ้ำ ๆ ไม่รู้กี่ครั้งแล้ว

บรรทัดต่อมาพี่เล็กเขียนต่อว่า… “ในมุมของผม เห็นว่าพี่แอ๊ดยังทำอะไรเกี่ยวกับการเมืองและประเทศของเราได้อีกมากมาย เช่นเขียนหนังสือเป็นต้น อีกอย่าง พวกเราสว.กันแล้ว ควรปล่อยให้ลูกหลานเค้าแสดงฝีมือแสดงพลังกันบ้าง“

ตรงนี้ อ่านดูดี ๆ ว่าพี่เล็กไม่ได้พูดถึงพรรคการเมืองหรือนักการเมือง ไม่ได้พูดว่า “ปล่อยให้ก้าวไกลได้แสดงฝีมือบ้าง“

ประโยคนี้… “พวกเราสว.กันแล้ว ควรปล่อยให้ลูกหลานเค้าแสดงฝีมือแสดงพลังกันบ้าง” ผมเข้าใจว่า พี่เล็กพูดถึงพวกเราประชาชนคนอื่น ๆ พูดว่า ปล่อยให้คนอื่นเค้าพูดเรื่องการเมืองกันไป วิจารณ์การเมืองกันไป เรา พี่แอ๊ด พี่เล็ก เป็น สว. เป็นผู้สูงวัยแล้ว หยุดเถอะแล้วปล่อยให้เด็ก ๆ เขาพูดกันไป ปล่อยให้เด็ก ๆ เค้าวิจารณ์การเมืองไป แต่พี่แอ๊ดควรหยุดพูดได้แล้ว” ไม่ใช่  “ปล่อยให้เด็ก ๆ (พรรคก้าวไกล) เขาแสดงฝีมือกันไป”

ส่วนตรงนี้…. “พี่แอ๊ดเองก็พูดให้ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่า เด็ก ๆ สมัยนี้เก่ง และมีแนวคิดที่น่าสนใจ แกว่าแกยังชอบฟังพวกเค้าเวลาอภิปรายกันเลย” ตรงนี้ชัดเจนว่า พี่เล็กพูดให้เห็นภาพว่าพี่แอ๊ดเชียร์ก้าวไกล ชอบดูการอภิปรายของก้าวไกลในสภา

ส่วนตอนท้ายซึ่งเป็นเหมือนบทสรุปที่ว่า…“เมื่อเวลาพี่แอ๊ดนิ่ง ๆ และปล่อยวาง แกดูน่าเคารพมาก ๆ เลย”

ตรงนี้แปลว่า “พี่แอ๊ดอยู่นิ่ง ๆ นะดีแล้ว”

“มะม่วงไม่เด็ดก็ร่วงเองถ้ามันสุก” ผมไม่แน่ใจว่าพี่เล็กเปรียบเทียบมะม่วงกับอะไร แต่มันเป็นเรื่องจริงของมะม่วงสุก

สรุปนะ พี่เล็กสนับสนุนการเมืองขั้วไหน ผมไม่รู้ และเอาจริง ๆ ลองทบทวนกันดูได้ว่า พี่แอ๊ดพูดหรือวิจารณ์การเมืองบนเวทีคอนเสิร์ตหรือหน้าเพจโซเชียลมีเดียบ่อย ๆ แล้วเหมือนคนแก่ในครอบครัวเรา ๆ ท่าน ๆ อีกหลาย ๆ คน ที่วันนี้พูดอย่าง วันหน้าทำอีกอย่าง แล้วมักทำอะไรย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ทั้งที่คนรอบข้างทั้งห้าม ทั้งดุ ทั้งบ่น แต่ก็มีพฤติกรรมเหมือนเดิม

คราวก่อนพี่แอ๊ดด่าลุง พูดพาดพิงถึงเบื้องสูง แล้วผ่านไปอีกไม่กี่วันก็คิดได้หรือไม่ก็มีคนไปสะกิด แล้วแกก็ออกมาบริจาคเงิน 50 ล้านแก้เก้อ คืออยู่ดี ๆ ก็เสียเงินเพียงเพราะปากเสียเผลอไปพูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด เหมือนคราวนี้ก็เจอกระแส แบนทุกอย่างที่มีชื่อ คาราบาว ตั้งแต่วงดนตรีคาราบาวยันเครื่องดื่มคาราบาวแดง คือ แกพูดความเห็นส่วนตัว แต่เพื่อนร่วมวง ร่วมธุรกิจ ซวยตามกันทั้งยวง

“แต่พี่เล็ก คือ คนที่ไม่วิจารณ์การเมือง ออกอากาศเลย”

พี่เล็กจะชอบขั้วการเมืองไหนผมไม่รู้ และผมว่าไม่สำคัญว่าแกจะเชียร์ใคร เราเลือกที่จะอยู่ในสังคมประชาธิปไตย เราต้องเคารพในความต่างนั้น

เพื่อนสนิทของผมคนหนึ่งซึ่งรักกันมากมาตั้งแต่เด็ก ๆ และเป็นคนดีมากด้วย แต่เขาชอบทักษิณ พอมีธนาธร เขาก็เปลี่ยนมาชอบธนาธร แต่ถามว่าความเป็นคนมีอัธยาศัย มีมิตรไมตรี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นของเขาเปลี่ยนไปหรือไม่ คำตอบคือไม่เปลี่ยนไปเลย และผมกับเขาก็ยังรักกันฉันเพื่อนสนิทเหมือนเดิม แต่เราจะไม่คุยกันเรื่องการเมือง เพราะเราอยู่คนละขั้ว 

ถามว่า เราต้องเลิกคบกันมั้ย ผมว่า ตราบใดที่เราและเขาไม่คิดทำลาย ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เราก็ยังเป็นเพื่อนกันไป 

ทัศนคติทางการเมือง อาจไม่ได้เกิดจากการศึกษาหรือความฉลาดที่ต่างกันหรือใครมีมากกว่ากัน เขาไม่ฉลาดหรือโง่กว่าเรา แต่อาจเกิดจากความสามารถในการรับรู้ แยกแยะที่ต่างกัน

คนก๊วนเดียวกับพี่แอ๊ด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือน้อง ๆ ของพี่แอ๊ด ไม่ได้แปลว่า เขาคิดหรือเห็นคล้อยตามพี่แอ๊ดไปหมด

ต่อให้เพื่อนหรือน้อง ๆ คิดเหมือนพี่แอ๊ด ชอบก้าวไกลเหมือนพี่แอ๊ด แต่ตราบใดที่เขาไม่เคยแสดงพฤติกรรมหรือมีคำพูดใด ๆ หลุดปากออกมาเหมือนพี่แอ๊ด ผมว่า ตราบนั้น เขาเหล่านั้น ย่อมไม่ควรได้รับผลกรรม ที่แปลว่า ผลจากการกระทำ เหมือนอย่างพี่แอ๊ด หรือได้รับผลกรรมตามการกระทำของพี่แอ๊ด กรรมที่ใครทำก็เป็นของคนนั้น

เพราะฉะนั้น อย่าไปเหมาว่า คนก๊วนเดียวกับพี่แอ๊ด จะปากเสียเหมือนพี่แอ๊ด (ขออนุญาตใช้คำตรง ๆ) ยี่ห้อ คาราบาว ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรีหรือเครื่องหมายการค้าก็เช่นกัน เขาก็อาจจะไม่ได้อยากจะปากเสียจนจะพากันล่มจมตามกันไป

เพราะฉะนั้นผมว่า เราอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตย เราควรเคารพต่อความต่างของกันและกัน และทุกคนก็ควรมีเสรีภาพที่ไม่ใช่การแห่ตามกัน คือ ใครอยากจะแบนพี่แอ๊ดก็แบนไป ส่วนใครโกรธจนอยากจะแบนทุกอย่างที่มีคำว่าคาราบาวก็ทำไป แต่ใครตั้งสติได้ก็แยกแยะกันหน่อยก็แล้วกัน 

สำหรับผมนะ สิ่งที่ผมเห็นจากตัวอักษรในโพสต์นี้ของพี่เล็กคือ “ไม่มีใครกล้าเตือนพี่แอ๊ด และพี่แอ๊ดไม่ฟังใคร แต่พี่แอ๊ดฟังพี่เล็ก และอาจจะมีพี่เล็กคนเดียวที่ทำได้”

และสิ่งที่พี่เล็กทำคือ เตือนพี่แอ๊ดว่า “เพื่อนรักมึงหยุดพูดเรื่องการเมืองเสียที เพราะปากของมึงจะพาเพื่อน ๆ และลูกน้องซวยกันทั้งยวง”

“ไม่ว่าเรื่องอะไรในสังคมจะผิดหรือถูก จะถูกใจหรือไม่ถูกใจ มึงแก่แล้ว มึงพูดมานานแล้ว ถึงคราวที่ต้องปล่อยให้เด็กเขาพูดแทนมึงได้แล้ว”

ผมแปลความจากตัวหนังสือและจากในใจของพี่เล็กได้แบบนี้

ผมเนี่ยคือแฟนตัวยงของคาราบาวตั้งแต่ยุคบุกเบิก ที่ไม่รู้ว่าจะพูดถึงพี่แอ๊ดยังไงดีเลย ได้แต่เหมือนเห็นภาพญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งในครอบครัวที่แก่ตัวแล้วหลุดโลกพูดให้ตายไปข้างหนึ่งก็พูดไม่รู้เรื่อง วันนี้พูด พรุ่งนี้คิดได้ รุ่งขึ้นกลับมาเหมือนเดิม ผมว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับพี่แอ๊ด พี่เล็ก และอีกหลายพี่ที่เจอลูกบ้าเที่ยวสุดท้ายของแอ๊ดถึกควายทุยตัวจริง

สรุปสุดท้าย ผมคิดว่า พี่เล็กไม่ได้โพสต์เรื่องการเมือง แต่เป็นเรื่องการบ้านในบ้านคาราบาว และสิ่งที่พี่เล็กทำคือ เตือนพี่แอ๊ดให้หยุดพูดเรื่องการเมือง ไม่ใช่โพสต์เชียร์การเมืองขั้วใดทั้งสิ้น ในโพสต์ของพี่เล็กที่มีคนตามไปด่าพี่แอ๊ดแล้วพี่เล็กจะโดดมาปกป้องเพื่อนผมก็ว่าไม่ผิดปกติอะไร เพราะฉะนั้นหยุดดราม่ากับพี่เล็กดีมั้ย

ใครจะนิยมการเมืองขั้วไหน ยังไงก็เป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้น

คนชั่วคือ นักการเมืองที่มันแหกตาประชาชน ส่วนประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อของนักการเมืองชั่ว อาจไม่ได้ชั่วตามนักการเมืองชั่ว ๆ เหล่านั้น

อะไรก็เกิดขึ้นได้ในโลกนี้
คนที่ร้องเพลงต่อต้านนายทุน ร่ำรวยจากบทเพลงงานจนกลายเป็นนายทุน
คนที่ร้องเพลงเพื่อแสดงจุดยืนว่าอยู่เคียงข้างประชาชน สุดท้ายกลับไปยืนเคียงข้างการเมือง
คนที่ร้องเพลงหรือแหกปากถึงประชาธิปไตย นิยมอะไรที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตย

คาราบาวแปลว่า ควาย

แต่ใช่ว่าสมาชิกและแฟนเพลงทุกคนจะเป็นควาย 

แยกกันดี ๆ เราถึงจะเห็นว่าคนไหนคาราบาว หรือคนไหนควาย หรือคนไหนถึกควายทุย

เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค

'อ.แก้วสรร' ถาม!! พรรคส้มวันนี้ เป็น 'พรรคการเมือง' หรือ 'พรรคปฏิวัติ' หลังถูกยุบแล้วยังดึงดันแก้ 112 ต่อ พร้อมขอเสียงหนหน้าแบบเด็ดขาด

(14 ส.ค. 67) นายแก้วสรร อติโพธิ ออกบทความเรื่อง 'พรรคส้ม'  'พรรคการเมือง'  หรือ 'พรรคปฏิวัติ' ??? ระบุว่า “เราต้องกลับมาศึกษา ม.112 อย่างดี พวกเรายังคงต้องผลักดันเดินหน้าปรับปรุงแก้กฎหมายในส่วนนี้ ที่ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาอยู่ ”ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน

“ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองมีพฤติการณ์ในการใช้สิทธิหรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดย ซ่อนเร้นหรือผ่านการนำเสนอร่างกฎหมาย ...มีลักษณะดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นขบวนการ ใช้หลายพฤติการณ์ประกอบกัน ทั้งการชุมนุม การจัดกิจการ การรณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การเสนอร่างแก้ไขกฎหมายเข้าสู่สภา และการใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง” ศาลรัฐธรรมนูญ

ถาม ถ้าพรรคประชาชนเดินหน้าแก้ไข 112 อีก ก็ต้องถูกยุบอีกใช่ไหมครับ
ตอบ เขาบอกว่าจะเดินหน้าต่อไป แต่อาจจะไม่ถูกยุบถ้าไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวอย่างเป็นขบวนการ เช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญบ่งชี้ไว้

ถาม ผมไม่เข้าใจครับ ที่ศาลระบุว่าพรรคก้าวไกลมุ่งกร่อนเซาะสถาบัน “โดยซ่อนเร้นหรือผ่านการนำเสนอร่างกฎหมาย ”

ตอบ คุณจับความถูกแล้วครับ Key word มันอยู่ตรงนั้น....ตรงที่ศาลชี้ว่า มันมีการเคลื่อนไหวกร่อนเซาะสถาบันกษัตริย์อย่างเป็นขบวนการใหญ่ มีหลายฝ่ายหลายพฤติการณ์ประกอบกันประสานกัน หนึ่งในนั้นคือการเคลื่อนไหวในระบบรัฐสภาของพรรคส้ม ที่แต่งตัวเป็น “พรรคการเมือง” ลงเลือกตั้ง แล้วชูธงแก้กฎหมายปรับปรุงสถาบันกษัตริย์

พอชูธง หยิบ ม.112 ขึ้นมาเสนอแก้ไขในนามฝ่ายนิติบัญญัติแต่ในทางความเคลื่อนไหวกร่อนเซาะแล้ว มันก็คือการชี้เป้า วี้ดบึ้มให้การมีอยู่ของสถาบันตกเป็นปัญหาของชาติ ความเคลื่อนไหวอื่นๆ ทั้งการโจมตีใส่ร้ายในโซเชียล ทั้งการชุมนุมเป็นแฟลชม๊อบ เผาพระบรมฉายาลักษณ์ เผายาง ก่อจลาจล ก็ประสานกันเข้ามาในที่สุด

ถาม มันเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองมิใช่หรือครับ
ตอบ นั่นเป็นคำกล่าวอ้าง แต่แท้จริงแล้วหาใช่การใช้สิทธิเสรีภาพตามวิถีทางรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดไม่ ภาษากฎหมายเขาเรียกว่า “การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต” คิดอย่างนี้มองอย่างนี้แล้ว ศาลก็เลยชี้ว่า พรรคส้มเอาการเสนอกฎหมายมาบังหน้า บังความเคลื่อนไหวกร่อนเซาะสถาบันของขบวนการใหญ่อีกชั้นหนึ่ง

ถาม ถ้าพรรคส้มยอมละวางไม่ชูธงแก้ ๑๑๒ ก็แสดงว่า เขาเลิกกร่อนเซาะสถาบันแล้วใช่ไหม ?
ตอบ ถ้าเป็นพรรคการเมืองที่มุ่งทำงานให้บ้านเมืองอย่างแท้จริง เขาก็ควรนำพลังคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์อนาคตใหม่จริงๆ

ในการจัดตั้งรัฐบาลคราวที่แล้ว ถ้าเขายอมเลิกแก้ 112 วันนี้พลัง 14 ล้านเสียง ก็ได้เข้ามาขับดันประเทศแล้ว มาวันนี้พอถูกยุบ ก็ยังประกาศแก้ไข 112 อีก ขอคะแนนเสียงเด็ดขาดในการเลือกตั้งคราวหน้าอีก อย่างนี้คุณว่าตัวจริงของพรรคส้ม เป็นพรรคการเมือง หรือพรรคปฏิวัติ

ถาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์แล้ว ยังจะเป็นประชาธิปไตยต่อไปได้ไหม

ตอบ ต้องวาน นักเข้าทรงของพรรคส้ม คือคุณช่อ พรรณิการ์ ไปถาม อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ท่านให้ละเอียดว่า ในปี 2475 เมื่อปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปแล้ว ทำไมพวกท่านถึงต้องไปกราบทูลอัญเชิญรัชกาลที่ 7 ให้ทรงรับเป็นประมุข และพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ปวงชนอีก

ถาม มันไม่มีคำอธิบายในหนังสือใดบ้างเลยหรือครับ
ตอบ ที่เป็นที่รู้จักและยอมรับกันมาก ก็เป็นงานคิดของนักคิดชาวอังกฤษ Walter Bagehot ที่อธิบายระบบรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษว่า มีองค์ประกอบสำคัญสองส่วน ส่วนที่เป็นตัวตนเป็นศักดิ์ศรีของคนในชาติ คือสถาบันกษัตริย์ เขาเรียกองค์ประกอบส่วนนี้ว่า “ Dignifies ”

อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนทำงานเขาเรียกว่า “ Efficiency ” คือส่วนที่เป็นสภาเป็นรัฐบาลและข้าราชการ ส่วนนี้มีประชาชนในพรรคการเมืองเป็นสถาบันยืนอยู่ข้างหลัง

เมื่อสองส่วนนี้ทำงานหมุนรับกันได้ด้วยดีไม่ขบกัน ระบอบก็จะไปได้โดยราบรื่น

ถาม สถาบันกษัตริย์ มีไว้ทำไม? ในคำอธิบายของ Bagehot

ตอบ เขาบอกว่า การเมืองเป็นเรื่องการจัดการความขัดแย้ง ผู้นำมาแล้วก็ไป แต่กษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้ง สั่งสมประสบการณ์จนเป็น “สติ” ของการเมืองการปกครองโดยรวม ในระบบนี้ทรงมีสิทธิ สามประการนี้เท่านั้นคือ สิทธิที่จะสนับสนุนให้กำลังใจ ตักเตือน รับรู้และให้คำปรึกษา

ถาม ในสิทธิสามประการข้างต้น ถ้านายกรัฐมนตรี ไม่ฟังกษัตริย์เลยจะได้ไหม

ตอบ นั่นไม่ใช่ปัญหากฎหมาย แต่เป็นปัญหาความได้สมดุล ระหว่างหัวใจ กับ สมอง ของคนในชาติ นายกฯ มีน้ำหนักมาจากเสียงในสมองของ “ประชาชน” สถาบันกษัตริย์มีต้นทุนอยู่ที่หัวใจหรือความจงรักภักดีของราษฎร ทั้งสองส่วนต้องไปด้วยกันให้ได้

ถาม ที่ต้องมี มาตรา 112 ไม่ให้ใครมาล่วงเกิน ก็เพราะเหตุนี้หรือครับ

ตอบ ถูกต้องครับ ที่การด่าในหลวงเป็นความผิดต่อความมั่นคง ไม่ผิดเช่นด่าชาวบ้านธรรมดา ก็เพื่อรักษาบารมีของสถาบันไว้ บ้านเมืองจะได้สงบมั่นคงเย็นศิระกันต่อไปได้

ถาม ที่คณะราษฎร์ ต้องขอรัชกาลที่ 7 ให้ทรงรับเป็นประมุข ก็เพราะเหตุนี้เหมือนกัน

ตอบ คณะราษฎร์ไม่อยู่ในหัวใจของราษฎร พวกท่านจึงต้องขอให้สถาบันกษัตริย์รับหน้าที่ในส่วน Dignifies พระราชทานพระปรมาภิไธยให้อำนาจทั้งสาม ทำงานบ้านเมืองต่อไป จนปัจจุบัน

ถาม ขบวนการสามนิ้ว ส่งพรรคส้มมาลงเลือกตั้งทำงานในส่วน Efficiency ในสภาหรือรัฐบาล แล้วทำไมไม่มุ่งพัฒนาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง กลับมาหมกมุ่นจะใช้หีบเลือกตั้งปรับแก้ส่วนประมุขอยู่ทุกวันอย่างนี้ได้อย่างไร

นี่เขายืนหยัดว่า สังคมไทยพร้อมจะเป็น “สาธารณรัฐ” มีประธานาธิบดีเป็นประมุขได้แล้วอย่างนั้นหรือ

ตอบ ผมตอบไม่ได้ และไม่ควรตอบ ได้แต่ยกคำของ Bagehot มาส่งท้ายไว้เท่านั้นว่า “อย่าโยนทิ้งสิ่งใด ถ้ายังตอบไม่ได้ว่ามันใช้ทำอะไร ถ้ารู้แล้วเมื่อใด ค่อยคิดให้กระจ่างต่อไปว่า จะหาอะไรมาแทนได้บ้าง ”

'ศาลรัฐธรรมนูญ' ลงมติ 5 ต่อ 4 'นายกฯ เศรษฐา' มีความผิด กรณีแต่งตั้ง ‘นายพิชิต’ เป็นรัฐมนตรี ส่งผลให้ ครม.พ้นทั้งคณะ

(14 ส.ค.67) ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 40 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5 ) หรือไม่

จากกรณี นายเศรษฐา ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้ หรือ ควรรู้อยู่แล้วว่า นายพิชิต ขาดคุณสมบัติ หรือ มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 

เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา สิ้นสุดลงได้  

ส่งผลให้ นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30  

ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญ ‘รับคำร้อง’ ไว้วินิจฉัย ด้วยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 โดยตุลาการเสียงข้างมาก 6 เสียง ประกอบด้วย 1.นายปัญญา อุดชาชน 2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ 5.นายนภดล เทพพิทักษ์  และ 6.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 

ส่วนตุลาการฯ เสียงข้างน้อย 3 เสียง ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2.นายอุดม รัฐอมฤต และ 3.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ 

ขณะเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ไม่สั่งให้ นายเศรษฐา หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ  

โดยตุลาการฯ เสียงข้างมาก 5 เสียง ประกอบด้วย 1.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2.นายนภดล เทพพิทักษ์ 3.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 4.นายอุดม รัฐอมฤต และ 5.สุเมธ  รอยกุลเจริญ

ส่วนตุลาการฯ เสียงข้างน้อย 4 เสียง ประกอบด้วย 1.นายปัญญา อุดชาชน 2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน 4.นายจิรนิติ หะวานนท์

‘เศรษฐา’ น้อมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ สั่งพ้นเก้าอี้นายกฯ รับ!! เสียใจที่ถูกตัดสินว่าไม่มีจริยธรรม ยัน!! ตนไม่ใช่คนแบบนั้น

(14 ส.ค.67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดใจแถลงหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยมติ 5 ต่อ 4 โดยระบุว่า…

ขอบคุณตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ให้โอกาสทุกฝ่ายชี้แจง ตนเคารพในคำวินิจฉัย โดยตลอดเวลาเกือบ 1 ปี พยายามทำทุกอย่างให้ทุกอย่าง ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต และยืนยันไม่ได้ทำตัวขัดแย้ง

ต่อข้อคำถาม ‘คาดคิดไว้หรือไม่?’ นายเศรษฐา กล่าวว่า ผลออกได้ทั้งซ้ายและขวา โดยไม่ได้คาดเดาผลที่จะออกมา ตนเสียใจเพราะจะถูกว่าเป็นนายกฯ ไม่มีจริยธรรม ซึ่งตนไม่ใช่คนแบบนั้น ซึ่งบ้านเมืองมีคนเก่งอีกหลายท่าน โดยนายภูมิธรรมกำลังเดินทางกลับมาอยู่ หากไม่ทันยังมีนายสุริยะ

“ยืนยันผมไม่ใช่คนแบบนั้น ไม่เชื่อมีใครวางยา โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคงตัดสินตามข้อมูล ไม่เกี่ยวว่าเข็ดกับการเมือง”

สุดท้ายต่อข้อคำถาม ‘ได้บทเรียนราคาแพง?’ นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนไม่อยากมองในแง่ลบ อย่าไปกล่าวล่วงว่าใครวางยาดีกว่า ขอให้ดำเนินต่อไปในการสรรหานายกฯ คนต่อไป

เปิดรายชื่อ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 5 ต่อ 4 วินิจฉัย 'เศรษฐา' พ้นนายกฯ

(14 ส.ค. 67) จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญ มีมติโดยเสียงข้างมาก (5 ต่อ 4) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5)เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) แล้ว รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้นำมาตรา 168 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต่อไป ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น

สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 5 คน เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160 (4) และ (5) ประกอบด้วย...

1.นายปัญญา อุดชาชน
2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน
4.นายจิรนิติ หะวานนท์
5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 4 คน เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรม นูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) ประกอบด้วย...

1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
2.นายนภดล เทพพิทักษ์
3.นายอุดม รัฐอมฤต
4.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ

‘สุทิน’ การันตี ‘ชัยเกษม’ สุขภาพดี แข็งแรง ไม่มีปัญหา ความรู้ความสามารถประสบการณ์ไม่ได้เป็นรองใคร

(15 ส.ค. 67) ที่รัฐสภา นายสุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและรักษาการรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าหารือที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้หลายคนมองว่าแทรกแซงจากบุคคลภายนอก ว่า เขารู้จักกันก็เรียกไปปรึกษาหารือเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นทางการ ปรึกษาหารือธรรมดา

ต่อข้อคำถามว่า ‘ห่วงว่าจะมีคนยื่นเอาผิดภายหลังหรือไม่ กรณีคนนอกเข้ามาแทรกแซงพรรค?’ นายสุทิน กล่าวว่า ไม่น่ามีอะไรถึงขั้นนั้น เพราะสถานการณ์เป็นแบบนี้ คนรู้จักกัน ต้องหารือกัน ซึ่งการหารือดังกล่าว ไม่ใช่การเคาะชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย ให้เสนอชื่อโหวตเป็นนายกฯ ทั้งนี้ชื่อดังกล่าวเป็นการคาดหมายกันเท่านั้น เพราะการเสนอชื่อต้องเป็นมติพรรคที่ต้องออกมาอย่างเป็นทางการ

เมื่อถามถึง ‘ความพร้อมของนายชัยเกษมต่อการรับตำแหน่งนายกฯ เพื่อบริหารประเทศ’ นายสุทิน กล่าวว่า ดูแล้วล่าสุดนายชัยเกษมสุขภาพดี แข็งแรง ไม่มีปัญหา และโดยความรู้ความสามารถประสบการณ์ไม่ได้เป็นรองใคร ดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อนายชัยเกษมต่อสภาฯ มั่นใจว่า จะได้รับเสียงโหวตเพราะพรรคเห็นด้วย แต่หากที่ประชุมมีมติไม่ส่งชื่อนายชัยเกษมแสดงว่าพรรควิเคราะห์แล้วว่าไม่ได้รับการยอมรับ 

“เราเป็นพรรคเดียวกันและทำงานต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาต่อความเชื่อมั่น อีกทั้งยังทำงานเป็นทีมและมีทีมที่ดีจึงไปต่อไป ทั้งนี้ผมเชื่อว่าหากสส. และสภาฯ ยอมรับก็ขายได้ ส่วนประชาชนจะยอมรับหรือไม่ ที่ผ่านมานายชัยเกษมเสนอตัวเป็นแคนดิเดตนายกฯ ตั้งแต่ต้น ถือว่าผ่านการเสนอตัวและพิจารณาจากประชาชนมาแล้ว” นายสุทิน กล่าว

เมื่อถามถึง ‘ปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีหลังจากนี้’ นายสุทิน กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ต้องรอหลังจากได้ตัวนายกฯ แล้ว

สุดท้ายเมื่อถามย้ำว่านายสุทิน ‘ยังดำรงตำแหน่งรมว.กลาโหมต่อหรือไม่’ นายสุทิน กล่าวว่า ไม่แน่ เรากำหนดตัวเองไม่ได้ ไม่รู้จะอยู่ที่ไหนอย่างไร เมื่อถามว่าเหนื่อยหรือยังกับตำแหน่งนี้ นายสุทิน กล่าวว่า “ยังฟิตอยู่ อยู่ที่โอกาส” 

'คปท.' ลั่น!! ชงชื่อ 'ชัยเกษม' นั่งนายกฯ เจอตอปมจริยธรรม ชี้!! เรื่องนี้จะเป็นจุดบอดระบอบทักษิณอีกเรื่องในอนาคต

(15 ส.ค. 67) นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘ถ้านายกฯ เป็น ชัยเกษม’ ระบุว่า…

ชัยเกษม เป็นอดีตอัยการสูงสุด ที่ใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้อง คดีอาญา พิชิต ชื่นบาน คดีถุงขนม

พิชิต ชื่นบาน ทำให้ เศรษฐา ทวีสิน พ้นนายกฯ สภาทนายความให้ พิชิต ชื่นบาน ผิดจริยธรรมร้ายแรง ศาลปกครองยืนตามสภาทนายความ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ เศรษฐา พ้นนายกฯ เพราะ พิชิต ชื่นบาน

ชัยเกษม นิติสิริ เกี่ยวพันทางจริยธรรมคดีตั้งแต่ต้น ถ้าชัยเกษม เป็นนายกฯ มีคนไปร้อง จริยธรรมเรื่องดุลพินิจมิชอบ เรื่องนี้เป็นจุดบอดระบอบทักษิณอีกเรื่องในอนาคต

ย้อนคำ ‘ชัยเกษม’ ติด 1 ใน 3 แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย และความรู้สึกหากได้นั่งเก้าอี้ ‘นายกรัฐมนตรี’

จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปมเสนอชื่อ ‘พิชิต ชื่นบาน’ ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าขาดคุณสมบัติในความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ ต่อมา ได้มีข่าวออกมาว่าพรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อ ‘ชัยเกษม นิติสิริ’ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนถัดไป

สำหรับเรื่องการเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และอาจจะได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีนั้น ‘ชัยเกษม นิติสิริ’ เคยได้เอ่ยถึงไว้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ในงานปราศรัยใหญ่ของพรรคเพื่อไทย ภายใต้แนวคิด ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน ตอน One Team for all Thais : หนึ่งทีมเพื่อไทยทุกคน’ ณ ธันเดอร์โดม สเตเดียม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อเปิดตัวแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 คนของพรรค ตามที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรค ได้นำชื่อ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย (ในขณะนั้น) นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

โดยน.ส.แพทองธาร ได้ให้สัมภาษณ์ ไว้ว่า วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะประกาศให้ประชาชนทราบว่าเราพร้อม พรรคเพื่อไทยพร้อมฟูลทีม สำหรับจุดเด่นของทั้ง 3 คนนั้นไม่เหมือนกันเลย บอกแล้วว่าหากเลือกพรรคเพื่อไทยจะได้ทั้ง 3 คนไปทำงาน

ผู้สื่อข่าวถามถึงการเลือกแคนดิเดตเบอร์ 1 มาจากอะไร น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าใครคือเบอร์ 1 2 3 ทุกบัญชีเราเสนอชื่อเต็มหมด ไม่ว่าจะเป็น สส.เขต / ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแคนดิเดตนายกฯ เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

ผู้สื่อข่าวถามต่อถึงความชัดเจนของรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ คนที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย เพราะอาจจะเป็นแรงดึงดูดให้ประชาชนเลือกพรรค น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า สำหรับแคนดิเดตนายกฯ 3 คนของพรรคเพื่อไทย ไม่มีใครเหมือนกันเลย แต่ไม่ว่าจะเป็นเบอร์ไหนก็ทำงานร่วมกันอยู่ดี นี่คือสิ่งสำคัญ วันนี้จะอาศัยแค่พรรคเพื่อไทย เราต้องชนะไปด้วยกัน ประชาชนต้องออกมาเลือกอนาคตของตัวเองไปพร้อมกับพรรคเพื่อไทย

ผู้สื่อข่าวถามเพิ่มเติมว่ามั่นใจกว่าพรรคอื่นหรือไม่ที่มีแคนดิเดตนายกฯ 3 คน ในขณะที่พรรคอื่นมีคนเดียว น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า อย่างที่บอกว่าเราเจออะไรกันมาเยอะ และเราตั้งใจกันจริง ๆ ในเรื่องนโยบาย พวกเราทั้ง 3 คนพร้อมเป็นตัวเลือกให้ประชาชน เพราะเราอยากได้นายกฯ ที่มาจากพรรคเพื่อไทย เพื่อพลักดันนโยบายของพรรคเพื่อไทยให้เป็นจริงได้

ต่อมาผู้สื่อข่าวต่างประเทศถามว่า หลังการเลือกตั้งจะไปร่วมมือกับพรรคพลังประชารัฐ หรือไม่ น.ส.แพทองธาร บอกว่าเร็วเกินไปที่จะพูด ขอโฟกัสที่การเลือกตั้ง สนใจผลการเลือกตั้งของพรรคเราเป็นอันดับแรกก่อน

ผู้สื่อข่าวถามนายเศรษฐาว่ามองแคนดิเดตนายกฯ ทั้ง 3 คนอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า แม้ทั้ง 3 มีบุคลิกที่ต่างกันแต่เราทำงานเป็นทีม นายชัยเกษม ก็มาด้วยความอาวุโส เป็นนักวิชาการทางด้านกฎหมาย เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของพรรค ส่วนหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง จะเสนอชื่อใครเป็นนายกฯ นั้น ขอให้เป็นทีละขั้นตอน ขอให้ผ่านวันที่ 14 พ.ค. แล้วค่อยว่ากันอีกครั้ง เราจะพยายามไปพบปะพี่น้องให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขอให้รอฟังนโยบาย ซึ่งจะมีการประกาศตัวเลขบางตัว ซึ่งน่าตื่นเต้น

ผู้สื่อข่าวถามนายชัยเกษมว่า รู้สึกตื่นเต้นหรือไม่ ที่ได้ตำแหน่งแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง นายชัยเกษม กล่าวว่า “ไม่เห็นมีเหตุที่จะต้องตื่นเต้น”

ระหว่างนั้น น.ส.แพทองธาร กล่าวเสริมติดตลกว่า "เก่าแล้วๆ" นายชัยเกษม กล่าวต่อว่า “รู้สึกเฉยๆ เพราะโอกาสเป็นนายกฯ จะมาลงที่ตนมันยาก” ทำให้ น.ส.แพทองธาร หัวเราะ นำศีรษะพิงไหล่นายชัยเกษม พร้อมกล่าวว่า "อาจารย์พูดแบบนี้ได้อย่างไร" ขณะที่ นายเศรษฐากล่าวเสริมว่า "อ.ชัยเกษม พูดถ่อมตัวมาก"

‘สส.เพื่อไทย’ หนุน ‘อุ๊งอิ๊ง’ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ฟาก ‘กก.บห.’ ต้องฟังเสียง สส. ก่อนมีมติเด็ดขาด

กรณีที่มีกระแสข่าวว่าบ้านจันทร์ส่องหล้าเคาะจะส่งนายชัยเกษม นิติสิริ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ในวันพรุ่งนี้ (16 ส.ค.) ว่า…

จริง ๆ มีการพูดคุยกัน แต่ตนไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ตนอยู่ที่สภาฯ เพื่อเคลียร์วาระการประชุมต่าง ๆ กับวิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาล อย่างไรก็ตามแม้จะมีข่าวออกมาแล้ว แต่ตนก็มองว่าเป็นแค่การพูดคุยกัน ส่วนเรื่องอื่นต้องรอสรุป หลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรคบ่ายวันนี้

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า เหมือน สส. ส่วนใหญ่จะสนับสนุน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นบุคคลที่จะเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี นายสรวงศ์กล่าวว่า จริง ๆ แล้วพรรคเพื่อไทยยังเหลือแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอีก 2 คน ซึ่งต้องดูความเหมาะสม และจะมีการประชุม กก.บห. ซึ่งจะมีการประชุม สส. เพื่อเรียกกำลังใจกลับมา การที่เราจะปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป ส่วนเรื่องของฝ่ายบริหารขอให้เป็นมติของที่ประชุม กก.บห.

ผู้สื่อข่าวถามเพิ่มว่า มติ สส. ที่สนับสนุน น.ส.แพทองธาร จะสามารถสู้มติของกก.บห.พรรคได้หรือไม่ นายสรวงศ์ กล่าวว่า แน่นอนว่ากก.บห.ก็ ฟังมติของสส. ฉะนั้นหากมีประชุม ยกเหตุผลมาแล้ว ก็น่าจะสรุปได้ในบ่ายวันนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top