Saturday, 10 May 2025
NewsFeed

ทำไมคนอ้วนมีความเสี่ยงสูง อาจป่วยหนักและเสียชีวิต เมื่อติดไวรัสโควิด

โรคอ้วนส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ไขมันภายในช่องท้องดันกล้ามเนื้อกระบังลมขึ้นไปในทรวงอกมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่วนไขมันที่ทรวงอกทำให้กล้ามเนื้อต้องออกแรงมากขึ้น แรงต้านมากขึ้นทำให้อากาศเข้าปอดน้อยลง หลอดลมอาจปิด ถุงลมของปอดส่วนล่างอาจแฟบ ทำให้การแลกเปลี่ยนของก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง


ที่มา : เพจ หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC

หลงเสนห์สาวไทย! นักดำน้ำชาวเบลเยี่ยม ‘จิม วอร์นีย์’ หนึ่งในทีมกู้ภัยแห่งถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน และนักแสดง ‘The Cave’ ได้ฤกษ์ควงแขนแฟนสาวชาวไทยจดทะเบียนสมรสแบบเรียบง่าย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ว่าการอำเภอศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายจิม วอร์นีย์ นักดำน้ำกู้ภัยแห่งเขานางนอนกับบทบาทนักแสดงใน The Cave ได้ฤกษ์ควงแขน น.ส.ภภัสสร จักกะพาก ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทแห่งหนึ่ง แฟนสาวที่คบหาดูใจกันมาตลอด 1 ปี 7 เดือน เข้าจดทะเบียนสมรสกัน โดยมี นายสุรเชษฐ์ แก้วคำ ปลัดอาวุโสอำเภอศรีราชา เป็นสักขีพยานในครั้งนี้ ซึ่งก็เป็นการจดทะเบียนสมรสแบบเรียบง่าย ตามที่ทั้งคู่ตั้งใจไว้แต่แรกนั้นเอง

ด้าน น.ส.ภภัสสร จักกะพาก กล่าวว่า เราทั้ง 2 คน พบใจกันที่งานเปิดตัวภาพยนตร์ ของโรงแรมแห่งหนึ่ง ซึ่งได้คบหาดูใจกันมาตลอด 1 ปี 7 เดือน จึงได้ตัดสินใจจดทะเบียนสมรสกัน โดยตอนแรกจะไปจดที่กรุงเทพมหานคร แต่ด้วยตนเองเป็นคนเกิดที่ศรีราชา จึงได้เลือกจดทะเบียนที่อำเภอศรีราชา ซึ่งเป็นการจดทะเบียนแบบเรียบง่าย

สำหรับ จิม วาร์นีย์ นักดำน้ำเบลเยียมแสดงนำในหนังสารคดีเรื่อง “นางนอน” The Cave ภารกิจช่วย 13 ชีวิตหมูป่าออกจากถ้ำหลวง ซึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่มีกำหนดลงโรงฉายทั่วโลกในเดือนกรกฎาคม 2562 โดยมีนายจิม วาร์นีย์ ชาวเบลเยียมเป็นนักแสดงเอกในภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวของการทำงานแข่งกับเวลาเพื่อที่จะช่วยชีวิตนักฟุตบอลเยาวชนจำนวน 12 คน และโค้ช 1 คน ให้ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากถ้ำที่ถูกน้ำท่วมทางภาคเหนือของประเทศไทยที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 โดยที่คนทั่วโลกต้องกลั้นลมหายใจร่วมลุ้นในปฏิบัติการกู้ภัยเพื่อช่วยเหลือปล่อยทีมหมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ซึ่งเป็นถ้ำที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย ในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ไม่ธรรมดาเลย ซึ่งแม้ในขณะที่เด็กๆ และโค้ชของพวกเขายังคงเป็นติดอยู่ภายในถ้ำ ก็สามารถดึงดูดความสนใจในการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี

 

 

พร้อมแล้วฉีดเลย! กระทรวงสาธารณสุข สั่งปูพรมฉีดวัคซีนโควิดคนกทม. และพื้นที่ระบาด ไม่ต้องรอดีเดย์ พร้อมแล้วฉีดเลย ด้าน ‘อนุทิน’ ลั่นองค์การเภสัชกรรม ไม่มีค่าหัวคิวซื้อวัคซีนทางเลือก 

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. เวลา 16.30 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด-19 ว่า เบื้องต้นที่ประชุมจะมีการปูพรมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่ กทม. และพื้นที่มีการระบาด ไม่ต้องรอดีเดย์ พร้อมแล้วฉีดเลย และล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะสนับสนุนพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ มีระบบระบายอากาศดี มีที่จอดรถ และการคมนาคมสะดวก ให้เป็นสถานที่ฉีดวัคซีน ตรงนี้ สธ.ก็จะมีการพิจารณา ส่วนการฉีดวัคซีนในพื้นที่อื่นสามารถลงทะเบียนผ่านไลน์และแอพพลิเคชั่น ‘หมอพร้อม’ หรือติดต่อผ่าน อสม. หรือโทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลเพื่อจองคิวรับวัคซีนได้ ทั้งนี้ วันที่ 13 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะไปตรวจเยี่ยมสถานที่ฉีดวัคซีนที่อาคารจามจุรี สแควร์ ด้วย

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีมีผู้กล่าวอ้างว่าองค์การเภสัชกรรมหักค่าหัวคิววัคซีนทางเลือก 10% นั้นไม่เป็นความจริง เนื่องจาก กลไกซื้อขายวัคซีนตามปกติจะต้องมีค่าดำเนินการ ตรวจแล็บ ตรวจคุณภาพวัคซีน ค่าจัดส่ง รวมถึงค่าแวต (vat) เป็นเรื่องปกติ เหมือนกับที่กรมควบคุมโรค สั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคจากองค์การเภสัชฯ ก็ต้องจ่ายค่าดำเนินการส่วนนี้ ยืนยันว่าเป็นระเบียบการซื้อขายตามปกติ ไม่มีการคิดค่าหัวคิว และอันที่จริง องค์การเภสัชฯ เพียงเข้ามาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ผลิตวัคซีนกับรพ.เอกชน เท่านั้น เป็นไปตามคำขอที่ภาคเอกชนระบุว่า ไม่สามารถจัดซื้อได้เอง องค์การเภสัชฯ จึงเข้ามาช่วยซื้อ ซึ่งไม่ใช่ภารกิจหลักขององค์การฯ ทั้งนี้ จัดซื้อวัคซีน จะสั่งซื้อตามจำนวน ตามความต้องการของเอกชนทั้งหมด
.
วันเดียวกันนี้ นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงการลงทะเบียนฉีดวัคซีนว่า ขอเวลา 2 สัปดาห์ ให้ร่วมกันช่วยลงทะเบียนหมอพร้อมให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเพื่อเข้าถึงการรับวัคซีน โควิด-19 ใช้ในการป้องกันโรคเนื่องจากขณะนี้พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการลงทะเบียนเพื่อคนสูงอายุอาจไม่ถนัดเทคโนโลยี หรือพาไปลงทะเบียนผ่าน รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.ชุมชนที่เป็นเจ้าของไข้

ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วย รมต.สาธารณสุข ประธานอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด-19 กล่าวว่า วัคซีนคือเครื่องมือสำคัญที่ลดการสูญเสียและการนอน รพ. วัคซีนแอสตราฯ ซึ่งเป็นวัคซีนหลักนั้นข้อมูลการศึกษาพบว่า ป้องกันการป่วยได้ถึง 76% ในเข็มแรก ลดความเสี่ยงเสียชีวิตได้ถึง 80% และลดการแพร่เชื้อในครอบครัวได้ 50% จึงต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด รวมถึงวัคซีนของซิโนแวคด้วย แม้จะมีผลข้างเคียงบ้าง แต่น้อยกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีน คือการป่วยหนัก ลดการเสียชีวิตลดการแพร่โรค จะช่วยให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ และทำให้ประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/politics/842789

'Molnupiravir' ยาเม็ดแห่งความหวังของผู้ป่วยโควิด พบผลหยุดแพร่กระจายเชื้อระยะเริ่มต้นได้ภายใน 24 ชั่วโมง .

นับวัน Covid-19 ยิ่งพิสูจน์ให้โลกเห็นถึงความแข็งแกร่งของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่สามารถกัดกร่อนสังคมมนุษย์ได้จริง ทั้งในด้านชีวิต และสุขภาพ ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจ

แม้จนถึงตอนนี้ โลกของเราจะเริ่มมีวัคซีนป้องกัน Covid-19 ออกมาแล้วหลายตัว และกำลังจะมีเพิ่มอีกในเร็ว ๆ นี้ แต่วัคซีนก็ยังคงขาดแคลนอย่างมากในหลายประเทศ และประชากรส่วนใหญ่ยังฉีดวัคซีนไม่ทันกับอัตราการแพร่ระบาด

ฉะนั้นสิ่งที่พอทำได้ สำหรับคนที่ยังไม่ติด Covid-19 จึงเป็นการตั้งการ์ด ป้องกันตัวเอง งดเดินทางออกจากบ้านหากไม่จำเป็น ระหว่างรอเพื่อฉีดวัคซีน

อย่างไรก็ตาม วัคซีนนั้นมีไว้เพื่อป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายไม่เจ็บหนักเมื่อติดเชื้อ นั่นจึงหมายความว่า วัคซีนอาจไม่ใช่ความหวังของผู้ป่วย Covid-19 ที่มีอยู่หลายสิบล้านคนทั่วโลกในขณะนี้

การคิดค้นหายาที่มีสรรพคุณต้าน Covid-19 ในร่างกายไม่ให้ลุกลามจนถึงขีดอันตราย จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยกู้วิกฤติ Covid-19 นี้ได้ โดยเฉพาะในประเทศที่เกิดการระบาดระลอกใหม่อย่างรุนแรง และกำลังรอการมาถึงของวัคซีน อย่างประเทศไทย

เดิมยาต้านไวรัส Covid-19 ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย หากตัด Hydroxychloroquine หรือยาแก้โรคมาลาเรีย ที่เคยเป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่งออกไป ก็จะมี...

1.) Remdesivir ที่พัฒนาโดยบริษัท Gilead ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้ใช้รักษาผู้ป่วย Covid-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงได้ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป แต่ข้อเสียของ Remdesivir คือ ราคาสูงมาก อยู่ที่หลอดละ 390 ดอลลาร์ และขายยกชุด 6 หลอดเพื่อใช้ต่อเนื่องกัน 6 วัน คิดเป็นเงิน 2,340 ดอลลาร์ต่อชุด หรือประมาณ 72,500 บาท

2.) Favipiravir หรือ Avigan พัฒนาโดยบริษัท Toyama Chemical ซึ่งเป็นบริษัทเครือเดียวกับ Fujifilm เป็นยาที่ใช้รักษาอาการไข้หวัดใหญ่ ก็ยาอีกชนิดที่นิยมใช้รักษาผู้ป่วย Covid-19 และราคาต่อเม็ดอยู่ในระดับที่จับต้องได้ คิดเป็นราคาเม็ดละ 125 บาท

แต่ผู้ป่วย 1 คน อาจต้องใช้ยาตั้งแต่ 40-70 เม็ด คิดเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 5,000 - 8,750 บาทต่อคน แต่หากสามารถผลิตได้เองในประเทศ จะทำให้ราคายาถูกลงกว่าเดิมครึ่งหนึ่งทีเดียว แต่ข้อเสียของ Favipiravir นั้นคือต้องทานยาต่อเนื่องกันเป็นเวลานานมาก และยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนและมากพอที่จะสรุปถึงผลลัพธ์ของ Favipiravir ได้

แต่ต่อมา ก็มีการพูดถึงยาต้าน Covid-19 ตัวล่าสุด ที่กำลังพูดถึงอย่างมากอยู่ในขณะนี้ ว่ามีความสามารถในการต้านเชื้อไวรัส Covid-19 ในร่างกายได้ภายในเวลาแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น และอาจเป็นความหวังครั้งสำคัญของผู้ป่วย Covid-19 ในขณะนี้

ยาที่ว่านี้คือ Molnupiravir !!

Molnupiravir พัฒนาโดยบริษัท Merck จากเยอรมันเมื่อราว ๆ ปี 2000 เพื่อใช้ต้านเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะ และเคยใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยโรค SARS และ MERS ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ได้มีการทดสอบกับผู้ป่วยกลุ่มเล็กโดย Georgia State University พบว่า สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง

ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ เป็นยารับประทาน จึงสามารถใช้ได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ติดเชื้อในระยะเริ่มต้น ช่วยลดระยะเวลารักษา และการกักตัว ที่มักมีผลด้านจิตใจของผู้ป่วย จึงสามารถป้องกันการเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนใหม่ ๆ ได้อย่างทันท่วงทีได้

ถึงแม้ว่ายา Molnupiravir ยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าจะสามารถช่วยรักษาในกลุ่มผู้ป่วยในระยะวิกฤติได้ผลหรือไม่ แต่การทดลองกับกลุ่มผู้ป่วยไม่มีอาการและกักตัวที่บ้าน ยังดำเนินอยู่ถึงเฟส 3 เรียบร้อยแล้ว และเป็นยาที่ได้รับความสนใจอย่างมากในอินเดีย ที่ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นมากถึง 4 แสนคนต่อวัน จึงทำให้มีการผลักดันให้ Molnupiravir ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินที่อินเดีย

และหาก Molnupiravir สามารถต้าน Covid-19 ในร่างกายได้อย่างรวดเร็วจริง ก็จะเป็นความหวังของหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลก ที่ยังพบปัญหาการระบาดระลอกใหม่ ด้วยเชื้อ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มาจากการเริ่มเปิดเมือง ผู้คนต้องเดินทาง เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า แต่หากมียาที่สามารถกินป้องกันได้ รักษาในระยะเริ่มแรกได้ทันทีโดยไม่ต้องกักตัวนาน ก็นับเป็นข่าวดีมาก

แต่เสียเพียงอย่างเดียว คือ ตัวยา Molnupiravir ต่อเม็ดก็ยังมีราคาสูงอยู่พอสมควร โดยข้อมูลของสื่ออินเดีย ชี้ว่ายา Molnupiravir กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในท้องตลาด แม้จะยังไม่มีผลทดลองขั้นสุดท้าย หรือการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลอินเดียก็ตาม จะซื้อขายกันอยู่ที่ 3,000 รูปีต่อเม็ด หรือประมาณเม็ดละ 1,270 บาท

จากข้อมูลยารักษา Covid-19 ที่มีอัพเดทอย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นได้ว่า ยาแต่ละชนิด ต่างมีข้อดี และข้อเสีย และราคายังจัดว่าค่อนข้างสูง แต่ไม่ได้รับประกันผลได้อย่าง 100% นำไปสู่วลีที่ว่า ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ เพราะสุดท้ายแล้วการลงทุนกับการป้องกัน มักคุ้มค่ากว่าการรักษาเยียวยาเสมอ

ดังนั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันตัวเอง ควรเป็นทางเลือกอันดับแรกของการแก้ปัญหาการระบาดของ Covid-19 ที่มีราคาถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับค่ายา และค่ารักษาพยาบาลอย่างแน่นอน


อ้างอิง:

https://health.economictimes.indiatimes.com/news/pharma/antiviral-drug-molnupiravir-blocks-covid-19-virus-within-24-hours-study/79583150

https://economictimes.indiatimes.com/industry/healthcare/biotech/pharmaceuticals/natco-seeks-emergency-approval-to-launch-molnupiravir-for-covid-19-in-india/articleshow/82256562.cms?from=mdr

https://www.empr.com/home/news/molnupiravir-merck-ridgeback-oral-antiviral-investigational-covid-19-treatment/

https://en.wikipedia.org/wiki/Molnupiravir

https://en.wikipedia.org/wiki/Favipiravir

https://en.wikipedia.org/wiki/Remdesivir

ลูกจ้างธุรกิจอีเว้นท์ เฮ!! รมว.เฮ้ง รับลูก นายกฯ สั่งการ สปส.พิจารณาข้อ กม.แล้ว  เข้าเงื่อนไขเยียวยาว่างงานเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ได้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง กรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์และที่เกี่ยวข้อง จะเข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและตนในฐานะ รมว.แรงงาน เพื่อให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการจากผลกระทบโควิด-19 จนทำให้กิจการต้องปิดไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่อไปได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับทราบแล้วและสั่งการให้สำนักงานประกันสังคมไปพิจารณาข้อกฎหมาย โดยประเด็นดังกล่าวเข้าเงื่อนไขกฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยโควิด-19 สามารถจ่ายเยียวยาว่างงานเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน 

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์และที่เกี่ยวข้อง เตรียมยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึงยื่นหนังสือถึงตนในสัปดาห์หน้านั้นด้วย เพื่อขอให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในธุรกิจอีเว้นท์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในประเทศไทยระลอกแรกตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เรื่อยมา จนถึงการระบาดอย่างรุนแรงในระลอก 3 นับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า บางประเภทกิจการภาครัฐมิได้สั่งให้ปิด แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องปิดกิจการไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่อไปได้ และยังมองไม่เห็นว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติเมื่อใด นายสุชาติ กล่าวว่า ผมได้นำเรียนท่านนายกรัฐมนตรีทราบแล้ว และท่านได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมไปพิจารณาข้อระเบียบกฎหมายว่าเข้าเงื่อนไงดังกล่าวหรือไม่อย่างไร ซึ่งจากการพิจารณาแนวทางการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตามกฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563 (เพิ่มเติม) พบว่า มีเงื่อนไข ดังนี้ 1) ทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว โดยสั่งให้ปิด หรือห้าม หรืองดใช้สถานที่ เช่น สถานที่จัดนิทรรศการ ศูนย์การแสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ เช่น ประเภทกิจการที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การจัดประชุม การจัดสัมมนา การจัดเลี้ยงทั้งในและนอกสถานที่ หรือกิจกรรมอื่นในลักษณะเดียวกันที่กระทำในสถานที่นั้นๆ 2) ระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ให้พิจารณาจากการปิด หรือห้าม หรืองดใช้สถานที่โดยให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัด หรือคำสั่งของทางราชการที่มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายกำหนด ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง คราวละไม่เกิน 90 วัน และ 3) ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรอง ในประเด็นที่นายจ้างไม่ได้ประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามคำสั่ง/ประกาศของทางราชการ ตามข้อ 1) โดยลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จากการพิจารณาข้อกฎหมายประเด็นดังกล่าวของสำนักงานประกันสังคมปรากฎว่าเข้าเงื่อนไขกฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยโควิด-19 สามารถจ่ายเยียวยาว่างงานเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องดำเนินการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนโดยกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้และแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ แล้วนำส่งให้นายจ้างรวบรวมแบบฯ เพื่อบันทึกข้อมูลลูกจ้างและหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว เมื่อนายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้างเสร็จสิ้นให้นำส่งแบบฯ และหนังสือรับรองในระบบ e- Service ส่งมายังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือผ่านโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดฝึกออนไลน์ Upskill ให้ผู้กักตัว จัด 20 หลักสูตร พัฒนาทักษะผ่าน Online ฟรี ฝึกจบรับวุฒิบัตร 

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ กพร. ช่วยเหลือแรงงานทั้งแรงงานในระบบ
และแรงงานอิสระ ภายใต้ภารกิจของ กพร.โดยการฝึกอบรมฝีมือแรงงานแบบ New Normal ผ่านระบบออนไลน์เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่แรงงานได้พัฒนาทักษะฝีมือในช่วงกักตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 และเตรียมความพร้อมเป็นแรงงานคุณภาพกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลาย 

อธิบดี กพร. กล่าวต่อไปว่า กพร.ได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ทุกแห่งทั่วประเทศจัดหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ฟรี 20 หลักสูตร โดยเน้นหลักสูตรด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประยุกต์ใช้งาน และการประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ Microsoft Excel Advanced การผลิตสื่อโฆษณาและหนังสั้นด้วยสมาร์ตโฟน เทคนิคการสร้างร้านค้าและขายสินค้าออนไลน์ การสร้างงานสร้างอาชีพด้วยระบบ E-Commerce การออกแบบและตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Photoshop  illustrator การสร้างแอปพลิเคชันโมบายระบบแอนดรอยด์ การเขียนแบบก่อสร้าง 3D ด้วยโปรแกรม Sketch-up การสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลด้วย Google Form การประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Solid Work ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาพม่าเบื้องต้นเพื่อการทำงาน ไคเซ็น (KAIZEN) เพื่อการปรับปรุงงาน  การใช้งานโปรแกรม Microsoft Power point 2010  เทคนิคการสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการท่องเที่ยว การใช้ Google Application เพื่อธุรกิจ การสร้างแบรนด์ธุรกิจดิจิทัล การใช้โปรแกรม Microsoft Word 2016 และการสร้างอินโฟกราฟิกเบื้องต้น 

ผู้สนใจสามารถค้นหาหลักสูตร และลงทะเบียนสมัครฝึกอบรมได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th เลือกอบรมออนไลน์ผู้กักตัว COVID – 19 เลือกหลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม นัดหมายและเตรียมความพร้อมก่อนฝึก เมื่อถึงวันฝึกอบรมให้ผู้สมัครลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรมผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting และประเมินผลการฝึกผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ ผู้ผ่านการประเมินจะสามารถพิมพ์วุฒิบัตรผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเอง การฝึกอบรมในครั้งนี้     เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้กักตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ไม่จำกัดเพศ และวุฒิการศึกษา 


“การกักตัวอยู่บ้านตามที่รัฐบาลขอความร่วมมือ นอกจากจะเป็นการช่วยชาติลดการแพร่เชื้อโควิด – 19 แล้ว แรงงานยังสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเหล่านี้ และหลักสูตรอื่นๆ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สพร.และสนพ. ทุกแห่งทั่วประเทศ” อธิบดี กพร. กล่าวทิ้งท้าย

“สุชาติ” สั่งปรับแนวทางอบรมคนไปทำงานต่างประเทศ ยึดปลอดภัยจากโควิด-19 

กระทรวงแรงงาน เริ่มอบรมคนหางานก่อนเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานราชการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 อย่างจริงจังมาโดยตลอด ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและประชาชนผู้รับบริการ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของพี่น้องแรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งต้องได้รับการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง และป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระทรวงแรงงานจึงปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการภาครัฐ โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป และคนหางานสามารถเดินทางไปทำงานต่างประเทศได้อย่างปลอดภัย

“กระทรวงแรงงานเริ่มปรับใช้การอบรมก่อนไปทำงานในต่างประเทศ ด้วยการอบรมผ่านระบบ Zoom แทนการเข้ารับการอบรม ณ กระทรวงแรงงาน โดยตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.-11 พ.ค. ที่ผ่านมา มีการอบรมไปแล้ว 5 รอบ รวมทั้งสิ้น 423 คน เป็นคนหางานที่ประสงค์เดินทางไปทำงานประเทศไต้หวัน 413 คน และโปรตุเกส 10 คน  แบ่งเป็นวันที่ 3 พ.ค. จำนวน 35 คน วันที่ 5 พ.ค. จำนวน 86 คน วันที่ 6 พ.ค. จำนวน 19 คน วันที่ 7 พ.ค. จำนวน 214 คน และวันที่ 11 พ.ค. จำนวน 69 คน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นอกจากการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านระบบ Zoom แล้ว ยังใช้วิธีสัมภาษณ์คนหางานไปทำงานต่างประเทศ ผ่านแอปพลิเคชัน LINE การลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ แจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตนเอง แจ้งการเดินทางกลับไปทำงานต่างประเทศ ผ่านเว็บไซต์ toea.doe.go.th แทนการเดินทางมาที่สำนักงานด้วย ทั้งนี้ ผู้สนใจเดินทางไปทำงานต่างประเทศสามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ www.doe.go.th/overseas และ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศได้ที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วน 1694 กรมการจัดหางาน

"ชวน" เผยรัฐบาลส่งร่างพ.ร.บ.งบ 65 มาสภาฯ 17 พ.ค. เตรียมบรรจุวาระ ถกนัดแรก 31 พ.ค.-2 มิ.ย. ชี้หากช้ากว่านี้หวั่นกระทบควมเชื่อมั่นรัฐบาล-เศรษฐกิจ  ยันส.ส.และจนท. ที่เข้าประชุม ต้องฉีดวัคซีน หากไม่ฉีดต้องมีหนังสือรับรองปลอดเชื้อโควิดทุกครั้ง 

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการนัดตัวแทนรัฐบาล คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา หารือในวันที่ 14 พ.ค.นี้ ว่า จะเป็นการหารือเพื่อหาความร่วมมือในการประชุม ให้สามารถเดินหน้าไปได้ด้วยดี ในขณะที่ยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งสภาฯ ต้องเป็นตัวอย่าง ในการทำงานในขณะที่มีวิกฤตไม่ใช่หนีปัญหา 

นายชวน กล่าวต่อว่า โดยวางกรอบในเบื้องต้นว่าหลังเปิดสมัยประชุมวันที่ 22 พ.ค.แล้วจะนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27 พ.ค. เพื่อพิจารณาพระราชกำหนด 2 ฉบับ และได้รับการประสานจากทางรัฐบาลมาแล้วว่าจะส่งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 มาที่สภาฯ ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ จึงจะบรรจุระเบียบวาระการพิจารณา ร่างพ.รบ. งบประมาณฯ วาระแรกในวันที่ 31 พ.ค.- 2 มิ.ย. เพื่อให้เวลากับสมาชิกได้ดูเอกสารในร่างพ.ร.บ. งบประมาณฯ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ส่วนที่ประธานวิปรัฐบาล ระบุว่า อาจจะให้บรรจุระเบียบวาระในวันที่ 9 มิ.ย. นั้น เห็นว่าจะเลยกรอบเวลาไปมาก และเกรงว่าจะมีปัญหากับทางรัฐบาลเอง เพราะงบประมาณเป็นส่วนสำคัญมากในการที่จะทำให้เกิดความมั่นใจในการบริหารบ้านเมือง และมีผลต่อเศรษฐกิจ ดังนั้นงบประมาณควรออกไปตามปฏิทินที่สำนักงบประมาณได้วางเอาไว้ 

นายชวน ยังกล่าวถึงมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สภาฯ ว่า นอกจากขอความร่วมมือส.ส. ฉีดวัคซีนให้ครบทุกคนแล้ว ยังประสานให้ เจ้าหน้าที่ที่จะต้องทำงานในห้องประชุมได้รับวัคซีน และให้นโยบายไปแล้วว่าสำหรับคนที่มีความประสงค์จะไม่ฉีดวัคซีน จะต้องมีหนังสือรับรองมาว่าไม่มีเชื้อโควิด-19 ภายในเวลาที่กำหนดเอาไว้ในระเบียบ และในการประชุมครั้งต่อไปก็ต้องมีหนังสือรับรองอีก เพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดภายใน ซึ่งทุกคนจะต้องมีความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันยังคงเน้นมาตรการในการคัดกรองบุคคลเข้า-ออก ในอาคารรัฐสภา ทั้งนี้ได้ย้ำเจ้าหน้าที่ด้วยว่า ไม่ต้องเกรงใจ แม้จะเป็นส.ส.มาขอร้อง หากใครไม่ผ่านกระบวนการในการคัดกรองเบื้องต้น ต้องไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่สภาฯ ซึ่งเชื่อว่าจากมาตรการที่วางเอาไว้น่าจะสามารถลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ในระดับหนึ่ง

‘สาธารณสุขอินโดนีเซีย’ เผยผลการศึกษาวัคซีนซิโนแวค พบประสิทธิภาพสูง ป้องกันโควิดได้ 94% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% หลังฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ 25,374 ราย

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ผลวิจัยการใช้งานจริงจากกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซียระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทซิโนแวคของจีนนั้น สามารถลดการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ของอินโดนีเซียลงได้อย่างมาก ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพาวัคซีนดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้มีรายงานว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพต่ำกว่าวัคซีนของบริษัทจากชาติตะวันตกอย่างมากในการทดลองทางคลินิก

นายบูดี กูนาดี ซาดิคิน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์เมื่อวานนี้ว่า ทางกระทรวงฯ ได้ติดตามผลกับบุคลากรทางการแพทย์ 25,374 ราย ในกรุงจาการ์ตาเป็นเวลา 28 วัน หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคโดสที่สองจนถึงช่วงปลายเดือนก.พ. และได้พบว่าวัคซีนของซิโนแวคสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% รวมถึงป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 96% ภายในเวลาเพียง 7 วันหลังจากได้รับวัคซีน

นายซาดิคินกล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ถึง 94% ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่น่าทึ่งและดีกว่าข้อมูลจากในการทดลองทางคลินิกที่เกิดขึ้นหลายครั้งก่อนหน้านี้มาก อย่างไรก็ดี การวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขในครั้งนี้ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ได้มีการคัดกรองบุคลากรเพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการหรือไม่

นอกจากนี้ นายซาดิคินยังระบุว่า อัตราการเสียชีวิตและเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของบุคลากรทางการแพทย์นั้นลดลงอย่างมาก

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนของซิโนแวคป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใดที่แพร่ระบาดในอินโดนีเซีย แต่หน่วยงานด้านสาธารณสุขของอินโดนีเซียยังไม่มีรายงานว่าเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่จากไวรัสสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด

ผลวิจัยครั้งนี้ยังสนับสนุนข้อมูลจากบราซิลที่ว่า วัคซีนซิโนแวคนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าที่ระบุไว้ในขั้นทดลองซึ่งประสบปัญหาหลายประการ ทั้งข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพที่ไม่แน่นอน รวมถึงข้อกังขาเกี่ยวกับความโปร่งใสของข้อมูล


ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/86197

ของแพง-ตกงาน ทำกำลังซื้อครัวเรือนไทยทรุดหนัก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นเดือนเกิดระบาดโควิด-19 รอบสามได้ปรับตัวลดลงอย่างมากอยู่ที่ระดับ 37.0 จากระดับ 40.4 ในเดือนมี.ค. ส่งผลต่อกำลังซื้อครัวเรือนในขณะที่มาตรการเยียวยาเพิ่มเติมยังไม่ออกมา รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มอย่างมาก และครัวเรือนกังวลด้านรายได้ การมีงานทำ ทิศทางของดัชนีราคาผู้บริโภคที่ปรับสูงขึ้นในรอบ 8 ปี ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนด้วย 

ทั้งนี้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ยังประเมินว่า ครัวเรือนยังเจอความเสี่ยงทั้งตลาดแรงงานในภาพรวมยังไม่ฟื้นตัวโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว ดังนั้นกำลังซื้อของครัวเรือนจะถูกกระทบอย่างมากจากรายได้ที่มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ฐานะทางการเงินของครัวเรือนมีแนวโน้มเปราะบางลงเรื่อย ๆ ต่อเนื่องมาจากการระบาดในครั้งก่อน ๆ แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบอยู่บ้าง แต่ขนาดไม่เท่ากับมาตรการเยียวยาในรอบก่อน ทำให้นอกจากการเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนแล้ว ครัวเรือนยังรอมาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ด้วย

ส่วนการว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 พบว่า อยู่ในระดับสูง โดยในเดือนก.พ.64 อยู่ที่ 310,031 คน เมื่อเทียบกับ 151,802 คน ในเดือนก.พ. 63 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เป็นตัววัดค่าครองชีพของประชาชนก็ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ในเดือนเม.ย. 64 เงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือนอยู่ที่ 3.41% ซึ่งปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาผักสดที่สูงขึ้น รวมถึงค่าสาธารณูปโภคที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังไม่มีมาตรการบรรเทาค่าใช้จ่ายในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. ในปีก่อนหน้า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top