Sunday, 28 April 2024
MOU

ลำปาง - มทบ.32 ร่วมลงนาม MOU แก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ และแม่นยำ ในพื้นที่ลำปาง

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 น.พลตรีอโณทัย ชัยมงคล ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ "การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำพื้นที่จังหวัดลำปาง"  โดยมีนายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และผู้แทน 23 หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมพิธีฯ ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ ชั้น 1 อาคารโอฬาร โรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

ตำรวจนาจอมเทียน จัดทำ ‘MOU’ ชุมชนยั่งยืน ‘แก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร’ ตามยุทธศาสตร์ชาติ!! โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ตำรวจนาจอมเทียน จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ที่อาคารอเนกประสงค์ วัดทรัพย์นาบุญญาราม บ้านเขาบำเพ็ญบุญ หมู่ 8 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นายธณพง โคตรมณี นายกเทศมนตรีตำบลเขาชีจรรย์ พ.ต.อ.สันติ ชูเชิด ผกก.สภ.นาจอมเทียน พ.ต.ท.ชุมพล แสนวิชัย รอง ผกก.(ป.) สภ.นาจอมเทียน พ.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ เจริญคลัง สวป.สภ.นาจอมเทียน น.ส.กานดา ทรัพย์นา ผู้ช่วยเลขานุการพัฒนาสตรี จ.ชลบุรี นายพิเชษฐ์ ธรรมโหร ปลัดอำเภอสัตหีบ นายธนพัฒน์ บรรบุปผา กำนันตำบลนาจอมเทียน น.ส.เตือนจิตร์ ทรัพย์นา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ตำบลนาจอมเทียน และผู้นำชุมชน ได้ร่วมทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ให้ความร่วมมือ และร่วมเป็นสักขีพยาน โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ

พ.ต.ท.สังวาลย์ พันสีทา สวป. สภ.นาจอมเทียน หัวหน้าชุดปฏิบัติการ กล่าวรายงานว่า ตามที่ตำรวจภูธรภาค 2 ได้มอบหมายให้ สภ.นาจอมเทียดำเนินงานตาม "โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน หมู่บ้าน โดยเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจและรับรู้ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติด เพื่อให้เกิดกระบวนการป้องกันแก้ไข และการบำบัดยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านชุมชน และเพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงานในหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน โดยทางเจ้าหน้าที่ ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืน อาทิ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรนาจอมเทียน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะเข้ามาดำเนินงานตามกระบวนการในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ระหว่าง 1 พ.ย.64 ถึง 31 ม.ค.65 

นายธณพง โคตรมณี นายกเทศมนตรีตำบลเขาชีจรรย์ ประธานในพิธี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติด เป็นวาระสำคัญของชาติ ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อน ความทุกข์ยากของประชาชน และศักยภาพการพัฒนาของประเทศในอนาคต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่บ้าน ชุมชนที่มีผู้ติดยาเสพติดอาศัยอยู่ จะมีปัญหามากกว่าทุกระดับ ที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ต้องช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด ให้ได้รับการบำบัดรักษา และอยู่ในหมู่บ้านชุมชนอย่างสงบสุข จึงได้ดำเนินการโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อดำเนินการแก้ไข ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน โดยเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจ และยั่งยืนต่อไป โดยได้ร่วมลงนาม  MOU เพื่อยืนยันความร่วมมือบนแผ่นป้ายไวนิลขนาดใหญ่ และในเอกสารดำเนินการเสริมในเรื่องอื่น ๆ เช่น การตรวจปัสสาวะผู้สมัครใจบำบัด เป็นต้น

 

‘ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ’ กำชับทุกหน่วย!! เตรียมพร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ปราบปรามแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติกำชับหน่วยงานในสังกัดขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการปราบปรามแรงงานต่างด้าว ตามมติ ครม. เมื่อ 28 ก.ย. 64 ให้นายจ้างและแรงงาน 3 สัญชาติ(ลาว กัมพูชา เมียนมา) ดำเนินการเข้าสู่กระบวนการจ้างงานตามกฎหมาย ภายในวันที่ 1-30 พ.ย.64 รวมถึงประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมกลุ่มแรงงาน MOU นั้น

เนื่องด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเป็นระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างและสถานประกอบการที่ขาดแคลนแรงงาน พร้อมกับควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ อีกทั้งได้มีมติให้มีการตรวจสถานที่ประกอบการต่าง ๆ เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขแก่นายจ้างและแรงงานต่างด้าว รวมถึงให้นำแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายเข้าสู่ระแบบการจ้างงานตามกฎหมายประเทศไทย เพื่อให้ได้รับการดูแลตามสิทธิที่พึงมี ภายในวันที่ 30 พ.ย. 64 หลังจากนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีกับแรงงานต่างด้าวทำงานผิดกฎหมายอย่างจริงจัง

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สนองนโยบายรัฐบาลโดยได้กำชับและสั่งการไปยังหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ให้ทำการประสานการปฎิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์พร้อมสร้างการรับรู้ให้กับนายจ้างและแรงงาน 3 สัญชาติ( ลาว กัมพูชา เมียนมา) เพื่อให้มาดำเนินการภายในกำหนดตาม มติ ครม.  โดยหลังจาก 30 พ.ย.64 ให้ประสานการปฎิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบสถานประกอบการ โรงงาน ที่พักคนงาน และพื้นที่สุมเสี่ยง ทำการสืบสวนปราบปราม จับกุมแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยผิดกฎหมายและนายจ้างที่เกี่ยวข้อง  เพิ่มการกวดขันการตรวจตราการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย การลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยให้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยร่วมปฏิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง ตลอดจนขยายผลไปยังเครือข่ายผู้ร่วมกระทำความผิดทุกราย  พร้อมให้เจ้าหน้าที่ทุกนายปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามหลักยุทธวิธีตำรวจและถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ได้กำหนด

หากตรวจพบว่าพื้นที่ใดหย่อนยาน ปล่อยปละละเลย หรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้น จะถือว่าเป็นความบกพร่อง ต่อหน้าที่ อีกทั้งเน้นย้ำให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด ห้ามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือเรียกรับผลประโยชน์ทุกกรณี ไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อมก็ตาม หากพบจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายและดำเนินการทางวินัยอย่างเด็ดขาดทุกราย

ผู้ที่ให้การช่วยเหลือหรือนำพาบุคคลต่างด้าวลักลอบข้ามพรมแดน จะมีโทษฐานเป็นบุคคลที่นำพาบุคคลต่างด้าวลักลอบหลบหนีเข้าเมืองซึ่งจะมีโทษจำคุก 10 ปี ปรับ 100,000 บาท แต่ถ้าเกิดมีการช่วยเหลือซ่อนเร้นคือบุคคลต่างด้าวนั้นเข้ามาหลบอยู่ในบ้านท่านหรือมีการอำนวยความสะดวกให้ขึ้นรถหรือว่ามีการหลบหลีกด่านตรวจต่างๆ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 50,000 บาท

 

ผช.รมว.แรงงาน เปิดประชุมทวิภาคี ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา เพื่อส่งเสริมการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมและยุติธรรม ช่วงระหว่างและหลังการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

วันที่ 14 มกราคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวต้อนรับพิธีเปิดการประชุมทวิภาคีเพื่อส่งเสริมการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมและยุติธรรมระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในช่วงระหว่างและหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom โดยกล่าวว่า แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติจากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวนกว่า 2.1 ล้านคน โดยแรงงานกัมพูชามีจำนวน 448,492 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในภาคการก่อสร้าง การเกษตร งานบริการต่าง ๆ การผลิตหรือจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม การค้าส่ง ค้าปลีก และแผงลอยในตลาด

ประเทศไทยและกัมพูชามีการลงนามใน MOU ฉบับแรก ว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมให้การโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานชาวกัมพูชามาทำงานในประเทศไทยเป็นปกติและปลอดภัย ส่งเสริมให้มีการจ้างงานอย่างมีจริยธรรมได้อย่างครอบคลุม สามารถป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ และขจัดการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติได้จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้พัฒนากฎหมายและข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมและยุติธรรม โดยมีนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้ พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561 กำหนดห้ามการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดหางานจากแรงงานข้ามชาติ และควบคุมให้กระบวนการจ้างแรงงานข้ามชาติเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรม ตลอดจนเคารพสิทธิของแรงงาน และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และจากการระบาดของโรคโควิด-19

ประเทศไทยจำเป็นต้องชะลอการนำแรงงานเข้ามาทำงานตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2563 กระทรวงแรงงานจึงได้กำหนดมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายในประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อบรรเทาภาวะการขาดแคลนแรงงานของนายจ้างและสถานประกอบการ รวมถึงมีการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวให้อยู่ต่อและทำงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป ตลอดจนผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้สามารถทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นมาตรการเดียวกันกับที่ใช้ช่วยเหลือแรงงานไทย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เช่น การให้บริการฉีดวัคซีน การให้คำแนะนำในการป้องกันและดูแลตนเอง การบริจาคอาหารกรณีแรงงานภาคก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานประกอบการ

ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้บูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการปกครอง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณากำหนดแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยตามระบบ MOU ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้นายจ้างและสถานประกอบการมีแรงงานที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนกิจการตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมือง สามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างเป็นระบบ และเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกกฎหมายอันจะเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข ความมั่นคง และระบบการจ้างงานของประเทศ ทั้งนี้ นายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการดำเนินการ เช่น ค่ากักตัว ค่าตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นต้น

 

ระยอง - วท.นิคมอุตสาหกรรมระยอง MOU หน่วยงานในพื้นที่ 53 แห่ง มุ่งขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอน ดึงเด็กนอกระบบสู่การสร้างอาชีพ

เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2565 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายกิตติพงค์ อุตตมะเวทิน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง ว่า ทางวิทยาลัยฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับศึกษาธิการจังหวัดระยอง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดระยอง สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กระยอง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ประถมศึกษา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่มัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 53 แห่ง ในการสร้างเครือข่ายการศึกษาอาชีวศึกษา

เพื่อการประกอบชีพ สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาและร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดึงเด็กนอกระบบการศึกษาเข้าสู่ระบบด้วยการสร้างอาชีพ ส่งเสริมให้มีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ระหว่างเรียน และภายในงานมีนิทรรศการอาชีพต่าง ๆ ของแต่ละสาขาวิชาที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนแบบล๊อคคอร์สรายวิชา มาให้คณะผู้เข้าร่วมได้รับชม ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งนักเรียน และคณะผู้ร่วมงาน 

‘สวนนงนุชพัทยา’ จับมือ ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ลงนาม MOU 3 ฉบับ ยกระดับการเรียนการสอนนักศึกษา

ณ สวนนงนุชพัทยา นายกัมพล  ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้ลงนาม MOU 3 ฉบับเพื่อยกระดับการเรียนการสอนของนักศึกษา ประกอบด้วย 

1. ความร่วมมือทางวิชาการ 

2. โครงการหลักสูตรวิจัยพัฒนาและบริการวิชาการด้านการเกษตรและอาหาร 

3. โครงการพัฒนาหลักสูตรอุตสาหกรรมไม้ขุดล้อมและการผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง

นายกัมพล  ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา กล่าวว่า สวนนงนุชพัทยา ได้เล็งเห็นความสำคัญการพัฒนาในเรื่องของการศึกษา พัฒนาเสริมสร้างความรู้จึงได้สนับสนุนสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรม เพื่อประโยชน์แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย  และสวนนงนุชยังเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่อง การปลูกผักอินทรีย์,การเผาถ่าน,ผลิตน้ำสัมควันไม้,การเลี้ยงใส้เดือน,สวนสมุนไพร,พิพิธภัณฑ์โขน,โรงเรือนเพาะปลูกกัญชากัญชง ทั้งสายพันธุ์ไทยและต่างประเทศ

สำหรับการลงนามMOU ในครั้งนี้ สวนนงนุชพัทยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ตกลงที่จะร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาระหว่างกันโดยการจัดโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ การอบรมหลักสูตรระยะสั้น การอบรมหลักสูตรวิชาชีพ การวิจัย โดยทั้งสองจะสนับสนุนด้านวิชาการ ด้านทรัพยากรบุคคล ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การวิจัย และการพัฒนาระหว่างกันทั้งในและนอกเวลาราชการ ตามที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ดำเนินการ

กองทัพเรือ ลงนาม MOU ม.บูรพา โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม

น.ท.หญิง ชะรอยบุญ ศาสตรสุข โฆษกกรมแพทย์ทหารเรือ เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 1000 - 1130 น.จะมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง กองทัพเรือ กับ มหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยความร่วมมือตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุมภูหลวง หอประชุมโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ 

โดยมี พลเรือโท ชลธร สุวรรณกิตติ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ และ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นผู้ลงนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตนักศึกษาแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย และร่วมพัฒนาครุภัณฑ์ สิ่งสนับสนุนในการเรียนการสอน และองค์ความรู้ทางการแพทย์ เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประชาชน โดย รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์เป็นโรงพยาบาลหลักของกองทัพเรือในพื้นที่สัตหีบ ให้การตรวจรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา สนับสนุนทางการแพทย์ ดูแลรับส่งผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วยจากปฏิบัติการทางทหาร ทั้งในด้านการฝึกและในพื้นที่ปฏิบัติการ มีความพร้อมในการเป็นรพ.หลักในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

สวธ. จับมือ GISTDA ลงนาม MOU ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมมือกับ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ. หรือ GISTDA ทำ MOU การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีลงนามระหว่าง นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กับ นางกานดาศรี ลิมปาคม รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้บริหาร สวธ. และ สทอภ. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฯ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ อาคารสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ประธานพิธีกล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กับ GISTDA ในครั้งนี้ เป็นการนำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก มาบริหารจัดการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในหลายมิติ ทั้งมิติการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอันเป็นเหตุปัจจัยให้มรดกภูมิปัญญาฯ มีความเสี่ยงใกล้สูญหาย หรือยังคงปฏิบัติอยู่อย่างแพร่หลาย และมิติของพื้นที่ทั้งแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม พื้นที่ปฏิบัติของมรดกภูมิปัญญาณฯ รวมถึงมิติของความยั่งยืนบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น การใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ มาเป็นฐานข้อมูลในการออกแบบ หรือ วางแผนพัฒนา ฟื้นฟู สืบสาน รักษาและต่อยอดต่อไป ตลอดจนร่วมกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมผ่านฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักให้ชุมชน และทุกภาคส่วนได้เห็นคุณค่า สามารถดำเนินงานร่วมกัน และมีส่วนร่วมในกระบวนการสืบสาน พัฒนา ต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มเป็น soft power เป็นพลังที่สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นและประเทศ ต่อไป

ด้าน นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สทอภ. หรือ GISTDA ฉบับนี้ ด้วยสวธ.มีภารกิจในการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ต่อยอด รวมถึงถ่ายทอดแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยที่ผ่านมามีการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณที่ผ่านมา สวธ.ได้ริเริ่มดำเนินการรวบรวมและจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ภูมิศาสตร์ เพื่อให้ข้อมูลเชิงพื้นที่มีจำนวนมากและกระจัดกระจายให้เป็นระบบ สามารถมองเห็นมิติของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านข้อมูลแผนที่ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยเป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์สารสนเทศที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีทางด้านการสำรวจ การทำแผนที่ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกัน

“ในขอบเขตความร่วมมือที่จะมีขึ้นตาม MOU นี้ สวธ.จะดำเนินการสนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการ เช่น ข้อมูลสารัตถะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รวบรวมไว้ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ สวธ. และสามารถเผยแพร่ได้ให้แก่ สทอภ. ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามที่เห็นชอบร่วมกัน  ส่วน สทอภ. หรือ GISTDA จะสนับสนุนข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่อยู่ในคลัง (Archive) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้ภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจให้แก่ สวธ. ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน เพื่อให้กลไกบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่มีประสิทธิภาพ  และจะร่วมกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมผ่านฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อแสดงลักษณะของพื้นที่ที่มีมรดกภูมิปัญญาฯ ของแต่ละชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาคในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนและภาคส่วนสามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่มรดกฯ ของพื้นที่จะสูญหาย ให้พร้อมเป็นฐานข้อมูลสามารถนำไปออกแบบ พัฒนา ฟื้นฟู สืบสาน และต่อยอดต่อไป” นางสาวลิปิการ์ เผย

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จับมือ MOU เรื่อง โนรา ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณและมูลนิธิสงขลาเมืองเก่า เพื่อส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 'โนรา'

วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๕  เวลา ๑๓.๐๐ น. นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) มอบหมายให้ นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  เป็นผู้แทนกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและเป็นประธาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เรื่อง “โนรา” ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์  จิตรนิรัตน์  ผู้รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ  และนายธีรพจน์ จรูญศรี ประธานมูลนิธิสงขลาเมืองเก่า ณ ห้องประชุมชั้น ๔ อาคารสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

นางสาววราพรรณ  ชัยชนะศิริ  รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวถึงสาระสำคัญการลงนาม MOU ครั้งนี้ว่า  ตามที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ “ยูเนสโก” (UNESCO) ได้ประกาศให้ “โนรา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. ๒๐๐๓  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมูลนิธิสงขลาเมืองเก่า จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เรื่อง โนรา ฉบับนี้ขึ้น เพื่อร่วมมือกันส่งเสริมให้คนในชาติเห็นคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “โนรา” โดย MOU ฉบับนี้ มีแนวทางดำเนินงานเรื่อง โนรา ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) การส่งเสริมการถ่ายทอดโนรา  ๒) การพัฒนาทางวิชาการ และ ๓) การเผยแพร่พัฒนาและต่อยอด ตลอดจนร่วมกันรายงานการผลดำเนินงาน เรื่อง โนรา ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ.๒๐๐๓ ของยูเนสโก ในปี พ.ศ.๒๕๖๗  ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้จึงถือเป็นการขับเคลื่อนที่สำคัญในการส่งเสริมรักษา พัฒนา และต่อยอด “โนรา” ให้ดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างยั่งยืนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติสืบไป

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์  ผู้รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยทักษิณ และมูลนิธิสงขลาเมืองเก่า เพื่อร่วมมือกันส่งเสริม สนับสนุน และรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “โนรา” ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ในวันนี้

ถือเป็น “ย่างก้าวและหมุดหมาย” ที่สำคัญในการผลักดัน ขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์  และการใช้วัฒนธรรมเป็นหน้าต่างแห่งโอกาส สร้างการเชื่อมต่อความท้องถิ่นกับความเป็นสากลบนฐานวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นโยบายสำคัญประการหนึ่งของรัฐ และถือเป็นเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างความสมานฉันท์ ความกลมเกลียว และสำนึกทางสังคมไปพร้อมกันด้วย  ขณะที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้กำหนดวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม โดยในหมุดหมายด้านศิลปะ วัฒนธรรม ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนที่นำทางด้านวัฒนธรรม การวิจัยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าจากวัฒนธรรม และการสร้างเครือข่ายสร้างสรรค์วัฒนธรรม เพื่อเป้าหมายการส่งเสริมการประกอบการ และผลิตภัณฑ์ สินค้าวัฒนธรรรม ฯลฯ อันจะนำไปสู่การเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจสร้างสรรค์   ดังนั้น การบรรลุข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการร่วมมือกันจัดทำข้อมูลรายงานเกี่ยวกับมาตรการที่ได้ดำเนินการตามพันธกรณีอนุสัญญาฯ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ และสร้างองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “โนรา”แล้ว ยังเป็นความร่วมมือเพื่อต่อยอดทางวัฒนธรรรมไปสู่อำนาจแห่งการสร้างสรรค์ (Soft Power) และการสร้างสรรค์สังคมไทยบนฐานวัฒนธรรรมอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆกัน

ราชภัฏฉะเชิงเทรา ทำพิธีลงนาม MOU ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายโครงการ 'การพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจปูทะเล' อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

เวลา 09.00 น. วันที่ 15 ธันวาคม 2565 ที่ห้องโชคอนันต์ อาคารเรียนรวมและอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ได้จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ กับ ภาคีเครือข่ายโครงการ "การพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจปูทะเล อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติด้านเศรษฐกิจ" โดยมีนายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานในพิธีลงนาม ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการอธิการบดี ม.ราชภัฏราชนครินทร์ /ภาคีเครือข่ายโครงการ / ผู้บริหาร หัวหน้าส่วน และสื่อมวลชน เข้าร่วมในพิธี

สำหรับพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ กับ ภาคีเครือข่าย โครงการ "การพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจปูทะเล อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติด้านเศรษฐกิจ" ในวันนี้เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ได้รับทุนการดำเนินโครงการวิจัย จากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ภายใต้แผนงานการพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย โปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ แพลตฟอร์ม 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ โครงการวิจัย "การพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจปูทะเล อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจ" มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจปูทะเล อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย / เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและรายได้จากการเพาะเลี้ยงปูทะเลในพื้นที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา / เพื่อบูรณาการการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจปูทะเล และเพื่อส่งเสริมปูทะเลให้เป็นสินค้าเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดฉะเชิงเทราสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top