Thursday, 27 June 2024
Lite

‘หนุ่ม กะลา’ ปลงผมบวช เพื่อทดแทนคุณ บิดา-มารดา ได้รับฉายา ‘สุวณฺโณ’ แปลว่า ‘ผู้มีแสงธรรมดั่งทอง’

(15 มิ.ย.67) ที่ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กทม. คณะบัญจบเบญจมา นักร้องชื่อดัง ‘หนุ่ม กะลา’ หรือนายณพสิน แสงสุวรรณ เข้าพิธีอุปสมบท ทดแทนคุณบิดามารดา และอุทิศกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร

เวลาประมาณ 7.30 น. หนุ่ม กะลา เดินทางมาถึง คณะบัญจบเบญจมา สถานที่ประกอบพิธีปลงผม โดยวันนี้นักร้องหนุ่มมีสีแจ่มใส มีเพื่อนและคนในครอบครัวเดินทางมาร่วมอนุโมทนาบุญจำนวนมาก

ในระหว่างรอฤกษ์ปลงผม หนุ่ม กะลา ได้ให้แขกผู้ใหญ่ ครอบครัว เพื่อน ที่มาร่วมงาน ได้ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกก่อนจะทำพิธีต่อไป 

สำหรับ หนุ่ม กะลา หรือ นายณพสิน แสงสุวรรณ นักร้องชื่อดังที่เตรียมตัวเข้าพิธีอุปสมบททดแทนคุณบิดามารดา และอุทิศกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ได้รับฉายาทางธรรมว่า ‘สุวณฺโณ’ แปลความหมายได้ว่า ‘ผู้มีแสงธรรมดั่งทอง’

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ✨ประจำวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567

📌รางวัลที่ 1: 518504

📌รางวัลเลขหน้า 3 ตัว: 428 , 016

 📌รางวัลเลขท้าย 3 ตัว: 447 ,426

 📌รางวัลเลขท้าย 2 ตัว: 31

 📌รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1: 518503  518505

 📌รางวัลที่ 2 : 318468  025373  491146  336234  929480

 📌รางวัลที่ 3 : 955695  428495  676433  223852  343518  
040407  670971  392225  845831  649941

📌รางวัลที่ 4: 864878  042811  933037  016534  698891  
772842  624535  497071  801953  626862  
934261  645609  724350  686120  867183  
156651  226901  169264  760292  109846  
470925  260462  739656  157399  423612  
665971  311171  132096  899605  212854  
724932  915664  876772  466136  089971  
417986  936927  978565  605516  013457  
910161  402620  923641  437073  288575  
222681  184079  212892  807707  698760

📌รางวัลที่ 5: 416365  334741  814492  828129  322424  
068122  463671  490171  482894  926490  
287982  228557  828461  029759  732572  
617942  190046  548776  552369  975087  
515062  781749  365932  123326  818715  
739782  564001  442962  472623  823709  
031314  454177  419771  784891  499471  
400375  791205  319875  326404  005567  
956483  705394  808193  293806  724322  
609736  106929  562015  573957  462587  
463544  712893  379230  164308  841160  
656934  304991  006221  068972  085131  
572654  165432  354077  951225  759412  
848579  301759  202640  661955  931386  
750839  713997  076922  208170  080029  
073759  181024  671901  079801  539055  
066618  693587  373058  750662  897078  
080396  671992  532629  571400  877007  
554881  250876  682523  852740  278555  
084386  905106  591664  263877  455032  

24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ‘คณะราษฎร’ ยึดอำนาจ เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบ ‘สมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ประชาธิปไตย’

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับเป็นสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เวลาย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก จุลศักราช 1294 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในพระราชวงศ์จักรี คณะราษฎรอันประกอบด้วย ข้าราชการฝ่ายทหารบก ทหารเรือ พลเรือน และราษฎร นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้นำกำลังทหารและพลเรือนมาชุมนุม ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎรและยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ

เมื่อสามารถระดมกำลังทหารมาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าได้เป็นจำนวนมากจากหลายกองพันในกรุงเทพ ตลอดจนกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของรัฐบาลมาไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้มีหนังสือและส่ง น.ต. หลวงศุภชลาศัย ไปยังพระราชวังไกลกังวล กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนคร ดังมีความสำคัญว่า…

“คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน”

โดยวันรุ่งขึ้น 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร มีความตอนหนึ่งว่า…

“…คณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพเจ้ากลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ข้าพเจ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกัน ทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละมัยไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และความจริงข้าพเจ้าได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิดเพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญโดยสะดวกฯ”

ต่อมาในคืนวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนครโดยรถไฟพระที่นั่งที่ทางคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารส่งไปรับ และในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ให้บุคคลสำคัญของคณะราษฎรเข้าเฝ้าและพระองค์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่คณะผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน

ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทาน พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวให้เป็นกติกาการปกครองบ้านเมืองเป็นการชั่วคราวไปก่อน

ทั้งนี้ คณะราษฎรนับเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงในทางการเมืองและสังคมของประเทศไทย ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี กระทั่งสิ้นสุดบทบาทในปลาย พ.ศ. 2490 จากการรัฐประหาร ของคณะนายทหาร ภายใต้การนำของพลโท ผิน ชุณหะวัณ

26 มิถุนายน วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 

พระองค์ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2483 โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายไปอยู่วัดตรีญาติเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ต่อมาได้ทรงเข้าพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระเทพโมลี (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. 2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ต่อมาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีสถาปนาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 16.50 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยนิมนต์สมเด็จพระราชาคณะ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดทั่วราชอาณาจักร เข้าร่วมพระราชพิธี

27 มิถุนายน พ.ศ. 2510  ถือกำเนิด ‘ตู้ถอนเงิน' (ATM) เครื่องแรกของโลก ติดตั้ง ณ หน้าธนาคารบาร์เคลย์ส ประเทศอังกฤษ

เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) กำเนิดขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ซึ่งถือเป็นการให้บริการเครื่องถอนเงินครั้งแรกของโลก โดยตั้งอยู่ด้านนอกของธนาคารบาร์เคลย์ส (Barclays) สาขาเอ็นฟิลด์ ทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

โดยนายจอห์น เชพเพิร์ด บาร์รอน (John Shepherd-Barron) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอ ลา รู ของอังกฤษ เป็นผู้ประดิษฐ์ ซึ่งเขาได้แนวคิดจากเครื่องขายช็อกโกแลตแบบหยอดเหรียญ แต่ในขณะนั้นเรียกเครื่องถอนเงินนี้ว่า ‘Hole in The Wall’ ลูกค้าจะต้องสอดบัตรกระดาษเข้าไปแทนบัตรพลาสติกในปัจจุบัน และต้องกดเลขรหัส 4 ตัวเหมือนกัน ซึ่งจะถอนเงินได้ครั้งละ 10 ปอนด์ แต่ปัจจุบันเรารู้จักเครื่องถอนเงินในชื่อ Automated Teller Machine (ATM)

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเจ้าแรกที่นำเครื่องฝากและถอนเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม มาใช้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2526 เรียกว่า ‘บริการเงินด่วน’ ให้บริการนำฝาก ถอน โอนเงิน และสอบถามยอดบัญชี โดยยุคแรกเบิกใช้ได้เฉพาะบัญชีธนาคารนั้น ๆ จนกระทั่งมีระบบเอทีเอ็มพูล เพียงมีบัตรเอทีเอ็มก็สามารถถอนเงินหรือฝากเงินจากตู้ของธนาคารใดก็ได้

28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วันเปิดประชุม ‘สภาผู้แทนราษฎร' ชุดแรก-ครั้งแรกของไทย ใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปีพ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ประเทศไทย (สยาม) ได้เปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นมาประเทศไทยก็ขับเคลื่อนไปด้วยกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่เรียกว่า ‘ผู้แทนราษฎร’ ทำหน้าที่ใช้สิทธิออกเสียงในการบริหารปกครองบ้านเมืองแทนประชาชน

ทั้งนี้ เวลา 14 นาฬิกา ของวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการประชุมเป็นครั้งแรก ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยจัดห้องประชุมเป็นลักษณะครึ่งวงกลมตามระนาบพื้นห้อง การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) อ่านรายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง จำนวน 70 คน และเป็นผู้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิญาณตนในที่ประชุม จากนั้น เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ได้อัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอ่านเปิดประชุม เสร็จแล้วจึงได้ดำเนินการประชุมต่อไป จึงถือว่าวันนั้นเป็นวันก่อกำเนิดของ ‘รัฐสภาไทย’ มาจนถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนั้น ที่ประชุมมีมติเลือกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และเห็นชอบให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก รวมทั้งมีมติเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) คนแรก จึงถือว่าคณะรัฐมนตรีได้ถือกำเนิดขึ้นในวันเดียวกันด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะล่วงเลยผ่านตามการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา รัฐสภาชุดต่าง ๆ ยังคงทำหน้าที่ในฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายนิติบัญญัติแทนประชาชน โดยออกกฎหมายมาใช้บังคับในสังคม ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร และให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ ของประเทศ รวมทั้งแสดงบทบาทในฐานะผู้แทนประชาชนในกิจการต่าง ๆ และเป็นสิทธิเป็นเสียงแทนประชาชนทั้งประเทศต่อเนื่องตลอดมา

‘ลิซ่า’ เตรียมปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘Rockstar’ 28 มิ.ย.นี้ ผลงานแรกภายใต้ค่าย LLOUD - RCA Records

(19 มิ.ย.67) กระแสไวรัลในโลกออนไลน์กำลังฮือฮาสนั่นถึงสาว ‘ลิซ่า ลลิษา มโนบาล’ หรือ ‘ลิซ่า BLACKPINK’ ซีอีโอสาวบริษัท LLOUD ได้ออกมาเปิดเผยวันปล่อยซิงเกิลใหม่ล่าสุดของเธอที่มีชื่อว่า ‘Rockstar’ โดยทุกคนเตรียมตัวรับความปังพร้อมกันในวันที่ 28 มิ.ย. 07.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ทั้งนี้ เพลง Rockstar จะเป็นเพลงแรกที่ได้ปล่อยภายใต้สัญญาข้อตกลงระหว่างบริษัท LLOUD และ RCA Records ซึ่งเป็นผลงานซิงเกิลที่ 4 ต่อจาก LALISA, MONEY และ SG โดยเพลงนี้ลิซ่าจะเป็นผู้ครองลิขสิทธิ์มาสเตอร์เองทั้งหมด

เท่านั้นไม่พอ เมื่อ 5 วันที่ผ่านมา ลิซ่าได้สปอยล์เพลงแบบเบา ๆ ผ่านบัญชีติ๊กต็อกส่วนตัวมีเสียงกระซิบเบา ๆ ว่า ‘Baby, I’m a rockstar’ ซึ่งลิซ่าทุบสถิติกินเนสส์เวิลด์เรคคอร์ดส์ในการเข้าถึงผู้ติดตาม 1 ล้านคนภายใน 2 ชั่วโมง 18 นาที แถมยังมียอดวิว 82 ล้านวิวอีกด้วย

‘เดนทิสเต้’ ปิดดีล ‘ลิซ่า’ นั่งแท่นโกลบอลแอมบาสเดอร์อีกครั้ง มูลค่าสัญญา 150 ลบ. หลังสร้างยอดขายทั่วโลกแบบถล่มทลาย 

(20 มิ.ย.67) เภสัชกร ดร.แสงสุข พิทยานุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเฮลท์กรุ๊ป ผู้ผลิตเดนทิสเต้ และสมูทอี กล่าวว่า ได้เจรจาต่อสัญญากับ ลิซ่า เข้ามาเป็น โกลบอลแอมบาสเดอร์ ครั้งใหม่ได้สำเร็จแล้ว เป็นสัญญาแบบปีต่อปี และประเมินเจรจาสัญญาประมาณ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดตัวและแคมเปญร่วมกันได้ในช่วงปลายเดือน ก.ค.นี้เป็นต้นไป หรือ อาจจะมีวิดีโอในการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่ประเมินว่า จะมีภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ออกมาอย่างแน่นอน 

"ลิซ่าได้เซ็นต่อสัญญากับ เดนทิสเต้ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทราบมาว่า นอกจากแบรนด์เดนทิสเต้แล้ว ยังมีแบรนด์อื่น ๆ ได้ยื่นข้อเสนอไปกว่า 100 แบรนด์"

ทั้งนี้ การเจรจามีขึ้นภายหลังที่ลิซ่า ได้สิ้นสุดสัญญากับค่ายเดิม วายจี แล้ว 

สำหรับการดึง ลิซ่า เข้ามาร่วมเป็นโกลบอลแอมบาสเดอร์ในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จ ภายหลังที่ได้ร่วมมาเป็น โกลบอลแอมบาสเดอร์มาตั้งแต่ปี 2564 และสร้างยอดขายอย่างสูงทั้งในประเทศไทยและยอดขายทั่วโลก

ขณะที่แผนของ เดนทิสเต้ ในปี 2567 เตรียมขยายตลาดไปในประเทศสหรัฐ และในภูมิภาคยุโรป ทั้งในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนี อย่างจริงจังมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันได้มีฐานการผลิตสินค้าอยู่ใน เยอรมนี แล้ว 

ภาพรวมของบริษัทมีการส่งออกไปใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยมีฐานการผลิตหลักอยู่ในประเทศไทย เกาหลีใต้ และล่าสุดเยอรมนี

อย่างไรก็ตาม หากประเมินการเจรจาสัญญาในครั้งนี้ วงเงินประมาณ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 150 ล้านบาท

สำหรับ ลิซ่า กำลังมีผลงานคัมแบ็ค อย่างเป็นทางการภายใต้ค่าย LLOUD และ RCA Records กับชื่อว่า Rockstar ในวันที่ 28 มิถุนายนนี้

ส่วนเดนทิสเต้ ได้มีการเปิดตัว คณะเภสัชศาสตร์ สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา (IESA) อย่างเป็นทางการ

22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ‘สมเด็จพระพุฒาจารย์’ (โต พรหมรังสี) มรณภาพ พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์

วันนี้ในอดีต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือนามที่นิยมเรียก ‘สมเด็จโต’, ‘หลวงปู่โต’ หรือ ‘สมเด็จวัดระฆัง’ พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มรณภาพ สิริอายุรวม 84 ปี

ทั้งนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง

สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า ‘พฺรหฺมรํสี’ เนื่องจากเป็นเปรียญธรรม จึงเรียกว่า ‘พระมหาโต’ มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก เป็นพระราชาคณะที่ ‘พระธรรมกิติ’ และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ ‘พระเทพกระวี’ หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ ‘สมเด็จพระพุฒาจารย์’ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า

สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ

สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า ‘สมเด็จโต’ หรือ ‘สมเด็จวัดระฆัง’ ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า ‘ขรัวโต’

ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี

30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ‘สเปน’ ผ่านร่างกฎหมายอนุญาต ‘สมรสเพศเดียวกัน’ กลายเป็นประเทศที่ 3 ของโลก หลังเนเธอร์แลนด์-เบลเยียม

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน นำโดยนายกรัฐมนตรี นายโฆเซ ลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร ได้เริ่มการรณรงค์การรับรองสิทธิในการ ‘สมรสเพศเดียวกัน’ รวมถึงสิทธิในการรับบุตรบุญธรรมโดยคู่ครองเพศเดียวกัน ภายหลังจากการอภิปรายอย่างกว้างขวาง รัฐสภาสเปนได้ผ่านร่างกฎหมายอนุญาตการสมรสเพศเดียวกันเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และประกาศลงในรัฐกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และมีผลใช้บังคับในวันถัดไป ทำให้สเปนกลายเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ที่การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ภายหลังประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม และก่อนหน้าประเทศแคนาดา 17 วัน

ทั้งนี้ แม้ว่าการรับรองกฎหมายฉบับนี้จะได้รับความสนับสนุนจากประชาชนกว่า 66% ก็ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะปราศจากความขัดแย้งแต่อย่างใด บุคคลผู้มีตำแหน่งในศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้คัดค้านอย่างแข็งขัน โดยวิพากษ์วิจารณ์ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำให้ความหมายของการสมรสนั้นเสื่อมลง ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้แสดงความห่วงใยต่อประเด็นเรื่องการรับบุตรบุญธรรมของคู่ครองเพศเดียวกัน การออกมาชุมนุมเพื่อสนับสนุนและคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมเป็นหลักพันจากทั่วประเทศสเปน และภายหลังจากที่ได้มีการรับรองสิทธิดังกล่าวแล้ว ‘พรรคประชาชน’ ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษนิยมฝ่ายขวาของประเทศ ได้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญสเปนเพื่อวินิจฉัย

โดยในปีแรกของการประกาศใช้กฎหมาย คู่ครองเพศเดียวกันกว่า 4,500 คน ได้ทำการสมรสในประเทศสเปน ไม่นานหลังจากการใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว ประเด็นสถานะของการสมรสกับบุคคลต่างชาติ ซึ่งประเทศเจ้าของสัญชาติยังไม่รับรองการสมรสเพศเดียวกันก็ได้เป็นที่กล่าวถึง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้กล่าวว่า กฎหมายรับรองการสมรสเพศเดียวกันของสเปนอนุญาตให้ชาวสเปนสามารถสมรสกับบุคคลต่างชาติ แม้ว่าประเทศเจ้าของสัญชาติจะไม่รับรองความเป็นคู่ครองทางกฎหมายก็ตาม อย่างไรก็ตาม คู่ครองหนึ่งคนนั้นจะต้องมีสัญชาติสเปนจึงจะสามารถสมรสได้ แต่บุคคลต่างชาติสองคนอาจสมรสกันได้หากทั้งคู่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสเปนโดยชอบด้วยกฎหมาย

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 พรรคประชาชนได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย นายมาเรียโน ราฆอย หัวหน้าพรรคดังกล่าวได้คัดค้านการสมรสเพศเดียวกัน แต่การตัดสินใจว่าจะยกเลิกกฎหมายฉบับดังกล่าวหรือไม่นั้นจะกระทำขึ้นได้ภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสเปน และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญสเปนได้รับรองกฎหมายฉบับดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 3 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายอัลเบร์โต รุยซ์-กัลยาร์ดอนได้ประกาศว่ารัฐบาลจะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยและจะไม่ยกเลิกกฎหมายฉบับดังกล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top