Friday, 3 May 2024
ElectionTime

กระจายอำนาจท้องถิ่นในแบบ ‘ปชป.’ ยืนหยัด ต้องให้จังหวัดจัดการตนเอง

ประชาธิปัตย์กับการกระจายอำนาจ ; จังหวัดจัดการตนเอง

ถ้าย้อนกลับไปพิจารณาเจตนารมณ์ อุดมการณ์ ตั้งแต่ต้นของพรรคประชาธิปัตย์ โดย 'ควง อภัยวงค์' ผู้ก่อตั้งพรรค จะพบเจตนารมณ์ 10 ข้อ ที่ประกาศต่อสาธารณะ และถือเป็นเจตนารมณ์-อุดมการณ์ ที่ยังทันสมัย และใช้ได้ หนึ่งในนั้น คือเรื่องการกระจายอำนาจ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการในระดับพื้นที่ที่เล็กลงไป โดยยึดถือหลักว่า คนในพื้นที่คือคนที่รู้ปัญหา รู้ความต้องการของประชาชนมากที่สุด รู้ว่าในแต่ละพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรที่จะมาบริหารจัดการ ให้บริการสาธารณะอย่างไร

แต่เจตนารมณ์-อุดมการณ์ ประชาธิปัตย์ เดินผ่านช่วงเวลามาร่วม 70 ปี บางอย่างสำเร็จแล้ว บางอย่างอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และยังจะเดินหน้าให้เกิดการกระจายอำนาจเกิดขึ้นอย่างแท้จริง แต่ปัญหาใหญ่คือ 'ห่วงอำนาจ' รัฐบาลกลางยังไม่จริงจัง จริงใจกับการกนะจายอำนาจ เพราะกลับ 'สูญเสียอำนาจ' โดยเฉพาะกระทรวงใหม่ สายอำมาตย์ อย่างกระทรวงมหาดไทย ยังกวดอำนาจไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ยอมปล่อย

นี้คืออุปสรรคใหญ่ของการกระจายอำนาจ ในยุคที่ 'นิพนธ์ บุญญามณี' เข้าไปนั่งเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย และถือว่าเป็นผู้รู้เรื่องกระจายอำนาจ รู้เรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุดคนหนึ่ง ก็ยังถูกกีดกันไม่ให้กำกับ-ดูแล กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐมนตรีว่าการฯกอดอำนาจไว้แน่น

ผลักให้นิพนธ์ไปดูกรมที่ดิน กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย แต่คำว่านักการเมือง ไม่ว่าอยู่ตรงไหนก็สามารถคิดงานคิดการขึ้นมาได้ 'นิพนธ์' จึงเป็นที่ยอมรับในผลงานในช่วงสามปีกว่า ๆ ในกระทรวงมหาดไทย

หากย้อนกลับไปดูเรื่องการ กระจายอำนาจจะพบผลงานมากมายของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันให้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จากเดิมที่บริหาร-ดูแล โดยกำนัน เป็นนายกฯอบต.โดยตำแหน่ง ทำงานทั้งการพัฒนา และความสงบเรียบร้อย แม้ช่วงแรก ๆ จะมีอุปสรรค มีปัญหา มีข้อครหา แต่เวลาผ่านพ้นไป จะเป็นบทพิสูจน์ และกลั่นกรองคนเข้าสู่ระบบผ่านการเลือกตั้ง วันนี้ อบต.เริ่มก้าวข้ามคำว่า ผู้บริหารมาจากผู้รับเหมา มาจากผู้มีอิทธิพล เริ่มมีคนรุ่นใหม่ มีการศึกษาสูง กลับบ้านไปรับใช้บ้านเกิดมากขึ้น เกิดโครงการ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมากมาย แต่คำว่า อบต.ก็ยังต้องปรับตัว ปรับเปลี่ยนต่อไปอีกมาก เพื่อก้าวผ่านข้อครหา 'กินหัวคิว-กินเปอร์เซ็นต์' ไปให้ได้ แล้วเราจะเห็นแสงสว่างสดใสมากขึ้น รัฐบาลเองก็มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่นเข้มแข็ง 

การยกฐานะสุขาภิบาลมาเป็นเทศบาลทั่วประเทศ การให้นายกฯอบจ.มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชน แทนที่จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสวมหมวกสองใบ หรือให้สมาชิกซาวเสียงกันเองเลือกนายกฯอบจ.

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ก็เป็นผลงานการผลักดันของพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดให้ผู้ว่าฯต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีสภาฯกทม.(สก.) เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาเขต (สข.)เป็นที่ปรึกษาของ ผอ.เขต ผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าฯมาแล้วหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็น 'อภิรักษ์ โกษะโยธิน' หรือ มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร แม้การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ประชาธิปัตย์ โดย ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จะพ่ายให้กับ 'ชัชชาติ สิทธิพันธุ์' แต่คะแนนก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร ไล่มาอยู่ลำดับ 2 

ถามว่าการจายอำนาจจะเดินไปถึงจุดไหน พรรคการเมืองบางพรรค อย่างพรรคก้าวไกล เสนอแบบสุดขั้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ยกเลิกนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคด้วย พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเสนอเป็นนโยบายให้เลือกตั้งผู้ว่าราชจังหวัดทุกจังหวัดในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่มาคราวนี้น่าจะเสนอในรูปแบบของ 'จังหวัดจัดการตนเอง' จังหวัดไหนพร้อมก็ยกฐานะขึ้นมา เช่น ภูเก็ต-เมืองท่องเที่ยว เหมือนกับพัทยา และเชียงใหม่-น่าน สมุทรปราการ เมืองอุตสาหกรรม-เมืองการบิน ระยอง-เมืองอุตสาหกรรม-ท่องเที่ยว เหล่านี้เป็นต้น เป็นการทดลองการจัดการตนเอง อันเป็นแนวคิดค่อยเป็นค่อยไป

การเลือกตั้งครั้งปี 2562 พรรคภูมิใจไทย เสนอแนวคิด 'ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน' ก็ยังแค่เสนอให้ลดจำนวนกระทรวง ทบวง กรม ลง ส่วนเพิ่มอำนาจประชาชนจะทำอย่างไร ยังอธิบายไม่ชัด

ก้าวไกลเสนอเลือกตั้งนายกจังหวัด (26 พ.ย. 65)
เพื่อไทยเสนอเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในทุกจังหวัดที่พร้อม (6 ธ.ค. 65)
รูปธรรมกว่านั้นคือ ในปี 2570 เพื่อไทยตั้งเป้ากระจายอำนาจจากโรงพยาบาลของรัฐไปยังท้องถิ่นในรูปแบบองค์การมหาชน หรือกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการ ส่วนก้าวไกลมีนโยบายจัดทำประชามติภายใน 1 ปี เพื่อถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และภายใน 4 ปีจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ส่วนกลางต้องแบ่งสรรให้ท้องถิ่นจากไม่เกิน 30% เป็นไม่น้อยกว่า 35% เป็นต้น

น่าเสียดายพรรคพลังท้องถิ่นไทย มี ส.ส.ในสภา มีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านการเมืองท้องถิ่น มี ส.ส.ที่มาจากการเมืองท้องถิ่น แต่ไม่ได้ขับเคลื่อนจริงจังกับการกระจายอำนาจ

นึกย้อนไปในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 13 กันยายน 2535 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังเหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ ตอนนั้นมีอย่างน้อย 4 พรรคการเมืองที่เสนอนโยบายให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีความพร้อม ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคพลังธรรม, พรรคความหวังใหม่ และพรรคเอกภาพ ส่วนหนึ่งเสนอในเชิงยุทธการวิธีหาเสียง เพราะเชื่อว่าประชาชนจะให้การสนับสนุน ทว่า เมื่อทั้ง 4 พรรคมาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว นโยบายนี้ก็หายไปจากนโยบายของรัฐบาล โดยพรรคแกนนำอย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคความหวังใหม่เห็นว่านั่นเป็นเพียงนโยบายพรรคการเมือง ไม่ใช่นโยบายรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งท้องถิ่นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ช่วงปลายปี 2563 มาจนถึงกลางปี 2565 ไล่ตั้งแต่ อบจ. เทศบาล อบต. มาจนถึงเมืองพัทยา และ กทม. ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปไม่สามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ โดยเฉพาะในเชิงของการพัฒนาพื้นที่ได้ ใช่ว่าผู้บริหารท้องถิ่นเหล่านี้ไม่มีศักยภาพ แต่เป็นเพราะบทบาทอำนาจท้องถิ่นมีจำกัด งานสำคัญๆ ยังคงถูกรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง แม้แต่ กทม.เองที่ได้ชื่อว่าเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษก็ยังทำอะไรได้น้อยมากเมื่อเทียบกับเมืองหลวงของประเทศอื่น ถ้าเห็นว่าประชาชนเริ่มตระหนักและเข้าใจถึงปัญหากันมากขึ้น การกระจายอำนาจกลายเป็นประเด็นที่ขายได้ และมีคนพร้อมซื้อ พรรคการเมืองจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแสดงท่าทีของตนออกมา ซึ่งต้องตรงไปตรงมากว่าการเลือกตั้งหนก่อน

ส่องความเคลื่อนไหว สมรภูมิเลือกตั้ง ‘ภูเก็ต’ เวทีนี้ไม่มีหน้า ‘เก่า-ใหม่’ วัดใจที่นโยบายล้วนๆ

สมรภูมิแข่งขันทางการเมืองที่ดุเดือดอีกสนามหนึ่งทางภาคใต้ คงหนีไม่พ้นจังหวัดภูเก็ต ที่แต่เดิมมีเขตเลือกตั้ง เพียง 2 เขต และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 นี้ภูเก็ตจะมี 3 เขต จากการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ของ กกต. ให้แข่งขันกันอย่างดุเดือดในปี พ.ศ. 2566 

ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปดูสถิติของการเลือกตั้งจังหวัดภูเก็ตทั้ง 2 ครั้ง จะพบรายละเอียดดังนี้...

>> จังหวัดภูเก็ต เขต 1 
(3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
- นางอัญชลี เทพบุตร พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนไป 52,921 คะแนน
- นายวิสิษฐ์ ใจอาจ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนไป 16,573 คะแนน
- วีรศักดิ์ วรเนติวงศ์ พรรคแทนคุณแผ่นดิน ได้คะแนนไป 281

(24 มีนาคม พ.ศ. 2562) 
- นายสุทา ประทีป ณ ถลาง พรรคพลังประชารัฐ ได้คะแนนไป 32,338 คะแนน
- นายเรวัติ อารีรอบ พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนไป 25,194 คะแนน
- นายวิศิษฐ์ อนันต์ศิริภัณฑ์ พรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนนไป 22,599 คะแนน

(ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562 )

>> จังหวัดภูเก็ต เขต 2
(3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
- นายเรวัติ อารีรอบ พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนไป 52,585 คะแนน
- นายจิรายุส ทรงยศ พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนไป 28,252 คะแนน
- นายสมาน เก็บทรัพย์ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนไป 8,206 คะแนน

(24 มีนาคม พ.ศ. 2562)
- นายนัทธี ถิ่นสาคู พรรคพลังประชารัฐ ได้คะแนนไป 27,267 คะแนน
- นายชัยยศ ปัญญาไวย พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนไป 23,958 คะแนน
- นายศุภณัฐ เลื่องลือ พรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนนไป 19,963 คะแนน

(ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562)

จะเห็นว่าเมื่อการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 พรรคที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ทั้งเขต 1 และ เขต 2 เป็นที่นั่งของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีคะแนนทิ้งห่างจากลำดับที่ 2 อยู่หลายหมื่นคะแนน ส่วนการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่ง ส.ส.เดิม คือ นายเรวัติ อารีรอบ จากเขต 2 แต่ไปลงชิงคะแนนในเขต 1 ซึ่งก็แพ้คะแนนให้กับ นายสุทา ประทีป ณ ถลาง จาก พลังประชารัฐ ไปหลายพันคะแนน ส่วนเขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งนายชัยยศ ปัญญาไวย ท้าชิงกับนายนัทธี ถิ่นสาคู จากพลังประชารัฐ คะแนนของนายชัยยศตามหลังห่างกันเพียง 3,000 กว่าคะแนนเท่านั้น ทำให้พลังประชารัฐยึดที่นั่ง ส.ส.ภูเก็ตได้สำเร็จ แต่ที่น่าสังเกตในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 คือ พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคเกิดใหม่ แต่ชูลุงตู่เป็นนายกรัฐมนตรี อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมในภูเก็ตเทคะแนนให้แบบหมดหน้าตัก 

ด้านพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้นก็สร้างปรากฎการณ์แลนด์สไลด์ โดยได้รับคะแนนนิยมมาเป็นอันดับที่ 3 ของทั้ง 2 เขต ซึ่งคะแนนห่างจากลำดับที่ 2 ไม่กี่พันคะแนนซึ่งเป็นพรรคเกิดใหม่โดยคนรุ่นใหม่ และถ้ามาพิจารณาคะแนนของผู้ที่ได้ลำดับหนึ่งในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 มีคะแนนสูงถึง 5 หมื่นกว่าคะแนน เนื่องจากมีพรรคที่ลงแข่งไม่มาก ประมาณ 3-4 พรรคที่รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น 

ส่วนในปี พ.ศ. 2562 คะแนนของผู้ที่เป็นลำดับหนึ่งลดน้อยลงไป เนื่องจากมีพรรคการเมืองลงแข่งขันจำนวนมากกว่า 26 พรรค ทำให้คะแนนถูกกระจายไปยังพรรคอื่นๆ ซึ่งต้องมาพิจารณากันว่าในปี พ.ศ. 2566 จะมีพรรคการเมืองลงแข่งขันกันมากน้อยขนาดไหนและคะแนนจะเป็นอย่างไร ส่วนการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 จากข้อมูลสถิติข้างต้น สามารถบอกได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นหน้าใหม่หรือหน้าเก่า ก็สามารถแทรกตัวเป็น ส.ส. อันดับหนึ่งได้ อยู่ที่นโยบายของพรรค แคมเปญที่สามารถครองใจชาวภูเก็ตได้ หรือมีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนชาวบ้านไว้วางใจ เรามาดูว่ามีพรรคการเมืองไหนได้เปิดตัวว่าผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ภูเก็ต เป็นใครกันบ้าง ดังนี้...

>> พรรคประชาธิปัตย์ 
- เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2565 จ.สงขลา 
- ภายใต้แนวทางรวมพลัง 30 เลือดใหม่ ทวงปักษ์ใต้คืน (สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ) 
- โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ดังนี้ เขต 1 นายกวี ตันสุคตานนท์, เขต 2 นายชัยยศ ปัญญาไวย, เขต 3 นางสาวพลอยทะเล ลักษมีแสงจันทร์

>> ก้าวไกล 
- เปิดตัวเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2565 จ.ภูเก็ต 
- ภายใต้แนวทางก้าวไกล Next x ปักษ์ใต้ 
- โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ดังนี้ เขต 1 ว่าที่ ร.ต. สมชาติ เตชถาวรเจริญ, เขต 2 นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล, เขต 3 รอการประกาศที่ชัดเจนจาก กกต.

>> ไทยสร้างไทย 
- เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2565 จ.ภูเก็ต 
- ภายใต้แนวทางคนใต้ต้องกินดีอยู่ดี สร้างรายได้ ปลดหนี้ มีบำนาญ 
- โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ดังนี้ เขต 1 ยังไม่ส่งผู้สมัครในขณะนี้, เขต 2 มณีรัตน์ วิชัยดิษฐ-สุขยิรัญ, เขต 3 ยังไม่ส่งผู้สมัครในขณะนี้

>> ชาติพัฒนากล้า 
- เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2565 จ.ภูเก็ต 
- ภายใต้แนวทางคนรุ่นใหม่ รู้ลึกพื้นที่ รู้จริงปัญหาภูเก็ต 
- โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ดังนี้ เขต 1 ยังไม่ส่งผู้สมัครในขณะนี้, เขต 2 นางสาวอรทัย เกิดทรัพย์, เขต 3 นายเทมส์ ไกรทัศน์

>> พลังประชารัฐ 
- เปิดตัวเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 65 กรุงเทพมหานคร 
- ภายใต้แนวทางเราคือพลังประชารัฐ เคียงข้างชาวใต้ 
- โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ดังนี้ เขต 1 นายจิรายุส ทรงยศ, เขต 2 นายนัทธี ถิ่นสาคู, เขต 3 นายสุธา ประทีป ณ ถลาง

>> ภูมิใจไทย
- เปิดตัวเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 65 จ.ภูเก็ต 
- ภายใต้แนวทางภูเก็ตต้องผลัดใบ ภูมิใจไทย พูดแล้วทำ 
- โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ดังนี้ เขต 1 นายนิพนธ์ เอกวานิช, เขต 2 นายวิวัฒน์ จินดาพล, เขต 3 นายวงศกร ชนะกิจ

>> เพื่อไทย 
- เปิดตัวเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 65 จ.นครศรีธรรมราช 
- ภายใต้แนวทางครอบครัวเพื่อไทย แหลงจริง ทำได้ คนใต้หรอยแรง 
- โดยมีว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ดังนี้ เขต 1 นายวัชรพงษ์ อนันตกูล, เขต 2 นายสนธยา หลาวหล้าง, เขต 3 นายอาวุธ หนูเซต

(ข้อมูล ณ วันที่ 8 ม.ค.2566 ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ยังไม่เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ภูเก็ต)

ในส่วนของยุทธศาสตร์ของแต่ละพรรคมีความแตกต่างกัน เริ่มที่พรรคประชาธิปัตย์ เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ภาคใต้ภายใต้แคมเปญ รวมพลัง 30 เลือดใหม่ ทวงปักษ์ใต้คืน โดยจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ น้ำตาซึมอ้อนชาวใต้บอกว่าเป็นพรรคของคนใต้อย่างแท้จริง เชื่อว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงชาวใต้คงให้โอกาสผู้สมัครของพรรคให้ได้มากกว่า 35 ที่นั่ง ส่วนเลขาธิการพรรค เฉลิมชัย ศรีอ่อน ประกาศว่าถ้าได้ ส.ส. น้อยกว่าครั้งก่อนคือ 52 ที่นั่ง จะขอเลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต ส่วนยุทธศาสตร์สำคัญของพรรค คือ สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ ทุกจังหวัดในภาคใต้ต้องรวมกันเป็นหนึ่งเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

‘ว่าที่ผู้สมัครก้าวไกล’ ควงนักปั้นคำฮิตให้ ‘ชัชชาติ’ ออกสำรวจปัญหา ‘คูคต-ลำสามแก้ว-รังสิต’

‘เชตวัน’ ก้าวไกล ปทุมฯ ควง ‘ประกิต’ ครีเอทีฟผู้คิดคำ ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ ลุยพื้นที่สำรวจปัญหาคูคต-ลำสามแก้ว-รังสิต 

(9 ม.ค. 66) เชตวัน เตือประโคน ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล จ.ปทุมธานี พร้อมด้วย ประกิต กอบกิจวัฒนา ครีเอทีฟผู้คิดคำว่า ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ ที่ใช้ในการรณรงค์เลือกตั้งให้กับ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลุยพื้นที่สำรวจปัญหาในพื้นที่ ต.คูคต อ.ลำลูกกา และ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 

เชตวัน กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจที่จะพาพี่แมว ประกิต มาดูปัญหาในพื้นที่ที่ตัวเองเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.โดยใช้เวลาช่วงบ่ายของวันนี้ ราว 3 ชั่วโมง ไปยังจุดต่าง ๆ ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าครอบคลุมถนนเส้นหลัก พร้อมกันนี้ก็ได้บอกเล่าแนวนโยบายที่อยากจะทำให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มทางเลือกในการขนส่งสาธารณะ, การแก้ปัญหา ถ.เสมาฟ้าคราม, การขอสนามกอล์ฟของกองทัพมาเป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชน เป็นต้น และถัดจากนี้ จะเขียนแนวนโยบายเหล่านี้ออกมาและส่งให้คิดเรื่องของแคมเปญการสื่อสารต่อไป 

"สำหรับการทำงานในพื้นที่ ในฐานะว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล ของผม ขณะนี้ถือว่าเข้าสู่เฟสที่ 2 สิ่งที่กำลังจะทำในเฟสนี้มี 2-3 เรื่องใหญ่ ๆ ได้แก่ การเดินแบบปูพรมในพื้นที่ การจัดกิจกรรมระดมทุน และการทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัก ซึ่งในเรื่องสุดท้ายนี้ ก็ได้พี่แมว ประกิต มาช่วยกันออกแบบและทำงาน ในฐานะที่เป็นครีเอทีฟ และเป็นผู้ที่คิดคำว่า 'ทำงาน ทำงาน ทำงาน' ให้กับ อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก็มั่นใจว่า พี่แมว ประกิตจะมาช่วยทำให้ชาวปทุมธานี ได้รู้จักกับเชตวันพร้อมทั้งการสื่อสารแคมเปญดี ๆ และทำให้ชนะเลือกตั้ง" เชตวัน กล่าว

'ก้าวไกล' โว นโยบายก้าวไกลแก้ทุจริต กำจัดปัญหาได้ หลัง ปชช.ร้อง ถูก ขรก.กองทัพ ชิ่งเงินฝากเข้าราชการ

ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ลาดพร้าวก้าวไกล เผยประชาชนร้องเรียน ถูกข้าราชการกองทัพเรือหลอกเอาเงิน อ้างฝากเข้าราชการ ก่อนเบี้ยวเชิดเงินหนี เชื่อ มีหลายคนตกเป็นเหยื่อ พร้อมยกนโยบายก้าวไกลแก้ทุจริต กำจัดปัญหาได้

(9 ม.ค. 66) ธนเดช เพ็งสุข ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ เขตลาดพร้าว-วังทองหลาง พรรคก้าวไกล เปิดเผยกรณีได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อขบวนการฉ้อโกง โดยมีข้าราชการกองทัพเรือที่ใช้ยศ ‘ว่าที่นาวาตรี’ คนหนึ่ง เรียกรับเงินโดยอ้างว่าสามารถฝากให้คนเข้าทำงานหรือสอบเข้าราชการได้ ต่อมาเมื่อไม่สามารถทำตามที่สัญญา ก็ไม่ยอมจ่ายเงินคืน

ธนเดช กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดข้อร้องเรียน กรณีแรก เป็นของบุคคลชื่อ ว. (นามสมมุติ) ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2562 ต้องการสมัครเข้าทำงานที่การไฟฟ้านครหลวง ต่อมามีคนชักชวนว่าสามารถช่วยให้เข้าทำงานดังกล่าวได้ ก่อนพาไปรู้จักกับว่าที่นาวาตรีคนนี้ ซึ่งได้ขอเรียกเงินค่าดำเนินการ 230,000 บาท พร้อมกับทำสัญญากู้ยืมเงิน จนผ่านไปหนึ่งเดือน เมื่อคนชื่อ ว. ทวงถามถึงการพาไปสมัครงาน ก็ถูกว่าที่นาวาตรีคนดังกล่าวบ่ายเบี่ยงเลื่อนนัดมาเรื่อย ๆ จนรู้ตัวว่าถูกโกงเงินเข้าแล้ว และได้ติดต่อไปขอเงินคืน แต่ว่าที่นาวาตรีคนดังกล่าวเลื่อนบ่ายเบี่ยง จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้เงินคืนแม้แต่บาทเดียว

ธนเดช กล่าวต่อว่า กรณีที่สอง เป็นของบุคคลชื่อ ท. (นามสมมุติ) ซึ่งได้พาหลานชายไปสมัครสอบเข้านักเรียนจ่าทหารเรือเมื่อปี 2564 ระหว่างที่รอสอบอยู่ ว่าที่นาวาตรีคนเดียวกันได้เข้ามาชักจูงว่ามีเส้นสาย สามารถช่วยให้สอบผ่านการคัดเลือกได้ จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินพร้อมนำเงินสดจำนวน 500,000 บาทมามอบให้ โดยฝ่ายว่าที่นาวาตรีได้ขอเลขประจำตัวผู้เข้าสอบของหลานชายไป อ้างว่าจะดำเนินการให้ แต่เมื่อผลการสอบออกมา ปรากฏว่าหลานชายไม่ผ่านการสอบรอบแรก จึงได้ติดต่อขอเงินคืนจากว่าที่นาวาตรีคนนั้น แต่ถูกบ่ายเบี่ยงทุกครั้งที่ทวงถามจนถึงทุกวันนี้

‘อุ๊งอิ๊ง’ ยัน ‘เพื่อไทย’ พร้อมลุยสนามเลือกตั้ง ลั่น!! คนไทยต้องกลับมามีศักดิ์ศรี - อนาคตสดใส

‘อุ๊งอิ๊ง’ ยัน ‘เพื่อไทย’ พร้อมเลือกตั้ง ลั่น ปชช. ต้องกลับมามีเกียรติ ศักดิ์ศรี อนาคตที่สดใส วางแผนอนาคตตัวเองได้อย่างมั่นคง

(9 ม.ค. 66) ที่โถงอาคารสำนักงาน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ว่า การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้ พรรคเพื่อไทย (พท.) ก็พร้อมทั้งในเรื่องของนโยบายและตัวบุคคล เราทำงานกันมาอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่ออยากให้พี่น้องประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การที่ประชาชนเป็นหนี้มาอย่างยาวนาน ก็อยากให้นโยบายของเราแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ มีอนาคตที่สดใส อนาคตที่มองเห็น อนาคตที่สามารถคาดการณ์และแพลนได้ว่าเราอยากจะมีชีวิตของเราอย่างไร ประชาชนต้องกลับมามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สามารถลืมตาอ้าปาก และสามารถวางแผนอนาคตของตนเองได้อย่างมั่นคง

ปรากฏการณ์ 'ตู่ - ตุ๋ย - ไตร (รงค์)' แห่งพรรคใหม่ 'รวมไทยสร้างชาติ'

นับเป็นกระแสความสนใจมาตลอดตั้งแต่เปิดพุทธศักราช 2566 สำหรับพรรคการเมืองใหม่หมาด 'รวมไทยรักษาชาติ' ที่ประกาศเปิดตัวร่วมสังฆกรรมทางการเมืองกับ 'พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา' นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน อย่างเป็นทางการ ท่ามกลางความคาดหวัง และคาดเดากันไปต่าง ๆ นานา

จากความสับสนอลหม่านในศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เมื่อช่วงเย็นวันที่ 9 มกราคม 2566 แหล่งข่าวซึ่งน่าเชื่อถือ ไว สด และท่วงทันต่อเหตุการณ์ที่สุดก็น่าจะมาจากสื่อมวลชนสายการเมืองรุ่นอาวุโสสองท่านนี้

คนแรก 'เป๊ปซี่ - เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ นักหนังสือพิมพ์ อดีตหัวหน้าข่าวสายทหารแห่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของประเทศ โดยเขาได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวด้วยภาษาขำๆ ตามสไตล์ว่า "...นึกว่าราคาคุย ผู้สนับสนุน รทสช.จะมากันหลักหมื่น มวลชนผู้สนับสนุนลุงตู่ มากันเต็มเหนี่ยวจากทั่วประเทศ เต็มห้องโถงใหญ่ของศูนย์ประชุมสิริกิติ์ น่าจะเป็นการชุมนุมทางการเมืองเปิดตัวสมาชิกพรรค รทสช. ที่มากันมหาศาล มโหฬารจริม ๆ"

พร้อมทั้งยังตอบคอมเม้นต์ของแฟนเพจรายหนึ่ง ซึ่งจงใจถามหรือเพียงแสดงความเห็นก็มิอาจทราบ "ขนมาทั้งนั้นนี่หว่า" แบบ "...ขนมานี่เรื่องปกติครับท่าน ที่ไม่เคยมี คือ ขนมามหาศาลขนาดนี้ :-) ทำข่าวมายาวนาน ไม่เคยเห็นเปิดตัวสมาชิกพรรค ขนมาได้ขนาดนี้ เกินหมื่นครัช.."

ทั้งนี้แหล่งข่าวจากพรรค 'รวมไทยสร้างชาติ' ชี้แจงเบื้องต้นว่า ผู้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานการเปิดตัวพรรครวมไทยสร้างชาติโดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกพรรค ตอนแรกคาดว่าจะมีเพียง 5,000 คน แต่พอถึงวันงานเปิดตัวเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ได้รับแจ้งว่าผู้สนับสนุนจากหลากหลายทุกภูมิภาคของประเทศ ต่างต้องการเข้ามาร่วมแสดงความยินดีและมีส่วนร่วมครั้งนี้เกินหลักหมื่นคน

นักข่าวอาวุโสผู้คร่ำหวอดจากสายทหารและการเมืองอีกท่าน 'วาสนา นาน่วม' ก็ได้รายงานผ่านสื่อโซเชียลมีเดียถึงงาน 'พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา' กับ 'พรรครวมไทยสร้างชาติ' ไว้อย่างน่าสนใจว่า "...ยิ้ม อิ่มใจ งานเปิดตัวบิ๊กตู่ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี กองเชียร์พรึ่บ! กว่า 1.1 หมื่นคน แถมบิ๊กตู่เซ็นใบสมัครสมาชิกพรรค รทสช. แล้ว ปิดงาน ส่งนายกฯ กลับ FC ก็เอากุหลาบ มาให้กำลังใจ 'ท่านตุ๋ย พีระพันธุ์' หัวหน้าพรรค เจ้าตัว ถือกุหลาบ แล้วยิ้มหวาน ก่อนถามว่า หน้าตาผมเข้ากับดอกกุหลาบมั้ย"

‘สันติ’ เผย ไม่ง้อ หาก ส.ส.ย้ายพรรค ลั่น!! พรรคมีตัวสำรองที่มีความตั้งใจเยอะ

วันนี้ (10 ม.ค. 66) เวลา 09.07 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสันติ พร้อมพัฒน์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงประเด็นการเช็กลิสต์ ส.ส.ย้ายไปยังพรรคอื่นว่า ส.ส.เมื่อเขาจะไป แล้วตนจะทําอย่างไรได้ ตนในฐานะเลขาพรรคก็ทําหน้าที่ หาดูคนดี ๆ มาสํารองเอาไว้ เพราะคนเหล่านี้เป็นคนดีมีความตั้งใจ เราจึงนำมาสํารองเอาไว้ นี่ก็เป็นตัวหนึ่งที่จะเป็นหลักประกัน ว่าส.ส. ที่คิดจะย้ายไปย้ายมา ก็ต้องคิดให้ดี

ด้านอนาคตทางการเมืองสองพรรคในระหว่างรวมไทยสร้างชาติกับพลังประชารัฐ จะจับมือกันได้ไหม สันติกล่าวว่า ให้ทุกคนดูว่าหัวหน้าพรรคนั้นคือพลเอกประวิตร เป็นคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน ทุกพรรค ฉะนั้นเรื่องที่จะไปรังเกียจ พรรคนี้ รังเกียจ ส.ส.ของพรรคนี้ มันจะรังเกียจได้ยังไง ในเมื่อพี่น้องประชาชนเลือกมา

‘จุรินทร์’ ยินดี ‘บิ๊กตู่’ เปิดตัวกับ รทสช. ส่วนจะได้เป็นนายกฯ อีกหรือไม่ ผลงานจะเป็นตัววัด

วันนี้เวลา 09.20น. (10 ม.ค. 66) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงประเด็นบิ๊กตู่เปิดตัวที่พรรครวมไทยสร้างชาติวานนี้ว่า เป็นสิ่งที่ดีจะได้มีความชัดเจน ในส่วนจะเป็นคู่แข่งหรือไม่ ตนไม่อยากจะพูดถึงขนาดนั้น แต่ว่าที่จริงทุกพรรคการเมืองก็ต้องแข่งกันโดยปริยายอยู่แล้ว เวลามีการเลือกตั้ง ในส่วน ส.ส.ที่ย้ายจากประชาธิปัตย์ซบรวมไทยสร้างชาติ ส่วนนี้พรรคได้รับทราบมาก่อนแล้ว ความจริงก็ไม่อยากจะพูดซํ้า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องใหม่ 

ในส่วนบรรยากาศงานเมื่อวานนี้ มองว่าพลเอกประยุทธ์จะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกหรือไม่ ตนยังตอบไม่ได้ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับที่ทําวันนี้ แล้วก็จะส่งผลในอนาคต ตนคิดว่าอนาคตก็จะให้คําตอบ

ด้านนโยบายที่บอกว่าจะมีการเปิดตัวภายในเดือนนี้ จุรินทร์กล่าวว่าเรื่องนโยบายได้กรอบชัดเจน แล้วก็ประชาสัมพันธ์อยู่ คือสร้างเงินสร้างคนสร้างชาติ โดยการสร้างเงินหมายถึงการเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้กับคนไทย และก็ให้กับประเทศไทย ด้วยการสร้างเงินให้กับคนไทยและให้กับประเทศ

‘เสี่ยหนู’ ตั้งเป้า คว้าเก้าอี้ ส.ส. ในกทม. ชี้!! พรรค-นโยบายพร้อม รอประชาชนพิจารณา

(10 ม.ค. 66) เวลา 09.25 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีที่พรรคภูมิใจไทยกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติและเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า เราให้กำลังใจทุกท่านที่มาทำงานการเมือง ดูแล้วมีความพร้อมเพรียงในการจัดอีเวนต์ จัดงานได้มีสีธงชาติไทย 

ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูแล้วนายกฯ มีความพร้อมเป็นนายกฯ อีกสมัย หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า “โอ๊ย ต้องไปถามท่าน เป็นนายกฯ มานานแล้ว จะบอกไม่พร้อมได้อย่างไร ทุกคนที่เป็นแคนดิเดต นายกฯ ตามรัฐธรรมนูญต้องพร้อม ถ้าเสนอชื่อแล้วบอกไม่พร้อมจะเสนอชื่อได้อย่างไร ประชาชนจะสับสน และช่วงนี้เป็นช่วงการแข่งขัน และช่วงการเลือกตั้ง ทุกคนต้องแข่งขันอย่างเต็มที่ แต่แข่งขันกันทำความดีเพื่อประโยชน์บ้านเมืองและประชาชน ไม่ใช่เรื่องที่ผู้แข่งขัน มาขัดแย้ง เกลียดชังกันและเสียดสีกัน ไม่จำเป็น”

เมื่อถามถึงความคืบหน้าการเปิดตัวนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย เพื่อมาดูแลกทม.นายอนุทิน กล่าวว่า วันที่ 11 ม.ค.นี้ พรรคจะมีการประชุมและสรุปนโยบายการดำเนินงาน และแนะนำให้เห็นว่าใครคือว่าที่ผู้สมัครส.ส. กทม. ของพรรคภูมิใจไทย ทั้งนี้ที่ผ่านมาตนได้คุยกับนายพุทธิพงษ์ มาระยะหนึ่งแล้ว และแสดงเจตจำนงมาช่วยงานการเมืองให้พรรคภูมิใจไทย โดยจะมารับผิดชอบพื้นที่กทม. ซึ่งนายพุทธิพงษ์ได้เตรียมการมาระดับหนึ่งแล้ว

‘บิ๊กตู่’ เปิดใจร่วมทำการเมือง ‘รวมไทยสร้างชาติ ยอมรับตื่นเต้นนอนไม่หลับหลายวัน สัญญาจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ลั่นไม่ได้หวังมีอำนาจหรืออยากเป็นใหญ่ เหตุผลมายืนตรงนี้เพราะประเทศไทยต้องไปต่อ

“ขอฝากหัวใจน้อย ๆ ไว้ด้วย และขอสัญญาว่า จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อชาติ ศาสนา ประชาชน และสิ่งสำคัญที่สุด ประเทศไทยต้องไปต่อ การเลือกมาสังกัดพรรคนี้ ไม่ได้อยากเป็นใหญ่ แต่ต้องการแก้ปัญหาชาติที่ยังเหลืออยู่”

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม
กล่าวในการเปิดตัวร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566

‘บิ๊กตู่’ เปิดใจร่วมทำการเมือง ‘รวมไทยสร้างชาติ ยอมรับตื่นเต้นนอนไม่หลับหลายวัน สัญญาจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ลั่นไม่ได้หวังมีอำนาจหรืออยากเป็นใหญ่ เหตุผลมายืนตรงนี้เพราะประเทศไทยต้องไปต่อ

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ถือฤกษ์ลงนามในใบสมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกล่าวบนเวที ว่า วันนี้ขอขอบคุณด้วยใจจริง ตนเดินมาท่ามกลางหัวใจดวงเดียวกัน พวกเราคือคนไทยหัวใจเดียวกัน ทั้งตนที่นี่และที่อยู่ทางบ้านทุกฝ่านในฐานะคนไทย วันนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตในการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ ทุกคนคงคุ้นเคยเพราะตนอยู่มาหลายปี คงจำหน้าได้ วันนี้อยากบอกว่าตนลบภาพลักษณ์ของเราไม่ได้ เป็นทหารมาทั้งชีวิตแต่พยายามปรับตัวมาตลอด 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า พูดจนเขิน อะไรก็ดีไปหมด ที่ตนมีวันนี้ได้เพราะพวกเรา เพราะเราคือประเทศไทย คือแผ่นดินที่ศักดิ์สิทธิ์ เราเกิดที่นี่หากินที่นี่ บางท่านก็อยู่ที่นี่ บางท่านก็ไม่อยู่ แล้วแต่บุคคล แต่เราต้องดำรงรักษาแผ่นดินนี้ให้มากที่สุด รู้สึกตื้นตันใจ ตนไม่เคยตื่นเต้นมาก่อน วันนี้ได้พูดกับทุกท่าน ยอมรับว่าตื่นเต้น ปกติไม่กลัวอะไรอยู่แล้ว เพราะเป็นทหารมาทั้งชีวิต แต่วันนี้กลัวความรักที่ให้กับท่านจะเพียงพอกันไหม เพราะรักทุกคนจริงๆ เพราะเราคือเจ้าของแผ่นดินนี้ อย่าที่บอกว่าตนเป็นทหารมาทั้งชีวิต ได้รับสั่งสอนมาแบบนี้มาตลอด ตั้งแต่เป็นทหารชั้นผู้น้อยมาจนเดินหน้าการบริหารประเทศ ยืนยันจะทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราต้องยึดมั่นในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ นี่คือหัวใจของคนไทยทั้งชาติ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดคนเป็นทหารมาทั้งชีวิตผ่านการถวายสัตย์มาไม่รู้กี่ครั้ง ต้องซื่อสัตย์สุจริต และตนเป็นทหารเสือราชินี มีเครื่องหมายเสือสองตัวหัวใจตรงกลาง ถามว่าทำไมหัวใจสีม่วงไม่ใช่สีแดง เพราะผู้บังคับบัญชาต้องมีหัวใจแห่งความซื่อสัตย์ สีม่วงเป็นหัวใจคนใกล้ตายต้องไม่โกหก มีความสุจริต คนใกล้ตายต้องไม่โกหกไม่รู้วันนี้เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ วันนี้ความมุ่งหมายจะมาพบทุกคนเพื่อดูว่าเรายังคงรักกันเหมือนเดิมหรือไม่ และได้คำตอบในห้องนี้ก็เยอะจริงๆ ไม่เคยเจอคนเยอะแบบนี้ วันนี้ทราบว่าทุกคนมาด้วยใจ หัวใจเป็นสิ่งที่แสดงออกเห็นถึงความรัก

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า พูดไปชักหายตื่นเต้น บางทีเครื่องร้อนเร็ว บางทีอุณหภูมิขึ้นเร็ว วันนี้ไม่ได้มาในฐานะนายกฯ แต่มาเพื่อบอกว่าทำไมตนต้องอยู่ รู้หรือไม่ว่าทำไม จะบอกว่าทำไมมายืนตรงนี้วันนี้เมื่อเรามีหัวใจดวงเดียวกัน ทำเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน เป็นหลัก เราต้องเป็นที่พึ่งประชาชนทุกโอกาส เราต้องร่วมมือร่วมใจ วันนี้หลายคนสงสัยว่าตนอยากเป็นนายกฯต่อหรือไม่ ตนไม่ได้อยากเป็นใหญ่ ไม่ได้อยากมีอำนาจ อำนาจมีเยอะแล้วมีมาทั้งชีวิต แต่อำนาจมาพร้อมความรับผิดชอบ การมีอำนาจต้องใช้ให้ถูกต้องเป็นธรรม ตามกระบวนการ ที่มาวันนี้ไม่ได้อยากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และไม่อยากรับผลประโยชน์อะไรทั้งสิ้น วันนี้ที่มายืนตรงนี้เพราะตนเคารพในกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศไทย ไม่ได้มาเพราะอยากอยู่ต่อ แต่อยากพูดกับทุกคนว่าประเทศไทยต้องไปต่อ บนพื้นฐาน ความมีศักยภาพ ความมั่นคง เพื่อเดินหน้าสู่การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ตลอดจนการพัฒนาประเทศ วันนี้ถ้ารวมใจ รวมคนไทย รวมไทยสร้างชาติ ทุกอย่างเราแก้ได้แน่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top