Friday, 3 May 2024
ElectionTime

‘บิ๊กป้อม’ ยัน พร้อมเป็นนายกฯ คนที่ 30

เมื่อวานนี้ (17 ม.ค. 66) ที่งานเปิดตัวนโยบายแรก ‘เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการ 700 บาทต่อเดือน’ 
ของพรรคพลังประชารัฐ ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม พล.อ.ประวิตรว่า พร้อมที่จะเป็นนายกฯ คนที่ 30 หรือไม่ 

‘ภูมิใจไทย’ ชูนโยบาย รักษามะเร็งฟรี แบ่งเบาทุกข์ของทุกคนในครอบครัว

(18 ม.ค. 66) หลังจากที่พรรคภูมิใจเปิดตัวนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นสมาชิกพรรคไปแล้ว พรรคภูมิใจไทยก็ได้เปิดตัวนโยบาย ‘รักษามะเร็งฟรี’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแบ่งเบาความทุกข์ของคนครอบครัว โดยระบุว่า

โรคมะเร็งถือเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ที่น่ากลัวไปกว่านั้นยังพบว่า มะเร็งมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยลงมากขึ้นอีกด้วย

แน่นอนว่าโรคร้ายนี้ไม่มีใครอยากเป็น และไม่มีใครอยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับคนที่เรารัก เพราะเมื่อเป็นแล้วไม่ใช่แค่ตัวผู้ป่วยเท่านั้นที่ทุกข์ใจ แต่ทำให้ทุกข์ใจทั้งบ้าน นอกจากในส่วนของอาการป่วยแล้ว บางบ้านยังต้องมาทุกข์ใจกับค่าใช้จ่ายในการรักษา จนถึงกู้หนี้ยืมสินมารักษาคนที่เรารัก ถือเป็นความทุกข์หลายต่อ

สมรภูมิ ส.ส.กทม. เขต 1 เดือด! ‘ก้าวไกล’ เปิดตัว ‘ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์’ ลงชน ‘กานต์กนิษฐ์’ เพื่อไทย ‘เจิมมาศ’ ปชป. เชื่อมาแรงชนะใจคนกรุงเทพฯชั้นในได้

ภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขต 1 (ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร สัมพันธวงศ์) อย่างเป็นทางการ พรรคก้าวไกลได้เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ในเขตดังกล่าว คือ นายปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ เพื่อแข่งขันกับนางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และ น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

นายปารเมศ กล่าวว่า ไม่มีความกังวลที่พรรคเพื่อไทยเปิดตัวอดีต ส.ส. ลงแข่งในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ แล้วมองว่ายิ่งเป็นการเพิ่มความคึกคักให้กับการแข่งขันในศึกเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะมาถึง โดยมีแรงบันดาลใจในการทำงานการเมืองคือเห็นวิวัฒนาการ ตั้งแต่จีนที่โดนดูถูกว่าสินค้าจีนแดง ไปจนถึงจีนที่ไปดวงจันทร์ได้ เป็นช่วงที่จีนกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อยากมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะตลอดเวลาที่อยู่จีน เห็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ตอนที่ไปเรียน หยุดพักร้อน 2-3 เดือน มีอะไรใหม่ ๆ ตึกใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ในขณะที่กลับมามองประเทศไทย เรากลับไม่มีการพัฒนาเลย คนจีนบอกว่า ไทยเคยเป็น 'ซื่อเสี่ยวหลง' หรือ 'มังกร 4 ตัว' แต่ตอนนี้เราเป็นแค่หางหมา ไม่ใช่หางมังกร

“ในยุค 90 คนจีนมาเมืองไทยแล้วตื่นเต้นจะเพราะรู้สึกว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีรถไฟฟ้า มีตึกสูง ผ่านไป 30 ปี ตั้งแต่เล็กจนโต ผมรู้สึกว่าประเทศไทยย่ำอยู่กับที่ ไม่ใช่แค่ย่ำอยู่กับที่แต่ยังถอยหลังไปอีก ขณะที่ประเทศอื่นเดินหน้าแบบก้าวกระโดด ผมได้เรียนรู้จากคนจีนเรื่องการแก้ปัญหาคอรัปชั่น นโยบายรัฐบาลจีนปัจจุบันเราเห็นข้าราชการระดับสูง นายพล อดีตรัฐมนตรีเข้าคุกไปหลักพันคนแล้ว ถ้าระดับเจ้าหน้าที่เข้าคุกไปหลักแสนคนแล้ว ประเทศจีนเคยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่น มาก ถ้ามีผู้บริหารประเทศที่เอาจริงเอาจัง กล้าตรวจสอบอย่างไม่กลัวเส้นสายก็สามารถขจัดอิทธิพลได้ แต่สำหรับประเทศไทย เราเห็นหลายกรณี เช่น คดีบอสกระทิงแดง ทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังเต็มไปด้วยระบบอุปถัมภ์ เงินซื้ออำนาจ และทำให้คุณพ้นความผิดได้” นายปารเมศ กล่าว

ในส่วนของกระแสตอบรับของพรรคก้าวไกล นายปารเมศ กล่าวว่า สมัยอนาคตใหม่เป็นพรรคอนาคตใหม่ เราโดนขับไล่ โดนด่า แต่สมัยนี้ผมลงพื้นที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก และยิ่งตนเป็นลูกหลานคนจีน เข้าหา นอบน้อมทำให้คนในพื้นที่ตอบรับดีมาก ประชาชนชอบ ส.ส.เจี๊ยบ ทิม พิธา พรรคก้าวไกลเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จัก

“มีบางพื้นที่มีคนที่เห็นเห็นต่างทางการเยอะ เช่น ป้อมปราบศัตรูพ่าย ที่มีรากฐานจากพรรคประชาธิปัตย์ทำงานมานาน แต่กลยุทธ์เราก็ยังเดินเข้าไปหา เข้าไปแนะนำตัวเพราะ ผมเชื่อว่าคะแนนเสียงของประชาชนทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน” นายปารเมศ กล่าว

นายปารเมศ กล่าวด้วยว่า สำหรับสิ่งที่ต้องการผลักดันถ้าได้เป็น ส.ส. ปารเมศการเข้ามาของคนจีน สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายให้กับประเทศไทย ตนจึงอยากส่งเสริมให้พื้นที่กรุงเทพ เขต 1 และประเทศไทยให้ความสนใจกับประเทศจีน เพราะคนจีนที 1,400 ล้านคน มีคนจีนอยู่ทุกที่และมีกำลังซื้อสูงมาก การที่เราเรียนรู้ภาษาจีน และทำการค้าขายกับคนจีนมากขึ้นจะเป็นโอกาสดีถ้าประเทศไทยสามารถจับกระแสนี้ได้

'อุ๊งอิ๊งค์' ย้ำแนวทางแลนด์สไลด์ เพื่อหนุนนโยบาย พท. ชี้!! ยังเร็วไป หากจะรับไมตรีที่ 'ลุงป้อม' ทอดสะพาน

'ชลน่าน-แพทองธาร' นำทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นนทบุรี เดินตลาด สอบถามปัญหาเศรษฐกิจ ด้าน 'อุ๊งอิ๊งค์' ไม่สน 'พปชร.' ให้บัตร 700 เย้ยกลับค่าแรงเพื่อไทยทำได้จริง พร้อมกั๊กจับมือขั้ว 'บิ๊กป้อม' หลังเลือกตั้ง

(18 ม.ค. 66) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) พร้อมด้วยนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา เลขาธิการพรรค พท., น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม และผู้ประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.นนทบุรี ร่วมลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี โดยมีพี่น้องประชาชน พ่อค้า แม่ค้า ในตลาดสดนนทบุรี ให้กำลังใจต้อนรับเป็นอย่างดี

จุดแรก นพ.ชลน่าน พร้อม น.ส.แพทองธารและคณะเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อเสือ ที่พุทธสถานเชิงท่า-หน้าโบสถ์ เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยมีนายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี ให้การต้อนรับและพาชมสถาปัตยกรรมบริเวณโดยรอบ จากนั้นได้เดินทางมาที่ตลาดกรมชลประทาน พบปะพี่น้องประชาชน พ่อค้า แม่ค้า ที่ทำมาค้าขายภายในพื้นที่

น.ส.แพทองธารพร้อมคณะได้สอบถามถึงการค้าขายและภาวะเศรษฐกิจกับแม่ค้าร้านขนมครก ปาท่องโก๋ ร้านขายไข่ไก่และร้านผักสด รวมทั้งให้กำลังใจอวยพรให้ค้าขายดี ซึ่งนายมนัส พ่อค้าเจ้าของแผงผักในตลาดกรมชลประทาน กล่าวว่า 8 ปีที่ผ่านมา คนจนไม่เคยได้อะไรเลย คนรวยมีแต่รวยเอา ขอฝากให้พรรคเพื่อไทยได้ช่วยแก้ไขปัญหานี้ด้วย ปีนี้รับรองได้เลยว่าพรรคเพื่อไทยจะแลนด์สไลด์แน่นอน น.ส.แพทองธาร รับปากพ่อค้ารายดังกล่าว พร้อมนำเสนอนโยบายที่จะช่วยยกระดับชีวิตให้ประชาชน

ต่อมาคณะ พท.ได้เดินพบปะพูดคุยกับ พี่น้องประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดประชานิเวศน์ 3 เพื่อสอบถามปัญหาราคาสินค้า ในปัจจุบัน โดย น.ส.แพทองธารได้สอบถามและให้กำลังใจพ่อค้าแม่ค้า ในตลาดเกี่ยวกับราคาสินค้า และยอดขาย ซึ่งบรรยากาศมีพ่อค้า แม่ค้า และประชาชนได้เดินทางมามอบดอกไม้ให้กำลังใจและขอถ่ายภาพเป็นที่ระลึกด้วย

น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ ทั้ง 2 ตลาดพบว่า ได้รับการต้อนรับจากพี่น้องประชาชนอย่างอบอุ่น พี่น้องประชาชนรู้สึกทนไม่ไหว อยากเลือกตั้งแล้ว ถือเป็นกำลังใจให้พรรคเพื่อไทยอยากเดินสายพบปะพี่น้องประชาชนต่อไป เพื่อยืนยันว่า พรรคเพื่อไทยมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้พี่น้องประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยตลอดเส้นทางในการลงพื้นที่ในวันนี้พบว่าพี่น้องประชาชนให้การตอบรับให้กับนโยบายของเราเป็นอย่างดี โดยสองข้างทางมีป้ายประชาสัมพันธ์นโยบายของพรรค โดยเฉพาะข้อความที่ว่า นโยบายดี ๆ ใครก็พูดได้ แต่คนที่ทำได้คือพรรคเพื่อไทย รวมถึงมีพี่น้องประชาชน นำเอาบัตรสมาชิกพรรคไทยรักไทยที่มีลายเซ็น ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งรู้สึกชื่นใจที่พี่น้องประชาชนไว้ใจเรามาอย่างยาวนานขณะนี้กว่า 20 ปี แน่นอนว่าเราจะไม่ทำให้พี่น้องประชาชนผิดหวัง

เลือกตั้ง 6 ก.พ. 48 ‘ไทยรักไทย’ ชนะขาด สร้างปรากฏการณ์รัฐบาลพรรคเดียว

งวดเข้ามาทุกขณะ สำหรับการเลือกตั้งใหญ่ ที่เริ่มส่งสัญญาณออกมาเป็นระยะ เพราะไม่ว่ารัฐบาลลุงตู่ จะอยู่ครบเทอม หรือ จะเลือกยุบสภาก่อน สุดท้ายแล้วการเลือกตั้งจะมีขึ้นภายในปีนี้อย่างแน่นอน

ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ ต้องใช้คำว่า ‘ระอุ’ จะเริ่มเห็นส.ส. ย้ายค่าย พรรคการเมืองเปิดตัว ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กันอย่างคึกคัก

โดยเป้าหมายหลักของพรรคการเมือง ย่อมอยู่ที่การได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่าง ‘เพื่อไทย’ ที่หมายมั่นปั้นมือว่า เลือกตั้งครานี้ จะต้องเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ บนโจทย์ที่สุดท้าทายนั่นคือ จะต้องชนะการเลือกตั้ง กวาดที่นั่ง ส.ส. ในสภาได้อย่างถล่มทลาย หรือ ที่ตั้งสโลแกนคุ้นหู ‘แลนด์สไลด์เพื่อไทย’ โหมโรงออกมาเป็นระยะ

นั่นเพราะการชนะเลือกตั้งมีจำนวน ส.ส. มาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ได้การันตีว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะยังมีเงื่อนไข ส.ว. 250 เสียงโหวตนายกรัฐมนตรีได้ เป็นเงื่อนปมที่ ‘เพื่อไทย’ อกหักมาแล้วในการเลือกตั้งปี 2562 ที่ครั้งนั้นได้จำนวนส.ส.มาเป็นอับดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะรวมเสียงแล้วสู้ อีกขั้วอำนาจไม่ได้

เลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ จึงเปรียบเป็นเวทีแก้มือ ของเพื่อไทย ที่ระดมทุกสรรพกำลังที่มี ทุ่มอย่างเต็มที่ เพื่อไปถึงจุดหมาย ‘แลนด์สไลด์’ ให้ได้ดังฝัน ถึงขั้นไปเอา ‘อุ๊งอิ๊งค์ - แพทองธาร ชินวัตร’ ลูกสาวสุดรักของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ มาโหมโรงเรียกเรตติ้งจากสาวก

จะว่าไปแล้ว ในอดีต เมื่อครั้งยังเป็น ‘พรรคไทยรักไทย’ ภายใต้การนำ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ในขณะนั้น ไทยรักไทย เคยสร้างปรากฏการณ์แลนด์สไลด์ ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย กลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียวมาแล้ว ในการเลือกตั้งปี 2548

โดยการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปี 2548 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หลังจากรัฐบาลทักษิณ อยู่ครบวาระ 4 ปี ซึ่งขณะนั้นคะแนนนิยมในตัวทักษิณ มีสูงมาก จากนโยบายประชานิยมที่โดนใจชาวบ้าน รวมถึงการรวมสมาชิกจากพรรคต่าง ๆ ได้แก่ พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคกิจสังคม, พรรคเสรีธรรม และพรรคเอกภาพ เข้ากับพรรคไทยรักไทย มาลงเลือกตั้ง ภายใต้สโลแกนหาเสียงว่า '4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง' และผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคไทยรักไทย กวาดไปได้ถึง 377 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง

ถอดรหัสสโลแกนใหม่ ‘พรรคพลังประชารัฐ’ กับนัยยะ ‘ก้าวข้ามความขัดแย้งไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย’

ยิ่งใกล้ครบวาระรัฐบาล การเมืองไทยยิ่งทวีความเข้มข้น ทุกการเคลื่อนไหวของทุกพรรคการเมืองล้วนถูกจับจ้อง 

เช่นเดียวกับ ‘พรรคพลังประชารัฐ’ พรรคแกนนำรัฐบาล จากการเลือกตั้งครั้งก่อน แต่ทว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า อาจจะไม่ได้เป็นพรรคแกนนำในการรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล นั่นเพราะส.ส.ในสังกัดยังไหลออกไม่หยุด หลังการเลือกตั้งครั้งหน้า เก้าอี้ส.ส.ที่เคยมี คงไม่ได้เท่าเดิม

นั่นจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทาย พี่ใหญ่ 3 ป. ‘บิ๊กป้อม - พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องทำการบ้านอย่างหนัก หากต้องการนำพรรคกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งให้ได้ 

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา เป็นการประกาศนโยบายแรก ที่สร้างความฮือฮา และ เป็นกระแสให้พูดถึงอย่างมาก กับการประกาศ ‘เพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็น 700 บาทต่อเดือน’ หากได้จัดตั้งรัฐบาล

แน่นอนว่า นโยบายที่ออกมา ถูกใจชาวบ้านในระดับรากหญ้า และกลุ่มเปราะบาง เพราะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์เต็ม ๆ ขณะที่ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นนโยบายที่สร้างชื่อให้กับพรรคพลังประชารัฐอย่างมาก

ไม่เพียงเท่านั้น ในงานแถลงข่าวเปิดตัวนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ที่น่าสนใจ นั่นคือการชูคำขวัญ หรือ สโลแกนใหม่ของพรรคที่จะใช้หาเสียงเลือกตั้งครั้งหน้า ว่า “ก้าวข้ามความขัดแย้ง ขจัดทุกปัญหา พัฒนาทุกพื้นที่”

คำขวัญดังว่า อาจจะดูเป็นสโลกแกนธรรมดา แต่หากวิเคราะห์ลึกลงไป จะเห็นนัยยะที่ซ่อนไว้ และจุดยืนของพรรคพลังประชารัฐและพลเอกประวิตรได้เป็นอย่างดี

โดยเฉพาะคำว่า “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” ที่พลเอกประวิตร ย้ำเป็นพิเศษ และถือเป็นจุดยืนของพรรค ที่พร้อมจะสานสัมพันธ์กับทุกฝ่าย ก้าวข้ามความขัดแย้ง และหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ โดยไร้ความขัดแย้ง

“ปัจจุบันสังคมไทยยังคงมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แตกแยกเป็น 2 ขั้ว ผมขอยืนยันจุดยืนของพรรคพลังประชารัฐ อย่างหนักแน่นว่า เราพร้อมจะสานสัมพันธ์กับทุกฝ่ายเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้ง และเพื่อสร้างพลังแห่งความสามัคคี เพื่อนำทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกัน เพื่อนำประเทศไทย ไปสู่เป้าหมายที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยทุกคน” พล.อ.ประวิตร ประกาศต่อหน้าสื่ออย่างหนักแน่น

คนเสื้อแดงนครพนม จวก 'หมอชลน่าน' ปมวางตัวผู้สมัคร ส.ส. ไม่ถามชาวบ้าน

บรรยากาศความเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดนครพนม เริ่มมีแนวโน้มการแข่งขันมากขึ้น ทั้งที่ยังไม่มีการยุบสภาหรือครบวาระ 4 ปี โดยพรรคการเมืองใหญ่ต่างทยอยพากันเปิดตัวว่าที่สมัคร ส.ส. ทั้ง 4 เขต ส่วนใหญ่เป็นการแข่งขันระหว่าง 3 พรรคใหญ่ คือ พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย และพรรคเพื่อไทย

โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ถือเป็นพรรคที่มีฐานที่มั่น เคยเป็นแชมป์ชนะการเลือกตั้งทั้ง 4 เขตมาหลายครั้ง แต่การเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2562 ที่ผ่านมา ได้เสียที่นั่ง ส.ส.ในเขตเลือกตั้งที่ 1 โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ หรือครูแก้ว ที่พรรคภูมิใจไทยส่งเข้าประกวด ชนะเลือกตั้งสามารถล้ม นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ อดีต ส.ส.นครพนม เขต 1 พรรคเพื่อไทย ทำให้พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.เพียง 3 เขตเท่านั้น

แม้เขตเลือกตั้งที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่ อ.นาแก อ.วังยาง อ.ปลาปาก และ ต.บ้านผึ้ง,ต.กุรุคุ อ.เมืองนครพนม จะถูกพลังดูดจากพรรคพลังประชารัฐ ทำให้ นายชูกัน กุลวงษา อดีต ส.ส.นครพนม เขต 4 พรรคเพื่อไทย เปลี่ยนใจไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่พ่ายแพ้ให้กับนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่หันมาลงสมัคร ส.ส.เขตฯ ชนะการเลือกตั้ง คะแนนนำโด่งเกินคาดหมาย แสดงถึงกระแสความนิยมพรรคเพื่อไทย สูงกว่าคะแนนนิยมตัวบุคคล

ทั้งนี้ การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 นี้ เป็นที่น่าจับตามองตั้งแต่ปี 2565 ทั้งที่เจ้าของพื้นที่นายชวลิต วิชยสุทธิ์ มีข่าวลือว่าจะย้ายไปซบพรรคไทยสร้างไทย มีคุณหญิงหน่อย-สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เป็นหัวหน้าพรรค เพื่อตอบแทนบุญคุณทางการเมือง ส่วนทางด้านพรรคภูมิใจไทยนายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม เขต 1 ได้ย้ายลงสมัครเขตเลือกตั้งที่ 2 ชนกับ ดร.มนพร เจริญศรี ส.ส.ฯ พรรคเพื่อไทย โดยพรรคภูมิใจไทยหวังให้ครูแก้วโค่นแชมป์เก่า และล้มแลนด์สไลด์พรรคเพื่อไทย พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นครพนม เขต 1 หน้าใหม่คือนางพูนสุข โพธิ์สุ ซึ่งไม่ใช่ใครที่ไหนเป็นภรรยาของครูแก้วนั่นเอง 

จนกระทั่งช่วงต้นสัปดาห์ พรรคเพื่อไทยในพื้นที่จังหวัดนครพนม กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองขึ้นมาทันที เมื่อนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ออกมาแถลงการณ์เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นครพนม ทั้ง 4 เขต ประกอบด้วย เขตเลือกตั้งที่ 1 คือ ดร.ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ มีดีกรีเป็นอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย, เขตเลือกตั้งที่ 2 แชมป์เก่า ดร.มนพร เจริญศรี, เขตเลือกตั้งที่ 3 ได้แก่แชมป์ตลอดกาล 12 สมัยคือ ดร.ไพจิต ศรีวรขาน ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 4 ถือเป็นการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร เกินความคาดหมาย หลังพรรคประกาศรายชื่อนายณพจน์ศกร ทรัพยสิทธิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย, พรรคเพื่อคนไทย และ อดีตผู้สมัครนายก อบจ.นครพนม ที่ล่าสุดหันมาซบพรรคเพื่อไทย และมีชื่อเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตเลือกตั้งที่ 4 นครพนม ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีชื่อ ดร.สมชอบ นิติพจน์ อดีตนายก อบจ.นครพนม รวมถึง นายชาญชัย คำจำปา นายกเทศมนตรีตำบลพระซอง อ.นาแก จ.นครพนม ที่มีฐานสร้างครอบครัวเพื่อไทยได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคอีสาน

‘นฤมล’ ย้ำบัตรประชารัฐ 700 บ. สอดรับเงินเฟ้อ ลั่น ยังมีสวัสดิการช่วยเหลือประชาชนอีกเพียบ

‘ศ.ดร.นฤมล’ ย้ำ นโยบายบัตรประชารัฐ 700 บาท/เดือน สอดรับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูง หลังฟังเสียงสะท้อนจากการลงพื้นที่ของ ส.ส. 200-300 บาทไม่เพียงพอใช้จ่าย ลั่นยังมีสวัสดิการช่วยเหลือ ปชช.อีกเพียบ แย้มเตรียมประกาศนโยบาย "ที่ดินประชารัฐ" เร็วๆ นี้ 

วันนี้ (19 ม.ค. 66) ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายการเพิ่มวงเงินในบัตรประชารัฐเป็น 700 บาทต่อเดือน ของพรรคพลังประชารัฐว่า ในปี 2566 จะมีประชาชนได้รับสิทธิประมาณ 18 ล้านคน คนละ 700 บาทต่อเดือน จะต้องใช้งบประมาณเดือนละ 1.2 หมื่นล้านบาท หรือ ปีละ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวมีการคำนวนแหล่งที่มาของงบประมาณมาจากที่ใดแล้ว ในส่วนของบัตรประชารัฐที่เราได้ทำมาตั้งแต่ปี 61 ไม่ใช่มีแค่เงินรายเดือน 200 หรือ 300 บาทเท่านั้น แต่ยังมีสวัสดิการอื่น ๆ อีก อย่างเช่น ค่าแก๊สหุงต้ม ค่าเดินทาง จิปะถะ เราพยายามจัดการสิ่งเหล่านี้ให้สอดคล้อง กับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ บางคนได้ไปก็ไม่ได้ใช้ ค่าเดินทางไม่ได้ใช้ แก๊สหุงต้มไม่ได้ใช้  

ศ.ดร.นฤมล กล่าวต่อว่า เมือปี 2561 ตนก็เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบสวัสดิการแห่งรัฐ ในช่วงนั้น เราอยากจะให้พี่น้องประชาชน ผู้ที่มีรายได้น้อย สามารถที่จะมีเงินประทังชีวิตต่อเดือน สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน เขาสามารถไปซื้อ ข้าวสาร น้ำปลา อาหารแห้ง ได้ ในต่างจังหวัดอยู่ได้โดยไม่ลำบาก แต่ปัจจุบันสภาวะ ทางเศษฐกิจทั่วโลกเผชิญกับสภาวะเงินเฟ้อ ไม่ต่างกับประเทศไทย สินค้ามีราคาที่สูงขึ้นมาก ดังนั้นเงิน 200-300 บาทต่อเดือน ก็ไม่เพียงพอ เสียงสะท้อนก็ออกมาจากผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค ที่ลงพื้นที่ไปพบปะกับประชาชนต่างก็บอกเงินไม่พอแล้ว

‘ภูมิใจไทย’ กรุงเทพฯ เปิดแคมเปญรับศึกเลือกตั้ง ชูนโยบายบ้าน ๆ แต่โดนใจ "เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-ให้โอกาส"

ภูมิใจไทย กรุงเทพฯ ขอดูแลคนเมืองกรุง ทุกวัน ทุกเวลา และครอบคลุมทุกวัย ด้วยนโยบาย 24 ชั่วโมง 7 วัน 'ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7' นโยบายบ้านๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้าน โดยยึดหลักการ 'เพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย-ให้โอกาส'

พรรคภูมิใจไทย กรุงเทพฯ เปิดแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง 'ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7' พร้อมติดป้ายพรึ่บทั่วกรุง ด้วยนโยบายที่ครอบคลุมทุกการใช้ชีวิตของคนเมืองกรุง ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน

ส่องนโยบายพรรคภูมิใจไทย สำหรับพี่น้องชาวกรุงเทพฯ

'เพิ่มรายได้'
-การหารายได้เพิ่มได้ 3 กะ เปิดพื้นที่ใหม่ๆ ส่งเสริมกิจกรรมใหม่ๆ เพราะวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ หมุนตลอด 24 ชม. เปิดพื้นที่การค้าขาย ที่ขายได้ตลอดวัน เน้นการสร้างงาน กระจายรายได้ เพิ่มกิจกรรมที่สามารถกรองรับนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชม. คล้ายตลาดนัด ที่ได้รับความนิยมที่ประเทศไต้หวัน หรือประเทศเกาหลี และเราต้องจัดระบบดูแลความปลอดภัยทั้งแสงสว่าง กล้องวงจรปิด รวมทั้งระบบการขนส่งเพื่อรองรับ คนทำงานช่วงกลางคืน

-พันธบัตรรัฐบาล (Thai Power Bond)
พันธบัตรรัฐบาลที่ประชาชนมีสิทธิ์ซื้อก่อนนิติบุคคล หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมการออม และ ประกันเงินฝาก สามารถเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และเพิ่มความมั่นคงในการออมเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ

'ลดรายจ่าย'
-พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอก
ไม่เกินคนละ 1 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับเงินกู้นอกระบบที่คิดร้อยละ 3 ต่อเดือน ถือได้ว่า สามารถช่วยผู้กู้ประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยตรงนี้ได้ถึง 30,000 บาทต่อเดือน

-One day Pass Ticket ตั๋ววัน
ค่าเดินทางที่เป็นต้นทุนของการดำเนินชีวิต หากเราสามารถล็อกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ให้แพงเกินไป
◇รถ เรือ เริ่มต้น 15 บาท ตลอดวัน ไม่เกิน 50 บาท
◇รถไฟฟ้า เริ่ม 15 บาท ตลอดสายไม่เกิน 40 บาท

-เครื่องกรองน้ำดื่มทุกชุมชน
น้ำดื่มเป็นต้นทุนที่สูงประชาชนส่วนหนึ่งเพื่อมาซื้อน้ำดื่ม จ่ายเงินเพื่อเติมเงิน เพื่อกรองน้ำไปใช้ ส่วนนี้จะต้องไม่เป็นภาระของประชาชนในทุกชุมชนอีกต่อไป

แลกหมัดนโยบาย แบบหมัดต่อหมัดระหว่าง นโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐ 700 บาท จากพรรคพลังประชารัฐ กับ นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท จากพรรคเพื่อไทย

ซึ่งนโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐ 700 บาท จากพรรคพลังประชารัฐ ก็เพื่อปรับปรุงระบบสวัสดิการและบริการพื้นฐานเพื่อลดช่องว่างของความยากจน ให้เกิดการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันให้มากขึ้น ส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท จากพรรคเพื่อไทย ก็เพื่อให้รัฐบาลกระจายรายได้ ขยายโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นประเทศรายได้ปานกลาง 

ส่วนจุดแข็งของ นโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐ 700 บาท จากพรรคพลังประชารัฐ คือ เป็นโครงการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ส่งตรงจากรัฐบาลถึงมือประชาชนทันที ทำให้การช่วยเหลือถูกกลุ่มเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยภาครัฐมีข้อมูลในการติดตามประเมินผลได้ ส่วนจุดอ่อน คือ ไม่สามารถคัดกรองประชาชนยากจนจริง ๆ กับประชาชนที่ไม่ได้ยากจนได้ เนื่องจากไม่มีระบบตรวจสอบทรัพย์สินของประชาชนที่รัดกุม และมีข้อกังวลว่าอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเอกชนบางรายที่เข้าร่วมโครงการ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top