Thursday, 15 May 2025
EducationNewsAgencyforAll

นาวิน ตาร์ จากเด็กที่ไม่สนใจการเรียนสู่อาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย

หลาย ๆ คนในช่วงมัธยมอาจจะเป็นถูกสังคมหล่อหลอมให้กลายเป็นคนที่ไม่สนใจ เกเร และไม่ชื่นชอบการเรียนไปเลย แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่กลับตัวกลับใจ หันมาสนใจในด้านการศึกษาจนประสบความสำเร็จ อย่าง “นาวิน ตาร์” ดารานักแสดงที่มีดีกรีเป็นถึงอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย ! 

นาวิน เยาวพลกุล หรือ นาวิน ตาร์ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่สาธิตปทุมวันและสาธิตประสานมิตรนั้น นาวิน ตาร์ เป็นเด็กที่เกเร ไม่สนใจการเรียนถึงขนาดตัวเขาเองมีปัญหากับโรงเรียน จนถูกไล่ออกจากโรงเรียนถึงสองครั้งจากโรงเรียนทั้งสองที่ !

แต่ด้วยความตั้งใจและหันกลับมาศึกษาเล่าเรียนใหม่อีกครั้ง จึงทำให้สามารถเอ็นทรานซ์ได้และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเลยทีเดียว จากนั้นตัวนาวิน ตาร์ก็ได้รับทุนอานันทมหิดลศึกษาต่อที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโทที่ Oregon State University และได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ University of California, Davis อีกด้วย 

นอกจากนี้ นาวิน ต้าร์ ได้รับโอกาสได้เป็นอาจารย์จากโควตาของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้แก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของรุ่น และได้ร่วมสอนวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและคณิตศาสตร์สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ (Mathematics for Economists) ทั้งในภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติด้วย

เรียกได้ว่านอกจากความสามารถในการแสดงแล้ว ความรู้และความสามารถทางด้านการศึกษาก็ไม่เป็นรองใคร นับได้ว่าเป็น Idol ของใครหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้ 


ที่มา : https://www.sanook.com/campus/1393269/

ข่าว Fake ว่อน Feed!! เช็คอย่างไร ให้ชัวร์ก่อนแชร์

ข่าว Fake ว่อน Feed 

หากเป็นสมัยยุคอนาล็อค ถ้าถามว่าข่าวอะไรแพร่ไว ก็น่าจะเป็น “ข่าวลือ” แต่สมัยยุคดิจิทัลนี้ข่าวลือต้องแพ้ “ข่าวลวง” (Fake news) ข่าวลวงยุคนี้มีหลากหลายรูปแบบและแยบยลขึ้นทุกวัน

BBC ระบุถึงความหมายของ Fake news ในยุคโลกออนไลน์ไว้สั้น ๆ เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนว่า Fake news คือ ข่าว หรือเรื่องราวที่ไม่จริงในอินเตอร์เน็ต “Fake news is news or stories on the internet that are not true.” จากนิยามสั้น ๆ นี้ ยากตรงเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข่าวหรือเรื่องราวนั้น ๆ จริงหรือไม่ เพราะข่าวหรือเรื่องราวที่บอกความจริงไม่หมด หรืออาศัยข้อมูลจริงบ้างบางส่วนผสมไม่จริงหรือนำเสนอเพื่อให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญนี้แยกแยะลำบากเหมือนกัน   

วันนี้จะมาชวนช่วยกันลองเช็คข้อมูลหาความจริงกัน ขอยกกเรื่องราวจากรณีล่าสุดในโลกโซเชียลฯ ที่มีการเผยแพร่จดหมายจาก บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ที่ส่งถึง ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยในเนื้อความระบุว่าบริษัทสามารถจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 20 ล้านโดส ให้แก่รัฐบาลไทยได้ โดยไม่ผ่านตัวแทนหรือบริษัทผู้จัดจำหน่ายอื่นใด แต่ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาบริษัทไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุขเพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปนำเสนอวัคซีนได้เลย 

ครั้งแรกที่เห็นจดหมายนี้ ก็สงสัยว่าจะเป็นไปได้ไหม? เพราะเท่าที่จำได้จากข่าว วัคซีนซิโนฟาร์ม มีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้แล้ว ทำไมจะมีอีกบริษัทแถมบอกว่าไม่ผ่านตัวแทนหรือบริษัทผู้จัดจำหน่ายอื่นด้วย มีความแปลก ๆ น่าสงสัย ๆ เลยลองหาข่าวจากสื่อพบว่า ด้านรัฐบาล โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในระบบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ปรากฏว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดไม่สามารถนำเข้ายาเข้ามาในประเทศไทยได้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และวัคซีน Sinopharm ได้มีบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้ก่อนแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคำขอขึ้นทะเบียนอยู่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณา และยังระบุด้วยว่าการเจรจาติดต่อเรื่องการนำเข้าวัคซีนสามารถติดต่อผ่านทางองค์การเภสัชกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้โดยตรงในเบื้องต้น โดยไม่มีความจำเป็นต้องพบนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีตามที่อ้างแต่อย่างใด

ข้อมูลของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด กับของด้านรัฐบาลนั้นขัดแย้งกันพอสมควร…ยังไม่ต้องรีบเชื่อใครก็ได้ ก่อนจะเชื่อใคร ชวนลองมาตรวจสอบข้อมูลแบบง่าย ๆ กันกับความเป็นบริษัทแอคแคป แอสเซ็ทส์ ที่บอกว่าจะเอาวัคซีน Sinopharm เข้ามา 20 ล้านโดส (ภายใน 2 สัปดาห์ด้วยนะ) บริษัทนี้คือบริษัทอะไร ทำไมถึงกล่าวอ้างว่าจะนำเข้าวัคซีนได้   

วิธีการตรวจสอบ คือ ลองไปเช็คข้อมูล บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดใน website ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563 (ถึงวันนี้ก็ปีกว่า ๆ เอง) ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัท คือ นายกรกฤษณ์ กิติสิน และ นายศวิษฐ์ อุทัยเฉลิม จดทะเบียนในประเภทธุรกิจ “การซื้อและการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่เพื่อเป็นที่พักอาศัย” วัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียน คือ “ประกอบกิจการซื้อเเละการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเองที่ไม่ใช่เพื่อเป็นที่พักอาศัย” นอกจากนี้ยังไม่พบข้อมูลการส่งงบการเงินปรากฎอยู่เลย หากพิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฎนี้ต้องบอกตรง ๆ ว่าบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ที่ทำธุรกิจด้านอสังหาฯนั้นไม่ใกล้เคียงกับการจะเป็นบริษัทตัวแทนผู้นำเข้าวัคซีนได้เลย การนำเข้าวัคซีนในยามปกติก็ไม่ง่ายแล้ว ยิ่งในยามภาวะฉุกเฉินมีวิกฤตโรคระบาดนี้ยิ่งไม่น่าจะเป็นได้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะวางใจให้บริษัทที่ไม่ได้เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นตัวแทนนำเข้า 

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105563061387

พอหาข้อมูลได้ชักอยากรู้ต่อว่าแล้วบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ได้ขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ไว้เพื่อวัคซีน Sinopharm ละเป็นอย่างไรบ้าง จึงลองไปหาข้อมูลบริษัทฯจาก website ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าบ้าง ก็พบว่า บริษัทไบโอจีนีเทค จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อปี 2536 โดยจดทะเบียนในประเภทการขายส่งเคมีภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และมีวัตถุประสงค์การจดทะเบียนเพื่อ นำเข้าและส่งออกขายสินค้าเคมีภัณฑ์วัสดุทางการแพทย์ ทุนจดทะเบียน 24 ล้านและมีการแสดงงบแสดงสถานะการเงินปรากฎอยู่ชัดเจน 

ดังนั้นหากพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลบริษัทของทั้งคู่แล้ว แล้วสมมุติว่าเราคือชิโนฟาร์ม เราจะเลือกบริษัทไหนเป็นตัวแทนนำเข้าวัคซีน ระหว่างบริษัทที่เปิดมาเพื่อนำเข้า-เคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ กับบริษัทซื้อขายอสังหาริมทรัพย์? 

นอกจากนี้บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด อ้างว่าตนเองมีฐานะเป็นพันธมิตรผู้เดียวในประเทศไทยของบริษัท TELLUS AGROTECH PTE. LTD. ผู้จัดจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ในภูมิภาคเอเชีย…ทำให้อยากรู้จักบริษัทTELLUS AGROTECH PTE. LTD.  ด้วย เลยลองไป search หาข้อมูลบริษัทนี้ ก็เจอบริษัทที่มีชื่อเดียวกันกับ TELLUS AGROTECH PTE. LTD.  ระบุว่าบริษัทมีสถานะการดําเนินงานในปัจจุบันและเปิดให้บริการมา 2 ปี 118 วัน โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 Jan 2019 ธุรกิจหลักของบริษัทคือบริการให้คําปรึกษาด้านการเกษตร ธุรกิจรองคือการพัฒนาซอฟต์แวร์สําหรับสื่อดิจิทัล…ถ้าบริษัทนี้คือบริษัทเดียวกันตามที่บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด อ้างถึงนี้ก็ต้องบอกว่า บริษัทฯนี้ ดูไม่ใกล้เคียงกับการเป็นผู้จัดจำหน่ายวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ในภูมิภาคเอเชียเลย 

ที่มา : https://www.sgpbusiness.com/company/Tellus-Agrotech-Pte-Ltd

และที่สำคัญ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้ที่จดหมายจาก บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ระบุว่าส่งจดหมายไปถึงนั้น โพสต์ชี้แจงใน Facebook ส่วนตัวลงวันที่ 27 พ.ค. 64 ว่า “หนังสือนี้ร่อนไปทั่วบนระบบออนไลน์โดยที่ คนที่หนังสือนี้ส่งถึงยังไม่ได้เห็นหนังสือตัวเป็น ๆ เลย...” (เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ชวนสงสัยมากว่า หากตั้งใจให้คุณหมอ ทำไมคุณหมอถึงไม่ได้รับ แต่ชาวเน็ตเห็นก่อนอีกด้วย ชวนสงสัยยิ่งนักว่าจดหมายนี้มีวัตุประสงค์เพื่ออะไร) นอกจากนี้คุณหมอยังได้ระบุถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ในการเป็นตัวแทนนำเข้าวัคซีนด้วย

สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวนั้น เมื่ออ่านที่คุณหมอเขียนแล้วก็รู้สึกสงสารคนทำงาน ลำพังจะต้องสู้กับโรคระบาด ต้องช่วยกันเพื่อให้คนไทยปลอดภัยที่สุดเท่าที่ทำได้นั้นก็ยากลำบากมากในยามนี้ แล้วยังต้องมาเจอเรื่องราวเช่นนี้อีก ดูจะบั่นทอนกำลังใจคนทำงานไม่น้อย ซึ่งสุดท้ายย่อมจะเป็นผลดีกับประชาชนและสังคมส่วนรวม 

ส่วนกรณีของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ก็คงต้องพิสูจน์ข้อเท็จเพิ่มเติมกันต่อไปว่าจะ fake หรือไม่ fake อย่างไร ยังไม่ขอฟันธง แต่เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้พอให้สังคมได้ช่วยกันพิจารณา ตั้งคำถามกับข้อเท็จจริงในกรณีจากเรื่องราวข้อมูลกรณีนี้ได้พอสมควร 

แต่แน่นอนว่า Fake news นั้นเกิดที่ไหน ก็เดือดร้อนที่นั้น เพราะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความเข้าใจผิดนี้นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ได้มาก ยิ่งในยามที่เราต้องเผชิญกับภาวะการต่อสู้กับโรคระบาดอาจทำให้เกิความผลลบอย่างที่เราอาจจะคาดถึง การรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมจึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่เราจะสร้างให้ตัวเองได้  สุดท้ายนี้มีวิธีสร้างภูมิคุ้มกันโดยการสังเกต fake news จาก BBC มาฝากค่ะ ทำได้ไม่ยาก ทั้งหมดเริ่มต้นจากการสังเกต ตั้งข้อสงสัย แล้วตั้งคำถามถามตัวเองก่อนจะเชื่อ หรือจะแชร์อะไร ว่า

- มีการรายงานเรื่องราวไปที่อื่นหรือไม่? (คือดูว่ามีสื่อลงหลาย ๆ สำนักไหม หรือมีการนำเสนออย่างกว้างขวางชัดเจนไหมนั้นเอง)

- ข่าวหรือเรื่องราวนั้น ๆ อยู่ในวิทยุทีวีหรือในหนังสือพิมพ์? (ข้อนี้อาจต้องระวัง เพราะบางทีสิ่งที่อยู่ในสื่อหลักอย่างวิทยุและโทรทัศน์ก็อาจจะไม่จริงทั้งหมดเสมอไป)

- คุณเคยได้ยินชื่อ หรือรู้จักองค์กรที่เผยแพร่ข่าว หรือเรื่องราวหรือไม่? (ถ้าชื่อสำนักข่าว หรือชื่อ url ไม่คุ้นเคยต้องตั้งคำถามต่อว่า คนส่งข่าวหรือเรื่องราวนี้คือใคร น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน)

- เว็บไซต์ที่คุณพบว่าเรื่องราวดูเป็นของแท้หรือไม่? (เพื่อพึงระวังเว็บไซต์เลียนแบบ (copycat) ที่ออกแบบมาเพื่อมีลักษณะเหมือนเว็บไซต์จริงของคนอื่น)

- ที่อยู่ (URL) เว็บไซต์ที่ด้านบนของหน้าดูจริงหรือไม่? โดยให้สังเกตตอนท้ายของชื่อเว็บไซต์ ว่าดูปกติไหม เช่น '.co.uk' หรือ '.com'  ถ้าเป็น 'com.co' แบบนี้แสดงว่าไม่ปกติแล้ว ไม่น่าเชื่อถือ

- รูปภาพหรือวิดีโอดูปกติหรือไม่? (ในภาพหรือวิดีโอดูมีความผิดปกติอย่างไรบ้างหรือไม่)

- เรื่องราวฟังดูน่าเชื่อถือหรือไม่? (บางเรื่องหากลองพิจารณาดูดี จะพบว่ามีความไม่สมเหตุ สมผลบ้างอย่าง ซึ่งควรนำไปสู่การหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น กรณีจดหมายของบริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัดนี้)

ถ้าหากคําตอบสําหรับคําถามเหล่านี้คือ 'ไม่' เช่น ไม่น่าเชื่อถือ ไม่เคยได้ยินที่ไหน ไม่รู้จักแหล่งที่มา เป็นต้น เราอาจต้องการตรวจสอบเพิ่มเติมก่อนที่เชื่อ จะแชร์ เพราะเราอาจกลายเป็นผู้ส่งต่อและขยาย fake news เสียเอง และการที่เราช่วยกันเช็คข้อมูลก็จะได้ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับทั้งคนใกล้ตัวและสังคมได้รับรู้ด้วย สิ่งที่จะทำให้ fake news พ่ายแพ้ไป คือความจริงที่ถูกต้อง หากยังเช็คข้อเท็จจริงไม่ได้ ก็อย่างเพิ่งแชร์ อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอย่างน้อยก็เท่ากับว่าเราได้ช่วยกันยับยั้งการระบาดของ fake news ได้ค่ะ 


เขียนโดย: อาจารย์ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ข้อมูลอ้างอิง 
https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105563061387
https://www.thereporters.co/covid-19/270520212209/
https://www.bbc.co.uk/newsround/38906931

Work and Study โครงการดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกภาษาและอยากทำงานไปด้วย!

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยิน ”โครงการ Work & Travel” ซึ่งเป็นโครงการที่ให้เด็กไทยได้ไปสัมผัสบรรยากาศการทำงานและการไปเที่ยวพร้อม ๆ กัน แล้วถ้าเปลี่ยนจาก “การไปเที่ยว” เป็น “การเรียนภาษา” แถมได้ทำงานอีกด้วย จะเป็นยังไงกันนะ!?

จริง ๆ แล้วโครงการนี้มีชื่อว่า “โครงการ Work & Study” โดยหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ของตัวเองสักเท่าไร อาจจะยังไม่มั่นใจว่าถ้าเข้าร่วมโครงการ Work & Travel ถ้าเราไปทำงานแล้วเราจะกล้าพูดภาษาต่างประเทศได้ไหม โครงการนี้ก็ถือว่าตอบโจทย์สำหรับใครหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้ ในวันนี้ THE STUDY TIMES ขอนำเสนอโครงการนี้ให้เพื่อน ๆ ผู้ปกครอง หรือผู้ที่สนใจอยากพัฒนาทางด้านภาษาได้ทราบกันว่ามีความน่าสนใจยังไง ถ้าพร้อมแล้ว…ลุย! 

โครงการ Work & Study เป็นโครงการสำหรับผู้ที่ต้องการไปเรียนภาษาเพิ่มเติมในดินแดนต่างประเทศ โดยสามารถเลือกประเทศและระยะเวลาการเรียนได้ แถมยังสามารถทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหารายได้เข้าตัวเองอีกด้วย โดยโครงการนี้ไม่กำหนดอายุขั้นต่ำ ไม่ว่าคุณจะจบมหาวิทยาลัยหรืออยู่ในช่วงวัยทำงานตอนปลายก็สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากโครงการ Work & Travel เพราะจะมีการกำหนดให้แค่เด็กที่เรียนอยู่ในช่วงระดับมหาวิทยาลัย (ปี 1 - ปี 4) และนักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาโทอายุไม่เกิน 27 ปีสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้เท่านั้น โครงการ Work & Travel เลยตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อในด้านภาษาที่ต่างประเทศแต่อายุเกินได้

โครงการ Work & Study สามารถกำหนดช่วงระยะเวลาการเรียนภาษาของคุณได้ อยากเรียนคอร์สระยะสั้น 3 เดือน หรือ คอร์สระยะยาว 1 ปีเต็มก็ได้ ทางผู้เรียนสามารถกำหนดเองได้เลย โดยส่วนใหญ่พอไปถึงที่สถาบันการเรียนภาษา ทางสถาบันก็จะมีการให้สอบวัดระดับกันก่อน เพื่อที่ทางสถาบันจะได้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน มีตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนไปถึงขั้นสูงสุด ขึ้นอยู่กับทักษาะทางด้านภาษาของผู้เรียนด้วย 

โดยประเทศที่คนไทยส่วนใหญ่สนใจ คือ การเรียนภาษาที่ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดย 2 ประเทศนี้ใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนากัน ทำให้เด็กไทยส่วนใหญ่อยากที่จะฝึกและเรียนภาษา นอกจากการเรียน ด้วยบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ผู้คนเป็นมิตรแถมยังใจดี และค่าครองชีพที่ไม่ค่อยสูงมาก ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับคนที่อยากจะเรียนภาษาไปด้วยและทำงานพาร์ทไทม์ไปด้วย 

ส่วนในเรื่องของการทำงานของผู้ที่เข้าร่วมโครงการ Work & Study จะได้วีซ่านักเรียน สามารถใช้ทำงานพาร์ทไทม์ที่ต่างประเทศได้ อย่างประเทศออสเตรเลียจะให้ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนต่างประเทศสามารถทำงานพาร์ทไทม์ได้ 20 ชั่วโมง / สัปดาห์ โดยส่วนใหญ่นักเรียนไทยที่ไปเรียนภาษาในช่วงแรกทำงานพาร์ทไทม์ในร้านอาหารไทย (ซึ่งในต่างประเทศเดี๋ยวนี้ร้านอาหารไทยเยอะมาก) พอฝึกภาษาได้ระยะหนึ่งก็สามารถที่จะทำงานที่ร้านของคนต่างประเทศได้ แถมค่าจ้างอาจจะได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ซึ่งขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโครงการ Work & Study สามารถสมัครได้กับทางเอเจนซี่ที่เปิดรับสมัคร โดยค่าสมัครส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับประเทศและสถาบันที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งในต่างประเทศมีสถาบันการเรียนภาษาให้ผู้เรียนได้เลือกเยอะแยะมากมาย ขึ้นอยู่กับความชอบในรูปแบบการสอนของแต่ละบุคคล บางคนชอบการเรียนภาษาในรูปแบบเรียนในห้องเรียน หรือบางคนอาจจะชอบการเรียนภาษาแบบเน้นกิจกรรมนอกห้องเรียน ทางเอเจนซี่ก็จะคอยช่วยเหลือ เลือกสถาบันการเรียนที่ตอบโจทย์และเหมาะสมให้ นอกจากนี้ทางเอเจนซี่จะคอยช่วยดำเนินการในเรื่องของการสมัครเรียนที่ต่างประเทศ วีซ่า และเอกสารต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนสะดวกมากขึ้นอีกด้วย

นับว่าโครงการ Work & Study เป็นอีกโครงการหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการฝึกภาษาและอยากที่จะไปทำงานที่ต่างประเทศ ศึกษาและเลือกเอเจนซี่ที่คุณไว้ใจได้ ดูรีวิวหรือบทความของนักเรียนไทยที่เคยไปโครงการ Work & Study จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หวังว่าบทความของเราจะทำให้คุณสนใจในตัวโครงการนี้นะคะ 

THE STUDY TIMES X ClassOnline เสาร์อาทิตย์นี้ พบกับ LIVE วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ

????THE STUDY TIMES X ClassOnline เสาร์อาทิตย์นี้

????วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม และ วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564

⏰เวลา 16.00 น.

พบกับ LIVE วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ

????วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม
วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม
วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

โดย ครูพี่ทาม์ย ฐานุวัชร์ รินนานนท์
ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (เรียนเน้นภาษาสเปน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ผู้สอนอบรม TOEIC ให้องค์กรภาครัฐและเอกชนระดับประเทศ
#สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????ช่องทางรับชม LIVE
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES

รู้ลึกเส้นทาง Landbridge ขนส่งสินค้า เชื่อมต่อโลก!!

ครั้งที่แล้วได้เล่าเกี่ยวกับที่มาและเส้นทางแลนด์บริดจ์ในอดีตกันไปแล้ว ในสัปดาห์นี้ก็ขอมาเล่าเกี่ยวกับเส้นทางที่ได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้ากันบ้าง

เริ่มต้นจากเส้นทางยอดนิยม คือ แลนด์บริดจ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับแอตแลนติก โดยขนสินค้าขึ้นฝั่งที่ท่าเรือทางตะวันตก เช่น ท่าเรือลองบีช หรือท่าเรือลอสแองเจอริสในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วขนสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟมายังฝั่งตะวันออกของประเทศ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสามเส้นทางหลักในการส่งสินค้าจากเอเชียมายังทางตะวันออกของอเมริกาที่มีประชากรอยู่หนาแน่นและเป็นตลาดนำเข้าสินค้าที่สำคัญ ส่วนคู่แข่งอีกสองเส้นทางคือ การแล่นเรือผ่านทางคลองสุเอซและคลองปานามา ในปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดการขนส่งสินค้าใกล้เคียงกันทั้งสามเส้นทาง แต่โครงการการขยายคลองปานามาที่แล้วเสร็จในปี 2016 ก็คาดว่าจะส่งผลต่อปริมาณสินค้าที่ลดลงในเส้นทางนี้

นอกจากนั้น มีการคาดการณ์ว่าหากส่งสินค้าจากโตเกียว ไปยังท่าเรือรอตเทอร์ดาม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยเส้นทางนี้ จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ถึงแม้ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าเส้นทางที่ผ่านคลองสุเอซที่ใช้เวลาถึง 5 - 6 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงกว่าการขนส่งทางเรือผ่านทางคลองสุเอซ

เส้นทางต่อมา คือ  Trans-Asian Railway หรือ Eurasian Landbridge ที่เป็นหนึ่งในโครงการ OBOR (On belt one road) หรือในปัจจุบันเรียกกันว่า BRI (Belt and Road Initiative) เป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างเอเชียตะวันออกกับยุโรป โดยใช้เส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรียเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมกับยุโรป แล้วแยกได้ 3 เส้นทาง คือ ผ่านทางประเทศมองโกเลียในเส้นทางทรานส์มองโกเลียก่อนเข้าประเทศจีน หรือมาทางเมืองวลาดิวาสต็อกของรัสเซีย แล้วเข้าทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเส้นทางสุดท้ายคือมาทางประเทศคาซัคสถานก่อนเข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

ถึงแม้จะมีอุปสรรคหลายอย่างในเส้นทางนี้ เช่น เส้นทางนี้ผ่านถึง 7 ประเทศจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศ รวมถึงกฎระเบียบศุลากากรของแต่ละประเทศที่ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่สินค้าผ่านแดน และยังมีประเด็นเรื่องขนาดรางที่มีความแตกต่างกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่ใช้รางกว้าง 1.52 เมตร แต่ในจีนและยุโรปใช้รางกว้าง 1.435 เมตร  ปัญหาเหล่านั้น ทางรัฐบาลจีนก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ และมีรถไฟขบวนแรกที่เปิดให้บริการจากปักกิ่งไปยังฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันในปี 2018

เส้นทางนี้ ช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางจากปกติที่ส่งสินค้าทางเรือ จากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ไปท่าเรือรอตเทอร์ดาม ใช้เวลา 27-37 วัน เป็น 18 วัน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าขนส่งที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว และคาดการณ์ว่ารัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 50% เพื่อดึงดูดใจให้ผู้ส่งสินค้าเลือกใช้เส้นทางนี้ และใช้โครงการนี้เพื่อดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศ เพราะมีการให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโครงการนี้

จากที่เล่ามาจะเห็นได้ว่าถึงแม้เส้นทางบางเส้น จะใช้ระยะเวลาการขนส่งที่น้อยกว่า แต่ผู้ส่งสินค้ากลับไม่เลือกใช้เพราะมองเรื่องต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ และบางโครงการรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินมาอุดหนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขนส่งในเส้นทางนั้น ดังนั้นโครงการลงทุนต่าง ๆ ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการอาจไม่เป็นไปตามผลการศึกษาที่ทำไว้

เขียนโดย อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ข้อมูลอ้างอิง 
https://transportgeography.org/contents/applications/transcontinental-bridges
https://iit.adelaide.edu.au/ua/media/609/Discussion%20Paper%202020-04%20AESCON.pdf
https://www.forbes.com/sites/salvatorebabones/2017/12/28/the-new-eurasian-land-bridge-linking-china-and-europe-makes-no-economic-sense-so-why-build-it/?sh=39be641c5c9c

รู้จัก “คณะเศรษฐศาสตร์” คณะของคนที่ชอบวิเคราะห์ มีหลักการ และมีเหตุผล !

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะรู้จักหรือเคยคุ้นชื่อ “คณะเศรษฐศาสตร์” พอได้ยินถึงชื่อคณะหลาย ๆ คนอาจจะนึกแค่ว่าเรียนเกี่ยวกับเลข การคำนวณ จบไปทำงานธนาคาร แต่แท้จริงแล้วคณะนี้เรียนอะไร THE STUDY TIMES จะขอมาแนะนำเกี่ยวกับคณะนี้กันค่ะ 

คณะเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมและกระจายทรัพยากรของมนุษย์ โดยคำว่าเศรษฐศาสตร์ในภาษาอังกฤษคือ Economics มาจากคำว่า Oikonomia ในภาษากรีกโบราณ มีความหมายว่า การจัดระเบียบเรื่องในบ้าน และ การบริหารจัดการภาระหน้าที่ 

เดิมทีเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ที่เพิ่งแยกออกมาเป็นวิชาของตัวเองช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยสามารถแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น 2 สาขาหลัก ๆ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค 



เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาในเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับบุคคล โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ และบุคคล หรือหน่วยงานสำคัญ ๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง เช่น การศึกษาเกี่ยวกับตลาดแต่ละตลาด และตัวแทนทางเศรษฐกิจ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย ฯลฯ

ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น

ส่วนการเรียนในแต่ละชั้น ปี 1 จะได้เรียนในวิชาพื้นฐานทั้งหมด ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ ภาษาอังกฤษ รวมถึงจะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นอีกด้วย

พอเข้าสู่ ปี 2 จะได้เรียนเข้าใจลึกมากยิ่งขึ้นในวิชาเศรษฐศาสตร์ในหลาย ๆ ระดับ เช่น เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหาภาค และการนำความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ส่วน ปี 3 ปีนี้ จะได้เจอวิชาเฉพาะที่เจาะลึกมากขึ้น รวมถึงเนื้อหาที่มีความหลากหลาย เช่น  หมวดการเงิน หมวดทรัพยากรมนุษย์ หมวดสินค้าเกษตร หมวดนโยบาย หมวดการพัฒนา 

และ ปี 4 ปีสุดท้าย เนื้อหาการเรียน จะได้เลือกเรียนเฉพาะหมวด ที่ตัวเองได้เลือกและมีการทำวิจัยจบและมีการสัมมานาตามแต่ละมหาวิทยาลัย 



สำหรับสาขาในคณะเศรษฐศาสตร์มีดังต่อไปนี้ 

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ / เศรษฐศาสตร์การจัดการ เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการพลิกแพลงเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ไปใช้ในการบริหารจัดการในทุกๆ ด้านขององค์กร หรือธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

เศรษฐศาสตร์การเงิน เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทฤษฎี และความรู้ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์การคลัง เรียนเกี่ยวกับนโยบาย และมาตรการการคลัง การหารายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมถึงผลกระทบของมาตรการการคลังที่มีต่อเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และวางแผน ศึกษานโยบาย และกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังศึกษาบทเรียนตัวอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

เศรษฐศาสตร์แรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ เน้นการเรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ปัญหาตลาดแรงงาน ปัญหาการว่างงาน และการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นสาขาที่ศึกษาเพื่อหาวิธีจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถูกนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี และการวิจัย / เศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ เน้นการเรียนด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งบัณฑิตจากสาขานี้จะเป็นคนที่มีการตัดสินใจที่แม่นยำ เพราะจะมีมุมมอง การคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับภาพรวมได้เป็นอย่างดี

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ สาขานี้จะผสมผสานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เข้ากับความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาเติบโตไปในโลกของการค้าระหว่างประเทศได้

เศรษฐศาสตร์เกษตร เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการการเกษตร

เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ สาขานี้จะเน้นการจัดการสหกรณ์ ด้วยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับประเทศ

เศรษฐศาสตร์สาธารณะ ศึกษาบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งยังวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณ ภาษีอากรของราษฎร และศึกษาถึงการใช้นโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย

เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วย



ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทั้งในภาครัฐและเอกชนมีดังต่อไปนี้ 

มหาวิทยาลัยภาครัฐ
•    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
•    วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
•    คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
•    คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร  
•    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  
•    คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  
•    คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  
•    สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  
•    คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ  
•    คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  
•    คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี 
•    คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  
•    สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  
•    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

มหาวิทยาลัยภาคเอกชน 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ 
•    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
•    คณะบริหารธุรกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล  
•    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

หลาย ๆ คนสงสัยว่าพอจบไปแล้วจะต้องทำงานที่ธนาคารอย่างเดียวหรือไม่ จริง ๆ แล้วคณะเศรษฐศาสตร์เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้หลากหลาย ทั้งในงานธนาคาร บริษัทด้านการเงินหรือบริษัทด้านตลาดหลักทรัพย์ ทำงานในบริษัทประกันภัย ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับสภาวะของตลาด และการวางแผนในการดำเนินธุรกิจอย่างไรให้ได้กำไร บริษัทที่ต้องการฝ่ายการตลาดหรือ Marketing ก็สามารถทำงานด้านนี้ได้เช่นเดียวกัน 

ในปัจจุบันคณะเศรษฐศาสตร์ถือว่ามีความสำคัญในทุกประเทศ เพราะ เศรษฐกิจถือว่าเป็นตัวเดินเครื่องที่สำคัญ การค้าขาย ธุรกิจต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ศาสตร์ความรู้จากเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น สุดท้ายนี้ THE STUDY TIMES ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนเจอทางที่ตัวเองชอบกันนะคะ 


ที่มา
https://campus.campus-star.com/education/76630.html
https://tcaster.net/2021/01/about-bachelor-of-economics/
https://www.sanook.com/campus/1401708/

THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์ที่สิบ พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชา

????THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม - วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

⏰ทุกวัน เวลา 18.00 น.

พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ 5 รายวิชา 

????วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง โจทย์ความน่าจะเป็น

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

????วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม
วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

????วันพุธที่ 21 กรกฎาคม
วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง Sun Moon & Earth สำหรับ ม.ต้น

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

????วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม
วิชาชีววิทยา: เรื่อง Hypothalamus

โดย ครูหมอเมศ กฤษณะ ธรรมศิริ 
ปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#สอนชีววิทยาม.ต้น-ม.ปลาย

????วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม
วิชาเคมี: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาเคมี (9 วิชาสามัญ)

โดย เจได สิบทิศ จตุรศิล 
แพทย์จุฬา รุ่น 76 (คะแนนรวม กสพท. 85.36)
เคมี 9 วิชาสามัญ 90/100 คณิต 9 วิชาสามัญ 100/100 ฟิสิกส์ 9 วิชาสามัญ 100/100 อังกฤษ 9 วิชาสามัญ 92.5/100 PAT1 288/300

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง โจทย์ความน่าจะเป็น

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง โจทย์ความน่าจะเป็น

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

#DakThaiOnline 
https://dekthai-online.com/browse

.

.

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล

อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

.

วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง Sun Moon & Earth สำหรับ ม.ต้น

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันพุธที่ 21 กรกฎาคม

วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง Sun Moon & Earth สำหรับ ม.ต้น

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี

นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา

#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/instructor/P'NAMWAN

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top