Thursday, 15 May 2025
EducationNewsAgencyforAll

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

รู้จัก ‘พยาบาลศาสตร์’ คณะในฝันของเหล่าผู้มีจิตเมตตา

หลาย ๆ คนมีความฝันที่อยากจะเป็นพยาบาลคอยดูแล เอาใจใส่ คนไข้ และการประกอบอาชีพนี้จะต้องมีความเมตตา เพราะจะต้องคอยดูแลผู้ป่วยทั้งด้านสุขภาพอนามัย รวมไปถึงจิตใจผู้ป่วยอีกด้วย THE STUDY TIMES จะมาแนะนำ “คณะพยาบาลศาสตร์” กันว่าในช่วงระยะเวลา 4 ปีพยาบาลจะต้องเรียนอะไรกันบ้าง 

คณะพยาบาลศาสตร์ที่แรกในประเทศไทยคือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าวิชาแพทย์ผดุงครรภ์มีความจำเป็นแก่ชีวิตของสตรี เนื่องจากในสมัยนั้นสตรีต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการคลอดบุตร 

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถจึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนเพื่ออบรมผดุงครรภ์ขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชเริ่มเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2439 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้” สังกัดกรมศึกษาธิการ ซึ่งต่อมาเรียกว่ากระทรวงธรรมการ ขึ้นภายในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งนับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรก และเป็นจุดเริ่มของการศึกษาด้านการพยาบาลของประเทศด้วย หลังจากนั้นประเทศไทยก็ได้พัฒนาหลักสูตรและได้มีคณะพยาบาลศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยเพื่อให้ประชาชนได้มีทักษะ ความรู้ในด้านการพยาบาล

ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ในแต่ละปีนั้นจะมีการสอบแข่งขันกันค่อนข้างสูง และ การที่จะได้เรียนในคณะพยาบาลศาสตร์นั้น จะต้องมีใบรับรองแพทย์ด้านสุขภาพกาย เพราะการเรียนและการทำงานในคณะพยาบาลนั้นจะต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจอย่างมาก นอกจากที่เราจะต้องทำงานในการดูแล เราจะต้องทำงานในด้านบริการอีกด้วย ไม่ว่าคนไข้จะดีหรือไม่ดีก็จะต้องควบคุมสถานการณ์ให้ได้อีกด้วย 

หลังจากที่ได้สอบเข้าเรียนในคณะพยาบาลศาสตร์ได้แล้วนั้น ในแต่ละช่วงปีก็จะมีการเรียนที่แตกต่างกันไป โดยในช่วงปีแรกจะเป็นการเรียนปรับพื้นฐาน เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกันทุกสาขา เช่น วิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา จิตวิทยา ฯลฯ ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในด้านภาษา การสื่อสาร และศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

พอช่วงปีที่ 2 จะเป็นการเริ่มเรียนทางด้านพยาบาลและชีววิทยาเพิ่มมากขึ้น เป็นหมวดวิชาเฉพาะพื้นฐานวิชาชีพเช่น สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ ปรสิตวิทยา การพยาบาลเบื้องต้น โภชนาการและโภชนาการบำบัด เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์

ก้าวเข้าปีที่ 3 จะเรียนลึกมากยิ่งขึ้นในทางด้านวิชาชีพ และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ หมวดวิชาเฉพาะในด้านทฤษฎี การรักษาโรคเบื้องต้น การพยาบาลผู้ประสบภัยพิบัติการพยาบาลชุมชน การพยาบาลผู้สูงอายุ การพยาบาลจิตเวช การพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลมารดา-ทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ ช่วงปีที่ 3 นี้จะได้มีการเข้าเวรจริง ๆ เพื่อเรียนรู้จากการปฏิบัติมีการเข้าเวร ดูแลคนไข้จริง  ๆ โดยจะเจอคนไข้เกือบทุกรูปแบบ เป็นการพยาบาลเด็ก พยาบาลผู้ป่วย

ปีที่ 4 ปีสุดท้ายจะเป็นการฝึกงาน (ฝึกปฏิบัติการพยาบาล) โดยนิสิตหรือนักศึกษาพยาบาลจะได้เรียนในวิชาที่เกี่ยวกับอนามัยชุมชน การรักษาโรคเบื้องต้น รวมไปถึงการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินและวิกฤต ฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็ก ฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกแรกเกิด และการผดุงครรภ์ เรียกได้ว่าเป็นปีที่ท้าทายสุด ๆ ใน 4 ปีเลยล่ะค่ะ 

เมื่อเรียนจบแล้ว นิสิตหรือนักศึกษาพยาบาลทุกคนจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาลด้วย เหมือนเป็นการการันตีว่าสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติในหน้าที่พยาบาล เมื่อจบแล้วสามารถทำอาชีพพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน หรือตามสถานที่ ๆ มีหน่วยพยาบาลเช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน หรือ ตามคลินิกต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานดูแล พยาบาลผู้ป่วยตามบ้านหรือผู้ป่วยติดเตียงได้อีกด้วย  

สำหรับรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในคณะพยาบาลศาสตร์มีดังต่อไปนี้ 

สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
•    คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
•    ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
•    วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
•    สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
•    วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
•    วิทยาลัยพยาบาลพระยาภักดีชุมพล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
•    สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
•    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
•    สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)

วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น

•    สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
•    วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
•    วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
•    วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
•    วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
•    วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
•    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
•    วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
•    วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

•    มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
•    มหาวิทยาลัยคริสเตียน (หลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ)
•    มหาวิทยาลัยปทุมธานี
•    มหาวิทยาลัยพายัพ
•    มหาวิทยาลัยรังสิต
•    มหาวิทยาลัยราชธานี
•    มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
•    มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
•    มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
•    มหาวิทยาลัยสยาม
•    มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
•    มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)
•    มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
•    มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
•    วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
•    วิทยาลัยเชียงราย
•    วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
•    วิทยาลัยเซนต์เทเรซา-อินติ (หลักสูตรนานาชาติ)
•    วิทยาลัยนครราชสีมา
•    วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ
•    วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

พยาบาลในปัจจุบันถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างมาก นอกจากจะช่วยเหลือคุณหมอแล้ว การดูแลผู้ป่วยถือว่าเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญของพยาบาล การได้รับการดูแล เอาใจใส่ คณะพยาบาลศาสตร์ถือว่าได้เป็นอีกคณะหนึ่งที่น่าสนใจและได้ทำคุณงามความดี ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไว้อย่างมากมาย


แหล่งข้อมูล 
https://campus.campus-star.com/education/44923.html
https://www.admissionpremium.com/content/5688 
https://th.wikipedia.org/wiki/คณะพยาบาลศาสตร์มหิดล

THE STUDY TIMES X DekThai Online, ClassOnline สัปดาห์ที่เก้า พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชา

????THE STUDY TIMES X DekThai Online, ClassOnline สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม - วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

⏰ทุกวัน เวลา 18.00 น.

พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ 5 รายวิชา 

????วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง พหุนาม สำหรับการสอบเตรียมทหาร

โดย อ.ต้น Study Cadet
จบวิศวกรรมศาสตร์ วศ.บ.โรงเรียนนายเรือ
ศึกษา Afaps 42 ประสบการณ์การสอนกว่า 15 ปี
#สอนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ม.ต้น - ม.ปลาย, สอบทหาร

????วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม
วิชาฟิสิกส์: เรื่อง วงจรไฟฟ้าสำหรับ ม.ต้น

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

????วันพุธที่ 14 กรกฎาคม
วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม
วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

โดย ครูพี่ทาม์ย ฐานุวัชร์ รินนานนท์
ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (เรียนเน้นภาษาสเปน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ผู้สอนอบรม TOEIC ให้องค์กรภาครัฐและเอกชนระดับประเทศ
#สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม
วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ Youtube: THE STUDY TIMES

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง พหุนาม สำหรับการสอบเตรียมทหาร

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง พหุนาม สำหรับการสอบเตรียมทหาร

โดย อ.ต้น Study Cadet
จบวิศวกรรมศาสตร์ วศ.บ.โรงเรียนนายเรือ
ศึกษา Afaps 42 ประสบการณ์การสอนกว่า 15 ปี
#สอนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ม.ต้น - ม.ปลาย, สอบทหาร

#DakThaiOnline 
https://dekthai-online.com/browse
.

.

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง วงจรไฟฟ้าสำหรับ ม.ต้น

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง วงจรไฟฟ้าสำหรับ ม.ต้น

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี

นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา

#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/instructor/P'NAMWAN

.

.

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันพุธที่ 14 กรกฎาคม

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม

วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

โดย ครูพี่ทาม์ย ฐานุวัชร์ รินนานนท์

ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (เรียนเน้นภาษาสเปน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ผู้สอนอบรม TOEIC ให้องค์กรภาครัฐและเอกชนระดับประเทศ

#สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.

เลิกกันแล้ว กลับมาเป็นเพื่อนกันได้ไหม? อยากเป็นเพื่อนกับแฟนเก่า หรือแค่อยากมีเขาอยู่ในชีวิต

บางครั้งความสัมพันธ์ที่จบลง อาจจะไม่ได้จบลงด้วยความรู้สึกแย่ๆ เสมอไป บางคู่จบกันเพราะทัศนคติไม่ตรงกัน เป้าหมายในชีวิตไม่เหมือนกัน นิสัยเข้ากันไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของการหมดรักหรือมีมือที่สามเสมอไป

บ่อยครั้งที่ความสัมพันธ์จบลงจึงพบว่ามีทั้งคนที่อยากประคองความสัมพันธ์ไว้ในรูปแบบเพื่อน เพราะไม่อยากเสียความสัมพันธ์ดี ๆ แต่ก็มีอีกหลายคนที่แฟนเก่าถือเป็นของแสลง จบแล้วคือจบ ไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือมีกันอยู่ในชีวิต 

Rachel Sussman นักจิตบำบัด จาก New York ผู้เขียนหนังสือ The Breakup Bible ได้แนะนำวิธีปฏิบัติตัวเมื่อต้องการจะเปลี่ยนสถานะจากแฟนกลับไปเป็นเพื่อน ซึ่งงานวิจัยปี 2000 พบว่า ความสัมพันธ์ที่เป็นเพื่อนกับแฟนเก่า ส่วนมากแล้วจะค่อนไปทางติดลบ ไม่ได้ดีอย่างที่หลายคนคิด โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกันมาก่อน "ถ้าคุณคบกันจริงจัง ผ่านอะไรต่างๆ ร่วมกันมามากมาย และยิ่งมีเรื่อง Sex เข้ามาเกี่ยวข้อง คุณจะกลับไปเป็นเพื่อนกันได้ยังไง" Sussman กล่าว

Sussman ชี้ให้เห็นถึงข้อเสียของการกลับไปเป็นเพื่อนกับแฟนเก่าว่า "บางทีมันอาจจะเป็นตัวฉุดรั้งที่ทำให้คุณไม่สามารถเริ่มต้นใหม่กับคนใหม่ได้ หรือถ้าคุณเริ่มความสัมพันธ์ครั้งใหม่ และบอกกับคนใหม่ว่า "แฟนเก่าของฉันเป็นหนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของฉันด้วยนะ" ถ้าเป็นแบบนั้นคุณคิดว่ามันดีจริงๆ หรอ? แต่ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะกลับไปเป็นเพื่อนกับแฟนเก่า Sussman แนะนำให้ทั้งคู่ห่างกันจริงๆ หยุดติดต่อกันสักพัก เว้นระยะให้ทำใจ โดยใช้เวลาช่วยเยียวยา 


แต่ถึงอย่างไรเรื่องแบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับความคิดและความรู้สึกของแต่ละบุคคล สำหรับเราแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ เราไม่จำเป็นต้องตัดความสัมพันธ์ดีๆ ไปเพียงเพราะเราไปกันต่อไม่ได้ในความสัมพันธ์รูปแบบคนรัก เราก็สามารถลดสถานะเหลือแค่ความเป็นเพื่อนได้ แต่ข้อนี้อาจใช้สำหรับคู่รักที่เคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน คู่ที่คบกันมาไม่นาน หรือใครที่คบกันเล่นๆ แก้เหงา คนในกลุ่มนี้ก็สามารถกลับมาเป็นเพื่อนกันได้ไม่ยาก แต่คำว่าเพื่อนต้องแลกมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ หากทำได้จริง เราจะมีเพื่อนที่รู้ใจมากๆ เพิ่มอีกหนึ่งคน 

แต่ประเด็นมันอยู่ที่หลายคนมักทำไม่ได้นี่สิ เพราะหากจะให้มองเขาในฐานะเพื่อน ก็อาจมีห้วงหนึ่งที่เผลอหวนคิดถึงวันเวลาเก่าๆ หรือสำคัญที่สุดคือ ถ้าต่างคนต่างมีความรักครั้งใหม่ แฟนใหม่ของเขาหรือของเราจะโอเคหรือเปล่าหากรับรู้ว่าทั้งคู่เคยเป็นแฟนกันมาก่อน บางทีความสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องของคนหลายคน ไม่ใช่เฉพาะการตัดสินใจของใครคนใดคนหนึ่ง  

กฎของการเป็นเพื่อน คือต่างคนต้องอยากเป็นเพื่อนกัน ทั้งสองคนให้ความร่วมมือ เพราะความเป็นเพื่อนไม่สามารถเกิดขึ้นกับเราได้ฝ่ายเดียว บางทีเราอาจจะอยากมีเขาแค่เพียงเพราะไม่ต้องการจะเสียเขาไป จึงหยิบยกสถานะใหม่ที่ทำให้ประคองเขาในชีวิตได้ แต่หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้มีท่าทีที่อยากจะรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ ก็คงเหมือนการบังคับฝืนใจ กลายเป็นความอึดอัด 


บางความสัมพันธ์ กับคนบางคนก็ไม่จำเป็นต้องตัดความสัมพันธ์ดีๆ ทิ้ง แต่อีกมุมหนึ่งเราไม่ได้มีหน้าที่รักษาทุกความสัมพันธ์ในชีวิต คนที่ไม่ใช่ ก็ต้องปล่อยให้เขาเดินจากไป 

บางครั้งเราอาจต้องถามตัวเองดีๆ ว่า อยากเป็นเพื่อนกับแฟนเก่า หรือแค่อยากมีเขาอยู่ในชีวิต? และสิ่งนั้นมันเป็นความต้องการของคนทั้งสอง หรือแค่ของเราฝ่ายเดียว 

เขียนโดย เพลิน ภารวี สุภามาลา Content Editor THE STUDY TIMES


ข้อมูลอ้างอิง: https://time.com/5320054/stay-friends-with-ex-expert-advice/
https://www.gangbeauty.com/love/125033

คุณแก๊ป นาวาโท ธนเดช จิตร์ประวัติ | THE STUDY TIMES STORY EP.56

บทสัมภาษณ์ คุณแก๊ป นาวาโท ธนเดช จิตต์ประวัติ นักเรียนทุนกองทัพเรือ ศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหาร (Master of Leadership Development) ควบปริญญาโท สาขา M.Sc.(Strategy). Nanyang Technological University. ประเทศสิงคโปร์

หากเราเปลี่ยนคำว่าแข่งขันเป็นคำว่าแบ่งปัน สังคมจะมีแต่ความสุข

จุดเริ่มต้นของการเรียนเตรียมทหาร คุณแก๊ปได้เล่าว่าตัวเองนั้นแบ่งความชื่นชอบของตนเองเป็น 2 แบบ คือ สิ่งที่ตัวเองอยากจะเรียนและสิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็น โดยสิ่งที่คุณแก๊ปอยากจะเรียนคือ การได้เรียนวิศวะเหมือนกับคุณพ่อ และสิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็นคือ การเป็นผู้นำ ทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง 

ในช่วงขณะนั้นโรงเรียนเตรียมทหารประกาศรับสมัครสอบของทหารทุกเหล่าทัพ คุณแก๊ปได้ลองไปสมัครสอบในทุก ๆ สนาม ผลปรากฏว่าติดทุกเหล่าทัพ ก่อนตัดสินใจเลือกเรียนกองทัพเรือ เพราะโรงเรียนนายเรือมีการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากจะเรียน และได้เป็นทหาร มีวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ ตรงกับสิ่งที่อยากจะเป็น 


โดยเคล็ดลับการเตรียมตัวทำข้อสอบในการเข้าศึกษาของคุณแก๊ปคือ ไปลองสอบสนามสอบหลายที่เพื่อให้รู้ว่าแนวข้อสอบเป็นอย่างไร และฝึกการทำข้อสอบในห้องสอบ เพื่อให้ตัวเองคุ้นชินกับสภาวะกดดันในช่วงระหว่างการสอบ และทำให้รู้ว่าตัวเองยังต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติม วิชาอะไรหรือด้านอะไรที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ สอบรอบต่อไปจะทำให้ตัวเองเก่งในด้านนั้นได้ คุณแก๊ปได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนว่า ถ้ามีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยประกาศรับสมัคร ให้รีบคว้าโอกาสนั้นไว้ ไปสอบก่อน ถ้าติดแล้วต้องการเรียนหรือไม่เรียนก็พิจารณาดูอีกที

คุณแก๊ปได้เล่าถึงประสบการณ์การเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารว่า ในเรื่องของการเรียนโรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนสายสามัญทั่วไปไม่ได้มีความแตกต่างกัน มีมาตรฐานที่เท่ากัน เมื่อจบจากโรงเรียนเตรียมทหารก็ได้รับใบประกาศนียบัตรในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเหมือนกัน สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่อื่นได้ แตกต่างกันแค่การใช้ชีวิต เนื่องจากการเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารจะต้องมีความเป็นระเบียบตั้งแต่ตื่นนอน เข้าเรียน จนไปถึงก่อนเข้านอน ถือเป็นการปลูกฝังความมีระเบียบวินัยของผู้เรียน  

หลังจากเรียนจบที่โรงเรียนเตรียมทหาร คุณแก๊ปได้รับรางวัลการศึกษาดี รางวัลลักษณะทหารดี และรางวัลนักกีฬาดีเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน จากนั้นได้เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่โรงเรียนนายเรือจนคว้าปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ได้รับประกาศนียบัตรเหรียญทองในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และรางวัลเสื้อสามารถ เมื่อเรียนจบคุณแก๊ปได้เข้าทำงานที่กองทัพเรือเป็นระยะเวลาประมาณ 5-6 ปี เมื่อถึงเวลาที่ต้องกลับไปเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนและกำลังพล ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายทหารเรือชั้นต้น เป็นระยะเวลา 6 เดือน ได้คว้าเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หลังจากนั้นคุณแก๊ปก็ได้กลับเข้าทำงานที่กองทัพเรืออีกประมาณ 5-6 ปี และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารเรืออีก 1 ปีก็ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งกลับมาเช่นกัน 

เทคนิคการเรียนให้ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งนั้น คุณแก๊ปได้ให้ข้อคิดในการเรียนว่า การเรียนนั้นต้องอย่าเอาตัวเองไปแข่งกับใคร ให้คิดว่าเราแข่งกับตัวเอง การเรียนให้ได้รับรางวัลเกียรตินิยมไม่ได้หมายความว่าตัวเองจะต้องเป็นที่หนึ่ง หมายความว่าเราแข่งกับตัวเอง และรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเป็นเหมือนรางวัลที่ชนะใจตัวเอง ให้เราตั้งเป้าหมายไว้และเราก็เดินตามทางเป้าหมายของเรา หนทางที่ยาวไกล หากเราก้าวเดินไป มันจะสั้นลง แต่ในหนทางที่เราก้าวเดิน เราควรจะมีความสุข 


ส่วนเทคนิคการเรียน ในช่วงสมัยเรียนคุณแก๊ปได้เปิดคอร์สติวเนื้อหาการเรียนให้กับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อน ๆ คุณแก๊ปได้เล่าว่า ตัวเองต้องเตรียมบทเรียน 2-3 วัน ก่อนที่จะติวเนื้อหาการเรียนกับเพื่อน ๆ และจะชอบมากถ้าเพื่อนถามแล้วตอบไม่ได้ จะรีบไปหาคำตอบและมาสอนเพื่อน ๆ 

ในด้านของกีฬารักบี้ เนื่องจากคุณแก๊ปเคยเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลสมัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดม หลังจากที่เข้ามาเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมทหาร ในสมัยนั้นกีฬารักบี้ถือว่าเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยกีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เกิดความสนใจอยากที่จะเล่นกีฬารักบี้ คุณแก๊ปรักและชื่นชอบกีฬานี้มาก ช่วงฝึกซ้อมโค้ชได้ให้ข้อคิดว่า ถ้าเรารักสิ่งใด เราอย่าทำลายสิ่งนั้น ถ้าเรารักกีฬารักบี้ เราก็อย่าทำลายกีฬารักบี้ด้วยน้ำมือของเรา 

คุณแก๊ปกล่าวว่า ถ้าตัวเองเล่นแต่กีฬารักบี้แล้วเสียการเรียนก็จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่รุ่นน้อง ความสำเร็จในเรื่องของการเรียนคือเรียนให้ได้เกียรตินิยม การเล่นกีฬารักบี้เป้าหมายคือการติดทีมชาติไทย ซึ่งขณะที่เป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนนายเรือ คุณแก๊ปได้เป็นนักกีฬารักบี้ให้กับสโมสรราชนาวี จนมีคนมาทาบทามให้ไปคัดตัวเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ทำให้มีโอกาสได้เป็นนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทยไปแข่งขันในระดับภูมิภาค ได้รับรางวัลชนะเลิศ


จุดเริ่มต้นการเป็นผู้นำของคุณแก๊ป ต้องย้อนไปตอนสมัยมัธยม โดยจุดเริ่มต้นมาจากคุณพ่อส่งคุณแก๊ปไปบวชเรียนในช่วงก่อนขึ้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ช่วงบวชเรียนได้เข้าร่วมการแข่งขันเทศน์ระดับประเทศ มีหัวข้อคือ “ธรรมะของการเป็นผู้นำ” ซึ่งได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง หลังจากนั้นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้นให้คุณแก๊ปไปเทศนาให้กับเพื่อน ๆ ฟังตอนปฐมนิเทศเปิดเทอม ต่อมาคุณแก๊ปได้ลงสมัครในตำแหน่งประธานนักเรียน และได้รับเลือกเป็นประธานนักเรียนในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ถือเป็นจุดเริ่มต้นบทบาทการเป็นผู้นำของคนหมู่มาก 

คุณแก๊ปได้แบ่งปันข้อคิดเกี่ยวกับการเป็นผู้นำคือ ผู้นำจะมี 4 ขั้น ขั้นแรกคือการเป็นผู้นำตัวเอง ขั้นที่สองคือการเป็นผู้นำทีม ขั้นที่สามคือการเป็นหัวหน้าใหญ่คุมผู้นำของแต่ละทีม ขั้นที่สี่คือผู้นำองค์กร โดยคุณแก๊ปได้แชร์ประสบการณ์การเป็นผู้นำตัวเองในสมัยเรียนคือ ในสมัยที่เป็นนักกีฬารักบี้ ขณะนั้นต้องเรียนหนังสือไปด้วย ต้องนำตัวเอง ควบคุมตัวเองให้อ่านหนังสือหลังจากการซ้อมรักบี้ ตั้งเป้าหมายกับตัวเองไว้ว่าต้องประสบความสำเร็จทั้งด้านกีฬาและการเรียน

ปัจจุบันหลังจากที่คุณแก๊ปเรียนจบจากโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ได้สอบชิงทุน กองทัพเรือมาเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารสิงคโปร์และเนื่องจากระบบการศึกษาของโรงเรียนเสนาธิการทหารสิงคโปร์ ที่ยกระดับเป็น World class college and first class experience นักเรียนเสนาธิการทหารสิงคโปร์จะเขารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารร่วมกันกับมหาวิทยาลัย NTU ตามโปรแกรม The SAF-NTU Continuing Education Master's Program คุณแก๊ปต้องเรียนทั้งหมด 3 เทอมด้วยกัน โดยเทอมที่ 1 และเทอมที่ 2 จะเรียนจากมหาวิทยาลัย NTU และเทอมที่ 3 จะเป็นวิชาด้านการทหาร 

อีกทั้งคุณแก๊ปได้ลงทะเบียนเพื่อเรียนเพิ่มเติมและให้มหาวิทยาลัย NTU คิดหน่วยกิตจาก 2 เทอมแรก เพื่อนำไปยื่นศึกษาต่อกับทางมหาวิทยาลัย NTU ในสาขาปริญญาโทที่สนใจ โดย module ที่สามารถลงทะเบียนได้คือ module ที่สอนโดยมหาวิทยาลัย NTU ทั้งหมด โดยสามารถเลือกได้สูงสุด 5 module โดยคุณแก๊ปสนใจลงเรียน M.Sc. (strategy) คุณแก๊ปเล่าให้ฟังว่าแต่ถ้าใครลงทั้งหมด 5 ตัวเลยก็จะได้ Master of Leadership Development ซึ่งใน 5 ตัวนี้มี Module ของ Leadership และ Communication management ด้วย ยังไม่เคยมีใครลง 5 module มาก่อน คุณแก๊ปเลยตัดสินใจลงทะเบียนไป 5 module ในตอนนี้คุณแก๊ปกำลังศึกษาอยู่เทอมที่ 3 เมื่อสำเร็จการศึกษาเทอมนี้จากโรงเรียนเสนาธิการทหารแล้ว ก็จะนำหน่วยกิตไปยื่นกับทางทหาวิทยาลัย NTU ตาม Program ของ Continuing Education 



คุณแก๊ปเล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ทุนมาเรียนที่ประเทศสิงคโปร์ก็พบว่าเป็นประเทศที่มีการแข่งขันในการเรียนค่อนข้างสูง เพราะประเทศสิงคโปร์ไม่ได้มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีคุณค่ามากนัก ทรัพยากรประเทศสิงคโปร์ที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์ ประเทศสิงคโปร์จึงเร่งพัฒนามนุษย์ในประเทศให้มีความสามารถพัฒนาในด้านอื่น ๆ ทุกอย่างจึงเต็มไปด้วยการแข่งขัน ในมหาวิทยาลัยที่เรียนจึงมีการแข่งขันที่สูงมาก คุณแก๊ปเป็นนักเรียนทุนของประเทศไทยเพียงคนเดียวที่สามารถเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้

“ภาวะผู้นำ (Leadership) กับ ผู้นำ (Leader) ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป” เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณแก๊ปได้ศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ ในเรื่องของหัวหน้าหรือผู้นำทีม คุณแก๊ปได้กล่าวว่า การทำงานทุกคนจะต้องมีภาวะผู้นำในตัวเอง และคุณแก๊ปยังได้ให้ข้อคิดคือ การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีจะต้องเป็นวิตามิน เป็นพลังให้กับลูกน้อง ผู้นำหรือหัวหน้าจะต้องไม่ใช่ยาพิษ หรือ Toxic Leader หัวหน้าหรือผู้นำควรคำนึงถึงผลประโยชน์ที่นอกจากตัวเองแล้วควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกน้องในทีม เพื่อให้ทีมสามารถอยู่รอดและมีความสุขในการทำงานได้ 


และในปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตมากขึ้น ในสมัยก่อนลูกน้องอาจจะต้องขอคำปรึกษา หาวิธีการแก้ไขจากหัวหน้า แต่ในปัจจุบันลูกน้องสามารถหาคำตอบได้ด้วยตัวเองจากเทคโนโลยี สื่อต่าง ๆ ในบริบทของการเป็นผู้นำหรือหัวหน้าในการให้คำปรึกษาลูกน้องยังมีความจำเป็นหรือไม่ ถือเป็นความท้าทายของผู้นำในยุคปัจจุบัน 

คุณแก๊ปเล่าให้ฟังอีกว่า ในสิ่งที่ได้เรียนเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ อาจารย์ได้ยกสถานการณ์มาว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณเป็นผู้นำ แต่ในทีมของคุณประกอบไปด้วย ทีมมนุษย์ครึ่งหนึ่งและเทคโนโลยีอีกครึ่งหนึ่ง ผู้นำจะมีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไร เป็นสิ่งที่คุณแก๊ปได้ศึกษาจากการมาเรียนที่สิงคโปร์ 

สุดท้ายนี้คุณแก๊ปได้ฝากมุมมองที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตไว้ว่า ความสุขที่ยั่งยืนคือกำไรที่มั่นคง ความสุขที่ยืนยงจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราแบ่งปัน หากเราเปลี่ยนคำว่าแข่งขันเป็นคำว่าแบ่งปัน สังคมก็จะมีความสุข เราตั้งเป้าหมายไว้ เราไม่ต้องการแข่งกับใคร เราไม่ได้ต้องการเป็นที่หนึ่ง เราตั้งเป้าหมายไว้เพื่อแข่งกับตัวเราเอง และระยะเวลาที่เราเดินทางถึงเป้าหมายนั้น เราสามารถมีความสุขไปด้วยได้ด้วยคำว่าแบ่งปัน 

.

.

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top