Thursday, 15 May 2025
EducationNewsAgencyforAll

พร้อมไม่พร้อม!! เช็คลิสต์ เรื่องที่ต้องรู้ก่อนสอบ TCAS65 ????????

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้จัดทำระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา TCAS ปีการศึกษา 2565 ได้มีการพิจารณาแนวทางการคัดเลือกระบบ TCAS65 โดยมีมติยุติการใช้คะแนนโอเน็ตในการคัดเลือกในรูปแบบ Admission2 เพื่อลดภาระการสอบให้บริมาณที่ลดน้อยลง พร้อมนำเสนอ (ร่าง) รูปแบบการคัดเลือกในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565 (TCAS65) เป็น 4 รอบ 4 รูปแบบ ดังนี้

1. Portfolio รับตรงโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
ใช้แฟ้มสะสมผลงานเป็นเครื่องมือแสดงความโดดเด่น ความสนใจ ความถนัด ความสามารถพิเศษ ความเป็นเลิศ หรือมีผลงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับคณะที่จะเข้าศึกษา 

สมัครกับ : มหาวิทยาลัย
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก : GPAX, Portfolio, คะแนนสอบวิชาเฉพาะ, คะแนนสอบภาษาอังกฤษ

2. Quota รับตรงโควตาตามเกณฑ์ที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด
รอบนี้เป็นรอบของโควตาตามกฎเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด เช่น โควตาโรงเรียนที่มีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โควตาเรียนดี / มีความสามารถพิเศษ, โควตาเขตพื้นที่, โควตากระจายโอกาสให้เด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือโควตารูปแบบต่าง ๆ

สมัครกับ : มหาวิทยาลัย
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก : GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ, คะแนนสอบวิชาเฉพาะ, คะแนนสอบภาษาอังกฤษ

3. Admission รับตรงร่วมกัน
รอบรับตรงร่วมกัน ทุกสถาบันจะเปิดรับสมัครพร้อมกัน ในวันและเวลาเดียวกัน โดยจำกัดการเลือกไว้ตามจำนวนอันดับที่ ทปอ.กำหนด และที่สำคัญคือ ใช้คะแนนสอบเป็นหัวใจในการคัดเลือก 

สมัครกับ : mytcas.com
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก : GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ, คะแนนสอบวิชาเฉพาะ

-เลือกได้จำกัดจำนวน เรียงตามลำดับความชอบ (รอสรุปจำนวนจาก ทปอ.)
-กสพท อยู่ในรอบนี้
-มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์ตรงของใครของมัน แต่รับสมัครผ่าน ทปอ.
-ทปอ. ประกาศผลการติดเพียง 1 อันดับ 
-Double Sorting ประมวลผล 2 รอบ

4. Direct Admission รับตรงอิสระ
รอบเก็บตก ปลายทางรอบสุดท้ายของระบบ จำนวนรับน้อยที่สุด และบางสถาบันก็ไม่ได้เปิดรับในรอบนี้ 

สมัครกับ : มหาวิทยาลัย
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก : GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ

ทุกรอบต้อง Clearing House ผ่านระบบ mytcas ของ ทปอ.
แม้ว่าระบบการคัดเลือกจะเป็นระบบการรับตรง แต่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและช่วยกระจายโอกาสอย่างเสมอภาค ตามหลักการของ TCAS ที่กำหนดให้ทุกคนมี 1 สิทธิ์เท่าเทียมกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะติดรอบใดก็ตาม จะต้องเข้ามา Clearing House หรือยืนยันสิทธิ์ในระบบ mytcas ซึ่งเป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการสิทธิ์ในระบบ TCAS (ยกเว้นคนที่ติดในรอบที่ 4 Direct Admission ไม่ต้องเข้ามายืนยันสิทธิ์ในระบบของทปอ. แต่ให้ไปยืนยันสิทธิ์กับมหาวิทยาลัยที่ติดได้เลย) 


ขอบคุณข้อมูล: https://www.admissionpremium.com/content/6340
https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/87856

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบให้จำได้แม่นยำ ง่ายๆ มีอะไรบ้าง? ????????

ช่วงนี้นักศึกษาหลายคนคงจะกำลังเตรียมตัวสอบกลางภาค-ปลายภาคกันแล้วนะคะ ครูพิมพ์เชื่อว่านักศึกษาที่ลงทะเบียนหลายวิชา คงกำลังเลือกรายวิชาที่จะเริ่มอ่านอยู่ หรือบางคนอาจจะเลือกไม่ถูกว่าจะอ่านเล่มไหนก่อนหรือหลังดี วันนี้ครูพิมพ์มีเทคนิคในการอ่านหนังสือสอบที่สามารถจดจำได้อย่างแม่นยำ ง่ายๆ มาให้นักศึกษาทุกคนได้ลองทำตามกันดูนะคะ 

อันดับแรก นักศึกษาต้องเตรียมความพร้อมก่อนค่ะ โดยการเตรียมตำราเรียนทุกรายวิชาที่จะเข้าสอบให้เรียบร้อย และเช็คตารางสอบให้ดีว่า วิชาไหนสอบก่อน-หลัง ไล่ลำดับไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวิชาสุดท้ายค่ะ     

 
ตัวอย่างเช่น  วิชาแรก สอบวิชา A, วิชาที่สอง สอบวิชา B, วิชาที่สาม สอบวิชา C, วิชาที่สี่ สอบวิชา D, วิชาที่ห้า สอบวิชา E, วิชาที่หก สอบวิชา F และวิชาที่เจ็ด สอบวิชา G  รวมทั้งสิน 7 วิชา

เมื่อนักศึกษาทราบรายวิชาที่จะเข้าสอบตามลำดับก่อน-หลังแล้ว ให้นักศึกษาเลือกหยิบตำราเล่มที่สอบวิชาสุดท้ายมาเริ่มอ่านก่อนเป็นวิชาแรก ซึ่งก็คือ วิชา G เมื่ออ่านจบแล้วให้หยิบตำราเล่มวิชา F ซึ่งเป็นวิชาที่หก มาอ่านต่อ อ่านไล่ย้อนขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวิชา A ที่เป็นวิชาที่จะสอบในวันแรก ซึ่งถ้านักศึกษาอ่านตำราวิชา A จบแล้ว ก็ใกล้ถึงวันที่จะเข้าสอบในวันแรกพอดี เมื่อนักศึกษาสอบวิชาแรกเสร็จสิ้นแล้ว ก็สามารถหยิบวิชาที่จะเข้าสอบเป็นวิชาที่สองที่ได้อ่านไว้ล่วงหน้าแล้วมาทบทวนทำความเข้าใจอีกนิดหน่อยก็เข้าสอบได้เลยค่ะ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวิชาสุดท้าย 

เห็นไหมคะ เทคนิคง่ายๆ นิดเดียว ดีกว่าที่นักศึกษาจะต้องนั่งอ่านวิชาแรก ไล่ไปจนกระทั่งวิชาสุดท้าย พอถึงวันเวลาที่จะเข้าสอบ ก็อาจจะลืมวิชาแรกที่อ่านไปแล้ว ต้องมานั่งอ่านกันอย่างหนักอีกรอบทำให้เสียเวลานะคะ 

และที่สำคัญที่สุดก่อนที่นักศึกษาจะเริ่มอ่านหนังสือสอบนั้น ควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายและสมองพร้อมที่จะเริ่มคิด วิเคราะห์และจดจำไปกับเรานะคะ และถ้าไม่จำเป็นพยายามอย่าจับสมาร์ทโฟนนะคะ ถ้าปิดเครื่องได้ยิ่งดีค่ะ เพราะอาจทำให้เราเผลอท่องโลกโซเชียลจนไม่ได้อ่านหนังสือสอบนะคะ 

เมื่อพร้อมแล้วเรามาเริ่มลงมือเปิดตำราหน้าแรก โดยเริ่มอ่านประเด็นที่สำคัญตามที่ท่านอาจารย์สอนในรายวิชานั้นๆ ได้เน้นย้ำ หรือตามแนวข้อสอบที่ท่านอาจารย์ได้ให้มาได้เลยค่ะ 

เมื่อนักศึกษาอ่านไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 ชั่วโมงผ่านไป ให้นักศึกษาหยุดพักและนอนหลับพักผ่อนให้ได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้สมองได้หยุดพัก และตื่นขึ้นมาแล้วหาของว่างเย็นๆ ดื่ม เช่น นม หรือน้ำหวาน จะได้รู้สึกสดชื่นนะคะ แล้วอ่านต่ออีกประมาณ 2 ชั่วโมง และหยุดพัก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวิชาสุดท้ายนะคะ 


สาเหตุที่ไม่ควรอ่านหนังสือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน เพราะจะทำให้สมองทำงานหนักและล้าจนเกิดความง่วง เบื่อหน่าย เสียสมาธิในการอ่านและการจดจำค่ะ และสิ่งที่อันตรายที่สุดที่สามารถทำลายสมาธิจนอาจทำให้หลายคนสอบตกนั่นก็คือ การแอบเล่นสมาร์ทโฟนจนไม่ได้อ่านหนังสือ สุดท้ายแล้วเมื่อถึงเวลาสอบก็ไม่สามารถทำข้อสอบได้ ผลที่ได้รับคือ สอบตก ค่ะ 

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบดังกล่าวที่ครูพิมพ์ได้แนะนำไปแล้วนั้น ครูพิมพ์ได้ทดลองทำด้วยตนเอง ตั้งแต่สมัยที่ศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งสอบครั้งนึงก็ไม่ต่ำกว่า 7-8 รายวิชา จึงคิดว่าทำอย่างไรให้อ่านหนังสือแล้วไม่ง่วง และสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำ จึงได้คิดเทคนิคการอ่านวิธีนี้ขึ้นมา ซึ่งฟังดูแล้วอาจเหมือนคนที่ขี้เกียจ แบบอ่านไป นอนไป หลับไป แต่ทำแล้วได้ผลนะคะ 

ซึ่งผลการเรียนที่ได้ในขณะนั้น ในช่วงเรียนปี 1 ครูพิมพ์ได้เกรดเฉลี่ย 3.83 ไปจนกระทั่งได้เกรดเฉลี่ยสูงที่สุดในชีวิต คือ 4.00 ซึ่งเป็นเกรดเฉลี่ยที่สูงที่สุดในระดับห้องและระดับชั้น ทำให้เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ตนเองเป็นอย่างยิ่งและอย่างไม่น่าเชื่อเลยค่ะ ที่สามารถทำเกรดเฉลี่ยได้สูงเช่นนี้ เพราะที่ผ่านมาในระดับมัธยมศึกษา เกรดเฉลี่ยจะต่ำมากๆ ค่ะ ซึ่งครูพิมพ์ก็ใช้เทคนิคนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งปัจจุบันครูพิมพ์จบปริญญาตรี 5 ใบ จบปริญญาโท 1 ใบ และปัจจุบันครูพิมพ์กำลังจะจบปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ สาขาการบริหารรัฐกิจ อีก 1 ใบ ค่ะ 

เทคนิคง่ายๆ แค่นี้ ครูพิมพ์ขอแนะนำให้ทุกคนนำไปลองฝึกปฏิบัติกันนะคะ ได้ผลอย่างไรมาเล่าให้ครูพิมพ์ฟังกันด้วยนะคะ 

ท้ายนี้ครูพิมพ์จะขอฝากไว้ให้นักศึกษาทุกคนเพื่อเป็นกำลังใจนะคะ “สิ่งที่วิเศษสุดสำหรับการเรียนรู้ คือไม่มีใครสามารถเอามันไปจากคุณได้” 

มุ่งต่อยอดความรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด  


เขียนโดย ครูพิมพ์ฑักษอร แสงทองไชย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ 

รู้จัก Land Bridge หรือ ‘สะพานแผ่นดิน’ เส้นทางขนส่งร่นระยะทาง

วีคนี้จึงมาขอมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Land Bridge กันสักหน่อยว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง...

Land Bridge หรือแปลเป็นไทยว่า ‘สะพานแผ่นดิน’ เดิมเป็นคำศัพท์ทางชีวภูมิศาสตร์ หมายถึง พื้นที่ที่เป็น ‘คอคอด’ ซึ่งเชื่อมแผ่นดินขนาดใหญ่เข้าด้วยกัน และใช้เป็นเส้นทางเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ เช่น พื้นที่ประเทศปานามาที่เชื่อมระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้

ต่อมาเริ่มมีการใช้คำนี้ในทางคมนาคม คือ เส้นทางทางบก เพื่อใช้เชื่อมโยงระหว่างทะเลหรือมหาสมุทร แทนการใช้การขนส่งทางทะเล

ในช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น มักจะใช้กับการขนส่งทางบกในระยะทางที่ไม่ไกล เนื่องจากระบบการขนส่งทางบกยังไม่พัฒนา สภาพเป็นทางเกวียนหรือเส้นทางธรรมชาติเป็นหลัก ส่งผลให้ใช้เวลาเดินทางนานและขนส่งได้น้อย เพราะข้อจำกัดของสภาพถนนและยานพาหนะ ทำให้ต้นทุนการขนส่งทางบก สูงกว่าการขนส่งทางทะเลที่ระยะทางไกลกว่า

เมื่อมีการพัฒนาระบบรถไฟหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งทางบกลดต่ำลง เพราะสามารถขนสินค้าได้ครั้งละจำนวนมากและทำความเร็วได้ดีกว่าเดิม เส้นทาง Land Bridge จึงมีระยะทางยาวขึ้น

ในช่วงปี 1880 มีโครงการแรกที่ถือได้ว่าเป็น Land Bridge สมัยใหม่ที่ใช้การขนส่งระบบราง คือ เส้นทาง Canadian Pacific Railway ที่เชื่อมโยงสองฝั่งของประเทศแคนาดา เนื่องจากช่วงนั้นมีการนำเข้าสินค้าราคาสูง เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ชา จากเอเชียไปยังยุโรป โดยวิธีเดิมคือการขนส่งทางเรืออ้อมทวีปแอฟริกาหรืออ้อมทวีปอเมริกาใต้

แต่การใช้เส้นทางนี้ ช่วยร่นระยะทางด้วยการขนส่งข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วขึ้นฝั่งทางตะวันตกของแคนาดาและขนส่งสินค้าทางรถไฟ เพื่อไปยังท่าเรือทางตะวันออกของประเทศ แล้วขนส่งสินค้าทางเรือต่อไปยังยุโรป

อย่างไรก็ตามเส้นทางขนส่งสินค้านี้ ได้รับความนิยมอยู่ประมาณ 40 ปี ก็กลับไปใช้การขนส่งทางทะเล เพราะมีการขุดคลองสุเอชและคลองปานามาที่ช่วยลดระยะเวลาในการเดินเรือ แต่เมื่อคลองสุเอชและคลองปานามา มีข้อจำกัดทางการใช้งานและปัญหาทางการเมือง การขนส่งสินค้าทาง Land Bridge ของอเมริกาเหนือ ก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่า การเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้ามีปัจจัยประกอบหลายด้าน ทั้งในด้านเทคโนโลยีการขนส่ง ความสามารถของคู่แข่ง หรือรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีระยะเวลาคืนทุนหลายสิบปี จึงควรพิจารณาให้รอบคอบเพราะเหตุการณ์ในอนาคตอาจไม่เป็นอย่างที่คาดการณ์ไว้

เขียนโดย อาจารย์ ศรัณย์ ดั่นสถิตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 


ที่มา:
https://transportgeography.org/contents/applications/transcontinental-bridges
https://www.britannica.com/science/land-bridge

5 เคล็ดลับการพูดให้ดูแพง ในโลกของการทำงาน การพูดเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ

ใครๆ ก็พูดได้ ใครๆ ก็พูดเป็น แต่จะพูดอย่างไรให้ดูดีมีราคา และมีเสน่ห์น่าประทับใจ บางคนบุคลิกภาพดี หน้าตาดี แต่งตัวดี แต่พอพูดออกมา หมดเสน่ห์ไปเลยก็มี ต่างจากบางคน บุคลิกหน้าตาการแต่งตัวแสนจะธรรมดา แต่พอพูดออกมาช่างน่าฟังและมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ติดตราตรึงใจไม่รู้ลืม เป็นเพราะอะไร ความลับเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยไหน อย่างไร เรามาดูกันค่ะ

ถ้าคุณอยากเป็นคนหนึ่งที่ต้องการพูดแล้วให้มีเสน่ห์และแลดูแพง จงทำสิ่งต่อไปนี้
.
1. ฝึกพูดให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดยเฉพาะเรื่อง วรรณยุกต์ อักขระ และควบกล้ำ

วิธีฝึก ให้อ่านหนังสือออกเสียงเบาๆ แต่จริงจัง พวกเราติดนิสัยการอ่านหนังสือในใจ จึงทำให้ขาดทักษะในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ทั้งๆ ที่ภาษาไทย เป็นภาษาที่ไพเราะมาก คนที่พูดได้ไพเราะ ให้ภาษาได้ดี สละสวยฟังเพลินเหมือนฟังดนตรี เป็นเพราะเขาออกเสียงได้ตรงตามหลักของภาษาไทยนั่นเอง

2. ฝึกการแบ่งวรรคตอนให้ดี พูดให้เป็นจังหวะ อัตราความช้าเร็วของการพูดไม่มากไป ไม่น้อยไป จังหวะการพูดให้สอดคล้องกับจังหวะของลมหายใจของผู้พูด 

วิธีฝึก กำหนดจังหวะการพูดด้วยการตั้งคำถาม  ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร 

3. การปรับระดับน้ำเสียงให้สอดคล้องกับเรื่องที่เรากำลังพูด ระดับของน้ำเสียงต้องสอดคล้องกับอารมณ์และความรู้สึกในเรื่องที่คุณกำลังพูด คุณต้องการสื่อสารให้ผู้ฟังรู้สึกอย่างไร กำหนดอารมณ์ของคุณให้ชัด เช่น มีแรงบันดาลใจ ฮึกเหิม ลุกขึ้นสู้ กังวลใจ เห็นอกเห็นใจ เช้าใจ เศร้า เสียใจ หมดหวัง สะใจ เสียดาย ฯลฯ

วิธีฝึก การฝึกพูดจากอินเนอร์ พูดให้เหมือนการร้องเพลง ลีลาให้เหมือนนักแสดง


4. ฝึกการใช้ภาษากายและลีลาท่าทางให้มีประสิทธิภาพ บุคลิกภาพการพูดการใช้ภาษากายได้ดี จะมีอิทธิพลต่อผู้ฟังมากที่สุด เช่น การใช้สายตา การใช้มือ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ท่าท่างที่มั่นใจ สามารถสร้างเสน่ห์ ดึงดูด และสร้างความเชื่อมั่นได้มากทีเดียว

วิธีฝึก ประสานสายตากับผู้ฟังขณะที่พูด แต่ไม่ต้องถึงกับจ้อง ภาษามือใช้ซ้ายขวาพอประมาณ อย่าให้ดูวุ่นวายจนเกินไป


5. พูดเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังเท่านั้น เรื่องบางเรื่องเป็นความจริง แต่ความจริงนั้นไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ควรพูด เช่น เพื่อนถูกแฟนทิ้ง ความจริงคือเพื่อนถูกทิ้ง แต่พูดแล้วเกิดประโยชน์ไหม ถ้าไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ควรพูด 

วิธีฝึก การพูดที่ดี ผู้พูดต้องมีจิตวิทยาการพูด เรื่องที่เราพูดคู่สนทนาเราอยากฟังหรือไม่ เพราะในมุมของคนฟังเขาต้องการได้ยินในเรื่องที่เขาชอบ มีประโยชน์และทำให้เขาสบายใจเท่านั้น

การพูดไม่ยาก ทุกคนสามารถพูดได้ แค่รู้วิธี

เขียนโดย อ.นิธิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากร โปรเฟสชั่นนอล เทรนเนอร์
#Talktonitima


อ้างอิงข้อมูล: #สโมสรการพูดแห่งประเทศไทย #ระบบโทสมาสเตอร์สากล 
พัฒนาศักยภาพด้านการพูดและบุคลิกภาพ ได้ที่ #Talktonitima

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ตัวอย่างการสอบคณิตศาสตร์ ม.ปลาย

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ตัวอย่างการสอบคณิตศาสตร์ ม.ปลาย

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล

อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม

วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

THE STUDY TIMES X DekThai Online, ClassOnline สัปดาห์ที่แปด พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชา

????THE STUDY TIMES X DekThai Online, ClassOnline สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม - วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

⏰ทุกวัน เวลา 18.00 น.

พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ 5 รายวิชา 

????วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ของผสมสำหรับนักเรียน ม.ต้น

โดย อ.ต้น Study Cadet
จบวิศวกรรมศาสตร์ วศ.บ.โรงเรียนนายเรือ
ศึกษา Afaps 42 ประสบการณ์การสอนกว่า 15 ปี
#สอนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ม.ต้น - ม.ปลาย, สอบทหาร

????วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม
วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

????วันพุธที่ 7 กรกฎาคม
วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม
วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง ระบบสุริยะ

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

????วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม
วิชาสังคม: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (สังคม)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ของผสมสำหรับนักเรียน ม.ต้น

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ของผสมสำหรับนักเรียน ม.ต้น

โดย อ.ต้น Study Cadet

จบวิศวกรรมศาสตร์ วศ.บ.โรงเรียนนายเรือ

ศึกษา Afaps 42 ประสบการณ์การสอนกว่า 15 ปี

#สอนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ม.ต้น - ม.ปลาย, สอบทหาร

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/instructor/StudyCadet

.

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม

วิชาฟิสิกส์: เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสำหรับนักเรียน ม.4

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล

อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

.

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันพุธที่ 7 กรกฎาคม

วิชาภาษาไทย: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาไทย)

โดย ครูต้นคูน ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Ph.D. in Communication Arts) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

#สอนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline

https://www.classonline.co.th/

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top