Monday, 12 May 2025
Econbiz

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่? ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของคนไทยซ่อนอยู่อีก

นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ

จากข้อมูลของหนังสือ ‘ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564’ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า

ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เพราะเป็นโรคที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบทางเดินหายใจโดยตรง

สำหรับแนวทางป้องกันความเสี่ยง แนะนำให้คนไทยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้วยการดำเนินชีวิตใหม่ ทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด มีไขมันสูง พร้อมเพิ่มผักผลไม้ในมื้ออาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ควบคู่กับการปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งไม่เพียงเพื่อปกป้องตนเองจากโรค แต่ยังเสริมสร้างสุขอนามัยให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งถือเป็นวัคซีนป้องกันตนเองที่ดีที่สุด

ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีเชิงป้องกัน ‘ไทยประกันชีวิต’ ได้จัดโครงการ ‘ไทยประกันชีวิต ไลฟ์ฟิต’ เพื่อมอบความฟิตในทุกด้านของชีวิต ภายใต้แนวคิด “Circle of Wellness” 4 มิติ ได้แก่...

- Self การดูแลสุขภาพร่ายกายให้แข็งแรง

- Sense การเสริมสร้างจิตใจให้มีความสุข

- Stability การสร้างความมั่นคงทางการเงิน

- และ Spirit การสร้างคุณค่าชีวิตผ่านการให้และแบ่งปัน

นอกจากจะมอบความคุ้มครองและการดูแลตามเงื่อนไขกรมธรรม์ของโครงการฯ แล้ว บริษัทฯ ยังจัดกิจกรรมด้านสุขภาพต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถสะสมคะแนนเป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไข พร้อมรับสิทธิพิเศษหลากหลาย ถือเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์การวางแผนการดูแลชีวิตและสุขภาพที่คุ้มค่าให้กับคนไทยในยุคปัจจุบัน

บางกอกแอร์เวย์ส เจอพิษโควิด ฉุดรายได้ปี 63 วูบ 64.2 % จำนวนผู้โดยสารรวมอยู่ที่ประมาณ 1,884,603 คน ลดลงจากปีก่อน 67.8% ส่งผลทำให้ขาดทุนสุทธิถึง 5,327.8 ล้านบาท

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2563 ว่า บริษัทฯ มีรายได้รวม 10,216.3 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 64.2 ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ของธุรกิจสายการบินที่ปรับตัวลดลง 70.4% ส่วนธุรกิจสนามบิน ปรับตัวลดลง 67.6% และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง ลดลง 57.5% เนื่องจากบริษัทฯ ได้ปรับแผนการปฏิบัติการบิน ให้สอดคล้องกับมาตรการจำกัดการเดินทาง ตามนโยบายภาครัฐ และประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) รวมถึงปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารที่ลดลง จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิเท่ากับ 5,327.8 ล้านบาท โดยเป็นผลขาดทุนส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เท่ากับ 5,283.2 ล้านบาท และมีผลขาดทุนต่อหุ้นเท่ากับ 2.56 บาท

นายพุฒิพงศ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ปรับแผนการปฏิบัติการบิน ให้สอดคล้องกับมาตรการจำกัดการเดินทาง และปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร โดยได้ทยอยหยุดทำการบินในบางเส้นทางตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค.2563 จนกระทั่งประกาศหยุดทำการบินในทุกเส้นทางชั่วคราว ระหว่างวันที่ 6 เม.ย. - 14 พ.ค. 2563 และเริ่มกลับมาให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2563 เป็นต้นมา ในเส้นทางกรุงเทพฯ - สมุยเป็นเส้นทางแรก

พร้อมทั้งทยอยปฏิบัติการบินเส้นทางภายในประเทศเป็น 10 เส้นทางในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 ได้แก่ กรุงเทพฯ - สมุย, กรุงเทพฯ - เชียงใหม่, กรุงเทพฯ - ลำปาง, กรุงเทพฯ - สุโขทัย, กรุงเทพฯ - ภูเก็ต, กรุงเทพฯ - ตราด, กรุงเทพฯ - กระบี่, ภูเก็ต - สมุย, ภูเก็ต - หาดใหญ่ และภูเก็ต - อู่ตะเภา ทำให้ปี 2563 สายการบินฯ มีจำนวนผู้โดยสารรวมอยู่ที่ประมาณ 1,884,603 คน ลดลงจากปีก่อน 67.8% และมีอัตราการขนส่งผู้โดยสารรวมอยู่ที่ 62.9%

ดาราสาว ‘พิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช’ ดาราสาว พร้อมมารดาและพี่ชาย ย่องพบเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ รับทราบ 3 ข้อกล่าวหา คดีฉ้อโกงประชาชน ปมแชร์ Forex-3D แล้ว ด้านดีเอสไอ ขอให้ผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับหมายเรียกเข้าพบ ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่

ในวันนี้ (วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564) นายสรายุทธ ไชยเดช นางสรินยา ไชยเดช และนางสาวสาวิกา หรือ พิ้งค์กี้ ไชยเดช ได้เข้าพบนายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ คดีแชร์ลูกโซ่ Forex-3D ณ กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีพิเศษที่ 153/2562 โดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้แจ้งข้อกล่าวหาในความผิดร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน

กรณีดังกล่าว นายอภิรักษ์ โกฎธิ ผู้ต้องหาที่ 1 กับพวก ร่วมกันหลอกลวงโดยการโฆษณาชักชวนต่อประชาชนทั่วไปให้เข้าร่วมลงทุน ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ www.forex-3D.com และแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ค ในชื่อบัญชี “Apiruk Krub” “Apiruk Kothi” และ “Forex-3D” โดยอ้างว่าจะนำเงินไปซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่าง ๆ (Forex) โดยเสนอผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 60 - 80 ของเงินผลกำไรที่ได้จากการนำไปลงทุนเทรดค่าเงิน และประกันเงินต้นที่ร่วมลงทุนร้อยละ 100 ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิกและร่วมลงทุนกับผู้ต้องหาเป็นจำนวนมาก

ซึ่งการโฆษณาชักชวนหลอกลวงประชาชนของผู้ต้องหาที่ 1 กับพวก เป็นความเท็จ ความจริงไม่มีการนำเงินไปลงทุนซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่าง ๆ (Forex) ตามที่กล่าวอ้าง แต่มีลักษณะนำเงินจากประชาชนที่ลงทุนรายนั้นหรือรายอื่นมาหมุนเวียนจ่ายแก่ประชาชนผู้ลงทุนหรือผู้ให้กู้ยืมเงินรายอื่น เป็นเหตุให้มีผู้หลงเชื่อจำนวนมาก โดยปรากฏผู้เสียหายในสำนวน จำนวน 9,692 ราย มูลค่าความเสียหาย 1,908,113,421.92 บาท

ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า “ในวันนี้ ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้ตนมาติดตามความคืบหน้าในการสอบสวนคดี Forex-3D เนื่องจากคดีดังกล่าวมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก ประชาชนให้ความสนใจติดตามคดีดังกล่าว อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสืบเนื่องจากมีผู้เสียหายจากการถูกหลอกลวง โดยการโฆษณาชักชวนให้ร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก เดินทางเข้าร้องเรียนผ่านศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข กระทรวงยุติธรรม”

ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต กล่าวต่อว่า “ได้รับรายงานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าในห้วงนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายราย โดยในวันนี้ ได้มีการเรียก นางสาวสาวิกา หรือพิ้งค์กี้ ไชยเดช ดาราสาวที่มีชื่อเสียง นางสรินยา ไชยเดช มารดา และนายสรายุทธ ไชยเดช พี่ชาย เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนฯ ของดีเอสไอ ทั้งนี้ ทางกระทรวงยุติธรรม จะดำเนินการให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับหมายเรียกเข้าพบ และขอให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ด้วย”

แม้จะดูเป็นขนมธรรมดา ๆ สำหรับขนมข้าวโพดอบกรอบใส่ซองห่อละ 5 บาท ที่ใช้ชื่ือว่า ‘นมแท่ง’ แต่ใครจะรู้ว่าขนมดังกล่าวมีส่วนช่วยสร้างรายได้เฉียดพันล้านบาทให้กับบริษัทสายเลือดไทย ‘ไพบูลย์ โปรดักส์ จำกัด’ ได้อย่างน่าสนใจ

ขนมข้าวโพดอบกรอบ ภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า ‘นมแท่ง’ เกิดขึ้นเมื่อ 27 ปีที่แล้ว โดยมีจุดเริ่มต้นจากบริษัท ไพบูลย์ โปรดักส์ จำกัด ซึ่งมี ‘ไพบูลย์ พัฒนวานิชกิจกุล’ และ ‘ขวัญจิตร ยั่งยืน’ เป็นผู้ก่อตั้ง

เป้าหมายของทั้งสองคนในตอนนั้น คือ ต้องการช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้รับซื้อข้าวโพด แล้วนำมาแปรรูปให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรม

ความโชคดีอย่างมาก คือ สินค้าแรกของทางบริษัทอย่างขนมข้าวโพดอบกรอบ ‘นมแท่ง’ นั้นได้รับผลตอบรับที่ดีเลย

แต่ถึงกระนั้น ทางบริษัท ก็ยังได้หาช่องทางขยายการเติบโตของธุรกิจเพิ่มเติม โดยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง, เวเฟอร์, บิสกิต และคุกกี้ รวมถึงขยายตลาดออกไปยังประเทศอื่นๆ เช่น กลุ่มประเทศ CLMV, ตะวันออกกลาง, สิงคโปร์, ไต้หวัน, เกาหลี และจีน

สำหรับผลประกอบการ บริษัท ไพบูลย์ โปรดักส์ จำกัด นั้นเติบโตจนน่าสนใจ

- ปี 2560 รายได้ 520 ล้านบาท กำไร 2 ล้านบาท

- ปี 2561 รายได้ 656 ล้านบาท กำไร 4 ล้านบาท

- ปี 2562 รายได้ 942 ล้านบาท กำไร 59 ล้านบาท

อะไรที่ทำให้ขนมห่อเล็ก ๆ นี้สามารถสร้างรายได้ได้มากขนาดนั้น

ปัจจัยแรก คือ คุณภาพของสินค้า ผู้ที่จะอยู่รอดในตลาดได้ สินค้าจะต้องมีคุณภาพที่ดี สามารถทำให้ลูกค้าที่ซื้อไปแล้ว เกิดความพึงพอใจและกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง ทุกๆ การผลิตสินค้าแต่ละชนิดของบริษัท จึงต้องคัดสรรวัตถุดิบที่นำมาแปรรูปอย่างดี

อย่างกรณีของขนมข้าวโพดอบกรอบนั้น ก็ได้เลือกข้าวโพดอย่างดีนำมาแปรรูป โดยไม่ใส่สารปรุงแต่งใด ๆ

ทำให้มีรสชาติที่ดี และมีความหอมมันตามธรรมชาติ จุดนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคติดใจในคุณภาพของสินค้า และ กลับมาซื้อซ้ำ

ปัจจัยต่อมา คือ ความแตกต่าง ซึ่งในการผลิตขนม ธุรกิจประเภทนี้มีการแข่งขันกันสูง หากไม่สร้างความแตกต่างให้กับสินค้า โอกาสที่จะทำให้ธุรกิจเติบโต ก็แทบจะมองไม่เห็น

อย่างกรณี ขนมประเภทข้าวเกรียบ ทางบริษัทก็ได้สร้างความแตกต่างด้วยการทำขนมข้าวเกรียบที่มีน้ำจิ้มอยู่ในซอง และมีให้เลือกหลากหลายรสชาติ หรือในส่วนของ เวเฟอร์ ก็ถือได้ว่า เป็นเจ้าแรกๆ ที่ผสมโยเกิร์ตลงไปด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อสินค้ามีคุณภาพ ตลาดยอมรับ ลูกค้าติด ก็ย่อมมีคู่แข่งที่อยากจะผลิตสินค้าแบบเดียวกันออกมา ทางบริษัทจึงต้องคิดค้น หรือหาทางพัฒนาสินค้าของตัวเองอยู่เสมอ

หรือก็คือ ต่อให้สินค้าที่มีอยู่จะได้รับผลดีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ทางบริษัท ก็ยังได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาอยู่เสมอ เช่น การแตกไลน์การผลิตมาทำ เวเฟอร์, บิสกิต และคุกกี้

ขณะเดียวกัน ก็พยายามมองหาตลาดใหม่ๆ เพื่อขยายการเติบโต เช่น การตัดสินใจขยายธุรกิจ ออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ตะวันออกกลาง สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี และจีน

นี่คือตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่หลายคนอาจจะมองข้าม แต่ถ้าใส่ใจและให้ความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ก็พร้อมที่เปลี่ยนเงินหลักหน่วย ให้กลายเป็นเงินหลักล้านได้ เหมือนกับ ‘นมแท่ง’ ก็ได้


ที่มา: https://www.facebook.com/1387231808035873/posts/3673619242730440/

https://www.paiboonpro.com/th/

เผยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างหนัก ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวโดยรวมลดลงมากถึง 2.18 ล้านล้านบาท หรือลดลงมากถึง 72.79% เมื่อเทียบกับปีก่อน ธุรกิจที่พักหนักสุดหายวับ 5.6 แสนล้าน

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างหนัก ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวโดยรวมลดลงมากถึง 2.18 ล้านล้านบาท หรือลดลงมากถึง 72.79% เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจท่องเที่ยวทั้งหมดปรับลดลงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะธุรกิจที่พักมีรายได้ปรับลดลงมากที่สุด โดยลดลงจาก 7.71 แสนล้านบาทในปีก่อน เหลือแค่ 2.05 แสนล้านบาทเท่านั้น หรือลดลงมากถึง 5.66 แสนล้านบาท

ส่วนในปี 2564 นี้ยังมีความท้าทายว่ารายได้จะกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันการท่องเที่ยวยังไม่กลับมาฟื้นตัวได้เร็ว แม้ว่าหลายประเทศจะเริ่มฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม

ส่วนธุรกิจที่มีรายได้ปรับลดลงรองลงมา คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่วยสินค้าและของที่ระลึก มีค่าใช้จ่ายลดลงจาก 7.05 แสนล้านบาท ลดลงเหลือ 1.75 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจาก 6.48 แสนล้านบาท เหลือ 1.82 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง ลดลงจาก 3.49 แสนล้านบาท เหลือ 9.6 หมื่นล้านบาท ค่าพาหนะเดินทางในประเทศ ลดลงจาก 2.97 แสนล้านบาท เหลือ 8.4 หมื่นล้านบาท ค่าบริการท่องเที่ยว ลดลงจาก 1.55 แสนล้านบาท เหลือ 4.9 หมื่นล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ลดลงจาก 6.9 หมื่นล้านบาท เหลือ 2.3 หมื่นล้านบาท

เศรษฐกิจร้อนๆ !! ที่ 'รัฐบาล' ขอตอบนอกสภา | BizMAX EP.28

จากข่าว "ขอแจงนอกสภา !!! 'สุพัฒน์พงษ์' ร่ายยาว แจงเศรษฐกิจไทยไม่ได้แย่ คัดเน้น ๆ 8 เรื่องคาใจเศรษฐกิจไทย โต้ฝ่ายค้าน"

Link ข่าว : https://thestatestimes.com/post/2021022302 ​

จาก 8 ข้อที่คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กออกมาโต้แย้ง เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยที่ทางฝ่ายค้านออกมาพูดเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยที่กำลังล้มเหลว มาร่วมวิเคราะห์กันกับ หยก THE STATES TIMES

.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย สถิติการค้าของไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA เดือนม.ค.64 มีมูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โต 3% พบส่งออกสินค้าเกษตร มาแรง พุ่ง! 19% ตลาดอาเซียน จีน และฮ่องกง เติบโตดี ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม โต 5%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทย ในช่วงเดือนมกราคม 2564 พบว่า การค้าของไทยกับประเทศที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) 18 ประเทศ มีมูลค่า 25,571.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.31% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วน 64.55% ของการค้าไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นการส่งออกไปประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่า 12,162.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (+4.04%) คิดเป็นสัดส่วน 61.72% ของการส่งออกทั้งหมด และเป็นการนำเข้าจากประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่ารวม 13,409.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (+2.66%) คิดเป็นสัดส่วน 67.35% ของการนำเข้าทั้งหมด

นางอรมน กล่าวว่า การส่งออกสินค้าของไทยมีการเติบโตในหลายรายการ อาทิ สินค้าเกษตร (กสิกรรม ปศุสัตว์และประมง) โดยไทยส่งออกไปประเทศคู่เอฟทีเอ มูลค่า 1,288 ล้านเหรียญสหรัฐ (+19.4%) คิดเป็นสัดส่วน 72.16% ของการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยทั้งหมด ตลาดคู่เอฟทีเอที่มีการขยายตัว ได้แก่ อาเซียน (+13%) อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และเมียนมา จีน (+40%) ฮ่องกง (+24%) เกาหลีใต้ (+2%) อินเดีย (+63%) และเปรู (+768%)

นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมมีการส่งออกขยายตัวเช่นเดียวกัน อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และวงจรไฟฟ้า โดยมีการส่งออก มูลค่า 9,446.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (+5.14%) คิดเป็นสัดส่วน 59.31% ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด ตลาดคู่เอฟทีเอที่มีการขยายตัว ได้แก่ เวียดนาม (+16%) มาเลเซีย (+41%) ลาว (+4%) เมียนมา (+2%) จีน (+3%) ญี่ปุ่น (+6%) ฮ่องกง (+23%) เกาหลีใต้ (+23%) ออสเตรเลีย (+35%) นิวซีแลนด์ (+50%) และเปรู (+19%)

สำหรับสินค้าเกษตรแปรรูปของไทย แม้การส่งออกจะชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยมีมูลค่า 829.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (-5.57%) แต่การส่งออกในหลายตลาดคู่เอฟทีเอยังคงสามารถขยายตัวได้ โดยเฉพาะอาเซียน (+1.4%) อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ลาว และบรูไน ซึ่งจากเดิมในปี 2563 การส่งออกมีการหดตัวมาโดยตลอด นอกจากนี้ ฮ่องกง และชิลี มีการนำเข้าสินค้าเกษตรแปรรูปจากไทยเพิ่มขึ้น อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และเครื่องดื่ม

นางอรมน เพิ่มเติมว่า การส่งออกของไทยในเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนธันวาคม 2563 จากปัจจัยบวก อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจการค้าโลก การผ่อนคลายมาตรการปิดประเทศ มาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง และการเริ่มกระจายการฉีดวัคซีนต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในอนาคต พบว่า มีโอกาสสูงที่การส่งออกของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความพร้อมของไทยที่สามารถควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ดี ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มขยายตัว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรต้องปรับตัวและปรับการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น การควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่ปลอดภัยไร้การปนเปื้อนของเชื้อโรค และการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่ไทยได้รับการลดและยกเว้นภาษีนำเข้ากับกลุ่มประเทศคู่เอฟทีเอ เป็นต้น

ปัจจุบันการที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะมีอายุได้ยาวนานเป็นสิบปี ก็เรียกว่าเก่ง แต่ถ้าเป็นร้อยปี นี่ถือว่าหาได้ยากมาก ๆ แต่เชื่อไหมว่า ในโลกนี้มีธุรกิจที่มีอายุยาวนานถึง 1,400 ปีอยู่

และที่สำคัญยิ่งกว่า คือ บริษัทนี้ทำธุรกิจแบบเดียวกับที่ทำในอดีต มาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย

คงโงกูมิ (Kongō Gumi : 金剛組) หรือ ‘บริษัท คงโงกูมิ จำกัด’ คือ บริษัทที่ว่า...

คงโงกูมิ เป็นบริษัทรับจ้างก่อสร้างวัดและศาลเจ้า ก่อตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ปีพุทธศักราช 1121 โดยช่างไม้ชื่อ Shigemitsu Kongo จุดเริ่มต้น คือ เขาได้รับว่าจ้างจากราชสำนักให้สร้างวัดพุทธขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ซึ่งพวกเขาก็ได้สร้างวัดวัดชิเทนโนจิ ในจังหวัดโอซาก้าขึ้นมา และผลงานดังกล่าว ก็เป็นที่ชื่นชมอย่างมาก เขาจึงตัดสินใจก่อตั้ง บริษัท คงโงกูมิ เพื่อรับงานสร้างวัดอย่างจริงจัง

นับจากวันนั้น ศาสนาพุทธก็แพร่หลายในญี่ปุ่น ธุรกิจ คงโงกูมิ จึงมีงานสร้างวัด ศาลเจ้า และปราสาทต่าง ๆ เข้ามาอยู่ตลอด ด้วยความที่ผลงานเป็นที่ประจักษ์ คงโงกูมิ เลยมีงานให้ทำไม่หยุดหย่อน ยิ่งคนญี่ปุ่นมีศรัทธาแรงกล้าในพุทธศาสนามากขึ้นเท่าไร ธุรกิจของ คงโงกูมิ ก็ยิ่งเจริญเติบโตมากขึ้นเท่านั้น วัดชื่อดังหลายแห่งในญี่ปุ่นก็เป็นผลงานของพวกเขา รวมถึงปราสาทโอซาก้าที่เป็นจุดท่องเที่ยวยอดฮิตด้วย

คงโงกูมิ ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน สืบทอดมาถึง 40 รุ่น มีการคัดเลือกทายาทที่เหมาะสม มีทั้งผู้สืบทอดที่เป็นลูกชาย ลูกสาว ลูกเขย ซึ่งทั้งหมดจะต้องผ่านการพิจารณาว่ามีภาวะผู้นำที่ดี และบริษัทยังมีการปรับตัวในยุควิกฤต เช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนไม่สนใจจะสร้างวัด บริษัทก็หันมาต่อหีบศพขายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด พอเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ พวกเขาก็เริ่มสร้างวัดด้วยคอนกรีตแทนไม้ โดยยังคงความงามของศิลปะดั้งเดิมไว้อยู่

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมบริษัทรับสร้างวัด จึงอยู่มาได้นานขนาดนี้?

มีการวิเคราะห์กันว่ามาจาก 3 ปัจจัยใหญ่ ๆ ซึ่งประกอบด้วย...

1.) ผู้นำที่ดี

ความน่าสนใจ ก็คือ การสืบทอดกิจการกันในครอบครัว ที่ไม่ได้ยึดติดกับ ‘ลูกคนโต’ มาสืบทอดงานตามปกติเหมือนธุรกิจอื่น ๆ แต่บริษัท คงโงกูมิ จะคัดเลือกผู้สืบทอดจากทายาทที่เหมาะสม โดยไม่สนทั้งอายุและเพศ ทำให้ผู้นำของบริษัทสามารถเป็นได้ทั้งลูกชาย ลูกสาว หรือแม้แต่ลูกเขย ที่แต่งเข้ามาก็ได้ ขอแค่พวกเขารักในงาน อยากสืบทอดกิจการ และมีความสามารถ ซึ่งนั่นทำให้ผู้นำบริษัท มักมีภาวะผู้นำที่ดีอยู่เสมอ

2.) สินค้ามีความต้องการอยู่ตลอดเวลา

บริษัท คงโงกูมิ ทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนา ที่มีผู้คนศรัทธานับล้านคน ทำให้ตลอดพันปีที่ผ่านมา ความศรัทธานั้นก็ยังคงอยู่ พวกเขาจึงมีงานสร้างวัดอยู่เสมอ ๆ พอวัดใหม่ถูกสร้าง วัดเก่าก็ต้องการการปรับปรุง แล้วงบก็จะมาจากทั้งการว่าจ้างของเอกชน การระดมทุนของชุมชน หรือกระทั่งรัฐบาลสนับสนุนเงิน ทำให้มีเงินเข้ามาอยู่ตลอด ฉะนั้นลองคิดดูว่าใครที่ก่อสร้างวัด หรือปรับปรุงวัด ก็ต้องเรียกหา ‘คงโงกูมิ’ เป็นลำดับแรกๆ จนเรียกว่าเป็นเจ้าตลาด ในตลาดที่มีลูกค้าคอยใช้บริการอยู่ตลอด ก็ไม่ผิดนัก

3.) ความยืดหยุ่นของบริษัท

บริษัท คงโงกูมิ นับว่าเป็นบริษัทที่ผ่านสถานการณ์ที่เลวร้ายมามากที่สุดบริษัทหนึ่งเลยก็ว่าได้ ดังนั้นพวกเขาจึงมีความสามารถในการปรับตัวสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น…

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่พวกเขาแทบไม่มีงานก่อสร้างวัดเลย เพราะนอกจากผู้คนจะยากลำบาก งบทุกอย่างยังต้องทุ่มไปที่สงครามด้วย แต่ผู้นำบริษัทในตอนนั้นก็ไม่อยู่นิ่ง เมื่อสงครามทำให้คนตายมหาศาล บริษัทก็ผันตัวไปผลิตโลงศพ เพื่อพยุงกิจการไว้

แถมหลังสงคราม พวกเขาก็กลับมารับหน้าที่บูรณะวัดที่ถูกทำลายจากช่วงสงครามได้อีกครั้ง

พอในยุคหลัง บริษัทยังเลือกที่จะเปลี่ยนจากการสร้างวัดด้วยไม้ ไปเป็นคอนกรีต เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ลดความเสี่ยงไฟไหม้ และทำให้บริการพวกเขาน่าสนใจกว่าคู่แข่งอีก

อย่างไรก็ตาม แม้ คงโงกูมิ จะมีชื่อเสียงทั้งเรื่องความมั่นคง และการปรับตัวแค่ไหน แต่พวกเขาก็ต้องพบปัญหาใหญ่!!

ในช่วงยุคปี 2523 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มเฟื่องฟู บริษัทแห่งนี้ จึงเริ่มหันมาจับงานด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และเพื่อขยายกิจการ ทางบริษัท จึงตัดสินใจได้กู้เงินก้อนใหญ่มาเพื่อลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ

ทว่าพวกเขากู้เงินมาลงทุน ในช่วงเวลาที่ไม่ค่อยจะเหมาะเท่าไร และอย่างที่ทราบกันดีว่า เหตุการณ์ฟองสบู่แตกของญี่ปุ่นช่วงปี 2532 เป็นความบอบช้ำเหมือนต้มยำกุ้งที่คนไทยต้องเผชิญ ทำให้หลายกิจการต้องปิดตัวลงไป และนั่นก็ทำให้ คงโงกูมิ ต้องประสบกับภาวะที่ลำบาก

แม้ คงโงกูมิ จะไม่ถึงขั้นต้องปิดบริษัทในตอนนั้น แต่ปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้น ดันเข้ามาพร้อม ‘การถดถอยของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น’ ทำให้รายได้ของบริษัทเริ่มลดลงอย่างน่าใจหาย เนื่องจาก 80% ของรายได้บริษัทแห่งนี้ ล้วนแต่มาจากการสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมวัดแทบทั้งสิ้น

บริษัท คงโงกูมิ ใช้เวลาล้มลุกคลุกคลานกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยมีรายได้เฉลี่ยปีละกว่า 2,200 ล้านบาท แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็กลับมีหนี้มหาศาล เกินกว่าที่จะจ่ายได้

จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 เมื่อเห็นท่าว่าจะไปต่อไม่ไหว คงโงกูมิ จึงตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และขายให้กับ ‘บริษัททากามัตสึ’ ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ไป

และนั่นก็ทำให้ ธุรกิจของตระกูลคงโง กับคงโงกูมิ ต้องยุติธุรกิจลงที่อายุ 1,428 ปี

แม้บทบาทของคนในตระกูลจะจบลง แต่อย่างไรก็ตาม คงโงกูมิ ก็เกิดใหม่ภายใต้บริษัททากามัตสึ ที่มีความเคารพในเกียรติยศของบริษัทที่มีอายุมากที่สุดในญี่ปุ่น ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าแบรนด์ คงโงกูมิ ยังขายต่อไปได้

โดยทางบริษัททากามัตสึอนุญาต จึงคงชื่อ คงโงกูมิ ไว้ และไม่มีการยุบหรือควบรวมเข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน และยังให้คนในตระกูลคงโงสามารถทำงานได้ภายใต้ชื่อของบริษัทคงโงกูมิ สืบมาจนถึงทุกวันนี้...


ที่มา

https://www.facebook.com/331394447302302/posts/1166482313793507/

https://www.facebook.com/powersmethai/photos/a.1125773347499569/2573378549405701/?type=3&theater

ยอดขายของร้านหนังสือในจีน ยอดเติบโตก้าวกระโดดช่วงหยุดยาวตรุษจีนที่ผ่านมา เฉพาะที่เซี่ยงไฮ้ ทะลุ 8.5 ล้านหยวน ตอกย้ำ ‘ร้านหนังสือไม่มีวันตายในจีน’

ธุรกิจหนังสือและร้านหนังสือในจีน ยังคงเป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่โดยส่วนใหญ่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์โดน Disrupt ด้วยสื่อและหนังสือแบบดิจิทัล

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เพราะ?

เนื่องจากคนจีนเองถูกปลูกฝังให้รักการอ่านและคุ้นชินกับการอ่านหนังสือเป็นเล่มมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงการปรับตัวของร้านหนังสือ ที่ไม่ได้เป็นแค่ร้านหนังสือ แต่เป็นเหมือนสถานที่พักผ่อน พบปะ และสามารถท่องเที่ยวได้ด้วย เห็นได้จากคนจีน โดยเฉพาะคนที่มีลูก จะพาครอบครัวมาเที่ยวร้านหนังสือในช่วงวันหยุด

จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจเลบว่า ทำไมช่วงวันหยุดยาวเทศกาลตรุษจีน 12 ก.พ.64 ที่ผ่านมา ยอดขายหนังสือในร้านหนังสือจีน เฉพาะที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ถึงทะลุ 8.5 ล้านหยวน หรือมากกว่า 2 เท่าของยอดขายหนังสือแบบออนไลน์

ยิ่งไปกว่านั้นยอดขายที่มากมาย ก็ยังเกิดขึ้นในช่วงที่ร้านหนังสือต่างๆ จำกัดจำนวนคนเข้าร้าน โดยลดลงกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนคนที่รับได้ เนื่องจากต้องป้องกัน COVID-19 แต่ก็ยังมีคนจีนหลั่งไหลมาซื้อหนังสืออ่านกัน

สำหรับหนังสือที่เป็นนิยมมากที่สุดในกลุ่มชาวเซี่ยงไฮ้ ได้แก่

- หนังสือสายสังคมวิทยา

- หนังสือเด็ก

- หนังสือแนววัฒนธรรม

- หนังสือนิยายวิทยาศาสตร์


ที่มา: อ้ายจงเล่าเรื่องจาก China Daily

https://www.facebook.com/348166825314887/posts/2160116784119873/

อดีตเลขาฯ อังก์ถัด ‘ศุภชัย พานิชภักดิ์’ ชี้ รัฐบาลกู้หนี้สู้วิกฤติโควิด เต็มเพดาน 60% ของจีดีพี ยังไม่น่ากังวล เหตุรัฐบาลทั่วโลกกู้เหมือนกันหมด ระบุ สัดส่วนยังต่ำกว่าหลายประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังก์ถัด) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) เปิดเผยในงาน TJA Talk เนื่องในโอกาสครบรอบ 66 ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรื่อง มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้จะดีขึ้นเรื่อย ๆ แบบเรียบ ๆ เพราะหลายประเทศยังต่อสู้กับวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะเป็นเศรษฐกิจในรูปแบบที่เรียกว่าเซอร์ไววัล หรือเศรษฐกิจที่จำเป็นจะต้องหาทางบริหารให้อยู่รอด

นายศุภชัย กล่าวว่า การทำเศรษฐกิจให้อยู่รอดแม้ว่าจะทำให้เกิดปัญหาหนี้แต่ก็มีความจำเป็น เพราะทางเลือกในการแก้ปัญหามีไม่มาก ซึ่งการกู้เงินมาใช้ต่อสู้กับวิกฤต ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลทั่วโลกก็โดนโจมตีเหมือนกันหมดว่าเป็นรัฐบาลนักกู้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่ากู้มากหรือกู้น้อย และการกู้มาต้องใช้ในการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ และใช้ในสิ่งที่เหมาะสม ล่าสุดทั้งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต่างก็เปิดช่องให้หลายประเทศกู้เงินในเงื่อนไขพิเศษทั้งหมด เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนทั่วโลก

ทั้งนี้การกู้เงินมาสู้กับวิกฤตครั้งนี้ มองว่า แม้จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเข้าใกล้กรอบความยั่งยืนทางการเงินการคลังที่กำหนดเอาไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี แต่ก็ไม่อยากให้กังวลใจมาก เพราะสัดส่วนยังต่ำกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนหนี้สูงกว่านี้มาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top