Thursday, 2 May 2024
EA

‘EA’ เสนอขาย ‘กรีนบอนด์’ 3 รุ่น อันดับเครดิต A- ชูดอกเบี้ย 3.20 - 4.10% ต่อปี ผ่าน 7 สถาบันการเงินชั้นนำ

(19 ก.ย. 66) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เสนอขายหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน (Public Offering) จำนวน 3 รุ่น ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่ง โดยหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับเครดิตจากทริสเรทติ้ง ที่ระดับ A- สะท้อนถึงกระแสเงินสดที่แข็งแรงจากธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ และ ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นการเสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป

โดยหุ้นกู้เสนอขายครั้งนี้ มีจำนวน 3 รุ่น และกำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน (ตลอดอายุหุ้นกู้) ได้แก่ 
1.รุ่นอายุ 1 ปี อัตราผลตอบแทน 3.20% ต่อปี
2.รุ่นอายุ 3 ปี อัตราผลตอบแทน 3.70% ต่อปี 
3.รุ่นอายุ 5 ปี อัตราผลตอบแทน 4.10% ต่อปี

เสนอขายผ่านสถาบันการเงิน 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ และ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย)

สำหรับหุ้นกู้ EA มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ ‘A-’ เมื่อดูระดับความเสี่ยงที่มี 8 ระดับ (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 และสูงสุดที่ระดับ 8) กรีนบอนด์ของ EA รุ่นอายุ 1 ปี มีความเสี่ยงเพียงระดับ 2 เท่านั้น ส่วนรุ่นอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 3 ในขณะที่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ สูงกว่าผลตอบแทนจากการฝากเงินทั่ว ๆ ไปอย่างชัดเจน

EA เป็น ‘ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด’ เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากว่า 10 ปี ด้วยผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 16,860.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,589.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.16 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ ธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน รวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 

EA ขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘MISSION NO EMISSION’ โดยมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไออนที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์กำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1 GWh และกำลังขยายกำลังการผลิตที่ 4 GWh ในช่วงไตรมาสที่ 2/2567 อีกทั้งมีโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปี โดยที่ผ่านมา EA ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น รถโดยสารไฟฟ้าหรือ E-Bus ที่วิ่งให้บริการในหลากหลายเส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถบรรทุกไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ตลอดจนมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 490 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาค

EA ได้รับรางวัลที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานที่ดีหลายรางวัล เช่น รางวัลด้านองค์กรยอดเยี่ยม ได้แก่ รางวัล Most Innovative Energy Solution Provider Thailand 2021 โดย World Business Outlook, รางวัล Outstanding Company Performance Awards 2022 ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงกว่า 100,000 ล้านบาท โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร 

การที่ EA ออกหุ้นกู้เป็น ‘กรีนบอนด์’ ดังกล่าว สามารถบ่งบอกได้ว่า ผู้ลงทุนจะได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากธุรกิจของ EA เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อโลกที่ยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้รับการประเมินเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืน MSCI ESG Ratings 2023 ระดับ A โดย MSCI และล่าสุดยังได้รับรางวัล Corporate Excellence Award ในเวทีระดับสากล Asia Pacific Enterprise Award s จัดโดย Enterprise Asia Enterprise Asia ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรางวัลที่สะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการองค์กรที่ดีเลิศ มีการเติบโตที่มั่นคงแข็งแกร่งและยั่งยืน 

นอกจากนี้ EA ยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยจะเห็นได้จากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับ เช่น รางวัลประเภทนวัตกรรมยอดเยี่ยมด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ รางวัล Emerging Technology of the Year : The 2020 Global Energy Awards ผลงานเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry โดย : S&P Global Platts, รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งปี ผลงานเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รางวัล Best Innovative Company Awards 2022 ผลงานนวัตกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน AMITA Technology (Thailand) โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร 

ผู้ลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านสถาบันการเงินทั้ง 7 แห่ง ดังนี้

-ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยกเว้นสาขาไมโคร โทร. 1333 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Bualuang mBanking

-ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) * หรือ โทร. 02-777-6784 (โดยบุคคลธรรมดาสามารถจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY ได้อีก 1 ช่องทาง)

-ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-626-7777 (โดยบุคคลธรรมดาสามารถจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชัน - CIMB Thai Digital Banking ได้อีก 1 ช่องทาง)

-บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-658-5050

-บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02-846-8675

-บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-820-0410

-บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โทร.02-009-8351-59

*ซึ่งรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

‘EA’ เอาใจนักลงทุนสายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ออกกรีนบอนด์ 3 รุ่น ชูดอกเบี้ย 3.20% - 4.10% ต่อปี

‘หุ้นกู้’ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนสำหรับคนที่อยากได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ รับความผันผวนได้น้อย และต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

แต่คงดีไม่น้อยหากว่า การลงทุนในหุ้นกู้แล้ว ได้ทั้งดอกเบี้ย และยังได้ดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน

ปัจจุบันมี ‘หุ้นกู้’ ที่เรียกว่า เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ กรีนบอนด์ (Green Bond) โดยเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้นั้น บริษัทหรือองค์กรที่ออกหุ้นกู้ จะนำไปใช้ในการลงทุนที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการพลังงานสะอาด การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการขนส่ง เป็นต้น

ล่าสุด บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม กำลังจะเสนอขายหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน (Public Offering) ซึ่งเป็นหุ้นกู้กรีนบอนด์ จำนวน 3 รุ่น 

1.รุ่นอายุ 1 ปี อัตราผลตอบแทน 3.20% ต่อปี
2.รุ่นอายุ 3 ปี อัตราผลตอบแทน 3.70% ต่อปี 
3.รุ่นอายุ 5 ปี อัตราผลตอบแทน 4.10% ต่อปี

โดยหุ้นกู้ทั้ง 3 รุ่น กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน (ตลอดอายุหุ้นกู้)

ทั้งนี้ จากการประเมินความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ EA ปัจจุบันอยู่ในระดับ ‘A-’ ซึ่งหมายความว่า เมื่อดูระดับความเสี่ยงที่มี 8 ระดับ (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 และสูงสุดที่ระดับ 8) กรีนบอนด์ของ EA รุ่นอายุ 1 ปี มีความเสี่ยงเพียงระดับ 2 เท่านั้น ส่วนรุ่นอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 3 ในขณะที่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ สูงกว่าผลตอบแทนจากการฝากเงินทั่ว ๆ ไปอย่างชัดเจน

ไม่เพียงเท่านั้น EA ยังเป็น ‘ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด’ ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘MISSION NO EMISSION’ และได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากว่า 10 ปี มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 16,860.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,589.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.16 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจใหม่ เป็น New S-Curve อย่าง รถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ ธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน รวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

สำหรับเงินที่ได้จากการออกกรีนบอน์ในครั้งนี้ ทาง EA เตรียมจะนำไปขยายธุรกิจ ที่กำลังเติบโต และเป็นธุรกิจแห่งอนาคตอย่างแท้จริง โดยมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไออนที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์กำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1 GWh และกำลังขยายกำลังการผลิตที่ 4 GWh ในช่วงไตรมาสที่ 2/2567

อีกทั้งมีโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปี โดยที่ผ่านมา EA ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น รถโดยสารไฟฟ้าหรือ E-Bus ที่วิ่งให้บริการในหลากหลายเส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถบรรทุกไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ตลอดจนมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 490 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาค

แน่นอนว่าการที่ EA ออกหุ้นกู้ ‘กรีนบอนด์’ ในครั้งนี้นั้น มีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินเพื่อการลงทุนที่ชัดเจน และ ผู้ลงทุนจะได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากธุรกิจของ EA เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อโลกที่ยั่งยืน ไม่จะเป็นธุรกิจเดิมอย่าง ไบโอดีเซล โรงฟ้าพลังงานลม และพลังแสงอาทิตย์ หรือ ธุรกิจใหม่ด้าน EV

สำหรับหุ้นกู้กรีนบอนด์ ทั้ง 3 รุ่น จะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2566 นี้ โดยเสนอขายผ่านสถาบันการเงิน 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ และ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย)

‘EA’ คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับดีเด่น ปี 66 สะท้อนองค์กรส่งเสริม-มุ่งเน้นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน

เมื่อไม่นานมานี้ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เข้ารับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับดีเด่น (รางวัลระดับสูงสุด) ประจำปี 2566 (Human Rights Awards 2023) ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ตอกย้ำความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร ด้วยนโยบายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในทุกระดับตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยได้รับเกียรติจาก พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานมอบรางวัล โดยมี นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้เข้ารับมอบรางวัล จัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด ให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและความยั่งยืน ภายใต้นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) โดยนำนวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจบนพื้นฐานของธรรมาภิบาล สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงาน ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้ ผู้ถือหุ้น ผู้ร่วมค้า ตลอดจนชุมชนและสังคม ซึ่งถือเป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการเติบโตของ EA อย่างต่อเนื่อง

รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับดีเด่น นับเป็นรางวัลสูงสุดระดับประเทศ สะท้อนความสำเร็จในเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของ EA ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลอย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักปรัชญาองค์กร ‘พลังงานบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ที่มีพลัง’ โดยมีเป้าหมายมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม ให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่เทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้ว 

EA ดำเนินธุรกิจ ‘Green Product’ ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, ธุรกิจแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน, ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และสถานีชาร์จ EA Anywhere ซึ่งขับเคลื่อนธุรกิจโดยสร้างคุณค่าร่วมใน 3 แนวทางหลัก ดังนี้

แนวทางที่ 1 สนับสนุนประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions โดย EA มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2565 พร้อมพัฒนานวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีโครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตรถโดยสารประจำทาง EV เป็นโครงการแรกของทวีปเอเชียที่มีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต

แนวทางที่ 2 สร้างโอกาส-ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยกิจการเพื่อสังคม อาทิ การออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าที่เอื้อเฟื้อต่อกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้พิการที่ใช้วีลแชร์, ที่นั่งสำหรับสตรีมีครรภ์ เด็ก และคนชรา นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการให้แก่ชุมชน เช่น โครงการโรงเรียนวัว และโครงการ EASE Organic ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

แนวทางที่ 3  เคารพความหลากหลายอย่างเสมอภาค มีการพัฒนาพนักงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ Work from Anywhere พร้อมสร้างคุณค่าร่วมผ่านโครงการ Re-employment Program การรับผู้สูงอายุเข้าร่วมทำงานเพื่อแบ่งปันและแชร์ประสบการณ์

“รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลดีเด่น ที่สำคัญต้องขอบคุณพนักงานทุกคนที่ร่วมมือกันผลักดันนโยบายขององค์กร ซึ่งถือเป็นความท้าทายและสร้างโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าร่วมกันด้านสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน” นายอมร กล่าวทิ้งท้าย

‘EA’ ส่งมอบชุดแบตเตอรีลิเทียมไอออน ‘อมิตา เทคโนโลยี’ ให้ กทม. หนุนพัฒนารถสันดาปสู่รถไฟฟ้าดัดแปลง หวังแก้ปัญหาฝุ่น-มลภาวะ

บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด เดินหน้าส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ได้ส่งมอบชุดแบตเตอรีลิเทียมไอออน ใช้สำหรับดัดแปลงรถสันดาปเป็นรถไฟฟ้า (EV Conversion) จากนวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ‘อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย)’ โดยมี นางสาวอำภา นรนาถตระกูล ผู้อำนวยการสำนักการคลัง เป็นผู้แทนผู้บริหารกรุงเทพมหานครรับมอบ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

สำหรับโครงการรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงต้นแบบ เป็นความร่วมมือระหว่าง ‘กรุงเทพมหานคร’ กับ ‘สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ’ (สสส.) มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย ตามโครงการสานพลังขับเคลื่อนเคานต์ดาวน์ PM2.5 เพิ่มสุขภาวะผู้คนในพื้นที่ กทม. ซึ่งมุ่งแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ

โดยหนึ่งในแผนงาน คือ การนำรถยนต์สันดาป มาทำการดัดแปลงเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยมลพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เพื่อทำการศึกษาประโยชน์จากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ต้นทุนการดำเนินการ ความคุ้มค่า ความปลอดภัยในการใช้งาน และความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนรถยนต์ราชการของกรุงเทพมหานครเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในการนี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 30 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักในการจัดทำรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่มีมูลค่าสูง

โดยการดัดแปลงนั้น กทม. ร่วมกับศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการดำเนินการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ

คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จากนั้นจะมีการจัดทำชุดความรู้เกี่ยวกับการดัดแปลง

การใช้งาน และการบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงจัดทำหลักสูตรการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าเพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไปผ่านโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครต่อไป

‘ศาลปกครองกลาง’ สั่งระงับซื้อไฟฟ้าพลังงานลม 1,500 MW หลังบริษัทย่อยกลุ่ม EA ร้องคำสั่ง กกพ. ไม่โปร่งใส-ยุติธรรม

(16 ต.ค. 66) ศาลปกครองมีคำสั่งระงับรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ในกลุ่มพลังงานลม ขนาด 1,500 เมกะวัตต์ เป็นการชั่วคราว หลังจากบริษัทย่อยของ EA ร้อง กกพ. ออกคำสั่งโดยอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่โปร่งใส และยุติธรรม  

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 บริษัท วินด์ ขอนแก่น 2 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA ในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ร้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เกี่ยวกับ การออกคำสั่งโดยอาจไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ไม่โปร่งใส และยุติธรรม ต่อศาลปกครองกลาง

โดยสาระสำคัญที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทางการปกครองไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ซึ่งศาลได้แถลงไว้ ดังนี้

“ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังไม่ได้แจ้งเหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้แก่ผู้ฟ้องคดีทราบ โดยเฉพาะเกณฑ์การประเมินหรือการกำหนดคะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคด้านต่าง ๆ ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าตามระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2”

“ข้อเท็จจริงไม่มีการประกาศหรือกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินคะแนนความพร้อมทางเทคนิคด้านต่าง ๆ ให้ผู้อื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบแต่อย่างใด อันทำให้เป็นการใช้ดุลพินิจของคณะอนุกรรมการคัดเลือกโดยแท้ซึ่งจะทำให้ขาดความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้า”

“ผู้ฟ้องคดีเองได้ขอทราบคะแนนการประเมินของคณะอนุกรรมการก็ไม่ได้รับการชี้แจงหรือ แจ้งผลใด จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงมีปัญหาว่าการพิจารณาและการประเมินให้น้ำหนักคะแนนของคณะอนุกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นการไม่ดำเนินการตามรูปแบบ ขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ตามที่หลักเกณฑ์กำหนดกระบวนการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้า”

“เมื่อคณะอนุกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กำหนดหลักเกณฑ์การให้น้ำหนักคะแนนความพร้อมทางเทคนิค แต่ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงอาจมีการใช้ดุลพินิจ ตามอำเภอใจ โดยปราศจากหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและตรวจสอบได้”

“ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ก็ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาประเมินคะแนนความพร้อมทางเทคนิคในแต่ละด้านและยังให้คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวเป็นผู้พิจารณา คัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อเสนอความเห็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 พิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย อันมีสภาพร้ายแรงอันอาจจะทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางอีกด้วย”

จากกรณีดังกล่าว จึงทำให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งทุเลาการบังคับมติของ กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 17/2566 (ครั้งที่ 845) เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ที่พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจำนวน 175 ราย เฉพาะในส่วนที่ไม่มีรายชื่อผู้ขอฟ้องคดีและทุเลาการบังคับตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่องรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี พ.ศ. 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 5 เมษายน 2566 สำหรับพลังงานลมจำนวน 22 ราย ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นอย่างอื่นเนื่องจากการดำเนินการตามประกาศดังกล่าว ในเบื้องต้นน่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับ ความชอบด้วยกฎหมาย

‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ซีอีโอ EA คว้ารางวัล ‘บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023’ เชิดชูการริเริ่ม-ยกระดับธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยนวัตกรรมที่โดดเด่น

เมื่อไม่นานมานี้ นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) รับโล่เชิดชูเกียรติคุณ ‘บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023’ (QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2023) สาขาภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ในฐานะเป็นบุคคลตัวอย่างที่มุ่งมั่นทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม โดยเป็นผู้ริเริ่มและยกระดับธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่น ด้านพัฒนากลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, ธุรกิจแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน, ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และสถานีชาร์จ EA Anywhere สู่การสร้างโครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตรถโดยสาร EV ระหว่างไทยกับสมาพันธ์รัฐสวิส โครงการแรกในโลก พร้อมจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งต่อให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาอย่างต่อเนื่อง กว่า 12,800 คน ใน 280 หน่วยงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี ประธานในพิธีมอบโล่รางวัลประกาศเกียรติยศ ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) เป็นองค์กรเพื่อการกุศลสาธารณะ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมยกย่องบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ควรค่าแก่การส่งเสริมเพื่อประกาศเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ มาอย่างต่อเนื่องกว่า 15 ปี

‘เปิด 3 ประเด็น’ ศาล ปค.เพชรบุรี เบรกประกาศ ‘กกพ.’ รับซื้อไฟฟ้าพลังงานลม หลัง บ.ย่อย ‘EA’ ค้าน เกณฑ์คัดเลือกไม่โปร่งใส หวั่นทำชาติเสียหายยาว 25 ปี

(21 ต.ค.66) สืบเนื่องจากกรณีศาลปกครองเพชรบุรี มีคำสั่งทุเลาโครงการเสนอขายไฟฟ้าของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี พ.ศ. 2565-2573 ของ กกพ. หลังจาก 'เทพสถิต วินด์ฟาร์ม' บริษัทย่อย EA ยื่นเรื่องฟ้อง กกพ.ออกคำสั่งโดยอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความโปร่งใส และยุติธรรม เมื่อวันที่ 10 ต.ค.66 ที่ผ่านมา พร้อมเรียกร้องให้ กกพ.ทบทวนหลักเกณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความชัดเจนในการกำหนดคุณสมบัติ โดยระบุไม่ต้องรีบทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามกำหนดภายในเดือน ต.ค.นี้ หวั่นจะเป็นเหตุให้ประเทศชาติเสียประโยชน์จากการรับซื้อไฟฟ้านั้น

ล่าสุด จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย (ไม่ออกนาม) เผยถึง 3 ประเด็นที่ทำให้ศาลมีคำสั่งทุเลาฯ ซึ่งคาดน่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้...

1. การดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่องประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับพลังงานลม พ.ศ.2565 ในเบื้องต้น น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย

2. การดำเนินการเพื่อคัดเลือกผู้เข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ดำเนินการตามประกาศดังกล่าวที่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย จากการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฯ จึงทำให้บริษัทฯ หรือผู้ฟ้องคดีตกเป็นผู้ไม่ผ่านการพิจารณาอุทธรณ์ความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ ตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน (Pass/Fail Basis) ตามประกาศของสำนักงาน กกพ. ลงวันที่ 10 มีนาคม 2566

และ 3. สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การคัดเลือกดังกล่าวของ กกพ. ไม่ได้มีการประกาศเกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การให้คะแนนเทคนิคขั้นต่ำผ่านหรือไม่ผ่าน (Pass/Fail Basis) หรือเกณฑ์คะแนนคุณภาพ การให้น้ำหนักคะแนนมาก-น้อย ที่ใช้ในการคัดเลือก จึงอาจทำให้กระบวนการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าไม่มีความโปร่งใสและยุติธรรม จะเป็นเหตุให้ประเทศชาติเสียประโยชน์จากการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวได้และจะผูกพันไปตลอดอายุสัญญาขายไฟฟ้า โดยไม่อาจจะแก้ไขอย่างใดได้อีกตลอดระยะเวลา 25 ปี อันเป็นความเสียหายที่มิอาจเยียวยาแก้ไขได้ในภายหลัง

ทดลองวิ่ง ‘หัวรถจักรไฟฟ้าจาก EA’ สู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แบตเตอรี่ 4.1 MWh - วิ่งฉิวกว่า 300 กม. - ชาร์จเร็วเพียง 1 ชม.

ถือเป็นก้าวสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่ระบบขนส่งทางรางของไทยจะได้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ พร้อมมีความมั่นคงทางด้านพลังงาน ภายใต้บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA และ CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ได้ร่วมกันพัฒนา ‘หัวรถจักรไฟฟ้า’ (EV) หรือ ‘MINE Locomotive’ 

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ ได้รับโอกาสจากทางกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และภาควิชาการ ร่วมผลักดันนโยบาย EV on Train โดยได้ทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ไปเมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา 

ความพิเศษของหัวรถจักรไฟฟ้า (EV) หรือ ‘MINE Locomotive’ พร้อมตู้แบตเตอรี่แยก (Power Car) เพื่อเพิ่มระยะทางการวิ่ง รวมแบตเตอรี่ขนาด 4.1 MWh สามารถชาร์จเต็มภายใน 1 ชั่วโมง ออกแบบตามมาตรฐานการรถไฟไทยเพื่อการใช้งานหลากหลาย ทั้งการสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) เข้าชานชาลาสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อลดมลพิษในอาคารผู้โดยสารและสามารถลากขบวนสินค้า (Cargo train) จาก ICD ลาดกระบังถึงแหลมฉบัง และขบวนโดยสาร (Passenger Train) ในเขตเมืองและระหว่างจังหวัด ด้วยความเร็วสูงสุด (Max Operating Speed) 120 km/h พร้อม Regenerative Braking ที่สามารถชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จากการเบรก โดยจากการทดสอบประเมินว่าสามารถวิ่งได้ระยะกว่า 300 กิโลเมตร ตามแต่การใช้งาน ซึ่งจะประหยัดต้นทุนพลังงานได้ถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ลงทุนต่ำกว่าระบบไฟฟ้าเหนือหัวกว่าครึ่งและสามารถขยายได้ทั้งประเทศ

นอกจากนี้ EA ได้ออกแบบพัฒนานวัตกรรมระบบชาร์จ Ultra Fast Charge ในเวลา 1 ชม. ในระยะแรก และ Battery Swapping Station เพื่อการสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในเวลาไม่เกิน 10 นาที ลดเวลาการรอชาร์จ และนำมาขยายผลใช้งานในระบบขนส่งได้จริง สามารถขยายผล ยกระดับการขนส่งโดยสารเมืองรอง สามารถรองรับการใช้งานทุกระดับ และนำไปพัฒนาระบบ Light Rail Transit (LRT) สำหรับขนส่งตัวเมือง

“นับเป็นโอกาสสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์การคมนาคมทางราง ที่จะขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานและการคมนาคมของประเทศ” 

ทั้งนี้ทาง EA เล็งเห็นว่า Electritication ที่เป็นเทรนด์โลกในการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานฟอสซิลไปสู่ไฟฟ้า นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศไทยที่เอื้อให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นของคนไทยที่ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างก้าวกระโดด 

แน่นอนว่าหัวรถจักรไฟฟ้า (MINE Locomotive) จะกลายเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะช่วยสร้างอุตสาหกรรมและมูลค่าให้กับประเทศไทยบนพื้นฐานความยั่งยืน เพราะเป็นเทคโนโลยี Zero Emission ไม่ก่อให้เกิด PM2.5 และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลด Carbon footprint ที่เป็นพันธกิจของประเทศไทยในเวทีโลก นับเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งสำคัญนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19-20

นอกจากหัวรถจักรไฟฟ้า (MINE Locomotive) แล้ว EA ยังมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ ‘Green Product’ ยกระดับการขนส่งด้วยยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้แก่ รถโดยสารไฟฟ้า (MINE Bus) รถบรรทุกไฟฟ้า (MINE Truck) หัวรถลากไฟฟ้า(MINE Tractor) รถกระบะไฟฟ้า (MINE MT30) เรือโดยสารไฟฟ้า (MINE Smart Ferry) เพื่อตอบโจทย์การคมนาคมด้าน ‘รถ-เรือ-ราง’ และจะกลายเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะช่วยสร้างอุตสาหกรรมให้กับประเทศไทยบนพื้นฐานความยั่งยืนให้เดินหน้าพร้อมสร้างความสมดุล ในการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของภาคธุรกิจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต (New S-curves) เพื่อพัฒนาประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามนโยบายภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy)

ก็หวังว่าคนไทยจะได้ใช้บริการ ‘รถ-เรือ-ราง’ ไร้มลพิษแบบครอบคลุมทั้งระบบในเร็ววัน

‘EA’ จัดโชว์นวัตกรรมฝีมือคนไทย ในงาน 4th iTIC FORUM 2023 ชู ‘รถโดยสารไฟฟ้า-เรือไฟฟ้า’ หนุนการขนส่งสาธารณะแบบไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำพลังงานสะอาด หนุนมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (iTIC) ร่วมจัดแสดงผลงานและให้การต้อนรับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในงาน ‘4th iTIC FORUM 2023: Power of Connectivity and Smart Mobility’ พร้อมเปิดประสบการณ์ใหม่การเดินทางสาธารณะด้วยไทยสมายล์บัส และ ไทยสมายล์โบ้ท ที่ช่วยขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านคมนาคม ด้วยฝีมือคนไทย บริการด้วยใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม 

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย ร่วมให้การต้อนรับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในโอกาสเยี่ยมชมการจัดแสดงผลงานของนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ระบบชาร์จ แบบ ‘EV Smart Building ภายใต้แนวคิด EA’s Electric Public Transportation: Solutions for Smart Cities’ ในงาน ‘4th iTIC FORUM 2023: Power of Connectivity and Smart Mobility’ ซึ่งงานดังกล่าวได้จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการเชื่อมต่อการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Connectivity and Smart Mobility) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนยกระดับการพัฒนาระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะในประเทศไทย พร้อมระดมพลังความร่วมมือและขับเคลื่อนข้อมูลในการแก้ปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุได้อย่างตรงจุด

นอกจากนี้ นายสมโภชน์ อาหุนัย ยังได้ร่วมบรรยายพิเศษ ภายใต้แนวคิด ศักยภาพของเอกชนไทยในการขับเคลื่อนสมาร์ทโลจิสติกส์ รถ-เรือ-ราง ‘The Potential of Thai Private Sector in Driving Smart Logistics’ ที่จะมีส่วนในการส่งเสริมระบบขนส่งของไทยให้มีความทันสมัย สะดวกสบาย ด้วยยานยนต์ไฟฟ้ายกระดับขนส่งไทยไร้มลภาวะ 

นอกจากนี้ EA ร่วมกับ ไทย สมายล์ กรุ๊ป ต้อนรับคณะจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (iTIC) เปิดประสบการณ์ (Technical Tour) การเดินทางด้วยรอยยิ้มใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไปกับบริการขนส่งสาธารณะ รถโดยสารไฟฟ้า MINE Bus และ เรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry โดยปัจจุบัน รถโดยสารไฟฟ้า MINE Bus ให้บริการแล้วกว่า 2,200 คัน ในพื้นที่ 123 เส้นทาง ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry ที่ให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ ท่าเรือสาทร - ท่าเรือสะพานพระนั่งเกล้า มีเรือไฟฟ้าให้บริการทั้งหมด 35 ลำ สร้างมิติใหม่แห่งการขนส่งด้วยนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าโดยฝีมือคนไทย โดยล่องแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อชมวิววัดวาอารามและฟังบรรยายที่มาของรถ-เรือโดยสารไฟฟ้า ยกระดับการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าไร้มลพิษครบวงจร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ของประเทศ

‘EA’ ได้รับการจัดอันดับหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ AA ปี 66 ตอกย้ำ!! ความใส่ใจ-รับผิดชอบสิ่งแวดล้อม-ดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้รับการจัดอันดับ ‘หุ้นยั่งยืน ระดับ AA’ ประจำปี 2566 (SET ESG Ratings : AA) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายและการให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม การบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) การเปิดเผยกระบวนการดำเนินธุรกิจและมีแนวทางการบริหารจัดการที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจและเกิดประโยชน์กับผู้ถือหุ้นและทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งในปีนี้ EA ได้รับการคัดเลือกต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 นับตั้งแต่ปี 2560

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด กล่าวว่า “EA มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้านนวัตกรรมพลังงานสะอาด ควบคู่ไปกับการรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เป็น ‘Green Product’ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมที่ยั่งยืน โดยครอบคลุมในทุกมิติด้านพลังงานสะอาด ทั้งธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้า ยกระดับนวัตกรรมฝีมือคนไทยสู่ระดับนานาชาติ 

นอกจากนี้ EA มุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจร เดินหน้าพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมระบบขนส่งทั้งรถหัวลากไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชน ได้แก่โดยสารไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ยกระดับการเดินทางระบบขนส่งมวลชนสาธารณะของไทยที่มีความสะดวก ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top