Thursday, 2 May 2024
EA

‘ADB-JICA-EXIM’ ไฟเขียว!! ปล่อยกู้ EA 3.9 พันล้านบาท เดินหน้าโครงการรถโดยสารไฟฟ้า ยกระดับขนส่งไร้มลพิษ

EA ลงนามสินเชื่อเงินกู้มูลค่า 3.9 พันล้านบาท กับ ADB JICA และ EXIM Thailand เดินหน้าโครงการรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) ยกระดับการขนส่งไร้มลพิษอย่างยั่งยืน

(4 ธ.ค.66) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด ได้ร่วมลงนามสินเชื่อเงินกู้ มูลค่า 3.9 พันล้านบาท (เทียบเท่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) กับ 3 สถาบันการเงิน นำโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Thailand) เพื่อลงทุนเช่าซื้อรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ (EV Bus) จำนวนไม่เกิน 1,200 คัน ซึ่งรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะเหล่านี้ จะเข้ามาแทนที่รถโดยสารเครื่องยนต์สันดาป และช่วยเสริมบริการขนส่งสาธารณะของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด และบริษัทในเครือ ครอบคลุม 123 เส้นทาง ภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รองรับการใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่สะอาดในประเทศไทย

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า “การร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนสินเชื่อ มูลค่า 3.9 พันล้านบาท (เทียบเท่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อนำเงินไปบริหารจัดการธุรกิจเช่าซื้อรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ (EV Bus) โดยระยะแรกเป็นการให้เช่าซื้อแก่ผู้ประกอบการที่ให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยกระดับการเดินทาง ลดปัญหามลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจได้จากผลตอบแทนจากการเดินรถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตรถโดยสารไฟฟ้าเป็นโครงการแรกของเอเชีย”

“EA มุ่งเน้นในการขยายสู่ธุรกิจใหม่เพื่อต่อยอดการดำเนินงานธุรกิจปัจจุบันของกลุ่มบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Thailand) ในครั้งนี้ เพื่อผลักดันนโยบายของบริษัทฯ ที่มุ่งสู่การเป็นบริษัทผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดของประเทศ ในการดำเนินธุรกิจที่มีความครอบคลุมทุกการบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า สร้างนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EA’s EV Ecosystem) อย่างครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและสร้างโอกาสการลงทุนร่วมกัน จะเป็นพลังสำคัญทำให้ EA เติบโตไปพร้อมกับการสร้างสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สู่สังคมไร้มลพิษอย่างยั่งยืน” นายอมรกล่าว

‘EA’ คว้ารางวัล ‘Entrepreneur of the Year 2023’ ในงาน Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards

(26 ธ.ค.66) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด คว้ารางวัล Entrepreneur of the Year 2023 ในเวทีระดับสากล Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards (ACES) แห่งปี 2023 เชิดชูเกียรติกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ในฐานะผู้ประกอบการที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานและสร้างการเติบโตทางธุรกิจด้วยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้มีคัดเลือกจากผู้ประกอบการที่มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยมี ดร.อัครินทร์ สุวรรณรัตน์ Executive Vice President เป็นผู้เข้ารับมอบรางวัล ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่ได้เริ่มธุรกิจด้วย         การนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด เริ่มจากพลังงานทดแทนในการเพิ่มมูลค่า ให้แก่ปาล์มเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ต่อยอดเป็นสารเปลี่ยนสถานะ และกรีนดีเซล ด้านพลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ และได้ต่อยอดธุรกิจในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ โดยมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) กำลังผลิตเริ่มต้น 1 GWh ที่มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ต่อยอดสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ครบวงจร ปัจจุบันสามารถส่งมอบรถโดยสารไฟฟ้า รถหัวลากไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้ากว่า 2,079 คัน อีกทั้งให้บริการสถานีชาร์จ EA Anywhere ที่ครอบคลุมทุกภูมิภาค

ทั้งนี้ รางวัล Entrepreneur of the Year 2023 เป็นอีกหนึ่งรางวัลที่สะท้อนถึงการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีเลิศ มีพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคงแข็งแกร่งและยั่งยืน การันตีความสำเร็จของกลุ่ม EA จากการขับเคลื่อนองค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีพัฒนานวัตกรรมด้วยฝีมือคนไทยในด้านพลังงานสะอาดสู่เวทีระดับสากล โดยครอบคลุมในทุกมิติด้านพลังงานสะอาดทั้ง ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและสร้างนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EA’s EV Ecosystem) อย่างครบวงจรเป็นรูปธรรมต่อไป

'มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์' ร่วมกับ 'กลุ่มไทยสมายล์' สนับสนุนเครื่องฟอกอากาศและฆ่าเชื้อโรค มอบอากาศ 'บริสุทธิ์' ให้กับโรงพยาบาลกลาง

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ประธานมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ พร้อมด้วยทีมงานมวลชนสัมพันธ์ (CSR) กลุ่มไทยสมายล์ (รถและเรือโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า) ลงพื้นที่เพื่อมอบเครื่องฟอกอากาศ และฆ่าเชื้อโรค ให้กับกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 

นางเธียรรัตน์ กล่าวว่า ในวันนี้ดิฉันในนามมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ นำเครื่องฟอกอากาศและฆ่าเชื้อโรค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มบริษัท ไทย สมายล์ กรุ๊ป (รถและเรือโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า) มามอบให้กับ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลกลาง สำหรับโรงพยาบาลกลาง เป็นสถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ใกล้กับถนนเยาวราช แหล่งเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงคลินิกมลพิษทางอากาศ โดยในแต่ละวันมีประชาชนเข้ารับบริการรักษาอยู่ตลอดเวลา รวมถึงบริเวณกลุ่มงานฯ ยังมีบุคคลากรในสหวิชาชีพทำงานกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน นับว่ามีปัจจัยเสี่ยงในด้านของคุณภาพอากาศและเชื้อโรคที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ การที่มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ได้นำเครื่องฟอกอากาศและฆ่าเชื้อโรค มามอบให้กับกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลกลาง ในครั้งนี้ เพื่อต้องการมอบอากาศ 'บริสุทธิ์' บรรเทาปัญหาในด้านคุณภาพอากาศและฆ่าเชื้อโรค ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ในด้านการสนับสนุนช่วยเหลือด้านการแพทย์ และสาธารณสุข

สำหรับกลุ่มไทยสมายล์ นอกจากจะร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมกับมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์มาอย่างต่อเนื่องแล้ว ไทยสมายล์ ยังมีนโยบายองค์กร ในการดำเนินธุรกิจ ไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคำนึงถึงสุขภาพของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ 

ทั้งนี้ การลงพื้นที่สนับสนุนเครื่องฟอกอากาศและฆ่าเชื้อโรค มอบให้กับกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลกลางในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ที่เราตั้งใจ และติดตามอย่างใกล้ชิด ร่วมกับชุมชนและสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดย กลุ่มไทยสมายล์ ได้สนับสนุนเครื่องฟอกอากาศและฆ่าเชื้อโรคจำนวน 5 เครื่อง สำหรับบรรเทาปัญหาด้านฝุ่นละออง PM2.5 ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ที่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรง เพื่อสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องประชาชน 

‘EA’ รับรางวัล ‘Sustainability Disclosure Recognition 2023’ สะท้อนความมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน ตามกรอบ ESG

(3 ม.ค. 67) บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ได้รับรางวัลเกียรติคุณ ‘Sustainability Disclosure Recognition 2023’ หรือ ‘การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2566’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จัดโดยสถาบันไทยพัฒน์ โดยมี นายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มอบรางวัลให้กับ นายวิทยา เชียงอุทัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ผู้แทนองค์กรเข้ารับรางวัล ตอกย้ำการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน

นายวิทยา เชียงอุทัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ เปิดเผยว่า EA ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม ด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี มากว่า 15 ปี

โดย EA เป็นผู้ริเริ่มและยกระดับธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, ธุรกิจแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน, ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และสถานีชาร์จ EA Anywhere บนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจตามหลักของธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG สู่สาธารณะอย่างครบถ้วนและโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน คู่ค้า และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

การได้รับรางวัล Sustainability Disclosure Recognition 2023 ต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน ถือเป็นความภาคภูมิใจ ที่สะท้อนผลสำเร็จในความมุ่งมั่นการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนตามกรอบ ESG และเจตจำนงขององค์กรที่จะร่วมสร้างและแบ่งปันความสำเร็จ ภายใต้แนวคิด ‘นวัตกรรมสังคมองค์กร’ หรือ Corporate Social Innovation (CSI) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

อนึ่ง สำหรับในปี 2566 มีองค์กรที่ได้รับการเชิดชูเกียรติรวมทั้งสิ้น 132 รางวัล แบ่งออกเป็น 3 ประเภทรางวัล ได้แก่ รางวัลเกียรติคุณ (Award) 54 แห่ง ประกาศเกียรติคุณ (Recognition) 50 แห่ง และกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) 28 แห่ง 

‘EA’ เริ่มส่งมอบคาร์บอนเครดิตโครงการ E-Bus ในกทม. ให้สวิตเซอร์แลนด์  ตามข้อตกลงปารีส Article 6.2 มุ่งขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย NDC

(9 ม.ค.67) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้เริ่มส่งมอบคาร์บอนเครดิตจากโครงการ ‘รถโดยสารประจำทางไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร’ (Bangkok E-Bus Programme) ซึ่งเป็นโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศโครงการแรกของโลกที่มีการซื้อขายกันเกิดขึ้น ภายใต้ความตกลงปารีส Article 6.2 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ผ่านกรอบความร่วมมือกันระหว่างประเทศที่มีการระบุชัดเจนว่าจะต้องเป็นโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่อยู่นอกเหนือจากแผนการดำเนินงานของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) มีการปฏิบัติตรงตามมาตรฐานด้านคุณภาพต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน โดยมี Klik Foundation เป็นผู้ซื้อ Carbon Credit ที่เกิดขึ้นและนำ Carbon Credit ดังกล่าวไปลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

นายฉัตรพล ศรีประทุม ผู้อำนวยการโครงการกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายใต้ข้อตกลงปารีส 6.2 ซึ่งรถโดยสารประจำทาง EV นี้เป็นโครงการอันดับแรก ๆ ของโลกที่มีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตสำเร็จ โดยทาง EA มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม การเดินหน้าของโครงการดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนให้เราก้าวเข้าสู่สังคม เศรษฐกิจแบบปลอดคาร์บอนฯ อีกทั้งสามารถเข้าถึงเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วยเป็นแรงกระตุ้นที่ดีสำหรับภาคเอกชนในการพัฒนาโครงการที่ช่วยรักษาและปกป้องสิ่งแวดล้อม

Mr. Michael Brennwald Head International, Klik Foundation กล่าวว่า “โครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายใต้ความตกลงปารีส ของรถโดยสารประจำทาง EV นี้ เป็นโครงการนำร่อง เพื่อการสนับสนุนกิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายใต้ข้อตกลงปารีส 6.2 นั้น มีการร่วมกันพัฒนามาอย่างแข็งขันจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังมองหาโอกาสในการร่วมมือกับภาคเอกชนในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง เพื่อที่จะสร้างโครงการในการร่วมมือกันระหว่างประเทศกับสวิตเซอร์แลนด์

ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทั้งประเทศไทยและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการลงนามในความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้ความตกลงปารีส 6.2 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565   โดยสัญญาแบบทวิภาคีกำหนดกรอบความร่วมมือกันระหว่างทั้งสองประเทศและสร้างแนวทางสำหรับ การพัฒนาโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือโดยสมัครใจสำหรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศและเป็นส่วนสำคัญในการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ครั้งแรกของโลก EA เริ่มส่งมอบคาร์บอนเครดิตแก่สวิตเซอร์แลนด์จากโครงการ E - Bus ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภายใต้ข้อตกลงปารีส Article 6.2 ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย NDC

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้เริ่มส่งมอบคาร์บอนเครดิตจากโครงการ “รถโดยสารประจำทางไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” (“Bangkok E-Bus Programme”) ซึ่งเป็นโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศโครงการแรกของโลกที่มีการซื้อขายกันเกิดขึ้น ภายใต้ความตกลงปารีส Article 6.2  ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ผ่านกรอบความร่วมมือกันระหว่างประเทศที่มีการระบุชัดเจนว่าจะต้องเป็นโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่อยู่นอกเหนือจากแผนการดำเนินงานของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) มีการปฏิบัติตรงตามมาตรฐานด้านคุณภาพต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน โดยมี Klik Foundation เป็นผู้ซื้อ Carbon Credit ที่เกิดขึ้นและนำ Carbon Credit ดังกล่าวไปลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

นายฉัตรพล ศรีประทุม ผู้อำนวยการโครงการกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายใต้ข้อตกลงปารีส 6.2 ซึ่งรถโดยสารประจำทาง EV นี้เป็นโครงการอันดับแรกๆ ของโลกที่มีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตสำเร็จ โดยทาง EA มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม การเดินหน้าของโครงการดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนให้เราก้าวเข้าสู่สังคม เศรษฐกิจแบบปลอดคาร์บอนฯ  อีกทั้งสามารถเข้าถึงเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วยเป็นแรงกระตุ้นที่ดีสำหรับภาคเอกชนในการพัฒนาโครงการที่ช่วยรักษาและปกป้องสิ่งแวดล้อม

Mr. Michael Brennwald Head International, Klik Foundation กล่าวว่า “โครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายใต้ความตกลงปารีส ของรถโดยสารประจำทาง EV นี้ เป็นโครงการนำร่อง เพื่อการสนับสนุนกิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตภายใต้ข้อตกลงปารีส 6.2 นั้น มีการร่วมกันพัฒนามาอย่างแข็งขันจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังมองหาโอกาสในการร่วมมือกับภาคเอกชนในประเทศไทยและประเทศข้างเคียง เพื่อที่จะสร้างโครงการในการร่วมมือกันระหว่างประเทศกับสวิตเซอร์แลนด์

ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทั้งประเทศไทยและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการลงนามในความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้ความตกลงปารีส 6.2 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 โดยสัญญาแบบทวิภาคีกำหนดกรอบความร่วมมือกันระหว่างทั้งสองประเทศและสร้างแนวทางสำหรับ การพัฒนาโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือโดยสมัครใจสำหรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศและเป็นส่วนสำคัญในการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

‘EA’ ร่วมมือ ‘สภาอุตฯ จ.ภูเก็ต’ ลงนามความร่วมมือ สร้างต้นแบบเมืองท่องเที่ยวรักษ์โลกระดับเวิลด์คลาส

เมื่อไม่นานมานี้ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เซ็นเอ็มโอยูสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ร่วมสนับสนุนสร้างเมืองสีเขียวคาร์บอนต่ำ ซีอีโอ ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ประกาศเดินหน้าร่วมมือทุกภาคส่วน ผลักดันภูเก็ตเป็นต้นแบบเมืองท่องเที่ยวรักษ์โลกระดับเวิลด์คลาส พร้อมนำ Green Business Platform ที่ใช้ไปประยุกต์ในจังหวัดอื่น หวังดันไทยเป็นประเทศอันดับต้นของโลกที่เข้าสู่ Carbon Neutral เร็วกว่ากำหนด

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท EA ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ในความร่วมมือ ‘สนับสนุนเมืองภูเก็ตเป็น Green Island : Low Carbon City เพื่อส่งเสริมการขยายการเติบโตเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจในภูเก็ต’ เพื่อให้เมืองภูเก็ตเป็นเกาะสีเขียว เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในทุกมิติ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก

โดยกลุ่ม EA มีความตั้งใจที่จะช่วยประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และเล็งเห็นว่าภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นจุดหมายท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ภูเก็ตจึงเป็นจังหวัดแรกและเป็นจังหวัดต้นแบบที่ EA จะสนับสนุนส่งเสริม Carbon Neutral อย่างครบวงจร   

สำหรับแนวทางสนับสนุนเมืองภูเก็ตเป็น Green Island; Low Carbon City นั้น กลุ่ม EA พร้อมร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนและลงทุน Green Logistics และ Green Electricity ในเกาะภูเก็ต ประกอบด้วย 

1. ส่งเสริมสนามบินนานาชาติภูเก็ตลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ Green Electricity ผลิตไฟฟ้าจากไฮบริดโซล่าร์และแบตเตอรี่, เปลี่ยนรถใช้ในสนามบินเป็นอีวี และ ติดตั้งชาร์จเจอร์ในสนามบิน ส่งเสริมการใช้อีวีสาธารณะในสนามบิน โดยร่วมกับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท ท่าอากาศยาน พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด

2. ส่งเสริมการขายการใช้รถอีวีเพื่อการพาณิชย์และสาธารณะในภูเก็ตร่วมกับบริษัทเอกชนท้องถิ่น ผ่านบริษัท Nex Point PCL 

3. การติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า EA Anywhere ทั้งระบบ AC และ DC ตามจุดคมนาคมสำคัญของภูเก็ต

4. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำโดยใช้ E-Ferry ร่วมกับภาคเอกชนท้องถิ่น การขนส่งและท่องเที่ยวระหว่างเกาะ

5. ร่วมลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขยะประสิทธิภาพสูง กำลังการผลิต 9.9 MW ในโครงการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครภูเก็ต 

6. การปรึกษาและลงทุนใน Smart City, เมืองใหม่, หรือ กลุ่มมิกซ์ยูสที่อยู่อาศัยใหญ่ ส่งเสริม Green Logistics และ Green Electricity

โดยกลุ่ม EA สามารถเริ่มโครงการ Carbon Neutral หลายโครงการพร้อมกันภายในปีนี้ เนื่องจากภาครัฐและเอกชนของจังหวัดภูเก็ตให้การสนับสนุนการส่งเสริมการปฏิบัติการจริง เพื่อผลักดันให้เมืองภูเก็ต มีสิ่งแวดล้อมที่ดี นำไปสู่จุดหมายการท่องเที่ยวสีเขียว Green Traveling in Green Island. และกลุ่ม EA คาดหวังว่าจะสามารถนำ Green Business Platform ที่ดำเนินในภูเก็ต ไปประยุกต์ใช้จังหวัดอื่นๆ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นของโลกที่เข้าสู่ Carbon Neutral ได้เร็วกว่ากำหนด

“กลุ่ม EA สนับสนุนเมืองภูเก็ตเป็น Green Island; Low Carbon City เพื่อส่งเสริมการขยายการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจในภูเก็ตในระดับ World Class เราพร้อมร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนและลงทุน Green Logistics และ Green Electricity ทุกมิติในเกาะภูเก็ต และ กลุ่ม EA คาดหวังว่าจะสามารถนำ Green Business Platform ที่ดำเนินการในภูเก็ต ไปประยุกต์ใช้กับจังหวัดอื่นๆ เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นในโลกที่เข้าสู่ Carbon Neutral ได้เร็วกว่ากำหนด” นายสมโภชน์ กล่าวในที่สุด

‘EA’ ติดอันดับความยั่งยืนระดับโลก The Sustainability Yearbook 2024

(23 ก.พ. 67) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ผู้นำธุรกิจพลังงานสะอาดระดับภูมิภาคอาเซียน ได้เปิดเผยว่า บริษัทได้รับคัดเลือกติดอันดับดัชนีความยั่งยืน ‘The Sustainability Yearbook 2024’ ในหมวดธุรกิจ Electric Utilities Industry รายงานองค์กรระดับโลก จัดโดย S&P Global สะท้อนการบริหารจัดการ ตามหลัก ESG สร้างคุณค่าระยะยาวและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ พร้อมเดินหน้าพัฒนาธุรกิจสู่ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเติบโต แข็งแกร่งและยั่งยืน โดยยึดถือความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และหลักบรรษัทภิบาล พร้อมมุ่งมั่นพัฒนา ‘Green Product’ ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, ธุรกิจแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน, ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และสถานีชาร์จ EA Anywhere มาอย่างต่อเนื่องกว่า 16 ปี  

ตลอดการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ได้รับการยอมรับและถูกจัดอันดับ ในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ล่าสุด S&P Global ผู้ให้บริการด้านข้อมูลการเงิน และการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้ประกาศการจัดอันดับความยั่งยืนของกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ โดยปรากฏในรายงาน The Sustainability Yearbook 2024 หมวดธุรกิจ Electric Utilities Industry เป็นเครื่องหมายการันตี อีกขั้นของความสำเร็จ และ ความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจ ตามมาตรฐาน ESG ภายใต้กลยุทธ์ ‘Energy Absolute Energy for The Future’ ที่พร้อมจะยกระดับนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เป็นเลิศในทุกด้าน สู่ความเป็นผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด สร้างการเติบโตของธุรกิจแบบก้าวกระโดด ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุล เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติ

“กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด มีแนวทางการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและโปร่งใส มีหลักบรรษัทภิบาล พร้อมที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ถือหุ้นและทุกภาคส่วนของสังคมอย่างยั่งยืน” นายอมรกล่าว

ความสำเร็จเกิดจากความทุ่มเทของพนักงาน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์สร้างความเชื่อมั่นในสายตาผู้ลงทุน โดยลงทุนด้านการยกระดับอุตสาหกรรมการขนส่งสีเขียว ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อม ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งมีเมืองภูเก็ตเป็นโมเดลเศรษฐกิจต้นแบบ ‘Green Island; Low Carbon City’ ซึ่งจะมีบทบาทในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ สนับสนุนขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน และเป็นจังหวัดต้นแบบที่จะขยายผลความสำเร็จนี้ไปสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ประกาศ!! พร้อมนั่งประธาน ส.อ.ท. คนที่ 17 หวังเป็นแกนนำหลักขับเคลื่อนอุตสาหกรรม-เศรษฐกิจของไทย

(29 ก.พ. 67) นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ในฐานะเป็นสมาชิกและรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าจะลงสมัครตำแหน่งประธาน ส.อ.ท. คนที่ 17 ในวาระนี้ (ปี 2567-2569) ถือเป็นอุดมการณ์ที่ต้องการรับใช้ชาติในฐานะภาคเอกชน โดยจะนำความรู้ ความสามารถและประสบการณ์การทำงานมาช่วยประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ในอนาคตจะเห็นส.อ.ท.ทำงานเชิงรุกด้วยยุทธศาสตร์ 4 ประการ ได้แก่

1.ทำงานเชิงรุกในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของประเทศให้สอดประสานระหว่างภาครัฐกับเอกชน 

2.สร้างพลังและเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมทั่วประเทศ 

3.ประสานภาครัฐให้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อย-รายใหม่ในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่า 

และ 4.นำเอาความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ที่มีมาบูรณาการในเชิงรุกและเชิงรับทุกมิติ

"เรื่องนี้เป็นอุดมการณ์ที่ผมมีมาตั้งนานแล้วคืออยากสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ ผมเคยเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จนกระทั่งปัจจุบันทำหน้าที่บริหารธุรกิจในกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ต้องการนำเสนอไอเดียที่มีเพื่อให้เกิด Impact มากกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะเชื่อว่า ส.อ.ท. คือแกนหลักของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น ในสถานการณ์ปัจจุบันเราไม่ควรอยู่ในสภาพตั้งรับควรอยู่ในเชิงรุก เนื่องจากโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่ละอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบแตกต่างกันออกไป มีทั้งที่ต้องการรับการส่งเสริมสนับสนุนหรือเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา รวมถึงทำหน้าที่เป็นตัวแทนเชื่อมกับภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมให้บรรลุผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการแล้วยังตอบสนองภาครัฐให้บรรลุตามแผนยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้"

นายสมโภชน์กล่าวอีกว่าจะมีการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ในอนาคตต่อภาครัฐ อุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะต้องเตรียมแผนทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อรองรับการแข่งขันในเวทีโลกทุกมิติ อาทิ การปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้ทันกติการะดับสากล ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน (BCG & ESG) และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกในปัจจุบัน

“ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ผมในฐานะสมาชิกและเป็นรองประธาน ส.อ.ท. ทำงานด้วยจิตอาสาโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนหรือรับประโยชน์ใด ๆ ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ผมอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จึงขอเสนอตัวเข้ารับการคัดเลือกเป็นประธาน ส.อ.ท. เพื่อช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยเติบโต อีกทั้งสามารถยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างแข็งแกร่ง"

นอกจากนี้ คนอื่น ๆ ที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถก็สมัครตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมได้ เพื่อนำเสนอสิ่งดี ๆ ให้แก่ภาพรวมของอุตสาหกรรม และผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานฯ ควรที่จะนำข้อเสนอไปขับเคลื่อนต่อให้เป็นรูปธรรม ที่สำคัญต้องสร้างความโปร่งใสในการทำงาน เป็นเวทีกลางที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน และกระจายอำนาจให้แต่ละกลุ่มมาช่วยกันทำงาน

เปิดใจ ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ หลังประกาศชิงเก้าอี้ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เปิดใจ ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ประกาศชิงเก้าอี้ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ย้ำชัด “ประเทศรอไม่ได้” ขออาสาทำงานเพื่อทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศของไทย หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

การเลือกตั้งกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) วาระปี 2567-2569 กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 มี.ค.2567 โดยกรรมการ ส.อ.ท.ที่ได้รับการเลือกตั้งดังกล่าว รวมกับกรรมการที่ได้รับการเลือกจากกลุ่มอุตสาหกรรม 46 กลุ่ม และสภาอุตสาหกรรมจังหวัด 76 จังหวัด จะมาทำหน้าที่ลงคะแนนเลือกตั้งประธาน ส.อ.ท.วาระปี 2567-2569 อีกครั้ง

การเลือกตั้งในครั้งนี้ เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เมื่อ นายสมโภชน์ อาหุนัย รองประธาน ส.อ.ท.และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้เสนอตัวชิงเก้าอี้ด้วย ซึ่งปัจจุบันนายเกรียงไกร เธียรนุกูล เป็นประธาน ส.อ.ท.วาระ 2565-2567 ดำรงตำแหน่งในวาระที่ 1 ยังคงเสนอตัวเป็นประธาน ส.อ.ท.อีก 1 สมัย 

ทั้งนี้ นายสมโภชน์ ได้เปิดวิสัยทัศน์ และเปิดใจในการประกาศชิงเก้าอี้ประธาน ส.อ.ท.คนที่ 17 เอาไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า การเสนอตัวชิงตำแหน่งในครั้งนี้ เป็นอุดมการณ์ที่มีมาตั้งนานแล้วคืออยากสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ ต้องการรับใช้ชาติในฐานะภาคเอกชน โดยจะนำความรู้ ความสามารถและประสบการณ์การทำงานมาช่วยประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะสมาชิกและรองประธาน ส.อ.ท. ได้ทำงานด้วยจิตอาสาโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนหรือรับประโยชน์ใด ๆ ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จึงขอเสนอตัวเข้ารับการคัดเลือกเป็นประธาน ส.อ.ท. เพื่อช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยเติบโต อีกทั้งสามารถยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างแข็งแกร่ง

ทั้งนี้ หากได้รับเลือกเป็นประธาน ส.อ.ท. คนใหม่ นายสมโภชน์ ย้ำว่า ในอนาคตจะเห็น ส.อ.ท. ทำงานเชิงรุกด้วยยุทธศาสตร์ 4 ประการคือ 1.ทำงานเชิงรุกในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของประเทศให้สอดประสานระหว่างภาครัฐกับเอกชน 2.สร้างพลังและเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมทั่วประเทศ 3.ประสานภาครัฐให้ช่วยส่งเสริมสนับสนุนเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อย-รายใหม่ในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่า และ 4.นำเอาความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ที่มีมาบูรณาการในเชิงรุกและเชิงรับทุกมิติ

“ผมเคยเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจนกระทั่งปัจจุบันทำหน้าที่บริหารธุรกิจในกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ต้องการนำเสนอไอเดียที่มีเพื่อให้เกิด Impact มากกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะเชื่อว่า ส.อ.ท. คือแกนหลักของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น ในสถานการณ์ปัจจุบันเราไม่ควรอยู่ในสภาพตั้งรับควรอยู่ในเชิงรุก เนื่องจากโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่ละอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบแตกต่างกันออกไป มีทั้งที่ต้องการรับการส่งเสริมสนับสนุนหรือเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา รวมถึงทำหน้าที่เป็นตัวแทนเชื่อมกับภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมให้บรรลุผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการแล้วยังตอบสนองภาครัฐให้บรรลุตามแผนยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้”

ส่วนเหตุผลที่มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงไม่รอรับไม้ต่อจากนายเกรียงไกร ที่จะนั่งในตำแหน่งนี้อีก 2 ปี ในวาระที่ 2 นายสมโภชน์ ได้ชี้แจงว่า โดยส่วนตัวมองว่าประเทศไทยรอไม่ได้ ภาระหนี้ครัวเรือน การลงทุนไม่เข้า ถ้ารออีก 2 ปี เปรียบเหมือนคนที่เป็นมะเร็งขั้นที่ 1 ก็อาจจะรอได้แต่ถ้าเป็นขั้นที่ 4 หากรอก็อาจจะแก้ไม่ได้แล้ว แม้ว่าในขณะนี้เศรษฐกิจไทยอาจจะยังไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่ก็ถือว่าอยู่ในขั้นป่วย

นายสมโภชน์ ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ บางอุตสาหกรรมเดิมแข่งขันไม่ได้ มีบางอุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่ง จึงจะเป็นสะพานเชื่อมหลายอุตสาหกรรมมารวมกันใครเดือดร้อนต้องช่วยกัน เพื่อให้เป็นรูปธรรม เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมกับประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม คนไหนเดือดร้อนก็ช่วย คนไหนแข็งแรงก็ทำให้ดีขึ้นเพื่อให้ฝนตกทั่วฟ้า จึงต้องการเดินไปข้างหน้าด้วยนโยบายและมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน พร้อมผสานความเป็นปึกแผ่นเพื่อมองไปข้างหน้าด้วยกัน พร้อมทั้งทำงานกับทางรัฐบาลอย่างแนบแน่นเป็นทีมไทยแลนด์อย่างแท้จริง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

สำหรับประเด็นที่อาจจะมีคนมองว่า การลงสมัครเลือกตั้งเกิดจากความขัดแย้งนั้น นายสมโภชน์ ยืนยันว่า ไม่ได้มีความขัดแย้งแต่อย่างใด เพียงแต่ตนต้องการใช้โอกาสนี้เสนอไอเดียที่สร้างสรรค์ เพราะประเทศวันนี้รอไม่ได้ ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าเศรษฐกิจไม่ดี จึงอยากเสนอตัวมาช่วยทำงาน โดยจะไม่ทำให้เกิดความแตกแยกทุกคนเป็นพี่น้องกันหมด และพร้อมจะซัปพอร์ตสมาชิกทุกคนทั้งที่เลือกและไม่เลือก ขณะเดียวกันก็ยังเคารพคุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. เหมือนเดิม

นายสมโภชน์ กล่าวอีกว่า หากได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน ส.อ.ท. พร้อมจะเป็นแกนกลางในการประสานการทำงานระหว่างอุตสาหกรรมจังหวัด และกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อตกผนึกแนวคิดในการทำงาน และนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ในอนาคตต่อภาครัฐ อุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะต้องเตรียมแผนทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อรองรับการแข่งขันในเวทีโลกทุกมิติ อาทิ การปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้ทันกติการะดับสากล ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน (BCG & ESG) และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกในปัจจุบัน

“หากผมได้รับการเลือกตั้ง สิ่งแรกที่จะทำก็คือการเซ็ตซีโร่ จะไม่มีการแบ่งกลุ่ม แต่จะชักชวนสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยกันทำงาน เพื่อเพื่อนสมาชิกและพร้อมให้สมาชิกตรวจสอบการทำงานในทุกด้าน แต่ถ้าไม่ได้รับเลือก ก็ยังพร้อมที่จะทำงานเพื่อสมาชิกต่อไป ยิ่งไอเดียที่ผมได้เสนอไปมีคนนำไปสานต่อก็จะยินดีมาก เพราะชัยชนะสำหรับผมคือการที่แนวคิดของผมได้รับการยอมรับและถูกนำเอาไปทำ โดยที่ผมอาจจะไม่ต้องทำเองก็ได้ แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นเกิดได้โดยที่ผมก็ไม่ต้องเหนื่อยด้วย หากเพื่อนสมาชิกเห็นว่าใครเหมาะสมกว่าที่พร้อมจะทำงานตรงนี้ ถึงจะไม่ใช่ผมแต่ผมก็พร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำงานเช่นเดิม”

นายสมโภชน์ ยังกล่าวด้วยว่า หากได้เข้ามารับตำแหน่งก็จะฟังจากสมาชิกก่อนและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาว่าประเด็นใดเป็นประเด็นเร่งด่วนที่จะต้องการให้มีการแก้ไข ก่อนที่จะสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนนำเสนอสู่ภาครัฐต่อไป โดยไม่เน้นเฉพาะเรื่องพลังงานเท่านั้น เพราะตอนนี้ไทยต้องเจอทั้งปัญหาเรื่องการลงทุนโดยตรงไม่เข้าประเทศและประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลางมาเป็นระยะเวลายาวนาน 6 ปีที่ผ่านมา 

ในส่วนของนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาเร่งด่วน ที่จะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรม ที่ผ่านมาเราติดกับดักการสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนมากจนมีกำลังไฟสำรองเกินความจำเป็น ทำให้ไม่สามารถที่จะไปลดต้นทุนที่เป็น Fixed cost ได้ ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องแบกภาระค่าไฟเพิ่มขึ้น

แนวทางที่จะแก้ไขไม่ใช่เพียงการไปลดค่าไฟ เพราะนั่นก็จะไปกระทบกับผู้ผลิตไฟฟ้า แต่วิธีการเดียวก็คือการทำให้คนใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งจะทำอย่างไรในเมื่ออุตสาหกรรมก็เท่าเดิมประชาชนก็ใช้เท่าเดิม คำตอบก็คือเราต้องหาคนใช้ไฟฟ้าใหม่ ลูกค้าใหม่ก็คือรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV

“การที่เราเพิ่มจำนวนผู้ใช้รถ EV จะทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ๆเพิ่มขึ้น และเรามีกำลังไฟฟ้าสำรองเพียงพอที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดและก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ได้ทำให้มีราคาถูกลงและอุตสาหกรรมก็ไม่มีใครเสียหาย แน่นอนว่าแนวคิดนี้ เป็นหนึ่งในแนวทางในการแก้ปัญหาค่าไฟแพง แต่ยังมีอีกหลายปัญหาที่รอการแก้ไข ที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและนำพาเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน”

อย่างไรก็ตาม นายสมโภชน์ ยังบอกด้วยว่า คนอื่นๆที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถก็สมัครตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมได้เช่นกัน เพื่อนำเสนอสิ่งดี ๆ ให้แก่ภาพรวมของอุตสาหกรรม และผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานฯ ควรที่จะนำข้อเสนอไปขับเคลื่อนต่อให้เป็นรูปธรรม ที่สำคัญต้องสร้างความโปร่งใสในการทำงาน เป็นเวทีกลางที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน และกระจายอำนาจให้แต่ละกลุ่มมาช่วยกันทำงาน

สำหรับประวัติ ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ จบการศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต University of Pittsburgh สหรัฐอเมริกา, วิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมพลังงานทดแทนสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), กรรมการบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน), กรรมการบริษัท ทีเอสท์ โปรดักส์ จำกัด, กรรมการบริษัท อีเทอนิตี้ โฮลดิง จำกัด, คณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ด้านพัฒนาองค์กร

จากข้อมูลนิตยสาร ฟอบส์ ฉบับประเทศไทย พ.ศ. 2566 นายสมโภชน์ติดอยู่ในรายชื่อมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศไทยอันดับที่ 9 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.04 แสนล้านบาท (3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top