Thursday, 2 May 2024
EA

ติดปีกนวัตกรรมไทย EA ส่ง ‘กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช’ เซ็น MOU สอวช. ร่วมปั้นนวัตกรรมล้ำตอบโจทย์อุตสาหกรรม BCG

EA ส่ง บ.ย่อย ‘กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช’ เซ็น MOU กับ สอวช. ‘โครงการ บพข. - GTR’ ร่วมวิจัยพัฒนา ‘ปาล์มน้ำมัน’ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมสอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy (BCG) ของไทย

บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ส่ง บจก.กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช จำกัด (GTR) หรือบริษัทย่อย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมมือโครงการ บพข. - GTR เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรม ภายใต้การนำองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดรับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio-Circular-Green Economy ของประเทศไทย

รอทำไม? หากหยุดใช้รถน้ำมัน 10,000 คัน แล้วลดก๊าซเรือนกระจกได้ 220,454 ตันต่อปี

คำถามปลายเปิด ที่แทบไม่ต้องรอคำตอบปลายปิด ในยุคที่พลังงานน้ำมันแพง กอปรกับกระแสความแรงของการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนโลก รวมถึงประเทศไทย!!

อย่างไรก็ตาม แม้กระแสพลังงานไฟฟ้าที่จะเข้ามาไหลเวียนในพาหนะยุคต่อจากนี้ จะพยายามเร่งสปีดเข้ามาใกล้ชิดกับชีวิตคน โดยเฉพาะคนไทยมากยิ่งแค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในแง่ของราคาและความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ยังคงอยู่ในระดับของการเฝ้าดูจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เสียมาก 

กลับกันแนวคิดในการสนับสนุนยานพาหนะในหมวดขนส่งสาธารณะ หรือ ‘รถโดยสาร’ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ดูจะมีความเป็นไปได้และได้รับแรงหนุนกระแสลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ดีกว่า สอดคล้องกับรายงานของ Electric Vehicle Outlook ของ Bloomberg ที่คาดว่า ตลาด ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (e-Buses) จะถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสัดส่วนมากกว่า 67% ของรถโดยสารทั่วโลกภายในปี 2040

เหตุผลหลัก เพราะ ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่สามารถเข้าถึงคนได้เป็นจำนวนมาก ยิ่งถ้าพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะที่ดีควบคู่ได้ ก็จะช่วยให้คนลดการใช้รถส่วนตัว (น้ำมัน) ลดปัญหามลพิษ, ลดปัญหาโลกร้อน ตลอดจนลดปัญหาทางด้านการจราจร ก่อนทั้งโลกจะเปลี่ยนผ่านจากเครื่องสันดาปสู่ไฟฟ้าเต็มตัว 

และนี่แหละ คือ เหตุผลว่าทำไม ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (รถบัส) อาจจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านยุคแห่งพลังงานและช่วยลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

ว่าแต่!! พอหันกลับมาดู ประเทศไทย ซึ่งมีการจดทะเบียนรถโดยสารเพื่อการพาณิชย์ หรือ ‘รถโดยสาร’ ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10,000 คันนั้น

ก็พลันให้เกิดคำถามว่า ถ้าเราเริ่มเปลี่ยน ‘รถโดยสาร’ ที่มีอยู่ให้กลายเป็น ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ ได้ จะช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้เพียงใด? (ปัจจุบันประเทศไทยมี ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ จาก EA หรือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์)

...220,454 ตันต่อปี คือ ผลลัพธ์จากการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Reduction) 

...233,333,333.33 ลิตรต่อปี คือ ตัวเลขการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดลง ซึ่งเดิมปริมาณตัวเลขนี้ สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 629,701.80 ตันต่อปีกันเลยทีเดียว (หมายเหตุ: คำนวณจากจำนวนรถ 10,000 คัน ระยะทางการวิ่งรถ 200 กิโลเมตรต่อวัน เป็นระยะเวลา 350 วันเท่ากัน)

EA เปิด 'อมิตาฯ' อาณาจักรเทคโนโลยีด้านพลังงาน พร้อมโชว์ศักยภาพ ป้อนสังคมสะอาดสู่ไทยในเร็ววัน

คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เยี่ยมชมบริษัทอมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ 

(24 พ.ค.65) ที่ บริษัทอมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และคณะฯ เยี่ยมชมกิจการของบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ โดยมีนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด บริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของคนไทย ที่เริ่มต้นจากธุรกิจไบโอดีเซล และขยายสุ่ธุรกิจพลังงานทดแทน ทั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม 

แบตเตอรี่ Li-ion ขนาด 1 กิกะวัตต์ ต่อยอดอะไรได้บ้าง?

ความหวังสังคมรถไฟฟ้าเด่นชัดขึ้น เมื่อปัจจุบัน บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) บริษัทย่อยในกลุ่มของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เดินเครื่องผลิตแบตเตอรี่ Li-ion AMITA เป็นที่เรียบร้อย 

โดยในระยะเริ่มต้นสามารถผลิตแบตเตอรี่ ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับรถโดยสารไฟฟ้า ขนาด 11 เมตร ที่ขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปีกันเลยทีเดียว 

Interstate Charging Station ‘สถานีชาร์จไฟฟ้าระหว่างเมือง’ อีกตัวแปร ‘สำคัญ’ ในการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ต้องยอมรับว่าในหลายๆ ประเทศการขนส่งหลักจะใช้ยานยนต์เป็นหลัก ซึ่งการที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาป ต้องคำนึงถึงเรื่องแบตเตอรี่ที่รอบรับการชาร์จได้รวดเร็ว 

ฉะนั้นนอกเหนือจากการมียานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองผู้บริโภคแล้ว สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการใช้งานไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

สำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charging Station เปรียบเทียบได้กับสถานีปั๊มน้ำมัน แต่เปลี่ยนจากเติมน้ำมันเป็นเติมประจุพลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งการชาร์จพลังงานให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั่น จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่...

1.) Normal Charge เป็นการชาร์จแบบปกติ เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC โดยขนาดของ On Board Charger นั่นจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันก็มีขนาดไม่เท่ากัน

และ 2.) Quick Charge ซึ่งเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charging Station (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่จะทำการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ไม่ผ่าน On Board Charger เหมือนกับ Normal Charge ซึ่งวิธีการชาร์จไฟฟ้า จะส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จลงน้อยลง
 

EA เจ๋ง!! โรงงานผลิตแบตฯ 'อมิตา' เนื้อหอม!! กลุ่มทุนมาเลเซียสนใจ 'แนวทางธุรกิจ-นวัตกรรม'



กลุ่มนักลงทุนชาวมาเลเซีย เยี่ยมชม บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA



เมื่อ (18 มิ.ย.65) ที่ผ่านมา บริษัทอมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ท่าน Datuk Seri Mohd Redzuan (ดา-ทุก-เซ-รี-โม้ด-เรด-ซวน) และกลุ่มนักลงทุนชาวมาเลเซีย ให้ความสนใจแนวทางและนวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีของกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) พร้อมเยี่ยมชมกิจการของบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด โดยมีนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ



นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ เป็นบริษัทพลังงานของคนไทยที่เริ่มต้นจากธุรกิจไบโอดีเซล และขยายสุ่ธุรกิจพลังงานทดแทน ทั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งบริษัทเล็งเห็นถึงประโยชน์ของพลังงานสะอาดที่มีประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ ลดการนําเข้า เชื้อเพลิง และด้านสิ่งแวดล้อมที่ลดปัญหามลพิษ และลดภาวะโลกร้อน  ประกอบกับการเปลี่ยนผ่านในเทคโนโลยียานยนต์แบบเดิมที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้า



 

เกาะ 986 พิกัด!! สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย ผู้ให้บริการรายไหน? จัดเต็ม!!

ในวันที่ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มชัดเจน และตลาดก็ตอบรับอย่างรวดเร็ว ค่ายรถยนต์น้องใหม่ รวมถึงค่ายเทคโนโลยีดังๆ หลายเจ้า เริ่มขอเข้ามาแทรกแซงทางโค้งเพื่อเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของตนในประเทศไทยกันถ้วนหน้า จนสร้างความคึกคักท่ามกลางความคลื่นสึนามิย่อมๆ ของเศรษฐกิจไทย ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนของกำลังซื้อใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

แต่ถึงกระนั้นกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้น กลับสวนทางกับภาพของการใช้งานจริง นั่นก็เพราะเรายังเห็นจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV วิ่งกันบนท้องถนนแบบจริงจัง น้อยมาก!! 

แน่นอนว่าตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ยังอยู่ที่ความล่าช้าในการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภค, ทางเลือกที่ยังมีจำกัด, ราคาที่ยังไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ส่วนมาก, ศูนย์บริการที่สามารถดูแลเมื่อเกิดปัญหาที่ยังไม่ครอบคลุม และ ‘อีกตัวแปรสำคัญ’ ที่น่าจะมีผลต่อความเบาบางของรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากเกือบที่สุด คือ ความกังวลของผู้ใช้รถว่าแบตเตอรี่ของตนอาจหมดลง แล้วหาสถานีชาร์จได้ลำบากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทุกภาคส่วนของประเทศไทยที่อยู่ในระบบนิเวศนี้ ต่างรับรู้ปัญหาดี จึงได้มีการร่วมผลักดันสร้างสถานีชาร์จขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คิดแค่อยากจะตั้งก็ตั้งขึ้นมาได้ เพราะการจัดตั้งสถานีชาร์จในแต่ละที่ ต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของกระแสไฟฟ้าของพื้นที่นั้นๆ อยู่ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าวันนี้สถานีชาร์จในบ้านเรา ก็ผุดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกันบ้างพอสมควรแล้ว

ว่าแต่...ในวันนี้ประเทศไทยมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศมากน้อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) มีจำนวน 986 สถานีทั่วประเทศ มีหัวชาร์จรวมมากกว่า 2,200 หัวชาร์จ กระจายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ / นนทบุรี / ปทุมธานี / ภาคกลาง / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคเหนือ และ ภาคใต้ โดยมีจำนวนผู้ให้บริการที่ติดตั้งจุดชาร์จแล้ว ดังนี้...

>> EA ANYWHERE แบรนด์ภายใต้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ผลิตภัณฑ์ด้านสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 459 สถานี จำนวน 1,900 หัวชาร์จ
>> บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี
>> บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี
>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี
>> สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี
>> บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี

'EA x NEX' โชว์เหนือด้วยนวัตกรรมสุดล้ำในงาน FTI Expo 2022 ณ จ.เชียงใหม่

'EA x NEX' โชว์เหนือด้วยนวัตกรรมสุดล้ำในงาน FTI  Expo 2022 ณ จ.เชียงใหม่

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมบูธ 'EA x NEX' โดยมีคุณสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ให้การต้อนรับเข้าชมบูธ ภายในงานมหกรรมแสดงสินค้าและนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย - FTI Expo 2022 โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ จ.เชียงใหม่ 

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรสายการผลิตรถโดยสารไฟฟ้า-แบตฯ EA

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรสายการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม ณ บริษัท แอ๊บโซลูท แอสแซมบลี จำกัด และ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

(9 ก.ค.65) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสายการผลิตรถโดยสารไฟฟ้า ณ บริษัท แอ๊บโซลูท แอสแซมบลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ (EA) เป็นบริษัทพลังงานของคนไทย ที่เริ่มต้นจากธุรกิจไบโอดีเซล และขยายสุ่ธุรกิจพลังงานทดแทน ทั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม โดยเล็งเห็นถึงประโยชน์ของพลังงานสะอาดที่มีประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ ลดการนําเข้า เชื้อเพลิง และด้านสิ่งแวดล้อมที่ลดปัญหามลพิษ และลดภาวะโลกร้อน ให้ความสําคัญต่อการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการเปลี่ยนผ่านในเทคโนโลยียานยนต์แบบเดิมที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มเสถียรภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพิ่มประสิทธิภาพในระบบผลิตและจําหน่ายไฟฟ้าของประเทศ ผลักดันให้เกิดผลสําเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็น New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ ของประเทศ 

ในการนี้ ทรงทอดพระเนตรวีดิทัศน์กระบวนการเชื่อมรถการชุบสีรถโดยสารไฟฟ้า และสายการประกอบรถโดยสารไฟฟ้า ซึ่ง บริษัท แอ๊บโซลูท แอสแซมบลี จำกัด ได้สร้างโรงงานผลิตรถโดยสารไฟฟ้าภายในประเทศ ได้แก่ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า 'MINE Bus' เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า 'MINE Smart Ferry' ที่เปิดให้บริการแล้วในแม่น้ำเจ้าพระยา และรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนสถานีชาร์จ อัดประจุไฟฟ้าที่มีชื่อว่า 'EA Anywhere' เพื่อยกระดับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ให้มีความทันสมัย สะดวกสบาย ช่วยลดมลภาวะอย่างยั่งยืน

จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยัง บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งบริษัทในกลุ่มย่อยของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) โดยมีนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เข้าเฝ้าทูลรายงาน ซึ่งบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรที่ทันสมัยและมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน 

ในการนี้ ทอดพระเนตรอาคารผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า / นิทรรศการ Blue Mind City / ตัวอย่างวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน / ตัวอย่างชิ้นงานที่ถูกตัดด้วยกระบวนการ High Speed Die Cutting / กระบวนการอบสุญญากาศชิ้นงานให้แห้งสนิทเพื่อใช้ประกอบเป็นเซลล์แบตเตอรี่ จากนั้นฉลองพระองค์ชุดกาวน์ ทอดพระเนตรเครื่องจักรและกระบวนการกำจัดแก๊สออกจากเซลล์แบตเตอรี่ / ตัวอย่าง Cell Module ซึ่งเป็นการนำเซลล์แบตเตอรี่ที่ได้พ่วงต่อกันเพื่อให้ได้พลังงานที่สูงขึ้น เหมาะสมต่อการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้า

ต่อยอดสู่การเติบโต!! EA ปูทางขยายธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้าเต็มตัว หลังเข้าซื้อหุ้น BYD 23% มูลค่ากว่า 6.99 พันล้าน

EA เดินหน้าต่อยอดธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทุ่ม 6,997 ล้านบาท ส่งบ.ย่อยเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน BYD สัดส่วน 23% เตรียมขยายธุรกิจรถโดยสารไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างที่สำคัญทางธุรกิจของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ที่ยังคงเดินหน้าต่อยอดสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อนายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 65 อนุมัติให้ บริษัท อีเอ โมบิลิตี โฮลดิง จำกัด (EMH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้าลงทุนใน บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BYD, บริษัท เอซ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (ACE) และบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (TSB)

ทั้งนี้ EMH จะเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ของ BYD จำนวน 990,800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท หรือคิดเป็น 23.63% ของทุนชำระแล้วภายหลังการเพิ่มทุน ในราคาหุ้นละ 7.062 บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997,029,600 บาท
 
สำหรับ BYD นั้น เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบธุรกิจหลักเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากกระทรวงการคลัง, คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ขณะที่ ACE ประกอบธุรกิจหลักในการเข้าถือหุ้นในบริษัทจำกัด และ/หรือ บริษัทมหาชน จำกัด โดยมี BYD ถือหุ้น ในอัตรา 49% และ TSB ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยมี ACE เป็นผู้ถือหุ้นในอัตรา 100%

นายอมร ระบุว่า การเข้าลงทุนใน BYD จะทำให้บริษัทได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ เนื่องจากการลงทุนในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีโอกาสในการสร้างยอดขายรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนแหล่งเงินทุนที่ใช้มาจากกระแสเงินสดของบริษัทและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top